Workshop : Revitalization of Lampang city and Fukui city using leading technology

Workshop : Revitalization of Lampang city and Fukui city using leading technology

การประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เรื่อง Revitalization of Lampang city and Fukui city using leading technology ระหว่างนักศึกษามหาวิทยาลัยเนชั่น ร่วมกับนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีฟุคุอิ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-19 กุมภาพันธ์ 2561 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีฟุคุอิ เมืองฟุคุอิ ประเทศญี่ปุ่น เพื่อเป็นเวทีส่งเสริมการแสดงออก การเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ นักศึกษา และผู้สนใจเกี่ยวกับประเด็นปัญหา/ผลกระทบและแนวทางการพัฒนาประเทศทั้ง 2 ประเทศ มีการดำเนินการตามกระบวนการ ดังนี้

 

1. นักศึกษามหาวิทยาลัยเนชั่นที่เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) ได้แก่

1.1 นายณัฐกฤษณ์ เนตรทิพย์ ชั้นปีที่ 2 คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ (ลำปาง)

1.2 นายวัชราวุธฒ์ มณฑา ชั้นปีที่ 2 คณะนิเทศศาสตร์ (ลำปาง)

1.3 นางสาวจีรนันท์ แซ่เฮ้อ ชั้นปีที่ 3 คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ (ลำปาง)

1.4 นางสาวนภัสสร บุญเดช ชั้นปีที่ 3 คณะนิเทศศาสตร์ (บางนา)

 

2. เข้ารับฟังการบรรยายพิเศษ จำนวน 3 เรื่อง ดังนี้

2.1 SHINKANSEN: History & Design by Dr.Takeshi Ikeda

2.2 Use of satellite data by Dr.Tomoyuki Nakajo

2.3 Business initiatives for Hokuriku Shinkansen extension to Tsuruga JR West Fukui Branch by Kouichi Kakui, General Manager of JR West Fukui Branch

 

3. มีการศึกษาดูงาน จำนวน 7 แห่ง ดังนี้

3.1 FUT campus tour, Fukui city

3.2 FUT Awara campus

3.3 Industrial Technology Center of Fukui Prefecture

3.4 Construction site for SHINKANSEN

3.5 Seiren Planet, Museum of astronomy

3.6 การพัฒนาผังเมืองและการเชื่อมต่อเส้นทางคมนาคม

3.7 Science Museum in Tokyo

 

4. มีการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) ภายใต้หัวข้อ การฟื้นฟูเมืองลำปางและเมืองฟุคุอิโดยใช้เทคโนโลยีชั้นนำ Revitalization of Lampang city and Fukui city using leading technology

4.1 นักศึกษาจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ทีมๆละ 7-8 คน คละสถาบัน ได้แก่

4.1.1 Lampang team : แนวทางการพื้นฟู Lampang city

4.1.2 Fukui team : แนวทางการพื้นฟู Fukui city

4.2 นักศึกษาทำการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของ Lampang city and Fukui city ข้อมูลจากการบรรยายพิเศษ และข้อมูลจากการศึกษาดูงาน แล้วสังเคราะห์ข้อมูลและคิดสร้างสรรค์แนวทางพื้นฟูเมืองทั้งสอง ซึ่งผลงานของนักศึกษา ได้แก่

4.2.1 Lampang team : แนวทางการพื้นฟู Lampang city ชื่อผลงาน King of satellite pineapple

4.2.2 Fukui team : แนวทางการพื้นฟู Fukui city ชื่อผลงาน Hokuriku Shinkansen love Story

4.3 นักศึกษาทั้งสองสถาบันร่วมกันนำเสนอผลงานสร้างสรรค์ จำนวน 2 ผลงาน ในการประชุมวิชาการร่วม ครั้งที่ 4 มหาวิทยาลัยเนชั่นและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีฟุคุอิ ประเทศญี่ปุ่น ประจำปีการศึกษา 2560 วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2561

 

ประโยชน์ที่ได้รับจากการประชุมวิชาการ

1. นักศึกษาได้เรียนรู้และเพิ่มพูนประสบการณ์ในการใช้ชีวิตในต่างแดน ต่างภาษา ต่างวัฒนธรรม เพื่อปรับทัศนคติและแนวคิดในการทำงานของตนในอนาคต เช่น กล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงความคิดเห็น การมีวินัยและความรับผิดชอบในการทำงาน การมีความสุภาพและมารยาทในการอยู่ร่วมกันในสังคม การให้เกียรติซึ่งกันและกัน ฯลฯ

2. การทำงานร่วมกันของนักศึกษาและอาจารย์ ได้ส่งเสริมให้ความสัมพันธ์ของทั้งสองสถาบันมีความสนิทสนมและแน่นแฟ้นกันมากยิ่งขึ้น ทำให้การดำเนินงานกิจกรรมทางวิชาการมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง

 

11 12 14 15 16 17 18 6 7 9

อดิศักดิ์ จำปาทอง/18 มีนาคม 2561

ข้อความนี้ถูกเขียนใน การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ, คณะนิเทศศาสตร์ คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

ใส่ความเห็น