ว่าด้วยเรื่องสวัสดิการ #1 (คำจำกัดความและความสำคัญ)

     วันนี้อยากนำเอาเนื้อหาเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ว่าด้วยเรื่องของสวัสดิการมาให้กับทุกๆ ท่านได้อ่านครับ ในหัวข้อ “คำจำกัดความและความสำคัญของสวัสดิการ” โดยหยิบยกมาจากเว็บไซต์ siamhrm.com ครับ

คำจำกัดความและความสำคัญของสวัสดิการ

     สวัสดิการ เป็นการจ่ายค่าตอบแทนอย่างหนึ่งที่องค์กรจ่ายให้กับพนักงาน ทั้งในรูปที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน ทั้งนี้เป็นการจ่ายค่าตอบแทนที่นอกเหนือไปจากการจ่ายค่าจ้างปกติและค่าจ้างจูงใจ การจ่ายชนิดนี้ไม่เกี่ยวกับผลการทำงานของพนักงานแต่อย่างใด

Tomoas J. Bergman และคณะ ได้ให้ความหมายของสวัสดการไว้สั้นๆ ว่า

สวัสดิการ เป็นผลตอบแทนทางอ้อม ที่ลูกจ้างได้รับ เนื่อจากการเป็นสมาชิกขององค์การ

     สวัสดิการ อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าผลประโยชน์เกื้อกูล (Benefits) หรือผลประโยชน์ตอบแทนอื่นๆ (Supplementary compensation) หรือ Fring benfits ก็ได้ สวัสดิการบางชนิดอาจเป็นบริการหรือจัดให้เฉพาะสมาชิกเฉพาะกลุ่มก็ได้ เช่น รถประจำตำแหน่ง ห้องน้ำส่วนตัว ฯลฯ ซึ่งองค์กรมักจัดให้พนักงานในระดับบริหาร

     นับแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา ได้มีการนำเอาสวัสดิการในรูปแบบต่างๆ มาจัดให้พนักงานลูกจ้าง เพื่อเป็นการรักษาและจูงใจให้คนทำงานอยูในองค์การทั้งในภาครัฐและเอกชน เนื่องจากในช่วงเวลาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 อัตราค่าครองชีพสูงขึ้น รัฐบาลอเมริกันได้ทำการตรึงค่าจ้างไว้เพื่อมิให้เงินเฟ้อ แต่ในขณะเดียวกันก็แบ่งเบาภาระของลูกจ้าง โดยการเสนอสวัสดิการในรูปแบบต่าง แทนการจ่ายค่าจ้าง     ต่อมามีการยอมรับสวัสดิการเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของระบบการจ่ายค่าตอบแทน ก็แพร่หลายมากขึ้น ประกอบกับความเข้มแข็งของสหภาพแรงงานก็เริ่มทำให้มีข้อเรียกร้องด้านสวัสดิการเพิ่มขึ้นจากข้อร้องเรียนเดิมที่มักเน้นในเรื่องของค่าจ้าง/เงินเดือนเท่านั้น.

     …แล้วองค์กรของท่านละครับ มีสวัสดิการหรือมีข้อเสนอแนะอย่างไรบ้างครับ เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์รของท่าน… มาร่วมแบ่งปันกันได้นะครับ…

เกี่ยวกับ Khongsak Tuisuep

Management Lecturer of Faculty of Business Administration. Yonok University, Lampang TH.
เรื่องนี้ถูกเขียนใน คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์, บริหารธุรกิจ และติดป้ายกำกับ , , , , , คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

หนึ่งความเห็นตอบกลับที่ ว่าด้วยเรื่องสวัสดิการ #1 (คำจำกัดความและความสำคัญ)

ใส่ความเห็น