Upskill, Reskill และ Transferable skills ในโลกการทำงานยุคใหม่

อาจารย์อดิศักดิ์ จำปาทอง เรียบเรียง

การเรียนรู้ตามหลักสูตรจากในรั้วมหาวิทยาลัยนั้น เข้าใจว่าทุกคนคงเรียนมาเหมือนกันหมด หรือไม่แตกต่างกันมากมาย และความรู้ในแต่ละด้านนี้ บัณฑิตใหม่คงได้เรียนมามากเพียงพอเเล้ว แต่อย่าลืมว่า ในการทำงานจริงนั้น ไม่ได้ใช้ความสามารถเพียงด้านเดียว เราต้องลองหาความรู้ใหม่ ๆ ให้เราสามารถสร้างจุดเด่นให้ตัวเราเอง ซึ่งการลงทุนลองหาความรู้ใหม่ ๆ จะพาให้เราได้ทำอะไรใหม่ ๆ เสมอ เสมือนเป็นโอกาสดี ๆ ที่เราหาได้ นอกจากนี้ เวลาในชีวิตของเเต่ละคนนั้นมีจำกัด เราไม่ควรทำตามความฝันของคนอื่น เราต้องเดินตามฝันของตัวเอง จงคิดไว้เสมอว่า ความรู้ในมหาวิทยาลัยเป็นเพียงจุดเริ่มต้น เเต่ความรู้อื่น ๆ ที่เราต้องเรียนรู้ยังมีอีกมาก

บัณฑิตใหม่จึงควรที่จะเรียนรู้ 3 คำนี้ไว้ ได้แก่ Upskill, Reskill และ Transferable skills เพื่อเตรียมความพร้อมในโลกการทำงานยุคใหม่

1. Upskill 

เป็นการฝึกทักษะที่มีอยู่แล้วหรือทักษะใหม่ของสายอาชีพที่เรียนมา เพื่อให้เก่งขึ้นและพร้อมทำงานในสายนั้นทันที และเพิ่มโอกาสในการได้งานทำ

2. Reskill 

เป็นการเรียนรู้ทักษะใหม่ เพื่อทำงานนอกสายอาชีพที่เรียนมา เช่น เรียบจบด้านนิเทศศาสตร์ และ Reskill ด้านการตลาด เพื่อเปลี่ยนสายงานไปทำงานด้านการตลาด เป็นต้น

2.1 การสำรวจ Skill ของตนเอง

2.1.1 ในกรณีที่เลือกทำงานในสายที่เรียนมา ต้องถามตัวเองว่า

๐ อยากทำงานในตำแหน่งอะไร หรือตำแหน่งอะไรที่เราสามารถทำได้?
๐ ตำแหน่งดังกล่าว หน่วยงานต้องการคนที่มีทักษะอะไร? เรามีทักษะดังกล่าวหรือไม่?
๐ ถ้าเรามีทักษะไม่เพียงพอ ก็ควรต้อง Upskill นั้น แต่ถ้าไม่มีเลยก็ต้อง Reskill เทียบเท่ากับการเรียนรู้ใหม่ แม้จะเป็นสายที่เรียนมา แต่เรายังไม่เคยเรียนมาก่อน

2.2.2 ในกรณีที่เลือกทำงานนอกสายที่เรียน ต้องถามตัวเองว่า

๐ อยากทำงานสายไหน? ในตำแหน่งอะไร?
๐ ตำแหน่งที่อยากทำ ต้องมีทักษะอะไรบ้าง? และเรามีทักษะเหล่านั้นหรือไม่?
๐ ถ้าเรามีทักษะไม่เพียงพอ ก็ควรต้อง Upskill นั้น แต่ถ้าไม่มีเลย ก็ต้อง Reskill ทั้งหมด ให้พร้อมทำงานในตำแหน่งดังกล่าว

2.2 การสำรวจว่า ตำแหน่งงานที่เราอยากทำ หน่วยงานต้องการทักษะใดบ้าง?

2.2.1 ดูที่ประกาศงานของบริษัทในตำแหน่งที่ต้องการสมัคร ว่าคุณสมบัติที่ต้องการเป็นอย่างไร? ต้องมีทักษะอะไรบ้าง? รวมถึงหน้าที่ในงานนั้นต้องใช้เครื่องมือใดทำงาน ซึ่งเราควรต้องมีทักษะในการใช้เครื่องมือนั้น

2.2.2 การสอบถามรุ่นพี่ที่ทำงานในตำแหน่งนั้น หรือในสายอาชีพนั้น เพื่อทราบข้อมูลที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น เช่น ตำแหน่งนักประชาสัมพันธ์ เน้นการใช้โปรแกรมใด คำสั่งไหนในการทำงาน ถ้าเราเตรียมพร้อมและทำได้อย่างคล่องแคล่ว โอกาสได้งานก็สูงมาก

การเตรียมทักษะในการทำงาน บัณฑิตใหม่ควรมีทักษะที่พร้อมทำงานในตำแหน่งนั้น ก่อนไปสมัครงาน เพื่อหน่วยงานจะได้ลดภาระในการสอนงานลงไป

3. Transferable Skills

คือ ทักษะในการทำงานที่สามารถนำไปใช้ต่อหรือต่อยอดได้เรื่อย ๆ ไม่ว่าจะทำอาชีพอะไร หรือเปลี่ยนสายงานไปทำอย่างอื่น ก็ยังจะสามารถนำ Transferable Skills ไปใช้ในการทำงานให้มีประสิทธิภาพและโดดเด่นขึ้นได้ มีความพิเศษตรงที่จะทำให้เราเป็นคนที่ยืดหยุ่นสูง และเป็นที่ต้องการอยู่เสมอ ซึ่งแต่ก่อนมักจะเป็นสกิลที่จำเป็นสำหรับผู้บริหารและเจ้าของธุรกิจ แต่เดี๋ยวนี้ที่เทคโนโลยีทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงแหล่งความรู้ได้ง่าย ทำให้ Transferable Skills เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกคนที่ต้องการสร้างความโดดเด่นให้กับตัวเอง

Transferable Skills ได้แก่ทักษะอะไรบ้าง?

3.1 Creativity หรือ ทักษะความคิดสร้างสรรค์ ที่สามารถนำไปสู่การสร้างแก้ปัญหาที่ฉลาดมากขึ้น หรืออาจเลยไปถึงการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ขึ้นมาได้

3.2 Critical Thinking หรือ ทักษะการคิดเป็นเหตุเป็นผล สามารถคิดวิเคราะห์ ลำดับความสำคัญได้ดี 

3.3 Problem Solving หรือ ทักษะการแก้ปัญหา ทั้งการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า แล้วปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้น สามารถวางแผนจัดการกับปัญหาและควบคุมอารมณ์ตัวเองได้

3.4 Communication หรือ ทักษะการสื่อสารที่สามารถสื่อสารได้เข้าใจง่าย และครบถ้วน ตรงประเด็น เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับทุกคน

3.5 Presentation Skills หรือ ทักษะการนำเสนอ ทั้งการนำเสนอและไอเดีย เพื่อให้คนอื่นสามารถเข้าถึงได้และเข้าใจได้ง่าย และน่าสนใจ

3.6 Teamwork หรือ ทักษะการทำงานเป็นทีม ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันกับคนอื่นได้ดี ที่จะนำไปสู่การเสริมจุดเด่น และลบจุดด้อยให้กับทีม เพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด

3.7 Digital Literacy หรือ ทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ทั้งในแง่ของอุปกรณ์ เช่น คอนพิวเตอร์ มือถือ แท็บเล็ต รวมถึงโปรแกรมและ Social Media ต่าง ๆ โดยสามารถเข้าใจการทำงาน และนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการทำงาน

3.8 Ability to learn new things หรือ ทักษะการเรียนรู้สิ่งใหม่อยู่เสมอ ไม่หยุดที่จะเรียนรู้ พร้อมเปิดรับความรู้ใหม่ ๆ เทคโนโลยีใหม่ ๆ มีความใส่ใจ และหมั่นหาความรู้ Upskill และ Reskill ของตัวเองอยู่เสมอ

เรียบเรียงจาก:

1. ประสบการณ์ของผู้เรียบเรียง

2. เทคนิคการ Upskill & Reskill ให้ตรงความต้องการนายจ้าง ฉบับเด็กจบใหม่

https://www.jobbkk.com/variety/detail/5899/เทคนิคการ Upskill&Reskill ให้ตรงความต้องการนายจ้าง ฉบับเด็กจบใหม่

3. เด็กจบใหม่ต้องฟัง Transferable skills สกิลจำเป็นที่ไม่มีสอน แต่บริษัทต้องการ

เด็กจบใหม่ต้องฟัง Transferable skills สกิลจำเป็นที่ไม่มีสอน แต่บริษัทต้องการ

ข้อความนี้ถูกเขียนใน KM:ด้านการผลิตบัณฑิต, การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ, คณะนิเทศศาสตร์ คั่นหน้า ลิงก์ถาวร