โครงการ “รู้ก่อน ปลอดภัย ห่างไกล โรคตาแดง”

บทนำ

ในปัจจุบันโรคตาแดง เป็นโรคติดต่อซึ่ง เป็นโรคที่มีการแพร่ระบาดได้ง่ายมาก โรคตาแดงเป็นโรคที่มีการอักเสบของเยื่อตา เกิดจากการหลายสาเหตุ โรคตาแดงพบได้ในทุกเพศทุกวัย ส่วนใหญ่จะมีการระบาดของโรคตลอดทั้งปีเนื่องจากการติดต่อของโรคเกิดจากการสัมผัสขี้ตาหรือน้ำตาของผู้ป่วยโดยตรง การใช้สิ่งของร่วมกัน การไอ จาม หายใจรดกัน ดังนั้นสถานที่ที่มีคนอยู่ร่วมกันจึงต้องระวังให้มาก โดยเฉพาะในโรงเรียน สถานเลี้ยงเด็กและที่ทำงานให้บริการ หลังจากได้รับเชื้อ ภายใน 2 – 14 วัน ผู้ป่วยจะมีอาการเคืองตา น้ำตาไหล ขี้ตามาก เปลือกตาบวม ต่อมน้ำเหลืองหน้าหูโต เยื่อตาจะค่อย ๆ แดงขึ้นเรื่อย ๆ จนแดงก่ำ บางรายอาจพบการบวมของเยื่อตา เปลือกตาด้านในเป็นเม็ดใส ๆ กระจายอยู่ทั่วไป หากเชื้อรุกลามไปที่กระจกตาอาจเกิดการอักเสบของกระจกตา ทำให้ปวดตา สายตามัวลงได้ ส่วนใหญ่โรคตาแดงจะหายได้เองภายใน 1 – 3 สัปดาห์ โดยไม่มีอาการแทรกซ้อน แต่เนื่องจากความรุนแรงของโรคมีหลายระดับหากมีอาการควรได้รับการตรวจตา

การเกิดโรคตาแดงเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนทุกคนในหลายด้านเช่น เศรษฐกิจ  สังคม การเงิน และครอบครัว คือ ทำให้ผู้ที่ประกอบอาชีพได้ลางานซึ่งทำให้ขาดรายได้ และถ้าเป็นนักเรียนนักศึกษาก็ต้องได้หยุดเรียนและทำให้เรียนไม่ทันเพื่อนสาเหตุที่ต้องหยุดเพื่อที่จะไม่ให้เชื้อโรคแพร่กระจายต่อบุคคลอื่น ส่งผลต่อการเงิน และครอบครัวทำให้ขาดรายได้ในการเลี้ยงครอบครัวและชีวิต

การมีคุณภาพชีวิตที่ดีคือหัวใจสำคัญของการดำเนินชีวิตของประชาชน ไม่ว่าจะเป็นทางร่างกาย จิตใจและสังคมของทุกเพศ ทุกวัย  ประชาชนจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้นั้นจะต้องปราศจากเป็นโรคภัยไข้เจ็บและมีการดูแลสุขภาพของตนเองและผู้อื่นอย่างถูกวิธี มีการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่ถูกต้อง ในฐานะผู้ส่งเสริมและดูแลสุขภาพของประชาชนจึงมีความตระหนักที่อยากจะให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งร่างกาย จิตใจและสังคม

จากาการศึกษาข้อมูลการเกิดโรคในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านโทกหัวช้าง อัตราป่วยด้วยโรคตาแดงย้อนหลัง 5 ปี พบว่า  ในปี  พ.ศ. 2556  =  102.91 ต่อแสนประชากร  อัตราป่วย ปี พ.ศ. 2555  =  18.63 ต่อแสนประชากร  อัตราป่วยปี พ.ศ. 2554  =  111.81 ต่อแสนประชากร  อัตราป่วยปี พ.ศ. 2553  =  9.31  ต่อแสนประชากร  อัตราป่วยปี พ.ศ. 2552  =  18.63  ต่อแสนประชากร  และอัตราป่วยปี พ.ศ. 2551  =  91.17 ต่อแสนประชากร   โรคตาแดง (Conjunctivitis) เป็นอีกโรคหนึ่งที่เกิดการระบาดในทุกเพศ ทุกวัย และมีการระบาดตลอดทั้งปี สืบเนื่องมาจากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการประกอบอาชีพ  ภาวะเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ  ปัญหาจากสิ่งแวดล้อม เช่น ฝุ่น เพราะมีรถบรรทุกดินสัญจรผ่านไปมาเป็นประจำ อีกทั้งบ้านเรือนก็ตั้งติดถนนทำให้เกิดฝุ่นจำนวนมากและมีโอกาสเกิดโรคตาแดงและก่อให้เกิดการระบาดได้  จึงส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนเพราะเมื่อเกิดโรคตาแดง ต้องหยุดงาน  หยุดเรียน ก่อให้เกิดการขาดรายได้  ขาดการเข้าร่วมสังคม ส่งผลกระทบต่อจิตใจ

ดังนั้นทางคณะผู้จัดทำจึงเล็งเห็นความสำคัญเรื่องการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคตาแดง จึงได้จัดทำโครงการ รู้ก่อน ปลอดภัย ห่างไกล โรคตาแดง ขึ้นเพื่อให้ประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านโทกหัวช้าง ตระหนักเรื่องการดูแลสุขภาพและการป้องกันโรคตาแดง ก่อให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจ

วัตถุประสงค์

                1. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดโรคตาแดงกับปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ชุมชนบ้านโทกหัวช้าง ตำบลพระบาท อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

2. เพื่อนำผลการศึกษา มาจัดทำสัมมนา รู้ก่อน ปลอดภัย ห่างไกล โรคตาแดง ให้ความรู้แก่นักศึกษาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเนชั่น และผู้ที่สนใจเข้าร่วมสัมมนา

ขอบเขตการศึกษา

–  กลุ่มเยาวชน นักเรียนโรงเรียนบ้านโทกหัวช้าง  จำนวน  56  คน

–  กลุ่มอาสาสมัครหมู่บ้าน อ.ส.ม.  จำนวน  18  คน

–  กลุ่มผู้สูงอายุ  จำนวน  15  คน

วิธีดำเนินการ

ขั้นเตรียมการ

  1. การวางแผนกำหนดโครงการ เรื่องที่จะศึกษาเพื่อจัดทำสัมมนา
  2. ประชุมแต่งตั้งคณะกรรมการ แบ่งหน้าที่แต่ละฝ่าย
  3. เขียนโครงการเสนอต่ออาจารย์เบญจวรรณ  นันทชัย
  4. ประชุมติดตามงานแก้ไขข้อบกพร่อง

ขั้นดำเนินการ

  1. จัดการดำเนินการศึกษาประวัติการระบาดโรคตาแดงย้อนหลัง 5 ปี
  2. ดำเนินการให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย
  3. สรุปผลการศึกษาและการประเมินการทดสอบความรู้ทั้งก่อนและหลังการให้ความรู้จากกลุ่มตัวอย่าง
  4.  จัดสถานที่ในการสัมมนา ณ ตึก คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
  5. ดำเนินการจัดสัมมนา รู้ก่อน ปลอดภัย ห่างไกล โรคตาแดง
  6.  ติดตามประเมินผลการจัดสัมมนา
  7. สรุปผลการจัดสัมมนา
  8. จัดส่งเอกสารสรุปผลการจัดสัมมนา รู้ก่อน ปลอดภัย ห่างไกล โรคตาแดง

ระยะเวลาดำเนินงาน

วัน/เดือน/ปี การดำเนินงาน หมายเหตุ
เดือนพฤศจิกายน 2556 ศึกษาข้อมูลงานระบาดวิทยา             และปัจจัยที่ส่งผลก่อให้เกิดโรคตาแดง – ให้กลับมาศึกษาหัวข้อที่จะสัมมนาให้ละเอียดกว่านี้
วันที่ 5 ธันวาคม 2556 นำเสนอหัวข้อและรายละเอียดของโครงการรู้ก่อน ปลอดภัย ห่างไกลโรคตาแดง                          กับคุณนิรันทร์ กาชัย พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ -จัดทำแบบก่อนและหลังการให้ความรู้

– จัดทำแบบประเมินความพึงพอใจ

– จัดทำแผลงานสุขศึกษา

วันที่ 6 ธันวาคม 2556 ให้ความรู้แก่นักเรียนโรงเรียนบ้านโทกหัวช้าง จำนวน 56 คน – มีสื่ออิเล็กทรอนิกส์

– เอกสารแผนพับ

วันที่ 12 ธันวาคม 2556 ให้ความรู้แก่กลุ่มอาสาสมัครหมู่บ้าน อ.ส.ม. จำนวน 18 คน – เอกสารแผนพับ

– แลกเปลี่ยนเรียนรู้

วันที่ 13 ธันวาคม 2556 ให้ความรู้แก่กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน 15 คน –                   เอกสารแผนพับ
เดือน มกราคม – กุมภาพันธ์ 2557 ประชุมกลุ่ม

–                   สรุปผลการดำเนินการศึกษา

–                   จัดทำโครงร่างสัมมนา

–                   วางแผน/แบ่งงาน/เตรียมความพร้อมก่อนจัดสัมมนา

–                   เตรียมเอกสารลงทะเบียน

 
วันที่ 19 มีนาคม 2557 ดำเนินการจัดสัมมนา รู้ก่อน ปลอดภัย ห่างไกล โรคตาแดง ตึก 4 คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

 

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

โรคตาแดง Conjunctivitis

                โรคตาแดงเป็นโรคที่พบได้บ่อยที่สุด เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ คือ เชื้อไวรัส แบคทีเรีย และภูมิแพ้ ทั้ง 3 สาเหตุทำให้เกิดอาการตาแดงได้คล้ายคลึงกัน แต่ลักษณะบางอย่างแตกต่างกันจึงควรวินิจฉัยแยกโรค เพื่อให้การรักษาและการดูแลตนเองอย่างถูกต้องเหมาะสม

โรคตาแดงจากภูมิแพ้ (Allergic Conjunctivitis)

                เป็นอาการอักเสบของเยื้อบุตาที่เกิดจากการแพ้ เช่น แพ้เกสรดอกไม้ ฝุ่น ยา ควันบุหรี่ เป็นต้น มักจะเป็นๆ หายๆ และเป็นร่วมกับโรคภูมิแพ้ของอวัยวะอื่น เช่น น้ำมูกไหล หืด หรือผื่นแพ้ที่ผิวหนัง เมื่อเป็นติดต่อกันนานๆ จะทำให้เป็นต้อลมและต้อเนื้อได้

อาการสำคัญ คันตามากโดยเฉพาะตรงบริเวณหัวตา  มีตาแดงเรื้อๆ มักจะเป็นสองข้าง ระคายเคืองตา ตาบวม มีน้ำตาไหล มีเมือกหรือขี้ตาใสๆ

การป้องกันและการรักษา หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้เกิดการแพ้ ประคบเย็น เพื่อลดบวม ใช้ยาหยอดตาแก้แพ้ ยาหยอดตาลดการอักเสบ และยาแก้แพ้ชนิดรับประทาน

โรคตาแดงเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial Conjunctivitis)

                เป็นการอักเสบของเยื่อบุตาที่เกิดจากการติดเชื้อ S.epidermidis , S.aureus

อาการสำคัญ คือ มีอาการจาแดงไม่มาก มีขี้ตามากสีเขียวปนเหลือง ทำให้เปิดตาลำบากในตอนเช้า มักจะไม่มีอาการปวดหรือเคืองตา ไม่มีอาการคัน อาจเป็นข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ บางรายมีไข้ร่วม

การรักษา คือ การใช้สำลีชุบน้ำอุ่นเช็ดทำความสะอาดเปลือกตา เพื่อให้ขี้ตาอ่อนตัวลง ใช้ยาหยอดตาปฏิชีวนะและอาจใช้ยาหยอดตาแก้แพ้ร่วมด้วย

โรคตาแดงจากเชื้อไวรัส (Viral Conjunctivitis)

                เป็นการอักเสบของเยื่อบุตาจากเชื้อไวรัสในกลุ่ม adenovirus พบบ่อยในเด็กเล็กๆ มักระบาดในฤดูฝนและแพร่ระบาดได้ง่ายในชุมชน โรงเรียน ถ้าไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่แรก ก็อาจติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนได้

อาการสำคัญ คือ เยื่อบุตาขวาจะอักเสบแดงมาก ปวดตา เคืองตา มีน้ำตาไหล กลัวแสง ต่อมน้ำเหลืองหลังหูมักเจ็บและบวม มักเป็นที่ตาข้างใดข้างหนึ่งก่อนแล้วติดมายังอีกข้างหนึ่ง

การรักษา คือ จะรักษาตามอาการของโรค เนื่องจากเป็นเชื้อไวรัสยังไม่มียาฆ่าเชื้อไวรัสนี้โดยตรง ถ้ามีขี้ตามักหยอดยาปฏิชีวนะ ถ้ามีไข้ เจ็บคอ ก็ใช้ยาแก้อักเสบร่วมกับยาลดไข้ ยาลดปวด หากมีอาการรุนแรงมากให้รีบพบแพทย์

การติดต่อของโรคตาแดง

                โรคตาแดงมักระบาดในกลุ่มที่อยู่รวมกันอย่างแออัด โดยส่วนใหญ่จะติดต่อโดยตรงจากการสัมผัสกับน้ำตา ขี้ตา ของผู้ป่วยหรือคลุกคลีกับผู้ป่วยโดยตรง หรืออาจติดต่อทางอ้อมได้

–                   ใช้มือสกปรกที่มีเชื้อโรคขยี้ตา

–                   ใช้สิ่งของเครื่องใช้ เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว แว่นตา เครื่องสำอาง และของใช้อื่นๆ ร่วมกับผู้เป็นโรค

–                   แมลงวันหรือแมลงหวี่มาตอมตา

ทั้งนี้โรคตาแดงจะไม่ติดต่อทางการสบตา ทางอากาศ หรือการรับประทานอาหารร่วมกัน และอาการต่างๆ จะเกิดขึ้นภายใน 1-2 วัน ระยะการติดต่อไปถึงผู้อื่นประมาณ 14 วัน

ข้อควรปฏิบัติขณะเป็นโรคตาแดง

  1. ควรหยุดเรียนหรือหยุดงานประมาณ 1-2 สัปดาห์ หรือจนกว่าอาการตาแดงจะหายเป็นปกติ และไม่ควรไปอยู่ในชุมชน เช่น โรงภาพยนตร์ ห้างสรรพสินค้า หรือลงเล่นน้ำในสระ เพราะอาจนำโรคไปแพร่ติดผู้อื่นได้
  2. เมื่อมีอาการของโรคตาแดงควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อขอคำแนะนำและทำการรักษา
  3. ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังจากถูตาและหมั่นล้างมือเป็นประจำ
  4. ควรพักสายตาไม่ใช้สายตามากนัก และพยายามรักษาสุขภาพ พักผ่อนมากๆ ไม่ควรทำงานดึก ควรนอนให้เพียงพอ
  5. ไม่จำเป็นต้องปิดตาไว้ตลอด ยกเว้น มีอาการกระจกตาอักเสบจึงปิดตาเป็นครั้งคราว
  6. แยกของใช้ส่วนตัวไม่ใช้ร่วมกับผู้อื่น
  7. ควรใส่แว่นกันแดดเพื่อลดอาการระคายเคือง
  8. งดใส่คอนแทกเลนส์จนกว่าตาจะหายอักเสบ
  9. หากใช้กระดาษทิชชูซับน้ำตาหรือขี้ตาแล้ว ควรทิ้งในถังขยะที่มีฝาปิดมิดชิด

วิธีป้องกันไม่ให้ติดโรคตาแดง

                โรคนี้เป็นโรคที่ป้องกันได้โดยการรักษาสุขภาพอนามัยส่วนบุคคล ได้แก่

  1. หมั่นล้างมือด้วยน้ำและสบู่อยู่เสมอ ไม่ใช้มือที่ไม่ได้ล้างขยี้ตา
  2. เมื่อฝุ่นละอองหรือผงเข้าตาไม่ควรขยี้ตา ให้ล้างด้วยน้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว
  3. ในสถานที่ที่คนอยู่รวมกันแออัด ควรจัดหาน้ำสะอาดให้เพียงพอสำหรับการอุปโภคและบริโภค
  4. ไม่ใช้สิ่งขิง เช่น แว่นตา เครื่องสำอาง ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ถ้วยล้างตา ยาหยอดตา ร่วมกับผู้อื่น โดยเฉพาะเมื่อมีโรคตาแดงระบาดต้องให้ระวังมากขึ้น
  5. หมั่นดูแลรักษาความสะอาดของร่างกาย สิ่งของ เครื่องใช้ต่าง ๆ เช่น เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า ปลอกหมอน ผ้าปูที่นอน ให้สะอาดอยู่เสมอ

สุขบัญญัติแห่งชาติ 10 ประการ

สุขบัญญัติ คือ ข้อกำหนดที่เด็กและเยาวชน ตลอดจนประชาชนทั่วไปพึงปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอจนเป็นสุขนิสัยเพื่อให้มีสุขภาพดี ทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคม ดังนั้นการส่งเสริมสุขบัญญัติจึงเป็นกลวิธีหนึ่งในการสร้างเสริมและปลูกฝังพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ เพื่อให้เด็ก เยาวชน และประชาชนปฏิบัติเพื่อนำไปสู่การมีสุขภาพที่ดีได้

ในปี พ.ศ. 2476 กองอนุสภากาชาดสยามได้บัญญัติคำว่า กติกาอนามัย เพื่อใช้สำหรับสมาชิกอนุกาชาด มี 12 ข้อ

ต่อมา ปี พ.ศ. 2535 ได้มีการจัดประชุมทบทวนสุขบัญญัติแห่งชาติขึ้น เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันที่ปัญหาสาธารณสุขเปลี่ยนแปลงไป จึงได้มีการปฏิรูปสุขบัญญัติแห่งชาติให้ทันสมัยขึ้น โดยเน้นกลุ่มเด็กและเยาวชนเป็นเป้าหมายที่จะต้องปลูกฝังและส่งเสริมให้มีสุขภาพดี โดยเน้นสถาบันต่าง ๆ ในสังคม อาทิ สถาบันครอบครัว สถาบันศึกษา สถาบันศาสนา สถาบันสาธารณสุข สถาบันการเมืองและสื่อมวลชน ฯลฯ มีส่วนร่วมในการเผยแพร่สุขบัญญัติแห่งชาติ  โดยให้มีเนื้อหาครอบคลุม 6 พฤติกรรม ได้แก่ อนามัยส่วนบุคคล อาหารและโภชนาการ การออกกำลังกาย สุขภาพจิต อุบัติเหตุ และอนามัยสิ่งแวดล้อม มี 10 ประการ ดังนี้

  1. อาบน้ำทุกวัน อย่างน้อยวันละ  2 ครั้ง
  2. แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
  3. นอนหลับให้เต็มที่ในที่อากาศถ่ายเทสะดวก
  4. ดื่มน้ำสะอาดมากๆ ไม่ดื่มน้ำชา กาแฟ
  5. ควรกินอาหารพวกเนื้อ นม ไข่ ผักสด ทุกวัน
  6. ล้างมือก่อนรับประทานอาหารและหลังออกจากห้องส้วมทุกครั้ง
  7. เล่นหรือออกกำลังกายกลางแจ้งทุกวัน
  8. ถ่ายอุจจาระทุกวันให้เป็นเวลา
  9. พยายามหลีกเลี่ยงโรคติดต่อ
  10. ทำจิตใจให้มีความสุขเสมอ

วิธีดำเนินงาน

 การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเพื่อศึกษาการระบาดของโรคตาแดงย้อนหลัง 5 ปี และทำการให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย ในชุมชนบ้านโทกหัวช้าง ตำบลพระบาท อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

1. เครื่องมือในการศึกษา

2. การเก็บรวบรวมข้อมูล

3. การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้

4. กลุ่มตัวอย่าง

 

1. กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา

กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ คือ กลุ่มเยาวชน จำนวน 56 คน  กลุ่มอาสาสมัครหมู่บ้าน จำนวน 18 คน และกลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน 15 คน  หมู่ที่ 8 บ้านโทกหัวช้าง ตำบลพระบาท อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

2. เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นข้อมูลด้านระบาดวิทยา และการประเมินการให้ความรู้แกกลุ่มตัวอย่างมี 3 ส่วนดังนี้

ส่วนที่ 1  ทะเบียนบัญชีรายชื่อผู้ป่วยโรคตาแดง E.0 และ E.1

ทะเบียนบัญชีรายชื่อผู้ป่วยและผู้ตายรายเดือน โรคตาแดง E.2 และ E.3

ส่วนที่ 2 แบบทดสอบก่อนและหลังการให้ความรู้

ส่วนที่ 3 แบบประเมินความพึงพอใจในการให้ความรู้

3. การเก็บรวบรวม

ในการศึกษาครั้งนี้ได้กำหนดระยะเวลา 1 สัปดาห์โดยศึกษาจากทะเบียนบัญชีรายชื่อผู้ป่วยและดำเนินการให้ความรู้แก่กลุ่มตัวอย่างกำหนดระยะเวลา 2 สัปดาห์

4. การวิเคราะห์ข้อมูล

การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้สถิติบรรยาย คือ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และแปลผล

 

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

การศึกษาการระบาดโรคตาแดงย้อนหลัง 5 ปี อัตราการป่วยคิดเป็นต่อแสนประชากร มีดังต่อไปนี้

ส่วนที่ 1

  1.  อัตราการป่วยด้วยโรคตาแดงปี พ.ศ. 2551 จำนวน 93.17 ต่อแสนประชากร
  2. อัตราการป่วยด้วยโรคตาแดงปี พ.ศ. 2552 จำนวน 18.63 ต่อแสนประชากร
  3. อัตราการป่วยด้วยโรคตาแดงปี พ.ศ. 2553 จำนวน 9.31 ต่อแสนประชากร
  4. อัตราการป่วยด้วยโรคตาแดงปี พ.ศ. 2554 จำนวน 111.81 ต่อแสนประชากร
  5. อัตราการป่วยด้วยโรคตาแดงปี พ.ศ. 2555 จำนวน 18.63 ต่อแสนประชากร
  6. อัตราการป่วยด้วยโรคตาแดงปี พ.ศ. 2556 จำนวน 102.91 ต่อแสนประชากร

จากอัตราการป่วยข้างต้น อธิบายว่าการเกิดโรคตาแดงและการระบาดของโรคตาแดงนั้นมีอัตราการป่วยที่สูงและต่ำสลับกัน แต่อัตราการป่วยของทุกๆครั้งก็มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น นั้นหมายถึงเกิดการระบาดมากขึ้น

ส่วนที่ 2

แบบทดสอบก่อนการให้ความรู้

 ตารางที่ 1 กลุ่มตัวอย่างเยาวชน จำนวน 56คน

คะแนน จำนวน (คน) ร้อยละ
0 2 3.5
1 1 1.7
2 5 8.9
3 10 17.8
4 16 28.5
5 20 35.7
6 2 3.5
7 0 0
8 0 0
9 0 0
10 0 0

จากตารางที่ 1 สามารถอธิบายข้อมูลแบบทดสอบก่อนการให้ความรู้ตามลำดับ 5 คะแนน จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 35.71  , 4 คะแนน จำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 28.57 และ 3 คะแนน จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 17.85

ตารางที่ 2 กลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุ จำนวน 15 คน

คะแนน จำนวน (คน) ร้อยละ
0 0 0
1 0 0
2 1 6.6
3 1 6.6
4 5 8.9
5 5 8.9
6 3 5.3
6 0 0
8 0 0
9 0 0
10 0 0

จากตารางที่ 2 สามารถอธิบายข้อมูลแบบทดสอบก่อนการให้ความรู้ตามลำดับ 5 คะแนน จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 8.9  , 4 คะแนน จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 8.9 และ 6 คะแนน จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 5.3

 

ตารางที่ 3 กลุ่มตัวอย่างอาสาสมัครหมู่บ้าน จำนวน 18 คน

คะแนน จำนวน (คน) ร้อยละ
0 0 0
1 0 0
2 0 0
3 0 0
4 2 11.7
5 2 11.7
6 9 50
7 4 22.2
8 1 5.5
9 0 0
10 0 0

จากตารางที่ 3 สามารถอธิบายข้อมูลแบบทดสอบก่อนการให้ความรู้ตามลำดับ 6 คะแนน จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 50  , 7 คะแนน จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 22.2  ,  5 คะแนน จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 11.7  และ 4 คะแนน จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 11.7

 

แบบทดสอบหลังการให้ความรู้

 ตารางที่ 4 กลุ่มตัวอย่างเยาวชน จำนวน 56 คน

คะแนน จำนวน (คน) ร้อยละ
0 0 0
1 0 0
2 0 0
3 0 0
4 1 1.7
5 3 5.3
6 3 5.3
7 5 8.9
8 13 23.2
9 20 35.7
10 11 19.6

จากตารางที่ 4 สามารถอธิบายข้อมูลแบบทดสอบหลังการให้ความรู้ตามลำดับ 9 คะแนน จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 35.71  , 8 คะแนน จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 23.21  และ 10 คะแนน จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 19.64

 

ตารางที่ 5 กลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุ จำนวน 15 คน

คะแนน จำนวน (คน) ร้อยละ
0 0 0
1 0 0
2 0 0
3 0 0
4 4 7.1
5 3 5.3
6 3 5.3
7 5 8.9
8 0 0
9 0 0
10 0 0

จากตารางที่ 5 สามารถอธิบายข้อมูลแบบทดสอบหลังการให้ความรู้ตามลำดับ 5 คะแนน จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 5.3  , 6 คะแนน จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 5.3 ,  4 คะแนน จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 7.1  และ 7 คะแนน จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 8.9

 

ตารางที่ 6 กลุ่มตัวอย่างอาสาสมัครหมู่บ้าน จำนวน 18 คน

คะแนน จำนวน (คน) ร้อยละ
0 0 0
1 0 0
2 0 0
3 0 0
4 0 0
5 0 0
6 0 0
7 2 11.7
                                 8 4 22.2
9 9 50.0
10 3 16.6

จากตารางที่ 6 สามารถอธิบายข้อมูลแบบทดสอบหลังการให้ความรู้ตามลำดับ 10 คะแนน จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 16.6  , 8 คะแนน จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 22.2 และ 9 คะแนน จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 50.0

ส่วนที่ 3 แบบประเมินความพึงพอใจ การให้ความรู้ เรื่อง รู้ก่อนปลอดภัย ห่างไกลโรคตาแดง

 

หัวข้อการประเมิน มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด
1. เนื้อหาวิชา จำนวน(คน) ร้อยละ จำนวน(คน) ร้อยละ จำนวน(คน) ร้อยละ จำนวน(คน) ร้อยละ จำนวน(คน) ร้อยละ
1.1 ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหัวข้อนี้ก่อนการฝึกอบรมมากน้อยเพียงใด 0 0 57 64 30 33.7 2 2.2 0 0
1.2 ท่านได้รับความรู้ ความเข้าใจหลังการฝึกอบรมมากน้อยเพียงใด 60 67.4 29 32.5 9 10.1 0 0 0 0
1.3 ระยะเวลาการฝึกอบรมมีความเหมาะสมกับเนื้อหามากน้อยเพียงใด 66 74 16 17.9 6 6.7 1 1.1 0 0
1.4 การจัดแบ่งเวลาเมาะสมกับเนื้อหามากน้อยเพียงใด 61 68.5 22 24.7 5 5.6 1 1.1 0 0
2. ด้านวิทยากร                    
2.1 ความรอบรู้ในเนื้อหาวิชา 69 77.5 15 16.8 5 5.6 0 0 0 0
2.2 ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ให้ผู้ฟังเข้าใจ 65 73 15 16.8 9 10.1 0 0 0 0
2.3 การถ่ายทอดเนื้อหาวิชาให้เป็นที่น่าสนใจ 69 77.5 16 17.9 4 4.4 0 0 0 0
2.4 การจัดลำดับความสัมพันธ์ของเนื้อหา 65 73 14 15.7 10 11.2 0 0 0 0
2.5 ความชัดเจนในการบรรยาย 70 78.6 13 14.6 6 6.7 0 0 0 0
2.6 ความสามารถในการซักตอบคำถาม 66 74.1 16 17.9 7 7.8 0 0 0 0
2.7 ความเหมาะสมของวิทยากรโดยรวม 60 67.4 14 15.7 15 16.8 0 0 0 0
3. ด้านการจัดฝึกอบรม (สถานที่)                    
3.1 สถานที่จัดฝึกอบรม 67 75.2 15 16.8 6 6.7 1 1.1 0 0
3.2 โสตทัศนูปกรณ์ 59 66.2 19 21.3 10 11.2 0 0 0 0
3.3 การดำเนินงาน/ประสานงาน/อำนวยความสะดวกของผู้จัด 63 70.7 16 17.9 10 10.2 0 0 0 0
4. ด้านการนำความรู้ไปใช้                    
4.1 ความรู้ที่ได้รับครั้งนี้มีประโยชน์มากน้อยเพียงใด 69 77.5 14 15.7 6 6.7 0 0 0 0
4.2 สามารถนำความรู้ที่ได้รับนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน 64 71.9 21 23.5 4 4.4 0 0 0 0
4.3 สามารถนำความรู้ไปเผยแพร่-ถ่ายทอดได้ 68 76.4 12 13.4 9 10.1 0 0 0 0

จากส่วนที่ 3 สามารถอธิบายได้ว่าการประเมินความพึงพอใจ 4 ด้าน คือ ด้านเนื้อหาวิชา  ด้านวิทยากร  ด้านสถานที่ และด้านการนำความรู้ไปใช้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีมากที่สุด

ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ

  1. อยากให้นักศึกษาเข้ามาทำกิจกรรมให้ความรู้อีกครั้งในเรื่องสุขภาพต่าง ๆ
  2. ได้รับความรู้เรื่องโรคตาแดงเพิ่มมากขึ้น
  3. ควรเพิ่มเวลาในการทำกิจกรรมให้มากขึ้น
  4. ขอบคุณที่นักศึกษาได้เข้าไปให้ความรู้เรื่องสุขภาพ

สรุปผลการศึกษา

ศึกษาการเกิดโรคตาแดงและการระบาดของโรคตาแดงย้อนหลัง 5 ปี ในชุมชนบ้านโทกหัวช้าง ตำบลพระบาท อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง เป็นการเก็บข้อมูลอัตราการเจ็บป่วยด้วยโรคตาแดง เพื่อทำการให้ความรู้ส่งเสริมการป้องกันโรค และการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง โดยให้ความรู้แก่กลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม คือ กลุ่มเยาวชน นักเรียนโรงเรียนบ้านโทกหัวช้าง จำนวน 56 คน  กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน  15 คน  และกลุ่มอาสาสมัครหมู่บ้าน จำนวน 18  คน และทำการทดสอบความรู้ทั้งก่อนและหลังการให้ความรู้ เพื่อประเมินว่ากลุ่มตัวอย่างมีความรู้ความเข้าใจมากน้อยเพียงใด ซึ่งกลุ่มตัวอย่างมีความรู้เพิ่มพูนมากขึ้นหลังการได้รับการให้ความรู้ และประเมินความพึงพอใจในการดำเนินการให้ความรู้ เกณฑ์การประเมินอยู่ในเกณฑ์ดีมากที่สุด หมายถึงพึงพอใจต่อการดำเนินการทั้งหมด

 

ข้อความนี้ถูกเขียนใน คณะสาธารณสุขศาสตร์ คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

ใส่ความเห็น