อ.นิฤมล หิรัญวิจัตรภรณ์ Nirumol Hiranwijitporn
อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเนชั่น
แนวทางการจัดการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์อย่างสร้างสรรค์ จังหวัดลำปาง
Guidelines for Creative Experiential Tourism Management in Lampang Province
นำเสนอในการประชุมวิชาการร่วม ครั้งที่ 4 มหาวิทยาลัยเนชั่นและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีฟุคุอิ ประจำปีการศึกษา 2560 วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2561 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีฟุคุอิ ประเทศญี่ปุ่น
Abstract:
Tourism in Thailand has been expanded rapidly and is now a major contributor to Thailand economic by distributing more income to communities in rural areas, improving the standard of living and enhancing the effectiveness of resource utilization. Lampang has been selected to join the campaign “12 Cities You Can’t Say No” by the Tourism Authority of Thailand. The province focuses to promote creative tourism, community participation, and local product. Pa Mieng Community which is one of the tourist destinations in Lampang intends to provide tourists with genuine experience to engage with actual lifestyle of people in the community. The community, however, has not yet become a popular destination for tourists. This research aimed to study and provide the guidelines for the management of creative experiential tourism of Pa Mieng Community. The research utilized qualitative method to collect research data. In-depth interview, document analysis and observation were adopted as tools for data collection.
The results revealed that Pa Mieng Community has already set up the managing committee consisted of people in the community. There were 400-450 tourists per year in which generated average income of 180,000 -202,500 bath for the community. Most of the tourists came to visit the community during cold season in the beginning of the year to explore the beautiful scenery of natural attractions, sea of mist and the beautifulness of Orchid Tree flowers. The tourists also enjoyed observing the harvesting of coffee beans and Camelia leaves as well as experiencing the life style of people in the community. The study suggested that the community should create a complete tour program to high-light the outstanding tourist attractions, develop a consistent PR strategy and promote the understanding and participation of people in the community.
Keyword: Management , Experiential Tourism , Creative Tourism
บทคัดย่อ:
ในปัจจุบันการท่องเที่ยวมีการขยายตัวสูงมากขึ้น ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมาก การกระจายรายได้สู่ชุมชนในชนบท ยกมาตรฐานการครองชีพของชุมชน และช่วยกระตุ้นให้เกิดการผลิตทรัพยากรมาใช้ให้เกิดประโยชน์ทางจังหวัดลำปางเป็น 1 ใน 12 จังหวัด ภายใต้โครงการ 12 เมืองต้องห้ามพลาด …พลัส ที่เน้นการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ การมีส่วนร่วมในชุมชน สินค้าพื้นเมือง ซึ่งชุมชนบ้านป่าเหมี้ยงนั้นเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เน้นให้นักท่องเที่ยวได้รับประสบการณ์จริงและสัมผัสวิถีชีวิตของคนในชุมชน แต่ยังไม่เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวมากนัก ในงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ อย่างสร้างสรรค์ ของชุมชนบ้านป่าเหมี้ยงและเพื่อเสนอแนวทางในการจัดการแหล่งท่องเที่ยวภายในชุมชนบ้านป่าเหมี้ยง โดยใช้วิธีการดำเนินวิจัยเป็นแบบวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์เอกสารรวมถึงการสังเกต
ผลงานวิจัยพบว่า การบริหารจัดการการท่องเที่ยวภายในชุมชนป่าเหมี้ยงนั้น มีการจัดตั้งคณะกรรมการในการดูแลโดยคนภายในชุมชน ซึ่งมีจำนวนนักท่องเที่ยวประมาณ 400-450 คนต่อปี ทำให้มีรายได้เข้าชุมชนเฉลี่ย 180,000 – 202,500 บาทต่อปี โดยนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มาชมความสวยงามของแหล่งทางธรรมชาติทะเลหมอกและอากาศที่หนาวเย็นในช่วงต้นปีรวมทั้งความสวยงามของดอกไม้คือดอกเสี้ยวการเก็บเมล็ดกาแฟการเก็บใบเหมี้ยง รวมไปถึงวิถีชีวิตของคนในชุมชนโดยแนวทางแก้ไขปัญหาการจัดการแหล่งท่องเที่ยวภายในชุมชนบ้านป่าเหมี้ยง คือ ควรจะมีโปรแกรมการท่องเที่ยวที่ชัดเจน จุดเด่นในการท่องเที่ยว การประชาสัมพันธ์ที่ไปในทิศทางเดียวกันและสม่ำเสมอการทำความเข้าใจของคนในชุมชน
คำสำคัญ: การบริหารจัดการ การท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
นิฤมล หิรัญวิจัตรภรณ์/19 มีนาคม 2561