ผลการสังเคราะห์ความรู้จากผลงานวิจัยเรื่อง “รูปแบบการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในเขตเทศบาลตำบลป่าตันนาครัว อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง”

ชื่องานวิจัยรูปแบบการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในเขตเทศบาลตำบลป่าตันนาครัว อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง
ประเภทการวิจัย การวิจัยเชิงประเมินผล
ผู้วิจัย
หัวหน้าโครงการวิจัย นายปรีชา ลินมา
ผู้ร่วมวิจัยจากสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์1. อาจารย์เบญจวรรณ นันทชัย
2. อาจารย์สุพิณญา ทองจันทร์
3. อาจารย์ฉัตรชัย หมื่นก้อนแก้ว
4. อาจารย์สกุลศักดิ์ อินหล้า
5. นักศึกษาสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ ชั้นปีที่ 2
หน่วยงาน สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
ผู้สนับสนุนทุนวิจัย วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครลำปางร่วมกับมหาวิทยาลัยเนชั่น
วัตถุประสงค์การวิจัย
1. เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยในเขตเทศบาลตำบลป่าตันนาครัว อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง
2. เพื่อศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในเขตเทศบาลตำบลป่าตันนาครัว อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง
3. เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการมีส่วนร่วมของประชาชนด้านการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในเขตเทศบาลตำบลป่าตันนาครัว อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง
สรุปผลการวิจัย จากการประเมินโดยใช้รูปแบบของ CIPP Model เพื่อประเมินรูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยได้ผลดังนี้
1. ด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม (Context) พบว่าทุกกลุ่มมีความคิดเห็นสอดคล้องกันว่าเป็นการดำเนินงานที่มาจากความต้องการของประชาชน และเกิดจากความร่วมมือกันของทุกฝ่ายตั้งแต่ระดับผู้บริหารของเทศบาลจนถึงระดับประชาชน เพื่อต้องการพัฒนาให้ชุมชนมีศักยภาพและขีดความสามารถในการพัฒนาเมืองเกษตรกรรมและชุมชนน่าอยู่อย่างยั่งยืน
2. ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) พบว่าเทศบาลมีการจัดสรรทรัพยากรภายใต้แผนพัฒนาเทศบาล แผนปฏิบัติการ 21 ระดับท้องถิ่น ในการบริการด้านการจัดการขยะอย่างเพียงพอ บุคลากรและมีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ
3. ด้านกระบวนการ (Process) พบว่า มีการวางแผนในการดำเนินงานระหว่างเทศบาลและภาคประชาชนเป็นอย่างดี และมีความต่อเนื่อง ภายใต้แผนปฏิบัติการ 21 ระดับท้องถิ่น แต่ขาดการเชื่อมโยงให้ประชาชนเล็งเห็นความสำคัญในการแยกขยะก่อนทิ้งอย่างจริงจัง จึงทำให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานในระดับน้อย
4. ด้านผลผลิต (Product) พบว่า มีเพียง 4 หมู่บ้านจาก 12 หมู่บ้านที่เข้าร่วมโครงการมีรูปแบบการจัดการขยะที่เป็นรูปธรรม ส่วนหมู่บ้านที่ยังไม่เริ่มดำเนินการพบว่าขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนในการคัดแยกขยะมูลฝอยที่เหมาะสม
ผลการสังเคราะห์งานวิจัย
องค์ความรู้จากการวิจัย การวางแผนดำเนินงานในการจัดการปัญหาขยะ ในระดับชุมชนต้องให้ความสำคัญกับภาคประชาชนเป็นอย่างมาก โดยการชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการคัดแยกขยะ และการจูงใจให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานให้มากที่สุด หรือสามารถดำเนินการด้วยตัวชุมชนเองได้ ซึ่งส่งผลให้มีสามารถพัฒนารูปแบบการจัดการขยะในแบบต่างๆ โดยการขับเคลื่อนกันเองภายในชุมชนได้อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งส่วนของหน่วยงานภายนอกที่จะเข้าไปส่งเสริมความรู้และทักษะต่างๆ ในการจัดการขยะให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นให้กับชุมชน ก็สามารถทำได้ง่ายขึ้น เพราะชุมชนเองมีความต้องการในการพัฒนาศักยภาพเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว หากมีการส่งเสริมและถ่ายทอดวิธีการจัดการขยะมูลฝอยในรูปแบบที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นย่อมได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี ทั้งนี้หากได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานบริหารภายในท้องถิ่นเป็นอย่างดี และต่อเนื่องด้วยแล้ว ย่อมเห็นผลสำเร็จที่เกิดขึ้นเองจากการดำเนินงานโดยภาคประชาชนได้อย่างชัดเจน และมีความยั่งยืนในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยรูปแบบต่างๆ ในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อเสนอแนะเพื่อการศึกษาวิจัย ควรศึกษาวิจัยรูปแบบการจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพ และเหมาะสมต่อชุมชนแต่ละชุมในเขตเทศบาลตำบลป่าตันนาครัวต่อไป
การใช้ประโยชน์ต่อการเรียนการสอน วิชาเฉพาะในทุกสาขาวิชา

เรื่องนี้ถูกเขียนใน ทั่วไป และติดป้ายกำกับ คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

ใส่ความเห็น