เทคโนโลยีชีวภาพ : จากวิชาการไปสู่ผู้ประกอบการ

จากวิชาการไปสู่ผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีชีวภาพ Bio-education to Bioentrepreneur

โดย อาจารย์เมธัส ชูเวช (วท.บ.)ชีวเคมีและชีวเคมีเทคโนโลยี  (วท.ม.) เทคโนโนโลยีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คุณกำลังตัดสินใจถึงก้าวต่อไปในการสร้างอนาคตของคุณหรือเปล่า?

นวัตกรรมและการประกอบการธุรกิจด้านเทคโนโลยีชีวภาพอาจเป็นคำตอบที่ลงตัวสำหรับคุณ ก็ได้

หนึ่งในความสุดยอดของการท้าทายสำหรับนักวิจัยทางชีวภาพก็ คือ การพัฒนานวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์จากการคิดค้นไปสู่ธุรกิจที่ทำรายได้เป็นกอบเป็นกำหรือค้นหาคำตอบทางการแพทย์เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยให้หายจากความทุกข์ทรมาน ในอดิตที่ผ่านไป “ก้าวแรก” ที่ผิดพลาดของบริษัทด้านเทคโนโลยีชีวภาพได้ฟันฝ่าไปแล้วนั้นเปรียบเสมือน “หุบเขาแห่งความตาย” โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการที่ขาดประสบการณ์และความแจนจัดที่จำเป็นต่อการปรับเปลี่ยนแนวความคิดให้ ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมต่อการบริโภคของกลุ่มเป้าหมาย อันเป็นผลทำให้นักลงทุนส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะมองข้ามการลงทุนในบริษัทด้านเทคโนโลยีชีวภาพอีกต่อไป นี่เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่เป็นอุปสรรคต่อนักวิจัยที่ต้องการพัฒนานวัตกรรมของตนไปสู่ภาคธุรกิจ ในโลกแห่งความเป็นจริงธุรกิจด้านชีวภาพไม่เพียงแต่เกี่ยวข้องกับการสร้างผลิตภัณฑ์โดยการใช้เทคโนโลยีการตัดต่อยีนเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงการใช้เทคโนโลยีแบบดั้งเดิมมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ทำจากวัตถุดิบที่ได้สร้างรายได้สูงสุดให้กับประเทศไทยมาเป็นเวลานาน อันได้แก่ ข้าว ยาง มันสำปะหลัง ข้าวโพด น้ำมันปาล์ม อ้อย และผลไม้ต่างๆ

มีการพยายามสั่งสมทรัพยากรและบุคลากรเพื่อก้าวไปสู่ความเป็นเลิศทั้งทางด้านธุรกิจชีวภาพและความรอบรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่ยอมรับของตลาด หนึ่งในผลงานของทางคณะฯ ที่ได้รับการจดสิทธิบัตร คือ การผลิตนมข้าว จากการจดสิทธิบัตรครั้งนั้นทางคณะฯ ได้สานต่อการค้นคว้าจนเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ อาทิ เช่น ไอศครีมนมข้าว โยเกิร์ตนมข้าว ไอศครีมโยเกิร์ตจากนมข้าว สบู่นมข้าว และเครื่องสำอางนมข้าว เป็นต้น

ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดนี้ จึงได้พัฒนาผู้ประกอบการทางชีวภาพสากล ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการชีวภาพรายใหม่สามารถพัฒนาการค้นพบทางวิทยาศาสตร์จากห้องสมุด และภาคการทดลองมุ่งสู่ภาคธุรกิจด้วยคณาจารย์และผู้สอนที่มีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ระดับโลกจากทั้งภาคอุตสาหกรรม และภาคการศึกษา

อนึ่ง ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีชีวภาพ ได้ทำให้ผู้ประกอบการทางด้านนี้สามารถสร้างรายได้มากกว่าอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศถึง 25 เท่า โดยรายได้ส่วนใหญ่มาจากเทคโนโลยีชีวภาพแบบดั้งเดิม และรายได้ทั้งหมดนี้ยังได้กระจายไปสู้ประชากรอย่างทั่งถึงอีกด้วย

Bioentrepreneurship คือ ?

คำว่า “Bioentrepreneurship” ถือเป็นคำที่ค่อนข้างแปลกใหม่สำหรับประเทศทั่วโลก นอกเหนือจากสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของการเป็นผู้ประกอบการทางชีวภาพ ในสหรัฐอเมริกาผู้ประกอบการทางชีวภาพถือกำเนิดมานานกว่า 3 ทศวรรษ ก่อนที่บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศอย่างไมโครซอฟท์ ซัน และซิสโก้จะถูกก่อตั้งขึ้น บริษัทด้านเทคโนโลยีชีวภาพอย่าง Genentech และ Amgen ได้ขยายแผนการวิจัยเชิงแข่งขันและร่วมมือกับบริษัทยามาแล้ว

ในปี 1996 Persidis เปรียบเทียบ “Bioentrepreneurship” ว่าเป็นการสร้างความมั่งคั่งซึ่งได้มาจากการประยุกต์วิทยาศาสตร์ชีวภาพสู่ภาคธุรกิจ

ผู้ประกอบการด้านชีวภาพได้พยายามแสวงหาและสร้างตุณค่าทางธุรกิจจากผลงานการวิจัยทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ

ทำไมต้อง Bioentrepreneurship ?

จุดมุ่งหมายของการศึกษาด้านการประกอบการ คือ การปลูกฝังนิสัยให้เยาวชนรุ่นใหม่เล็งเห็นถึงโอกาสต่างๆ และใช้มันให้เต็มศักยภาพ ผู้ประกอบการจะต้องใช้ความคิดในเชิงสร้างสรรใหม่ๆ การหา ลู่ทาง วิธีการ แนวทางและรูปแบบใหม่ๆ ที่สามารถทดสอบได้ ความเข้าใจในภาษาที่พูดในเชิงธุรกิจและมุมมองของนักบริหารที่มีส่วนสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงโดยไม่คำนึงถึงตำแหน่ง อาชีพ หรือการงานที่แต่ละบุคคลเลือก

 

การที่ประเทศชาติจะมีความมั่งคั่งและประชากรจะอยุ่ดีกินดีแค่ไหนนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนนักวิทยาศาสตร์ที่ได้รางวัลโนเบลมากน้อยแค่ไหน แต่มันขึ้นอยุ่กับว่าเราได้สร้างผู้ประกอบการที่มีคุณธรรมและมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีที่มีผู้สร้างเพิ่มขึ้นทุกวันมาใช้ในในเชิงธุรกิจเพื่อหารายให้กับประเทศ อยู่มากน้อยเพียงใดต่างหาก

(ข้อมูลจาก Dr. Churdchai Cheowtirakul)

ภายหลังการจัดการความรู้ครั้งนี้ ทำให้อาจารย์ภายในคณะวิทยาศาสตร์ร่วมกันพัฒนาข้อเสนอโครงการส่ง วช. ชื่อโครงการ การพัฒนาแป้งข้าวก่ำดัดแปรและการประยุกต์ใช้เพื่อผลิตเป็นอาหารสุขภาพเพื่อเพิ่มมูลค่าข้าวไทย ซึ่งขณะนี้ยังรอผลการพิจารณาโครงการต่อไป

20504220_1601602376519384_899853063_n

19553893_1565089700170652_3738292315527326148_n

เรื่องนี้ถูกเขียนใน ทั่วไป และติดป้ายกำกับ คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

ใส่ความเห็น