ความท้าทายใหม่ สื่อยุคดิจิทัล

convergence

convergence

ประเด็นความรับผิดของบรรณาธิการในสื่อยุคดิจิทัล
เป็นคล้ายพายุลูกใหญ่ที่โหมกระหน่ำเข้ามาโดยยังมิทันตั้งตัว

จักร์กฤษ เพิ่มพูน

จักร์กฤษ เพิ่มพูน

เพราะในขณะที่โลกการสื่อสารหมุนเวียนเปลี่ยนไปทุกนาที แต่กฎหมายที่ใช้บังคับ โดยเฉพาะประมวลกฎหมายอาญาว่าด้วยความผิดฐานหมิ่นประมาท ใช้มาแล้วไม่น้อยกว่า ครึ่งศตวรรษ อีกทั้ง พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ก็ยังมีการใช้และตีความในทางที่ผิดๆ จนกระทั่งเรื่องของเฟซบุ๊ค และไลน์ซึ่งเป็นการสื่อสารส่วนบุคคล ถูกลากเข้าไปเป็นแพะรับบาปของผู้มีอำนาจด้วย

ความรับผิดชอบของสื่อมวลชนอาจจำแนกได้เป็นความรับผิดชอบ ในเชิงจริยธรรม และความรับผิดชอบในแง่กฎหมาย

กล่าวได้ว่า ความรับผิดชอบเชิงจริยธรรม ซึ่งเป็นเรื่องของจิตสำนึกนั้น อาจจะเป็นเรื่องที่สำคัญกว่า เพราะหากมีจิตสำนึกในการนำเสนอข่าวสาร ข้อมูล ด้วยความรับผิดชอบ และตระหนักรู้ถึงผลกระทบ ความเสียหาย ต่อเกียรติยศ ชื่อเสียงของบุคคลอื่นแล้ว ก็จะมีผลในเรื่องของกฎหมายด้วย

บทบาทหน้าที่ในการแสวงหาข่าวสารและการนำเสนอข้อมูลข่าวสารไปสู่ความรับรู้ของประชาชน จัดได้ว่าเป็นหน้าที่หลักของสื่อมวลชน แต่ในหลายครั้งมักก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิของบุคคลอื่นอยู่เสมอ

หลายคดีมีการฟ้องร้อง อีกหลายเรื่องไม่มีการฟ้องร้องหรือดำเนินคดีใดๆ สาเหตุอาจเกิดจากผู้เสียหายไม่ทราบถึงสิทธิในการเรียกร้อง หรือเยียวยาความเสียหาย หรือผู้เสียหายไม่ต้องการมีคดีความ อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาด้านของสื่อมวลชนแล้ว มีประเด็นที่น่าสนใจว่า หากสื่อมวลชนทราบว่า การกระทำของสื่อมวลชนเป็นการละเมิดหรือกระทบสิทธิของบุคคลอื่นซึ่งมีความผิดตามกฎหมายแล้ว เหตุใดจึงยังมีการกระทำในลักษณะดังกล่าวเกิดขึ้นอยู่เสมอ

เหตุผลดังกล่าว อาจตอบได้ทั้งในแง่ของธุรกิจ และการทำหน้าที่ในเชิงวิชาชีพ เช่น สื่อมวลชนต้องการขายข่าว ในฐานะที่สื่อมวลชนเป็นทั้งสถาบันสาธารณะ ที่มีจุดมุ่งหมายในเชิงอุดมการณ์ และสถาบันหรือองค์กรทางธุรกิจ ที่ต้องแสวงหากำไร

สื่อมวลชนต้องการที่จะตอบสนองความอยากรู้ อยากเห็น อันเป็นสัญชาตญาณของมนุษย์ ซึ่งก็ตอบโจทย์ในแง่ธุรกิจเช่นกัน สุดท้าย เนื่องจากสถานภาพความเป็น “บุคคลสาธารณะ” ของผู้ที่ตกเป็นข่าว ซึ่งสื่อมวลชนจะต้องทำหน้าที่ขุดคุ้ย ค้นหาความจริง วิพากษ์ วิจารณ์อย่างตรงไป ตรงมา เพื่อประโยชน์สาธารณะ นัยหนึ่งคือการทำหน้าที่ “หมาเฝ้าบ้าน” ไม่ว่าข่าวสาร ข้อมูลที่นำเสนอนั้นจะเข้าข่ายให้มีการฟ้องคดีฐานหมิ่นประมาทหรือไม่ก็ตาม

มีคำถามสำคัญ หากต้องทำวิจัยเรื่องนี้ คือ

1. การเกิดขึ้นของสื่อยุคดิจิทัล ส่งผลต่อการทำงาน และความรับผิดชอบในทางกฎหมายของสื่อสารมวลชนอย่างไร โดยเฉพาะบุคคลที่ควรรับผิดชอบต่อการกระทำความผิดในคดีหมิ่นประมาท

2. การวินิจฉัย พิจารณา และพิพากษาคดีของศาลในคดีหมิ่นประมาทที่เกี่ยวข้องกับสื่อยุคดิจิทัล มีหลักการอย่างไร

3. ลักษณะการเติบโต ขยายตัวของสื่อยุคดิจิทัล ส่งผลกระทบต่อสังคมอย่างไร

ตอบคำถามเร็วๆ โดยภาพรวมได้ว่า

การเกิดขึ้นของสื่อยุคดิจิทัล ส่งผลต่อการทำงานของสื่อรวดเร็วมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็ก่อให้เกิดช่องว่าง ในการตรวจสอบความถูกต้อง เป็นธรรมของข่าวสาร ข้อมูล เพื่อหลีกเลี่ยงและลดผลกระทบที่จะเกิดกับบุคคลอื่น ในขณะที่หลักในการพิจารณา พิพากษาคดีของศาลนั้น ก็ยังคงมีประเด็นเรื่ององค์ความรู้เกี่ยวกับสื่อในยุคดิจิทัล ซึ่งยังคงมีแนวโน้มในการใช้หลักกฎหมายเดิมตัดสินคดีความอยู่

ส่วนเรื่องการเติบโต ขยายตัวของสื่อยุคดิจิทัล ก็จะเปิดพื้นที่ให้เกิดการขยายตัวด้านตลาดแรงงานด้านสื่อ โดยที่สื่อก็ต้องมีทักษะในการทำงานที่เรียกว่า multimedia skills มากขึ้น

นี่มิใช่การพยากรณ์อนาคตสื่อยุคดิจิทัล แต่คือความท้าทายที่อยู่ตรงหน้านาทีนี้

โดย จักร์กฤษ เพิ่มพูล ในกรุงเทพธุรกิจ

http://bit.ly/16Zwi1U

เกี่ยวกับ บุรินทร์ รุจจนพันธุ์

เป็นอาจารย์ฺประจำสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์ สอนด้านสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ระบบปฏิบัติการ ระบบฐานข้อมูล การโปรแกรม การพัฒนาระบบสารสนเทศ รับผิดชอบงานบริการวิชาการ สนใจงานวิจัยเกี่ยวกับ การวิจัยเพื่อท้องถิ่น การประกันคุณภาพการศึกษา การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การวิจัยในชั้นเรียน และระบบสารสนเทศ
เรื่องนี้ถูกเขียนใน การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ, คณะนิเทศศาสตร์, งานประชาสัมพันธ์ รับนักศึกษา และติดป้ายกำกับ , คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

ใส่ความเห็น