การประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เรื่อง Promoting the ceramic industry in Lampang ระหว่างนักศึกษามหาวิทยาลัยเนชั่น ร่วมกับนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีฟุคุอิ ประเทศญี่ปุ่น จัดขึ้นระหว่างวันที่ 18-22 กุมภาพันธ์ 2562 ณ มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง เพื่อเป็นเวทีส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาการ การแสดงออก การเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ นักศึกษา และผู้สนใจเกี่ยวกับประเด็นปัญหา/ผลกระทบและแนวทางการพัฒนาประเทศทั้ง 2 ประเทศ มีการดำเนินการตามกระบวนการ ดังนี้
- นักศึกษามหาวิทยาลัยเนชั่นที่เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) ได้แก่
1.1 น.ส.จิราพัชร์ ทิวทัศน์วิไล ชั้นปีที่ 4 คณะนิเทศศาสตร์
1.2 นายธนภพ พิทักษ์สินเธาว์ ชั้นปีที่ 4 คณะนิเทศศาสตร์
1.3 นายอนพันธ์ หน้านวล ชั้นปีที่ 2 คณะนิเทศศาสตร์
1.4 นายไตรวิชร์ ตั้งมณีกาญจน์ ชั้นปีที่ 2 คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์
1.5 นายกฤษกร อินต๊ะนาม ชั้นปีที่ 2 คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์
- จัดให้มีการบรรยายพิเศษ เรื่อง ลำปางนครหัตถศิลป์ถิ่นอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ โดย คุณชัยณรงค์ จุมภู นายกเพิ่งพ้นวาระสมาคมเครื่องปั้นดินเผา จังหวัดลำปาง โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับสถานการณ์ทั่วไป สภาพปัญหา ยุทธศาสตร์ และยุทธวิธีของการประกอบการอุตสาหกรรมเซรามิคที่มีผลต่อการพัฒนาจังหวัดลำปาง
- จัดให้มีการศึกษาดูงาน เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมของอุตสาหกรรมและเก็บข้อมูล จำนวน 7 แห่ง ดังนี้
3.1 Museum Lampang อ.เมือง
3.2 อินทราเซรามิคเอาท์เลท อ.เมือง
3.3 บริษัท ภัทรารัตน์ เคลย์ แอนด์ มิเนอรัล (1992) จำกัด อ.เมือง
3.4 บริษัท กิ่วลม จำกัด ผู้ประกอบการเหมืองดินขาว อ.เมือง
3.5 บ้านหลุก หมู่บ้านไม้แกะสลัก อ.แม่ทะ
3.6 กลุ่มทอผ้าไทลื้อ บ้านกล้วยหลวง อ.เมือง
3.7 โรงงานเซรามิค นาปางคูณ อ.เมือง
- จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) ภายใต้หัวข้อ “แนวทางการส่งเสริมอุตสาหกรรมเซรามิคของจังหวัดลำปาง Promoting the ceramic industry in Lampang” ดำเนินการดังนี้
4.1 นักศึกษาจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ทีมๆละ 5 คน คละสถาบัน ได้แก่ ทีม A และทีม B
4.2 นักศึกษาทั้ง 2 ทีม ได้ทำการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของ Lampang city and Fukui city ข้อมูลจากการบรรยายพิเศษ และข้อมูลจากการศึกษาดูงาน แล้วพัฒนาและสร้างสรรค์ผลงาน “แนวทางการส่งเสริมอุตสาหกรรมเซรามิคของจังหวัดลำปาง”
4.3 ผลงานของนักศึกษา ได้แก่
4.3.1 ทีม A ชื่อผลงาน Online Application “Charming”
4.3.2 ทีม B ชื่อผลงาน Re Ceramic Cafe
4.4 นักศึกษาทั้งสองสถาบันร่วมกันนำเสนอผลงานสร้างสรรค์ จำนวน 2 ผลงาน ในการประชุมเชิงปฏิบัติการร่วม ครั้งที่ 5 มหาวิทยาลัยเนชั่นและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ฟุคุอิ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2562 ณ ห้อง 4109 อาคารคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง
ประโยชน์ที่ได้รับจากการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) ครั้งนี้
- 1. นักศึกษาได้เรียนรู้และเพิ่มพูนประสบการณ์ในการใช้ชีวิตกับเพื่อนที่มาจากต่างดินแดน ต่างภาษา ต่างวัฒนธรรม เพื่อปรับทัศนคติและแนวคิดในการทำงานของตนในอนาคต เช่น กล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงความคิดเห็น การมีวินัยและความรับผิดชอบในการทำงาน การมีความสุภาพและมารยาทในการอยู่ร่วมกันในสังคม การให้เกียรติซึ่งกันและกัน ฯลฯ
- 2. อาจารย์ได้เรียนรู้และเพิ่มพูนประสบการณ์ในการทำงานร่วมกันระหว่างคณะวิชาและหน่วยงาน
- 3. การทำงานร่วมกันของนักศึกษาและอาจารย์ ได้ส่งเสริมให้ความสัมพันธ์ของทั้งสองสถาบันมีความสนิทสนมและแน่นแฟ้นกันมากยิ่งขึ้น ทำให้การดำเนินงานกิจกรรมทางวิชาการมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง