ว่าด้วยเรื่องสวัสดิการ #2 (ความหมายและขอบเขตของคำว่า “สวัสดิการ”)

ความหมายและขอบเขตของคำว่า “สวัสดิการ”

          ได้มีผู้ให้ความหมายของคำว่า “สวัสดิการ” ต่างๆ กันไป ได้แก่

          1. Welfare (สวัสดิภาพ สวัสดิการ) คือการมุ่งให้เกิดการกินดีอยู่ดี ของบุคคลหรือกลุ่มสวัสดิการทั่วไปของชุมชนหรือสังคม ถือว่าเป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้องจัดให้มีขึ้นเพื่อประโยชน์ร่วมกันของส่วนรวม

          2. สวัสดิการ หมายถึง “การกินดีอยู่ดี” หรือ Well-being ซึ่งถ้าจะขยายความออกไปก็อาจกล่าวได้ว่า คือ ภาวะของการมีสุขภาพดี มีความเจริญรุ่งเรือง และมีความสุข ถ้าเกี่ยวกับด้านแรงงานก็หมายถึง สิ่งหรือสถานการณ์ที่นายจ้างจัดให้เพื่อความสะดวกสบาย หรือความกินดีอยู่ดีของลูกจ้างนั่นเอง ซึ่งการดำเนินการเพื่อให้เกิดภาวะที่มีความสะดวกสบาย หรือความกินดีอยู่ดีของลูกค้านี้ มิได้หมายความว่า เป็นความรับผิดชอบของนายจ้างแต่ฝ่ายเดียว รัฐบาลและสหภาพแรงงานก็ต้องมีส่วนร่วมด้วย

          3. สวัสดิการ หมายถึง บริการ หรือกิจกรรมใดๆ ที่หน่วยงานราชการ หรือองค์กรธุรกิจเอกชนจัดให้มีขึ้นเพื่อให้ข้าราชการ พนักงาน หรือผู้ที่ปฏิบัติงานอยู่ในองค์กรนั้นๆ ได้รับความสะดวกสบายในการทำงาน มีความมั่นคงในอาชีพ มีหลักประกันที่แน่นอนในการดำเนินชีวิต หรือได้รับประโยชน์อื่นใดนอกเหนือจากเงินเดือน หรือค่าจ้างที่ได้รับอยู่เป็นระจำ ทั้งนี้เพื่อเป็นสิ่งจูงใจให้ผู้ปฏฺิบัติงานมีขวัญและกำลังใจที่ดี เพื่อจได้ใช้กำลังกาย กำลังใจ และสติปัญญาความสามารถของตนในการปฏิบัติงานอย่างเต็มที่ ไม่ต้องวิตกกังวล ปัญหายุ่งยากทั้งในทางส่วนตัวและครอบครัวทำให้มีความพอใจในงาน มีความรักงาน และตั้งใจที่จะทำงานนั้นให้นานที่สุด สำหรับสวัสดิการที่สมบูรณ์แบบนั้นย่อมหมายถึง สวัสดิการที่ให้แก่ลูกจ้าง ทั้ง 

  • ในขณะที่ทำงาน (On – the – Job)
  • นอกเวลาทำงานแต่ยังอยู่ในที่ทำงาน (Off – the Job within the workplace)
  • นอกสถานที่ทำงาน (Outside the workplace)  นอกจากนั้นจะต้องไม่ให้เฉพาะลูกจ้างเท่านั้น แต่จะต้องรวมถึงครอบครัวและชุมชนด้วย

ข้อมูลอ้างอิง :  อ.วิทยา  ตันติเสวี (ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์)

……………………………………………………………………………….

ตอนต่อไป จะนำตัวอย่างสวัสดิการภายในและภายนอกสถานที่ทำงานมาฝากกันนะครับ

เกี่ยวกับ Khongsak Tuisuep

Management Lecturer of Faculty of Business Administration. Yonok University, Lampang TH.
เรื่องนี้ถูกเขียนใน คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์, บริหารธุรกิจ และติดป้ายกำกับ , , , , , คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

ใส่ความเห็น