รายงานผลการดำเนินการ โครงการลดเสี่ยง เลี่ยงโรคความดัน – เบาหวาน บ้านปงวัง หมู่ที่ 6 ตำบลพิชัย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

20140223_085737 20140223_090738

20140223_090928 20140223_092333

20140223_092919 20140223_101035

20140223_101444 20140223_102304

20140223_102540 20140223_102700 20140223_102755 20140223_103150

20140223_105346

 

รายงานผลการดำเนินการ

โครงการลดเสี่ยง เลี่ยงโรคความดัน – เบาหวาน

บ้านปงวัง หมู่ที่ 6  ตำบลพิชัย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2556

สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ

มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง

คำนำ

 โครงการลดเสี่ยง เลี่ยงโรคความดัน – เบาหวาน จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ทั้งเป็นการสร้างทัศนคติที่ดีในการเลือกรับประทานอาหารให้ถูกหลักโภชนาการที่เหมาะสมต่อภาวะสุขภาพ และ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการนำทักษะในการเลือกรับประทานอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ และเหมาะสมต่อภาวะสุขภาพไปใช้ในการส่งเสริมสุขภาพของตนเองและครอบครัว  เพื่อให้นักศึกษาสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ ชั้นปีที่  2 สามารถนำองค์ความรู้ในรายวิชาการส่งเสริมสุขภาพในชุมชน PUBH 220 มาบูรณาการในการบริการวิชาการแก่สังคม และการทำนุบำรุงศิลปและวัฒนธรรมได้

ผู้รับผิดชอบโครงการ                        

1. นางสาวเอมอร                เพชรบูรณ์ปี้                          ประธานโครงการ

2. นายกฤษฎา                    วัฒนกีบุตร                           รองประธาน

3. นายรัฐวุฒิ                       ตั้งเชิง                                   กรรมการ

4. นางสาววนิดา                 ดวงจันทร์                             กรรมการ

5. นางสาวศศิธร                 จันทร์หอม                            กรรมการ

6. นางสาวอธิชา                 บุญยืน                                  กรรมการ

7. นางสาวอนัญลักษณ์      ดีมาก                                   กรรมการ

8. นางสาวณัฏฐชา             พรมมิน                                 กรรมการ

9. นางสาวเรณุกา                ใจยะสุ                                  กรรมการ

10. นางสาวพรลภัส           ต๊ะพรหม                               กรรมการ

11. นางสาวสุพรทิพย์        ลิ้มเพชรชัยกุล                      กรรมการ

12. นางสาวลดาวัลย์           คนธสิงห์                               กรรมการ

13. นางสาวอารีย์รัตน์        อภัยรุณ                                 กรรมการ

14. นางสาวอารยา              การร้อย                                กรรมการ

15. นางสาวสีนวล          พิมพ์เสนา                                  กรรมการ

16. นางสาวจิราพร             เอี่ยมสะอาด                          เลขานุการ

17. นางสาวชณานุช          เจริญยิ่ง                                  ผู้ช่วยเลขานุการ

ระยะการดำเนินโครงการ  วันอาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 เวลา 08.00 น. – 12.00 น.

สถานที่ดำเนินโครงการ    วัดปงวัง บ้านปงวัง หมู่ 6 ตำบลพิชัย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

ผู้เข้าร่วมโครงการ

– ประชาชนบ้านปงวัง จำนวน 44 คน

– นักศึกษาสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง จำนวน 17 คน

– อาจารย์ จำนวน 1 ท่าน ได้แก่ อาจารย์สกุลศักดิ์ อินหล้า

งบประมาณ

งบประมาณสนับสนุนจากนักศึกษา สาขาสาธารณสุขศาสตร์ชั้นปีที่ 2 จำนวนเงิน 3,600 บาท

-ค่าของที่ระลึกประธานในพิธี                         300 บาท

-ค่าของที่ระลึกวิทยากรภาควิชากา  ร              300 บาท

-ค่าวัสดุอุปกรณ์                                                   200 บาท

-ค่าของว่างและเครื่องดื่ม                                  850 บาท

-ค่าเอกสารประกอบการบรรยาย                      450 บาท

-ค่าของที่ระลึกผู้เข้าร่วมโครงการ                    1,500 บาท

สิ่งที่ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับ

– นายวิรันดร์ ต๊ะสูง ตำแหน่ง ผู้ใหญ่บ้านปงวัง เป็นผู้ดูแลผู้ป่วย

“ในฐานะที่เป็นผู้ใหญ่บ้าน ได้มีนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเนชั่น ได้เข้ามาทำโครงการ เป็นการกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคต่างๆ ในชุมชน เป็นโครงการที่ว่าด้วยเรื่องความดันเบาหวานในกลุ่มเสี่ยงที่มีอยู่ในหมู่บ้าน ได้มาคัดกรองความดันเบาหวานในชุมชน ก็เป็นสิ่งที่ดีมากๆ เพราะว่าชุมชนก็จะได้รับโอกาส เพราะบางคนบางท่านไม่มีโอกาสไปโรงพยาบาล ไปคลินิก หรืออนามัย  ก็ต้องขอบคุณน้องๆ ที่มาอำนวยความสะดวกถึงที่บ้าน ก็ดีใจมากๆ ที่มีนักศึกษาออกมาดำเนินโครงการ ว่างๆ คราวหน้าคงมีโอกาสมาอีก ขอบคุณมากๆ”

–  นายทวี ศรีไชยวงศ์  ตำแหน่ง อบต.ปงวัง ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและไขมันในเส้นเลือด

“ทางน้อง ๆมาทำโครงการ ซึ่งรู้สึกว่าก็ดี เพราะว่าผู้ป่วยแต่ละท่านที่ได้มารับความรู้ มาอบรม จะได้ปฏิบัติตัวถูก ว่าเราเป็นโรคอะไร เราจะปฏิบัติอย่างไร ทำตัวอย่างไรให้มันถูกต้องกับโรคที่เป็นอยู่ ทุกวันนี้ การอยู่การกิน การออกกำลังกาย จะทำอย่างไรดี จะให้โรคของเราที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ลุกลามหรือเป็นไปมากกว่านี้”

– นางจำเนียน ศรีไชยวงค์ ตำแหน่ง อสม.ปงวัง ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน

“ความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการ ลดเสี่ยงเลี่ยงโรค ดิฉันได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานมากขึ้นจากโครงการนี้ ทำให้ทราบถึงประโยชน์จากอาหารที่ควรรับประทาน เช่น ไม่กินหวาน มัน เค็ม และควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จึงจะนำความรู้ที่ได้จากโครงการนี้มาแนะนำผู้ป่วยให้ปฏิบัติอย่างถูกต้องและเหมาะสม”

– นางอำพร เทพศิริ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

“จากการที่เข้าร่วมโครงการในครั้งนี้ ทำให้ดิฉันมีความรู้ในเรื่องของโรคความดันดลหิตสูงมากขึ้น และความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติใช้ในชีวิตประจำวัน  โดยการงดหวาน งดเค็ม กินผักมากขึ้น และหมั่นออกกำลังกายสุดท้ายนี้ก็อยากให้นักศึกษาจัดทำโครงการแบบนี้อีกบ่อยๆ”

 ปัญหาที่พบในกลุ่มผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

1. การควบคุมการรับประทาอาหารประเภทแป้ง เช่น ข้าวเหนียวเพราะผู้ป่วยต้องทำงาน หารายได้ในครอบครัวจึงเลือกรับประทานข้าวเหนียวมากกว่าข้าวสวยเพราะข้าวเหนียวรับประทานแล้วอิ่มมากกว่าทำให้มีแรงในการทำงานมากกว่า และพฤติกรรมการเลือกรับประทานอาหารที่มีรส หวาน มัน เค็ม เพราะความเคยชินในการรับประทานอาหาร ทำให้บางทีอาจจะลืมตัวไปบ้างว่าตัวเองเป็นโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน และไม่ค่อยใส่ใจกับอาหารที่ควรรับประทานและไม่ควรรับประทาน

2. ทัศนคติและความเชื่อที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้ชีวิต ด้วยเหตุผลที่ว่าผู้ป่วยยึดถือว่ารับประทานอาหารตามท้องถิ่น เป็นคนภาคเหนือต้องรับประทานข้าวเหนียว เพราะข้าวเหนียวทำให้รับประทานแล้วอิ่มนาน ทำให้การทำงานหารายได้ของผู้ป่วยจะไม่ค่อยมีปัญหาโดยไม่ได้คำนึงถึงว่าเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานต้องรับประทานในปริมาณเท่าใด

3. ผู้ป่วยมีความเข้าใจในเรื่องการรับประทานอาหารบางชนิดคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง เพราะเป็นความเข้าใจและรับข้อมูลมาแบบผิด ๆ

 การบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ

1.ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

2. ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถอธิบายวิธีการเลือกรับประทานอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ และเหมาะสมต่อภาวะสุขภาพ ตลอดจนอธิบายแนวทางการนำไปใช้ส่งเสริมสุขภาพของตนเองและครอบครัวได้

ข้อความนี้ถูกเขียนใน คณะสาธารณสุขศาสตร์ คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

ใส่ความเห็น