การวางแผนการฝึกงาน และสหกิจศึกษาสำหรับนักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจศูนย์บางนา

การวางแผนการฝึกงาน และสหกิจศึกษาสำหรับนักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจศูนย์บางนา

อาจารย์ดรรชกร ศรีไพศาล

วัตถุประสงค์ของการฝึกงานและสหกิจศึกษา

  1. เพื่อให้นักศึกษามีโอกาสเรียนรู้และได้รับ ประสบการณ์ชีวิตการทำงานที่แท้จริง
  2. เพื่อให้นักศึกษาได้เตรียมความพร้อมก่อนที่จะจบออกไปทำงาน
  3. เพื่อให้นักศึกษาได้รู้จักการปรับตัวให้เข้ากับ สภาพแวดล้อมภายนอกมหาวิทยาลัย
  4. เพื่อให้นักศึกษานำประสบการณ์ที่ได้รับจากการฝึกงานมาประยุกต์ใช้ในการทำงานต่อไป

ปฐมนิเทศ

  1. สร้างความรู้ความเข้าใจร่วมกันในประเด็น การปฏิบัติตัวระหว่างฝึกงาน การเตรียมตัวหลังจากการฝึกงาน ข้อกำหนดในการฝึกงาน การประเมินผลหลังการฝึกงาน
  2. ชี้แจงขั้นตอนเอกสารการขอฝึกงาน จดหมายขอความอนุเคราะห์รับนักศึกษาเข้าฝึกงาน และ จดหมายขอความอนุเคราะห์ส่งตัวนักศึกษาเข้าฝึกงาน
  3. ให้รุ่นพี่ส่งต่อรุ่นน้อง ด้วยการนำเสนอแต่ละสถานที่ที่ได้เข้าฝึกงาน เพื่อให้รุ่นน้องได้รับรู้ และ ทำความเข้าใจในวัฒนธรรมการปฏิบัติงานที่หลากหลาย และ ยังมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลในการปฏิบัติงาน และ การปฏิบัติตามระเบียบองค์กร
  4. อธิบายวิธีการกรอกข้อมูลของนักศึกษา และ พี่เลี้ยง , การจัดทำรูปเล่มรายงาน รวมถึงแนวคิดการทำโครงการร่วมกับ ผู้ประกอบการ (เฉพาะสหกิจศึกษา)

การปฏิบัติตัวระหว่างการฝึกงาน

  1. ตรงต่อเวลา
  2. มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น
  3. แต่งกายชุดนักศึกษา กรณีใส่เสื้อช็อปต้องผ่านความเห็นชอบจากบริษัทก่อน
  4. การลากิจ ลาป่วย ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับของสถานที่ฝึกงาน
  5. ระมัดระวังในเรื่องการวางตัวและการใช้เครื่องมือสื่อสาร
  6. ไม่ควรต่อรองเรื่องระยะเวลาการฝึกงานหรือ เรียกร้องอภิสิทธิ์ใด ๆ จากสถานที่ฝึกงาน
  7. นักศึกษาควรมีความเชื่อมั่นในตนเอง กล้าคิด กล้าแสดงออกและกล้าตัดสินใจ
  8. ให้ถือเสมือนว่า การฝึกงานก็คือการทำงาน และทำการ ฝึกงานอย่างเต็มกำลังความสามารถ
  9. การไปฝึกงานของนักศึกษา ถือว่าไปในนามตัวแทนของมหาวิทยาลัยและในนามของคณะฯ ต้องไม่กระทำการ ใด ๆ ที่จะทำให้เสื่อมเสียต่อส่วนรวม
  10. ในระหว่างการฝึกงาน หากมีปัญหาเกี่ยวกับงานต้องการคำปรึกษาเชิงวิชาการ นักศึกษาควรติดต่อกลับมายังอาจารย์ประจำภาควิชา แต่ถ้ามีปัญหาเกี่ยวกับการฝึกงานติดต่อเจ้าหน้าที่หน่วยทะเบียนฯ โดยตรง
  11. หากมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นระหว่างการฝึกงานให้ติดต่อคณะฯ หรือมหาวิทยาลัย

การเตรียมตัวหลังจากฝึกงาน

  1. ในระหว่างฝึกงานอยู่ นักศึกษาจะต้องรวบรวมข้อมูลพร้อมทั้งจัดทำรายงานฝึกงานควบคู่ไปด้วยเพื่อทำให้รายงานมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
  2. เมื่อกลับจากการฝึกงาน นักศึกษาต้องส่งเอกสารต่าง ๆดังนี้

– สมุดบันทึกการฝึกงาน

– รายงานฉบับสมบูรณ์

  1. นักศึกษาต้องส่งเอกสารตามข้อ หลังกลับจากฝึกงาน และหลังจากการนำเสนอปากเปล่า และ การนำเสนอหน้าชั้นเรียน

ข้อกำหนดในการฝึกงาน

  1. นักศึกษาทุกภาควิชาจะต้องฝึกงานไม่น้อยกว่าที่ กำหนดในหลักสูตร
  2. ให้ผู้ควบคุมหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายดูแลระหว่างการฝึกงาน เซ็นต์ชื่อรับทราบการปฏิบัติงานทุกสัปดาห์
  3. 3. ไม่อนุญาตให้มีการลงทะเบียนรายวิชาฝึกงานย้อนหลัง

การประเมินผลการฝึกงาน

  1. 1. การประเมินผลเป็นสัญลักษณ์

S = ผ่าน
U =ไม่ผ่าน

  1. 2. การประเมินผลพิจารณาจาก

– รายงานที่นักศึกษานำเสนอ และ จัดทำ
– ใบรายงานของผู้ควบคุมการปฏิบัติงาน

– ข้อมูลจากคณาจารย์ที่ไปนิเทศนักศึกษาฝึกงาน

 

 

 

ตรวจเยี่ยม(นิเทศ)

ภายหลังจากที่นักศึกษาได้เข้าสู่สถานที่ฝึกงานและได้รับการยืนยันเรียบร้อยแล้ว คณะอาจารย์ผู้รับผิดชอบฝึกงานนักศึกษาจะทำการออกนิเทศตามสถานที่ฝึกงานของนักศึกษา โดยจะแจ้งให้ทราบล่วงหน้า เพื่อการเตรียมพร้อมของบุคลากรและผู้ดูแลการฝึกงานรวมทั้งตัวนักศึกษาเอง เพื่อประเมิน ลักษณะของสถานที่ฝึกงานและความเหมาะสมในการฝึกงานตามที่นักศึกษาได้รับมอบหมาย พร้อมรวบรวมข้อมูลการประเมินความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานของนักศึกษา/ผู้ปฏิบัติงานโดยการ

  • ให้คำปรึกษาด้านวิชาการแก่นักศึกษาฝึกงาน
  • ตรวจเยี่ยม ติดตามความก้าวหน้าและปัญหาอุปสรรคในระหว่างการฝึกงาน
  • รายงานปัญหาอุปสรรคแก่อาจารย์ผู้รับผิดชอบการฝึกงาน
  • ประเมินผลการฝึกงานของนักศึกษา และประชุมร่วมกับผู้เกี่ยวข้อง เพื่อหาข้อยุติกรณีที่จำเป็น

ตัวอย่างคำถามสำหรับการนิเทศฝึกงาน

  1. ลักษณะธุรกิจของสถานประกอบการ
  2. พี่เลี้ยงหรือผู้ประสานที่รับผิดชอบชื่ออะไร ดูแลงานไหน ลักษณะงานในแผนกเป็นเช่นไร
  3. นักศึกษาฝึกงานที่แผนกไหน ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานด้านใดบ้าง และตรงสาขาวิชาหรือไม่
  4. มีผู้แดแลนักศึกษา หรือ พี่เลี้ยงหรือไม่
  5. นักศึกษามีความสามารถในการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายอย่างไร
  6. นักศึกษาปฏิบัติตามกฎระเบียบขององค์กรหรือไม่ มีสิ่งใดที่ต้องปรับปรุง
  7. องค์กร ต้องการให้คณะฯ ปรับปรุงประเด็นใดบ้าง เพื่อการจัดส่งนักศึกษาที่มีคุณภาพตรงกับความต้องการมากที่สุด

ปัจฉิมนิเทศ

หลังจากที่นักศึกษากลับจากจากสถานประกอบการ เป็นการประชุมนักศึกษารวมทั้งมหาวิทยาลัย  เพื่อย้ำเตือนให้นักศึกษาเตรียมเอกสารประกอบการรายงานปากเปล่า และ หน้าชั้นเรียน และ ส่งรูปเล่มเรายงาน รวมถึงการส่งเอกสารการประเมินจากผู้ประกอบการ

นำเสนอ

เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์รระหว่างอาจารย์ และ นักศึกษาที่ฝีกงานด้วยกัน รวมถึงเพื่อเป็นการสรุปผลลัพธ์จากการเข้าฝึกงานของตัวนักศึกษา ทางคณะจึงจัดให้มีการนำเสนอรายงาน 3 รูปแบบคือ

  1. นำเสนอปากเปล่า ต่อหน้าอาจารย์ในคณะฯ เพื่อตรวจสอบทัศนคติในการพบปะผู้คน และ ทัศนคติในการทำงาน ของตัวนักศึกษา และ ยังเป็นการเปิดมุมมอง หรือ ทรรศนใหม่ๆ ให้กับอาจารย์ในคณะทุกท่าน เพื่อนำไปใช้ปรับปรุงในการเรียนการสอน
  2. หน้าชั้นเรียน โดยใช้ MS Powerpoint ในการนำเสนอ เพื่อให้นักศึกษาได้รู้จักการเรียบเรียงเพื่อการนำเสนอ เป็นการนำเสนอโดยย่อส่วนจากรูปเล่ม เพื่อให้นักศึกษาได้มีทักษะด้านการย่อยข้อมูล และ ทักษะการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
  3. ส่งรูปเล่ม เพื่อให้นักศึกษาได้รู้จักการเรียบเรียงเป็นภาษาทางการ










































เรื่องนี้ถูกเขียนใน คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์ และติดป้ายกำกับ , , คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

ใส่ความเห็น