การเริ่มต้นธุรกิจของตนเอง #2

หลังจากที่เราได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของคำว่าธุรกิจแล้ว ตอนที่ 2 นี้จะขอนำเสนอหัวข้อความท้าทายในการเริ่มต้นธุรกิจครับ

ความท้าทายในการเริ่มต้นธุรกิจ

          การเริ่มต้นทำธุรกิจของตนเองเป็นจุดหัวเลี้ยวหัวต่อที่อาจเปลี่ยนแปลงชีวิตของท่านได้ ท่านจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบความสำเร็จของธุรกิจ ซึ่งเป็นงานที่หนัก แต่ผลที่ได้ก็อาจจะน่าพอใจและทำกำไรให้มากมายได้เช่นกัน

          คนทั่วไปคิดจะทำธุรกิจด้วยเหตุผลหลายประการ บางคนเป็นลูกจ้างอยู่เดิม หรือเป็นข้าราชการและต้องการมีกิจการของตนเองจึงลาออกมาทำ บางคนก็ตกงานอยากมีงานทำ จึงเริ่มต้นธุรกิจของตนเอง

          – เหตุผลของท่านคืออะไร ?

             การเป็นเจ้าของกิจการ มีข้อดีหลายอย่าง เช่น

  • ไม่ต้องรับคำสั่งจากใคร
  • ทำงานตามเวลาที่ตนเองกำหนด
  • ได้ผลตอบแทนเป็นเงิน ชื่อเสียง ตามผลงานที่ตนเองทำ
  • บางการชีวิตตนเอง
  • มีความสุขกับการได้ริเริ่มสร้างสรรค์          

           – สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ท่านต้องการหรือไม่ ?

             ในขณะเกียวกันการเป็นเจ้าของกิจการ ก็มีปัญหาและความยุ่งยากหลายอย่าง เช่น  

  • ต้องทำงานทั้งกลางวันและกลางคืน
  • ไม่มีโอกาสลาหยุด ลาพัก ลาป่วย 
  • เสี่ยงต่อการสูญเสียเงินออม 
  • ไม่มีเงินเดือนประจำ 
  • กังวลกับเงินเดือน ค่าจ้าง และหนี้ที่ต้องจ่าย 
  • บางครั้งต้องทำงานที่ไม่ชอบ เช่น ทำความสะอาด ทำงานเอกสาร ทำบัญชี            
  • ไม่มีเวลาให้กับครอบครัว เพื่อนฝูง

          – ท่านพร้อมที่จะเผชิญกับปัญหาเหล่านี้หรือไม่ ?

              ถ้าท่านมีงานทำอยู่แล้ว ควรคิดให้รอบคอบในเรื่องความมั่นคง รายได้ปรจำและสวัสดิการที่ได้รับอยู่ การทำธุรกิจอาจก่อให้เกิดความเครียด เพราะท่านจะต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆ มากมาย

          – อย่าลืมว่าธุรกิจอาจล้มเหลวได้ และเจ้าของกิจการอาจสูญเสียเงินได้ ด้วยสาเหตุต่างๆ เช่น  

  • ความละเลยในหน้าที่ของเจ้าของกิจการ โดยไม่ได้บริหารจัดการธุรกิจอย่างเหมาะสม ทำให้เกิดเหตุการณ์ซึ่งนำความเสียหายมาสู่ธุรกิจ
  • มีการโกงหรือถูกขโมย โดยลูกจ้างหรือผู้อื่น
  • ขาดประสบการณ์  ขาดความชำนาญ  ไม่รู้วิธีบริหารจัดกร เงิน คน เครื่องจักร อุปกรณ์ สินค้าคงคลัง ตลอดจนลูกค้า
  • ความรู้และประสบการณ์ไม่สมดุล  เช่น มีความสามารถในการผลิตแต่ขายสินค้าไม่เป็น รู้เรื่องการผลิตแต่ซื้อวัตถุดิบไม่เก่ง รู้เรื่องการตลาดแต่ไม่รู้เรื่องบัญชี
  • ปัญหาการตลาด  มีลูกค้าไม่มากพอ ซึ่งอาจเป็นเพราะสินค้าคุณภาพไม่ดี บริการไม่ดี ไม่มีการโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • ปัญหาการให้ซื้อเชื่อและการควบคุมเงินสด เช่น ยอมให้ลูกค้าประวัติไม่ดีซื้อเชื่อ ไม่มีระบบที่เหมาะสมในการเรียกเก็บหนี้ เป็นต้น
  • ค่าใช้จ่ายสูง  ไม่มีการควบคุมดูแลค่าใช้จ่าย เช่น ค่าเดินทาง ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าซ่อมแซม เป็นต้น
  • มีสินทรัพย์มากเกินไป  มีสินค้าคงคลัง เครื่องจักร อุปกรณ์ พาหนะมากเกินไป โดยไม่มีเงินสดพอเพียงสำหรับใช้จ่ายประจำวัน
  • ควบคุมสินค้าคงคลังไม่ดี มีสินค้าคงคลังมากเกินไปโดยเป็นสินค้าที่ขายหรือใช้ไม่ได้
  • ทำเลที่ตั้งไม่ดี ตั้งอยู่ในที่คนมองไม่เห็น ไม่มีคนผ่านไปมาหรือไกลจากชุมชน
  • ประสบภัยพิบัติต่างๆ เช่น น้ำท่วม ไฟไหม้ ฯลฯ โดยไม่มีประกันภัย

ปัญหาเหล่านี้ส่วนใหญ่แก้ไขได้ด้วยการฝึกฝนและเพิ่มพูนประสบการณ์

——————————————————————————————————-

ท่านไหนมีวิธีการหรือกระบวนแก้ไขอย่างไร มาแบ่งปันกันได้ผ่านหัวข้อนี้นะครับ

เกี่ยวกับ Khongsak Tuisuep

Management Lecturer of Faculty of Business Administration. Yonok University, Lampang TH.
เรื่องนี้ถูกเขียนใน คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์, บริหารธุรกิจ และติดป้ายกำกับ , , คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

ใส่ความเห็น