แนวทางการนําเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจา (Oral Presentation)

อาจารย์อดิศักดิ์ จำปาทอง เรียบเรียง

เป็นงานที่นักวิจัยต้องเตรียมตัวให้มีความพร้อมทั้งด้านความเชื่อมั่นในตนเอง ความลึกซึ้งในสาระที่จะนําเสนอ และต้องมีทักษะของการนําเสนอ การเตรียมตัวที่ดีจะช่วยให้นักวิจัยประสบความสําเร็จได้ โดยการนําเสนอที่มีประสิทธิภาพ พิจารณาจากความสามารถของใช้เทคนิควิธีการสื่อสารที่ทําให้ผู้ฟังสนใจ ผู้ฟังเข้าใจในเรื่องที่นักวิจัยนําเสนอ ภายในเวลาที่กําหนด

การฝึกซ้อมการนําเสนอ เป็นเรื่องจําเป็นสําหรับนักวิจัยมือใหม่ทุกคน และการซักซ้อมเตรียมการนําเสนอแต่ละครั้ง ก็เป็นเรื่องจําเป็นมากสําหรับนักวิจัยทุกคน ไม่ว่าจะเป็นมือใหม่หรือมือเก่า ทั้งนี้ เพราะสิ่งที่นําเสนอคือการค้นพบความรู้ใหม่ หรือวิธีใหม่ หรือการประยุกต์ความรู้ในสถานการณ์ใหม่ และเหนือสิ่งอื่นใดคือ กลุ่มคนฟังเป็นกลุ่มใหม่ นักวิจัยจึงไม่ควรมองข้ามความจําเป็นของการเตรียมพร้อมเพื่อให้การนําเสนอเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น การนําเสนอผลงานวิจัยอย่างมีประสิทธิภาพจะต้องดําเนินการอย่างน้อย 3 ประการ ดังนี้

1. การเตรียมการนําเสนอ

สถานการณ์ในการนําเสนอผลงานวิจัย เสมือนการประชุมที่ผู้เข้าประชุมมาด้วยความตั้งใจ เขามาเพื่อฟังผลงานของเรา ฟังในเวลาที่กําหนด ดังนั้น ผู้นําเสนอจําเป็นต้องเตรียมให้พร้อม ไม่ให้ผู้ฟังผิดหวัง นั่นหมายถึง ผู้รายงานเองจะได้รับเกียรติและสมหวัง โดยมีการเตรียมตัว ดังนี้

1.1 การวางแผนการนําเสนอที่ดี ทบทวนงานวิจัยที่จะนําเสนออย่างเข้าใจ คํานึงถึงเวลาที่กําหนดให้ในการนําเสนอ

1.2 การเตรียมการพูด เช่น กล่าวแนะนําตัว กล่าวแนะนําโครงการวิจัย ให้มีสาระเพียงพอที่จะให้ผู้ฟังเข้าใจว่า โครงการที่นําเสนอ คือเรื่องที่อะไร เกี่ยวกับอะไร มีความสําคัญอย่างไรที่ทําให้นักวิจัยทําวิจัยเรื่องนี้ คําถามวิจัยที่ต้องการหา คําตอบคืออะไร นักวิจัยคาดหวังจะนําคําตอบหรือผลการวิจัยไปทําให้เกิดประโยชน์อย่างไร

1.3 การเตรียมเนื้อหาของการนําเสนอ เช่น วัตถุประสงค์ของการวิจัย กรอบความคิดเชิงทฤษฎี สรุปการค้นคว้า อ้างอิงหลักการหรือทฤษฎีที่คัดสรร คําศัพท์เฉพาะ กระบวนการวิจัยในการหาคําตอบทําอย่างไร การจัดการข้อมูล มีวิธีการอย่างไรที่จะตอบคําถามวิจัย ได้ผลการสรุปการวิเคราะห์อย่างไร

1.4 การเตรียมรายงานถึงสรุปผลการวิจัย เป็นการสรุปผลวิจัยเป็นองค์ความรู้ที่ได้จากการใช้ข้อมูลมาอธิบาย หรือเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ การเสนอความเชื่อมโยงระหว่างผลการวิจัยกับวัตถุประสงค์หรือสมมุติฐานของการวิจัย การชี้ประเด็นให้เห็นประโยชน์ที่น่าจะได้จากผลการวิจัย และเสนอแนวทางการค้นหาความรู้ที่ยังขาด เพื่อเติมเต็มความรู้และประโยชน์ เป็นแนวทาง การวิจัยครั้งต่อไปอย่างเหมาะสม และเป็นไปได้ ทั้งนี้ควรมีความเชื่อมโยงกับหลักการหรือทฤษฎี และความ คาดหวังที่ได้กล่าวมาแล้ว

1.5 การเตรียมการตั้งคําถาม หรือ เชิญชวนให้ผู้ฟังตั้งคําถาม ซึ่งจําเป็นต้องมีแผนจัดการกับเวลาที่กําหนด จึงจะมีโอกาสให้ตั้งคําถามได้

1.6 การเตรียมสื่อการนําเสนอ โดยสื่อที่นักวิจัยใช้มีหลายชนิด เช่น เครื่องฉายข้ามศีรษะ สไลด์-คอมพิวเตอร์ วิดีโออุปกรณ์ และเอกสารสรุปย่อ เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้วิจัยต้องเลือกให้เหมาะสมกับความถนัดของตน และ สามารถจัดหาได้ใน เวลาที่นําเสนอ โดยมีหลักว่า เรียบง่าย ชัดเจน และเหมาะสม และนักวิจัยต้องซ้อมจนคล่อง ต้องมั่นใจว่า เวลานําเสนอ สามารถจัดการหากมีปัญหาต้อง สามารถแก้ไขได้

ในปัจจุบันสื่อที่ใช้ในการนำเสนอผลงานส่วนใหญ่ใช้ไลด์ PowerPoint โดยนักวิจัยจะต้องเตรียม ดังนี้

1.6.1 ออกแบบรูปแบบของสไลด์ โดยเลือกเนื้อหาสาระที่สําคัญไปนําเสนอเท่านั้น โดยปกติหากใช้เวลานําเสนอ 10-30 นาที สไลด์ไม่ควรเกิน 20 แผ่น ซึ่งประกอบด้วย 1. ชื่อเรื่องและชื่อผู้วิจัย 2. ความเป็นมาหรือปัญหาการวิจัย 3. ความสําคัญและประโยชน์ของการวิจัย 4. วัตถุประสงค์การวิจัย 5. ระเบียบวิธีวิจัย กลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล 6. ผลการวิจัย 7. อภิปรายผล 8. ข้อเสนอแนะจากการวิจัย

1.6.2 ภาพเคลื่อนไหว (Animation) หรือรูปภาพ ต้องใช้ภาพเคลื่อนไหว (Animation) หรือรูปภาพบ้าง เพื่อดึงดูดความสนใจ แต่ไม่ควรมีมากเกินไป ผู้วิจัยต้องตระหนักว่าผู้ฟังต้องการฟังเนื้อหามากกว่า

1.6.3 ตัวอักษร ควรเลือกชนิดและขนาดตัวอักษรให้เหมาะสมกับตําแหน่งที่ผู้เข้าประชุมจะเห็นได้ชัด หากใช้ภาษาอังกฤษ ไม่ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด เพราะทําให้อ่านยาก และไม่ควรใช้ชนิดของตัวอักษรมากกว่า 2 ชนิด หากต้องการ เน้นคําให้ใช้ตัวหนาดีกว่าใช้สีตัวอักษรที่แตกต่างกัน ควรใช้สัญลักษณ์ให้น้อยที่สุด และควรพิสูจน์อักษรอย่าให้มีคําผิด

1.6.4 ใช้สีพอเหมาะ ไม่มากไม่น้อยเกินไป และใช้โทนสีพื้นที่ช่วยให้สามารถตัวอักษรได้เด่นชัด

1.6.5 ข้อความ จํานวนข้อความต่อหนึ่งสไลด์ ไม่ควรมีมากเกินไปและหลีกเลี่ยงการนําตารางหรือข้อความจากบทความวิจัยมาวางลงบนสไลด์

1.6.6 ตรวจทานความถูกต้อง ควรมีการตรวจทานการสะกดคําในทุกสไลด์ให้ถูกต้องโดยไม่ให้มีคําผิดปรากฏอยู่

2. การนําเสนอ

2.1 การควบคุมสติ มีความเชื่อมั่น ไม่ประหม่า ทั้งนี้ เป็นภาวะที่เกี่ยวข้องกับผลการฝึกซ้อมมาก บางคนที่รู้ตัวว่ามักขาดความเชื่อมั่นเมื่อมีผู้ฟังจํานวนมาก ก็จําเป็นต้องฝึกซ้อมกับสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกัน หรือหาประสบการณ์จากการเข้าประชุมหลายที่ผู้เขียนรู้จักนักวิจัยที่มีประสบการณ์การนําเสนอหลายเวที มีความเชื่อมั่นมาก และมีทักษะมาก

2.2 การวางตัว วางท่าทาง โดยเฉพาะการวางมือเช่นเดียวกับบุคลิกภาพที่สง่า ย่อมเกิดจากความเชื่อมั่นในตนเอง ดังนั้นการฝึกซ้อมที่มากพอจะสร้างบุคลิกภาพที่สง่าได้

2.3 การแต่งกาย เป็นเรื่องที่มักละไว้ในฐานที่เข้าใจว่า นักวิจัยรู้เรื่องนี้แล้ว ไม่จําเป็นต้อง กล่าวถึง แต่หลายครั้งที่พบว่า การที่ผู้นําเสนอไม่ได้ให้ความสําคัญกับการแต่งตัว ก็ลดทอนความสง่าได้ นอกจากนี้ มีกรณีที่พบว่า ความไม่พิถีพิถันและรอบคอบอาจทําให้กระทบกับความเชื่อมั่นได้

2.4 การควบคุมเวลา ถึงแม้นักวิจัยจะเตรียมการในการวางแผนอย่างดีแล้วก็ตาม ในสถานการณ์ จริงของการนําเสนอ นักวิจัยจําเป็นต้องควบคุมเวลา ให้สามารถพูดในสาระสําคัญได้ครบถ้วน

3. การประเมินเพื่อพัฒนาการนําเสนออย่างมีประสิทธิภาพ

นักวิจัยมักจะประเมินด้วยการสังเกตตนเอง และปฏิกิริยาของผู้ฟัง และบรรยากาศโดยรอบ ในห้องประชุม แต่การประเมินมักมีการประเมินอย่างเป็นระบบเพื่อประโยชน์ต่อผู้นําเสนอ ควรออกแบบการ ประเมินที่จะได้สารสนเทศสนองต่อนักวิจัยที่จะนําไปพิจารณาปรับปรุงการนําเสนอครั้งต่อไป

ข้อพึงปฏิบัติการนําเสนอที่มีประสิทธิภาพ

1. การเตรียมนําเสนอ ควรมีการวางแผน กําหนด โครงสร้างสาระที่จะนําเสนอ มีลําดับและความสอดคล้องตลอด เรื่องที่นําเสนอ

2. เวลา ควรวางแผนเวลาที่ใช้ในการนําเสนอ แต่ละหัวข้อประมาณ 1-2 นาที

3. การเตรียมตัว มีการเตรียมการนําเสนอ ฝึกฝน การพูดให้กระชับ ชัดเจน ซ้อมพูดและจับเวลาในทุกหัวข้อ ปรับ สาระและการพูดให้ตรงประเด็น กระชับ

4. สื่อการนําเสนอ วางแผนการใช้สื่อให้พอเหมาะ กับสาระ ทั้งจํานวนและเวลาในการนําเสนอ

5. เนื้อหา ควรปรับเนื้อหาให้ตรงประเด็น กระชับ อ่านง่ายและควรคํานึงถึงคนฟังด้วย

6. การพูด ควรออกเสียงชัดเจน จังหวะเหมาะสม ไม่รีบร้อนและลนลานจนเกินไป

7. จุดหมาย ควรชี้แจงถึงจุดหมายของการนําเสนอ อธิบายถึงเหตุผลของการวิจัยอย่างชัดเจน

8. ผู้ฟัง การนําเสนอควรเน้นการสร้างความเข้าใจแก่ผู้ฟัง มีวิธีที่ให้ผู้ฟังเข้าใจในเรื่องที่ซับซ้อน

ข้อไม่พึงปฏิบัติที่การนําเสนอที่ไม่มีประสิทธิภาพ

1. การอ่าน อย่าอ่านเอกสารแทนการพูด ควรเตรียมการพูดก่อนการนําเสนอ

2. อุปกรณ์ ควรมีการฝึกนําเสนอในอุปกรณ์ที่ตนเองถนัด หรือฝึกฝนจนเกิดความคล่องแคล่ว

3. ข้อมูล อย่านําเสนอตารางที่มีข้อมูลมากมายที่ยังไม่ได้วิเคราะห์ หรือมีรายละเอียดเกิน ความจําเป็นของการอธิบายสาระ

4. ความซับซ้อน อย่านําเสนอเนื้อหาที่มีความซับซ้อน ควรแสดงเฉพาะส่วนที่เข้าใจได้ง่าย และได้สรุปตีความที่ตรงประเด็น

5. สื่อ อย่าใช้สื่อหลายอย่างที่ไม่เกิดประโยชน์แก่ผู้ฟัง รวมถึงลูกเล่นต่าง ๆ ใช้เท่าที่จําเป็น

6. การพูด ไม่ควรใช้วาจายกตน ชมตนเอง หรือดูถูกผู้ฟัง

7. เวลา อย่าใช้เวลาเกินกําหนด เพราะเป็นการแสดงถึงการไม่เตรียมพร้อมในการนําเสนอ

ข้อมูลจาก:

1. ประสบการณ์ของผู้เรียบเรียง

2. กลุ่มพัฒนาบุคคล กองการเจ้าหน้าที่ กรมพัฒนาที่ดิน

http://www1.ldd.go.th/WEB_PSD/knowledge/knowledge/2556/bt-bc/3/2.pdf

3. แนวปฏิบัติที่ดีในการนำเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจาในที่ประชุมวิชาการนานาชาติ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สายวรุณ จำปาวัลย์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อุสาห์ภรณ์ สุขารมณ์ ภาควิชาภาษาตะวันตก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

http://west.hu.swu.ac.th/Portals/13/files/action57_1.pdf

ข้อความนี้ถูกเขียนใน KM:ด้านการวิจัย, คณะนิเทศศาสตร์, แนวทางการผลิตงานวิจัยเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ คั่นหน้า ลิงก์ถาวร