3R ตัวชี้วัดความพึงพอใจลูกค้า

     วันนี้มีโอกาสได้หยิบวารสาร Productivity corner ของสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ปีที่ 9 ฉบับที่ 113 สิงหาคม 2552 ขึ้นมาอ่าน แล้วเปิดไปที่หัวข้อ Light Up หน้าที่ 5 ของวารสาร มีหัวข้อหนึ่งที่อ่านแล้วประทับใจเลยอยากจะมาแบ่งปันให้กับสมาชิกทุกท่านได้รับทราบ นั่นก็คือหัวข้อ 3R ตัวชี้วัดความพึงพอใจลูกค้า ซึ่งเขียนโดยคุณจำลักษณ์  ขุนพลแก้ว โดยเนื้อหาสาระมีดังนี้ครับ

     ความพยายามของทุกองค์กรในการคิดค้นกลยุทธ์และวิธีการต่างๆ นานาเพื่อสร้างความพึงพอใจลูกค้านั้น จะสำเร็จเป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการวัดผล และเครื่องมือที่บอกได้ดีมี 3 ตัวหลักๆ รวมเรียกว่า 3R ดังนี้

    Retain ไม่ว่าลูกค้าใหม่ที่เราหามาได้ในแต่ละปีจะมีมากมายเพียงใด แต่ถ้าไม่สามารถรักษาไว้ได้ในอัตราที่สูง ก็ต้องเหนื่อยในการหาลูกค้าใหม่ในปีถัดไปไม่รู้จบ ดูได้จากตัวเลขอัตราการรักษาลูกค้าเดิม (Retention rate) ซึ่งจะแสดงค่าออกมาเป็นร้อยละ (%) โดยค่าสูงสุดคือ 100% นั่นคือลูกค้าเก่ายังคงอยู่ครบถ้วน ไม่หนีหายไปไหน ดังนั้นยิ่งอัตราส่วนนี้มีค่าสูงมากเท่าใด ย่อมเป็นผลดีต่อธุรกิจนั้นๆ ถือว่าเป็นฐานของรายรับที่สำคัญทีเดียว

    Repeat ถึงแม้ว่าลูกค้าเดิมยังอยู่ แต่ไม่สามารถกระตุ้นกำลังซื้อ เพิ่มกำลังจ่ายให้เพิ่มขึ้นได้ ก็ถือว่าเสียโอกาสอย่างยิ่ง ดังนั้นการกระตุ้นยอดขายให้สูงขึ้น (Growth rate) ในแต่ละปีในกลุ่มลูกค้าเก่า จากการซื้อซ้ำให้บ่อยที่สุดทั้งกลุ่มสินค้าเดิม (Up sell) และในกลุ่มสินค้าใหม่ (Cross sell) โดยเชื่อว่า ลูกค้าที่มีความจงรักภักดีต่อตราสินค้าใดก็ตามแล้ว การตัดสินใจที่จะซื้อเกิดขึ้นได้ง่ายและรวดเร็วยิ่ง

    Refer สำหรับลูกค้าเก่าที่มีความจงรักภักดีและชื่นชมในผลงานของเรา ย่อมเป็นนักประชาสัมพันธ์ที่ดีเสียยิ่งกว่าพนักงานขายของเราเสียอีก ดังนั้นความมั่นใจ พอใจ ภูมิใจในสินค้านั้นๆ จะเป็นแรงผลักดันที่ทำให้ลูกค้ากลุ่มนี้ทำหน้าที่เป็นพนักงานขายให้กับสินค้าของเราในที่สุด ไม่ว่าจะด้วยแรงโน้มน้าวเพื่อนสนิทมิตรสหาย ดูได้จากอัตราการบอกต่อ (Refer rate)

    “ทั้ง 3 ตัวนี้ ถ้าทำดีทำถูก จะให้ผลลัพธ์ที่สูงอย่างต่อเนื่อง และทำให้อันดับการแข่งขันขององค์กรในตลาดเลื่อนลำดับจนอาจกลายเป็นเจ้าตลาดได้ในที่สุด”

————————————————————————————

    จากเรื่องดังกล่าวข้างต้น เราลองมองดูตราสินค้าของพวกเรา คือ ตรา Yonok (โยนก) ที่ทุกคนรู้จัก ในและภาคการศึกษา แต่ละปีการศึกษาเราได้มีการ retain นักศึกษามากน้อยเพียงใด ซึ่งเราก็สามารถที่จะดูได้จากอัตราการ drop out ของนักศึกษา หากมีจำนวนที่น้อยเท่าไร นั่นก็แสดงถึงว่าเราสามารถที่จะ retain นักศึกษาให้อยู่กับเราได้มากเท่านั้น

     เราสามารถที่จะสร้างความจงรักภักดีให้ต่อตราสินค้า (Brand Awareness) ให้กับนักศึกษาได้มากน้อยเพียงใด หากนักศึกษาจงรักภักดีต่อตราโยนกแล้ว หลังจากที่นักศึกษาเรียนจบปริญญาตรี หากจะศึกษาต่อปริญญาโท ก็จะเลือกมหาวิทยาลัยโยนกเป็นแห่งแรกในดวงใจ นี่คือการสร้างความจงรักภักดีต่อตราสินค้าโยนกนั่นเอง

     หลังจากที่นักศึกษาได้มีความจงรักภักดีต่อตราโยนกแล้ว เชื่อมั่นได้ว่านักศึกษากลุ่มดังกล่าวก็สามารถที่จะ Refer ข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ไปให้กับผู้ที่มีแวดล้อมตัวเขาเอง แนะนำ โน้มน้าว ให้บุคคลที่เขารู้จักได้มาเป็นลูกค้าของสินค้าที่ชื่อว่า โยนก (Yonok University)

    “ทุกท่านคงเห็นแล้วว่า 3R สามารถที่จะเป็นตัวชี้วัดความพึงพอใจลูกค้าได้เป็นอย่างดี แล้วตอนนี้ทุกท่านพร้อมหรือยังที่จะนำแนวทาง 3R มาใช้เป็นแนวทางในการวัดความพึงพอใจลูกค้าโยนกของเรา ???”

เกี่ยวกับ Khongsak Tuisuep

Management Lecturer of Faculty of Business Administration. Yonok University, Lampang TH.
เรื่องนี้ถูกเขียนใน คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์, บริหารธุรกิจ และติดป้ายกำกับ , , , คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

4 ตอบกลับไปที่ 3R ตัวชี้วัดความพึงพอใจลูกค้า

  1. atichart พูดว่า:

    3R จะสำเร็จได้ ผมขอเสนอให้ใช้ 3C โดยสามารถจับคู่กันได้ดังนี้

    Retain : Customer Satisfaction Strategy

    มีผลการวิจัยบอกว่า การเพิ่มลูกค้าใหม่ได้ 20% และรักษาลูกค้าเก่าได้ 85% บริษัทจะเติบโตได้เพียง 5% แต่หากสามารถรักษาลูกค้าเก่าได้ 95% อัตราการเติบโตจะเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่า คือ 15% ด้านธุรกิจ ต้องสร้างความพึงพอใจ หรือประทับใจในสินค้าและบริการ เพื่อรักษาลูกค้าเก่ากับ Brand ของเรา แต่สำหรับธุรกิจการศึกษา ความพึงพอใจของนักศึกษา อาจจะหมายถึง เกรด A หรืออาจารย์ที่มีคุณภาพ สอนเก่ง แต่ 2 เรื่องนี้มักสวนทางกัน ผมขอมองเป็น 2 ด้าน คือ คุณภาพ และคุณธรรม อาจารย์คงต้องทั้งสอนเก่ง และมีความโปร่งใส ยุติธรรม กับนักศึกษาทุกคน บางครั้งได้ยินมาว่า อาจารย์ไม่ได้สอน แต่เอามาออกข้อสอบ เกรดออกมาต่ำ ส่งผลต่อเกรดเฉลี่ยนักศึกษา และอัตราการ Drop Out เช่นกัน

    Repeat : CRM Strategy

    สำหรับโยนกผมมองประเด็นนี้ว่า โรงเรียนที่เคยส่งนักเรียนมาเรียนที่โยนก ต้องส่งมาทุกปีอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับครูแนะแนวหรือ ผ.อ.โรงเรียน เป็นสิ่งจำเป็นยิ่ง เครื่องมือที่สำคัญ คือ incentive ที่แตกต่างจากคู่แข่ง แต่ต้องโดนใจลูกค้า

    Refer : Customer Focused Strategy

    ผมมองประเด็นนี้ที่นักศึกษาปัจจุบัน และศิษย์เก่า เพราะสามารถเป็นปากเสียงที่ดีและตรงกลุ่มเป้าหมายที่สุด ดังนั้นตลอดอายุการเป็นนักศึกษา และแม้นว่าเขาเหล่านั้นพ้นไปเป็นศิษย์เก่าแล้ว เราต้องเอาหัวใจของเขา มาเป็นหัวใจของเรา เพื่อที่ว่า กระบวนการและกิจกรรมทางการศึกษา ที่เราดำเนินอยู่ในทุกๆ ด้าน ต้องเป็นไปอย่างโปร่งใส เป็นธรรม และมีคุณภาพ

  2. Khongsak Tuisuep พูดว่า:

    ขอขอบคุณท่านอาจารย์อติชาต ที่ได้ร่วมแบ่งปันความรู้และการให้ข้อเสนอแนะครับ ผมเชื่อมั่นว่าหากบุคลากรของโยนกเราทุกคนได้เข้าใจและนำไปปฏิบัติแล้ว มหาวิทยาลัยโยนกของเรา ก็จะก้าวเดินต่อไปอย่างมั่นคงครับ

  3. คุณภาพ (quality) เป็นอีกตัวที่เรามองกันทั้งประเทศ ในทุกระบบ ว่าเป็นตัวชี้วัด ดังนั้น ถ้าลูกค้าบอกว่าคุ้มค่ากับสินค้าใด ๆ สินค้านั้นก็คือสินค้าที่มีคุณภาพ เหมือนการไปใส่บาตร หรือทำบุญ ที่พ่อออก แม่ออก จะยอมทุ่มให้กับพระที่ตนนับถือ เพราะเห็นว่าคุ้มที่ต้องจ่ายให้กับพระมีคุณภาพ ศรัทธาที่มีต่อพระสงฆ์กลายเป็นผลตอบแทนที่ทำให้พ่อออกแม่ออกสบายใจ และเป็นสุข

  4. weerapun พูดว่า:

    แวะมาแจมด้วยคนครับ

ใส่ความเห็น