ดร.ธีร์ คันโททอง
ก่อนที่นักวิจัยชุมชนจะจัดทำโครงการวิจัยเพื่อชุมชนนั้น สิ่งแรกที่มีความสำคัญที่สุดคือ การลงพื้นที่เพื่อศึกษาปัญหาของชุมชนโดยต้องให้ชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน ซึ่งทั้งหมดนี้ชาวชุมชนควรได้เข้ามามีส่วนร่วมเพราะว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) โดยตรง การใช้เครื่องมือเพื่อช่วยในการรวบรวมข้อมูลเพื่อพัฒนาหัวข้อวิจัยชุมชนนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการเตรียมเสนอโครงการวิจัยในรูปแบบการวิจัยเพื่อท้องถิ่น หรือ CBR ซึ่งเป็นรูปแบบโครงการวิจัยที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มพลังทางปัญญาให้กับชาวบ้าน โดยการมีปฏิบัติการให้ชาวบ้านได้เข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่คิดถึงปัญหาของการวิจัย วิธีการวิจัย และสรุปผลการวิจัย ซึ่งชาวบ้านจะต้องเข้ามีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของการวิจัยเพราะเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรง หรือเรียกว่าเป็นงานวิจัยปฏิบัติการเพื่อการพัฒนาชุมชนหรือ วิจัยไทบ้านก็ได้ และในการเก็บรวบรวมข้อมูลในเบื้องต้นก่อนจัดทำโครงร่างโครงการวิจัยผู้เขียนขอแนะนำเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลนี้ 3 เครื่องมือด้วยกัน ได้แก่ Logical Framework (ตารางเหตุผลสัมพันธ์), Outcome Mapping (แผนที่ผลลัพธ์) และ Outcome Chain (ห่วงโซ่ผลลัพธ์)
เครื่องมือที่ช่วยในการรวบรวมข้อมูลเพื่อพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อชุมชน หรือ CBR
- Logical Framework (ตารางเหตุผลสัมพันธ์)
ในการเก็บรวบรวมข้อมูลต้องเริ่มต้นจาก ต้นไม้แห่งปัญหาและสาเหตุ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่สร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนที่แสดงให้เห็นถึงความชัดเจน ของปัญหาและสาเหตุ จัดลำดับความสำคัญของปัญหา การเชื่อมโยงของปัญหาและสาเหตุ ชุมชนเห็นแนวทางในการดำเนินการแก้ไขปัญหา รวมถึงสร้างความเข้าใจระหว่างผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม และยังสร้างการมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ปัญหาร่วมกันของทุกกลุ่มอีกด้วย
จากภาพ ขั้นต้นที่ 1 คือ การกำหนดปัญหาใหญ่และสำคัญของชุมชน เช่น ขยะ, มลภาวะ, การเผาป่า เป็นต้น ซึ่งก็เปรียบได้กับลำต้นของต้นไม้ปัญหานั่นเอง
ขั้นตอนที่ 2 คือ เมื่อกำหนดปัญหาใหญ่และสำคัญที่ชุมชนต้องการแก้ปัญหาได้แล้ว ก็เริ่มจากการหาสาเหตุหลักของปัญหาขึ้นมามาก่อน ซึ่งจะต้องเป็นสาเหตุที่สำคัญๆ ที่ทำให้เกิดปัญหาของชุมชน และสำคัญที่ส่งผลกระทบทำให้เกิดปัญหาใหญ่ที่ชุมชนต้องการแก้ไข โดยจะอาจจะมี 2-3 สาเหตุหลักๆ ที่สำคัญๆ เท่านั้น
ขั้นตอนที่ 3 เมื่อได้สาเหตุหลักๆ ของปัญหาใหญ่แล้วก็ให้เจาะลึกลงไปของแต่ละสาเหตุหลักว่า มีสาเหตุย่อยๆ อะไรอีกบ้าง ซึ่งแต่ละสาเหตุหลัก อาจจะมีสาเหตุย่อยอีก 2-3 ข้อ
ทั้งนี้ สาเหตุหลักและสาเหตุย่อย ก็เปรียบได้กับรากของต้นไม้ปัญหานั่นเอง
ขั้นตอนที่ 4 การ Log Frame คือ การเชื่อมโยงระหว่าง สาเหตุหลัก ที่ส่งผลกระทบและการกำหนดวิธีการแก้ปัญหาเป็นแผนกิจกรรมออกมา ดังตัวอย่างจากรูป
หมายเหตุ: แผนกิจกรรม 1 จะจัดทำขึ้นเพื่อแก้สาเหตุของปัญหา 1 แต่แผนกิจกรรมหนึ่งแผน อาจจะแก้ปัญหาสาเหตุย่อยของปัญหาได้มากกว่า 1 สาเหตุก็ได้
ทั้งนี้สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการทำ Log Frame ก็คือ
- Player หรือ ผู้พยายามแก้ไขปัญหา จำนวน 3 กลุ่ม
- Partner หรือ ภาคีที่ทำงานร่วมกัน จำนวน 2 กลุ่ม
- Output / Outcome และ Impact
1.1 Player หรือ ผู้พยายามแก้ไขปัญหา จำนวน 3 กลุ่ม
1.2 Partner หรือ ภาคีที่ทำงานร่วมกัน จำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่
1.3 Output / Outcome และ Impact
หมายเหตุ : ตัวชี้วัดต้องวัดผลได้จริง
: กิจกรรมเพื่อแก้ปัญหา 1 จะสัมพันธ์กับผลลัพธ์ที่ได้ Outcomes 1 เป็นต้น
- Outcome Mapping (แผนที่ผลลัพธ์)
- Outcome Chain (ห่วงโซ่ผลลัพธ์)
ทั้งนี้เครื่องมือทั้ง 3 เครื่องมือนี้จะช่วยให้ผู้วิจัยได้ข้อมูลถึงปัญหาของชุมชนที่แท้จริงซึ่งเกิดจากการมีส่วนร่วมของชาวชุมชนเอง และจะเป็นประโยชน์ต่อการจัดทำโครงการวิจัยเพื่อชุมชน (CBR) เพื่อเสนอของบประมาณจากภายนอกต่อไป
เอกสารอ้างอิง
- โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์
- รับฟังการอบรมเพิ่มเติมได้ที่
https://www.facebook.com/cmusecenter/videos/231538668190881