โครงการ “เบาหวานป้องกันโรคแทรกซ้อนได้ เพียงรู้และเข้าใจ”

“เบาหวานป้องกันโรคแทรกซ้อนได้ เพียงรู้และเข้าใจ”

บทนำ

โรคเบาหวาน นับเป็นปัญหาการเจ็บป่วยที่สำคัญและนำมาซึ่งความทุกข์ ความสูญเสียทรัพยากรในการดูแลรักษา มีผลกระทบต่อผู้ป่วยเอง และผู้ดูแล ค่ารักษารักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายในครอบครัว มีอาการป่วยเรื้อรังเป็นเวลานาน ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ บางรายอาจมีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง เช่น แผลเรื้อรัง ปัญหาการมองเห็น ปัญหาทางไต อัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นต้น จากการคาดการขององค์การอนามัยโลก พบว่าค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล เฉพาะการรักษาพยาบาลเบาหวานอย่างเดียว ไม่รวมภาวะแทรกซ้อนอื่นๆที่ตามมา ในประเทศพัฒนาแล้ว ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลถึง ร้อยละ 8 ของงบประมาณด้านสาธารณสุขทั้งหมด ตลอด 8 ปีที่ผ่านมา แต่ยังพบว่าอุบัติการณ์เกิดโรคยังเพิ่มอย่างต่อเนื่องและกลับทวีความรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา  อัตราตายด้วยโรคเบาหวานเท่ากับ 7.9-11.8 (อัญชลี  ศิริพิทยาคุณกิจ, 2547) โรคเบาหวานเป็นปัญหาสำคัญในประเทศไทยพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชายเล็กน้อย ความชุกของเบาหวานมีแนวโน้มสูงขึ้นตามอายุที่มากขึ้น โดยพบความความชุกสูงสุดที่กลุ่มอายุ 60 ถึง 69 ปี

จากสภาพปัญหาปัจจุบัน ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ในรายที่เป็นเรื้อรังมานาน มักประสบปัญหามีอาการมึน ชาอวัยวะส่วนปลาย โดยเฉพาะบริเวณ ปลายนิ้วมือ นิ้วเท้า เมื่อเกิดแผลจะทำให้ไม่รู้ตัว เพราะเนื่องจากว่าเลือดไปเลี้ยงที่บริเวณปลายนิ้วมือ นิ้วเท้าไม่พอ

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ

1. เพื่อให้ความรู้เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการทำน้ำแช่เท้า

2. เพื่อเป็นการเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้เข้าร่วมสัมมนา

กลุ่มเป้าหมาย

นักศึกษาสาธารณสุขศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 จำนวน 20 คน

นักศึกษาสาธารณสุขศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 จำนวน 17 คน

นักศึกษาสาธารณสุขศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 จำนวน 29 คน

นักศึกษาสาธารณสุขศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 จำนวน 28 คน

ผู้รับผิดชอบโครงการสัมมนา  

งานสัมมนาพฤติกรรมการบริโภคอาหารของวัยรุ่นทำนายแนวโน้มสุขภาพในอนาคตมีผู้รับผิดชอบต่อไปนี้

1. นายบวรชัย                  แปงปวนจู           ประธานโครงการสัมมนา

2. นางสาวมัชรียะ             ยูโซ๊ะ                 รองประธาน

3. นางสาวประทุมพร        กงซุย                 เลขา

4. นางสาวอรวรรณ          ผิวผ่อง               ประชาสัมพันธ์

5. นายสุรพล                   นครชัย               พิธีกร/ผู้ดำเนินรายการ

6. นางสาวอรวรรณ          ผิวผ่อง               ฝ่ายจัดซื้อ

7. นางสาวอรวรรณ          ผิวผ่อง               ฝ่ายสถานที่

ประโยชน์

1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนามีความรู้เกี่ยวกับการทำน้ำแช่เท้าได้ด้วยตนเอง

2. ผู้เข้าร่วมสัมมนาสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องน้ำแช่เท้า

 วิธีการดำเนินการ

 1. ขั้นเตรียมการ

1. การวางแผนกำหนดโครงการ
2. ประชุมแต่งตั้งคณะกรรมการ

3. เขียนโครงการเสนอตามลำดับ

4. ประชุมติดตามงานแต่ละฝ่ายหาข้อบกพร่องเพื่อแก้ไข

2. ขั้นดำเนินการ

1. ประชุมกลุ่มเตรียมจัดทำโครงการสัมมนาในหัวข้อเรื่อง “เบาหวานป้องกันโรคแทรกซ้อนได้ เพียงรู้และเข้าใจ”

2. จัดทำโครงการสัมมนาในหัวข้อเรื่อง “เบาหวานป้องกันโรคแทรกซ้อนได้ เพียงรู้และเข้าใจ”

3. ติดต่อท่านวิทยากร

4. จัดเตรียมสถานที่จัดทำสัมมนา

5. จัดทำสัมมนา

6. สรุปผลโครงการสัมมนา

ปฏิทินการดำเนินงาน

 

ลำดับที่ รายละเอียด กุมภาพันธ์ มีนาคม
1 ประชุมกลุ่ม

 

         
2 จัดทำโครงการสัมมนา

 

       
3 ติดต่อท่านวิทยากร

 

         
4 จัดเตรียมสถานที่

 

         
5 จัดทำสัมมนา

 

         
6 สรุปผลโครงการสัมมนา

 

         

ระยะเวลาการดำเนินการ

  1. ระยะเวลาดำเนินการโครงการสัมมนาทั้งหมด

วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน – วันศุกร์ที่ 27 ธันวาคมพ.ศ. 2556

  1. วันจัดโครงการสัมมนา

วันอังคารที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2557 เวลา 10.30-12.00 น.

สถานที่ดำเนินการ

ห้อง 4201 ตึกคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเนชั่น

งบประมาณการดำเนินการ

 

ลำดับที่ รายละเอียด จำนวนเงิน
1 ค่าเอกสาร 300
2 ค่าอาหารว่าง 1,000
3 ค่าเบ็ดเตล็ด 500
4 ค่าเผื่อเหลือเผื่อขาด 500
รวม 2,300

การติดตามผลการดำเนินงาน

           แบบสอบถามความพึงพอใจหลังการเข้าร่วมการจัดสัมมนาเรื่อง “เบาหวานป้องกันได้ ควบคุมได้ เพียงรู้และเข้าใจ”

 

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

 ความหมายและอันตรายของโรคเบาหวาน

 เบาหวานเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินกว่าที่ควรจะเป็น มีสาเหตุมาจากการหลั่งอินซูลิน (insulin)  ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่เพียงพอ เรียกว่ามี ภาวะขาดอินซูลิน หรือเกิดจากความสามารถในการตอบสนองต่อฤทธิ์ของอินซูลินลดลง  เรียกว่ามีภาวะดื้ออินซูลิน หรือเกิดจากสาเหตุทั้งสองอย่าง คือ ในบุคคลคนเดียวกันอาจมีทั้งความผิดปกติในการหลั่งอินซูลิน และการตอบสนองต่อฤทธิ์ของอินซูลินลดลงและบ่อยครั้งที่ยากจะบอกว่า การขาดอินซูลิน หรือดื้ออินซูลิน เป็นสาเหตุเริ่มต้นที่ทำให้เกิดระดับน้ำตาลในเลือดสูง การที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานานๆ ส่งผลให้อวัยวะและเนื้อเยื่อทั้งหมดของร่างกายมีความผิดปกติในการทำงานเกิดขึ้น และท้ายที่สุดทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนขึ้นในอวัยวะต่างๆ ได้แก่ ตา ไต เส้นประสาทและสมอง หัวใจ หรือเกิดปัญหาที่เท้า

องค์การอนามัยโลกและสมาพันธ์เบาหวานนานาชาติ ได้ติดตามสถานการณ์ของโรคเบาหวานมาอย่างต่อเนื่อง พบว่า จำนวนผู้เป็นโรคเบาหวานเพิ่มมากขึ้นทั่วโลกโดยไม่มีแนวโน้มว่าจะลดลงหรือคงตัว ใน พ.ศ. ๒๕๕๓ จำนวนผู้เป็นโรคเบาหวานทั่วโลกมีมากกว่า ๒๘๕ ล้านคน หากไม่ดำเนินการอย่างเหมาะสมแล้วคาดว่า อีก ๒๐ ปี พ.ศ. ๒๕๗๓ จะเพิ่มขึ้นเป็น ๔๓๙ ล้านคน ดังนั้นสมาพันธ์เบาหวานนานาชาติ องค์การอนามัยโลกและองค์กรที่เกี่ยวข้อง ต่างก็ตระหนักเป็นอย่างดีว่า โรคเบาหวานเป็นปัญหาสาธารณสุข    ของทุกประเทศทั่วโลก จึงได้นำประเด็นโรคเบาหวานเข้าสู่ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติและสมัชชาได้ผ่านญัตติให้โรคเบาหวานเป็นปัญหาระดับโลก เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๙  โดยองค์การสหประชาชาติได้ขอความร่วมมือจากประเทศสมาชิก ให้จัดหามาตรการดำเนินการ เพื่อลดปัญหาโรคเบาหวานในประเทศของตน มีการป้องกัน และดูแลโรคเบาหวานที่ครอบคลุม อย่างเป็นระบบ มีประสิทธิภาพ และอย่างยั่งยืน

จากการสำรวจสภาวะสุขภาพอนามัยของคนไทยที่มีอายุ ๑๕ ปีขึ้นไปเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๑ –  พ.ศ.๒๕๕๒  พบว่า เป็นโรคเบาหวานร้อยละ ๖.๙ อายุที่เริ่มเป็นโรคเบาหวาน  ลดน้อยลง ผู้หญิงจะเป็นมากกว่าผู้ชาย คนอ้วนเป็นมากกว่าคนไม่อ้วน และคนในเมืองเป็นมากกว่าคนในชนบทซึ่งหมายถึง ในขณะนี้ประชากรไทยที่เป็นโรคเบาหวานมีจำนวนไม่ต่ำกว่า ๓ ล้านคนที่น่ากังวลคือ ประมาณ ๑ ใน ๓ ไม่รู้ตัวว่า เป็นโรคเบาหวาน นอกจากนี้ประชากรไทย          อีกจำนวนมากไม่ต่ำกว่า ๗ ล้านคน มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคเบาหวานในอนาคต เมื่อเป็นโรคเบาหวานแล้วมักจะเกิดโรคแทรกซ้อนที่ก่อให้เกิดการเจ็บป่วย ความพิการ หรือเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ทำให้ผู้ป่วย และครอบครัว มีภาระและต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสูงมาก ดังนั้นประเทศไทยจำเป็นต้องมีมาตรการเร่งด่วน เพื่อป้องกัน และลดปัญหาโรคเบาหวานที่คุกคามคนไทย มีความจำเป็นที่คนไทยทุกคนจะต้องรู้จักโรคเบาหวาน   ตระหนักถึงปัญหา และภัยของโรคเบาหวาน มีความตื่นตัวเรื่องการดูแลสุขภาพของตนเองรู้วิธีป้องกันไม่ให้เกิดโรคเบาหวานขึ้น มีการตรวจค้นหา และวินิจฉัยโรคเบาหวานให้ได้เร็วที่สุด เพื่อให้ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมตั้งแต่ระยะเริ่มแรกที่เป็นโรคนี้  รวมทั้งเพิ่มประสิทธิผล   ในการดูแลรักษาโรคให้ได้ตามเกณฑ์หรือเป้าหมายที่กำหนด ซึ่งจะช่วยลดอัตราความพิการ   การเสียชีวิตที่เกิดจากโรคเบาหวาน ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และช่วยให้ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานมีคุณภาพชีวิตที่ดี ใกล้เคียงกับคนปกติทั่วไป

โรคแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเบาหวาน

โรคแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเบาหวานสามารถเกิดได้ทุกระบบได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคตา โรคไต โรคแทรกซ้อนที่ขา โรคแทรกซ้อนทางระบบประสาท ความดันโลหิตสูง โรคทางช่องปาก โรคผิวหนัง

โรคหัวใจและหลอดเลือด

เนื่องจากโรคเบาหวานมักจะพบร่วมกับโรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเส้นเลือด โรคอ้วน ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด การป้องกันจะลดอัตราการป่วยและการเสียชีวิต โรคเบาหวานมักจะมีโรคแทรกซ้อนที่สำคัญคือหลอดเลือดแข็ง เมื่อหลอดเลือดแข็งที่อวัยวะหรือระบบใดก็จะเกิดโรคที่ระบบนั้น เช่นกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด อัมพาต เท้าขาดเลือด หรือไตวาย  นอกจากนั้นโรคเบาหวานมักจะมีโรคอื่นร่วมด้วย เช่นความดัน ไขมัน หรืออ้วนซึ่งจะเป็นปัจจัยทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นปัญหาความเจ็บป่วยสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน  โรคหลอดเลือดเลือดแข็งนอกจากทำให้เกิด ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคอัมพาต ยังก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดตีบที่ขา โรคเบาหวานเป็นปัจจัยเสี่ยงข้อหนึ่งของโรคหลอดเลือดตีบซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้

อาการและอาการแสดง

  1. โรคหัวใจและหลอดเลือดสามารถป้องกันได้โดยการพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ ตรวจหาระดับน้ำตาล ไขมัน งดบุหรี่ หากท่านมีอาการดังต่อไปนี้ควรปรึกษาแพทย์
  2. ชาหรืออ่อนแรงแขนหรือขา ตาบอดเฉียบพลัน พูดลำบาก
  3. เจ็บแน่นบริเวณหน้าอกข้างซ้าย และร้าวไปแขนซ้ายเวลาออกกำลังกาย พักเหนื่อยจะหายปวด เท้าบวม หัวใจเต้นผิดปกติ
  4. ปวดน่องหรือขาเวลาเดินพักแล้วหายปวด

 การรักษา

เป้าหมายของการรักษาโรคหัวใจล้มเหลวคือการฟื้นฟูคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยด้วยการเปลี่ยนแบบแผนการดำเนินชีวิต และการรักษาด้วยยา การรักษาที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่ การใช้ยาขับปัสสาวะและยากลุ่มยับยั้งเอนไซม์เอซีอี (ACE inhibitor) และยากลุ่มปิดกันตัวรับชนิดเบต้า (Beta blocker) ซึ่งมีข้อมูลจากการศึกษาว่าเป็นประโยชน์ในการรักษาโรคหัวใจล้มเหลว นอกจากนี้ยังมีการวินิจฉัยซึ่งจะช่วยให้ตรวจพบตั้งแต่ระยะเริ่มต้นและยังช่วยในการประเมินการรักษาอีกด้วย

โรคตา

ตาก็เป็นอวัยวะหนึ่งที่เกิดโรคแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน โรคแทรกซ้อนที่พบคือ ต้อกระจก ต้อหิน เบาหวานขึ้นจอประสาทตา จอประสาทตาลอก หากวินิจฉัยช้าอาจจะทำให้ตาบอด โรคแทรกซ้อนทางตาของโรคเบาหากเกิดแล้วไม่หายขาด การป้องกันโรคแทรกซ้อนทางตา จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ ซึ่งต้องตรวจตาตามแพทย์นัด       การควบคุมโรคเบาหวานให้ดี การคุมโรคความดัน โรคไขมันในเส้นเลือดและปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ

ผู้ป่วยเบาหวานถ้าควบคุมเบาหวานให้ดี สามารถลดอัตราการเกิดโรคแทรกซ้อนทาง microvascular complication ได้แก่โรคแทรกซ้อนทางตา  ไต และเส้นประสาท ทุก 1%         ของ HbA1c ที่ลดลงจะลด microvascular complication ได้ 35% การให้ aspirin ไม่ได้ทำให้ Retinal hemorrhage เพิ่มขึ้นดังนั้นจึงสามารถให้ aspirin ในผู้ป่วย diabetic retinopathy ได้

 ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคแทรกซ้อนทางตา

ระยะเวลาที่เป็นเบาหวานโดยพบว่ามีอัตราการเกิดโรคแทรกซ้อนทางตาคือ พบอัตราการเกิดร้อยละ8เมื่อเป็นเบาหวาน 3 ปี ร้อยละ25เมื่อเป็น 5 ปี ร้อยละ 60 เมื่อเป็น10ปี และร้อยละ 80 เมื่อเป็นเบาหวานนาน 15 ปี

อัตราการควบคุมโรคเบาหวาน โดยพบว่าเบาหวานชนิดที่1 หากควบคุมเบาอย่างดีจะลดโรคแทรกซ้อนทางตาได้   ร้อยละ 54 ส่วนเบาหวานชนิดที่2 หากควบคุมอย่างดี (ลดค่าน้ำตาลเฉลี่ยจาก 8 ลงไป 7) จะลดอุบัติการณ์ลงได้ร้อยละ 38ความดันโลหิตพบว่าหากลดความดันโลหิตจาก 180/105 ลงให้ต่ำกว่า 150/90 พบว่าอุบัติการณ์การเกิดโรคแทรกซ้อนทางตาลดลงร้อยละ 47

 แนวทางปฏิบัติในการป้องกันโรคแทรกซ้อนทางตา

ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 เมื่อเริ่มเป็น 3-5 ปีมักจะไม่มีปัญหาโรคแทรกซ้อนทางตา แต่เมื่ออายุ 20 ปีขึ้นไปผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมีความผิดปกติที่จอรับภาพ

สำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 พบว่ามีความผิดปกติที่จอรับภาพร้อยละ 21 เมื่อได้รับการวินิจฉัย

  1. ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่หนึ่งให้ตรวจตาหลังจากเป็นเบาหวาน3-5 ปี หรือผู้ป่วยเบาหวานชนิด 1 ที่อายุมากกว่า 10 ปี
  2. ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สองให้ตรวจตาหลังจากวินิจฉัยได้
  3. ให้ตรวจตาทุกปีถ้าปกติ ถ้าผิดปกติให้ตรวจถี่ขึ้น
  4. ผู้ป่วยเบาหวานที่ตั้งครรภ์หรือมีแผนจะตั้งครรภ์ต้องตรวจตาอย่างสม่ำเสมอ ควรตรวจทุก 3 เดือน แต่สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาขณะตั้งครรภ์ไม่จำเป็นต้องตรวจเนื่องจากกลุ่มนี้มีโรคแทรกซ้อนทางตาน้อย
  5. ผู้ป่วยเบาหวานที่เริ่มโตเป็นหนุ่มสาว
  6. ผู้ป่วยที่เป็น severe proliferative ,macular edema ,proliferate retinopathy ควรปรึกษาจักษุแพทย์ให้ดูแลรักษา

ผู้ป่วยควรควรพบจักษุแพทย์หากมีอาการเหล่านี้

  • ตามัวลง1-2วันโดยที่ตามัวไม่สัมพันธ์กับระดับน้ำตาลในเลือด
  • ตาบอดเฉียบพลัน
  • เป็นจุดดำ เห็นแสงไฟแลบ หรือเห็นเป็นใยแมลงมุม
  • ปวดตา
  • มองเห็นได้เพียงด้านหนึ่งของตา
  • อ่านหนังสือลำบาก
  • เห็นภาพซ้อน

การรักษาและการป้องกัน

  • รักษาระดับน้ำตาลให้ใกล้เคียงคนปกติ
  • ควบคุมความดันให้ต่ำกว่า 140/90 มม.ปรอท
  • หยุดสูบบุหรี่
  • ตรวจตาอย่างน้อยปีละครั้ง
  • ปรึกษาแพทย์ถ้าหากจะออกกำลังกาย

 โรคแทรกซ้อนที่ขา

เนื่องจากโรคเบาหวานมักจะพบร่วมกับโรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเส้นเลือด โรคอ้วน ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคหลอดเลือดตีบ หากสูบบุหรี่ก็ทำให้ตีบเร็ว นอกจากนั้นโรคเบาหวานยังทำให้เกิดปลายประสาทอักเสบซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดแผลได้ง่าย

โรคเบาหวานกับการดูแลเท้า

โรคเบาหวานทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนที่เท้าซึ่งมีสาเหตุจากหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงเท้าตีบ เลือดไปเลี้ยงเท้าไม่พอเกิดแผลเนื่องจากขาดเลือด ปลายประสาทอักเสบทำให้เกิดแผลกดทับ การติดเชื้อที่ผิวหนังก็ทำให้เกิดแผล นอกจากนั้นโรคแทรกซ้อนทางผิวหนังเช่นผิวแห้ง เชื้อรา เป็นต้น

 สาเหตุให้เกิดแผลที่เท้า

โรคเบาหวานเป็นโรคที่มีภาวะแทรกซ้อนหลายระบบ ภาวะแทรกซ้อนที่เท้าทำให้เกิดแผลเบาหวานที่เท้าและเป็นสาเหตุให้ถูกตัดเท้า การป้องกันการถูกตัดเท้าจะต้องมีความรู้เรื่องเบาหวาน ปัจจัยเสี่ยงของการถูกตัดขา การตรวจเท้าเป็นประจำแผลที่เท้าของผู้ป่วยโรคเบาหวานจะเกิดจาก แผลที่เท้าจากปลายประสาทอักเสบ Diabetic neuropathy โครงสร้างของเท้าผิดปกติ และหลอดเลือดไปเลี้ยงที่เท้าตีบ

ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ถูกตัดเท้าส่วนใหญ่เกิดจากแผลที่เท้าเป็นตัวนำ หากวินิจฉัย  ตั้งแต่เริ่มแรกและให้การรักษาจะสามารถป้องกันการถูกตัดขา

 ความรู้เกี่ยวกับเบาหวานและโรคเท้า

ประกอบไปด้วยสัญญาณแสดงว่าจะมีโรคแทรกซ้อนที่เท้า ข้อปฏิบัติเพื่อลดปัจจัยเสี่ยง และการรักษาปัจจัยเสี่ยงของการถูกตัดขา

การตรวจดูเท้าด้วยตัวเอง

ญาติหรือผู้ป่วยโรคเบาหวานต้องหมั่นดูเท้าของผู้ป่วย เช่นดูสีผิว อุณหภูมิ ขน เล็บ  การติดเชื้อ การผิดรูป ตาปลา ว่ามีสิ่งผิดปกติอะไรบ้าง เมื่อไรต้องไปพบแพทย์

การบริหารเท้า

เนื่องจากโรคเบาหวานมีปัญหาเรื่องหลอดเลือดเท้าตีบ และปลายประสาทอักเสบ  การบริหารเท้าจะทำให้เลือดไปเลี้ยงเท่าเพิ่มขึ้นและกล้ามเนื้อแข็งแรงมากขึ้นป้องกันการเกิดแผลจากโรคเบาหวาน

การดูแลสุขภาพเท้า

การดูแลสุขภาพเท้าจะต้องดูแลตั้งแต่เล็บ ผิวหนัง การออกกำลังกาย การดูแลสุขภาพโดยรวมเท้าเป็นอวัยวะที่มีโรคแทรกซ้อนจากเบาหวานได้บ่อย เนื่องจากโรคแทรกซ้อนทางระบบประสาท หลอดเลือดแข็ง และการติดเชื้อ การดูแลเท้าที่ดี จะป้องกันโรคแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นกับเท้าได้

ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานไม่อยากให้มีแผลหรือถูกตัด นิ้ว รวมทั้งเท้า ผู้ป่วยควรจะต้องดูแลเท้าตลอดชีวิต การดูแลเท้าจะมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในผู้ป่วยเบาหวานที่มีอาการดังต่อไปนี้

  1. มีอาการชาเท้า
  2. รูปร่าง สี ของเท้าผิดไป
  3. มีแผลที่เท้าซึ่งหายยาก
  4. ปวดเท้าเวลาเดิน
  5. เคยเป็นแผลที่เท้า

 ปัจจัยเสี่ยงของการถูกตัดเท้า

  1. ผู้ป่วยที่มีปลายประสาทอักเสบ หลอดเลือดที่เท้าตีบ เคยถูกตัดเท้า เคยติดเชื้อหรือเท้าผิดรูปจะมีความเสี่ยงในการถูกตัดเท้า
  2. มีปลายประสาทอักเสบ peripheral neuropathy เนื่องจากผู้ป่วยไม่รู้สึกเจ็บปวดเมื่อเหยียบวัตถุมีคม หรือถูกไฟ ทำให้เกิดแผลโดยไม่รู้ตัวทำให้การรักษาช้า
  3. มีหลอดเลือดแดงที่ขาแข็ง peripheral vascular disease โรคเบาหวานทำให้  หลอดเลือดที่ขาตีบ การสูบบุหรี่ทำให้หลอดเลือดที่ขาตีบมากขึ้น เมื่อมีการอุดตัน ของเส้นเลือดทำให้เลือดไปเนื้อเยื่อลดลง ลักษณะเท้าของผู้ป่วยจะมีสีคล้ำ เท้าเย็น บางท่านเดินแล้วปวดเท้าคลำชีพขจรหลังเท้าไม่ได้ แผลหายช้ามีเนื้อตายเกิดแผลที่เท้า(Diabetic foot ulcer) และติดเชื้อ การออกกำลังจะช่วยให้เลือดไปเลี้ยงขามากขึ้น

การติดเชื้อ(Infection) เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยนอนโรงพยาบาลสามารถเกิดได้แม้ว่าจะมีแผลเล็กๆที่เท้า

  1. มีประวัติแผลหรือถูกตัดขา พบว่าผู้ที่มีแผลจะเกิดแผลซ้ำที่เดิมภายใน 2-5 ปี
  2. มีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของเท้า altered biomechanical
  3. มีจอประสาทตาผิดปกติจากโรคเบาหวาน
  4. หนังแข็งใต้ฝ่าเท้า
  5. เล็บผิดปกติ
  6. รองเท้าไม่เหมาะสม
  7. พฤติกรรมการดูแลเท้าไม่ถูกต้อง
  8. ระยะเวลาที่เป็นโรคเบาหวานเกิน 10 ปี
  9. ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ดี
  10. เพศชาย
  11. สูบบุหรี่
  12. มีภาวะแทรกซ้อนที่ไตจากโรคเบาหวาน
  13. การเลือกรองเท้า

โรคเบาหวานจะมีภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญคือ ปลายประสาทอักเสบทำให้เกิดการชาของเท้า และเส้นเลือดตีบทำให้เลือดไปเลี้ยงที่เท้าไม่พอ การเลือกรองเท้าให้เหมาะสมจะลดการเกิดโรคแทรกซ้อนที่เท้าลงได้เลือกรองเท้าขนาดพอดี

  1. เลือกรองเท้าที่มีเบาะรองเท้าที่นุ่มนิ่ม ไม่ควรทำจากพลาสติก
  2. ไม่ใส่ส้นสูง เพราะจะทำให้เกิดโรคข้อและเกิดแผลกดทับ
  3. สวมถุงเท้าก่อนใส่รองเท้าทุกครั้ง และควรเป็นถุงเท้าที่ไม่มีตะเข็บและควรทำจากผ้าฝ้ายเพื่อซับเหงื่อ
  4. ควรตรวจดูสิ่งแปลกปลอมก่อนใส่ทุกครั้ง
  5. ควรใส่รองเท้าทั้งใน และนอกบ้าน
  6. รองเท้าควรจะระบายอากาศได้ดี
  7. ห้ามใส่รองเท้าที่เปิดปลายนิ้วเท้าหรือรองเท้าแตะเพราะจะทำให้เกิดแผล
  8. หากซื้อรองเท้าใหม่ ต้องวัดให้มีขนาดพอดีทั้งความลึก ความกว้าง
  9. รองเท้าควรจะมีตะเข็บให้น้อยที่สุดเพื่อป้องกันมิให้ตะเข็บกดเท้า ควรจะใช้เชือกผูกหรือแทบซึ่งจะทำให้รองเท้าพอดีกับเท้า
  10. เมื่อสวมรองเท้าใหม่ให้หยุดเดินหรือหยุดพักบ่อยๆเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดพองที่เท้า
  11. หากเท้าท่านผิดปกติเช่นกระดูกงอก ควรจะใส่รองเท้าชนิดพิเศษ
  12. ไม่ควรใส่รองเท้าแตะ แบบคีบ
  13. หากซื้อรองเท้าใหม่ไม่ควรสวมเป็นเวลานานๆต่อเนื่อง ควรจะมีรองเท่าคู่เก่าเปลี่ยนจนกระทั่งรองเท้าคู่ใหม่เข้ากับเท้า

 การประเมินความเสี่ยงของการเกิดแผล

เราประเมินความเสี่ยงของการถูกตัดเท้าออกเป็นสามระดับ ได้แก่ ระดับสูง ปานกลางและระดับต่ำ

ความเสี่ยงระดับต่ำมีลักษณะดังนี้

  1. ไม่เคยมีแผลหรือถูกตัดขา
  2. รูปเท้าปกติ
  3. ผิวหนังและเล็บปกติ
  4. คลำชีพขจรที่เท้าปกติ(ABI>9
  5. ความเสี่ยงระดับปานกลาง
  6. ลักษณะเท้าที่มีความเสี่ยงระดับปานกลาง
  7. เท้าไม่มีแผลขณะประเมิน
  8. การรับความรู้สึกลดลง
  9. ชีพขจรเบาลงหรือมีมีเท้าผิดรูป
  10. ผิวหนังที่เท้าและเล็บผิดปกติ
  11. เท้าที่มีความเสี่ยงระดับสูง
  12. ลักษณะเท้าที่มีความเสี่ยงระดับสูงมีลักษณะดังนี้
  13. เท้าไม่มีแผลขณะประเมินการ
  14. รับความรู้สึกลดลง
  15. ชีพขจรเบาลง
  16. มีเท้าผิดรูป
  17. ผิวหนังที่เท้าและเล็บผิดปกติ

  การดูแล้วตัวเองเพื่อป้องกันการเกิดแผลที่เท้า

ผู้ป่วยโรคเบาหวานทุกท่านจะต้องดูแลตัวเองไม่ว่าจะเกิดแผล หรือมีความเสี่ยงของการเกิดแผลที่ระดับใดท่าจะต้องมีความรู้หรือการปฏิบัติดังต่อไปนี้

 ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน

  1. การดูแลเท้า
  2. การออกกำลังกายโดยเฉพาะที่เท้า
  3. ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดแผลที่เท้า
  4. การเลือกรองเท้า
  5. การเกิดโรคหลอดเลือดที่เท้า
  6. โรคเบาหวานกับเท้า
  7. การตรวจเท้าอย่างละเอียด
  8. การงดสูบบุหรี่
  9. การคุมระดับน้ำตาล ไขมัน และความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

 ชนิดของแผลเบาหวาน

ชนิดของแผลเบาหวานแบ่งเป็นสามชนิดได้แก่แผลที่เกิดจากปลายประสาทอักเสบ แผลจากการขาดเลือดไปเลี้ยง และแผลจากโรคติดเชื้อการรักษาขึ้นกับสาเหตุของการเกิดแผล

 การรักษาแผลที่เท้าของผู้ป่วยโรคเบาหวาน

กลไกการเกิดแผลที่เท้าของผู้ป่วยโรคเบาหวานมีได้หลายกลไก การรักษาก็ขึ้นกับสาเหตุหรือกลไกการเกิดแผล โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น แผลจากปลายประสาทเสื่อมแผลจากขาดเลือด และแผลจากการติดเชื้อ

  1. แผลปลายประสาทเสื่อม

ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานจะพบว่ามีโรคแทรกซ้อน เป็นโรคปลายประสาทเสื่อมหรืออักเสบ ร้อยละ 58 ซึ่งจะส่งผลเสียดังนี้

1.1      จะทำให้มีอาการชา นอกจากนั้นหากมีความผิดปกติของเท้า เช่นนิ้วเท้ามีการหงิกงอก็จะทำให้เกิดแผลกดทับได้ ตำแหน่งที่พบบ่อยได้แก่ฝ่าเท้า   มักจะไม่มีอาการเจ็บปวด ขอบแผลนูนจากพังผืด ก้นแผลสีแดงเนื่องจากมีเนื้อเยื่อ

1.2     ประสาทอัตโนมัติเสื่อมทำให้ไม่มีเหงื่ออก เกิดผิวแห้ง ผิวแตกซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดแผลที่เท้าได้ง่าย

1.3    ข้อพิการหรือที่เรียกว่า Charcot’s joint เนื่องจากประสาทรับความรู้สึกและบอกตำแหน่งเสีย ทำให้เวลาเดินไม่สามารถกะระยะทางได้อย่างถูกต้องจึงเกิดการกระแทกของข้อทำให้เกิดข้อพิการ

2. แผลขาดเลือด

มักเกิดบริเวณปลายนิ้วเท้า แผลมักจะลุกลามจากปลายนิ้วมายังโคนนิ้วและลาม   มาถึงเท้า ขอบแผลเรียบ ก้นแผลมีสีซีด ไม่มีเลือดออก และอาจจะมีการตายของนิ้วเท้าข้างเคียงร่วมด้วย ในระยะแรกอาจจะมีอาการปวดเท้าเวลาเดินซึ่งอาการปวดจะดีขึ้นเมื่อหยุดพัก แต่ในระยะท้ายของการขาดเลือดจะมีอาการปวดบริเวณที่ขาดเลือด แผลเหล่านี้หายยาก การตรวจขา เท้า และผิวหนังพบว่าผิวหนังแห้ง เย็นซีด ขนร่วง เส้นแตกง่าย กล้ามเนื้อน่องรีบ คลำชีพขจรที่เท้าเบาลงหรือคลำไม่ได้

3. แผลที่ติดเชื้อ

แผลที่มีการอักเสบเฉียบพลันจะพบลักษณะบวมแดงร้อน กดเจ็บที่แผล และอาจจะมีหนองไหลออกมา ส่วนแผลที่อักเสบเรื้อรังจะมีอาการบวม แดงร้อน หากติดเชื้อรุนแรง อาจจะมีไข้ร่วมด้วย บางครั้งมีอาการโลหิตเป็นพิษ เช่น ชีพขจรเบา เร็ว ความดันโลหิตลดลง ซึมลง

ดังนั้นหากเกิดแผลที่เท้าต้องดูว่าแผลเกิดจากสาเหตุใด การรักษาจะตามสาเหตุ

การรักษาแผลโรคเบาหวาน

การรักษาแผลเบาหวานที่เท้าจะต้องประเมินว่าแผลเกิดจากอะไร ความรุนแรงระดับไหน หลังจากนั้นจึงให้การรักษา

 โรคแทรกซ้อนทางไต

เป็นโรคแทรกซ้อนที่ผู้ที่เป็นเบาหวานกลัวที่สุด เป็นแรกๆจะไม่มีอาการ หากมีอาการแล้วมักจะรักษาไม่หาย การดูแลเพื่อป้องกันโรคเบาหวานจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด

ผู้ป่วยเบาหวานที่มีโอกาสเป็นเป็นโรคไต ขึ้นกับปัจจัยดังนี้

  1. ระดับการควบคุมน้ำตาลให้ใกล้เคียงปกติให้มากที่สุด การควบคุมโรคเบาหวานได้ดีโอกาสเป็นโรคไตจะน้อยลง ท่านต้องปรึกษาแพทย์ว่าระดับน้ำตาลแค่ไหนถึงจะดี
  2. ระดับความดันโลหิต
  3. กรรมพันธุ์

เบาหวานเป็นสาเหตุที่สำคัญของโรคไตวายเรื้อรังเนื่องจาก ผู้ป่วยเบาหวานมีชีวิตยาวขึ้นมีอุบัติการณ์ของเบาหวานเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะชนิดที่สอง ร้อยละ 20-30 ของผู้ป่วยเบาหวานพบว่ามีไข่ขาวในปัสสาวะ แต่มีเพียงร้อยละ 20 ที่จะกลายเป็นโรคไต ซึ่งเราสามารถรู้ได้    ก่อนที่จะเกิดอาการไตวายโดยตรวจหาปริมาณหรือโปรตีน ไข่ขาวในปัสสาวะถ้ามากกว่า 30 มก./วัน หรือ 20 microgram/min เรียกว่า microalbuminuria พบว่าโรคเบาหวานชนิดที่หนึ่งถ้ามี microalbuminuria แล้วไม่ได้รักษาร้อยละ 50 จะเป็นโรคไตวายเรื้อรังใน 10 ปี       มากกว่าร้อยละ 75ในเวลา 20 ปี

สำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สองจะพบว่ามี microalbuminuria หลังการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานไม่นาน เนื่องจากผู้ป่วยเป็นเบาหวานมานานหลายปีก่อนการวินิจฉัย ร้อยละ 20-40 ของผู้ป่วยที่มี microalbuminuria จะกลายเป็นโรคไตวายเรื้อรัง แต่มีจำนวนน้อยกลายเป็นโรคไตวายเรื้อรัง เนื่องจากเสียชีวิตจากโรคหัวใจก่อน

 โรคแทรกเกี่ยวกับระบบประสาท

เส้นประสาทที่ยาวจะเกิดการอักเสบได้บ่อย ดังนั้นจึงจะพบว่าเกิดปลายประสาทอักเสบที่เท้าได้บ่อย และยังมีการเสื่อมของประสาทอัตโนมัติ

โรคเบาหวานทำให้เกิดการอักเสบของเส้นประสาท ทำให้เกิดอาการต่างตามที่เส้นประสาท ไปเลี้ยงได้แก่ ชาตามปลายมือปลายเท้า หรือบางรายอาจจะเกิดอาการที่อวัยวะภายในร่างกายเช่น ทางเดินอาหาร หัวใจ อวัยวะเพศทำให้เกิดอาการ แน่นท้อง ท้องร่วงหรือท้องผูก ปัสสาวะไม่ออก หย่อนยานทางเพศ ปลายประสาทหมายถึงเส้นประสาทที่ออกจากสมอง หรือไขสันหลัง ปลายประสาทอักเสบหมายถึงมีการทำลายเยื่อหุ้มเส้นประสาททำให้การทำงานของเส้นประสาทเสียไป

คำแนะนำเกี่ยวกับเบาหวาน

1. เบาหวาน เป็นโรคเรื้อรัง ต้องใช้เวลาการรักษานานหรือตลอดชีวิต หากไม่ได้รับการปฏิบัติที่ถูกต้องก็อาจมีอันตรายจากโรคแทรกซ้อนได้มาก

2. ผู้ที่กินยาหรือฉีดยารักษาเบาหวานอยู่ บางครั้งอาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำอาการได้แก่ ใจสั่น หน้ามืด ตาลาย ตัวเย็น เหงื่อออก ถ้าเป็นมากๆ อาจเป็นลม หมดสติ    และอาจจะชักได้ ควรจะต้องพก น้ำตาลหรือของหวานติดตัวไว้ ถ้ารู้สึกมีอาการก็ให้รีบรับประทาน แล้วทบทวนดูว่าเกิดอาการเหล่านี้ได้อย่างไร โดยสังเกตตัวเองจากการบริโภคอาหารเมื่อเป็นเบาหวานเช่น กินอาหารน้อยไปหรือไม่ ออกกำลังมากเกินไปหรือไม่ กินหรือฉีดยาเบาหวานเกินขนาดไปหรือไม่ แล้วควบคุมทั้ง 3 อย่างนี้ให้พอดีกัน สำหรับผู้ที่กินอาหารผิดเวลาก็อาจเกิดภาวะนี้ได้เช่นกัน ดังนั้นจึงควร รับประทานอาหารให้ตรงเวลาทุกมื้อด้วย

3. อย่าซื้อยากินเอง เนื่องจากยาบางประเภทมีผลต่อค่าน้ำตาลในเลือดได้ เช่น สเตอรอยด์ ยาขับปัสสาวะ และยาบางประเภทก็อาจทำให้ฤทธิ์ของยารักษาเบาหวานแรงขึ้นได้ ก็จะมีผลให้น้ำตาลในเลือดต่ำกว่าปกติ เช่น แอสไพริน ดังนั้นเมื่อเป็น เบาหวาน ก่อนทานยาประเภทใดควรจะต้องแน่ใจว่ายานั้นไม่มีผลต่อค่าน้ำตาลในเลือด

4. ผู้ที่มีญาติพี่น้องเป็นเบาหวาน ควรตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเป็นครั้งคราวเพื่อป้องกันตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม

การบริโภคอาหารเมื่อเป็น เบาหวาน

1.          เลือกบริโภคอาหารให้ครบ 5หมู่ โดยคำนึงถึงพลังงานที่ได้จากอาหารโดยประมาณจากคาร์โบไฮเดรต (แป้ง) ประมาณ 55-60% โปรตีน (เนื้อสัตว์) ประมาณ 15-20% ไขมัน ประมาณ 25%

2.          ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากควรจะต้องลดปริมาณการรับประทานลง โดยอาจจะค่อยๆลดลงให้เหลือเพียงครึ่งหนึ่งของปริมาณที่เคยรับประทานปรกติ และพยายามงดอาหารมันๆ

3.         รับประทานอาหารที่มีกากใยมากเพื่อช่วยในการขับถ่าย

4.          หลีกเลี่ยงการรับประทานจุกจิกและรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา

5.         พยายามรับประทานอาหารในปริมาณที่สม่ำเสมอกันในทุกมื้อ

6.         หากมีอาการเกี่ยวกับโรคไตหรือความดันโลหิตสูง ควรหลีกเลี่ยงอาหารรสเค็ม

7.          แม้ระดับน้ำตาลในเลือดจะปรกติดีแล้วก็ควรจะต้องควบคุมอาหารตลอดไป

ข้อแนะนำในการดูแลตัวเองของผู้ป่วย โรคเบาหวาน

          1. เบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่ต้องรักษาติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือตลอดชีวิต ซึ่งหากได้รับการรักษาอย่างจริงจัง อาจมีชีวิตเหมือนคนปกติได้ แต่ถ้ารักษาไม่จริงจังก็อาจมีอันตรายจากโรคแทรกซ้อนได้มาก

2. ควบคุมอาหาร การลดน้ำหนัก (ถ้าอ้วน) และการออกกำลังกาย มีความสำคัญมาก ในรายที่เป็นไม่มาก ถ้าปฏิบัติในเรื่องเหล่านี้ได้ดี อาจหายจากเบาหวานได้โดยไม่ต้องพึ่งยา ทั้งนี้ ผู้ป่วยควรอาหารที่มีผลต่อโรค ดังต่อไปนี้

– ลดการกินน้ำตาล และของหวานทุกชนิด รวมทั้งผลไม้หวานและน้ำผึ้ง และควรเลิกกินน้ำหวาน น้ำอัดลม ขนมหวาน เหล้าเบียร์

– ลดการกินอาหารพวกแป้ง เช่น ข้าว ข้าวเหนียว ขนมปัง ก๋วยเตี๋ยว บะหมี่ วุ้นเส้น เผือก มัน เป็นต้น

– ลดอาการพวกไขมัน เช่น ของทอด ของมัน ขาหมู หมูสามชั้น อาหารหรือขนมที่ใส่กะทิ หันไปกินอาหารพวกโปรตีน เนื้อแดง ไข่ นม ถั่วต่างๆ รวมทั้งเพิ่มผักและผลไม้ที่ไม่หวานจัดให้มากขึ้น

– ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่ไม่ควรหักโหม เช่น เดินเร็ว วิ่งเหยาะ ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ รำมวยจีน เล่นโยคะ กายบริหาร เป็นต้น

3. เลิกสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด มิเช่นนั้น อาจทำให้ผนังหลอดเลือดแดงแข็งเร็วขึ้น ซึ่งเป็นต้นเหตุของโรคแทรกซ้อนต่างๆ

4. หมั่นดูแลรักษาเท้าเป็นพิเศษ ระวังอย่าให้เกิดบาดแผลหรือการอักเสบ เพราะอาจลุกลามจนกลายเป็นแผลเน่าจนต้องตัดนิ้วหรือขาทิ้ง

ควรล้างเท้าให้สะอาดด้วยสบู่ เช็ดให้แห้ง โดยเฉพาะตรงซอกเท้า อย่าถูแรงๆ

เวลาตัดเล็บเท้า ควรตัดออกตรงๆ อย่าตัดโค้งหรือตัดถูกเนื้อ

อย่าเดินเท้าเปล่า ระวังเหยียบถูกของมีคม หนาม หรือของร้อน

อย่าสวมรองเท้าคับไป หรือใส่ถุงเท้ารัดแน่นเกินไป

ถ้าเป็นหูดหรือตาปลาที่เท้า ควรให้แพทย์รักษา อย่าแกะหรือตัดออกเอง

ถ้ามีตุ่มพอง มีบาดแผล หรือการอักเสบที่เท้าควรรีบไปให้แพทย์รักษา

5. ผู้ป่วยที่กินยาหรือฉีดยารักษาเบาหวานอยู่ บางครั้งอาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ คือมีอาการใจหวิว ใจสั่น หน้ามืด ตาลาย เหงื่อออก ตัวเย็นเหมือนเวลาหิวข้าว ถ้าเป็นมากๆ อาจเป็นลม หมดสติ หรือชักได้ ดังนั้น จึงต้องระวังดูอาการดังกล่าว และควรพกน้ำตาลหรือของหวานติดตัวประจำ ถ้าเริ่มรู้สึกมีอาการดังกล่าวให้ผู้ป่วยรีบกินน้ำตาลหรือของหวาน จะช่วยให้หาย

6. หมั่นตรวจปัสสาวะด้วยตัวเอง และตรวจเลือดที่โรงพยาบาลเป็นประจำ เพราะเป็นวิธีที่บอกผลการรักษาได้แน่นอนกว่าการสังเกตจากอาการเพียงอย่างเดียว

7. อย่าซื้อยาชุดกินเอง เพราะยาบางอย่างอาจเพิ่มน้ำตาลในเลือดได้ แต่หากมีความจำเป็นต้องใช้ยาเองต้องแน่ใจว่า ยานั้นไม่มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด

8. ควรมีบัตรประจำตัว (หรือกระดาษแข็งแผ่นเล็กๆ) ที่เขียนข้อความว่า “ข้าพเจ้าเป็นโรคเบาหวาน” พร้อมกับบอกชื่อยาที่รักษาพกติดกระเป๋าไว้ หากบังเอิญเป็นลมหมดสติ ทางโรงพยาบาลจะได้ทราบประวัติการเจ็บป่วยและให้การรักษาได้ทันท่วงที

9. ป้องกันโรคนี้ด้วยการรู้จักกินอาหาร ลดของหวานๆ อย่าปล่อยตัวให้อ้วน หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ และทำจิตใจให้ร่าเริงเบิกบาน อย่าให้เครียดหรือวิตกกังวล โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีญาติพี่น้องเป็นเบาหวาน ควรต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ และควรตรวจเช็คปัสสาวะหรือเลือดเป็นครั้งคราว เพราะหากพบเป็นเบาหวานในระยะเริ่มแรก จะสามารถควบคุมอาการของโรคได้

ผักและสมุนไพรที่มีฤทธิ์ช่วยต้านเบาหวาน

• เมล็ดธัญพืชไม่ขัดสี ข้าวซ้อมมือและธัญพืชไม่ขัดสีต่างๆจะประกอบไปด้วยวิตามินอี แมกนีเซียม และที่สำคัญคือใยอาหาร ในปริมาณที่สูง ซึ่งสารอาหารเหล่านี้มีผลโดยตรงต่อการควบคุมระดับน้ำตาลและปริมาณอินซูลินในกระแสเลือด อีกทั้งใยอาหารชนิดละลายน้ำได้ในธัญพืชไม่ขัดสีบางชนิด ซึ่งพบได้มากในข้าวบาร์เล่ย์และข้าวโอ๊ต มีสรรพคุณที่ดีเยี่ยมในการช่วยชะลอการย่อยและดูดซึมน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดส่งผลให้ระดับน้ำตาลไม่สูงมาก การรับประทานธัญพืชไม่ขัดสียังมีประโยชน์ในการช่วยป้องกันโรคหัวใจ ซึ่งเป็นโรคแทรกซ้อนหลักที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความเสี่ยงที่จะเป็นได้  ในอัตราสูงมาก

• ถั่วเปลือกแข็ง ถั่วเปลือกแข็งจะมีไขมันไม่อิ่มตัวซึ่งมีคุณสมบัติช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาลได้ อีกทั้งยังช่วยในการทำให้ร่างกายสามารถตอบสนองต่อการทำงานของอินซูลินได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้แล้วในถั่วเปลือกแข็งยังมีสารอาหาร ใยอาหาร และแมกนีเซียม ซึ่งมีประโยชน์ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้เป็นอย่างดีอีกด้วย แต่มีข้อพึงระวังในการรับประทานถั่วเปลือกแข็ง กล่าวคือ ให้ทานถั่วเปลือกแข็งแทนการทานเนื้อสัตว์ หรือแทนการทานพวกขนมขบเคี้ยวที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น พวกมันฝรั่ง หรือคุกกี้ เป็นต้น ทั้งนี้เพราะถั่วเปลือกแข็งมีไขมันและพลังงานที่ค่อนข้างสูงนั่นเอง โดยที่ไขมันที่ว่าเป็นประเภทไขมันดีชนิดเดียวกับที่มีในน้ำมันมะกอก ถ้าทานในปริมาณไม่มากก็ไม่เป็นอันตรายใดๆต่อร่างกาย

• กระเทียมและหัวหอม กระเทียมและหัวหอมมีสารที่มีคุณสมบัติที่ช่วยในการลดระดับน้ำตาลในกระแสเลือด อีกทั้งยังมีสารที่ช่วยละลายลิ่มเลือด ทำให้ลดปัญหาอาการหลอดเลือดตีบ และคุณสมบัติที่สำคัญยิ่งคือช่วยลดระดับไขมันในกระแสเลือดด้วย

• ตำลึง ในทุกๆส่วนของตำลึง ไม่ว่าจะเป็นราก ลำต้น ใบ และผล ล้วนสามารถที่จะช่วยลดระดับน้ำตาลในกระแสเลือดได้เป็นอย่างดี และมีสารเบต้าแคโรทีนซึ่งช่วยในการชะลอความแก่และต้านมะเร็ง ตำลึงจึงเป็นผักที่ต้องเป็นอาหารหลักเลยของผู้ป่วยโรคเบาหวาน

• สะตอ นับว่าเป็นอาหารยอดนิยมชนิดหนึ่ง และมีสรรพคุณที่สำคัญในการช่วยลด          ปริมาณน้ำตาลในกระแสเลือดและช่วยลดความดันได้ดีอีกด้วย

• ผักบุ้ง ผักบุ้งมีสรรพคุณทางยาที่เป็นที่รับรู้กันดีคือ ช่วยบำรุงสายตาเพราะอุดมไปด้วย   วิตามินเอ นอกจากนี้ผักบุ้งยังช่วยลดอาการร้อนในและอาการท้องผูกได้อย่างดีเยี่ยม        และที่สำคัญในผักบุ้งมีสารคล้ายอินซูลินทำให้สามารถช่วยลดปริมาณน้ำตาลในกระแสเลือดได้ จึงควรใช้ผักบุ้งทำเป็นอาหารให้ผู้ป่วยโรคเบาหวาน

• ใบมะยม ในใบมะยมมีวิตามินเอและวิตามินซีในปริมาณสูงมาก จึงสามารถช่วยลดปริมาณน้ำตาลในกระแสเลือดได้เป็นอย่างดี

• มะระจีน ในมะระจีนมีสารสำคัญที่ช่วยในการลดการดูดซึมของน้ำตาลกลูโคส และยังช่วยลดการเกิดต้อกระจกซึ่งเป็นอาการข้างเคียงของผู้ป่วยโรคเบาหวาน

• ขมิ้นและอบเชย จะมีสารที่ช่วยในการลดระดับน้ำตาลในกระแสเลือดได้อย่างดี

• ฟักทอง การรับประทานฟักทองทั้งเปลือกจะส่งผลดีให้ได้รับสารสำคัญซึ่งมีสรรพคุณช่วยกระตุ้นการหลั่งสารอินซูลินซึ่งช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือด ป้องกันการเกิดเบาหวาน ความดันโลหิต อีกทั้งฟักทองมีกากใยในปริมาณที่สูงมาก จึงช่วยทำให้ระบบการย่อยอาหารดีขึ้น ไม่ทำให้อ้วนเนื่องจากมีแคลอรี่ไม่สูง                      จึงทำให้สามารถป้องกันโรคเบาหวานได้

โรคเบาหวานนับได้ว่าเป็นโรคที่ร้ายแรงและเป็นจุดเริ่มต้นของโรคต่างๆอีกมากมาย ดังนั้นเราต้องหมั่นดูแลและใส่ใจในการรับประทานอาหาร โดยเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ไม่ตามใจปาก เพื่อเป็นการป้องกันและหลีกไกลจากโรคร้ายนี้

การดูแลเท้า

เท้าเป็นอวัยวะที่มีโรคแทรกซ้อนจากเบาหวานได้บ่อย เนื่องจากโรคแทรกซ้อนทางเส้นประสาท หลอดเลือดแข็ง และการติดเชื้อ การดูแลเท้าที่ดีจะป้องกันโรคแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นกับเท้าได้

หากผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานไม่อยากให้มีแผลหรือถูกตัด นิ้ว รวมทั้งเท้า ผู้ป่วยควรจะต้องดูแลเท้าตลอดชีวิตการดูแลเท้าจะมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในผู้ป่วยเบาหวานที่มีอาการดังต่อไปนี้

  1. มีอาการชาเท้า
  2. รูปร่าง สี ของเท้าผิดไป
  3. มีแผลที่เท้าซึ่งหายยาก
  4. ปวดเท้าเวลาเดิน
  5. เคยเป็นแผลที่เท้า

วิธีการดูแลตัวเองเพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนที่เท้า

  1. ควบคุมเบาหวานให้ใกล้เคียงปกติซึ่งจะชะลอการเกิดโรคแทรกซ้อน
  2. ควบคุมระดับน้ำตาลให้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด
  3. ร่วมมือกับแพทย์ในการวางแผนการรักษา
  4. รับประทานยาตามแพทย์สั่ง
  5. ควบคุมอาหารตามแพทย์สั่ง
  6. ดูแลเท้า และออกกำลังบริหารเท้าโดยเคร่งคัด
  7. ไปตรวจตามนัด
  8. ตรวจและดูแลผิวหนังทุกวันเวลาที่ดีคือเวลาเย็น
  9. ล้างเท้าด้วยน้ำธรรมดาวันละ2 ครั้งและซับให้แห้งโดยเฉพาะซอกนิ้ว ไม่ควรใช้แปรงหรือขนแข็งขัดเท้า
  10. ตรวจผิวหนังที่เท้า ดูว่ามีแผล การอักเสบ รอยแดง หากแผลไม่หายในสองวันควรปรึกษาแพทย์ มีหนังหนาหรือตาปลาหรือไม่ ถ้ามีแสดงว่าใส่รองเท้าไม่เหมาะสม
  11. สำหรับผู้สูงอายุหรือสายตาไม่ดีควรจะให้คนอื่นช่วยดู สภาพผิวว่าแห้งไปหรือไม่ มีรอยแตกย่นหรือไม่ เล็บหนาหรือมีเชื้อราหรือไม่ มีแผลอักเสบซอกเล็บหรือไม่ ผิวซอกนิ้วมีอับชื้นหรือไม่ อาจจะใช้กระจกส่อง หรือให้ญาติช่วยดู ถ้าผิวมีเหงื่อออกให้โรยแป้ง
  12. ระบบประสาท เริ่มมีอาการชาหรือปวดแสบบริเวณเท้าหรือไม่ หากมีอาการดังกล่าวแสดงว่าเริ่มมีปลายประสาทอักเสบ peripheral neuropathy
  13. ตัดเล็บให้สั้น หรือตัดเล็บให้ตรงไม่ต้องเล็มจมูกเล็บ
  14. การบริหารเท้า
  15. รักษาความดัน และไขมันในเลือด
  16. ออกกำลังกายอยู่เสมอปรึกษาแพทย์ก่อนออกกำลังกาย
  17. หากเท้าเย็นให้แก้ไขโดยการใส่ถุงเท้า
  18. ไม่ควรเดินเท้าเปล่า แม้จะอยู่ในบ้าน
  19. ห้ามตัดตาปลา
  20. ไม่ควรนั่งไขว่ห้าง เพราะทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก

น้ำแช่เท้าสมุนไพร

ขั้นตอนการทำน้ำแช่เท้า

1.          เตรียมสมุนไพรให้พร้อม สมุนไพรประกอบไปด้วย ไพล ใบยูคาลิปตัส ใบเป้า ขมิ้นชัน ตะไคร้ ใบมะขาม ใบส้มป่อย ใบพลับพลึง ใบมะกรูด ผลมะกรูด หญ้าเอ็นยืด การบรู พิมเสน เกลือ

2.          นำสมุนไพรที่เตรียมไว้มาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ

3.         นำสมุนไพรที่หั่นไว้แต่ละชนิด อย่างละ 1 กำมือ ไปต้มในน้ำเดือด

4.          นำมาผสมน้ำเปล่าให้ร้อนพอที่จะแช่มือแช่เท้าได้

5.         แช่ประมาณ 30 นาที หรือจนกว่าน้ำเย็น

สมุนไพรที่ใช้ในการแช่เท้าประกอบไปด้วย

ไพล                   สรรพคุณ   แก้ปวดเมื่อย  ครั่นเนื้อครั่นตัว

ใบยูคาลิปตัส        สรรพคุณ   ใช้สูดดมแก้หวัดคัดจมูก ทาถูนวด แก้ปวดบวมช้ำ

ใบเป้า                 สรรพคุณ   ช่วยดับกลิ่นคราว กลิ่นตัวและช่วยถอนพิษ ผิดสำแดง บำรุงผิว

ขมิ้นชัน               สรรพคุณ   แก้โรคผิวหนัง สมานแผล

ตะไคร้                สรรพคุณ   ดับกลิ่นคาว บำรุงธาตุไฟ

ใบมะขาม            สรรพคุณ   แก้อาการคันตามร่างกาย ช่วยให้ผิวหนังสะอาด

ใบพลับพลึง         สรรพคุณ   แก้อาการกซ้ำ เคล็ดขัดยอ บรรเทาอาการปวด บวม

ใบมกรูด              สรรพคุณ   ช่วยขับลม ทำให้เลือดลมไหลเวียนดี ช่วยบำรุงหัวใจ ระบบการไหลเวียนของโลหิต แก้ไอ ลดอาการอักเสบของกล้ามเนื้อ แก้ช้ำใน อาการเกร็ง

ผลมะกรูด           สรรพคุณ   มีฤทธิ์ร้อน ฟอกโลหิต ถอนพิษผิดสำแดง ช่วยขยายหลอดเลือด

หญ้าเอ็นยืด         สรรพคุณ   กำจัดพิษ รักษาการอักเสบของเอ็นและกล้ามเนื้อ

การบรู               สรรพคุณ   บำรุงธาตุ ขับเสมหะ ขับลม แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ ขับเหงื่อ

พิมเสน                 สรรพคุณ   มีกลิ่นหอม แก้ลมวิงเวียนหน้ามืด บำรุงหัวใจ ทำให้ชุ่มชื่น แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ แก้ปวดท้อง แก้บาดแผลสด

เกลือ                 สรรพคุณ   เป็นตัวนำยาซึมเข้าผิวหนัง

 น้ำคลอโรฟิลล์

สมุนไพรฤทธิ์เย็นปรับสมดุล บำบัด หรือบรรเทาภาวะร่างกายไม่สมดุลแบบร้อนเกิน

สมุนไพรที่ใช้ทำน้ำคลอโรฟิลล์

1.  ใบย่านางเขียว 5 – 20 ใบ

2.  ใบบัวบก ½ – 1 กำมือ

3.  หญ้าปักกิ่ง 3 – 5 ต้น

4.  ใบอ่อมแซบ ½ – 1 กำมือ

5.  ผักบุ้ง ½ – 1 กำมือ

6.  ใบเสลดพังพอน ½ – 1 กำมือ

7.  วานกาบหอย 3 – 5 ใบ  และสมุนไพรฤทธิ์เย็นอื่นๆ จะใช้อย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน ก็ได้ที่รู้สึกเหมาะสมถูกกับสุขภาพและร่างกายของเรา

วิธีทำ

โขลกให้ละเอียดหรือขยี้หรือปั่นในเครื่องปั่นไฟฟ้า แต่ปั่นในเครื่องไฟฟ้าจะทำให้ประสิทธิภาพลดลงประมาณ 20% ความร้อนจะไปทำลายความเย็นของสมุนไพร ผสมกับ น้ำเปล่า 1 – 3 แก้ว    กรองผ่านกระชอน เอาน้ำที่ได้มาดื่มครั้งละ ½ – 1 แก้ว วันละ 2 – 3 ครั้ง ก่อนอาหารหรือท้องร่วง ผสมเจอจางดื่มแทนน้ำเปล่าได้

ประโยชน์น้ำเขียว

1. ระบบเลือด บำรุงเลือด ล้างพิษ ทำลายอนุมูลอิสระในเม็ดเลือด แก้โรคโลหิตจาง ลดความดันโลหิตสูง

2. ระบบทางเดินอาหาร ล้างพิษโดยตรงในกระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก สมานแผลในกระเพาะอาหาร กระตุ้นเนื้อเยื่อให้ฟื้นตัว

3.  บำรุงปาก ฟัน ระงับกลิ่นปาก โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการโรคเหงือกอักเสบ

4.  รักษาแผลต่างๆ ทำหน้าที่ฟื้นฟูเนื้อเยื่อของแผลทุกชนิดทั้งภายในและภายนอกร่างกาย

5.  ระงับกลิ่น กลิ่นเหม็นจากแผลเรื้อรัง แผลในช่องปาก กลิ่นอุจจาระที่รุนแรง การผายลม หรือกลิ่นตัวแรงมาก

6.  ควบ คุมสมดุลของแคลเซียมในผู้บริโภคเนื้อมากเกินไปซึ่งจะขาดความสมดุลของธาตุ แคลเซียม  ทำให้ป่วยเป็นโรคกระดูกผุ โรคหัวใจ โรคกล้ามเนื้อ โรคผิวหนัง โรคเลือดไม่แข็งตัวเมื่อมีบาดแผล ประจำเดือนผิดปกติ

7.  ป้องกันโรคภูมิแพ้ เกิดจากการที่อากาศและอาหารเป็นพิษโดยสะสมติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน

หมายเหตุ สรรพคุณโดยทั่วไปของน้ำเขียวมีมากมาย แต่ถ้าเราต้องการจะเน้นสรรพคุณตัวไหนก็จะใส่สมุนไพรตัวนั้นในสัดส่วนที่มากกว่าปกติ เช่น โรคเบาหวานหรือโรคมะเร็ง ก็จะใส่สมุนไพรหญ้าปักกิ่งในสัดส่วนที่มากกว่าตัวอื่น

 

นโยบาย“สู้เบาหวาน ความดัน”

ด้วยการปฏิบัติตาม “3 อ. บอกลา 2 ส. และเพิ่ม 1 ฟ.” กรมอนามัย นำเสนอองค์ความรู้ให้ประชาชนได้รับรู้ถึงสถานะทางสุขภาพของตนเอง เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเอง เป็นการ”ปรับก่อนป่วย” และให้ประชาชนพึ่งตนเองได้โดยไม่พึ่งสถานบริการสาธารณสุข ด้วยการปฏิบัติตาม “3 อ. บอกลา 2 ส. และเพิ่ม 1 ฟ.”

ปฏิบัติตาม 3 อ. คือ

1. อ. อาหาร“กิน เพื่อ ลดพุง” หลักการคือ 2 ให้ 3 ไม่

2 ให้ คือ 1) ให้กินอาหารครบ 3 มื้อ ครบ 5 หมู่

2) ให้กินผักผลไม้(ไม่หวาน) มาก

3 ไม่ คือ 1) ไม่กินข้าวแป้งมาก

2 )ไม่กินหวาน มันมาก

3) ไม่กินจุบจิบ

 2 .อ.ออกกำลังกาย“ออกกำลังกาย เพื่อ ลดพุง”

ออกกำลังกายแบบแอโรบิคออกกำลังกายสัปดาห์ละ 5 – 6 วันๆละ 30 – 60 นาที

ขยับเท่ากับออกกำลังกาย

3. อ.อารมณ์

1.  สกัด สิ่งกระตุ้นที่ทำให้หิว

2.  สะกด ใจไม่ให้กินเกิน

3. สะกิด คนรอบข้างให้ช่วย

 

 บอกลา 2 ส. คือ ไม่บริโภค

1. ยาสูบ

2. สุรา

 

 เพิ่ม 1 ฟ.ฟัน (ถ้าสามารถควบคุมปริทนต์อักเสบได้ก็จะลดการเสี่ยงจากโรคเบาหวาน    ความดันโลหิตสูงได้)

1. เพิ่มการทำความสะอาดช่องปาก

2. เพิ่มการตรวจสุขภาพช่องปากในกลุ่มที่ตรวจคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ถ้าสามารถควบคุม

ปริทนต์อักเสบได้ ก็จะลดการเสี่ยงจากโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงได้

3. พัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพช่องปากตามปิงปอง 7 สีและดำเนินการในพื้นที่ทดลอง

 

สรุป

          เนื่องจากโรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้สาเหตุของโรคเบาหวานเกิดได้ 2 สาเหตุหลักๆ คือ เกิดจากพันธุกรรมและเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของบุคคล เมื่อเป็นโรคเบาหวานแล้วหากมีการดูแลตนเองไม่ดีหรือมีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ก็จะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนตามมา ซึ่งโรคแทรกซ้อนที่สำคัญคือ การเกิดแผลตามตัวโดยเฉพาะปลายมือปลายเท้า  ซึ่งแปลของผู้ป่วยโรคเบาหวานจะหายช้าและหายยาก เนื่องจากปริมาณน้ำตาลในเลือดอยู่ในระดับสูง ทำให้บางครั้งต้องตัดอวัยวะที่เกิดแผลส่วนนั้นทิ้งไป ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือการป้องกันไม่ให้เกิดแผลในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ด้วยการดูแลมือและเท้า ซึ่งวิธีหนึ่งในการดูแลมือและเท้าคือการแช่เท้าด้วยน้ำสมุนไพร เนื่องจากส่วนผสมที่ใช้จะเป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์ร้อน ซึ่งช่วยให้หลอดเลือดมีการขยายตัวส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนนั้นได้ดีขึ้น อีกวิธีหนึ่งก็คือการดื่มน้ำเขียวซึ่งในน้ำเขียวก็จะมีสมุนไพรอยู่หลายชนิดแต่ในกรณีของโรคเบาหวาน ก็จะใส่สมุนไพรหญ้าปักกิ่งในปริมาณที่มากกว่าปกติ และสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือการปฏิบัติตนตามหลัก 3 อ. 2 ส. 1ฟ.

ข้อความนี้ถูกเขียนใน คณะสาธารณสุขศาสตร์ คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

ใส่ความเห็น