*ปราชญ์ชาวบ้านในชุมชนท่ากลาง-ท่าใต้ อ.แม่ทะ จ.ลำปาง

โครงการค่ายเรียนรู้คุณธรรม นำชีวิตพอเพียง ปี 2552
ณ บ้านท่ากลาง-ท่าใต้ อ.แม่ทะ จ.ลำปาง……….

มหาวิทยาลัยโยนก ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ในการจัดทำโครงการค่ายเรียนรู้คุณธรรม นำชีวิตพอเพียง ปี 2552 ที่มีวัตถุประสงค์หลัก คือ (1) เพื่อให้นักศึกษาและอาจารย์ของมหาวิทยาลัยโยนกได้ศึกษาและวิเคราะห์วิถีชีวิต เศรษฐกิจ ศิลปะ วัฒนธรรม ความเชื่อ การเมือง การปกครองของประชาชนในชุมชน โดยการสัมผัสและปฏิบัติงานจริง (Activity Based Learning) รวมทั้งได้ร่วมกันศึกษาถึงแก่นแท้ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การสร้างสังคมอยู่เย็นเป็นสุข และการนำไปประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม (2) เพื่อพัฒนาความเป็นผู้นำ (Leadership Development) ให้นักศึกษากล้าคิด กล้าทำ รวมทั้งฝึกหัดใช้กระบวนการวิเคราะห์และสังเคราะห์การเรียนรู้ของนักศึกษาบนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง และ (3) เพื่อรวบรวมองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาเรียนรู้จากชุมชนที่แสดงถึงความเชื่อมโยงเครือข่ายความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยโยนก ชุมชน ศาสนา และปรัชญา ชาวบ้านสำหรับเป็นแนวทางการสร้างสังคมอยู่เย็นเป็นสุข (Green and Happiness Society) เป็นต้น
P1080383

P1080385

P1080387

P1080405

P1080449

P1080443

P1080441

ปราชญ์ชาวบ้านในชุมชน
กรอบการเรียนรู้ในโครงการค่ายเรียนรู้ คุณธรรม นำชีวิตพอเพียง ในหัวข้อการศึกษาปราชญ์ชาวบ้านในชุมชนในการศึกษาได้ยึดกรอบ ดังนี้
– แหล่งภูมิปัญญาในชุมชน (บ้าน วัด(มัสยิด) โรงเรียน)
– ขอบข่ายประเภท องค์ความรู้ในชุมชน

ความหมายของภูมิปัญญาท้องถิ่น
ภูมิปัญญาท้องถิ่น หมายถึง ความรู้ ความเชื่อ ความสามารถของมนุษย์ในการแก้ปัญหา ปรับตัวจัดความสัมพันธ์และการดำรงชีวิต ให้ผสมผสานและสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ สังคม วัฒนธรรม และวิถีชีวิตทางกลุ่มชน เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ของตนเอง และบรรพบุรุษที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมา ซึ่งเป็นความรู้แบบองค์รวม (Holistic) ที่มีการเกี่ยวพันอย่างใกล้ชิดกับระบบสังคม วัฒนธรรม รวมทั้งความเชื่อทางศาสนาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์
ลักษณะของภูมิปัญญาท้องถิ่น
– เป็นเรื่องของการใช้ความรู้ ทักษะความเชื่อ พฤติกรรมของคนในชุมชน
– แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างคน ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในชุมชน
– มีเอกลักษณ์ในตนเอง ซึ่งมีวัฒนธรรมเป็นพื้นฐาน
– คำนึงถึงวิกฤติการณ์ในชุมชน อันได้แก่ การดำรงชวิตของมนุษย์ และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
– มีลักษณะเป็นพลวัต คือ เปลี่ยนแปลงได้และมีพัฒนาการอยู่ตลอดเวลา
– ไม่มีการบันทึกเป็นระบบ
– ดูดซับการถ่ายทอดโดยผ่านวิถีชีวิต การปฏิบัติ และการบอกเล่าต่อ ๆ กันมา

จากการศึกษาในหัวข้อ “ปราชญ์ชาวบ้านในชุมชน” พบว่าในหมู่บ้านท่ากลางท่าใต้

มีบุคคลที่มีความรู้ในด้านของปราชญ์ชาวบ้านในชุมชนทั้งหมด 3 ด้าน ดังนี้
1. ด้านการแพทย์แผนโบราณ
-พ่อหนานต้น สายเครือคำ อายุ 77 ปี
-นายจันทร์ดี มูลหอม อายุ 82 ปี
-นายฤทธิ์ แก้วโห้ อายุ 67 ปี
-นายฤทธิ์ แก้วโห้ อายุ 67 ปี
-นายจู สิทธิหนิ้ว อายุ 73 ปี
2. ด้านเศรษฐกิจ คือนายเลื่อน มูลนันไชย อายุ 66 ปี
3. ด้านเกษตรกรรม คือนายเลื่อน มูลนันไชย อายุ 66 ปี

การวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมในหัวข้อปราชญ์ชาวบ้านในชุมชน
จุดแข็ง
หมู่บ้านท่ากลาง – ท่าใต้มีปราชญ์
ที่เพียบพร้อมไปด้วยความรู้ ความสามารถและเชี่ยวชาญ
ทั้งในด้านการรักษาแพทย์แผนไทย ด้านเกษตรกรรม และด้านเศรษฐกิจ
จุดอ่อน
ยังไม่มีกระบวนการในการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่มีอยู่ใน
ตัวของปราชญ์ให้คงอยู่กับชุมชนได้อย่างยั่งยืน
โอกาส
หน่วยงานในท้องถิ่นสามารถนำองค์ความรู้จากปราชญ์ชาวบ้าน
ไปใช้ในการพัฒนาด้านต่าง ๆ ได้ อาทิ สถานศึกษา (พัฒนาหลักสูตร) องค์การบริหารส่วนตำบล (เศรษฐกิจชุมชน)
อุปสรรค
ยังไม่มีหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่ส่งเสริมสนับสนุน
และดำเนินการรวบรวมข้อมูลเรื่องปราชญ์ชาวบ้านอย่างจริงจัง

ข้อเสนอแนะ
หน่วยงานทั้งในภาครัฐและเอกชนควรเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริม และสนับสนุนในด้านปราชญ์ชาวบ้านในชุมชน ให้มีความยั่งยืน เช่น อาจประยุกต์เข้าในบทเรียนของเยาวชน เพื่อศึกษาภูมิปัญญาชาวบ้านในท้องถิ่น หรือ สนับสนุนในด้านของเศรษฐกิจ ในการช่วยส่งสินค้าออกจำหน่าย เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้ชาวบ้าน อีกทั้งเป็นการสืบทอดภูมิปัญญาดังกล่าวอีกด้วย

รายงานจากกลุ่มปราชญ์
อ.ปวินท์รัตน์ สุดประเสริฐ

ข้อความนี้ถูกเขียนใน ทั่วไป คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

3 ตอบกลับไปที่ *ปราชญ์ชาวบ้านในชุมชนท่ากลาง-ท่าใต้ อ.แม่ทะ จ.ลำปาง

  1. atichart พูดว่า:

    โครงการค่ายเรียนรู้คุณธรรม นำชีวิตพอเพียง สอดคล้องกับกระบวนการจัดการความรู้อย่างแท้จริง มีการแลกเปลี่ยนรู้ระหว่างชุมชน ซึ่งคือ ปราชญ์ชาวบ้าน หรือผู้รู้ กับนักวิชาการ ที่ก็คือผู้รู้เช่นกัน ต่างกันเพียงแหล่งที่มาของความรู้ ปราชญ์ชาวบ้าน ได้ความรู้จากประสบการณ์ ทักษะ อาจารย์ นักศึกษา ความรู้ส่วนใหญ่ได้จากหนังสือ ตำรา และทฤษฎีต่างๆ ดังนั้น เมื่อ Tacit Knowledge ของทั้ง 2 ผู้รู้ ได้มาแลกเปลี่ยนกันในเวทีที่เป็น Socialized Network แล้ว Explicit Knowledge ซึ่งเป็นความรู้ชัดแจ้ง และ New Knowledge ก็จะตามมาในที่สุด

  2. ขอบคุณเจ้าอาจารย์…ค่ายคุณธรรม นำชีวิตพอเพียง เป็นแหล่งความรู้ที่อยู่นอกห้องเรียน นศ.โยนกได้ฝึกประสบการณ์ชีวิตที่ล้ำค่า..เรียนรู้ร่วมกัน..สร้างสรรค์ประโยชน์สูงสุด ให้กับตนเองและสังคม…เป็นสิ่งหนึ่งที่ประกาศว่ากิจกรรมมีส่วนทำให้ New Knowledge เป็นความจริง….

  3. ยอดเยี่ยมมาก กับการทุ่มเท เสียสละ ทดแทนคุณแผ่นดินเกิด เพื่อชาติบ้านเมืองที่เราอาศัย เป็นอุดมการณ์ที่มีในนักศึกษา และอาจารย์ที่ทุ่มเทร่วมกันเชิงบูรณาการ ที่ผมต้องเอาเยี่ยงอย่าง และเป็นถือเป็นแนวในการทุ่มเททำงานต่อไป

ใส่ความเห็น