การหาปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรควัณโรคปอดของประชาชนในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกล้วยม่วง ตำบลกล้วยแพะ
อำเภอเมือง จังหวัด ลำปาง
Determinations of risk factor of Tuberculosis in people for area of responsibility at Ban Kluay Muang Health promoting Hospital, Tumbon Kluay Phae,
Amphoe Mueang, Lampang province.
|
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรควัณโรคปอดของประชาชนในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกล้วยม่วง และเพื่อให้ประชาชนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกล้วยม่วงสามารถจัดการกับความเสี่ยงที่จะเกิดวัณโรคปอด การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเรื่องการหาปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรควัณโรคปอดของประชาชนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกล้วยม่วง ตำบลกล้วยแพะ อำเภอเมือง จังหวัด ลำปางโดยเป็นการศึกษาเชิงพรรณนา (Descriptive Study) โดยได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ป่วยโรควัณโรคปอดในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกล้วยม่วง ตำบลกล้วยแพะ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง อายุ 15 ปีขึ้นไป ทุกเพศ ใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์ ที่สร้างโดย รุ่งทิพย์สุจริตธรรม (2550) ได้รับการตรวจสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหาและความเชื่อมั่นมาแล้วการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ใช้คอมพิวเตอร์ในการวิเคราะห์ข้อมูลในการหาค่า ร้อยละ ผลการวิจัย พบว่าพบว่า ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดวัณโรคปอด ได้แก่ เพศชายมากกว่าเพศหญิงคิดเป็นร้อยละ 63 และอยู่ในช่วงอายุ 46-60 ปี คิดเป็นร้อยละ 35.2 น้ำหนักในช่วง 41-50 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 38.9 ส่วนสูงอยู่ในช่วงประมาณ 150-170 เซนติเมตร คิดเป็นร้อยละ 42.6 มีจำนวนสมาชิกในครอบครัว 4-6 คน คิดเป็นร้อยละ 57.4 มีสถานภาพสมรส คิดเป็นร้อยละ 74 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา คิดเป็นร้อยละ 64.8 ในด้านการประกอบอาชีพในอดีต ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร และรับจ้างทั่วไป คิดเป็นร้อยละ 38.9 และด้านการประกอบอาชีพในปัจจุบัน ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป คิดเป็นร้อยละ 44.4 มีรายได้น้อยกว่า 5,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 72.2 มีระยะเวลาในการป่วยน้อยกว่า 6 เดือน – 1 ปี คิดเป็นร้อยละ 57.4 มีการเอาที่นอนออกตากแดด 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 81.5 ผู้ป่วยไม่เคยสวมถุงมือในการปฏิบัติงาน คิดเป็นร้อยละ 50 ใส่หน้ากากอนามัยขณะปฏิบัติงานบางครั้ง คิดเป็นร้อยละ 48.1 มีการพักผ่อน 8 ชั่วโมงต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 72.2 ออกกำลังกายบางครั้ง คิดเป็นร้อยละ 55.6 บ้านของผู้ป่วยที่ไม่มีการเก็บผลิตผลทางการเกษตรคิดเป็นร้อยละ 53.7
คำสำคัญ : วัณโรคปอด, ปัจจัยเสี่ยง
1 สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเนชั่น
2 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านกล้วยม่วง ตำบลกล้วยแพะ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง
บทสรุป (Conclusion)
ในการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษา เรื่องการหาปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรควัณโรคปอดของประชาชนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกล้วยม่วง ตำบลกล้วยแพะ อำเภอเมือง จังหวัด ลำปางเป็นการศึกษาเชิงพรรณนา (Descriptive Study) ได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ป่วยโรควัณโรคปอดในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกล้วยม่วง ตำบลกล้วยแพะ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง อายุ 15 ปีขึ้นไป ทุกเพศ ใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์ ที่สร้างโดย รุ่งทิพย์ สุจริตธรรม (2550) ได้รับการตรวจสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหาและความเชื่อมั่นมาแล้ว การศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยได้ใช้คอมพิวเตอร์ในการวิเคราะห์ข้อมูลในการหาค่า ร้อยละโดยการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ได้แก่ 1.เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรควัณโรคปอดของประชาชนในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกล้วยม่วง 2.เพื่อให้ประชาชนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกล้วยม่วงสามารถจัดการกับความเสี่ยงที่จะเกิดวัณโรคปอดการศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นการศึกษาในผู้ป่วยวัณโรคปอด ซึ่งผลการวินิจฉัยโรคพบว่า ผู้ป่วยที่มีผลการตรวจเสมหะเป็นผลบวก คิดเป็นร้อยละ 59.3 ผู้ป่วยที่มีผลการตรวจเสมหะเป็นผลลบ คิดเป็นร้อยละ 40.7 และพบว่าผู้ป่วย มีผลการตรวจ Chest X-ray ที่มีผลเป็นบวก คิดเป็นร้อยละ59.3มีผลการตรวจ Chest X-ray ที่มีผลเป็นลบ คิดเป็นร้อยละ 40.7จากผลการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ สามารถสรุปได้ดังนี้ด้านข้อมูลทั่วไป พบว่า เพศชายมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 63 ด้านอายุ พบว่า ช่วงอายุ 46-60 ปี มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 35.2 และรองลงมาคือ ช่วงอายุ 61-75 ปี คิดเป็นร้อยละ 33.3 ด้านน้ำหนัก พบว่า น้ำหนัก 41-50 กิโลกรัมมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 38.9และรองลงมาคือ 51-60 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ33.3 ด้านส่วนสูง พบว่า ส่วนสูง 150 -160 เซนติเมตรมากที่สุดและ161 -170 คิดเป็นร้อยละ 42.6 ด้านสมาชิกในครอบครัวสมาชิกในครอบครัว 4-6 คนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 57.4และรองลงมาคือ 1-3 คน คิดเป็นร้อยละ 33.3 ด้านสถานภาพ พบว่า สถานภาพสมรสมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 74 และรองลงมาคือ สถานภาพหม้าย/หย่า คิดเป็นร้อยละ20.4 ด้านโรคประจำตัว พบว่า ไม่มีโรคประจำตัว คิดเป็นร้อยละ 53.7 ด้านระดับการศึกษา พบว่า จบการศึกษาระดับประถมศึกษามากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 64.8และรองลงมาคือ ไม่ได้เรียนหนังสือ คิดเป็นร้อยละ27.8ด้านการประกอบอาชีพในอดีต พบว่า ประกอบอาชีพเกษตรกร และรับจ้างทั่วไป คิดเป็นร้อยละ 38.9 ด้านการประกอบอาชีพในปัจจุบัน พบว่า ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป คิดเป็นร้อยละ 44.4 และรองลงมาคือว่างงานและประกอบอาชีพเกษตรกรรม คิดเป็นร้อยละ18.5 ด้านรายได้เฉลี่ยต่อเดือน พบว่า มีรายได้น้อยกว่า 5000 บาทมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 72.2 และรองลงมาคือ 5,001 – 10,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 22.2 ด้านระยะเวลาในการป่วยเป็นวัณโรค พบว่ามีระยะเวลาในการป่วยน้อยกว่า 6 เดือน – 1 ปีมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 57.4และรองลงมาคือ น้อยกว่า 6 เดือน คิดเป็นร้อยละ18.5 ด้านการสูบบุหรี่ พบว่าไม่เคยสูบบุหรี่ คิดเป็นร้อยละ 59.3 ด้านการดื่มสุราพบว่า ไม่ดื่มสุรา คิดเป็นร้อยละ 57.4 ด้านการเอาที่นอนออกตากแดด พบว่าทำ 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ มีจำนวนทั้งหมด 44 คน คิดเป็นร้อยละ 81.5 ด้านแต่งกายในการปฏิบัติงาน พบว่าผู้ป่วย เวลาก่อนที่จะปฏิบัติงาน เปลี่ยนชุดแต่งกาย เปลี่ยนทุกวัน คิดเป็นร้อยละ 94.4ด้านการสวมถุงมือในการปฏิบัติงาน พบว่าผู้ป่วยไม่เคยสวมถุงมือในการปฏิบัติงาน คิดเป็นร้อยละ 50 ด้านการใส่หน้ากากอนามัยในการปฏิบัติงานพบว่า ใส่หน้ากากอนามัยขณะปฏิบัติงาน ใส่บางครั้ง มีจำนวนทั้งหมด 26 คน คิดเป็นร้อยละ 48.1 ด้านการพักผ่อนนอนหลับของผู้ป่วยพบว่าพักผ่อน 8 ชั่วโมงต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 72.2 ด้านการออกกำลังกาย พบว่าผู้ป่วยออกกำลังกายบางครั้ง คิดเป็นร้อยละ 55.6 ด้านการรับประทานอาหารปรุงสุกพบว่าผู้ป่วยรับประทานอาหารปรุงสุกเป็นประจำ คิดเป็นร้อยละ 38.9 ด้านการรับรู้ทางด้านการรักษา พบว่า ผู้ป่วยที่คิดว่าวัณโรคเป็นโรคที่ต้องรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 6 เดือน ผู้ป่วยที่คิดว่าใช่ คิดเป็นร้อยละ 96.3 ผู้ป่วยที่คิดว่าการรับประทานยาหลายเม็ดไม่เป็นอุปสรรคในการรักษา คิดเป็นร้อยละ 68.5 ผู้ป่วยที่คิดว่าการเดินทางมารักษาวัณโรคในแต่ละครั้งไม่ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง คิดเป็นร้อยละ 77.8 ผู้ป่วยการมารับยาแต่ละครั้งทำให้ไม่เสียเวลาในการทำงานประจำคิดเป็นร้อยละ 66.7 ผู้ป่วยที่คิดว่าเมื่อรับประทานยาไปแล้วระยะหนึ่ง ปรากฏว่าไม่มีอาการของวัณโรค ไม่สามารถหยุดกินยารักษาวัณโรคได้ คิดเป็นร้อยละ 83.3 ผู้ป่วยที่คิดว่าไม่สามารถลด หรือหยุดยาเองได้ เมื่อเกิดอาการข้างเคียงจากยารักษาวัณโรค คิดเป็นร้อยละ 81.5 ผู้ป่วยที่ไม่คิดว่าการรับประทานยารักษาวัณโรคทุกวันติดต่อกันเป็นเวลานานทำให้รู้สึกเบื่อ คิดเป็นร้อยละ 72.2 ผู้ป่วยที่ไม่คิดว่าการมีพี่เลี้ยงกำกับการกินยา ทำให้ท่านกินยาได้อย่างสม่ำเสมอ คิดเป็นร้อยละ 74.1 ผู้ป่วยที่ไม่คิดว่าการมีพี่เลี้ยงกำกับการกินยา ทำให้รู้สึกรำคาญ คิดเป็นร้อยละ 85.2ผู้ป่วยที่คิดว่าสามารถกินยาได้เองโดยไม่ต้องมีผู้กำกับดูแล คิดเป็นร้อยละ 66.7 ผู้ป่วยที่ไม่คิดว่าพี่เลี้ยงทำให้มีความเข้าใจต่อวิธีการรักษาเป็นอย่างดี คิดเป็นร้อยละ 53.7 ผู้ป่วยที่คิดว่าการลืมกินยามื้อเดียวมีผลต่อการรักษา คิดเป็นร้อยละ 96.3 ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม พบว่า ด้านสภาพบ้านเรือน พบว่าผู้ป่วยเปิดหน้าต่างทุกบานในบ้าน คิดเป็นร้อยละ 83.3 สภาพแวดล้อมภายในบ้านมีสภาพ อากาศถ่ายเทสะดวก คิดเป็นร้อยละ 96.3 บ้านของผู้ป่วยไม่มีสัตว์เลี้ยงในบริเวณบ้าน คิดเป็นร้อยละ 70.4 บ้านของผู้ป่วยที่ไม่มีการเก็บผลิตผลทางการเกษตรคิดเป็นร้อยละ 53.7 ก่อนที่ผู้ป่วยจะรู้ว่าป่วยเป็นวัณโรคมีการทำความสะอาดบริเวณบ้านเรือนบางครั้ง คิดเป็นร้อยละ 59.3ผู้ป่วยมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำความสะอาดบ้านเรือน คิดเป็นร้อยละ 53.7 ด้านการประกอบอาชีพพบว่า ผู้ป่วยที่ไม่เคยใช้แก้วน้ำ ช้อน จาน ร่วมกับผู้อื่น คิดเป็นร้อยละ 74.1 ผู้ป่วยที่ไม่เคยรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น คิดเป็นร้อยละ 55.6ผู้ป่วยที่มีวิธีการกำจัดวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรโดยวิธีการอื่นๆ ด้านข้อมูลข่าวสาร ผู้ป่วยได้รับความรู้เกี่ยวกับวัณโรคจากสื่ออื่นๆ (บุคลากรทางการแพทย์) คิดเป็นร้อยละ 64.8