เทคนิคการสอน

อาจารย์วีระพันธ์  แก้วรัตน์ วิทยากรได้แชร์ความรู้จากการเข้าอบรมเชิงปฏิบัติการ “นวัตกรรมเพิ่มพลังอาจารย์ สร้างสรรค์ผลงานอุดมศึกษา” ดังนี้

  • การเรียนรู้ตามทฤษฎีของบลูม Bloom’s Taxonomy

แบ่งออกเป็น 3 ด้าน คือ  • ด้านพุทธิพิสัย  • ด้านจิตพิสัย  • ด้านทักษะพิสัย

  • เทคนิคการสอน

ณ ปัจจุบันเทคนิคการสอนที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นเทคนิคที่ดี มี 13 เทคนิค ดังนี้

เทคนิคที่ 1 การพัฒนาทักษะผ่านรายวิชา

การพัฒนาทักษะผ่านรายวิชาทำได้โดยใช้การเรียนรู้ผ่านกิจกรรมภายในและภายนอกห้องเรียน (Activity Base Learning) เช่น วิชาที่มีการปฏิบัติ ผู้สอนอาจจะสอนภายใต้กรอบดังนี้

1.1 การสอนที่เน้นการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างการเรียนรู้ให้เกิดแก่ผู้เรียนจากประสบการณ์จริง

1.2 การเรียนรู้เกิดจากการร่วมกันออกแบบการจัดกิจกรรมระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน

1.3 พัฒนานักศึกษาให้บรรลุปณิธานของแต่ละสถาบัน และ

1.4 คุณค่าของความเป็นมนุษย์ต้องถูกเติมเต็มโดยสมบูรณ์

เทคนิคที่ 2 กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ : กรณีการใช้ Activity Base Learning 

ทำได้โดยการใช้ Activity Base Learning ในรายวิชาของนักศึกษาทั่วไป เสมือนการเรียนรู้ที่ใช้วิธีสร้างผลงานจากการตกผลึกทางปัญญา (Crystal-Based Approach) ซึ่งการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบนี้ เป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้สร้างสรรค์ความรู้ความคิดด้วยตนเองด้วยการรวบรวม ทำความเข้าใจ สรุป วิเคราะห์ และ สังเคราะห์จากการศึกษาด้วยตนเอง ถือเป็นเทคนิคที่สำคัญในการจูงใจและสร้างการเรียนรู้ให้นักศึกษา ทำให้พวกเขาเหล่านั้นเกิดความกระตือรือร้นในการเรียนมากขึ้น เช่น การจัดกิจกรรมระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน การเรียนรู้จากประสบการณ์จริง เป็นต้น

เทคนิคที่ 3 ออกแบบการสอน 360 องศา 

การออกแบบการสอน 360 องศา ผู้สอนสามารถทำได้โดย

  1. การวางแผนการสอน

1.1 ดำเนินการจัดการเรียนการสอนโดยการจัดทำแผนการสอนอย่างถูกต้อง

1.2 ระบุวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ไว้อย่างชัดเจนในทุกหัวข้อหลัก

1.3 ในแต่ละหัวข้อหลักระบุวิธีการสอน เวลาที่ใช้ และวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ไว้อย่างชัดเจน

1.4  มีกิจกรรมเสริมสร้างการเรียนรู้ ตามวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ในการเรียนแต่ละครั้งอย่างชัดเจน

1.5 มีแบบทดสอบในรูปแบบของ Quiz บรรจุอยู่ในระบบ e-learning ของมหาวิทยาลัย เพื่อประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาหลังเสร็จสิ้นการเรียนการสอน และใช้กลยุทธ์การกระตุ้นให้ทำซ้ำโดยใช้คะแนนครั้งที่ดีที่สุด

  1. การสอนให้ผู้เรียนรู้จักคิด วิเคราะห์ และวิจารณ์

2.1 ผู้สอนจัดเตรียมกรณีศึกษา (Case Study) ใหม่ ๆ ทุกภาคการศึกษา เพื่อนำมาใช้ในการสอนให้ผู้เรียนรู้จักคิด วิเคราะห์ และวิจารณ์

2.2 ผู้สอนกำหนดวัตถุประสงค์ไว้อย่างชัดเจนว่า นักศึกษาต้องสามารถคิด วิเคราะห์ และ วิจารณ์ได้

2.3 มีคลังคำถาม และ กิจกรรมการเรียนรู้ ที่จะใช้สอนในขณะที่สอนในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับกรณีศึกษา (Case Study) เพื่อให้นักศึกษา คิด วิเคราะห์ และวิจารณ์เมื่อเรียนรู้หัวข้อนั้น ๆ

2.4 ใช้คำถามหรือกิจกรรมการเรียนการสอน ที่กระตุ้นให้นักศึกษาคิด วิเคราะห์ และ วิจารณ์อย่างทั่วถึง

2.5 เปิดกว้างต่อการแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระของนักศึกษา ไม่ครอบงำความคิดของ นักศึกษา

2.6 มอบหมายงานที่ไม่มีคำตอบในเอกสารประกอบการสอน โดยมอบหมายให้นักศึกษา ไป ช่วยกันคิด วิเคราะห์ เพื่อให้ได้ ข้อสรุป

  1. เทคนิคและวิธีการสอน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความสนใจการเรียนการสอนตลอดเวลา

3.1 เตรียมตัวในเรื่องที่สอนมาอย่างดี มีการชี้แจงวัตถุประสงค์ และแจ้งภาพรวมของหัวข้อก่อนที่จะเข้าสู่เนื้อหา

3.2 ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย เปิดโอกาสให้ซักถาม และ ตอบข้อซักถามนักศึกษาอย่างชัดเจน และ ตรงประเด็น

3.3 เตรียมกรณีศึกษา (Case Study) ใหม่ และอธิบายประเด็นที่ควรศึกษาจากกรณีศึกษานั้น ๆ อย่างชัดเจน และเปิดโอกาส ให้นักศึกษาร่วมแสดงความเห็น

3.4 อธิบายความเกี่ยวข้องและเชื่อมโยง กับรายวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น รายวิชาการ จัดการ รายวิชาการวางแผนการตลาด รายวิชาการจัดการการผลิต รายวิชาการจัดการเชิงกลยุทธ์

3.5 ออกแบบวิธีการสอนให้เหมาะสมกับเนื้อหา คำนวณเวลาที่ใช้ล่วงหน้าในการสอน และ พิจารณาเงื่อนไขของการจัดการเรียนการสอนในสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบันตลอดระยะสอน

3.6 สรุปประเด็นสำคัญเป็นระยะ และ สรุปภาพรวมให้นักศึกษาทราบอีกครั้งหนึ่งก่อนเสร็จสิ้นการสอน

  1. สื่อการสอนและการผลิตสื่อการสอน

4.1 สื่อการสอนที่ใช้จัดทำขึ้นด้วย Keynote Presentation ที่เน้น Animation และความ สวยงามที่เรียบง่าย เพื่อสื่อความหมาย ให้นักศึกษาเข้าใจบทเรียนได้ดียิ่งขึ้น

4.2 กระตุ้นความสนใจในการเรียนด้วย Clip Video ที่มีภาพและเสียงที่ดึงดูดความสนใจ โดย Clip Video ดังกล่าว ต้องอยู่ในแผนที่จะฝึกให้นักศึกษาฝึกฝนการคิด วิเคราะห์ และวิจารณ์เรื่อง ใดเรื่องหนึ่งที่กำหนดไว้ล่วงหน้า

4.3 ฝึกฝนการบรรยายพร้อมกับสื่อที่นำมาใช้ ซักซ้อมล่วงหน้าก่อนทำการสอน เพื่อให้สามารถใช้สื่อในการสอนอย่างมี ประสิทธิภาพ

4.4 ผลิตสื่อการสอนที่มีภาพและข้อความขนาดใหญ่ และมีความชัดเจนเพียงพอที่นักศึกษาจากทุกส่วนของห้องเรียน สามารถเห็นสื่อที่ใช้ในการสอนแต่ละครั้งได้ชัดเจน

4.5 ในกรณีที่จัดการสอนภาคปฏิบัติ จะมีการออกแบบการสอนปฏิบัติ เพื่อให้นักศึกษาทุกคนมีโอกาสในการใช้เครื่องมือที่เป็นสื่อการสอนได้เท่าเทียมกัน

4.6 เอกสารประกอบการสอน จัดทำขึ้นอย่างเหมาะสม ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย มี ภาพประกอบ ที่เหมาะสมกับการเรียนในแต่ละหัวข้อ

4.7 Presentation ประกอบการบรรยาย บรรจุให้นักศึกษา Download ในระบบ eLearning ของมหาวิทยาลัย และ Facebook Group ของรายวิชา

4.8 มีกระบวนการ ติดตามและประเมินผลการเรียนการสอน และให้คำปรึกษาผ่าน Social

เทคนิคที่ 4 ค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมจากวิชาการดอทคอม http://www.vcharkarn.com 

เป็นเว็บไซต์ที่มีจุดมุ่งหมายส่งเสริมความรู้ และกระตุ้นความสนใจ โดยเป็นสื่อกลางความรู้ที่ น่าสนใจ และเป็นสื่อกลางในการกระจายความรู้ ผ่านไปยังภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศอย่างทั่วถึง หวังกระตุ้นให้นักศึกษา อาจารย์และผู้ที่สนใจ เกิดการเรียนรู้ ด้วยตนเอง ประกอบด้วย บทความ, ข่าว, ทุนการศึกษา, โครงงาน, มุมครู, ข้อสอบ, บทเรียนออนไลน์, นวนิยาย, BLOG สมาชิก, Webboard, ค่าย, ประชาสัมพันธ์

เทคนิคที่ 5 การสอนแบบ CIPPAการจัดการเรียนการ สอนด้วยนวัตกรรม

การจัดการเรียนการสอนแบบ CIPPA ถือเป็นการ สอนแบบโครงงาน

  1. วิธีสอนโดยใช้การบรรยาย (Lecture)
  2. วิธีสอนโดยใช้การสาธิต (Demonstration)

เทคนิคที่ 6 การเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง: โมเดลซิปปา

โมเดลซิปปา (CIPPA Model) เป็นการเรียนการสอนที่เป็น แนวคิดหลักที่เป็นพื้นฐานในการจัดการเรียนการสอนโดยยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง กล่าวคือ ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัด กิจกรรมการเรียนรู้ หากผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่จัดขึ้นมาก ผู้เรียนก็จะเป็นผู้มีบทบาทในการเรียนรู้มาก และควรจะเกิดการเรียนรู้ที่ดีขึ้นตามมา แนวคิดการจัดการเรียนรู้ที่ มีคุณภาพให้ผู้เรียนมีส่วนเรียนร่วมอย่างผูกพัน

เทคนิคที่ 7 วิธีการเสนอแนะในการสอนแบบนักศึกษาเป็นศูนย์กลาง 

  1. อาจารย์แจกเค้าโครงรายวิชาให้นักศึกษา โดยอาจารย์ไม่สอน แต่ แนะแนวทางให้นักศึกษาคิดและแก้ปัญหา นักศึกษา จะต้องอ่านหนังสือมาก่อน นักศึกษาเป็นผู้ออกแบบเนื้อหา กำหนดเนื้อหาเอง ซึ่งการวัดผลจะต้องใช้ข้อสอบที่มีมาตรฐานเดียวกันซึ่งเป็นเรื่องยากพอสมควร
  2. การเรียนแบบโครงงาน โดยในวิชานั้นนักศึกษาจะต้องทำโครงงาน ย่อย 4 โครงการ ใช้เวลาโครงการละ 2 สัปดาห์นักศึกษาจะต้องปัญหาในแต่ละโครงการแล้วเชื่อมต่อโครงการกับทฤษฎีที่อาจารย์เสนอแนะไว้ แต่ก่อนปิดรายวิชาอาจารย์ต้องสรุปและเสริม เพิ่มเติมเพื่อให้ครอบคลุมเนื้อหาและ วัตถุประสงค์ของรายวิชา

เทคนิคที่ 8 การจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน Project-based Learning 

การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นรูปแบบหนึ่งที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทำงาน ตามระดับทักษะ ที่ตนเองมีอยู่ เป็นเรื่องที่สนใจและรู้สึกสบายใจที่จะทำ ผู้เรียนได้รับสิทธิในการเลือกว่าจะตั้งคำถามอะไร และต้องการผลผลิตอะไรจากการทำงานชิ้นนี้ โดยอาจารย์ทำหน้าที่เป็นผู้สนับสนุนอุปกรณ์และจัดประสบการณ์ ให้แก่ผู้เรียน สนับสนุนการแก้ไขปัญหา และสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้เรียน โดยลักษณะของการเรียนรู้แบบโครงงาน มีดังนี้

  1. ผู้เรียนสามารถกำหนดการเรียนรู้ของตนเอง
  2. เชื่อมโยงกับชีวิตจริง สิ่งแวดล้อมจริง
  3. มีฐานจากการวิจัย หรือ องค์ความรู้ที่เคยมี
  4. ใช้แหล่งข้อมูล หลายแหล่ง
  5. ฝังตรึงด้วยความรู้และทักษะบางอย่าง (embedded with knowledge and skills)

เทคนิคที่ 9 การจัดการ เรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

เทคนิคที่ 10 ห้องเรียนออนไลน์ 

เป็นการจัดห้องเรียนออนไลน์และยังสามารถติดตาม ตรวจสอบผลการเรียนของนักเรียนได้ สามารถเลือกจากบทเรียนและแบบฝึกหัดหลา พันหัวข้อครอบคลุมหลักสูตรหลัก เพื่อส่งเป็นการบ้านให้นักเรียนทั้งชั้นหรือกลุ่มย่อยในชั้นเรียนได้ โดยอาจารย์ สามารถแก้ไขจากบทเรียนที่มีอยู่หรือสร้างเนื้อหาและแบบทดสอบขึ้นมาใหม่ทั้งหมดด้วยตัวเองได้สามารถดูและ ดาวน์โหลดผล วิเคราะห์คะแนนของนักเรียน อัตราการส่งการบ้าน การบ้านที่ทำเสร็จไปแล้ว

เทคนิคที่ 11 การเรียนรู้แบบร่วมมือ

การเรียนรู้แบบร่วมมือเป็นการจัดการเรียนการสอนที่แบ่งผู้เรียนออกเป็น กลุ่มเล็กๆ สมาชิกในกลุ่มมีความสามารถแตกต่าง กันมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มีการช่วยเหลือสนับสนุนซึ่งกันและกัน มีความรับผิดชอบร่วมกันทั้งในส่วนตนและส่วนรวม มีเป้าหมายร่วมกัน การติดต่อสัมพันธ์กันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ ที่ใช้กันในปัจจุบันมีหลาย รูปแบบ

เทคนิคที่ 12 การเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน 

ตัวอย่างเช่น รูปแบบ Jigsaw เป็นการสอนที่อาศัยแนวคิดการต่อภาพ  แนวการจัดการ เรียนรู้มีดังนี้   ขั้นที่ 1 อาจารย์แบ่งหัวข้อที่จะเรียนเป็นหัวข้อย่อยเท่าจำนวนสมาชิกของแต่ละกลุ่ม ถ้ากลุ่มขนาด 3 คน ให้แบ่งเนื้อหาออกเป็น 3 ส่วน

ขั้นที่ 2 จัดกลุ่มนักศึกษาให้มีสมาชิกที่มีความสามารถคละกัน เป็นกลุ่มพื้นฐานหรือ Home Groups   ขั้นที่ 3 เป็นการศึกษาในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ (Expert Groups)

ขั้นที่ 4 นักศึกษาแต่ละคนในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญกลับกลุ่มเดิมของตน แล้วผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกัน   ขั้นที่ 5 นักศึกษาแต่ละคนทำแบบทดสอบเกี่ยวกับเนื้อหาทั้งหมดทุกหัวข้อ แล้วนำคะแนนของ สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มมารวมกันเป็นคะแนนกลุ่ม

ขั้นที่ 6 กลุ่มที่ได้คะแนนสูงสุด จะได้รับรางวัล หรือการชมเชย

เทคนิคที่ 13 รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี

(อ้างอิง สุตาภัทร จันทร์ประเสริฐ และคณะ การประชุมวิชาการระดับชาติ “วลัยลักษณ์วิจัย” ครั้งที่ 10 วันที่ 27-28 มีนาคม 2561)

ข้อความนี้ถูกเขียนใน คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์ คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

ใส่ความเห็น