การผลิตผลงานวิจัยให้เป็นไปตามเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ (ใหม่)

ผศ.บดินทร์ เดชาบูรณานนท์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเนชั่น

การผลิตผลงานวิจัยให้เป็นไปตามเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ (ใหม่)

ตามที่ราชกิจจานุเบกษา ได้ออกประกาศ ก.พ.อ. วันที่ 31 ตุลาคม 2560 เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ 1 ปี หลังจากประกาศ (1 พฤศจิกายน 2561) โดยสรุปดังนี้

สำหรับหลักการแล้ว ประกาศ ก.พ.อ. ฉบับนี้มีความเข้มข้นมากขึ้น แต่ยื่นขอตำแหน่งได้เร็วขึ้น ตัวอย่างเช่น

1) อายุงานการเป็นอาจารย์ โดยมีวุฒิปริญญาตรี 6 ปี ปริญญาโท 4 ปี และ ปริญญาเอก 1 ปี และพ้นระยะทดลองการปฏิบัติงาน (ขอได้เร็วขึ้นกว่าเดิม)

2) ผลงานทางวิชาการ (เข้มขึ้นกว่าเดิม)

ตำแหน่ง ผศ. ประกอบด้วย วิจัย 2 เรื่อง (ดี) หรือวิจัย 1 เรื่องและผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น 1 รายการ (ดี) หรือวิจัย 1 เรื่อง และผลงานวิชาการรับใช้สังคม 1 เรื่อง (ดี) หรือวิจัย 1 เรื่อง และตำราหรือหนังสือ  1 เล่ม (ดี)

ตำแหน่ง รศ. ประกอบด้วย วิจัย 2 เรื่อง (ดี) หรือ วิจัย  1 เรื่อง และผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น 1 รายการ (ดี) หรือ วิจัย 1 เรื่อง และผลงานวิชาการ รับใช้สังคม 1 เรื่อง และตำราหรือหนังสือ 1 เล่ม (ดี)

ตำแหน่ง ศ. สำหรับการเสนอขอตำแหน่งในกลุ่มสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ ประกอบด้วย ตำราหรือหนังสือ 2 เล่ม และผลงานวิจัย 2 เรื่อง (ดีมาก) หรือตำราหรือหนังสือ 2 เล่ม ผลงานวิจัย 1 เรื่อง และผลงานวิชาการในลักษณะอื่นหรือผลงานวิชาการรับใช้สังคม 2 เรื่อง (ดีมาก) เป็นต้น (“ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง ผศ. รศ. และ ศ. พ.ศ. 2560 ,” 2561)

                        จากมุมมองของผู้เขียนเทคนิคการผลิตผลงานวิจัยสำหรับการขอตำแหน่งวิชาการตามเกณฑ์การประเมินตำแหน่งวิชาการแบบใหม่ ในกลุ่มสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ มีองค์ประกอบให้ผู้เสนอขอตำแหน่งได้พิจารณา ดังนี้

1)แสดงถึงความชำนาญและความเชี่ยวชาญในสาขาวิชานั้นๆ ต้องเป็นงานวิจัยที่

ลงลึกในศาสตร์นั้นๆ และตรงกับสาขาวิชาของผู้ขอ ซึ่งจะช่วยให้คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาผลงานได้ตรงกับสาขาวิชา โดยไม่ต้องขอผลงานเพิ่มเติม

2)มีระเบียบวิธีวิจัยที่ถูกต้อง น่าเชื่อถือ ผู้เสนอขอตำแหน่งสามารถเลือกส่งผลงานได้ทั้ง

งานวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ

3)ใช้การอ้างอิงที่เป็นมาตรฐาน ซึ่งในปัจจุบันมหาวิทยาลัยหลักใช้ตาม

ระบบ APA (6th Edition)

4)   ไม่คัดลอกผลงานผู้อื่น โดยจรรณยาบรรณของนักวิจัย ไม่ควรคัดลอกผลงานทาง

วิชาการ ผลงานวิจัย สิ่งพิมพ์ วิทยานิพนธ์ (Academic Plagiarism)

5)    หัวข้อน่าสนใจ  ซึ่งได้มาจากการอ่านเอกสาร ตำรา และการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ เช่น กรณีงานวิจัยสำหรับการขอตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ การทบทวนวรรณกรรมจะช่วยให้เกิดประโยชน์ โดยทราบถึงช่องว่างและโอกาสที่จะต่อยอดความคิด รวมถึงมีความคิดริเริ่มเป็นผู้บุกเบิกในหัวข้อวิจัยใหม่ๆ ได้

6)  วิจัยนำไปใช้ประโยชน์ได้ โดยสามารถนำไปประยุกต์ใช้ หรือเกิดประเกิดประโยชน์กับสังคม

7)  เผยแพร่ในวารสารวิชาการ ในฐานข้อมูล TCI  กลุ่ม 1 หรือ กลุ่ม 2

ตามเกณฑ์ ก.พ.อ. ผลงานวิจัยการขอตำแหน่ง ผศ. และ รศ. เผยแพร่ในฐานข้อมูล TCI  กลุ่ม 1 หรือ กลุ่ม 2 ก็ได้ สำหรับการขอตำแหน่ง ศ. สาขาสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ต้องเป็นฐานข้อมูล TCI  กลุ่ม 1

(ทั้งนี้ผู้ขอตำแหน่งสามารถดูผลการประเมินคุณภาพวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI ได้ใน

http://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/announcement_58.php)

 

รายการอ้างอิง

ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง ผศ. รศ. และ ศ.

พ.ศ. 2560. (2560, 1 พฤศจิกายน) วันที่เข้าถึงข้อมูล 14 มิถุนายน 2561,

แหล่งที่มา https://researchspaceblog.wordpress.com/2017/11/01/

ข้อความนี้ถูกเขียนใน คณะนิเทศศาสตร์, แนวทางการผลิตงานวิจัยเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

ใส่ความเห็น