กระบวนการเสริมสร้างความยุติธรรมของอาจารย์ในการวัดผลการเรียน

กระบวนการเสริมสร้างความยุติธรรมของอาจารย์ในการวัดผลการเรียน

ในภาคการศึกษาที่ 2/2560 อาจารย์ภฏะ รองรัตน์ อาจารย์ประจำหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ได้เสนอประสบการณ์เกี่ยวกับการเสริมสร้างความยุติธรรมในการวัดผลการเรียน มีข้อเสนอแนะ ดังนี้

“ความยุติธรรม” คือ ความเที่ยงธรรม, ความชอบธรรม, ความชอบด้วยเหตุผล  และ ไม่เอนเอียงเข้าข้างใดข้างหนึ่งคุณธรรม

ในทุกปีทางมหาวิทยาลัย จะให้มีการประเมินการเรียนการสอนของอาจารย์ผู้สอน ถึงกระบวนการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาต่างๆ ให้เป็นไปตามมาตรฐานของหลักสูตร (TQF)  ซึ่งประเมินในช่วงใกล้สิ้นภาคการศึกษา เมื่อวัดประกาศผลการเรียน นักศึกษามักจะสงสัยในคะแนนสอบและเกรดอยู่ประจำทุกภาคการศึกษา ทำให้เกิดกระบวนการพิจารณาเกรดใหม่ หรือแก้ไขเกรด ส่งผลต่อภาพลักษณ์มหาวิทยาลัย และมาตรฐานทางด้านวิชาการของหลักสูตรและคณะวิชา ประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง คือข้อสอบวัดผลแบบอัตนัย ซึ่งนักศึกษาเห็นว่า ข้อสอบอัตนัยมักเป็นช่องว่างที่อาจารย์จะให้คะแนนโดยใช้ทัศนคติส่วนตัวที่มีต่อนักศึกษาทั้งด้านบวกและลบมาใช้เป็นมาตรวัดในการตรวจข้อสอบและให้คะแนน

ทางหมวดวิชาศึกษาทั่วไป จึงได้ทดลองกลไกเพื่อเสริมสร้างความยุติธรรมในการตรวจและการให้คะแนนข้อสอบ ดังนี้

*** ดูเพิ่มเติมที่
https://docs.google.com/spreadsheets/d/1SQeNuicKJ512UmIIE8X2hhjQAa0Z95ss9erPBjdxuIY/edit#gid=0

จากกระบวนการข้างต้น มีหลายขั้นตอนที่ผู้สอนและคณะกรรมการประจำหมวดวิชาศึกษาทั่วไปได้ดำเนินการอยู่แล้ว แต่ในภาคการศึกษาที่ผ่านมาก็ให้ความตระหนักมากยิ่งขึ้น และพบว่ากลไกดำเนินการของหมวดวิชาศึกษาทั่วไปดังกล่าว มีผลทำให้การประเมินความพอใจของนักศึกษาต่อกระบวนการเรียนการสอนมีเพิ่มมากขึ้น และไม่พบขอร้องเรียนในการข้อดูคะแนนสอบปลายภาค จากจำนวนที่เปิดลงทะเบียน จำนวน 14 วิชา  โดยในภาคการศึกษาถัดไปจะนำกระบวนการดังกล่าวมาพัฒนา เพื่อเป็นข้อมูลเชิงเปรียบเทียบกับภาคการศึกษาที่ผ่านมาและกลุ่มรายวิชาเดียวกัน เพื่อทำให้เกิดกระบวนการที่ดี

ขอบคุณ อาจารย์ภฏะ รองรัตน์ ที่ช่วยแชร์ประสบการณ์ไว้ ณ ที่นี้

ข้อความนี้ถูกเขียนใน ทั่วไป คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

ใส่ความเห็น