น.ศ.เข้าเรียนรู้การจัดการงานศพในชุมชน

 

กร กับ ปราง ที่บ้านไหล่หิน กร กับ ปราง ที่บ้านไหล่หิน

10-11 ต.ค.52 นักศึกษาโครงการ PDG52N0013 คือ นายกร ศิริพันธุ์ และน.ส.อรพรรณ สงเคราะห์ธรรม เข้าพื้นที่บ้านไหล่หินครั้งที่ 2 เพื่อ 1)สัมภาษณ์ อ.สุวรรณ เกษณา อ.บุรินทร์ รุจจนพันธุ์ และพระครูสังฆรักษ์วิชพงษ์ เพิ่มเติมจากการเข้าพื ้นที่ครั้งแรก 2)เรียนรู้กระบวนการจัดการงานศพ 2 งานด้วยการเดินสำรวจ เก็บภาพ และร่วมกิจกรรมจูงศพในวันดา และวันเผา เพราะมีงานศพที่เผาวันเสาร์ และวันอาทิตย์วันละศพ โดยทั้ง 2 งานมีลักษณะแตกต่างกันเกี่ยวกับบทบาทของเจ้าภาพในชุมชน และมีประเด็นที่ทำให้ต้องพูดคุยกันหลายเรื่อง โดยเฉพาะวิถีชีวิตของสิ่งมีชีวิตบนโลกที่เปลี่ยนแปลงไป โดยช่วงเวลาที่ให้ความสำคัญคือช่วงเวลาของมนุษย์ยุคปัจจุบัน 3)พานักศึกษาไปเรียนรู้วัฒนธรรมบนดอยฮาง เพราะประเมินสมรรถภาพแล้วน่าจะไหว เป็นการเรียนรู้ธรรมชาติ และความงดงามของศาสนา ได้พบกับถ้ำกลางดอย และสักการะเจดีย์ดอยฮางที่ยอดดอย
     แม้ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 ที่พักในพื้นที่วิจัย แต่น.ศ.ก็ยังไม่สามารถค้างคืนที่วัดด้วยความสมัครใจ คาดว่าครั้งที่ 3 จะปรับตัวกันได้ มีแผนย้ายจากการพักบ้านอ.บุรินทร์ เป็นพักที่วัด การเข้าพื้นที่ครั้งต่อไปนอกจากจะเก็บรายละเอียดเพิ่มเติมเสริมการยกร่าง story board แล้ว ยังกำหนดให้นักศึกษาตัดต่อวีดีโอลง VCD ชุดแรกให้เสร็จโดยใช้ข้อมูลวีดีโอของคนในชุมชนที่บันทึกไปนับสิบท่าน และเข้ามาทำความคุ้นเคยกับชุมชนด้วยการร่วมกิจกรรมกับวัดไหล่หินลุ่ม คือ เดินเวียนเทียนในวันศีล เพราะต่อไปต้องร่วมโครงการวิจัยกับพระครูฯ ซึ่งเป็นผลจากการทำงานครั้งนี้ที่มีเครือข่ายร่วมกับชุมชน
+ http://www.thaiall.com/research

เกี่ยวกับ บุรินทร์ รุจจนพันธุ์

เป็นอาจารย์ฺประจำสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์ สอนด้านสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ระบบปฏิบัติการ ระบบฐานข้อมูล การโปรแกรม การพัฒนาระบบสารสนเทศ รับผิดชอบงานบริการวิชาการ สนใจงานวิจัยเกี่ยวกับ การวิจัยเพื่อท้องถิ่น การประกันคุณภาพการศึกษา การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การวิจัยในชั้นเรียน และระบบสารสนเทศ
เรื่องนี้ถูกเขียนใน คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ และติดป้ายกำกับ , คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

3 ตอบกลับไปที่ น.ศ.เข้าเรียนรู้การจัดการงานศพในชุมชน

  1. สวัสดีเจ้า..อ.เก๋
    การเรียนรู้ร่วมชุมชน แบบเด็กวิทยาคอมฯ ของมะปรางและกร นี่ได้ผลแน่ๆๆ (สีหน้าเปี่ยมสุข ) น่าจะทำให้เกิดการตอบคำถามได้ว่า โลกข้างนอกแผ่นดินของม.โยนก ยังมีพื้นที่ให้ศึกษาเพราะว่าวัด ประเพณี ไม่หนีไกลห่าง ไม่ว่าจะเกิด แก่ เจ็บตาย งานนี้ไม่ห่างจากใจวิทยาคอมฯเช่นกัน ดีใจด้วยที่สาขาออกแบบมีแนวร่วมด้านนี้แจมด้วย ดีจริงๆๆ และอ.อย่าลืมเดินทางไป ให้กำลังใจ และถ่ายภาพเด็กๆ ร่วมแรงแข็งขัน ทำสะเปาที่บ้านช่างขาว ห้างฉัตร ให้พวกเราชมด้วยนะเจ้า….ขอบคุณมาก

  2. chalapan พูดว่า:

    ทดสอบครับพี่เก๋…ซุโข้ยยยยย…ผมกำลังจะทำวิจัยในชั้นเรียนเรื่องการใช้ web blog ในการเรียนการสอนครับ..มีอะไรแนะนำได้ครับ…

    จาก อ.เอก อ่อนหัด

  3. atichart พูดว่า:

    โยนกเรากำลังทำภารกิจที่ควรจะทำหลังจากเดินหลงทางอยู่นานพอควร ไม่มีคำว่าสายถ้าจะคิดเริ่มต้น ประสบการณ์จากการทำวิจัยชุมชน นอกจากชาวบ้านและชุมชนนั้นจะได้ประโยชน์โดยตรงและยั่งยืน เพราะต่อไปเขาอาจสานต่อหรือต่อยอดได้ด้วยตนเองแล้ว ตัวนักศึกษา อาจารย์นั่นแหละ ได้เปิดโลกทัศน์ แม้นว่าจะเป็นด้านวิถีชีวิตชุมชน ซึ่งบางคนตั้งแต่เกิดมาอาจไม่เคยสัมผัส แต่การเรียนรู้ต้องเกิดจากการปฏิบัติ เกิดจากประสบกาณ์จริง และผมเชื่อว่า เขาเหล่านั้นได้เรียนรู้ อย่างน้อยก็คงรู้ได้ว่า ตัวตนของเราไม่นานเขาก็มาเอามันคืนไป แต่จิตวิญญานนี่สิ มันส่งทอดต่อไปยังรุ่นลูกรุ่นหลานเชียวล่ะ ขอบคุณ อ.เก๋ ผู้มุ่งมั่นในอุดมการณ์ที่มักไม่มีใครเข้าใจ ขอบคุณนักศึกษาที่จะช่วยสานต่อเจตนารมย์ของ อ.เก๋ และงานวิจัยชุมชน

ใส่ความเห็น