ส่วนที่ 1 บทนำ
คุณภาพชีวิตเป็นเป้าหมายหลักของสังคมคือประชาชนมีสุขภาพอนามัยดีทั้งร่างกายและจิตใจ
ทุกเพศ ทุกวัย จากการศึกษาข้อมูลพบว่าประชากรผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั้งด้านปริมาณและสัดส่วน
ต่อประชากร จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550 – 2554) กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดนโยบายให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพแข็งแรงตามวัย ขยายโอกาสดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่า ดังนั้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกฝ่ายจะต้องร่วมมืออย่างจริงจังและต่อเนื่องในการเตรียมความพร้อมให้ผู้สูงอายุทุกคนตลอดจนบุคคลในครอบครัวและชุมชน
เนื่องจากจำนวนและสัดส่วนประชากรสูงอายุในประเทศไทยมีถึงร้อยละ 12 ของประชากรทั้งหมดและมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้นเช่นนี้เนื่องมาจากการพัฒนาด้านสาธารณสุขและทางการแพทย์ทำให้อัตราการตายลดลง ผู้สูงอายุจึงมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้นแต่ผู้สูงอายุก็ยังได้รับผลกระทบจากการเสื่อมถอยของร่างกายตามวัยรวมทั้งผลของโรคเรื้อรังหรืออุบัติเหตุจึงนำไปสู่ความถดถอยของร่างกายเกิดภาวะพึ่งพาไม่สามารถช่วยเหลือตังเองได้หรือช่วยเหลือตนเองได้น้อยหรืออาจมีอาการสมองเสื่อมทำให้ต้องอาศัยพึ่งพาเป็นภาระแก่ผู้ดูแล เกิดภาวะทุพพลภาพในที่สุด
จากการศึกษาปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุบ้านฮ่องห้า พบว่าผู้สูงอายุมีสัดส่วนประชากรร้อยละ 19 ของประชากรในหมู่บ้าน ซึ่งพบว่าป่วยเป็นโรคเบาหวานจำนวน ร้อยละ 10 โรคความดันโลหิตสูง จำนวน
ร้อยละ 14 โรคหลอดเลือดในสมอง ร้อยละ 0.8 โรคหัวใจ จำนวนร้อยละ 0.1 โรคมะเร็งจำนวนร้อยละ 1.5 และป่วยเป็นโรคไตจำนวนร้อยละ 2 ซึ่งปัญหาสุขภาพเหล่านี้เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้สูงอายุดำรงชีวิตอยู่อย่างไม่มีความสุข การส่งเสริมสุขภาพให้ความรู้จึงเป็นวิธีหนึ่งที่จะสามารถช่วยให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพที่ดีขึ้นรวมทั้งฟื้นฟูสุขภาพเมื่อมีภาวะของโรคและควบคุมให้ภาวะของโรคเหล่านั้นมีอาการคงที่ ไม่กำเริบรุนแรงหรือเสื่อมถอยมากกว่าเดิม จะทำให้ผู้สูงอายุมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่าสามารถทำประโยชน์ให้แก่สังคม และมีความสุขในปั้นปลายของชีวิต
วัตถุประสงค์
- เพื่อส่งเสริมให้ความรู้โรคไม่ติดต่อเรื้อรังในกลุ่มผู้สูงอายุ หมู่ที่1 บ้านฮ่องห้า ตำบลน้ำโจ้ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง
- เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้นำไปสู่การปฎิบัติการดูแลโรคเรื้อรังในกลุ่มผู้สูงอายุและบูรณาการการประยุกต์ใช้ในงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
ขอบเขตการศึกษา
คณะผู้จัดทำได้ศึกษาปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในกลุ่มผู้สูงอายุ หมู่ที่1 บ้านฮ่องห้า จากเอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้องกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ดังนี้
- รายงานสถิติผู้สูงอายุหมู่ที่1 บ้านฮ่องห้า (ปี พ.ศ.2552-2556)
- รายงายข้อมูลโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในผู้สูงอายุ หมู่ที่1 บ้านฮ่องห้า (ปี พ.ศ.2555-2556)
ผู้จัดทำได้ทำการรวบรวมข้อมูลมาสังเคราะห์หาปัญหาและหาปัจจัยของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง พบว่าผู้สูงอายุมีแนวโน้มการเกิดโรคไม่ติดต่อรังเพิ่มขึ้นทุกปี คณะผู้จัดทำจึงได้จัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ หมู่ที่1 บ้านฮ่องห้า ซึ่งโครงการมี 3 หัวข้อกิจกรรม ได้แก่
- การดูแลสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุ
- การฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุ
- การดูแลสุขภาพตนเอง 3อ.2ส.
การดำเนินกิจกรรมโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ หมู่ที่ บ้านฮ่องห้า ได้ใช้แบบประเมินต่างๆเพื่อวัดผลความสำเร็จ ดังนี้
- แบบทดสอบความรู้ก่อนและหลังการอบรม
- แบบสอบถามความพึงพอใจผู้เข้าร่วมโครงการ
วิธีการดำเนินงาน
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาโรคเรื้อรังในกลุ่มผู้สูงอายุในระหว่างปี 2555 – 2556
หมู่ที่1 บ้านฮ่องห้า ตำบลน้ำโจ้ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง โดยได้ดำเนินตามขั้นตอนดังนี้
- ศึกษาสถิติทางระบาดวิทยาของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
1.1 กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา
1.2 การเก็บรวบรวมข้อมูล
1.3 การวิเคราะห์ผลข้อมูลสถิติระบาดวิทยา
- ศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเกิดอุบัติการณ์ของโรค
2.1 วิเคราะห์ปัญหาสาเหตุการเกิดอุบัติการณ์โรคที่มีผลต่อภาวะสุขภาพ
2.2 มาตราการแนวทางการป้องกัน
- วิเคราะห์ปัญหาและโอกาสการพัฒนาและจัดทำแผนดำเนินการแก้ไขปัญหาอุบัติการณ์ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ
3.1 SWOT Analysis & TOWS Matrix
3.2 จัดแผนดำเนินการแก้ไขปัญหาอุบัติการณ์การเกิดโรค
- ดำเนินโครงการแบบมีส่วนร่วมกับชุมชนตามแผนดำเนินการ
ศึกษาสถิติทางระบาดวิทยาของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
ศึกษาข้อมูลรายงานโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่ผู้ป่วยขึ้นทะเบียนจากแฟ้มข้อมูลของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านฮ่องห้า ที่เป็นหน่วยให้บริการสุขภาพของหมู่ที่ 1 ซึ่งข้อมูลดังกล่าวเป็นการเก็บข้อมูลผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรังในกลุ่มช่วงอายุต่างๆที่เขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านฮ่องห้ารับผิดชอบเพื่อที่จะรายงายต่อสาธารณสุขอำเภอต่อไปซึ่งมีระยะเวลาในการรายงาน 1 ปีต่อครั้ง
กลุ่มเป้าหมายที่ศึกษา คือ กลุ่มผู้สูงอายุ หมู่ที่ 1 บ้านฮ่องห้า ในเขตบริการสุขภาพของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านฮ่องห้า ที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
หัวใจขาดเลือด หลอดเลือดสมอง และมะเร็ง ซึ่งเป็นผู้ป่วยที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
ศึกษาปัจจัยที่ผลกระทบต่อการเกิดอุบัติการณ์ของโรค
วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลกระทบต่ออุบัติการณ์ของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังจากบริบทของชุมชน ซึ่งได้จากการสอบสอบจากเจ้าหน้าที่รับชอบดูแลงานโรคเรื้อรัง และสอบถามจากการผู้สูงอายุที่เข้ามารับบริการสุขภาพที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านฮ่องห้า ภายใต้ขอบเขต ดังนี้ ด้านพฤติกรรมส่วนบุคคล พฤติกรรมการบริโภคอาหาร พฤติกรรมการออกกำลังกาย ด้านสุขภาพจิต ด้านเศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมภายในชุมชน
วิเคราะห์ปัญหาและโอกาสการพัฒนาและจัดทำแผนดำเนินการแก้ไขปัญหาอุบัติการณ์ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ
วิเคราะห์ SWOT Analysis ของผู้สูงอายุ หมู่ที่1 บ้านฮ่องห้า โดยการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภัยคุกคาม ในกลุ่มผู้สูงอายุเพื่อที่จะหาโอกาสการพัฒนาทั้งในเรื่องของความรู้ การส่งเสริมสุขภาพ รวมถึงการดูแลตนเองจากโรคเรื้อรัง และจัดทำแผนการพัฒนาเพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาอุบัติการณ์โดยการกำหนดองค์ประกอบ ยุทธศาสตร์และตัวชี้วัด โดยที่ชุมชนนั้นมีส่วนร่วม
ดำเนินโครงการแบบมีส่วนร่วมกับชุมชนตามแผนดำเนินการ
ดำเนินการการตามแผนพัฒนาโดยการเลือกองค์ประกอบการลดปัจจัยเสี่ยงในกลุ่มผู้สูงอายุ โดยใช้ยุทธศาสตร์การส่งเสริมความรู้และเสริมสร้างพลังศักยภาพความสามารถในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ภายใต้การจัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2556 โดยความร่วมมือของนักศึกษาสาธารณสุข และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านฮ่องห้า โดยโครงการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุนั้นได้มุ่งเน้นการให้ความรู้เพื่อให้ผู้สูงอายุนั้นมีศักยภาพในการดูแลและป้องกันตนเองจากโรคไม่ติดต่อเรื้อเรื้อรัง ได้เชิญวิทยากรจากภายในและภายนอกมาให้ความรู้ได้แก่
ทันตแพทย์หญิงมุขธิตา นันติชัย ทันตแพทย์ชำนาญการ โรงพยาบาลแม่ทะ ได้ให้ความรู้ในหัวข้อการดูแลสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุ เรื่องของการการแปรงฟันที่ถูกวิธี กาเลือกใช้ฟันปลอมในผู้สูงอายุ และการดูแลวิธีการใช้ฟันปลอม รวมถึงการเชิญชวนให้ผู้สูงอายุนั้นร่วมโครงการฟันปลอมพระราชทานเพื่อผู้สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องของฟัน
นางสาวเสาวคนธ์ สุขมี นักกายภาพบำบัด โรงพยาบาลแม่ทะ ได้ให้ความรู้การฟื้นฟูสุขภาพ
เรื่องของการออกกำลังกายอย่างถูกวิธีในผู้สูงอายุ และการฟื้นฟูสุขภาพในกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ทั้งนี้ได้มีการสาธิตการออกกำลังให้ผู้สูงอายุนั้นมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมร่วมกัน
นางสาวสุภา ศรีรุ่งเรือง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านฮ่องห้า ได้ให้ความรู้ในหัวข้อ 3อ.2ส. ได้แก่ 1.อ.อาหาร ด้วยการเลือกรับประทานอาหารที่มีสารอาหารครบทั้ง 5 หมู่ เน้นผักผลไม้ที่มีกากใยสูงๆ ควรรับประทานอาหารปรุงสุกใหม่ๆ ควรเลี่ยงอาหารสุกๆ ดิบๆ อาหารค้างคืน อาหารที่มีรสจัด อาหารหมักดอง และดื่มน้ำที่สะอาด 2. อ.ออกกำลังกาย ควรออกกำลังกายให้ร่างกายแข็งแรงอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วันๆ ละ 30 นาที 3. อ.อารมณ์ ทำจิตใจให้แจ่มใสอยู่เสมอ หาวิธีคลายเครียดหรือทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัว และ 2 ส. คือไม่สูบบุหรี่ และไม่ดื่มสุรา ทั้งนี้จากการปฏิบัติตาม
3อ. 2ส. สามารถป้องกันการเกิดโรคเรื้อรังได้
ส่วนที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ความหมายของคุณภาพชีวิต
แนวคิดเรื่องคุณภาพชีวิต (quality of life) เป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นในราวปี 1970 ในประเทศตะวันตก สำหรับประเทศไทยแนวคิดเรื่องคุณภาพชีวิตปรากฏเป็นครั้งแรกในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 3 (2515-2519) ซึ่งเป็นช่วงที่การเมืองไทยผันผวนเป็นอย่างมาก แนวคิดนี้เกิดจากการพิจารณาว่าประเทศไทยได้มีการเจริญทางเศรษฐกิจและรายได้ประชาติเพิ่มมากขึ้นแต่การกระจายรายได้กลับไม่เป็นธรรมคนส่วนใหญ่ในประเทศกลับยากจน ดังนั้นประเทศควรจะได้รับการพัฒนาในแง่ของการสร้างคุณภาพชีวิตให้แก่คนในสังคม โดยเฉพาะคนด้อยโอกาส คุณภาพชีวิต (quality of life) ได้มีนักวิชาการหลายท่านให้ความหมายไว้ ดังนี้
ศิริ ฮามสุโพธิ์ (2536 , หน้า 33) กล่าวถึงคุณภาพชีวิตว่า หมายถึง ชีวิตของบุคคลที่สามารถดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างเหมาะสมไม่เป็นภาระและไม่ก่อให้เกิดปัญหากับสังคมเป็นชีวิตที่มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจสามารถดำรงชีวิตที่ชอบธรรมสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมค่านิยมของสังคม สามารถแก้ไขปัญหา ตลอดจนการแสวงหาสิ่งที่ตนปรารถนาให้ได้มาอย่างถูกต้องภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่
นิพนธ์ คันธเสวี (2537 , หน้า 10) กล่าวถึงคุณภาพชีวิตว่า หมายถึง ระดับสภาพการดำรงชีวิตของมนุษย์ตามองค์ประกอบของชีวิตอันได้แก่ทางร่างกาย ทางอารมณ์ ทางสังคม ทางความคิดและ จิตใจ
ชัยนาท จิตตวัฒนะ (2539 , หน้า 45) กล่าวถึงคุณภาพของชีวิตว่าหมายถึง สภาพความเป็นอยู่ที่ดีมีอุปการะและเกื้อกูลซึ่งกันและกันภายในของแต่ละหน่วยชีวิตและระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
นอกจากนี้จากรายงานคุณภาพชีวิตของคนไทย ปี 2539 ของศูนย์ข้อมูลเพื่อการพัฒนาชนบทกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย (อ้างถึง วิไลลักษณ์ ตั้งเจริญ, 2544 หน้า 29) กล่าวถึงคุณภาพชีวิตว่าเป็นการดำรงชีวิตของมนุษย์ในระดับที่เหมาะสมตามความจำเป็นพื้นฐานที่ได้กำหนดไว้ในสังคมหนึ่งๆในช่วงเวลาหนึ่งๆ
จากที่กล่าวมาทั้งหมดจึงสรุปได้ว่า คุณภาพชีวิต หมายถึง การดำรงชีวิตในระดับที่เหมาะสมของมนุษย์ตามสภาพความจำเป็นพื้นฐานในสังคมซึ่งสนองต่อสิ่งที่ต้องการทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและความคิดอย่างเพียงพอจนก่อให้เกิดความสุขตลอดทั้งการมีสุขภาพทางร่างกายและจิตใจที่ดี
ความหมายของผู้สูงอายุ
“ผู้สูงอายุ” ได้ถูกบัญญัติขึ้นครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อ วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2505 โดย พล.ต.ต. อรรถสิทธิ์ สิทธิสุนทร ในการประชุมระหว่างแพทย์อาวุโสและผู้สูงอายุจากวงการต่าง ๆ โดยใช้คำว่า“ผู้สูงอายุ” แทนคำว่า “คนแก่” หรือ “คนชรา” จนเป็นที่เข้าใจยอมรับและมีการใช้อย่างแพร่หลายในปัจจุบันเพื่อให้เป็นคำที่สื่อความหมายในเชิงการให้เกียรติการ ยกย่องและนับถือ (ปาริตาประเทืองวิจิตรกุล, 2548 : 6) ซึ่งมีลักษณะดังนี้
1. เป็นผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป
2. เป็นผู้ที่มีความเสื่อมตามสภาพ และมีกำลังถดถอยตามกาลเวลา
3. เป็นผู้ที่สมควรให้ความอุปการะ
4. เป็นผู้มีโรคสมควรได้รับความช่วยเหลือ
“ผู้สูงอายุ” หมายถึง บุคคลที่มีอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ โดยนับอายุตามปฏิทินสภาพความเสื่อมทางร่างกายและจิตใจจะมีมากในระยะนี้ ขาดความว่องไว ความจำเสื่อม สภาพร่างกายเสื่อมถอย (กุลยา ตันติผลาชีวะ, 2513: 24)
“ผู้สูงอายุ” หมายถึง ผู้ที่อยู่ในวัยสุดท้ายของวงจรชีวิต ซึ่งวงจรชีวิตนั้นเริ่มตั้งแต่วัยทารก วัยเด็ก วัยหนุ่มสาว วัยผู้ใหญ่และวัยชรา ในที่ประชุมสมัชชาโลกว่าด้วยผู้สูงอายุ ได้กำหนดให้ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปถือว่าเป็นผู้สูงอายุ และให้ใช้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งโลก และประเทศไทยได้กำหนดลักษณะของผู้สูงอายุ หมายถึง ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป เพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของที่ประชุมสมัชชาโลก ว่าด้วยผู้สูงอายุ และอายุ 60 ปีนี้เองจึงใช้เป็นเกณฑ์ของการปลดเกษียณอายุ
ราชการในประเทศไทย (สุรกุล เจนอบรม, 2542 อ้างใน ธันยพร สุรินทร์คำ, 2544 : 7)
“ผู้สูงอายุ” หมายถึง บุคคลเมื่อมีอายุมากขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านต่างๆ ไม่ว่าเป็นร่างกาย สติปัญญา ความรู้สึกต่าง ๆ สภาพจิตใจย่อมเปลี่ยนแปลงไป บทบาท หน้าที่ก็ย่อมเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย โดยทั่วไปแล้วการที่จะบอกว่าผู้ใดเป็นผู้สูงอายุโดยดูจากอายุนั้นค่อนข้างลำบาก เนื่องจากบางคนอายุเลย 60 ปีแล้วยังมีสุขภาพแข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ (อาภากร ชัยสุริยา,2543 : 10 อ้างในปาริดา ประเทืองวิจิตกุล, 2548 : 7)
ชุติมา หฤทัย (อ้างในธันยพร สุรินทร์คำ, 2544 : 7) ได้ให้ความหมายของคำว่าผู้สูงอายุ คือ ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเสื่อมของร่างกายและจิตใจ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับพันธุกรรม สิ่งแวดล้อม ภาวะโภชนาการและโรคภัยของแต่ละบุคคล
- พัฒนาการและความต้องการของผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุหรือผู้ที่อยู่ในวัยชราตามแนวคิดของ วุฒิเลิศ เทวกุล (2541, : 40 อ้างในนภัสนันท์ สินสุ, 2550 : 15) เห็นว่าวัยสูงอายุเริ่มต้นตั้งแต่อายุประมาณ 61 ปี ขึ้นไป ในระยะนี้จะมีลักษณะพัฒนาการที่ตรงกันข้ามกับระยะวัยเด็ก กล่าวคือ จะมีลักษณะของความเสื่อมโทรมและการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ แต่ลักษณะที่แสดงความชรานั้นจะแตกต่างไปในแต่ละบุคคล ทั้งนี้เนื่องจากวัยนี้จะเป็นวัยที่แสดงให้เห็นผลของประสบการณ์ชีวิตที่แตกต่างกัน รวมทั้งผลของพัฒนาการในช่วงวัย ที่ผ่านมา และผลของพันธุกรรมอีกด้วย ดังนั้นจึงมีผู้เรียกชื่อวัยนี้ไว้หลายชื่อด้วยกัน เช่น วัยท้าย วัยทอง วัยชรา หรือวัยแห่งความร่วงโรย เป็นต้น จากการเรียกชื่อดังกล่าวจึงเห็นได้ว่าเป็นการสรุปว่าลักษณะของวัยชราน่าจะเป็นระยะสุดท้ายของชีวิต ที่ควรจะได้รับสิ่งที่ดีงามและมีความสุขอีกช่วงหนึ่งของชีวิตหรือวัยชราน่าจะเป็นวัยที่ว่างจากภารกิจต่าง ๆ ที่เคยรับผิดชอบ อันเนื่องจากอันเนื่องจากเป็นช่วงวัยของการเกษียณอายุจากการงานที่ทำเป็นประจำอยู่หรือวัยชรา เป็นช่วงวัยที่จะปรากฏลักษณะของความเสื่อมของพัฒนาการทุกด้านอย่างชัดเจน เป็นต้น ช่วงวัยนี้จะสั้นหรือยาวนั้นจะแตกต่างกันในแต่ละบุคคลแต่ในปัจจุบันนี้มีแนวโน้มว่า มนุษย์มีอายุยืนมากขึ้นทั้งนี้อาจเนื่องมาจากปัจจัยหลายประการและสำหรับในเรื่องพัฒนาการลักษณะพฤติกรรมโดยทั่วไปของบุคคล ในวัยชรา มีดังนี้
1.1 พัฒนาการทางร่างกาย
เนื่องจากในวัยนี้มีการเปลี่ยนแปลงทาง สรีรวิทยา จึงทำให้เห็นการเปลี่ยนแปลงภายนอกที่ชัดเจนหลายประการ เช่น ผิวหนังเหี่ยวย่น ศีรษะล้านและผมจะเปลี่ยนสีหรือที่เรียกว่าผมหงอกฟันผุหรือหักจนหมดทั้งปาก สายตาขุ่นมัว หรืออาจเป็นโรคตา เช่น ต้อหิน ต้อกระจก หรือหูตึงหูหนวก เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงด้านการเคลื่อนไหวของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายเช่นเดินช้าลง ไม่กระฉับกระเฉงคล่องแคล่วและเดินเหนื่อยง่าย เป็นต้น และในบางรายอาจมีโรคประจำตัว เช่นโรคหัวใจ โรคเบาหวาน
สภาพการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายที่ปรากฏในวัยชรานี้ ถึงแม้ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปตามธรรมชาติของการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายที่ไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้ก็ตามแต่นักวิชาการด้านต่าง ๆ เช่น แพทย์ นักพฤติกรรมศาสตร์ นักสังคมศาสตร์ นักปรัชญา เป็นต้นได้ร่วมมือกันศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับผู้สูงอายุและโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ รวมทั้งการป่วยตามสภาพแวดล้อมโดยธรรมชาติ เพื่อแสวงหาทางส่งเสริมให้บุคคลในวัยชรานี้มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่แข็งแรงสมบูรณ์และนักวิชาการต่าง ๆ ดังกล่าว ต่างก็มีความเห็นสอดคล้องกันว่า การเอาใจใส่ดูแลสุขภาพทางกายนั้นเป็นสิ่งจำเป็นอันดับแรกของการที่จะมีชีวิตในวัยชราได้อย่างผาสุก
1.2 พัฒนาการทางอารมณ์
การแสดงพฤติกรรมที่แสดงออกของสภาพอารมณ์และจิตใจของบุคคลในวัยชรานั้นขึ้นอยู่กับประสบการณ์และลักษณะพัฒนาการด้านต่าง ๆ ที่ผ่านมาในชีวิตและบุคลิกภาพของแต่ละบุคคลโดยทั่วไปแล้ว สภาพความเสื่อมทางอารมณ์และจิตใจมักจะเกิดควบคู่กับการเปลี่ยนแปลงหรือความเสื่อมทางร่างกาย ประกอบกับการสูญเสียอำนาจ ตำแหน่งหน้าที่การงานและบทบาทในสังคม อันมีผลกระทบต่อความมั่นใจในตนเองและสภาพทางเศรษฐกิจที่อาจเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมและในบางรายอาจพบกับความสูญเสียคู่ครองหรือผู้ใกล้ชิดหรือการแยกย้ายของบุตรที่จะต้องไปประกอบอาชีพที่อื่นหรือการไปมีคู่ครองของบุตรธิดาของตน สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนมีผลกระทบต่อสภาพทางอารมณ์และจิตใจของบุคคลในวัยชราทั้งสิ้น
บุคคลในวัยชราที่มีพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ที่เป็นไปอย่างราบรื่น ตลอดวัยที่ผ่านมาและมีการเตรียมตัว เตรียมใจ กล่าวคือ มีการดูแลรักษาสุขภาพตนเองยอมรับสภาพการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ตลอดจนเตรียมการใช้ชีวิตหลังเกษียณไว้ล่วงหน้า เช่น วางแผนการใช้จ่าย การหางานอดิเรกทำตามความถนัดและความสามารถของตน การพักผ่อนหย่อนใจ การท่องเที่ยวและแนวทางการแสวงหาความสุขในบั้นปลายของชีวิตโดยการปฏิบัติธรรมทางศาสนา เป็นต้น พฤติกรรมต่าง ๆ เหล่านี้จะช่วยให้ผู้สูงอายุหรือบุคคลในวัยชราได้รับความสุขสงบ มีอารมณ์ที่สงบ และเยือกเย็นสำหรับบุคคลในวัยชราที่ขาดประสบการณ์ที่ดีในชีวิต หรือต้องเผชิญกับปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ อย่างมากมายตลอดชีวิตที่ผ่านมา ประกอบกับความเสื่อมทางกาย หรือความรู้สึกที่ต้องสูญเสียอำนาจ อาจทำให้บุคคลนั้นเกิดความวิตกกังวล ขาดความเชื่อมั่นในตน ขาดการเตรียมตัว เตรียมใจดังกล่าว อาจทำให้บุคคลในวัยชรามีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เช่น ซึมเศร้า หงุดหงิดหวาดระแวง เอาแต่ใจตนเอง เฉื่อยชา ใจน้อย โกรธง่ายและบางรายอาจมีการเปลี่ยนพฤติกรรมทางเพศอีกด้วย เป็นต้น
1.3 พัฒนาการทางสติปัญญา
จากการศึกษาเกี่ยวกับสติปัญญาของมนุษย์นั้น พบว่าความสามารถทางสติปัญญาจะเปลี่ยนแปลงไปในทางเพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ และต่อเนื่องกันไปจนถึงอายุประมาณ 25 ปี หลังจากนั้นความสามารถลดลง แต่ผู้ที่ใช้สมองอยู่เสมอจะไม่ปรากฏว่าร่องร่อยของความเสื่อมถอยในสมองจนกว่าอายุ 60 ปี Rastide ได้ตั้งสมมติฐานว่า โรคชราซึ่งมีอาการเลอะ ๆ เลือน ๆ นั้น อาจมิใช่เพราะสาเหตุของความสูงอายุ แต่อาจเป็นเพราะสังคมยัดเยียดให้กับคนชราก็ได้ จากคำกล่าวนี้จะเห็นได้ว่า ลักษณะพฤติกรรมทางปัญญาและความคิดของบุคคลในวัยนี้ย่อมมีลักษณะแตกต่างไปตามลักษณะเฉพาะบุคคลและอาจไม่ได้เกิดจากสาเหตุของการสูงอายุเท่านั้น
โดยทั่วไปแล้วจะเห็นได้ว่า ในช่วงวัยทารกนั้นร่างกายทุกส่วนรวมทั้งเซลล์ของสมองจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงระยะหนึ่งก็จะลดจำนวนลง ซึ่งจะมีผลทำให้เกิดอาการขี้หลงขี้ลืมและความคิดที่เสื่อมถอยประกอบกับการที่สมองถูกใช้งานมากและไม่ได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ ก็อาจทำให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น มึนงง ปวดศีรษะ เป็นต้น และสำหรับบุคคลในวัยชรานี้ ผ่านประสบการณ์ ต่าง ๆ มากมายจึงอาจทำให้เกิดความรู้สึกขาดความปลอดภัย วิตกกังวลล่วงหน้ากลัวถูกทอดทิ้ง กลัวลูกหลานรังเกียจกลัวไม่มีใครนับถือและอาจคิดหมกมุ่นเรื่องของตนเอง ในบางรายอาจคิดวิตกกังวลกับอนาคตที่ไม่มีจุดหมายปลายทางของตนจนทำให้คิดฆ่าตัวตายก็มีไม่น้อยเช่นกัน
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า แม้ในวัยชราความสามารถบางประการจะลดลง เพราะเนื้อเยื่อในสมองจะเสื่อมลงตามธรรมชาติก็ตาม แต่บุคคลในวัยนี้ยังมีความสามารถในการคิดและการมองปัญหาได้ลึกซึ้งแต่อาจเปลี่ยนแปลงความคิดใหม่ ๆ ได้ยากกว่าในวัยอื่น
1.4 พัฒนาการทางสังคม
ศูนย์กลางของสภาพทางสังคมของบุคคลในวัยชราก็คือครอบครัวและเพื่อนร่วมวัยซึ่งอาจเป็นเพื่อนที่รู้จัก สนิทสนมกันตั้งแต่สมัยหนุ่มสาว หรือเพื่อนร่วมงานที่มีความสนใจและค่านิยมคล้าย ๆ กันดังนั้นพฤติกรรมทางสังคมของบุคคลในวัยนี้จะเน้นความสัมพันธ์กับบุคคลในครอบครัว ได้แก่ความสัมพันธ์กับคู่ครอง บุตรธิดาของตนรวมทั้งบุตรเขยบุตรสะใภ้ และหลาน ๆ ถ้าสามารถดำเนินไปได้อย่างราบรื่นก็ย่อมทำให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างเป็นสุข นอกจากนั้นแล้วบุคคลในวัยชราอาจจำเป็นต้องเปลี่ยนบทบาทในครอบครัว ซึ่งเดิมเคยเป็นผู้นำหรือหัวหน้าครอบครัว ที่ต้องรับผิดชอบครอบครัวมาเป็นที่พึ่ง หรือเป็นเพียงที่ปรึกษาของบุตรหลาน ดังคำกล่าวว่าปู่ย่าตายายก็คือร่มโพธิ์ร่มไทรของบุตรหลาน
สัมพันธภาพกับเพื่อนร่วมวัยของคนในวัยชรานี้นับว่ามีความสำคัญยิ่งอีกประการหนึ่งทั้งนี้เพราะคนร่วมวัยย่อมสามารถเข้าใจปัญหาของกันและกันได้ดีกว่า โดยเฉพาะในสังคมอุตสาหกรรมหรือแม้แต่สังคมไทยในปัจจุบันนี้ ก็เปลี่ยนแปลงจากครอบครัวรวมมาเป็นครอบครัวเดียว จึงทำให้คนชราถูกทอดทิ้งให้อยู่ตามลำพังมากขึ้น
ฐานะทางสังคมของบุคคล เป็นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งของการของการเข้าสังคมและการร่วมกิจกรรมทางสังคมของบุคคลในวัยชรา เช่น บุคคลที่อยู่ในสังคมชั้นสูงจะมีโอกาสเป็นผู้บริหารหรือเป็นผู้นำได้มากกว่าบุคคลที่มีฐานะทางสังคมที่ด้อยกว่า เป็นต้น
ในปัจจุบันนี้ได้มีหน่วยงานทั้งของรัฐและเอกชนที่ได้เล็งเห็นความสำคัญและปัญหาของบุคคลในวัยชรานี้มากขึ้น โดยการจัดบริการต่าง ๆ ให้แก่บุคคลในวัยนี้ เช่น การจัดตั้งคลินิกผู้สูงอายุชมรมผู้สูงอายุสถานสงเคราะห์คนชราและการจัดกิจกรรมให้แก่ผู้ที่จะเกษียณอายุราชการ ให้มีโอกาสเตรียมตัว เตรียมใจ รับกับสภาพการณ์ต่าง ๆ ที่จะพบในการดำรงชีวิต ทั้งนี้เพื่อช่วยให้บุคคลในวัยนี้สามารถปรับตัวและดำรงชีวิตอย่างมีความสุขตามควรแก่อัตภาพหลังจากต้องเกษียณจากงานแล้วบุคคลในวัยชรานี้ ถ้าหากนับจากอายุตามปฏิทินซึ่งแต่เดิมจะใช้เกณฑ์ตั้งแต่ 61 ปีขึ้นไปแต่ในปัจจุบันจะใช้เกณฑ์ 65 ปี ทั้งนี้เนื่องจากสภาพการดำเนินชีวิตและการแพทย์เจริญขึ้นมากแต่จะเห็นได้ว่าบุคคลในวัยนี้จะมีความแตกต่างกัน บางคนถึงแม้จะอายุเลย 65 ปีไปแล้วก็ยังมีสุขภาพแข็งแรงคล่องแคล่วกระฉับกระเฉงในขณะที่บางคนอ่อนแอ มีโรคภัยไข้เจ็บหรือตามคำกล่าวของคนทั่วไปว่าบางคนแก่เร็วบางคนแก่ช้าในขณะที่มีอายุเท่ากัน ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากปัจจัยสำคัญหลายประการ เช่นพันธุกรรม ทำให้บุคคลบางคนเกิดโรคภัยไข้เจ็บหรือมีโรคประจำตัวหรือประสบการณ์ต่าง ๆ ตลอดจนลักษณะพัฒนาการในช่วงวัยที่ผ่านมา เป็นต้น จึงมีผลทำให้บุคคลในวัยนี้มีสภาพที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตามถ้าหากพิจารณาลักษณะพฤติกรรมของบุคคลในวัยชรานี้อาจแบ่งได้เป็น 4 ประเภท ดังต่อไปนี้
1. วัยท้าย – วัยทอง คือ บุคคลที่มีความเป็นตัวของตัวเอง ยอมรับความจริงและบังคับตนเองได้ดำรงความเป็นเอกลักษณ์และความสามารถของตนได้ วัยชรานี้เป็นวัยที่มีความสุขที่สุดเพราะสามารถนำประสบการณ์เก่า ๆ มาใช้ให้เป็นประโยชน์ ช่วยให้มองความสัมพันธ์ระหว่างจุดเริ่มต้นและจุดจบของชีวิตได้ดี บุคคลที่มีลักษณะเช่นนี้จะสามารถปรับตัวได้ดี พอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่ สามารถเข้าร่วมกิจกรรมหรือเลือกทำกิจกรรมที่สอดคล้องกับความสามารถของตน เช่น ผู้ที่เกษียณจากงานฯประจำแล้วจะปลูกต้นไม้หรือเลี้ยงสัตว์ในยามว่างและในที่สุดสามารถมีรายได้ดีจากการทำงานอดิเรกนี้ หรือในบางรายอาจแสวงหาความสุขทางใจโดยการศึกษาธรรมะหรือร่วมกิจกรรมเพื่อบำเพ็ญประโยชน์ในท้องถิ่นของตน เป็นต้น
2. วัยท้าย – วัยหวาดหวั่น คือ บุคคลที่มีความรู้สึกว่าตนไม่เป็นที่ยอมรับของผู้อื่น และมีความหวาดวิตกอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นบุคคลประเภทนี้จะพยายามต่อสู้ไม่ยอมแพ้และจะต่อต้านความชราอยู่เสมอ ดังคำกล่าวที่ว่าไม่ยอมแก่ โดยจะพยายามทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ตนเคยมีความสามารถทำได้เมื่อยังหนุ่มสาว
3. วัยท้าย – วัยหวังพึ่งพา คือ บุคคลที่มีความรู้สึกว่า สภาพต่าง ๆ ของตนเปลี่ยนแปลงไป เช่น กำลังวังชาลดน้อยลง เคลื่อนไหวช้าลง หรืออาจมีโรคประจำตัวเป็นต้น ประกอบกับบุตรชายหญิงก็เจริญเติบโตแล้วมีงานทำหมดแล้ว ย่อมควรที่จะต้องดูแลตนเป็นการตอบแทน ดังนั้นบุคคลประเภทนี้จึงจะแสดงพฤติกรรมให้เห็นว่าไม่สามารถช่วยตนเองได้และต้องการความช่วยเหลือหรือต้องการพึ่งพาผู้อื่นตลอดเวลาและจะไม่ร่วมกิจกรรมทางสังคมใด ๆ แต่จะพอใจและเป็นสุขเมื่อมีผู้คอยดูแลเอาใจใส่ แต่ถ้าขาดคนช่วยเหลือ หรือรู้สึกว่าตนสิ้นหวังที่จะพึ่งพาผู้อื่น หรือไม่รู้จะพึ่งพาใคร จึงมักจะแสดงออกโดยการฆ่าตัวตายในที่สุด
4. วัยท้าย – วัยเสื่อม คือ บุคคลที่มีพฤติกรรมอันแสดงถึงความเสื่อมทั้งร่างกายและจิตใจโดยเฉพาะสภาพของกายที่ปรากฏชัดเจน เช่น การมีโรคประจำตัว หรือมีโรคภัยไข้เจ็บที่ไม่สามารถช่วยตนเองได้ รวมทั้งการถูกทอดทิ้งให้อยู่อย่างเดียวดาย หรือการตายจากของคู่ครองหรือการพ้นจากฐานะทางสังคม เป็นต้น สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะทำให้คนชรารู้สึกท้อแท้ สิ้นหวังและคนชราประเภทนี้มักจะมีชีวิตอยู่อย่างขมขื่นและท้อถอย
จากลักษณะพฤติกรรมของบุคคลวัยชราทั้ง 4 ประเภทนี้ จะเห็นได้ว่าลักษณะของคนชรามีความแตกต่างกันและความชราเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เป็นขั้นหนึ่งของพัฒนาการมนุษย์ที่ต่อเนื่องกันของบุคคลตั้งแต่วัยทารกเป็นต้นมา ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามวัยและประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ได้รับตลอดมา ดังนั้นพฤติกรรมของคนชราจะเป็นเช่นใดนั้น ขึ้นอยู่กับพัฒนาการจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้จึงมีนักวิชาการในหลายสาขาที่ได้ศึกษาค้นคว้าและแสวงหาหนทางที่จะส่งเสริมให้คนชราสามารถดำรงชีวิตได้อย่างเป็นสุขและได้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีประพฤติปฏิบัติเพื่อใช้ชีวิตในวัยชราอย่างผาสุกซึ่งอาจจะสรุปได้ดังนี้
- เอาใจใส่ดูแลสุขภาพทางกายทั้งด้านโภชนาการ การพักผ่อน การออกกำลังกายการดูแลสุขภาพ และการเยียวยารักษาโรคภัยไข้เจ็บ ทั้งนี้เพราะสุขภาพทางกายจะมีผลต่อสุขภาพจิตและสถานภาพด้านสังคมอีกด้วย
- ยอมรับความจริงและปรับตัวให้เข้ากับสภาพที่เปลี่ยนแปลงเมื่อเข้าสู่วัยชราทำจิตใจให้แจ่มใสและช่วยเหลือตนเองให้มากที่สุด โดยคิดว่าตนเองยังมีความสามารถไม่ท้อแท้และไม่หวังพึ่งผู้อื่น
- มีการเตรียมตัวล่วงหน้าทั้งด้านเศรษฐกิจ ที่อยู่อาศัย ซึ่งอาจต้องอาศัยการวางแผนล่วงหน้าตั้งแต่วัยผู้ใหญ่ เช่น การเก็บออมเงินเพื่อไว้ใช้ในยามชรา เป็นต้น หรืออาจมีการเตรียมงานอดิเรกทำในยามว่างหลังจากการเกษียณจากงานประจำแล้ว
- มีความกระตือรือร้นและใฝ่หาประสบการณ์ใหม่ ๆ อยู่เสมอ เช่น การติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวหรือการเปลี่ยนแปลงของโลก เป็นต้น เพราะจะช่วยให้สามารถรู้เท่าทันเหตุการณ์ทันโลก ทันคน ทั้งยังเป็นการบริหารความคิดและสมองอีกด้วย
- ไม่ปล่อยเวลาให้ว่าง แต่ควรทำงานที่ช่วยสร้างความสุขและความเพลิดเพลินซึ่งเป็นงานที่ไม่ต้องใช้กำลังกายมากนัก เช่น การปลูกต้นไม้ การช่วยดูแลบุตรหลาน เป็นต้น
- แบ่งเวลาให้เหมาะสม ในวันหนึ่ง ๆ คนชราควรแบ่งเวลาในการทำงานมีเวลาพักผ่อนอย่างพอเพียงและเหมาะสมกับสภาพของตน แบ่งเวลาในการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา
- สร้างสัมพันธภาพกับเพื่อนใหม่ ไม่หมกมุ่นเฉพาะกับบุคคลในครอบครัวหรือวุ่นวายกับชีวิตของบุตรหลานจนเกินขอบเขต และให้ความสนใจกับชุมชนบำเพ็ญประโยชน์ให้กับสังคมตามความเหมาะสมของกำลังกาย และตามสภาพของตน
ความหมายของโรคเรื้อรัง
โรคเรื้อรัง หมายถึงโรคที่รักษาไมหายการรักษาเปนเพียงการพยุงไมให มีการสูญเสียการทํางานของรางกายมากขึ้นโรคเรื้อรังมีหลายประเภทเชนโรคเบาหวานโรคอวนโรคความดันโลหิตสูงโรคหัวใจวายโรคไตวาย,โรคขอเสื่อม
ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคๆไม่ติดต่อเรื้อรัง
ประเภทของปัญหาโรคไม่ติดต่อ ปัจจุบันแบ่งเป็นกลุ่ม ได้แก่
- โรคที่เกี่ยวกับพฤติกรรม เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน อุบัติเหตุ เป็นต้น
- โรคจากพยาธิทางสังคม เช่น ยาเสพติด โรคเครียด เป็นต้น
- โรคจากสภาพแวดล้อมและการประกอบอาชีพจากสารพิษ ฝุ่นละอองต่างๆ เช่น โรคฝุ่นหิน โรคปอดจากจากฝุ่นฝ้าย พืชกำจัดศัตรูพืช สารตะกั่ว อุบัติเหตุจากอันตราย เป็นต้น
- โรคทางพันธุกรรม เช่น โรคเลือดต่างๆ โรคเบาหวาน โรคไต เป็นต้น
จากความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมสุขภาพและสภาพแวดล้อม รวมทั้งประเภทของปัญหาโรคไม่ติดต่อพบว่ามีปัจจัยที่มีความสำคัญ และมีอิทธิพลต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อ ดังต่อไปนี้
1. ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ วัย อายุ เป็นต้น
1.1 เพศ มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรค เช่น เพศชายเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งปอดได้ง่ายอันเนื่องจากการสูบบุหรี่ หรือโรคมะเร็งตับ อันเนื่องจากการดื่มสุรา และการเกิดอุบัติเหตุจากาการขับขี่รถมากกว่าผู้หญิง
1.2 อายุ มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรค เช่น เมื่ออายุมากขึ้นมักจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ
อุดตัน โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น
2 )ปัจจัยทางสังคม ได้แก่ อาชีพ สถานะทางสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม เครือข่าย สถาบันครอบครัว เพื่อน เป็นต้น
2.1 อาชีพ การประกอบอาชีพบางประเภทมีความเสี่ยงต่อสุขภาพในเรื่องของมลพิษ สารพิษ เช่น คนงานในโงงานอุตสาหกรรมที่ต้องสูดควันพิษสารเคมีต่างๆ ตำรวจจราจรที่สี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปอดจากสารพิษและมลพิษในอากาศ
2.2 สถานะทางสังคม เศรษฐกิจ ได้แก่ ด้านรายได้ การศึกษา ค่านิยม การเรียนรู้ เจตคติ ความเชื่อ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นกำหนดพฤติกรรมสุขภาพของบุคคลในกิจวัตรประจำวัน พฤติกรรมการป้องกันโรค การดูแลตนเองขณะเจ็บป่วย เป็นต้น
2.3วัฏจักของความชั่วร้าย ดังที่กล่าวกันว่า “โง่ จน เจ็บ ” เป็นวัฏจักรของกลุ่มบุคคลที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค การด้อยการศึกษา ฐานะยากจน โดยบุคคลกลุ่มนี้มีโอกาสเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคได้ง่าย จึงมีผลต่อเจ็บป่วยเรื้อรัง พิการหรือเสียชีวิตเพิ่มขึ้น
2.4 วัฒนธรรม สาสนา เป็นปัจจัยที่มีการถ่ายทอดรูปแบบและกระบวนการด้านพฤติกรรมของบุคคลจากรุ่นต่อรุ่น สู่กลุ่มสังคม ชุมชน และประเทศ เช่น ศาสนาอิสลาม มีข้อห้ามในเรื่องเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งสามารถช่วยป้องกันโรคพิษสุราเรื้อรัง โรคมะเร็งตับ ฯลฯ หรือกลุ่มเซเว่นเดย์แอดเวนตีสเป็นมังสวิรัติ ไม่รับประทานเนื้อสัตว์ ทำให้ไม่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจหลอดเลือด เป็นต้น หรือในด้านวัฒนธรรม บางสังคมประชาชนจะมีความตระหนัก ระมัดระวังสุขภาพ ปฏิบัติตัวเพื่อการส่งเสริมสุขภาพที่ดี เช่น ออกกำลังกาย การฉีดวัคซีน เป็นต้น ซึ่งพบว่าบุคคลกลุ่มนี้ จะสามารถป้องกันและหลีกเลี่ยงจากความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้
2.5 ระบบเครือข่ายการสนับสนุนทางสังคม เช่น ครอบครัว เพื่อน มีอิทธิต่อสุขภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านปัญหาสุขภาพจิต การเจ็บป่วยเรื้อรังที่ต้องใช้เวลาดูแลรักษาเป็นเวลานานโดยมีการวิจัยพบว่า มีอัตราการเสียชีวิตในกลุ่มบุคคลโสด หม้าย หย่าร้าง มากกว่ากลุ่มที่แต่งงาน ทั้งนี้เนื่องจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ช่วยสนับสนุนการป้องกันโรคหรือการดูแลตนเองยามเจ็บป่วยได้
3.) ปัจจัยทางจิตวิทยาสังคมและพฤติกรรม ได้แก่ ปัจจัยด้านบุคลิกภาพ ความเชื่อ พฤติกรรมชอบเสี่ยง สถานการณ์ ความเครียด เป็นต้น
3.1 บุคลิกภาพ พบว่าบุคคลที่มีบุคลิกที่มีลักษณะทะเยอทะยาน ใจร้อน มีความเร่งรีบเป็นประจำ มักจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้ง่าย เช่น โรคเครียด โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น
3.2 พฤติกรรมชอบเสี่ยง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอายุและเพศ โดยเพศชายมักชอบเสี่ยงต่อการดำเนินชีวิตพฤติกรรมสุขภาพมากกว่าเพศหญิง เช่น การขับรถเร็วจนเกิดอุบัติเหตุหรือเสียชีวิต การทดลองใช้ยาและเสพติด เช่น บุหรี่ สุรา ยาเสพติดประเภทอื่นๆ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงการพัฒนาทางร่างกาย จิตใจ และฮอร์โมนที่มีผลต่อความรู้สึก ความคิด ความเชื่อ การรับรู้ต่อช่วงอายุเวลานั้นๆ
3.3 สถานการณ์ความเครียด ในแต่ละช่วงชีวิตที่เผชิญต่อปัญหาอุปสรรคต่างๆ เช่น การสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก การสูญเสียโอกาสการเรียน การทำงาน ซึ่งมีผลต่อการเกิดโรคและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ซึ่งเกิดจากการเกิดอุบัติเหตุ การฆ่าตัวตาย เป็นต้น ทั้งนี้สภาพความสัมพันธ์ของกายและจิตจึงเป็นสิ่งสำคัญ
3.4 ความเชื่อด้านสุขภาพ พบว่า ความรู้ เจตคติ การปฏิบัติ มีผลที่สำคัญในเรื่องการปรับเปลี่ยน และความคงอยู่ต่อพฤติกรรมสุขภาพของบุคคล
3.5 การรวมกลุ่ม มีอิทธิพลมากทั้งในโรงเรียน ที่ทำงาน ชุมชน ซึ่งเป็นสัญลักษณ์หรือรูปแบบของกลุ่ม เช่น การสร้างนิสัยการบริโภค การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การเที่ยวเตร่ การใช้ยาและสารเสพติดจากกลุ่มเพื่อนในวัยรุ่น เป็นต้น
3.6 วิถีชีวิต หมายถึงกลุ่มนิสัยและประเพณีที่มีอิทธิพล กระตุ้น กดดัน แพร่ขยาย ตลอดช่วงชีวิตในสังคม วิถีชีวิตมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพ ความเป็นอยู่ การเกิด การเจ็บป่วยความพิการ และเสียชีวิตก่อนวัยอันควร การมีวิถีชีวิตต่อพฤติกรรมสุขภาพที่ดีจะช่วยชะลอและลดโอกาสเสี่ยงต่างๆ ได้
โรคเบาหวาน
โรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus , DM) เปนภาวะความผิดปกติที่เกิดจากการเผาผลาญ(Metabolism) กอใหเกิดระดับน้ำตาลสูงขึ้นประกอบดวยการเผาผลาญคารโบไฮเดรต โปรตีนและไขมันอันมีผลมาจากการขาดอินซูลินและหรือความผิดปกติในการออกฤทธิ์ของอินซูลิน(รัชนีโชติมงคล, 2543:36)ซึ่ง
เปนฮอรโมนที่สรางจากเบตาเซลลของตับออนทําหนาที่เปนกลไกสําคัญในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของรางกายหากเปนโรคระยะเวลานานจะทําใหเกิดการทําลายและมีผลเสียตออวัยวะตาง ๆ ที่สําคัญคือ ตาไต เสนประสาท หัวใจและหลอดเลือด(สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย , 2543:40)
สาเหตุการเกิดโรคเบาหวาน
- พันธุกรรม
สาเหตุหลักของผูปวยเบาหวานคือ พันธุกรรม พบวาประมาณหนึ่งในสามของผูปวยโรคเบาหวานมีประวัติญาติเปนเบาหวาน ลักษณะยีนของการเปนเบาหวานเปนลักษณะทางพันธุกรรม
- ความอวน
ความอวนเปนสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคเบาหวานเนื่องจากจะทําใหเซลลของรางกายตอบสนองตอฮอรโมนอินซูลินลดนอยลงอินซูลินจึงไมสามารถพาน้ำตาลเขาสูเซลลไดดีเหมือนเดิม
- อายุ
เมื่ออายุมากขึ้นอวัยวะตางๆ ยอมตองเสื่อมลงรวมทั้งตับออนที่มีหนาที่สังเคราะหและผลิตฮอรโมนอินซูลินก็จะทําหนาที่ไดลดลงจึงเปนสาเหตุหนึ่งของโรคเบาหวาน
- ตับอ่อนไม่สมบูรณ์
เกิดจากการที่ตับออนไดรับการกระทบกระเทือนหรือเกิดอุบัติเหตุที่มีผลกระทบตอตับออนรวมทั้งอาจเกิดจากโรคเชนตับออนอักเสบเรื้อรังจากการดื่มสุรามากเกินไป
- การติดเชื้อจากไวรัส
เชื้อไวรัสบางชนิดเมื่อเขาสูรางกายแลวมีผลขางเคียงในการเกิดโรคเชนคางทูมหัดเยอรมัน
- ยาบางชนิด
ยาบางชนิดมีผลตอการเกิดโรคเบาหวาน เชน ยาขับปสสาวะยาคุมกําเนิดเนื่องจากทําใหระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นไดจึงควรปรึกษาแพทยกอนใชยาโดยเฉพาะเมื่อตองใชยาติดตอกันนานๆ
- ภาวะของการตั้งครรภ์
เนื่องจากฮอรโมนหลายชนิดที่รกสังเคราะหขึ้นมานั้น มีผลยับยั้งการทํางานของฮอรโมนอินซูลิน
ผูที่ตั้งครรภจึงเสี่ยงตอการเกิดโรคเบาหวาน โดยเฉพาะผูที่มียีนเบาหวานอยูในรางกายมากจึงตองไดรับการดูแลจากแพทยอยางใกลชิด
ประเภทของเบาหวาน
การแบงประเภทของเบาหวานจะแบงโดยการเอาสาเหตุของการเกิดโรคเปนเกณฑเพื่อผลการรักษาที่ถูกตองซึ่งภาวะที่เกิดเบาหวานมี 2 กรณีคือกรณีที่ตับออนไมสรางอินซูลินไดเลยกับกรณีที่ยังมีการผลิตอินซูลินอยูบางแตไมเพียงพอกับความตองการของรางกาย
โรคเบาหวานแบงออกเปน 2 ชนิดใหญๆ ไดแก
– เบาหวานชนิดที่ 1 คือเบาหวานชนิดที่พึ่งอินซูลิน (Insulin Dependent Diabetes)
– เบาหวานชนิดที่ 2 คือเบาหวานชนิดที่ไมพึ่งอินซูลิน (Non-Insulin Dependent Diabetes)
เบาหวานชนิดที่ 1 คือเบาหวานชนิดที่พึ่งอินซูลิน (Insulin Dependent Diabetes)
เบาหวานชนิดที่พึ่งอินซูลินนี้บางครั้งเรียกวา “เบาหวานในเด็ก” เพราะมักเกิดขึ้นกับผูที่มีอายุนอยคือเด็กและวัยรุน เบาหวานชนิดนี้เกิดจากการที่รางกายเกิดภาวะขาดอินซูลินโดยสิ้นเชิงอันเปนผลมาจากการที่ตับออนไมสามารถผลิตอินซูลินไดเนื่องจากเซลลที่ทําหนาที่สรางฮอรโมนอินซูลินนั้นผิดปกติโดยสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัส หรือความผิดปกติของระบบภูมิคุมกันของรางกายที่สรางภูมิคุมกันขึ้นมาตอตานกันเอง (จุรีรัตนเอกบํารุง , 2546:45)
เมื่อรางกายเกิดภาวะขาดอินซูลินน้ำตาลก็ไมสามารถเขาไปในเซลลเพื่อใหพลังงานไดจึงตกคางในเลือดจนเกิดภาวะปริมาณน้ำตาลในเลือดสูง สวนเซลลเมื่อไมไดรับน้ำตาลก็ตองหารแหลงพลังงานใหมมาทดแทน จึงหันไปยอยสลายไขมันและโปรตีนเพื่อใหไดพลังงานกระบวนการสลายไขมันในระบบนี้จะทําใหเกิด สารคีโตน (Ketoacidosis) ซึ่งมีฤทธิ์เปนกรดและเปนพิษตอรางกายออกมาดวย ปกติการยอยสลายไขมันและโปรตีน จะเกิดอยางชาๆ ทําใหสารคีโตนในรางกายอยูในปริมาณที่ควบคุมไดแตในกรณีของผูปวยเบาหวานชนิดนี้อัตราการสลายไขมันจะเกิดขึ้นเร็วมาก ทําใหมีสารคีโตนคั่งคางอยูในเลือดจึงเกิดภาวะการคั่งในเลือดของสารคีโตน(Diabetes Ketoacidosis) อาการของภาวะกรดคั่งในเลือดจากสารคีโตนนั้น คือหายใจหอบลึกเมื่อหายใจออกมาจะมีกลิ่นเหมือนผลไมชีพจรเตนเร็วคลื่นไส-อาเจียน ระดับความรูสึกตัวจะคอยๆ ลดลงถาไมไดรักษาอยางทันทวงทีจะช็อกหมดสติจากภาวะกรดคั่งในเลือดไดอาการที่เกิดขึ้นนี้มักเปนอยางรุนแรงและเกิดขึ้นโดยกะทันหัน
เบาหวานชนิดที่2 คือเบาหวานชนิดที่ไมพึ่งอินซูลิน (Non-Insulin Dependent Diabetes)
เบาหวานชนิดที่ไมพึ่งอินซูลินหรือที่รูจักกันวาเปน “เบาหวานในผูใหญ” เนื่องจากพบไดบอยในผูสูงอายุที่มีอายุมากกวา 40 ปขึ้นไป (ไวกูณฐ สถาปนาวัตร , 2545:50) จะพบวาเปนโรคเบาหวานประมาณ
รอยละ 10 นอกจากอายุแลวกรรมพันธุก็เปนอีกปจจัยหนึ่งที่มีผลตอการเปนเบาหวานชนิดนี้เบาหวานชนิดที่ 2 นี้แมตับออนจะยังสรางอินซูลินไดแตปริมาณที่ไดก็ไมเพียงพอตอความตองการหรืออีกกรณีหนึ่งอาจเกิดจากเซลลรางกายตอตานการทํางานของอินซูลินนั่นแสดงวาตับออน ยังสามารถผลิตอินซูลินไดอยู(กองบรรณาธิการใกลหมอ, 2549:50) ภาวะเชนนี้จึงไมไดทําใหรางกายขาดอินซูลินโดยสิ้นเชิงเหมือนผูที่เปนเบาหวานชนิดที่ 1 ฉะนั้นผูที่เปนเบาหวานชนิดที่ 2 บางรายจึงอาจไมมีอาการแสดงออกของโรคเลย หรืออาจจะมีอาการแบบคอยเปนคอยไป สาเหตุของการหมดสติของผูปวยเบาหวานชนิดนี้ไมไดเกิดจากภาวะกรดคั่งในเลือดแตจะเกิดจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูงมาก ทําใหรางกายพยายามขับน้ำตาลออกมาทางปสสาวะจนทําใหผูปวยเสียน้ำมากเมื่อรางกายเกิดภาวะขาดน้ำไตก็ทํางานลดลงเปนผลใหน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอีกเพราะ
รางกายไมสามารถขับออกไปไดผูปวยก็จะหมดความรูสึกลงเรื่อยๆ จนหมดสติและอาจเสียชีวิตได้
อาการและอาการแสดงของโรคเบาหวาน
อาการของผูปวยโรคเบาหวานที่สําคัญและพบไดในระยะแรกที่มักพบไดบอย ๆ ( เทพหิมะทองคําและคณะ ,2544 :47 ) ไดอธิบายอาการของผูปวยเบาหวานไวดังนี้
- ปัสสาวะบ่อยมีปริมาณมาก (Polyuria) เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงจนขีดจำกัดขอไตจะรับได้ กระบวนการกรองน้ำตาลในเลือดที่สู๔งมากออกมาทางปัสสาวะโดยไต ไตนี้จําเปนต้องดึงน้ำออกมาด้วย ดังนั้นผู้ป่วยยิ่งมีระดับน้ำตาลสูงในเลือดสูงเท่าใดก็ยิ่งปัสสาวะบ่อยและบ่อยขึ้นมากเท่านั้น ทำให้ต้องตื่นมาเข้าห้องน้ำตอนกลางคืนหลายครั้ง
- คอแห้ง กระหายน้ำ และดื่มน้ำมาก (Polydipsia) เป็นผลมากจากที่ร่างกายเสียน้ำไปจากปัสสาวะบ่อยและมาก จึงเกิดการขาดน้ำอย่างรุนแรงจึงต้องชดเชยโดยการดื่มน้ำบ่อยๆ
- น้ำหนักลด ผอมลง (Weight) เมื่อเซลล์ไม่สามารถน้ำกลูโคสไปใช้เป้นพลังงานได้ร่วมกับการขาดน้ำจากการปัสสาวะบ่อยร่างกายก็จะสลายไขมันและโปรตีนที่เก็บสะสมไว้ในเนื้อเยื่อมาใช้เป็นพลังงานแทน จึงทำให้รู้สึกอ่อนเพลียและน้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
- หิวบ่อยและรับประทานอาหรจุ (Polyphagia) จากการที่ร่างกายมีการสลายเอาเนื้อเยื่อส่วนต่างๆมาใช้จึงทำให้มีภาวะขาดอาหารเกิดขึ้น เพื่อชดเชยต่อภาวะนี้ผู้ป่วยจึงมีอาการหิวบ่อยและและรับประทานอาหารจุ
- คันตามตัว ผิวหนัง และบริเวณอวัยวะเพศสืบพันธุ์ สาเหตุอาการคันเกิดขึ้นได้หลายอย่าง เช่น ผิวหนังแห้งเกินไป หรือการอักเสบของผิวหนังซึ่งพบได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน
- ตาพร่ามัว ต้องเปลี่ยนแว่นบ่อย การที่ตาพร่ามัว สาเหตุอาจเกิดได้หลายประการ คือ อาจเป็นเพราะสายตาสั้นลง หรือระดับน้ำตาลสูงจึงไปคั่งอยู่ในตาอาจะเกิดต้อกระจก เส้นเลือดในตาอุดตันก็ได้
- มือชา เท้าชา หมดความรู้สึกทางเพศ เนื่องจากระดับน้ำตาลที่สูงนานๆทำให้เส้นประสาทเสื่อมบางคนอาจไม่มีอาการอะไรเลย พบได้บ่อยว่าผู้ป่วยที่ละเลยไม่รับการวินิจฉัยและรักษาตั้งแต่ต้น
การวินิจฉัยโรคเบาหวาน
การตรวจหาเบาหวานนั้น ทําไดดวยการตรวจทางแล็บ โดยแพทยจะสั่งเจาะเลือดและเก็บปสสาวะเพื่อนําไปวิเคราะหซึ่งโดยทั่วไปจะเปนการตรวจหาน้ำตาลและวัดระดับไขมันในเลือดตรวจระดับน้ำตาลใน
ปสสาวะและตรวจระดับฮีโมโกบินเอวันซี
ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด
การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดนั้นเป็นวิธีที่จะทําใหเราทราบไดอยางชัดเจนวามีระดับน้ำตาลสูงเพียงใด ซึ่งทําใหทราบวาเปนเบาหวานหรือไมคอนขางที่จะแน่นอน ในคนปกติระดับน้ำตาลในเลือดจะคงที่คือประมาณ 80 – 110 มิลลิกรัม/เดซิลิตรโดยระดับน้ำตาลอนรับประทานอาหารเชาจะมีคาประมาณ 70-115 มิลลิกรัม/เดซิลิตร เมื่อรับประทานอาหาร อาหารจะถูกยอยสลายเปนน้ำตาลกลูโคสและถูกดูดซึมเขาสูกระแสเลือด ทําใหระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นแตจะไมเกิน 140 มิลลิกรัม/เดซิลิตรหลังรับประทานอาหาร
เชาแลว 2 ชั่วโมงแตหากตรวจพบระดับน้ำตาลที่สูงเกิน 140 มิลลิกรัม/เดซิลิตรอยางนอย 2 ครั้งขึ้นไป
ก็จะถืออวาผูนั้นเปน “เบาหวาน”
ตรวจระดับน้ำตาลในปัสสาวะ
กรณีที่ตรวจวดระดับน้ำตาลในปสสาวะและพบวามีน้ำตาลปนออกด้วยนั้น ยอยแสดงวาผูนั้นป่วย
เป็นโรคเบาหวาน โดยดูประกอบกับการมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกวา 180-200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร เหตุที่
เปนเชนนี้เนื่องจากไตของคนเรามีความสามารถกรองน้ำตาลไดประมาณ180-200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ฉะนั้นหากรางกายมีน้ำตาลในเลือดสูงกวาระดับนี้ไตก็จะไมสามารถกรองน้ำตาลเอาไวไดน้ำตาลสวนที่เกนออกมาเหล่านั้นก็จะถูกกขับออกมากับปสสาวะ ซึ่งตรวจพบไดโดยการทดสอบทางแล็บ
ตรวจระดับไขมันในเลือด
การตรวจเลือดนั้นนอกจากวดระดับน้ำตาลในเลือดแลวยงต้องตรวจวัดระดับของโคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรดวามีปริมาณสูงเกินไปหรือไมรวมด้วย
ตรวจหาฮีโมโกบิลเอวันซี (Hb A1 C)
คือการตรวจจํานวนน้ำตาลที่จับอยูกับฮีโมโกบินซึ่งเปนสารโปรตีนชนิดหนึ่งในเม็ดเลือดแดงมีหน้าที่นําออกซิเจนเขาสูเซลล การตรวจด้วยวิธีนี้จะใช้หลงการรักษาแลวเพื่อตรวจผลของการควบคุมโรคมาก
กวาตรวจเพื่อหาโรคการตรวจโรคเบาหวานดวยกรรมวิธีตางๆ เหลานี้หากไดผลชัดเจนแลววาผูรับการตรวจป่วยเปนเบาหวาน ผูปวยจะไดรับคําแนะนําใหมาตรวจวัดน้ำตาลในเลือดและตรวจปัสสาวะเป็นประจํา สําหรับเบาหวานชนิดที่ 1 และ 2 ที่ตองพึ่งอินซูลิน
โรคความดันโลหิตสูง
องค์การอนามัยโลกและสมาคมความดันโลหิตสูงนานาชาติ (World HealthOrganization [WHO]/ International Society of Hypertension [ISH]) ได้ให้ความหมาย ความดันโลหิตสูงว่า หมายถึง ค่าความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว (systolic blood pressure) มีค่าเท่ากับหรือมากกว่า 140 มิลลิเมตรปรอท และ/หรือ ความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัว (diastolic bloodpressure) มีค่าเท่ากับหรือมากกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท และองค์การอนามัยโลก (WHO, 2004) ได้แบ่งระดับความรุนแรงของความดันโลหิตสูง ดังนี้
- ความดันโลหิตสูงระดับเล็กน้อย (mild hypertension) ระดับความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว มีค่าระหว่าง 140 – 159 มิลลิเมตรปรอท และระดับความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัวมีค่าระหว่าง 90 – 99 มิลลิเมตรปรอท
- ความดันโลหิตสูงระดับปานกลาง (moderate hypertension) ระดับความดันขณะโลหิตขณะหัวใจบีบตัว มีค่า ระหว่าง 160-179 มิลลิเมตรปรอท และระดับความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัว มีค่าระหว่าง 100-109 มิลลิเมตรปรอท
- ความดันโลหิตสูงระดับรุนแรง (severe hypertension) ระดับความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว มีค่า มากกว่าหรือเท่ากับ 180 มิลลิเมตรปรอท และระดับความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัว มีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 110 มิลลิเมตรปรอท
สมาคมความดันโลหิตสูงทวีปยุโรปและสมาคมโรคหัวใจทวีปยุโรป (EuropeanSociety of Hypertension [ESH]/European Society of Cardiology [ESC]) ได้ให้ความหมายของความดันโลหิตสูงว่า หมายถึง ค่าความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว มีค่าเท่ากับหรือมากกว่า130 มิลลิเมตรปรอท และ/หรือ ความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัว มีค่าเท่ากับหรือมากกว่า85 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งเกณฑ์ในการระบุความดันโลหิตสูงจะแตกต่างจากองค์การอนามัยโลก(WHO, 2004) ที่ใช้ 140/90 มิลลิเมตรปรอท และได้กำหนดระดับของค่าความดันโลหิตแบ่งเป็นกลุ่มย่อยมากกว่าองค์การอนามัยโลก ดังนี้ (ESH/ESC, 2007)
- ความดันโลหิตเหมาะสม (optimal blood pressure) คือ ระดับความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว มีค่าน้อยกว่า 120 มิลลิเมตรปรอท และระดับความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัวมีค่าน้อยกว่า 80 มิลลิเมตรปรอท
- ความดันโลหิตปกติ (normal blood pressure) คือ ระดับความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว มีค่าระหว่าง 120-129 มิลลิเมตรปรอท และ/หรือ ระดับความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัว มีค่าระหว่าง 80-85 มิลลิเมตรปรอท
- ความดันโลหิตสูงกว่าปกติ (high normal blood pressure) คือ ระดับความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว มีค่าระหว่าง 130-139 มิลลิเมตรปรอท และ/หรือ ระดับความดันโลหิต ขณะหัวใจคลายตัว มีค่า ระหว่าง 85-90 มิลลิเมตรปรอท
- ความดันโลหิตสูงเกรด 1 (grade 1 hypertension) ระดับความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว มีค่าระหว่าง 140-159 มิลลิเมตรปรอท และระดับความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัว มีค่าระหว่าง90 – 99 มิลลิเมตรปรอท
- ความดันโลหิตสูงเกรด 2 (grade 2 hypertension) ระดับความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว มีค่าระหว่าง 160 – 179 มิลลิเมตรปรอท และ/ หรือระดับความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัวมีค่าระหว่าง 100 – 109 มิลลิเมตรปรอท
- ความดันโลหิตสูงเกรด 3 (grade 3 hypertension) ระดับความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว มีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 180 มิลลิเมตรปรอท และ/หรือ ระดับความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัวมีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 110 มิลลิเมตรปรอท
นอกจากนี้ในการประชุมครั้งที่ 7 ของคณะกรรมการร่วมแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา (Joint National Committee [JNC VII]) ให้ความหมายของหมายความดันโลหิตสูงว่า หมายถึง ค่าความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว มีค่าเท่ากับ หรือมากกว่า 140 มิลลิเมตรปรอทและ/หรือ ความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัว มีค่าเท่ากับหรือมากกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท โดยวัดอย่างน้อยสามครั้ง ในขณะพักและห่างกันอย่างน้อย 20 นาที จึงจะตัดสินว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง เกณฑ์การแบ่งของคณะกรรมการร่วมแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา (JNC VII) คล้ายกับการเกณฑ์การแบ่งขององค์การอนามัยโลก แต่การแบ่งมีรายละเอียดต่างกัน ดังนี้ (NIH, 2004)
- ระดับความดันโลหิตปกติ (normal blood pressure) คือ ระดับความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว น้อยกว่า 120 มิลลิเมตรปรอท และระดับความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัวน้อยกว่า 80มิลลิเมตรปรอท
- ระดับความดันโลหิตสูงกว่าปกติ (prehypertension) คือ ระดับความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว มีค่าระหว่าง 120-139 มิลลิเมตรปรอท หรือระดับความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัวมีค่าระหว่าง 80 – 89 มิลลิเมตรปรอท
- ภาวะความดันโลหิตสูงระยะ 1 (stage 1 hypertension) คือ ระดับความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว มีค่าระหว่าง 140-159 มิลลิเมตรปรอท หรือระดับความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัวมีค่าระหว่าง 90 – 99 มิลลิเมตรปรอท
- ภาวะความดันโลหิตสูงระยะ 2 (stage 2 hypertension) คือ ระดับความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว มีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 160 มิลลิเมตรปรอท หรือระดับความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัว มีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 100 มิลลิเมตรปรอท
จะเห็นได้ว่า การให้ความหมายของความดันโลหิตสูงนั้นแตกต่างกัน โดยการให้ความหมายขององค์การอนามัยโลก (WHO, 2004) และคณะกรรมการร่วมแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา (JNC VII) ใช้เกณฑ์ระดับความดันโลหิต 140/90 มิลลิเมตรปรอท แต่สมาคมความดันโลหิตสูงทวีปยุโรป และสมาคมโรคหัวใจทวีปยุโรป (ESH/ESC, 2007) ใช้เกณฑ์ระดับความดันโลหิต 130/85 มิลลิเมตรปรอท รายละเอียดในการแบ่งระดับความดันโลหิตของทั้งสามสถาบันแตกต่างกัน สำหรับประเทศไทย สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย ได้จัดทำแนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป ปี พ.ศ. 2552 โดยยึดหลักการจำแนกระดับความดันโลหิตสูงตามแนวทางของคณะกรรมการร่วมแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา (JNC VII) ในการศึกษาครั้งนี้จึงยึดหลักการจำ แนกระดับความดันโลหิตสูงในแนวทางที่อธิบายโดยคณะกรรมการร่วมแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา (JNC VII) โดยความดันโลหิตสูง หมายถึง ค่าความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว มีค่าเท่ากับหรือมากกว่า 140 มิลลิเมตรปรอท และ/หรือ ความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัว มีค่าเท่ากับหรือมากกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท (National Institutes of Health, 2004)
อาการโรคความดันโลหิตสูง
โรคความดันโลหิตสูงเป็นภัยเงียบ (silent killer) ที่คุกคามภาวะสุขภาพของมนุษย์เนื่องจากโรคนี้อาจไม่มีอาการหรือมีเพียงเล็กน้อย ประมาณการว่า ร้อยละ 50 ของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงไม่ทราบเลยว่าตนเองมีภาวะความดันโลหิตสูง จนกระทั่งเกิดภาวะแทรกซ้อนมีการทำลายอวัยวะต่างๆ ของร่างกายแล้ว จึงปรากฏอาการแสดงที่เป็นอันตรายคุกคามสุขภาพ (Kaplan, 2002)
โรคความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่จะไม่มีอาการแต่อย่างใด ผู้ป่วยส่วนน้อยอาจมีอาการปวดมึนท้ายทอยตึงที่ต้นคอวิงเวียนศีรษะ มักจะมีอาการในช่วงตื่นนอนใหม่ๆ และอาการดังกล่าวจะทุเลาลงในช่วงตอนสาย บางรายอาจมีอาการปวดศีรษะตุบๆ แบบไมเกรนได้ (สุรเกียรติ อาชานุภาพ, 2544a) ในรายที่มีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงจะมีระดับความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัวสูงมาก โดยทั่วไปพบว่าสูงเกิน 140 มิลลิเมตรปรอท ร่วมกับมีการเสื่อมของอวัยวะและอาการที่พบบ่อย คือ อาการทางระบบประสาท คือ มีอาการปวดศีรษะ มึนงง ระดับการรับความรู้สึกเปลี่ยนไปซึม ตาพร่ามัว การมองเห็นผิดปกติหรือมีอาการชัก อาการเฉพาะที่ เช่น อาการผิดปกติของเส้นประสาทสมอง (cranial nerve palsy) การรับความรู้สึกและการเคลื่อนไหวผิดปกติ บางรายมีอาการอ่อนแรงของร่างกายบางส่วน เจ็บหน้าอก มีการเต้นของหัวใจผิดจังหวะ เนื่องจากผู้ป่วยมีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจโต ทำให้ต้องการออกซิเจนเพิ่มขึ้นและอาจเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดอาการของระบบไต พบการเสื่อมการทำหน้าที่ของไต ไตล้มเหลวเฉียบพลัน ปัสสาวะออกน้อยลง
อาจมีปัสสาวะปนเลือด (พิกุล บุญช่วง, 2541; Kaplan, 2002)
จะเห็นได้ว่าโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้สามารถก่อให้ภาวะแทรกซ้อนที่ตามมาได้หลายระบบ การที่จะป้องกันภาวะแทรกซ้อนจำเป็นต้องมีการควบคุมและการรักษาโรคความดันโลหิตสูง
การรักษาและการควบคุมภาวะแทรกซ้อนโรคความดันโลหิตสูง
การควบคุมและการรักษาโรคความดันโลหิตสูง เพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆสามารถทำได้ 2 วิธี คือ การให้ยาลดความดันโลหิตสูงและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ดังนี้ (สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย, 2551; NIH, 2004)
1. การรักษาด้วยยาลดความดันโลหิต ตามแนวปฏิบัติในการประชุมครั้งที่ 7 ของคณะกรรมการร่วมแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา (Joint National Committee) กล่าวถึงกลุ่มยาหลักที่สามารถลดความดันโลหิต และลดภาวะแทรกซ้อนได้ดีไว้ 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มยาขับปัสสาวะ(diuretics) กลุ่มยาต้านแคลเซียม (calcium channel blockers [CCBs]) กลุ่มยาต้านการทำงานของเอนไซม์แองจีโอเทนซินคอนเวอร์ติง (angiotensin converting enzyme inhibitors [ACEIs]) กลุ่มยายับยั้งการทำงานของแองจีโอเทนซินรีเซบเตอร์ (angiotensin receptor blockers [ARBs]) และกลุ่มยายับยั้งที่ตัวรับเบตา – อะเดรเนอร์จิก หรือเบตา – บลอกเกอร์ (beta-blockers [BBs]) ยาแต่กลุ่มมีการออกฤทธิ์ ดังนี้ (NIH, 2004)
1.1 กลุ่มยาขับปัสสาวะ (diuretics) เป็นกลุ่มยารักษาโรคความดันโลหิตที่มีประโยชน์และใช้มากที่สุด เพราะมีราคาถูก มีประสิทธิภาพทั้งใช้เดี่ยวและใช้ร่วมกับยาอื่น โดยยาในกลุ่มนี้ที่นิยมใช้ คือ ไทอะไซค์ (thiazides) และอนุพันธุ์ที่ใกล้เคียง(ลูปไดยูรีติก [loop diuretics]เป็นกลุ่มยาขับปัสสาวะที่ออกฤทธิ์ที่หน่วยไตส่วนที่เรียกว่า เฮนเลย์ ลูป [Henle’s loop] และโปตัสเซียม สปาริง ไดยูรีติก [potassium-sparing diuretics] เป็นกลุ่มขับปัสสาวะที่ออกฤทธิ์ที่หน่วยไตส่วน คอเลคติงทูบูล [Collecting tubules]) ยาไทอะไซค์ จะเพิ่มการผลิตน้ำปัสสาวะ ยับยั้งการดูดซึมโซเดียมและคลอไรด์กลับเข้าเซลล์ท่อไตและกระแสโลหิต ทำให้เกลือและน้ำถูกขับออกจากร่างกาย อาการไม่พึงประสงค์ของการใช้กลุ่มยาขับปัสสาวะ คือ การใช้ยาไทอะไซค์ ขนาดสูงกว่า25 มิลลิกรัม พบว่า อัตราตายจากโรคหัวใจและหลอดเลือดสูงขึ้น และจะทำให้มีอาการข้างเคียงเพิ่มขึ้นและรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาการข้างเคียงต่อระบบเมตาบอลิซึม (metabolic sideeffect) ได้แก่ ไขมันในเลือดสูง โปตัสเซียมในเลือดต่ำ (hypokalemia) เกิดโรคเก๊าท์จากกรดยูริกในเลือดสูง (hyperuricemia) และระดับน้ำตาลในเลือดสูง อาการข้างเคียงอื่นๆ เมื่อใช้ยาไทอะไซค์ได้แก่ ปากแห้ง กระหายน้ำ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ ใจสั่นและมีผื่นแดง กล้ามเนื้อเป็นตะคริว และเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ยากลุ่มลูปไดยูรีติก (loop diuretics) ทำให้เกิดอาการข้างเคียงเกี่ยวกับระบบเมตาบอลิซึมคล้ายคลึงกับยาไทอะไซค์ ยกเว้นผลต่อการขับแคลเซียมจะตรงข้ามกัน(ไทอะไซค์ ลดการขับแคลเซียม) และระวังพิษต่อหู การใช้ยาขับปัสสาวะ 2 กลุ่มนี้ร่วมกับยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) จะมีปฏิกิริยาระหว่างยา (drug interaction) ทำให้ยาขับปัสสาวะไม่มีฤทธิ์ลดความดันโลหิต ยาขับปัสสาวะที่สงวนโปตัสเซียม ห้ามใช้ในผู้ที่ไตบกพร่อง (คณาจารย์ภาควิชาเภสัชวิทยา, 2545; พิสิฐ วงค์วัฒนะ, 2547; harles, 2005; NIH,2004)กลุ่มยาต้านแคลเซียม (CCBs) ยากลุ่มนี้มีผลยับยั้งการนำแคลเซียมเข้าสู่เซลล์ จึงยับยั้งการหดตัวของเซลล์กล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือด มีผลให้หลอดเลือดขยายตัว ทำให้ความต้านทานของหลอดเลือดลดลง หัวใจเต้นช้าลง ระดับความดันโลหิตจึงลดลง อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยากลุ่มนี้ คือ อาการมึนงง ความดันโลหิตต่ำ ปวดศีรษะ ร้อนวูบวาบ การรับสัมผัสของนิ้วมือผิดปกติ และคลื่นไส้ บวมตามอวัยวะส่วนปลาย อาการข้างเคียงที่พบไม่บ่อย ได้แก่ มีผื่นแดงง่วงนอน (คณาจารย์ภาควิชาเภสัชวิทยา, 2545; พิสิฐ วงค์วัฒนะ, 2547; Charles, 2005)
1.2 กลุ่มยาต้านการทำงานของเอนไซม์แองจีโอเทนซินคอนเวอร์ติง (ACEIs)ยากลุ่มนี้มีฤทธิ์ในการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์แองจีโอเทนซินคอนเวอร์ติง (AngiotensinConverting Enzyme [ACE]) โดยทำให้การสร้าง แองจิโอเทนซินทู (angiotensin II) ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงมากถูกยับยั้ง ความดันโลหิตจึงลดลงเนื่องจากแรงต้านทานหลอดเลือดส่วนปลายลดลง จึงส่งผลทำให้ความดันโลหิตลดลง การลดลงของแรงต้านทานหลอดเลือดส่วนปลายนี้ไม่มีผลปริมาตรเลือดที่ออกจากหัวใจ และอัตราการเต้นของหัวใจ นอกจากนั้นเนื่องจาก ACE เป็นเอ็นไซม์ตัวเดียวกันกับที่ใช้ในการทำลาย แบรดดีไคนิน (bradykinin) ดังนั้นยาในกลุ่ม ACEIs จึงมีผลลดการทำลาย แบรดดีไคนิน (bradykinin) อีกด้วยซึ่งผลดังกล่าวจะเสริมฤทธิ์ในการลดความดันโลหิตมากยิ่งขึ้น เพราะแบรดดีไคนิน (bradykinin) เป็นสารเคมีที่มีฤทธิ์แรงในการทำให้หลอดเลือดขยายตัว และ แบรดดีไคนิน (bradykinin) ยังมีผลกระตุ้นที่เบต้า-อะเดรเนอร์จิก รีเซบเตอร์ (β2-adrenergic receptor ) บริเวณผนังหลอดเลือด (endothelium) ทำให้เพิ่มการสร้างไนตริกออกไซด์ (nitric oxide) และโพรสตาไซคลิน (prostacyclin [PGI2]) ซึ่งสารทั้งสองมีฤทธิ์ทำให้หลอดเลือดขยายตัว และยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกร็ดเลือด ยิ่งไปกว่านั้นการยับยั้ง ACEยังมีผลลดการทำลายของ โพรสตาแกรนดิน (prostaglandin E2 [PGE2]) ที่มีฤทธิ์ในการขยายตัวของหลอดเลือดเช่นเดียวกัน ดังนั้นการที่ยาในกลุ่ม ACEIs สามารถยับยั้งการสร้างแองจิโอเทนซินทู(Angiotensin II) ลดการทำลาย แบรดดีไคนิน (bradykinin) และเพิ่มปริมาณของ โพรสตาแกรนดิน(PGE2) โพรสตาไซคลิน (PGI2) และไนตริกออกไซด์ (nitric oxide) จึงส่งผลทำให้เกิดการขยายตัวของหลอดเลือดและลดการหลั่งอัลโดเทอโรน (aldosterone) ซึ่งผลโดยรวมคือทำให้ความดันโลหิตลดลงอาการ ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยากลุ่มนี้ คือ อาการไอแห้ง (dry cough) พบบ่อยที่สุดโดยเฉพาะในคนไทย พบได้ถึง ร้อยละ 20 เกิดจากแบรดดีไคนิน (bradykinin) สะสมมากขึ้นเป็นอาการไม่พึงประสงค์ที่พบน้อยแต่รุนแรงถึงชีวิตได้ คือ แองจิโออีดีมา (angioedema โดยเป็นการแพ้ชนิดหนึ่ง เกิดจากการขยายตัวของหลอดเลือดภายในผิวหนัง ทำให้น้ำเหลืองซึมผ่านออกมาจากเส้นเลือดไปสะสมอยู่ในผิวหนังชั้นลึก จึงมีลักษณะเป็นผื่นบวม) (คณาจารย์ภาควิชาเภสัชวิทยา,2545; พิสิฐ วงค์วัฒนะ, 2547; Charles, 2005)
1.3 กลุ่มยายับยั้งการทำงานของแองจีโอเทนซินรีเซบเตอร์ (Angiotensin receptorblockers [ARBs]) เป็นยากลุ่มล่าสุดที่ใช้รักษาความดันโลหิตสูง ที่มีลักษณะและการออกฤทธิ์เหมือนกับ ACEIs ยกเว้นไม่มีอาการไม่พึงประสงค์ คือ ไอแห้งๆ เนื่องจากการศึกษาที่เกี่ยวกับการป้องกันหัวใจและไตในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงยังมีน้อย จึงควรเลือกยากลุ่มนี้เฉพาะในรายที่มีข้อบ่งใช้ยากลุ่ม ACEIs แต่ผู้ป่วยไม่สามารถทนต่ออาการไม่พึงประสงค์ของยา ACELs ได้ อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยากลุ่มนี้ คือ เกิดโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ ตาพร่า ปวดศีรษะ นอนไม่หลับท้องเดิน อ่อนแรง (คณาจารย์ภาควิชาเภสัชวิทยา, 2545; พิสิฐ วงค์วัฒนะ, 2547; Charles, 2005)
1.4 กลุ่มยายับยั้งที่ตัวรับเบตา-อะเดรเนอร์จิก หรือ เบตา-บลอกเกอร์ (Beta -blockers [BBs]) เป็นกลุ่มยารักษาโรคความดันโลหิตสูงที่มีประโยชน์และใช้อย่างแพร่หลายเช่นเดียวกับยาขับปัสสาวะ เพราะปลอดภัย ราคาถูก มีประสิทธิภาพทั้งใช้เพียงชนิดเดียวและใช้ร่วมกับกลุ่มอื่น แต่ยากลุ่มนี้มีประสิทธิภาพลดลงในคนเชื้อชาติผิวดำ ผลของยาจะยั้บยั้ง เบต้า-อะเดรเนอร์จิก รีเซบเตอร์ (β-adrenergic receptor) ส่งผลต่อการควบคุมระบบไหลเวียนโลหิตด้วยกลไกหลายอย่าง ได้แก่ ลดการบีบตัว และลดปริมาตรเลือดที่ออกจากหัวใจ (cardiac output [CO])ลดการหลั่งเรนนินที่ไต จึงลดระดับ แองจิโอเทนซิน II (angiotensin II) มีผลให้ความดันโลหิตลดลง อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยากลุ่มนี้ ได้แก่ 1) อาการจากการยั้บยั้งเบต้า-อะเดรเนอร์จิกรีเซบเตอร์ (β-adrenergic receptor) เช่น ผนังหลอดเลือดหดตัว ซึ่งต้องระวังในผู้ป่วยหัวใจบกพร่องผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว ผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดส่วนปลายผิดปกติ เพราะจะทำให้หัวใจต้องทำงานหนักมากขึ้น การใช้ยากลุ่มนี้จะต้องกินยาต่อเนื่อง การหยุดยาทันทีอาจเกิดภาวะถอนยา ได้แก่ กระวนกระวายตกใจง่าย (nervoursness) หัวใจเต้นเร็ว (tachcycardia) เพิ่มความรุนแรงของการเจ็บหน้าอก(angina) หรือเพิ่มความดันโลหิต 2) อาการที่ไม่เกี่ยวกับการยั้บยั้งที่ เบต้า-อะเดรเนอร์ จิกรีเซบเตอร์(β-adrenergic receptor) ได้แก่ ท้องเดิน (diarrhea) ท้องผูก (constipation) คลื่นไส้ (nausea) และอาเจียน (vomiting) (คณาจารย์ภาควิชาเภสัชวิทยา, 2545; พิสิฐ วงค์วัฒนะ, 2547; Charles, 2005)นอกจากนี้ยังมียากลุ่มอื่นๆ ที่ใช้ในการรักษาโรคความดันโลหิตสูง ได้แก่ กลุ่มยา
1.5 กลุ่มยาขยายหลอดเลือดโดยตรง (direct vasodilators) เช่น ไฮดราลาซีน(hydralazine) ซึ่งมีฤทธิ์ในการขยายหลอดเลือดแดงทำให้แรงต้านทานของหลอดเลือดลดลง ส่งผลให้แรงดันหัวใจทำงานลดลง ไฮดราลาซีนเหมาะสำหรับใช้เป็นยาเสริมการรักษาความดันโลหิตสูงโดยใช้ร่วมกับยาลดความดันโลหิตชนิดอื่นๆ เช่น ยายับยั้งที่ศูนย์เบตา-อะเดรเนอร์จิก หรือเบต้า-บล็อกเกอร์ และยาขับปัสสาวะ การให้ยาเหล่านี้ร่วมกัน ยาจะออกฤทธิ์เสริมกันทำให้ได้ผลในการลดความดันโลหิตด้วยขนาดยาต่ำ นอกจากนั้น อาการไม่พึงประสงค์ของยาแต่ละชนิดก็จะลดน้อยลง อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยานี้ คือ ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดินหัวใจเต้นเร็ว และปวดหน้าอก (คณาจารย์ภาควิชาเภสัชวิทยา, 2545; พิสิฐ วงค์วัฒนะ, 2547)
1.6 กลุ่มยายับยั้งที่ศูนย์แอลฟา – อะเดรเนอร์จิก หรือแอลฟา – บลอกเกอร์ (Alpha -adrenergic blocking agents) ยากลุ่มนี้จะจับกับ แอลฟารีเซบเตอร์ (alpha receptors) แล้วขัดขวางการออกฤทธิ์ของ ซิมพาโตมิเมติก เอมิน (sympathomimetic amines) ทำให้ระดับความดันโลหิตลดลง ยาในกลุ่มนี้ เช่น เมทิลโดพา (methyldopa) ซึ่งมักใช้ร่วมกับยาลดความดันโลหิตชนิดอื่นๆอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาในกลุ่มนี้ เช่น หัวใจเต้นเร็ว เต้นผิดจังหวะและอาจทำให้เกิดอาการปวดหัวใจ (anginal pain) อาการปวดศีรษะ อ่อนเพลีย อาการทางทางเดินระบบอาหารอาจพบปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย และอาจทำให้อาการของโรคแผลในกระเพาะอาหารเป็นรุนแรงขึ้นได้ จึงควรระวังการใช้ในคนที่มีโรคหัวใจหรือโรคกระเพาะอาหาร (คณาจารย์ภาควิชาเภสัชวิทยา, 2545; พิสิฐ วงค์วัฒนะ, 2547; Charles, 2005)
การรักษาด้วยยาจะเริ่มต้นด้วยการรักษาด้วยยาเพียงชนิดเดียว หากไม่ได้ผลอาจให้ยา 2 – 3 ชนิดร่วมกันได้ (คณาจารย์ภาควิชาเภสัชวิทยา, 545; สุรเกียรติ อาชานุภาพ, 2544a) และควรมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร่วมกับการรักษาด้วยยา (สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย,2551; ESH/ESC, 2007; NIH,2004)
2. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สามารถทำได้ในผู้ป่วยทุกราย การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจะสามารถช่วยชะลอการเป็นโรคความดันโลหิตสูง เป็นการลดปัจจัยเสี่ยงและช่วยลดความดันโลหิต ทำให้สามารถลดปริมาณการใช้ยาลดความดันโลหิต การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสามารถทำได้โดยการควบคุมน้ำหนัก การใช้อาหารเพื่อการควบคุมภาวะความดันโลหิตสูง (Dietary Approachto Stop Hypertension [DASH diet]) การออกกำลังกาย การงดหรือลดการดื่มแอลกอฮอล์ การงดสูบบุหรี่หรืองดอยู่ในสถานที่มีควันบุหรี่ การลดความเครียด และการรับประทานยาตามแพทย์สั่งและการไปตรวจตามนัดอย่างสม่ำเสมอ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้ (สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย, 2551; NIH, 2004; RNAO, 2005)
2.1 การควบคุมน้ำหนัก สามารถลดลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดได้เนื่องจากการศึกษาของ โบเกอร์ (Boger, 2007) พบว่า ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงร่วมกับมีภาวะอ้วนหรือน้ำหนักเกิน มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสูงถึง ร้อยละ 49 เทียบกับผู้มีภาวะอ้วนที่ไม่มีภาวะความดันโลหิต ซึ่งมีความเสี่ยงต่อหัวใจและโรคหลอดเลือดเพียง ร้อยละ 17การควบคุมน้ำหนักให้ดัชนีมวลกาย (Body mass index) อยู่ในช่วง 18.5-24.9 กิโลกรัม/ตารางเมตรหรือการลดน้ำหนัก โดยการลดน้ำหนักตัว 10 กิโลกรัม จะสามารถลดความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัวได้ 5 – 20 มิลลิเมตรปรอท (สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย, 2551; National Institutesof Health, 2004; RNAO, 2005) จากการศึกษาของ บลูเมนทอล และคณะ(Blumental et al, 2000)เรื่องผลของการออกกำลังกาย และ การลดน้ำหนักในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงระดับเล็กน้อย(mild hypertension) ต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบเมตาบอลิซึม และระบบการไหลเวียนโลหิต โดยทำการทดลอง 3 กลุ่ม พบว่า กลุ่มที่ควบคุมอาหารสามารถลดระดับความดันโลหิตได้ 7-5 มิลลิเมตรปรอท ขณะที่กลุ่มออกกำ ลังกายสามารถลดระดับความดันโลหิตได้4 มิลลิเมตรปรอท ส่วนในกลุ่มควบคุมไม่มีการเปลี่ยนแปลงของระดับความดันโลหิต การควบคุมน้ำหนักสามารถทำ ได้โดยการจำกัดปริมาณอาหารที่กินให้มีแคลอรีน้อยกว่า 2000 แคลอรีต่อวัน(NHLBI, 2006) หลักสำคัญ คือ การรับประทานอาหารเพื่อให้ได้ปริมาณและคุณค่าอย่างเพียงพอสารอาหารต่างๆ และพลังงานที่ได้รับควรจะสมดุลกัน (Kokkinos et al., 2000) จะเน้นการรับประทานอาหารประเภทผักผลไม้ อย่างน้อยวันละ 5 ส่วน (1 ส่วน เท่ากับ ผักดิบ 1 ถ้วยตวง หรือผักลวก ½ ถ้วยตวง ผลไม้อบแห้ง ผลไม้กระป๋อง น้ำผลไม้ หรือผลไม้ขนาดกลาง 1 ผล) ข้าวซ้อมมือหรือธัญพืชต่างๆรับประทานอย่างน้อยวันละ 6 – 8 ส่วน (1 ส่วน เท่ากับ ขนมปัง 1 แผ่น หรือข้าวหุงสุก เส้นพาสตาสุก ½ ถ้วยตวง) ดื่มนมพร่องมันเนย ไขมันและน้ำมันรับประทาน อย่างน้อย วันละ 2-3 ส่วน (1 ส่วนเท่ากับ นมหรือโยเกิร์ต 1 แก้ว หรือ ชีส 1½ ออนซ์ หรือน้ำมันพืชหรือเนยเหลว 1ช้อนชา มายองเนส 1 ช้อนโต๊ะ และน้ำสลัด 2 ช้อนโต๊ะ) ทั้งควรรับประทาน ถั่ว เมล็ดพืชแห้ง 4 – 5ส่วนต่อสัปดาห์(1 ส่วน เท่ากับ ถั่ว 1/3 ถ้วยตวง หรือเนยถั่วและเมล็ดพืชแห้ง 2 ช้อนชา) และรับประทานขนมหวานหรือน้ำตาลทรายให้น้อยกว่า 5 ส่วนต่อสัปดาห์ (1 ส่วน เท่ากับ น้ำตาลทรายเยลลี่หรือแยมผลไม้ 1ช้อนชา เจลาตินหรือเชอร์เบิต ½ ถ้วยตวง หรือ น้ำมะนาว 1 แก้ว) ที่สำคัญต้องรับประทานอาหารให้หลากหลาย เพื่อให้ได้สารอาหารครบ 5 หมู่ (Kokkinos et al., 2000)
2.2 การใช้อาหารเพื่อการควบคุมภาวะความดันโลหิตสูง (Dietary Approach to Stop Hypertension [DASH diet]) สามารถลดระดับความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว (systolic bloodpressure) ได้ 8 – 14 มิลลิเมตรปรอท โดยหลักในการรับประทาน DASH diet (Dietary Approach toStop Hypertension) ได้แก่ (สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย, 2551; NIH, 2004; RNAO,2005)
2.2.1 รับประทาน ผัก ผลไม้ที่ไม่หวานจัด เนื่องจากมีใยอาหาร (fiber) สูงใยอาหารจะรวมตัวกับน้ำดีที่ร่างกายหลั่งออกมา ช่วยในการย่อยและดูดซึมไขมัน ทำให้น้ำดีไม่มีโอกาสถูกดูดซึมกลับเข้าสู่ร่างกายได้อีก น้ำ ดีจึงถูกสร้างขึ้นใหม่ที่ตับ ส่งผลให้มีการใช้โคเลสเตอรอลในร่างกายมากขึ้น ทำให้โคเลสเตอรอลที่สะสมอยู่ในร่างกายลดน้อยลง (Bhatt et al.,2007) และจากการทำอภิมานงานวิจัย (meta-analysis) ของ เวลตัน และคณะ (Whelton et al., 2005)เรื่องผลของการรับประทานอาหารที่มีใยอาหาร จำนวน 25 วิจัยพบว่า การรับประทานอาหารที่มีใยอาหารประมาณ 14 กรัมต่อวัน สามารถลดระดับความดันขณะหัวใจบีบตัว และระดับความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัว เฉลี่ยได้ 1.15 และ 1.65 มิลลิเมตรปรอทตามลำดับ นอกจากนี้อาหารจำพวกธัญพืช ได้แก่ เม็ดเดือย งา ถั่วเมล็ดแห้ง (ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วดำ ถั่วลิสง ฯลฯ) เป็นต้น จะมีแมกนีเซียมสูง ซึ่งแมกนีเซียมมีส่วนควบคุมการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ การที่กล้ามเนื้อหดตัวจะเป็นผลจากแคลเซียมเคลื่อนเข้าภายในเซลล์กล้ามเนื้อ และแมกนีเซียมจะจับกับแคลเซียมเพื่อให้แคลเซียมสามารถไหลออกมาจากเซลล์ ส่งผลให้เกิดการคลายตัวของกล้ามเนื้อแมกนีเซียมจึงเป็นตัวยับยั้งการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือด และมีบทบาทในการขยายตัวของหลอดเลือด ซึ่งมีผลต่อระดับความดันโลหิต (Bhatt et al., 2007) ผลไม้ประเภท ส้มกล้วย องุ่น ลูกเกด จะมีโปตัสเซียมสูง ซึ่งโปตัสเซียมสามารถลดความดันโลหิต เนื่องจากโปตัสเซียมจะช่วยขับปัสสาวะ ยับยั้งการหลั่งเรนนินจากไต และช่วยลดแรงต้านทานหลอดเลือดส่วนปลาย ซึ่งจะเป็นการช่วยควบคุมระดับความดันโลหิตในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงได้ (Bhattet al., 2007; Davis & Sherer, 1996)
2.2.2 ลดการบริโภคอาหารที่มีไขมัน ได้แก่ อาหารมัน ของทอด อาหารมันอาหารใส่กะทิลดการบริโภคอาหาร อาหารประเภทที่มีไขมันอิ่มตัว เช่น ขาหมู หมูสามชั้น ไข่แดงควรรับประทานอาหารที่มีไขมันชนิดไม่อิ่มตัว เช่น ประกอบอาหารด้วยน้ำมันพืช เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันมะกอก น้ำมันเมล็ดดอกทานตะวัน เป็นต้น (Bhatt et al., 2007) รับประทานเนื้อปลาแทนเนื้อสัตว์เนื่องจากการศึกษาของ แอปเปิลบาย และคณะ (Appleby et al., 2002) ซึ่งศึกษาภาวะความดันโลหิตสูงและระดับความดันโลหิตในกลุ่มผู้บริโภคเนื้อสัตว์ กลุ่มผู้บริโภคเนื้อปลา กลุ่มเจและกลุ่มมังสวิรัติ พบว่ากลุ่มผู้บริโภคเนื้อปลามีระดับความดันโลหิตต่ำกว่ากลุ่มผู้บริโภคเนื้อสัตว์
2.2.3 การจำกัดเกลือโซเดียมในอาหาร ลดอาหารเค็มและอาหารที่มีเกลือโซเดียมสูง หลีกเลี่ยงอาหารประเภทดองเค็ม ซอส น้ำปลา ผงชูรส ลดการรับประทานเกลือโซเดียมให้น้อยกว่า 100 มิลลิโมลต่อวัน (2.4 กรัมโซเดียม หรือ 6 กรัมของโซเดียมคลอไรด์ หรือประมาณ1ช้อนชา) สามารถลดความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว (systolic blood pressure)ได้ 2 – 8 มิลลิเมตรปรอท (สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย, 2551; RNAO, 2005; NIH, 2004) เนื่องจากโซเดียมจะทำให้มีการคั่งของน้ำในร่างกายเพิ่มขึ้น ทำให้ปริมาณเลือดมากขึ้น หัวใจต้องทำงานหนักส่งผลให้ระดับความดันโลหิตสูงขึ้น และยังทำให้แรงตึงตัวของผนังหลอดเลือดแดงสูงขึ้น ทำให้ระดับความดันไดแอสโตลิคสูงขึ้น ฉะนั้นการลดหรือจำกัดโซเดียมจะมีผลทำให้ระดับความดันโลหิตลดลง ทำให้มีการคั่งของปริมาณน้ำนอกเซลล์และปริมาณเลือดลดลง ซึ่งจะช่วยลดการทำงานของหัวใจ (Bhatt et al., 2007) ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ แซ็กซ์ และคณะ (Sacks et al., 2001)ที่พบว่าการจำกัดโซเดียมที่รับประทานไม่ให้เกินวันละ 50 มิลลิโมลต่อวัน (1.2 กรัมโซเดียม หรือ 3กรัมของโซเดียมคลอไรด์ หรือประมาณ ½ ช้อนชา) ร่วมกับการใช้ DASH diet (อาหารพวกผักผลไม้ ถั่วเนื้อปลา และลดอาหารที่มีไขมันสูง)ในผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงและในผู้ที่ไม่มีภาวะความดันโลหิตสูง สามารถลดความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัวได้ 11.5 และ 7.1 มิลลิเมตรปรอท ตามลำดับ
2.3 การออกกำลังกาย ควรทำควบคู่กับการควบคุมน้ำหนัก ชนิดของการออกกำลังกายที่เหมาะสมต่อผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง คือ การออกกำลังกายแบบ ไอโซโทนิค (isotonicexercise) ซึ่งเป็นการออกกำลังที่มีการหดตัวของกล้ามเนื้อ ชนิดที่ความยาวของกล้ามเนื้อมีการเปลี่ยนแปลง และอวัยวะมีการเคลื่อนไหว หรือการออกกำลังกายแบบแอโรบิก โดยทำอย่างสม่ำเสมอ ความหนักของการออกกำลังกายอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 60 – 70 ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด) (NIH, 2004; RNAO, 2005) เนื่องจากการศึกษาของ บลูเมนทอล และคณะ พบว่าความหนักของการออกกำลังกายระดับสูงสุด ไม่มีประสิทธิภาพในการลดความดันโลหิต(Blumental et al., 2000; RNAO, 2005) การออกกำลังกายที่เหมาะสมต่อการลดระดับความดันโลหิต คือ การออกกำลังกายที่เน้นการเคลื่อนไหวของร่างกายท่อนล่าง เช่น การเดินเร็ว การปั่นจักรยาน การวิ่ง เป็นต้น การออกกำลังกายประเภทดังกล่าว อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน 3 ครั้งต่อสัปดาห์ สามารถลดความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัวได้ 4 – 9 มิลลิเมตรปรอท (สมาคมความดัน
โลหิตสูงแห่งประเทศไทย, 2551; NIH, 2004; RNAO, 2005) ถ้าไม่มีเวลาออกกำลังกายควรเดินให้ได้วันละ 10,000 ก้าว (กรมอนามัย, 2550) สิ่งที่ควรระวังในการออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง คือ ไม่ควรออกกำลังกายแบบไอโซเมตริก (isometric exercise) คือ การออกกำลังกายชนิดนี้มีการหดตัวของกล้ามเนื้อ ชนิดที่ความยาวของกล้ามเนื้อคงที่ แต่มีการเกร็งหรือตึงตัว(tension) ของกล้ามเนื้อเพื่อต้านกับแรงต้านทาน ดังนั้น เมื่อมีการออกกำลังกายชนิดนี้ อวัยวะต่างๆจึงไม่มีการเคลื่อนไหวแต่มีการเกร็งของกล้ามเนื้อในลักษณะออกแรงเต็มที่ในระยะสั้นๆ เช่น ออกแรงดันผนังกำแพง ออกแรงบีบวัตถุหรือกำหมัดไว้แน่น การทำหกกบหรือท่าออกกำลังกายอื่นๆ ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน คือ เอามือดันพื้นแล้วออกแรงกดดันลง เป็นต้น ซึ่งเป็นการออกกำลังกายที่ไม่เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เพราะมีผลทำให้หลอดเลือดหดตัว เพิ่มการทำงานของหัวใจอย่างรวดเร็ว ทำให้ระดับความดันโลหิตสูงขึ้น (Roy, 2009)
2.4 การงดหรือลดการดื่มแอลกอฮอล์ จำกัดการดื่มแอลกอฮอล์ไม่เกิน 2 แก้ว/วันในผู้ชาย (เอทานอล 30 กรัม/วัน เช่น เบียร์ 720 มิลลิลิตร ไวน์ 300 มิลลิลิตร วิสกี้ที่ยังไม่ผสม 90มิลลิลิตร) และไม่เกิน 1 แก้ว/วันในผู้หญิง และผู้มีน้ำหนักน้อย สามารถลดความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว (systolic blood pressure) 2 – 4 มิลลิเมตรปรอท (สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย, 2551; NIH, 2004; RNAO, 2005) จากการศึกษาของ ซิน และคณะ (Xin et al., 2001) พบว่าการลดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์จะสามารถลดความดันโลหิตลงได้ 3.56 มิลลิเมตรปรอท และการศึกษาของ บีลีน และคณะ (Belin et al., 1996) พบว่า การดื่มเครื่องดื่มที่แอลกอฮอล์เกินปริมาณ1 ออนซ์ต่อวัน สามารถป้องกันการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมองได้เนื่องจากแอลกอฮอล์จะมีผลทำให้หลอดเลือดขยายตัว การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น แต่หากดื่มเกินปริมาณที่กำหนดจะมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตมากขึ้น นอกจากนี้การศึกษาของ สแตรงค์ และคณะ(Stranges et al., 2004) พบว่า ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์โดยไม่รับประทานอาหารมีความเสี่ยงทำให้ระดับความดันโลหิตสูงขึ้น อีกทั้งผู้ที่มีภาวะอ้วนและรับประทานยาคุมกำเนิดจะทำให้หลอดเลือดขยายมากขึ้น และทำให้ระดับความดันโลหิตสูงขึ้นด้วย
2.5 การงดสูบบุหรี่หรืองดการอยู่ในสถานที่มีควันบุหรี่ เนื่องจากสารนิโคตินในบุหรี่ ทำให้มีการหลั่งสารเคทีโครามีนมากขึ้น ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น ส่งผลต่อระดับความดันโลหิตนอกจากนี้ในผู้ป่วยที่สูบบุหรี่ร่างกายจะต้านการรักษาด้วยยาโดยทำให้การดูดซึมยาไม่ดี ส่งผลให้การรักษาไม่มีประสิทธิภาพ (Kaplan, 2002) ผู้ที่งดสูบบุหรี่ได้เป็นเวลา 1 ปี จะสามารถลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองได้ ร้อยละ 50 และเมื่องดสูบบุหรี่ได้เป็นเวลามากกว่า 10 ปีขึ้นไปจะมีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองเท่ากับผู้ที่ไม่เคยสูบบุหรี่ (สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย, 2551; NIH, 2004; RNAO, 2005)
2.6 การจัดการความเครียด แม้ว่าภาวะเครียดจะไม่ใช่สาเหตุโดยตรงที่ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง แต่เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการทำให้ระดับความดันโลหิตสูงขึ้น เนื่องจากมีผลต่อการหลั่งฮอร์โมนที่มีผลต่อการหดตัวของหลอดเลือดมีผลทำให้ระดับความดันโลหิตสูงขึ้น ดังนั้นจึงควรส่งเสริมให้ผู้ที่มีโรความดันโลหิตสูงสามารถจัดการเกี่ยวกับความเครียดที่เกิดขึ้น ด้วยการทำกิจกรรมที่ลดวามเครียด การพักผ่อนให้เพียงพอ การจัดการด้านอารมณ์อย่างเหมาะสม จึงจะทำให้การรักษามีประสิทธิภาพ (สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย, 2551; NIH, 2004; RNAO, 2005)
2.7 การรับประทานยาตามแพทย์สั่งและการไปตรวจตามนัดอย่างสม่ำเสมอ เป็นสิ่งที่จำเป็น ทำให้การรักษามีประสิทธิภาพสูงสุด และผู้ป่วยมีระดับความดันโลหิตตามเป้าหมายที่วางไว้ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจำเป็นต้องได้รับการนัดติดตามระดับความดันโลหิต เพื่อรับทราบผลการรักษา ทั้งการรักษาด้วยยาและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่กระทำควบคู่ไปด้วย การไปตรวจตามนัดอย่างสม่ำเสมอ ยังเป็นการแสดงถึงความตั้งใจ ความสนใจ การรับรู้ในสุขภาพของผู้ป่วย(NIH, 2004; RNAO, 2005)
จะเห็นได้ว่าการรักษาโรคความดันโลหิตสูงนั้น เป้าหมายของการรักษา คือ การลดความดันโลหิตให้อยู่ในระดับที่ไม่ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ คือ ระดับความดันโลหิตที่ต่ำกว่า140/90 มิลลิเมตรปรอท สำหรับผู้ป่วยอายุน้อย ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ผู้ป่วยหลังกล้ามเนื้อหัวใจตาย และผู้ป่วยหลังเป็นอัมพฤกษ์/อัมพาตให้ระดับความดันโลหิตต่ำกว่า 130/90มิลลิเมตรปรอท (สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย, 2551; NIH, 2004) เมคเค และเมนซาท์(Mackay & Mensah, 2004) รายงานว่าการที่ไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตที่สูงได้ จะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองขึ้น 2 เท่าต่อการเพิ่มขึ้นทุก 20 มิลลิเมตรปรอทของค่าความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว หรือทุก 10 มิลลิเมตรปรอทของค่าความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัว ฟรายเดย์และคณะ (Friday et al., 2002) ได้ทำการศึกษาติดตามผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลด้วยอาการของโรคหลอดเลือดสมอง ในรัฐเพ็นซิลวาเนีย (Pennsylvania) ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นระยะเวลา 4 ปี พบว่าการควบคุมระดับความดันโลหิต โดยควบคุมระดับความดันขณะหัวใจคลายตัวให้ต่ำกว่า 80 มิลลิเมตรปรอท นอกจากจะช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองยังช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดซ้ำได้ ร้อยละ 50 สอดคล้องกับการศึกษาของ โรเจอร์ และคณะ (Rodgers etal., 1996) ที่ศึกษาผู้ป่วยที่มีประวัติสมองขาดเลือดมาเลี้ยงชั่วคราว (Transient Ischemic Attack[TIA] และอาการอัมพาตเล็กน้อยในประเทศนิวซีแลนด์พบว่า การลดความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัวโดยเฉลี่ย 10 มิลลิเมตรปรอท จะช่วยลดการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ร้อยละ 34 และการลดระดับความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัวโดยเฉลี่ย 5 มิลลิเมตรปรอท จะทำให้ความเสี่ยงลดลง ร้อยละ 28 จะเห็นได้ว่าการที่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้นั้นจะช่วยลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้โดยเฉพาะภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญของโรคความดันโลหิตสูง คือ โรคหลอดเลือดสมอง
โรคหลอดเลือดสมอง
โรคหลอดเลือดสมอง (Cerebrovascular disease [CVD] หรือ Stroke) เป็นโรคทางระบบประสาทที่กำลังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญทั่วโลก ซึ่งต้องให้การควบคุมและป้องกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดอัตราการตายและการทุกข์ทรมานจากความพิการจากโรคนี้
องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ให้ความหมายของโรคหลอดเลือดสมองว่า เป็นภาวะรบกวนหน้าที่การทำงานของสมอง ซึ่งเป็นแบบบางส่วนหรือทั้งสมอง ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและมีอาการคงอยู่มากกว่า 24 ชั่วโมง จนกระทั่งเป็นสาเหตุไปสู่การเสียชีวิตได้ โดยสาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดที่มาเลี้ยงสมอง (Markus, 2003)
สถาบันโรคทางระบบประสาทและโรคหลอดเลือดสมองแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา (National Institute of Neurological Disorder and Stroke [NINDS]) ได้ให้คำจำกัดความโรคหลอดเลือดสมอง (cerebrovascular disease) ว่าเป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นเมื่อสมองขาดเลือดมาเลี้ยงหรือมีเลือดออกในสมอง อาจเกิดจากพยาธิสภาพที่หลอดเลือดเส้นเดียวหรือมากกว่า
โดยความผิดปกติที่เกิดขึ้นอาจเป็นเพียงชั่วคราวหรืออย่างถาวรก็ได้ (NINDS, 2009a)
จะเห็นได้ว่า คำจำกัดความขององค์การอนามัยโลกไม่ได้ครอบคลุมภาวะสมองขาดเลือดมาเลี้ยงชั่วคราว (TIA) ซึ่งอาการและอาการแสดงเกิดขึ้นและหายไปใน 24 ชั่วโมง (ปิยะภัทรพัชราวิวัฒน์พงษ์, 2548
ประเภทของโรคหลอดเลือดสมอง
โรคหลอดเลือดสมองสามารถแบ่งตามลักษณะอาการทางคลินิกได้ดังนี้ คือ 1) สมองขาดเลือดมาเลี้ยงชั่วคราว (TIA) 2) สมองขาดเลือดชั่วคราวที่มีความบกพร่องทางระบบประสาทนานเกิน 24 ชั่วโมงแต่สามารถกลับคืนสู่ภาวะปกติได้ (reversible ischemic neurologic eficit[RIND]) 3) โรคหลอดเลือดสมองที่มีอาการคงที่แล้ว (complete Stroke) และ 4) โรคหลอดเลือดสมองที่มีการดำเนินของโรคเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ หรือมีอาการเปลี่ยนแปลง (Stroke in evolution;Progressive Stroke) โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
- สมองขาดเลือดมาเลี้ยงชั่วคราว (TIA) เป็นภาวะที่มีความผิดปกติของระบบประสาทเฉียบพลัน เนื่องมาจากสมองขาดเลือดไปเลี้ยงชั่วขณะส่วนใหญ่เกิดขึ้นประมาณ 5 – 10 นาทีและหายเป็นปกติได้ภายใน 24 ชั่วโมง มักมีสาเหตุมาจากการมีสิ่งอุดกั้น (emboli) หลุดลอยออกไปจากหัวใจและหลอดเลือดไปอุดแขนงของหลอดเลือดสมอง หรือเกิดจากหลอดเลือดที่ตีบตัน(thrombosis) ทำให้การไหลเวียนเลือดบริเวณสมองไม่เพียงพอ และเวลาต่อมาอาจมีการไหลของเลือดผ่านหลอดเลือดที่ตีบแคบนั้นได้ (CDC, 2004) ภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวสามารถแบ่งได้เป็นสองกลุ่มอาการใหญ่ตามหลอดเลือดที่เกิดพยาธิสภาพ คือ ภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวเนื่องจากหลอดเลือดแคโรทิด (carotid TIA) และ ภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวเนื่องจากหลอดเลือดเวอทีโบรบาซิลา (vertebrobasilar TIA) โดยมีอาการและอาการแสดงดังนี้ (Markus, 2003)
1.1 ภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวเนื่องจากหลอดเลือดแคโรทิด (carotid TIA) ผู้ป่วยจะมอาการแขน ขา และหน้าอ่อนแรงหรือชา ด้านตรงข้ามกับรอยโรคของสมอง มีความผิดปกติของการพูด การใช้ภาษา หรือความเข้าใจภาษา (aphasia) (ในกรณีสมองซีกซ้าย หรือซีกเด่นเสีย) ไม่สนใจ หรือละเลยร่างกายด้านตรงข้ามกับรอยโรค (ในกรณีสมองซีกขวา หรือซีกด้อยเสีย) และมีอาการทางสายตา เช่น ตาบอดชั่วคราว (amaurosis fugax) หรือตามองไม่เห็นครึ่งซีก (homonymoushemianopsia
1.2 ภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวเนื่องจากหลอดเลือดเวอทีโบรบาซิลา(vertebrobasilar TIA) ผู้ป่วยจะมีอาการเวียนศีรษะ (vertigo) คลื่นไส้อาเจียน ตามองไม่เห็นครึ่งซีก(homonymous hemianopsia) มีความผิดปกติของการกลอกตา ตากระตุก (nystagmus) มองเห็นภาพซ้อน เดินเซ (ataxia) พูดลำบาก (dysarthria) มีอาการอ่อนแรงหรือชาของแขน ขา อาจจะเป็นซีกเดียวหรือทั้ง 2 ข้างก็ได้ นอกจากนี้อาจพบความผิดปกติของก้านสมองและสมองเล็ก
2. สมองขาดเลือดชั่วคราวที่มีความบกพร่องทางระบบประสาทนานเกิน 24 ชั่วโมงแต่สามารถกลับคืนสู่ภาวะปกติได้ (RIND) ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีอาการผิดปกติปรากฏอยู่นานประมาณ24 – 72 ชั่วโมง หรืออาจถึง 1 สัปดาห์ แล้วจะกลับมาเป็นปกติใหม่ อาการขึ้นอยู่กับพยาธิสภาพสาเหตุไม่แน่ชัด อาจเกิดจากการควบคุมการไหลเวียนโลหิตผิดปกติชั่วคราว ทำให้เนื้อสมองขาดเลือดเป็นบริเวณเล็กๆในส่วนเนื้อสมองที่อยู่ลึกลงไป ภาวะนี้มีโอกาสเกิดเนื้อสมองตายมากกว่าคนปกติถึง 6 เท่า
3. โรคหลอดเลือดสมองที่มีอาการคงที่แล้ว (complete stroke) เป็นกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นอย่างคงที่ โดยไม่แย่ไปกว่าเดิม อาการของโรคอยู่ตัวแล้ว (stable stroke) ไม่มีการบวมเพิ่มขึ้นของสมองรอบรอยโรคนั้น เป็นระยะที่พบในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองส่วนใหญ่
4. โรคหลอดเลือดสมองที่มีการดำเนินของโรคเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ หรือมีอาการเปลี่ยนแปลง (stroke in evolution; progressive Stroke) หมายถึง ความผิดปกติทางระบบประสาทที่อาการดำเนินไปเรื่อยๆ หลังจากสังเกตอาการได้ระยะหนึ่งแล้ว สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการขาดเลือด (infraction) กลไกที่เชื่อว่าเป็นไปได้มาก คือ มีการอุดตันของเส้นเลือดมากขึ้นเรื่อยๆ หรือถ้าเป็นกรณีที่หลอดเลือดแตก อาจเกิดจาการแตกซ้ำ
สาเหตุและอาการของโรคหลอดเลือดสมอง
สาเหตุการเกิดโรคหลอดเลือดสมองสามารถแบ่งตามลักษณะพยาธิสภาพได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ โรคหลอดเลือดสมองที่เกิดจากการขาดเลือด (infarction หรือ ischemic stroke) และโรคหลอดเลือดสมองที่เกิดจากเลือดออก (hemorrhagic stroke) โดยมีสาระสำคัญดังนี้ (ศิริพันธุ์ คงสวัสดิ์, 2549; สุรเกียรติ อาชานุภาพ, 2544b; Markus, 2003)
- โรคหลอดเลือดสมองที่เกิดจากการขาดเลือด (infarction หรือ ischemic stroke) เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด คือ ประมาณร้อยละ 70 – 80 ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองทั้งหมด ลักษณะพยาธิสภาพมีการอุดกั้นทางเดินของเส้นเลือด เกิดจากการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอพยาธิสภาพที่เกิดขึ้นแบ่งได้ 2 แบบ คือ หลอดเลือดสมองตีบ (thrombotic stroke) และภาวะสิ่งหลุดอุดกั้นหลอดเลือดสมอง (embolic stroke
1.1.1 หลอดเลือดสมองตีบ (thrombotic stroke) เป็นสาเหตุที่พบมากที่สุด โดยพบประมาณร้อยละ 40 – 57 ของกลุ่มโรคหลอดเลือดสมองที่เกิดจากการขาดเลือด (ischemic stroke)มักเกิดในผู้ป่วยช่วงอายุ 65 ปีขึ้นไป ตำแหน่งที่พบมักเกิดขึ้นกับหลอดเลือดใหญ่ โดยหลอดเลือดที่พบมากที่สุด คือ หลอดเลือดแดงอินเทอร์นัลคาโรติด (internal carotid artery) รองลงมา คือ หลอดเลือดแดงมิดเดิลซีรีบอล (middle cerebral artery) และระบบเลือดเวอทีโบรบาซิลา (vertebrobasilarsystem) ลักษณะพยาธิสภาพ เป็นการเกิดลิ่มเลือด (thrombus) ไปอุดตันหลอดเลือดสมอง ทำให้เกิดการขาดเลือด และการตายของเนื้อสมอง (infarction) ตามมา สาเหตุของหลอดเลือดสมองตีบเกิดจากภาวะหลอดเลือดแดงแข็งและตีบ (atherosclerosis) ซึ่งจะค่อยๆ เกิดขึ้นทีละน้อย เมื่อมีการเสื่อมของหลอดเลือดและมีการทำลายของผนังหลอดเลือดชั้น เอนโดทีเลียม (endothelium) เลือดจึงสัมผัสโดยตรงกับชั้นใต้แอนโดทีเลียม (subendothelium) ทำให้เกิดการรวมตัวของเกล็ดเลือดและกระตุ้นการทำงานของสารที่ทำให้เกิดการแข็งตัวของเลือด (coagulation factor) เป็นผลให้เกิดการแข็งตัวของลิ่มเลือดขึ้นบริเวณนั้น เมื่อลิ่มเลือดนี้ไปอุดหลอดเลือด จะทำให้เนื้อสมองบริเวณนั้นขาดเลือด และเกิดการตายของเนื้อสมอง โดยลักษณะของอาการจะเป็นไปในลักษณะค่อยเป็นค่อยไปอย่างช้าๆ ใช้เวลาเป็นชั่วโมงหรือเป็นวัน และมักมีอาการนำ ได้แก่ ปวดศีรษะ(แต่ไม่รุนแรงมาก)คลื่นไส้ สูญเสียความทรงจำ และยังพบว่าครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยกลุ่มนี้ เคยมีประวัติสมองขาดเลือดมาเลี้ยงชั่วคราว (TIA) มาก่อน นอกจากนี้ยังมักเกิดช่วงเวลากลางคืนขณะนอนหลับ มากกว่าที่จะเกิดช่วงขณะทำกิจกรรม
1.2 ภาวะสิ่งหลุดอุดกั้นหลอดเลือดสมอง (embolic stroke) พบประมาณ ร้อยละ16 -30 ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองทั้งหมด เป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดสมองที่พบในวัยกลางคน หรือผู้ป่วยที่มีอายุน้อย ตำแหน่งที่พบมักเกิดกับระบบหลอดเลือดคาโรติด (carotid system)โดยเฉพาะที่ หลอดเลือดแดงมิดเดิลซีรีบอล (middle cerebral artery) มากกว่า ระบบเลือดเวอทีโบรบาซิลา (vertebrobasilar system) ลักษณะพยาธิสภาพ เกิดจากมี “สิ่งหลุด” (embolus) ซึ่งเป็นลิ่มเลือดที่เกิดขึ้นในหลอดเลือดที่อยู่นอกสมอง (ที่พบบ่อย คือ ลิ่มเลือดที่เกิดขึ้นในหัวใจ) หรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆ เช่น ลิ่มเลือดจากปอด (pulmonary hrombosis) ไขมัน (cholesterol) อากาศ เชื้อโรค เป็นต้น หลุดลอยตามกระแสเลือดขึ้นไปอุดตันในหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง ทำให้เซลล์สมองตายเพราะขาดเลือด มักพบในผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ เช่น โรคหัวใจรูมาติก กล้ามเนื้อหัวใจตาย หัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด เยื่อบุหัวใจอักเสบ ผู้ป่วยที่ผ่าตัดใส่ลิ้นหัวใจเทียมลักษณะอาการของผู้ป่วยกลุ่มภาวะสิ่งหลุดอุดกั้นหลอดเลือดสมอง (embolic stroke) จะเป็นแบบทันทีทันใด (sudden onset) ใช้เวลาเป็นนาทีหรือวินาที ขณะที่มีกิจกรรมหรือมีการออกแรง โดยที่“สิ่งหลุด” (embolus) จะไปตามกระแสเลือดจนถึงบริเวณหลอดเลือดที่มีขนาดเล็กพอ จึงเกิดการอุดตันขึ้น ซึ่งมักเป็นหลอดเลือดคอติคอล (cortical vessels) เล็กๆ ทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีอาการผิดปกติของการทำงานของสมองชั้นคอติคอล ร่วมด้วย เช่น ถ้าพยาธิสภาพอยู่ที่สมองซีกเด่น (dominanthemisphere) จะทำให้มีอาการเป็นลม (seizure) พูดไม่ได้ (aphasia) หรือถ้าพยาธิสภาพอยู่ที่สมองซีกด้อย (nondominant hemisphere) จะทำให้มีอาการหลงลืมร่างกายซีกที่มีอาการ (neglect) ซึ่งจะส่งจะส่งผลถึงการทำกิจวัตรประจำวัน (ADL) ของผู้ป่วยได้
2. โรคหลอดเลือดสมองที่เกิดจากเลือดออก (hemorrhagic stroke) พบประมาณร้อยละ20 ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองทั้งหมด เกิดเนื่องจากการมีเลือดออกในโพรงศีรษะ แบ่งได้เป็น2 ประเภท คือ การมีเลือดออกในเนื้อสมอง (intracerebral hemorrhage) และการมีเลือดออกในช่องว่างใต้ชั้นอแรคนอยด์(subarachnoid hemorrhage)
2.1 การมีเลือดออกในเนื้อสมอง (intracerebral hemorrhage) พบประมาณ ร้อยละ10 แต่มีความรุนแรงค่อนข้างมาก และการพยากรณ์โรคแย่ (poor prognosis) พบมากในกลุ่มอายุ 50-60 ปี ลักษณะพยาธิสภาพ มีการแตกของหลอดเลือดในสมอง ทำให้มีเลือดออกในเนื้อสมองทำให้เนื้อสมองตายจากการขาดเลือด (ischemia) และจากการขยายตัวของก้อนเลือดหรือจากการเบียดของโครงสร้างภายในไดแอนเซบฟาลอน (diencephalon) และ สมองส่วนกลาง (midbrain) อาจทำให้มีการเปลี่ยนแปลงระดับของการรับรู้สติ และหากมีเลือดไหลภายใต้ความดันสูงเข้าสู่ ระบบช่องว่างในสมองและไขสันหลัง (ventricular system) จะทำให้เสียชีวิตโดยเฉียบพลัน สาเหตุที่สำคัญที่สุดเกิดจาก ภาวะความดันโลหิตสูงเป็นเวลานาน (chronic hypertension) โดยเฉพาะอย่างยิ่งร่วมกับการมีภาวะหลอดเลือดแดงแข็งและตีบ (atherosclerosis) ทำให้เกิดการฉีกขาดของหลอดเลือดที่โป่งพอง บริเวณที่พบบ่อยมักเป็นหลอดเลือดแดงขนาดเล็ก (penetrating arteries) ในส่วนของเนื้อสมองส่วนลึก ได้แก่ สมองส่วนเบซอล – แกงเกลีย (basal ganglia) สมองส่วนอินเทอนอลแคปซูล (internal capsule) สมองส่วนทาลามัส (thalamus) สมองส่วนพอนส์ (pons) สมองน้อย(cerebellum) และ ก้านสมอง (brain stem) ลักษณะอาการจะเป็นแบบทันทีทันใด (sudden onset)โดยจะพบร่วมกับอาการทางคลินิกที่สำคัญ ได้แก่ ปวดศีรษะ อาเจียน ระดับการรับรู้สติ (conscious)ลดลง ความดันในสมองเพิ่มขึ้น ถ้าก้อนเลือดมีขนาดใหญ่หรือแตกเข้าสู่ระบบช่องว่างในสมองและไขสันหลัง (ventricular system) หรือเกิดกดเนื้อเยื่อชั้นคอติคอล (cortical tissue ) อัตราการเสียชีวิตเพิ่มร้อยละ 50 -70
2.2 การมีเลือดออกในเยื่อหุ้มสมองใต้ชั้นอแรคนอยด์ (subarachnoid hemorrhage)ผู้ป่วยมักมีความบกพร่องทางระบบประสาทไม่มากนัก แต่อาจมีเลือดออกซ้ำ (rebleeding) ตามมาได้ใน 2 สัปดาห์ พบมากในช่วงอายุ 40 – 60 ปี ลักษณะพยาธิสภาพ คือ การไหลเวียนของน้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลัง (cerebrospinal fluid [CSF]) ถูกอุดกั้น โดยมีเลือดเข้าไปในเยื่อหุ้มสมองใต้ชั้นอแรคนอยด์ ทันที ทำให้สมองบวมเฉียบพลัน (acute hydrocephalus) ร่วมกับการเพิ่มขึ้นของความดันในกะโหลกศีรษะ (intracranial pressure) การลดลงของ cerebral perfusion และเกิดการขาดเลือดตามมาสาเหตุสำคัญ มักเกิดจาการแตกของ cerebral aneurysm โดยเฉพาะ berry aneurysmซึ่งมักอยู่ที่บริเวณ circle of Willis สาเหตุรองลงมาเกิดจากภาวะ arteriovenous malformation(AMV) ลักษณะอาการจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วทันทีทันใด โดยไม่มีอาการเตือน มักเกิดขึ้นขณะทำงานที่ใช้พลังงานสูง โดยมีอาการนำ คือ ปวดศีรษะ อาเจียน และอาจมีอาการแสดงของmeningeal irritation เช่น คอแข็ง (stiff neck) ภายใน 2 – 3 ชั่วโมง ร่วมด้วยแต่จะมีความบกพร่องทางระบบประสาทน้อย นอกจากกรณีที่มีเลือดออกเนื้อสมอง (intracerebral hemorrhage) ร่วมด้วย
แม้ว่าโรคหลอดเลือดสมองทำให้ก่อให้เกิดการตายและการพิการถาวร ก่อนเกิดอาการผิดปกติ รุนแรง ผู้ป่วยมักจะมีอาการนำหรืออาการเตือนเกิดขึ้นก่อน ซึ่งหากผู้ป่วยเข้ารับการรักษาทันเวลาจะสามารถช่วยลดอัตราการเสียชีวิต ลดความพิการได้ (CDC, 2004)
อาการและอาการแสดง
โรคหลอดเลือดสมองมักเกิดในระบบไหลเวียนของสมองส่วนหน้า (anterior cerebralcirculation) จากการทำลายภายในหลอดเลือด middle cerebral artery หรือ internal carotid arteryหรือ anterior cerebral artery และสามารถเกิดบริเวณระบบไหลเวียนของสมองส่วนหลัง ส่วนvertebral arteries หรือ basilar artery และ posterior cerebral artery โดยอาการและอาการแสดงของโรคหลอดเลือดสมองแบ่งตามตำแหน่งของหลอดเลือดที่มีการอุดตัน (Follin et al., 2006)
1. หลอดเลือดสมองส่วนกลาง (middle cerebral artery [MCA]) การอุดตันของหลอดเลือดนี้ในสมองข้างเด่นมักไม่มีอาการหมดสติ แต่จะมีอาการอ่อนแรงครึ่งซีก ซึ่งมีการอ่อนแรงของใบหน้าและแขนมากกว่าขา ผู้ป่วยอาจมีความยากลำบากในการสื่อสารหรือไม่เข้าใจภาษาที่ใช้สื่อสาร (aphasia หรือ dysphasia) ยากในการอ่าน (dyslexia) ไม่สามารถเขียนได้ (dysgraphia)การมองเห็นลานสายตาแคบลง (visual field cuts) ตาบอดครึ่งซีก (homonymous hemianopsia)สูญเสียการรับรู้สัมผัส (sensory loss) ถ้าเกิดกับสมองด้านไม่เด่นจะเพิกเฉยต่อความพิการที่เกิดขึ้น(neglect syndrome)
2. หลอดเลือดคาโรติดส่วนในสมอง (internal carotid artery [ICA]) การอุดตันบริเวณนี้จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการพร่องทางด้านระบบประสาทสั่งการหรือระบบประสาทรับความรู้สึกด้านตรงข้าม อาจมีความยากลำบากในการสื่อสารหรือไม่เข้าใจภาษาที่ใช้สื่อสาร (aphasia) ถ้าเป็นกับสมองข้างเด่น ผู้ป่วยอาจมีภาวะหมดสติถ้ามีพยาธิสภาพบริเวณกว้างทำให้มีการบวมของเซลล์สมองบริเวณก้านสมองหรือบริเวณทาลามัส (thalamus) ทั้งสองข้าง
3. หลอดเลือดสมองส่วนหน้า (anterior cerebral artery [ACA]) การอุดกั้นของหลอดเลือดนี้ ผู้ป่วยอาจมีอาการสับสน อ่อนแรง ชา (โดยเฉพาะบริเวณแขน) ข้างที่อ่อนแรง เท้าตกไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายได้ ระบบประสาทสั่งการและการรับรู้บกพร่อง
4. หลอดเลือดที่อยู่บริเวณก้านสมอง (vertebrobasilar artery) การอุดกั้นของหลอดเลือดนี้ ผู้ป่วยจะมีความบกพร่องในการรับรู้ความเจ็บปวดและอุณหภูมิที่ใบหน้าซีกเดียวกับรอยโรคและที่ร่างกายซีกตรงข้าม อาจทำให้สูญเสียการรับรู้ความรู้สึกและมีอาการอ่อนแรงอย่างรุนแรง บางรายถึงขั้นหมดสติ ผู้ป่วยอาจบ่นชารอบปาก มึนงง อ่อนแรง กลืนลำบาก พูดไม่ชัดเจนหลงลืม ทรงตัวไม่ได้ การมองเห็นบกพร่อง เช่น ตาบอดสี มองเห็นภาพซ้อน เป็นต้น
5. หลอดเลือดสมองส่วนหลัง (posterior cerebral artery) การอุดกั้นของหลอดเลือดนี้ผู้ป่วยจะมีความผิดปกติในการรับรู้ความรู้สึกครึ่งซีก อาจสูญเสียความทรงจำ บกพร่องลานสายตาการรับรู้บกพร่อง มีความยากในการอ่าน (dyslexia)
พยาธิสภาพต่างๆ ของโรคหลอดเลือดสมอง ทำให้เกิดปัญหาต่อผู้ป่วย ซึ่งปัญหาของผู้ป่วยแต่ละรายจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของหลอดเลือดสมองและขนาดที่เกิดพยาธิสภาพอาจสรุปอาการที่สำคัญของโรคหลอดเลือดสมอง ได้ดังนี้
1. ความบกพร่องของระบบประสาทสั่งการ ทำให้เกิดการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของแขนขา ใบหน้า ช่องปาก ที่พบบ่อยที่สุดได้แก่ อ่อนแรงครึ่งซีก (hemiparesis)(Smith et al., 2006) ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าแขน ขา หนักขึ้น เคลื่อนไหวได้ลำบาก หรือในบางรายอาจเคลื่อนไหวไม่ได้เลย ในผู้ที่มีอาการอ่อนแรงของร่างกายซีกขวา การเริ่มต้นการเคลื่อนไหวจะช้าลงและลำบากมากขึ้น การเรียนรู้กิจกรรมในการเคลื่อนไหวจึงต้องใช้เวลานานขึ้น ส่วนผู้อ่อนแรงซีกซ้ายจะมีปัญหาในการทรงตัว หรือการเคลื่อนไหว นอกจากนี้อาจมีอาการเกร็งเหยียดแขนขาลำบาก(อัจฉรา เดชะบุญ, 2543)
2. ความบกพร่องทางด้านสติปัญญา การรับรู้ ความจำ ซึ่งสมองซีกขวาควบคุมในเรื่องของการเรียนรู้ (Hickey, 2003) ผู้ป่วยที่สมองซีกขวาถูกทำลายจะทำให้เกิดอัมพาตซีกซ้าย ซึ่งมีปัญหาการรับรู้มากกว่าผู้ป่วยอัมพาตซีกขวา ความผิดปกติของการรับรู้มีผลต่อการฝึกกิจวัตรประจำวัน ความบกพร่องทางสติปัญญา และการด้อยสมรรถภาพในหลายๆ ส่วนของร่างกาย ทำให้ผู้ป่วยไม่เข้าใจ หรือมองข้ามอันตรายที่จะเกิดขึ้น (Wilkinson, 1995) ผู้ป่วยอาจมีความสนใจระยะสั้นหรือมีความจำสั้น (NINDS, 2005) ผู้ป่วยอาจไม่สามารถทำหรือเรียนรู้การเคลื่อนไหวที่ซับซ้อนได้ทั้งที่เข้าใจคำสั่งดี ไม่สามารถรับรู้ข้อมูลต่างๆ ได้หมด ไม่สามารถเชื่อมโยงการเรียนรู้เข้ากับสถานการณ์จริงได้ ทำให้ไม่สามารถแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวันและไม่สามารถหลบหลีกอันตรายได้ (Sandin & Mason, 1999)
3. ความบกพร่องทางการสื่อสาร คือ ความผิดปกติในความสามารถของการรับรู้เข้าใจการแสดงออก หรือการใช้ภาษาที่ถูกต้องเหมาะสม ทั้งในด้านการพูด การเขียน การแปลความหมายที่ได้ยินหรือจากการอ่านที่ถูกต้อง ผู้ป่วยที่เป็นอัมพาตครึ่งซีกขวาโดยทั่วไปสมองซีกซ้ายซึ่งถือว่าเป็นซีกที่เด่น (dominant hemisphere) จะควบคุมการทำงานของร่างกายด้านตรงข้าม และควบคุมในเรื่องของภาษาและการสื่อสาร (communication ability) ปัญหาที่สำคัญได้แก่ ผู้ป่วยอาจมีความยากลำบากในการสื่อสารหรือไม่เข้าใจภาษาที่ใช้สื่อสาร ซึ่งพบได้บ่อยๆ เป็นความผิดปกติในการที่จะรับรู้ (receive) และส่งต่อ (transmit) ข้อมูล (verbal message) ทั้งในรูปของการเขียนและคำพูดโดยส่วนใหญ่ความผิดปกติอาจจะเป็นในเรื่องของการรับรู้ด้านการฟัง การอ่าน และส่วนของการแสดงออกด้านการพูด หรือการเขียน หรือทั้งสองอย่าง (อรฉัตร โตษยานนท์, 2539)ซึ่งความผิดปกติทางการสื่อสารที่พบมี 2 ลักษณะคือ ไม่สามารถพูดสื่อความหมายออกเสียงเป็นคำและพยางค์ได้หรือพูดได้เพียงคำสั้นๆ ทั้งที่เข้าใจความหมายของภาษา (expressive ormotor aphasia) เพราะการเคลื่อนไหวของปาก ลิ้น แก้ม มีความผิดปกติ เนื่องจากการทำลายบริเวณโบรคา (broca’s area) ผู้ป่วยอาจพูดได้บ้างเล็กน้อยหรือพูดไม่ได้เลย ตอบคำถามได้แต่ไม่สามารถพูดประโยคที่สมบูรณ์ถูกต้อง ส่วนอีกลักษณะหนึ่งคือผู้ป่วยมีปัญหาการรับรู้และเข้าใจในภาษาพูด(sensory aphasia หรือ wernicke’s aphasia) อาจจะพูดจาเรื่อยเปื่อยหรือคิดประดิษฐ์คำพูดขึ้นเองเนื่องจากมีการทำลายบริเวณเวอร์นิคเก (wernicke area) (Testani-Dufour & Morrison, 1997) ผู้ป่วยจะพูดเป็นประโยคได้ การใช้คำ การออกเสียงและไวยากรณ์ถูกต้อง แต่เนื้อหาคำพูดวกวน ขาดสาระไม่สัมพันธ์กับสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่สามารถพูดตามได้ และโกลบอล อะเฟเซีย (global aphasia) เกิดจากมีการทำลายทั้งบริเวณเวอร์นิคเกและโบรคา อาการคือ พูดไม่ได้และไม่เข้าใจคำพูด (กนกวรรณติลกสกุลชัย และ ชัยเลิศ พิชิตพรชัย, 2544; Backer & Rice, 2001) ผู้ป่วยอาจมีปัญหาทั้งการพูดลำบากและมีปัญหาการรับรู้และเข้าใจคำพูดที่ได้ยิน (NINDS, 2005)
4. ความบกพร่องของการรับรู้ทางระบบประสาทสัมผัส ความเจ็บปวดและอุณหภูมิทำให้มีผลกระทบต่อการยืนและการเดิน มีผลต่อการรับรู้และทำให้เกิดภยันตรายต่อตนเองได้ผู้ป่วยอาจสูญเสียการรับความรู้สึกหลายชนิดร่วมกัน เช่น ผู้ป่วยอัมพาตซีกขวาไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างจุดสองจุด ไม่สามารถบอกสิ่งของที่สัมผัสได้ การสูญเสียลานสายตา ไม่สามารถกะระยะทางได้ ไม่รับรู้ร่างกายด้านที่อัมพาต ทำให้ผู้ป่วยขาดความระมัดระวังด้านที่เป็นอัมพาตมากยิ่งขึ้น และทำให้เกิดอุบัติเหตุ (Taylor, 1999)
5. ความบกพร่องของการควบคุมการขับถ่าย ได้แก่ กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ท้องผูกจากการรับประทานอาหารและน้ำไม่เพียงพอ หรือจากการเคลื่อนไหวไม่ค่อยได้ หรือกล้ามเนื้อหน้าท้องอ่อนกำลังลง และรับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย (Smith, 2002) ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองประมาณร้อยละ 70 สามารถควบคุมการถ่ายปัสสาวะได้เอง ร้อยละ 15-20 ของผู้ป่วยกลั้นปัสสาวะไม่ได้ (urinary incontinence) หลังจากการเกิดโรคไปแล้ว 1 ปี และประมาณร้อยละ 75 สามารถถ่ายอุจจาระได้เองภายในเวลา 2 สัปดาห์ (อรฉัตร โตษยานนท์, 2539)
6. ความบกพร่องทางเพศสัมพันธ์ จะพบว่าความต้องการทางเพศลดลงในเพศชายโดยพบว่าอวัยวะเพศไม่แข็งตัว (Phipps, 1991) และไม่ถึงจุดสุดยอดในเพศหญิง ทั้งนี้เนื่องจากสาเหตุทางด้านร่างกาย เช่น อาการเกร็ง กล้ามเนื้ออ่อนแรง อาการปัสสาวะกระปริดกระปรอย ประกอบกับการผันผวนทางจิตใจและอารมณ์ ความซึมเศร้า ความกลัว วิตกกังวลต่างๆ ตลอดจนมีปัญหาในด้านการติดต่อสื่อสาร ดังนั้นจึงทำให้การมีเพศสัมพันธ์ของผู้ป่วยและคู่สมรสเปลี่ยนแปลงไป
การฟื้นสภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
การฟื้นสภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เริ่มเกิดขึ้นภายในเวลาตั้งแต่ 3 เดือนแรกที่เกิดโรค และอาการค่อยๆ ดีขึ้นเรื่อยๆ ตามลำดับจนกระทั่งถึง 6 เดือน หลังจากนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก อย่างไรก็ตามอาจพบว่าผู้ป่วยบางรายอาจจะมีการฟื้นสภาพของโรคไปได้เรื่อยๆ จนถึงเวลา 2 ปี ภายหลังเกิดโรค สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการหนักและมีความพิการมากตั้งแต่เริ่มต้น มักพบว่าการฟื้นสภาพของโรคจะมีขีดจำกัด (นิพนธ์ พวงวรินทร์, 2544) ธรรมชาติการฟื้นตัว อาการหรือความสามารถในการฟื้นฟูสภาพขึ้นกับ 2 กลไกได้แก่ การฟื้นสภาพของระบบประสาท เช่น การยุบบวมของสมอง การไหลเวียนเลือดของสมองที่ดีขึ้น ทำให้ระดับปัญหาทางระบบประสาทลดลง ซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้นในช่วง 6 เดือนแรก เช่น กำลังของกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น พูดได้ดีขึ้น กลไกที่สองคือการฟื้นฟูสมรรถภาพ ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นของระดับความสามารถที่ยังคงมีความบกพร่องทางกายอยู่ ความสามารถในการฟื้นฟูสมรรถภาพขึ้นอยู่กับบุคลิกภาพ สภาพจิตใจแรงจูงใจ ความช่วยเหลือจากสังคม ครอบครัวและญาติ ส่วนใหญ่จะมีการฟื้นตัวเร็วในช่วง 6 เดือนแรก (กมลทิพย์ หาญผดุงกิจ, 2547)ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง จะมีการเปลี่ยนแปลงและฟื้นสภาพของระบบประสาทตามลำดับคือ ในระยะแรกโดยส่วนใหญ่แล้วแขนขาข้างที่เป็นอัมพาตจะไม่สามารถขยับเคลื่อนไหวได้สภาวะของกล้ามเนื้อจะอยู่ในสภาพอ่อนปวกเปียก ซึ่งโดยทั่วไปจะเกิดอยู่ประมาณ 48 ชั่วโมงต่อมารีเฟล็กซ์จะค่อยๆ กลับคืนมา การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อจะเริ่มเกิดขึ้นในระยะตั้งแต่ 2-30 วัน(2-4 อาทิตย์แรก) ปกติแล้วกลุ่มกล้ามเนื้อที่อยู่ส่วนต้น เช่น หัวไหล่ จะเกิดการเคลื่อนไหวกลับคืนมาก่อนกลุ่มกล้ามเนื้อส่วนปลาย เช่น กล้ามเนื้อของมือ นิ้วมือ (อรฉัตร โตษยานนท์, 2539) ปัญหากล้ามเนื้ออ่อนแรง ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมักมีปัญหาในการควบคุมกล้ามเนื้อ ไม่สามารถสั่งการให้มีการเคลื่อนไหว ในระยะแรกกล้ามเนื้อจะอ่อนแรงและมีความตึงตัวลดลง ต่อจากนั้นจึงค่อยๆ ฟื้นตัวขึ้นตามแบบแผนเฉพาะ โดยเริ่มมีกล้ามเนื้อเกร็งกระตุก ต่อมากล้ามเนื้อหดตัวพร้อมกันเป็นกลุ่มๆ (synergy pattern) และจะแยกสั่งการกล้ามเนื้อได้ในที่สุด (กมลทิพย์ หาญผดุงกิจ,2547)
ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง จะฟื้นสภาพดีขึ้นตั้งแต่ช่วง 2-3 วันถึง 3 เดือนแรกหลังเจ็บป่วย (Hankey & Less, 2001) ดังนั้นผู้ป่วยจึงควรได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เริ่มป่วยจนกระทั่งเข้าสู่ระยะพักฟื้นและดูแลต่อเนื่องจนถึงที่บ้าน ถ้าได้รับการดูแลไม่ถูกต้องเกิดปัญหาที่ตามมาเนื่องจากการไม่ได้เคลื่อนไหว สาเหตุใหญ่สืบเนื่องมาจากภาวะเจ็บป่วยที่ทำให้มีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ ร่างกายมีการจำกัดการเคลื่อนไหว และเกิดผลกระทบอื่นๆ ตามมา ได้แก่ภาวะข้อติดแข็ง กล้ามเนื้อลีบ แผลกดทับ และปอดอักเสบ เป็นต้น (เจียมจิต โสภณสุขสถิตย์, 2544)
ผลกระทบของโรคหลอดเลือดสมอง
ผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองจะมีผลกระทบต่อทั้งด้านร่างกาย จิตใจและสังคม ซึ่งจากพยาธิสภาพของโรคหลอดเลือดสมอง ทำให้เกิดปัญหาและผลกระทบต่อผู้ป่วย ความรุนแรงของปัญหาจะแตกต่างกันขึ้นกับบริเวณและขนาดของสมองที่ได้รับอันตราย ซึ่งมีผลต่อการทำหน้าที่ของร่างกาย (Hooyman & Kiyak, 1999)
1. ผลกระทบด้านร่างกาย ทำให้ผู้ป่วยเกิดความบกพร่องของระบบประสาทสั่งการ ทำให้เกิดอาการอ่อนแรงครึ่งซีก (hemiparesis) (Smith et al., 2006) มีรายงานการศึกษาความผิดปกติของระบบประสาทสั่งการในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลพบว่ามีปัญหาการควบคุมการขับถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ ร้อยละ 50 ปัญหาการกลืนลำบาก ร้อยละ 45 ปัญหาการสื่อสาร ร้อยละ 40 ซึ่งรวมทั้งการพูด การฟัง การอ่าน การเขียน การใช้ท่าทาง นอกจากนั้นยังพบว่ามีภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นเนื่องจากการเคลื่อนไหวร่างกายได้จำกัด เช่น การเกิดแผลกดทับ ร้อยละ 9 เกิดในโรงพยาบาลและร้อยละ 23 เกิดภายหลังผู้ป่วยกลับไปอยู่ที่บ้าน (Duncan et al., 2005) จากความผิดปกติที่เกิดขึ้นทำให้ต้องพึ่งพาผู้อื่นในการทำกิจวัตรประจำวัน ความปลอดภัยในชีวิตลดลงเนื่องจากความบกพร่องทางสติปัญญาและด้อยสมรรถภาพของร่างกาย ทำให้ไม่เข้าใจหรือมองข้ามอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับตนเอง (Wilkinson, 1995) นอกจากนี้ยังเกิดความบกพร่องทางด้านสติปัญญา การรับรู้ ความจำ ซึ่งสมองซีกขวาควบคุมในเรื่องของการเรียนรู้ (อรฉัตร โตษยานนท์,2539) ผู้ป่วยอาจมีความสนใจระยะสั้นหรือมีความจำสั้น (NINDS, 2005) ไม่สามารถรับรู้ข้อมูลต่างๆ ได้หมด ไม่สามารถเชื่อมโยงการเรียนรู้เข้ากับสถานการณ์จริงได้ ทำให้ไม่สามารถแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวันและไม่สามารถหลบหลีกอันตรายได้ (Sandin & Mason, 1999) มีความบกพร่องทางการสื่อสาร คือ ความผิดปกติในความสามารถของการรับรู้เข้าใจ การแสดงออกหรือการใช้ภาษาที่ถูกต้องเหมาะสม ปัญหาที่สำคัญได้แก่ aphasia (NINDS, 2005) มีความบกพร่องของการรับรู้ทางระบบประสาทสัมผัส ทำให้มีผลกระทบต่อการยืนและการเดิน ความบกพร่องในการรับความรู้สึกสัมผัส ความเจ็บปวดและอุณหภูมิ มีผลต่อการรับรู้และทำให้เกิดภยันตรายต่อตนเองได้(Taylor, 1999) ความบกพร่องของลานสายตา (visual field deficit) และความบกพร่องของการควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะและอุจจาระ โดยสาเหตุส่วนใหญ่เป็นเรื่องภาวะอัมพาตของร่างกายที่ทำให้การเคลื่อนไหวลำบาก ร่วมกับภาวะด้านจิตใจ อารมณ์ การรับรู้ ไม่สามารถติดต่อสื่อภาษาได้ (อรฉัตร โตษยานนท์, 2539)
2. ผลกระทบด้านจิตใจ การเจ็บป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองไม่ได้ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยเฉพาะด้านร่างกายเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อด้านจิตใจของผู้ป่วยอีกด้วย เกิดจากการเปลี่ยนแปลงด้านการรับรู้และการตอบสนอง ทำให้ผู้ป่วยเกิดความเครียด วิตกกังวล ก้าวร้าว ซึมเศร้า ซึ่งความเครียดเป็นปัญหาที่พบบ่อย เนื่องจากผู้ป่วยมักมีอาการเกิดขึ้นทันทีทันใด ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น รวมทั้งการที่ต้องพึ่งพาผู้อื่นทำให้เกิดความเครียดได้(ฟาริดา อิบราฮิม, 2542) ความวิตกกังวล เป็นอาการของความกลัว เกิดจากประสบการณ์การรับรู้แขนขาอ่อนแรงมากขึ้น และความรู้สึกไม่แน่นอน (Hafsteindottir & Grypdonck, 1997) โดยส่งผลให้เกิดปฏิกิริยาทางร่างกายตามมา คือ ใจสั่น แน่นหน้าอก ปากแห้ง มือเท้าเย็น นอนไม่หลับ ถ่ายเหลว กลั้นปัสสาวะไม่ได้ และไม่ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ รวมถึงการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน (Bartels, 1998) ภาวะก้าวร้าว (aggressive) ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอาจมีอาการหงุดหงิด หมดหวัง โกรธง่ายและก้าวร้าว ความก้าวร้าวอาจแสดงในรูปปมเด่น ด้วยการวางอำนาจหยิ่งดูถูกคนอื่น หรืออาจแสดงออกมาในรูปของการพึ่งพาผู้อื่นตลอดเวลา (ฟาริดา อิบราฮิม, 2542;Bronstein, 1991) และภาวะซึมเศร้า ซึ่งเป็นปัญหาด้านจิตใจที่มีสาเหตุมาจากความพิการของร่างกายการสูญเสียความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันอย่างเป็นอิสระ รวมถึงการการสูญเสียหน้าที่ของสมองส่วนที่ควบคุมอารมณ์ (Gillen, Tennen, & MaKee, 2001) มีผลต่อการกลับคืนสู่สภาพเดิมของการทำหน้าที่ของร่างกาย โดยพบว่าผู้ที่มีอาการซึมเศร้ามีภาวะด้อยสมรรถภาพมากกว่า และมีการฟื้นตัวในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันน้อยกว่าผู้ที่ไม่มีอาการซึมเศร้า (Chemerinski,Robinson, & Kosier, 2001) ภาวะซึมเศร้าพบได้ประมาณร้อยละ 25-60 ของผู้ป่วย อาการอาจจะไม่สัมพันธ์กับความรุนแรง พบได้ในระยะ 6 เดือนถึง 2 ปีหลังเกิดโรค อาการที่แสดงถึงภาวะซึมเศร้าได้แก่ หงุดหงิด วิตกกังวลง่าย ขาดความกระตือรือร้น ขาดความสนใจในการดูแลตนเอง แยกตนเองเกียจคร้าน ไร้อารมณ์ ไม่ร่วมมือ ทำอะไรตรงข้ามกับที่ถูกบอกกล่าว แยกตนเอง นอนไม่หลับ ทานอาหารไม่ได้ เป็นต้น (อรฉัตร โตษยานนท์, 2539)
3. ผลกระทบด้านสังคม ปัญหาการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายที่มีความพิการให้เห็นชัดเจน ทำให้ผู้ป่วยเกิดความอับอาย เกิดความสูญเสียอัตมโนทัศน์ส่วนตน การปรับเปลี่ยนบทบาทเดิมไปสู่บทบาทใหม่ในครอบครัวทำให้เกิดความเครียดและขัดแย้งในตนเอง จะรู้สึกว่าตนเองไม่มีคุณค่า ไม่อยากเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม สัมพันธภาพระหว่างผู้ป่วยกับสังคมเปลี่ยนแปลงไป มีความห่างเหินขาดการติดต่อกับสังคม พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปสาเหตุเนื่องจากผู้ป่วยอาจไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมของตนให้ปฏิบัติตามแบบแผนขนบธรรมเนียมประเพณี และค่านิยมทางสังคมได้ทำให้ญาติรู้สึกอับอายและเป็นภาระที่ต้องคอยดูแลและควบคุมพฤติกรรมของผู้ป่วย จึงไม่ค่อยพาผู้ป่วยพบปะโลกภายนอก (ฟาริดา อิบราฮิม, 2542; อรพรรณ ทองแตง, 2544)
สรุปจะเห็นได้ว่าผู้ที่รอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองมักจะมีความพิการต่างๆ เกิดขึ้นซึ่งจะมีผลกระทบต่อผู้ป่วยหลายประการ ทั้งด้านร่างกายทำให้ไม่สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันตามปกติได้เต็มที่ จำเป็นต้องพึ่งพาญาติผู้ดูแล รวมถึงไม่สามารถปฏิบัติกิจกรรมอื่นๆ และการทำงานที่เคยทำ ซึ่งจะส่งผลต่อด้านจิตใจเกิดปัญหาทางด้านจิตใจ อาจเกิดเนื่องจากพยาธิสภาพของโรคเอง นอกจากนั้นยังกระทบต่อด้านสังคมของผู้ป่วยเพราะอาจรู้สึกว่าตนเองไม่มีคุณค่า บทบาทของสังคมเปลี่ยนแปลง ทำให้ขาดการติดต่อกับสังคม จะเห็นได้ชัดเจนว่าผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีการเปลี่ยนผ่านตั้งแต่ระยะปกติที่อยู่บ้าน เมื่อเกิดโรคขึ้นจะมีการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ความเจ็บป่วยระยะเฉียบพลันและเข้าสู่ระยะฟื้นฟูสภาพเมื่ออาการคงที่และเปลี่ยนสภาพเป็นผู้ป่วยเรื้อรังซึ่งมีผลกระทบต่อทั้งด้านร่างกาย จิตสังคมของผู้ป่วยดังกล่าวแล้ว ผู้ป่วยจะต้องได้รับการดูแลในแต่ละระยะการเปลี่ยนผ่านจนถึงระยะที่เปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลสู่บ้าน เพื่อให้สามารถปรับตัวในระยะเปลี่ยนผ่านได้อย่างราบรื่น เกิดความต่อเนื่องในการดูแล ทั้งผู้ป่วยและญาติผู้ดูแลจึงต้องได้รับการเตรียมความพร้อมก่อนกลับบ้าน เพื่อให้สามารถดูแลตนเองที่บ้านได้อย่างมีคุณภาพ โดยมีญาติผู้ดูแลคอยช่วยเหลือสนับสนุน
โรคหลอดเลือดหัวใจ
โรคหลอดเลือดหัวใจ ( coronary artery ) เกิดจากการแข็งตัว ( atherosclerosis ) เกิดการตีบตัว ( stenosis) หรือ เกิดการหดตัวเกร็ง (spasm ) ทำให้หัวใจอยู่ในภาวะขาดเลือดไปเลี้ยง หรือเลือดไหลเข้าสู่กล้ามเนื้อหัวใจลดลง ทำให้เลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่เพียงพอแก่ความต้องการ ก่อให้เกิดการเจ็บหน้าอก (angina pcctoris) กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ( myocardial ischemia ) และกล้ามเนื้อหัวใจตาย (myocardial infarction) ได้ การเกิดภาวะที่หลอดเลือดโคโรนารีเกิดการแข็งตัวเกิดการตีบตัว หรือเกิดการหดเกร็งนั้น มีสาเหตุมาจากไขมันในเลือดสูง การมีความดันโลหิตสูง การสูบบุหรี่ การขาดการออกกำลังกาย ความอ้วน โรคเบาหวาน ความเครียด การทำงานที่นั่งอยู่กับที่นานๆ กรรมพันธุ์ อายุ เพศ (อภิชาต สุคนธพรรพ,2543)
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย สามารถจำแนกได้เป็นปัจจัยหลักและปัจจัยเสี่ยงรองปัจจัยเสี่ยงหลัก ได้แก่
1. โรคความดันโลหิตสูง (hypertension) เป็นปัจจัยที่สำคัญโดยเชื่อกันว่า เมื่อเกิดภาวะความดันโลหิตสูงแรงดันการไหลของเลือดแดงเพิ่มขึ้นก่อให้เกิดแรงกระแทกเป็นอันตรายต่อหนังหลอดเลือด เกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมี ทำให้มีสารพวกไขมันเกาะติดผนังหลอดเลือดได้ง่าย เป็นการเพิ่มความรุนแรงในการตีบของหลอดเลือดหัวใจ เมื่อเวลาผ่านไปนานเข้าจะส่งผลทำให้เกิดเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจลดลง เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายได้ ในภาวะความดันโลหิตสูงโดยซิสโตลิคมากกว่า 160 มม.ปรอท หรือไดแอสโตลิคมากกว่า 90 มม.ปรอท จะมีผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดตีบในสมอง และไตได้อีก
2. การสูบบุหรี่ (smoking)เป็นปัจจัยเสี่ยงตรงต่อการเกิดหลอดเลือดหัวใจตีบสารคาร์บอนมอนออกไซด์ในควันบุหรี่เข้าไปในกระแสเลือด เมื่อไปจับกับเม็ดเลือดแดงจะทำให้เม็ดเลือดแดงแข็งกระด้าง จะทำลายผนังของหลอดเลือดทำให้การยืดหยุ่นตัวเสียไป ไม่สามารถซอกแซกไปตามหลอดเลือดเล็กๆ ได้ จึงครูดกับผนังหลอดเลือดเกิดเป็นรอยแผลเมื่อร่างกายทำการซ่อมแซมสร้างเนื้อเยื่อมาเคลือบแผลก็มีผลทำให้รูหลอดเลือดตีบตันทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอ และสารนิโครติรในบุหรี่จะกระตุ้นหลั่งสารเคมีโคลามีนออกมามาก ทำให้เกิดการเกาะตัวของเกล็ดเลือดมากขึ้นทำให้รูของหลอดเลือดแคบลมีผลให้ชีพจรและความดันโลหิตสูงขึ้นหัวใจต้องทำงานเพิ่มมากขึ้น
3. ภาวะไขมันในกระแสเลือด (dyslypidemia) สารโคเลสเตอรอลนั้นร่างกายได้รับจากอาหารและร่างกายได้รับจากอาหารและร่างกายสร้างขึ้นจากตับและลำไส้ โดยปกติระดับโคเลสเตอรอลในเลือดไม่ควรสูงเกิน 250 มก. ต่อเลือด 100 มล. (ถ้าปลอดภัยยิ่งขึ้นไม่ควรเกิน 200 มก.ต่อเลือด 100 มล.) ระดับ เอช.ดี.แอล โคเลสเตอรอล (high density lipoprotitein , HDL) คนปกติควรมีไม่ต่ำกว่า 35 มก./ดล. โคเลสเตอรอลนี้ถือว่าเป็นโคเลสเตอรอลที่ดี โดยทำหน้าที่ขนถ่ายโคเลสเตอรอลที่สะสมอยู่ที่ผนังหลอดเลือดไปทำลายที่ตับ ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ร่างกายในการลด heart attack และโคเลสเตอรอลชนิดนี้จะเพิ่มขึ้นเมื่อมีการออกกำลังกาย ระดับ แอล.ดี.แอล โคเลสเตอรอล (low density lipoprotein, LDL) ในคนปกติจะมีค่ามากกว่า 130 มก./ดล. โคเลสเตอรอลชนิดนี้เป็นโคเรสเตอรอลที่ไม่ดี ผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง โคเลสเตอรอลชนิดนี้จะตกตะกอนจับตามผนังหลอดเลือดทำให้รูของหลอดเลือดตีบแคบลงและแข็ง ประสิทธิภาพของการขยายตัวของหลอดเลือดลดลงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบจึงเกิดได้ง่าย การจะลด LDL ลงได้โดยการหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง รับประทานผักและผลไม้มากขึ้น นอกจากนั้นอาจมีสาเหตุจากร่างกายผลิตไขมันมากผิดปกติ ซึ่งอาจพบในครอบครัวที่มีประวัติไขมันในเลือดสูง
ปัจจัยเสี่ยงรอง ได้แก่
1.โรคอ้วน (obesity) คนที่อ้วนมากมักพบว่ามีหลอดเลือดแข็ง มีความดันโลหิตสูง เบาหวาน ซึ่งล้วนแล้วแต่มีผลต่อการตีบของหลอดเลือดหัวใจทั้งสิ้น การประเมินความอ้วนนั้นดูจากค่าดัชนีมวลกาย (body mass inbox [BMI]) โดยคำนวลได้จาก
ดัชนีมวลกาย = น้ำหนักตัวของร่างกาย (กิโลกรัม)/ส่วนสูง²(เมตร)
โดยจากการประชุมของกลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพตามแผนพัฒนาการสาธารณสุขในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544) ได้แบ่งดัชนีมวลกายตามเกณฑ์ดังนี้ (กนกพร วิสุทธิกุล,2540:21)
น้อยกว่า 16.0 กิโลกรัม/เมตร2 แสดงว่า ผอมระดับ 4
16.0-16.9 กิโลกรัม/เมตร2 แสดงว่า ผอมระดับ 3
17.0-18.4 กิโลกรัม/เมตร2 แสดงว่า ผอมระดับ 2
18.5-19.9 กิโลกรัม/เมตร2 แสดงว่า ผอมระดับ 1
20.0-24.9 กิโลกรัม/เมตร2 แสดงว่า น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติ
25.0.29.9 กิโลกรัม/เมตร2 แสดงว่า อ้วนระดับ 1
30.0-39.9 กิโลกรัม/เมตร2 แสดงว่า อ้วนระดับ 2 (ปานกลาง)
มากกว่า 40 กิโลกรัม/เมตร2 แสดงว่า อ้วนระดับ 3 (มาก)
2. ประวัติครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (family history of ischemie heart disease ) ผู้ที่มีประวัติครอบครัวที่บิดามารดาเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบและถึงแก่กรรมก่อนเวลาอันสมควร บุตรจะมีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคดังกล่าวสูง
3. การมีอายุสูง (old age) ผู้สูงอายุมักพบพยาธิสภาพของหลอดเลือดหัวใจได้มากโดยเฉพาะ สตรีที่หมดประจำเดือนจะพบได้บ่อยในจำนวนที่ใกล้เคียงกับเพศชายที่อายุเกิน 40 ปี
4. ความเครียด เป็นเหตุให้เกิดไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูงซึ่งมักเป็นพันธุกรรมด้วย และบุคคลที่มีบุคลิกภาพแบบเอ (personality type A or coronary prone behavior) ซึ่งมักเกิดความเครียดและเกิดโรคหัวใจวายได้ง่าย จากการศึกษาพบว่าผู้มีบุคลิกภาพแบบเอ มักมีลักษณะก้าวร้าว ทะเยอทะยาน มีความใฝ่ฝัน ขยันขันแข็ง เข้มงวด เคร่งเครียดตลอดเวลา รีบร้อนหรือโมโหง่าย บุคลประเภทนี้พบว่ามีสารแคทีโคลามีนในเลือดสูง ทำให้ความดันโลหิตสูง การทำงานของเกล็ดเลือดผิดปกติ และพบได้มากทั้งชายและหญิง
5. โรคเบาหวาน (diabetes mellitus) ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแข็ง ผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมักจะมีความดันโลหิตสูงและไขมันในเลือดสูง และเป็นสาเหตุชักนำให้เกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบได้มาก ส่งผลต่อการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและกล้ามเนื้อหัวใจตายได้อย่างรวดเร็ว
2.ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ
โรคหลอดเลือดหัวใจ (coronary heart disease[CAD]) เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้มากในผู้ป่วยเบาหวาน ความชุกของโรคหลอดเลือดหัวใจ พบมากกว่าร้อยล่ะ 50 ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด ข้อมูลจาก Framingham Study พบว่า ผู้ป่วยเบาหวานเพศชายมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้น 2 เท่า และเพิ่มเป็น 3 เท่า ในเพศหญิงเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้เป็นเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจเป็นสาเหตุสำคัญที่สุดของการเสียชีวิตในผู้ป่วยเบาหวาน ทั้งนี้ข้อมูลจาก Multiple Risk Factor Intervention Trial (MRFIT) พบว่า ผู้ป่วยเบาหวานที่ต้องรักษาด้วยยาลดระดับน้ำตาลมีโอกาสเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจมากกว่าผู้ที่ไม่ได้เป็นเบาหวาน 4-5 เท่า (ร้อยล่ะ 9.7 เมื่อเทียบกับร้อยละ 26 ภายในระยะเวลา 12 ปี ) และอัตราการเสียชีวิตจะเพิ่มขึ้นอย่างมากในผู้ป่วยเบาหวานที่มีปัจจัยเสี่ยงร่วมด้วย เช่น ระดับไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง หรือสูบบุหรี่ เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวานที่มีปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้เหมือนๆกัน นอกจากนี้ ผู้ป่วยเบาหวานยังมีโอกาสเสียชีวิตเฉียบพลันจากโรคหลอดเลือดหัวใจ เพิ่มขึ้นร้อยละ 50-300 เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้เป็นเบาหวาน (เทพ หิมะทองคำและ คณะ,2547)
โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เกิดจากการแข็งตัวของหลอดเลือดโคโรนารี โดยผนังบุด้านในของหลอดเลือด (intima layer) เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงก่อนผนังชั้นกลาง (medial layer) ในระยะแรกเกิดรอยไขมันที่ผนัง (fatty plaques) จนหนังหลอดเลือดหนาขึ้นทำให้รูหลอดเลือดเล็กตีบตันลง (atherosclerosis) ถ้ารูของหลอดเลือดตีบแคบมากกว่าร้อยล่ะ 70-80 ของพื้นที่หน้าตัดของหลอดเลือดหัวใจ จะไม่สามารถทำให้ปริมาณเลือดไหลเวียนได้เพียงพอกับความต้องการของร่างกายในขณะที่มีการออกกำลังกาย ทำให้เกิดการเจ็บหน้าอก (angina pectoris) ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนถึงแน้วโน้มการเกิดภาวะเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจตายได้
การให้ความรู้เกี่ยวกับโรคและการปฏิบัติตัว
โรคกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นภาวะความเจ็บป่วยเรื้อรังผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องมีการรักษาอย่างต่อเนื่องและต้องการการดูแลตนเองเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ ดังนั้นการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคจึงมีเป้าหมายของเพื่อให้ผู้ป่วยและญาติมีความเข้าใจในกระบวนการการเกิดโรค ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลให้โลกมีความรุนแรงมากขึ้น การจัดการกับอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นรวมถึงแนวทางการรักษาของแพทย์ที่ผู้ป่วยแต่ล่ะรายได้รับ การรับประทานยาและผลข้างเคียงของยา (CACR,1999;BACR,2002)เพื่อส่งเสริมความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วย สนับสนุนให้สมาชิกในครอบครัวได้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมและกระตุ้นให้เกิดการดูแลตนเองที่มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นรวมถึงลดอุปสรรคในการดูแลตนเองของผู้ป่วย (จารุวรรณ มานะสุรการ,2544) กระบวนการให้ความรู้ในลักษณะของการให้คำปรึกษา (counsellor) สอนให้ความรู้ (educator) แนะนำ/สาธิต (coach) เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยและครอบครัวเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลด/เลิกปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลให้โรครุนแรงมากขึ้น (Fridlund,2002)
การสนับสนุนความรู้เกี่ยวกับโรคและการปฏิบัติตัว ครอบคลุมในเรื่องต่อไปนี้คือ
1.1 ความรู้ในเรื่องของโรค สาเหตุของการเกิดโรค การดำเนินของโรค ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคและพฤติกรรมเสี่ยงที่ส่งผลให้โรครุนแรงมากขึ้น ได้แก่ ภาวะความดันโลหิตสูง ภาวะน้ำตาลและไขมันในเลือดสูง การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง การดื่มสุรา การสูบบุหรี่ ขาดการควบคุมน้ำหนัก
1.2 การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสม ได้แก่
1.2.1 สนับสนุนการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ จะช่วยลดอัตราเสี่ยงของการกลับเป็นซ้ำของโรคหลอดเลือดหัวใจและทำให้สุขภาพกายแข็งแรงและจิตใจสดชื่น การออกกำลังกายในผู้ที่มีหลอดเลือดหัวใจต้องมีการให้คำแนะนำที่ชัดเจนในรูปแบบของการออกกำลังกายที่เหมาะสม ความถี่ และระดับความหนักของการออกกำลังกายที่สามารถปฏิบัติได้อย่างปลอดภัย
โรคมะเร็ง
โรคมะเร็ง (cancer) เป็นโรคที่เกิดจากการเจริญเติบโตที่ผิดปกติของกลุ่มเซลล์บางส่วนของร่างกาย ทำให้เซลล์มีการแบ่งตัวเพิ่มขึ้นไม่สามารถควบคุมการเจริญเติบโตได้ เซลล์มะเร็งมีการแพร่กระจายของเซลล์ไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย โดยผ่านทางเส้นเลือด และระบบน้ำเหลือง ทำให้บริเวณที่เป็นโรคมีจำนวนเซลล์เพิ่มขึ้น มองเห็นเป็นกลุ่มก้อน เมื่อเกิดมะเร็งในร่างกายจะส่งผลกระทบต่อระบบกายวิภาคโดยจะไปเบียดเบียนที่อยู่ของอวัยวะเดิมและระบบสรีรวิทยา ทำให้ระบบการทำงานต่างๆของร่างกายไม่สามารถดำเนินไปอย่างปกติ จนก่อให้เกิดพยาธิสภาพขึ้น (เยาวเรศ, 2541; อุปมา, 2541; Otto, 1999; Porth, 1990)
ทฤษฎีของการเกิดโรคมะเร็ง
การเกิดมะเร็ง คือ กระบวนการที่เซลล์ปกติถูกเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์มะเร็ง (neoplasticcell) ซึ่งเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่ซับซ้อน และได้มีความพยายามที่จะอธิบายกลไกการเกิดมะเร็งเพื่อใช้เป็นแนวทางในการป้องกันและรักษามะเร็ง แต่จนถึงปัจจุบันความรู้เกี่ยวกับมะเร็งยังไม่สามารถสรุปเป็นกลไกการเกิดที่ชัดเจน ได้แต่เพียงข้อสรุปว่าการเกิดและการเกิดและการดำเนินของโรคมะเร็งมีผลเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงในระดับพันธุกรรม และการทำงานของยีนส์ ซึ่งอาจเกิดตามทฤษฏีใดทฤษฏีหนึ่ง ดังนี้
1. ทฤษฏีการเกิดมะเร็งทั่วไปของคัมมิง (Coming’s general theory) กล่าวว่า การเกิดมะเร็งเพราะมียีนส์ควบคุม (regulatory gene) ผิดปกติ แต่ยีนต์ที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดพันธุกรรม (structural gene) ทำหน้าที่ได้ จึงสามารถแบ่งเซลล์เพื่อขยายพันธุ์ได้ ดังนั้นแม้ว่ามียีนส์มะเร็งอยู่ในร่างกาย หากยีนส์ควบคุมสามารถกดการทำงานของยีนส์ถ่ายทอดลักษณะมะเร็งให้หยุดทำงานจะไม่เกิดมะเร็ง เมื่อใดที่มีการส่งเสริมเหนี่ยวนำยีนส์ควบคุมให้เสียความสามารถกดการทำงานของยีนส์ถ่ายทอดลักษณะมะเร็งจะทำให้เกิดเซลล์มะเร็ง (พัสมณฑ์, 2543)
2. ทฤษฏีของบิเรนบลัม (Berenblum) กล่าวว่าการเกิดมะเร็งเป็นกระบวนการของการเปลี่ยนรูปเซลล์ปกติเป็นเซลล์มะเร็ง ประกอบด้วย 3 ระยะ ได้แก่ (ปริยา และยุพาวรรณ, 2541; พัสมณฑ์, 2543; สุดาพรรณ, 2545; Pfeifer, 1997)
ระยะที่ 1 ระยะเริ่มต้น (initiation)
เป็นกระบวนการขั้นแรก เกิดเมื่อสารก่อมะเร็งเข้าสู่เซลล์ ทำให้ดีเอ็นเอ (DNA) ถูกทำลาย เกิดการเปลี่ยนแปลงของยีนส์ หลังจากนั้นจึงมีการเปลี่ยนแปลงยีนส์อย่างถาวร และเมื่อได้รับสารที่ออกฤทธิ์เสริมสารก่อมะเร็ง ยีนต์ก็จะกลายพันธ์ (mutation) และเกิดเป็นมะเร็งเซลล์
ระยะที่ 2 ระยะส่งเสริม (progression)
เกิดเมื่อมียีนส์ที่กลายพันธ์ มีการแบ่งเซลล์เพิ่มขึ้นจากการได้รับการกระตุ้นจากสารก่อมะเร็ง ทำให้มีเซลล์มะเร็งเพิ่มขึ้น เกิดเป็นก้อนเนื้องอก
ระยะที่ 3 ระยะก้าวหน้า (progression)
ในระยะนี้เซลล์เริ่มต้นมะเร็งจะกลายเป็นเซลล์มะเร็งโดยสมบูรณ์แบบ เนื่องจากได้รับสารกระตุ้นจากภายในและ/หรือภายนอกร่างกายเพิ่มขึ้น ทำให้เซลล์มะเร็งมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ขณะที่มะเร็งมีการขยายขนาดเพิ่มขึ้นเซลล์มะเร็งรอบนอกจะมีการเปลี่ยนแปลงของตัวรับกระแสประสาท (receptor) ของเซลล์รอบๆ หลังจากนั้นเซลล์มะเร็งจะหลั่งเอ็นไซม์ย่อยสลายโปรตีน (proteolytic enzyme) และ/หรือกระตุ้นให้เซลล์ปกติหลั่งเอ็นไซม์ย่อยสลายโปรตีนออกมา เพื่อย่อยสลายสารระหว่างเซลล์ของเนื้อเยื่อ (matrix) รอบๆ ทำให้เซลล์มะเร็งมีการลุกลามไปยังอวัยวะอื่นๆของร่างกาย และกระจายออกคล้ายนิ้วมือ (pseudopodia) หรือขาปู ทำให้เกิดอาการ หรือระดับความรุนแรงของโรคเพิ่มขึ้น
อาการของโรคมะเร็ง
อาการของผู้ป่วยโรคมะเร็ง เป็นอาการที่อาจเกิดจากก้อนมะเร้งมีการเติบโต หรือมะเร็งมีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ หรือกระจายไปทั่วร่างกาย หรืออาจเป็นอาการที่เกิดจากก้อนมะเร็ง ผลิตสารบางชนิด ไปมีผลต่ออวัยวะต่าง ๆ ซึ่งอธิบายได้ ดังนี้
1. อาการเบื่ออาหาร/น้ำหนังลด เชื่อว่าเกิดจากมะเร็งมีการกระตุ้นการหลั่งสารทูเมอร์
นิโคติคแฟคเทอร์ซึ่งมีผลทำให้เกิดการเผาผลาญพลังงานสูงจึงทำให้พลังงานที่สะสมไว้ในร่างกายสูญเสียไปมาก และยังทำให้เบื่ออาหาร (สมเกียรติ และวิเศิษฐ์, 2542) อาการเบื่ออาหารเป็นสาเหตุหนึ่งในหลาย ๆ สาเหตุที่ร่วมกันทำให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งเกิดอาการน้ำหนังลดและผอมลงมากที่เรียกว่า แคดชิเซีย (สุดสวาท, 2542)
2. อาการไข้ กลไกการเกิดไข้อาจเกิดจากสารทูเมอร์ นิโครติคแฟคเตอร์ ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นสารก่อไข้ ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของศูนย์ควบคุมอุณหภูมิ (สมเกียรติ และวิศิษฐ์, 2542)
3. อาการปวด เป็นอาการที่พบบ่อยมากถึงร้อยละ 70-90 ลักษณะการปวดของผู้ป่วยโรคมะเร็งที่พบได้บ่อย แบ่งตามพยาธิสภาพของการเกิดโรคแบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ
3.1 อาการปวดหลังจากการบาดเจ็บ เป็นอาการแวดที่เกิดจากการกระตุ้นตัวรับความรู้สึกปวด ที่โซมติค และวิสเซอร์รอลสตรัคเจอร์ ซึ่งมักเกิดจากการทำลายของเนื้อเยื่อจากมะเร้ง อาการปวดจะเป็นแบบตื้อ ปวดร้าว และตุ๊บ ๆ สามารถบอกตำแหน่งได้ชัดเจน
3.2 อาการปวดจากเส้นประสาท เกิดจากก้อนมะเร็งไปทำลายระบบประสาท ทั้งระบบประสาทส่วนกลาง และระบบประสาทส่วนปลาย โดยอาจเป็นจากก้อนมะเร็งไปกดทับ หรือการแพร่กระจาย เข้าไปเส้นประสาท จากการเจริญเติบโตของก้อนมะเร็ง นอกจากนี้อาจเกิดจากการบาดเจ็บของเส้นประสาทจาการผ่าตัด รังสีรักษา หรือยาเคมีบำบัด ลักษณะการปวดจะเป็นแบบ dysesthesiaallodynia หรือ hyperalgesia โดยมีลักษณะการปวดเหมือนไฟลวก เข็มแทงหรือไฟฟ้าช็อต เป็นต้น
อาการของมะเร็งศีรษะและลำคอ
- อาการเสียงแหบ เกิดจากการขวางของก้อนมะเร็ง ทำให้เวลาออกเสียง สายเสียงไม่สามารถชิดกันได้พอดี เสียงที่เปล่งออกมาจึงแหบ
- อาการเจ็บคอ กลืนอาหารลำบาก เกิดจากก้อนมะเร็งที่ใหญ่ลุกลามเข้าไปในคอ หรือกดเบียดทางเดินอาหารส่วนต้น ทำให้เกิดอาการกลืนอาหารลำบาก กลืนแล้วเจ็บ อาการปวดจะมาก หรือน้อยขึ้นกับระยะและความรุนแรงของโรค ยางรายอาจมีอาการปวดร้าวไปที่หู เกิดจากรบกวน การทำงานของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 10
- อาการหายใจลำบาก เหนื่อย หรือหายใจมีเสียงดัง หรือคล้ายคนเป็นหอบหิด เนื่องจากก้อนมะเร้งมีการแพร่กระจาย หรือโตมากขึ้นจนไปอุดกั้นทางเดินหานใจ
- อาการแสดงทางประสารทตา เกิดจากเนื้องอกลุกลามไปที่ใต้กะโหลก แล้วทำลายเส้นประสาทสมองทั้งหลายที่อยู่บริเวณที่มะเร็งลุกลามไป เช่น เส้นปราสาทที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้อ ของลูกตา ทำให้เกิดตาเหล่ จากกล้ามเนื้อบางส่วนสูญเสียการทำหน้าที่ (วันชัย, 2535)
อาการของมะเร็งตับ
- อาการปวดท้อง อาการปวดท้องเป็นอาการแสดงที่พบบ่อย ในการนำผู้ป่วยมาพบแพทย์ อาการปวดมีตั้งแต่ปวดเล็กน้อย (จุกแน่นตื้อ ๆ หรือแน่นท้อง) จนถึงมีอาการปวดรุนแรง ตำแหน่งจะอยู่บริเวณใต้ชายโครงขวาหรือใต้ลิ้นปี่ อาจปวดร้าวไปบริเวณไหล่ได้ อาการปวด อาจเป็นตลอดเวลาหรือปวดเป็นพัก ๆ อาจจะมีอาการมากขึ้นถ้าไอ หายใจแรง ๆ หรือออกกำลัง กลไกของการปวดนี้เชื่อว่า เกิดจากการขยาย หรือการรุกล้ำ ไปเยื่อหุ้มตับ หรือเกิดจากการที่มะเร็งมีการแพร่กระจายและมรการทำลายเนื้อตับและท่อน้ำดี (อรพรรณ และยุทธนา, 2541)
- มีก้อนไนช่องท้อง ผู้ป่วยจะมาพบแพทย์ด้วยก้อนบริเวณใต้ชายโครงขวา หรือบริเวณยอดอกและโตขึ้นเรื่อย ๆ คลำตับจะมีลักษณะเป็นก้อนนูน บางครั้งอาจมีอาการกดเจ็บได้ (อรพรรณ และยุทธนา, 2541)
- อาการเหลือง หรือท้องมาน จากการศึกษาผู้ป่วยมะเร็งตับชนิดปฐมภูมิในโรงพยาบาลราชวิถีในระยะ 4 ปี พบว่า อาการสำคัญที่นำผู้ป่วยมาพบแพทย์ที่พบบ่อยที่สุดคือ น้ำหนักลดลง ซึ่งพบมากถึงร้อยละ 78 รองลง คือ อาการเบื่ออาหาร ร้อยละ 65 แน่นท้อง ร้อยละ 56 ปวดท้อง ร้อยละ 52 มีก้อนในท้อง 45 และอาการไข้ ร้อยละ 27
อาการของมะเร็งปอด
- อาการไอ โดยเริ่มจากอาการไอมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมและค่อย ๆ เพิ่ม ความรุนแรงขึ้นกลไกของอาการไอในผู้ป่วยมะเร็งปอด เนื่องจากมีการระคายเคือง และ อาจมีอาการไปเป็นเลือดร่วมด้วย อาการไปเป็นเลือดมีลักษณะการไอที่มีเสมหะเป็นเลือดจนถึงเป็นเลือดสด ๆ ส่วนมากผู้ป่วยมะเร็งปอดจะมีอาการไอเป็นเลือดไม่มาก เป็น ๆ หาย ๆ พบได้ร้อยละ 30อาจเกิดจากการที่ก้อนมะเร็งมีหลอดเลือดมาเลี้ยงจำนวนมาก เมื่อมะแผลแตกทำให้เลือดออก
- อาการหายใจลำบากมักอยู่ในระยะท้าย ๆ ของโรค และเมื่อผู้ป่วยเข้าสู่ระยะสุดท้ายของโรคอาการหายใจลำบากพบเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 90 ซึ่งอาจเกิดจาก (สุดสวาท, 2542)
2.1 การอุดตันของเส้นเลือดใหญ่ เกิดจาการที่เส้นเลือดดำใหญ่ถูกกดจากมะเร้งที่กระจายมาที่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณนั้น การอุดตันของหลอดเลือดทำให้มีการคั่งของเลือดบริเวณที่มีการอุดตัน ทำให้ความดัน ของเลือดเพิ่มขึ้น ทำให้มีการรั่วของน้ำออกนอกหลอดเลือดจึงเกิดอาการบวมเฉพาะที่ การอุดกั้นจะทำให้เลือดไหลกลับหัวใจไม่สะดวก ผู้ป่วยจะมีอาการอึดอัดบริเวณคอต่อมาหน้าบวม คอและแขนบวม หน้าอาจมีสีคล้ำ อาจพบหลอดเลือดดำบริเวณโป่งในท่านั่ง (ชลธิป, 2542: สมเกียรติ และวิศิษฏ์, 2542)
2.2 น้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด มะเร็งแพร่กระจายไปที่เยื่อหุ้มปอด ทำให้เกิดการระคายเคืองหรือการกดของก้อนมะเร็งทำให้เยื่อหุ้มปอดบาดเจ็บ เยื่อบุของผนังหลอดเลือด จะแยกห่างจากกัน ทำให้พลาสมา ซึมออกมาภายนอกไปขังอยู่ในช่องเยื่อหุ้มปอด (เวคิน, 2542) ซึ่งโดยปกติสารน้ำจากเยื่อหุ้มปอดชั้นใน ออกสู่เยื่อหุ้มปอดชั้นนอกอัตราประมาณ 100 มล./ซม. และจากเยื่อหุ้มปอดชั้นนอกเข้าสู่เยื่อชั้นในอัตรา ประมาณ 300 มล./ซม. จึงมีน้ำเหลือในช่องเยื่อหุ้มปอดในขณะใดขณะหนึ่ง น้อยมากประมาณ 1 มล.ในภาวะที่มีการอักเสบ ทำให้พลาสมาซึมเข้ามาในอัตรามากกว่าสารน้ำออกจากเยื่อหุ้มปอด ทำให้มีน้ำขังอยู่ในช่องเยื่อหุ้มปอดมากกว่าปกติ ทำให้เกิดภาวะน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดจากมะเร็ง (ศักดิ์ชัย, 2542)
2.3 น้ำในช่องหุ้มหัวใจ มักเกิดจากมะเร็งแพร่กระจายไป ที่เยื่อหุ้มหัวใจ มักเกิดจากมะเร็งปอดส่วนล่างลุกลามเข้าไปโดยตรง ทำให้เกิดการซึมผ่านของเลือดเพิ่มขึ้น ทำให้มีอาการเหนื่อยหอบ เจ็บแน่นหน้าอกตรงกลาง (เวคิน, 2542) และเกิดการรั่วของสารน้ำออกมาคั่งอยู่ภายในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ ซึ่งปกติช่องระหว่างเยื่อหุ้มหัวใจชั้นนอกกับเยื่อหุ้มหัวใจชั้นในจะมีสารน้ำใสหล่อลื่นอยู่ ประมาณ 5-20 ลูกบาศ์กเซนติเมตร (อัจฉรา, 2543) ทำให้น้ำในช่องหุ้มหัวใจ ซึ่งการมีน้ำคั่งในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ ทำให้เกิดการบีบรัดของหัวใจ (ธีระ, 2540: วิศิษฏ์, 2542) จนทำให้หัวในไม่สามารถคลายตัว เพื่อรับเลือดที่ไหลกลับจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้เต็มที่ และไม่สามารถบีบตัวเพื่อส่งไปเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้เพียงพอ (ประณีต, 2537)
- อาการเจ็บหน้าอก อาจเจ็บตึง ๆ หรือเจ็บแปลบ ๆ ซึ่งเกิดจากการกระจายของมะเร็งสู่เยื่อหุ้มปอด สาเหตุของการเจ็บหน้าอกในมะเร็งปอด อาจเกิดจาก (สมเกียรติ และวิศิษฐ์, 2542)
3.1 มะเร็งกระจายเข้าสูเยื่อหุ้มปอด
3.2 มะเร็งกระจายเข้าไปที่ต่อมน้ำเหลืองมีดิแอ็สตินัม
3.3 มะเร็งกระจายไปที่กระดูก เข่น กระดูกซี่โครงหรือกระดูกสันหลัง
3.4 มะเร็งกระจายลุกลามกดทับเส้นประสาท
3.5 มะเร็งที่ปอดส่วนล่าง กระจายเข้าไปในกระบังลมทำให้มีอาการปวดร้าว
ไปตามเส้นปรสาทแฟรนนิค จนถึงหัวไหล่
- อาการเสียงแหบ เกิดจากมะเร็งที่ขั่วปอดด้สนซ้ายเอง หรือมะเร็งกระจายเข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองเมดิแอสตินั่ม กดเส้นประสาทเกี่ยวกับกล่องเสียงข้างซ้าย ที่คล้องลอดใต้ส่วนที่โค้งจากเหลอดเลือดแดงใหญ่ เป็นผลทำให้เส้นเสียงข้างซ้ายอัมพาต ผู้ป่วยจึงมีอาการเสียงแหบ (สมเกียรติ และวิศิษฐ์, 2542)
- อาการกลืนอาหารลำบาก ส่วนมากเกิดจากมะเร้งปอดบริเวณหลอดลมหลักข้างซ้าย ซึ่งมีหลอดอาหาร ผ่านอยู่ด้สยหลังก้อนมีขนาดโตขึ้นกดหลอดอาหาร หรือมะเร้งกระจายเข้าไปทำให้ผู้ป่วยมีอาการกลืนลำบาก (สมเกียรติ และวิศิษฐ์, 2542)
อาการของมะเร็งปากมดลูก
- มีเลือดออกเกิดจากเซลล์มะเร็งยังบยั้งการทำงานของทรอมโบสพอนดิน จึงมีเลือดออกมาเลี้ยงจำนวนมาก เมื่อมะเร็งลุกลามขยายไปกดทับหลอดเลือด ทำให้ผนังหลอดเลือดตาย หลอดเลือดทะลุ หรือการกระทบกระเทือนทำให้หลอดเลือดฉีกขาดจึงมีเลือดออกปริมาณมาก อาจทำให้เกิดภาวะโลหิตจางได้ (ฐิติพร, 2543)
- อาการปวดท้อง อาการปวดอาจเกิดจากก้อนมะเร็ง มีการแพร่กระจายไปกดทับเส้นประสาทออพทูเลเตอร์และเซียร์ติค หรือมีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะข้างเคียง ทำให้ขัดขวางการทำงานและอุดตันอวัยวะที่สำคัญนั้น ๆ บางรายอาจมีอาการปวดมาก ซึ่งเกิดจากการอักเสบหรือติดเชื้อในอวัยวะต่าง ๆ (ฐิติพร, 2544: ตุลย์, 2544: พรรณนิภา และประอรนุช, 2530)
- สิ่งคัดหลั่งมีกลิ่นเหม็น มะเร็งในระยะเริ่มต้นอาจมีสิ่งคัดหลั่งเป็นมูกขาวใสหรือเป็นน้ำไหลออกทางช่องคลอด ซึ่งเป็นปฏิกิริยาของเซลล์ชนิดที่มีอาการอักเสบหรือมีการติดเชื้อ ในมะเร็งระยะที่มาการลุกลามหรือระยะสุดท้ายของโรค จะมีการลุกลามมาที่ผิวหน้าบริเวณปากมดลูกทำให้เกิดแผล เกิดการติดเชื้อ มีการเน่าตายของเนื้อเยื่อ ทำให้สิ่งคัดหลั่งมีกลิ่นเหม็นเน่า (ฐิติพร,2541;พรรณนิภา และประอรนุช,2530)
อาการของมะเร้งเต้านม
- มีก้อน(mass or lump)หรือคลำพบก้อนที่เต้านม ก้อนอาจมีมีลักษณะตั้งแต่แข็ง จนถึงแข็งมาก คลำขอบเขตได้ไม่ชัดเจน ก้อนจะโตขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเป็นอาการที่นำผู้ป่วยมาโรงพยาบาล ที่พบได้บ่อยถึงร้อยละ 80
- อาการดึงรั้ง(retraction sign) เต้านมอาจพบอาการดึงรั้งของผิวหนังเกิดเป็นรอยบุ๋ม ซึ่งเกิดจากมะเร็งมีการแพร่กระจายไปที่เอ็นยืดพยุงต่อมน้ำนม หรือมีการดึงรั้งของหัวนม เกิดจากมีเนื้องอกอยู่ใต้หัวนมทำให้มีการดึงรั้ง ของท่อน้ำนม
- อาการบวม(edema) เกิดจากก้อนเนื้องอกขัดขวางทางเดินน้ำเหลืองในเต้านม ทำให้เกิดการคลั่งในน้ำเหลืองใต้ผิวหนัง ผิวหนังจึงบวมและหนาขึ้น ผิวขรุขระเหมือนผิวส้ม หรือคล้ายหนังหมูที่ถอนขนแล้ว ลักษณะเช่นนี้อาจพบได้ในภาวะที่มีการอักเสบเฉียบพลันของเต้านม ก้อนมีลักษณะแข็ง บวม แดง
- ต่อมน้ำเหลืองที่ใต้รักแร้โต(axillary node involement) การคลำพบก้อนที่รักแร้ แสดงว่ามะเร็งมีการแพร่กระจายมาที่ต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้
- มีของเหลวจากหัวนม
- กดเจ็บ(nipple discharge) ปกติก้อนที่เต้านมมักจะไม่เจ็บ ถ้าเจ็บแสดงว่าอยู่ในระยะหลังของมะเร็ง
- ในราบที่เป็นมากแล้วหรือมีก้อนโตมาก เนื้อมะเร็งบางส่วนจะแตกเป็นแผล เกิดการติดเชื้อมีหนองปนเลือดไหลจากแผลที่แตก และมีกลิ่นเหม็น ส่วนใหญ่จะพบในระยะสุดท้ายซึ่งไม่สามารถรักษาได้
อาการของมะเร็งเม็ดเลือดขาว
อาการและอาการแสดงของผู้ป่วยเด็กมะเร็งเม็ดเลือดขาว อาจมีอาการเริ่มแบบค่อยเป็นค่อยไป ค่อยไปทีละน้อยหรือมีอาการเฉียบพลันทันที ผู้ป่วยเด็กมะเร็งเม็ดเลือดขาวประมาณร้อยละ 50 มักมาด้วยอาการดังนี้ (พรทิพย์,2541;เพ็ญกมล,2544)
- มักพบว่าผู้ป่วยมีอาการไข้เป็นอาการเริ่มแรก เป็นหวัดเรื้อรัง หรือมีอาการของการติดเชื้อทางเดินหายใจเป็นประจำ หรือเป็นแผลในปากเรื้อรัง เนื่องจากเซลล์ปกติที่สร้างในไขกระดูก จะถูกแทนหน้าที่ในเซลล์ตัวอ่อน มีผลให้ขาดเซลล์เม็ดเลือดขาว ที่เจริญเต็มที่ในกระแสโลหิต ทำให้ขาดกลไกการต่อสู้เชื้อโรค เกิดการติดเชื้อได้ง่าย
- อาการซีด อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ เหนื่อยง่าย มีจ้ำเขียว จดเลือดออกตามผิวหนังเลือดออกตามไรฟัน หรือเลือดกำเดาออก ถ่ายอุจจาระมีเลือดปน หรือปัสสาวะเป็นเลือด เกิดจากผลของการสร้างเม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้นมากมาย มีผลให้กระดูกลดการสร้างเซลล์ชนิดอื่นๆ ทำให้เม็ดเลือดแดง และเกล็ดเลือดจะลดลงอย่างมาก
จะเห็นได้ว่าอาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งนั้น อาจมีการแบบค่อยเป็นค่อยไปทีละน้อยหรืออาการเฉียบพลันทันที ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นอาจมีอาการแตกต่างกันออกไปตามชนิดของโรคมะเร็งการแพร่กระจายของโรค ระยะของการดำเนินโรค และสภาพของผู้ป่วย
วิธีการรักษาโรคมะเร็ง และผลข้างเคียงของการรักษา
การรักษาโรคมะเร็งมีหลักที่สำคัญคือ พยายามกำจัดเซลล์มะเร็งออกจากร่างกายให้มากที่สุด โดยมีจุดมุ่งหมายในการรักษา 2 ประการ ได้แก่
- การรักษาให้หายขาด มุ่งหวังให้ผู้ป่วยหายขาดจากโรค การรักษาจะอยู่จำกัดในกลุ่มผู้ป่วยที่โรคมะเร็งยังอยู่ในระยะเพิ่งเริ่มเป็น หรือในกลุ่มผู้ป่วยที่คาดหวังว่าจะรักษาให้หายขาดได้ ซึ่งจะบรรลุจุดมุ่งหมายเมื่อไม่สามารถตรวจพบเซลล์มะเร็งได้อีก ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งในระยะเริ่มแรกหรือมะเร็งที่กลับเป็นใหม่
- การรักษาแบบประคับประคอง เป็นการรักษาโรคตามอาการเพียงเพื่อบรรเทาความทรมานของผู้ป่วยเท่านั้น ใช้รักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งที่เป็นมาก มีการกระจายไปทั่วตัวหรือในผู้ป่วยที่ประเมินแล้วว่าไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ต้องรักษาเพื่อระงับหรือบรรเทาอาการ ช่วยให้ชีวิตผู้ป่วยยืนยาวต่อไปอีกช่วงหนึ่ง การรักษาที่ให้ขึ้นอยู่กับชนิดของโรคและบริเวณเนื้องอก
จากแนวคิดการจัดการกับอาการสามารถสรุปได้ว่า ผู้ป่วยแต่ละคนมีองค์ประกอบที่แตกต่างกันไม่ว่าจะเป็นองค์ประกอบด้านบุคคล องค์ประกอบด้านสุขภาพและความเจ็บป่วย หรือองค์ประกอบด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้มีอิทธิพลต่อประสบการณ์อาการ การรับรู้และการประเมินอาการที่เกิดขึ้น และการตอบสนองของอาการที่แตกต่างกันในแต่ละบุคคล รวมทั้งมีผลกระทบโดยตรงและทางอ้อมต่อการเกิดอาการ การรักษา การเลือกการดูแลรักษา และการจัดการกับอาการต่างๆตลอดจนผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นของแต่ละบุคคล
อาการที่พบบ่อย และการจัดการกับอาการของผู้ป่วยโรคมะเร็ง
จากการทบทวนวรรณกรรมอาการที่พบบ่อยในผู้ป่วยโรคมะเร็งและการจัดการอาการของผู้ป่วยโรคมะเร็ง พบว่า
- อาการปวด
เป็นอาการหนึ่งที่พบได้บ่อยมากถึงร้อยละ 70 – 90 ของผู้ป่วยโรคมะเร็ง (Lesage &Portenoy, 1999)ประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดการอาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ใช้ลดหรือบรรเทาอาการปวดมีทั้งการใช้ยาและการบำบัดด้วยวิธีการอื่นๆ เช่น การศึกษาของพรจันทร์ (2541) ศึกษาประสบการณ์ความปวดและวิธีการจัดการกับความปวดของผู้ป่วยโรคมะเร็งที่เป็นผู้ป่วยในของสถาบันมะเร็งแห่งชาติที่มีความปวดจำนวน 104 ราย พบว่าจำนวนตำแหน่งที่ปวดพบตั้งแต่ 1 ตำแหน่ง จนถึงปวดทั้งตัวไม่สามารถระบุได้ว่าตำแหน่งใด ลักษณะความปวดที่พบมากที่สุด คือ ปวดจี๊ด รูปแบบความปวดที่พบมาก คือ ปวดไม่สม่ำเสมอ การจัดการความปวดที่กลุ่มตัวอย่างใช้มากที่สุด คือ การนวดภายหลังการจัดการกลุ่มตัวอย่างมีความปวดอยู่ในระดับน้อย ส่วนการศึกษาของผ่องรัตน์ (2540)ศึกษาประสบการณ์ความปวดและวิธีการจัดการกับความปวดในผู้ป่วยโรคมะเร็ง จำนวน 80 ราย พบว่า ตำแหน่งปวดที่พบมากที่สุดคือ ท้องและปวดอยู่ภายในลึกๆ รูปแบบของความปวดส่วนใหญ่ปวดอย่างต่อเนื่องและคงที่ ลักษณะความปวดที่พบคือ ปวดเมื่อย ปวดจี๊ด ปวดแปลบ โดยการเคลื่อนไหวจะทำให้มีอาการปวดเพิ่มขึ้น และการนอนพักผ่อน การจัดการเคลื่อนไหวทำให้มีความปวดบรรเทาลง สำหรับวิธีการจัดการกับความปวดพบว่า ผู้ป่วยมีการใช้ยาแก้ปวดร่วมกับวิธีอื่นๆ ที่ไม่ใช่ยาแก้ปวดมากที่สุด และวิธีอื่นที่ไม่ใช่ยาแก้ปวดที่กลุ่มตัวอย่างใช้มากที่สุด คือ การนวด ร้อยละ 58.84 รองลงมาคือ การทำสมาธิ ร้อยละ 19.20 การสวดมนต์ ร้อยละ 17.74 การใช้ความร้อน ร้อยละ 16.13 และการดูโทรทัศน์ นอกจากนี้ในการจัดการความปวด วัลลภา (2536) ได้ศึกษาผลของดนตรีต่อความเจ็บปวดและความทุกข์ทรมานในผู้ป่วยมะเร็ง พบว่า ระดับความเจ็บปวดและความทุกข์ทรมานของกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับฟังดนตรีลดลงมากกว่าไม่ได้รับฟังดนตรีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติน้อยกว่า .001
2. อาการข้างเคียงจากการรักษาด้วยเคมีบำบัด
จากการศึกษาของจันทิรา (2543) เรื่องการรับรู้สุขภาพและการดูแลตนเองตามทางเลือกในการรักษาของผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาว พบว่า ผู้ป่วยจะมีอาการข้างเคียงจากยาเคมี และการดูแลตนเอง ดังนี้
2.1 อาการคลื่นไส้อาเจียน พบว่า ผู้ป่วยมีความทุกข์ทรมานจากอาการข้างเคียงของการรักษาด้วยเคมีบำบัดโดยเฉพาะอาการคลื่นไส้อาเจียน ผู้ป่วยทุกคนสะท้อนความหมายได้ชัดเจนเหมือนกันว่าเป็นที่สุดของความทุกข์ทรมาน ลักษณะรุนแรงเหมือนใจจะขาด อาเจียนจนหมดไส้หมดพุง อาเจียนทั้งวันทั้งคืน เป็นต้น ผู้ป่วยมีการต่อสู้กับอาการคลื่นไส้อาเจียนด้วยการรับประทานแยมที่ใช้ทาขนมปัง บ๊วยเค็มหรือบ๊วยหวาน ผลไม้จำพวกส้ม กล้วย องุ่นที่ล้างสะอาดแล้วแกะเปลือกออกหรืออาจเป็นผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว จำพวกมะม่วง ฝรั่ง ชมพู่เขียว การใช้น้ำหวานเพื่อลดกลิ่นของยาที่สำคัญคือ ต้องมีจิตใจเข้มแข็ง อดทน ไม่คิดมาก และสร้างกำลังใจให้ตนเอง
นอกจากนี้สเคลลาและลาคาซซา (Skella&Lacassa, 1992) ได้ทำการศึกษาผู้ป่วยที่มีอาการเหนื่อยล้าพบว่า ร้อยละ 72-99 ของผู้ป่วยหลังได้รับยาเคมีบำบัดหรือรังสีรักษาจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ผู้ป่วยมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพโดยการนอนหลับพักผ่อนเพิ่มขึ้น ออกกำลังการด้วยวิธีการต่างๆ รับประทานอาหารเพื่อส่งเสริมให้ร่างกายแข็งแรง มีการผ่อนคลายด้วยวิธีการฟังเพลง และนั่งสมาธิ พฤติกรรมดังกล่าวช่วยลดอาการเหนื่อยล้า คลื่นไส้ อาเจียนลงได้ ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของดวงกมล (2543) ผลการฝึกการผ่อนคลายต่ออาการคลื่นไส้ ขย้อนและอาเจียนในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัด ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการฝึกการผ่อนคลายมีอาการคลื่นไส้อาเจียนต่างจากผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการฝึกการผ่อนคลาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อย่างไรก็ตามเมื่อวิเคราะห์ข้อมูลเชิงบรรยายเกี่ยวกับความรู้สึกต่อการฝึกการผ่อนคลาย พบว่า การฝึกการผ่อนคลายนั้นดี ฝึกง่าย ทำให้จิตใจสงบ และผู้ป่วยไม่ทุกข์ทรมานจากการอาการคลื่นไส้ อาเจียนเหมือนที่ผ่านมานอกจากนี้บุษบา, อัจฉรา และกนกพร (2545) ได้การศึกษาผลของการสร้างจินตภาพต่ออาการคลื่นไส้ ขย้อน และอาเจียน ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัดพบว่า การสร้างจินตภาพสามารถลดความถี่ระยะเวลา และความทุกข์ทรมานของอาการคลื่นไส้ ภายหลังการทดลองลดลงจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ความถี่ และความทุกข์ทรมานของอาการขย้อนภายหลังการทดลองลดลงจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ .01 ตามลำดับ ปริมาณอาเจียนและความทุกข์ทรมานของอาการอาเจียนลดลงจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.2 รูปลักษณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลง ผู้ป่วยอธิบายความรู้สึกจากการที่มีรูปลักษณ์เปลี่ยนแปลงไป ได้แก่ ขาดความมั่นใจในบุคลิก ความเป็นตัวของตัวเองขาดหายไป ความรู้สึกอายและความรู้สึกอัปลักษณ์เหมือนผี ผู้ป่วยมีการปรับปรุงรูปลักษณ์โดยเฉพาะจากอาการผมร่วงจากศรีษะล้านหลากหลายวิธี ได้แก่ การสวมหมวก การใส่วิกผม การใช้ผ้าสีสวยๆโพกศรีษะ และใช้สมุนไพรช่วยบำรุงรากผมเร่งการงอกของเส้นผมให้เร็วขึ้น
2.3 อาการที่เกิดจากการกดไขกระดูก ยาเคมีบำบัดมีผลต่อการกดไขกระดูก ทำให้มีการสร้างเม็ดเลือดผิดปกติ ส่งผลให้เม็ดเลือดขาวและเกร็ดเลือดลดลง ทำให้ซีด ติดเชื้อได้ง่าย มีไข้เลือดออกผิดปกติ จากการศึกษาดังกล่าว พบว่า ผู้ป่วยมีการจัดการกับอาการ ดังนี้
2.3.1 อาการซีด ใช้พริกไทยดำผสมน้ำผึ้งรวงผสมไข่ไก่บ้านซึ่งได้รับคำแนะนำจากญาติสนิท หลังจากใช้มาระยะเวลานาน 3-4 เดือน พบว่า ตนเองไม่มีอาการซีด ร่างกายแข็งแรงขึ้นและเส้นผมที่งอกใหม่ดกดำขึ้น
2.3.2 ติดเชื้อได้ง่าย มีการรักษาความสะอาดซึ่งถือเป็นหลักสำคัญ โดยการรับประทานอาหารสะอาด สุกใหม่ ไม่รับประทานผักสดและผลไม้ที่ไม่ปอกเปลือก เป็นต้น
2.3.3 มีไข้ ใช้วิธีการอบไอน้ำสมุนไพร ทำไห้รู้สึกสบาย ไข้ลดลง
2.3.4 เลือดออกแล้วหยุดยาก มีการป้องกันตนเองโดยการหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุเป็นวิธีการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการเกิดแผล จึงมีการระมัดระวังเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น แปรงสีฟันต้องมีขนนุ่ม หรืออาจใช้สำลีและน้ำยาบ้วนปากแทน เป็นต้น
2.4 อาการนอนไม่หลับ จากความเจ็บปวดร่างกาย เพราะขณะใกล้หลับสมองจะลดการรับรู้จากสัญญาณประสาททั่วร่างกาย แต่ถ้าร่างกายมีส่วนใดส่วนหนึ่งเจ็บปวด สมองจะตอบรับสัญญาณความปวดเป็นเหตุให้นอนไม่หลับ จากการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยใช้วิธีการทำสมาธิในขณะที่ตนมีอาการเจ็บปวดร่างกายจนนอนไม่หลับ หลังทำช่วยให้หลับได้ ช่วยลดปวดลงได้บ้าง
3. อาการข้างเคียงจากการรักษาด้วยรังสีรักษา
จากการศึกษาของบรรจบ (2543) เรื่องการดูแลตนเองของผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกที่ได้รับรังสีรักษา พบว่า การดูแลตนเองเพื่อบรรเทาภาวะแทรกซ้อนจากการฉายรังสี ได้แก่
3.1 อาการคลื่นไส้อาเจียน ผู้ป่วยที่ได้รับการฉายรังสีที่บริเวณช่องท้องจะมีอาการบ่คลื่นไส้อาเจียน เนื่องจากรังสีจะมีผลต่อการทำลายเยื่อบุผิวของทางเดินอาหาร จึงพบอาการคลื่นไส้ อาเจียน ได้บ่อยเกือบทุกรายที่ได้รับรังสีรักษา วิธีการดูแลตนเองเพื่อบรรเทาอาการคลื่นไส้ ผู้ป่วยมีการดูแลตนเองหลายวิธีต่างๆ กัน ได้แก่ เคี้ยวหมาก รับประทานส้มจิ้มเกลือ รับประทานลูกอม ดมผิวมะนาว ส่วนอาการอาเจียนนั้น หลังอาเจียนผู้ป่วยมีวิธีการดูแลตนเองให้สุขสบายโดยพักผ่อน เช็ดตัว ทาแป้ง รับประทานอาหารบำรุง ดื่มน้ำข้าวต้ม ดื่มน้ำเกลือแร่ เพื่อไม่ให้อ่อนเพลีย
3.2 อาการเบื่ออาหาร รับประทานได้น้อย อาจเกิดจากการที่ผู้ป่วยมีกิจกรรมลดลง ความสามารถในการย่อยและการดูดซึมอาหารลดลง รวมทั้งอาจเกิดจากการรับรสอาหารมีการเปลี่ยนแปลงหรือลดลง อาการเบื่ออาหารส่งผลให้ร่างกายอ่อนเพลีย ไม่มีแรง ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้เหมือนเดิม ทำให้จิตใจหดหู่ ไม่มีกำลังใจ ผู้ป่วยดูแลตนเองโดยพยายามรับประมานอาหารที่รับประทานได้ เช่น รับประทานข้าวกับแตงโม ปลาแห้ง ผลไม้ รับประทานอาหารบำรุงร่างกาย ได้แก่ นม รังนก ไข่ลวก ซุปไก่ และเปลี่ยนแปลงวิธีการรับประทาน โดยซื้ออาหารไปรับประทานกับเพื่อนๆ ทำให้มีอาหารเลือกรับประทานหลายชนิด
3.3 ท้องเสีย ถ่ายเหลวเป็นมูกวันละหลายครั้ง เนื่องจากการฉายรังสีบริเวณช่องท้องและอุ้งเชิงกราน มีผลทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุทางเดินอาหารทำให้การย่อยและการดูดซึมลดลง ผู้ป่วยมีการดูแลตนเองโดยเคี้ยวใบชมพู่สด เพราะคิดว่ารสฝาดของใบชมพู่จะช่วยบรรเทาอาการท้องเสียได้ ซื้อยารับประทานเอง ดื่มน้ำเกลือแร่ เมื่อดูแลตนเองแล้วอาการไม่ดีขึ้นจึงมาพบแพทย์ ในขณะที่ผู้ป่วยบางรายเมื่อมีอาการท้องเสียก็รีบมาพบแพทย์ทันที นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ป่วยมีอาการปวดเบ่งเวลาถ่ายอุจจาระและมีเลือดออกเวลาเบ่งอุจจาระ มีการดูแลตนเองโดยซื้อยามารับประทานเองและมาพบแพทย์
3.4 มีแผลเปื่อยพองบริเวณก้นและง่ามขา จากปฏิกิริยาของผิวหนังเมื่อถูกความร้อนผิวหนังจะเริ่มแห้ง ตกสะเก็ด และเปลี่ยนเป็นสีดำ (dry desquamation) คล้ายรอยไหม้ และในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการคันร่วมด้วย และเมื่อได้รับรังสีเพิ่มขึ้น รวมทั้งผิวหนังมีการเสียดสีเป็นประจำอาจทำให้เกิดการหลุดลอกของเซลล์ผิวหนัง ทำให้ผิวหนังเกิดจากแผลแตกเยิ้ม คล้ายแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก (ฐิติพร, 2541; รัชนี, 2535; วิมล, 2542; สมจิต, 2536) ผู้ป่วยมีการดูแลตนเองของโดยใช้น้ำยาไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ทา เมื่อรู้ว่าถูกน้ำไม่ได้จึงทำยาสมุนไพรมาทา ทาแป้งข้าวโพด ใช้น้ำล้างและมาพบแพทย์ ในรายที่มีอาการคันช้องคลอด มีการดูแลตนเองโดยทำความสะอาดด้วยน้ำ ทาแป้งข้าวโพด
4. อาการทางด้านจิตใจและอารมณ์
4.1 ผู้ป่วยที่มีความกังวลจะหาวิธีจัดการเพื่อลดความวิตกกังวล ดังนี้ (สมจิต, 2536)
4.1.1 การแสดงหาข้อมูลเพิ่มเติมอย่างมีเหตุผลเกี่ยวกับโรค การรักษา และการปฏิบัติตน การแสวงหาข้อมูลมีประโยชน์และเป็นการเพิ่มพลังอำนาจ ช่วยให้บุคคลสามารถรับรู้และประเมินสถานการณ์ได้ตรงกับความเป็นจริง และสามารถวางแผนจัดการกับเหตุการณ์ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับตนเองได้ (สมจิต, สุนิสา, แสงเดือน และพวงทอง, 2538) เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเรียนรู้ในการดูแลตนเองเกิดความรู้สึกว่าสามารถควบคุมตนเองได้ ขจัดความเข้าใจผิด และเจคติที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคและการรักษา จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า ข้อมูลที่ผู้ป่วยโรคมะเร็งต้องการมากที่สุดอันดับแรกคือ การปฏิบัติตน รองลงมาคือ ข้อมูลที่ช่วยให้เกิดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรค การรักษา และอาการข้างเคียงจากการรักษา
4.1.2 การพูดคุยปรับทุกข์ และปรึกษาหารือกับผู้อื่นเป็นวิธีการเผชิญปัญหาที่ผู้ป่วยใช้มากที่สุดอีกวิธีหนึ่ง เป็นการพูดคุยระบายความกังวลและปรึกษาผู้อื่นในการแก้ไขปัญหา ซึ่งอาจเป็นญาติหรือพยาบาล
4.1.3 การปฏิบัติตามแผนการรักษาของแพทย์ โดยปราศจากข้อซักถาม เพราะศรัทธาและเชื่อถือในความสามารถของแพทย์
4.1.4 การเผชิญหน้ากับปัญหาอย่างเข้าใจในสภาพความเป็นจริงโดยจะกระทำหรือคิดสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วยบนพื้นฐานของความเข้าใจในสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้น
4.1.5 การยอมรับสภาพความเจ็บป่วย แต่พยายามปรับเปลี่ยนความหมายของการเจ็บป่วยไปในทางที่ดี เป็นการปรับเปลี่ยนสถานการณ์ที่เลวร้ายให้ดีขึ้น ลดความรุนแรงของเหตุการณ์ลงให้อยู่ในขอบเขตที่พึงรับได้
4.1.6 การทำให้เป็นเรื่องขบขัน เพื่อปรับเปลี่ยนสถานการณ์ให้ดีขึ้น เป็นการพยายามทำตัวให้สนุกสนาน เพื่อให้ลืมความกังวลใจซึ่งได้ผลในระยะสั้น
4.1.7 การผ่อนคลาย จากการศึกษาของนิตยา (2537) ผลของการใช้เทคนิคการผ่อนคลายอารมณ์ต่อระดับความวิตกกังวลในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและลำคอพบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับการฝึกการผ่อนคลายด้วยจิตคลุมกายในระยะเวลาก่อนได้รับรังสี จะมีความวิตกกังวลน้อยกว่าผู้ป่วยได้รับการดูแลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติน้อยกว่า .01
4.1.8 การปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา การขอพร และความคุ้มครองจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือสิ่งที่ผู้ป่วยยึดเหนี่ยวในชีวิตเป็นวิธีการที่ผู้ป่วยคนไทยใช้กันมาก สอดคล้องกับการศึกษาของสุรีย์พร (2537) ศึกษาการดูแลตนเองของผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกที่ได้รับรังสีรักษาพบว่า การดูแลตนเองเพื่อตอบสนองความต้องการทางจิตใจและอารมณ์ ผู้ป่วยจะพยายามทำให้จิตใจให้เข้มแข็ง และมีอารมณ์มั่นคงโดยทำให้จิตใจให้สงบ ไม่คิดมาก โดยการบนบานสิ่งศักดิ์สิทธิ์ สวดภาวนา ทำบุญให้ทาน เพื่อให้สิ่งศักดิ์ที่นับถือช่วย เช่น ไหว้พระทุกวันขอให้หาย ทำบุญสะเดาะเคราะห์ ให้พระรดน้ำมนต์ ทำบุญตักบาตร ทำแล้วสบายใจคิดว่าต้องหาย เป็นต้น
4.1.9 การเจรจาต่อรองหาทางเลือกที่เป็นไปได้ โดยพิจารณาว่าสิ่งใดเป็นสิ่งที่ดีที่สุดเหมาะสมที่สุดที่จะกระกระทำ
4.1.10 พยายามสร้างบรรยากาศที่คิดว่า ช่วยให้เกิดการผ่อนคลาย และสบายใจขึ้นเช่น พยายามวาดรูปพวกการ์ตูน ดอกไม้ หรือวาดรูปตามจินตนาการ ไปไหว้พระตามวัดต่างๆ ไปเที่ยวนั่งหรือเดินเล่น เป็นต้น (จันทิรา, 2543)
4.2. ผู้ป่วยที่มีความเครียดจะมีวิธีการจัดการ หรือเผชิญกับความเครียดโดยการแสวงหาข้อมูลเกี่ยวกับความเจ็บป่วยหรือการรักษา การทำจิตใจให้สงบ การผ่อนคลาย เป็นต้น ซึ่งแต่ละวิธีที่ผู้ป่วยเลือกปฏิบัติเพื่อจัดการหรือเผชิญความเครียดนั้นแตกต่างกันออกไปตามการรับรู้ของแต่ละบุคคล เช่น จากการศึกษาของ ดรุณี, นฤมล, พะยอม, สุนันท์, มัชฌิมาพร และอังศุมา (2537) การเผชิญความเครียดของผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับรังสีรักษา จำนวน 50 ราย พบว่า ผู้ป่วยมีรูปแบบในการเผชิญความเครียด 2 ลักษณะ คือ 1) มีการแสวงหาข้อมูลเมื่อมีข้อสงสัยเรื่องความเจ็บป่วย ผู้ป่วยส่วนมากจะปรึกษาแพทย์และพยาบาลมากที่สุด ร้อยละ 84 รองมาจะพูดคุยกับผู้ป่วยที่ประสบความสำเร็จในการรักษาด้วยรัวสี ร้อยละ 72 ถามผู้ป่วยด้วยกันร้อยละ 64 และหาหนังสือเกี่ยวกับโรคมะเร็งมาอ่านด้วยตนเองนั้นมีจำนวนน้อยมาก ร้อยละ 34 เท่านั้น 2) ลักษณะการเผชิญความเครียดของผู้ป่วยด้านการปฏิบัติตนเมื่อมีความเครียด จากการศึกษาพบว่า วิธีการปฏิบัติมากกว่าร้อยละ 80 คือมองโลกในแง่ดี อยู่ในที่ๆรู้สึกตนเองสบายใจ ทำบุญ ให้ทาน หาเวลาใกล้ชิดกับบุคคลที่รัก และพยายามทำให้ดีที่สุดเพราะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงเหตุการณ์ได้ วิธีการที่ผู้ป่วยปฏิบัติพบน้อยกว่าร้อยละ 30 คือ เมื่อเกิดความเครียดตะโกนให้ดังๆ โทษสิ่งอื่น ทำลายข้าวของ รับประทานยานอนหลับดื่มเหล้า และสูบบุหรี่ นอกจากนี้ละเอียด(2535) ได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความหวังกับพฤติกรรมการเผชิญภาวะความเครียดในผู้ป่วยมะเร็งระหว่างได้รับรังสีรักษา ในผู้ป่วยจำนวน 40 ราย พบว่าพฤติกรรมที่ผู้ป่วยใช้บ่อยในการเผชิญภาวะเครียด 6 อันดับแรก คือ เลือกรับฟังเฉพาะสิ่งที่ดี ร้อยละ 97.5 รองลงมา คือ กระทำตามที่บุคคลอื่นคาดหวังและแนะนำ พยายามลืมความเจ็บป่วยที่เป็นอยู่ การยอมจำนนต่อความเจ็บป่วย ร้อยละ 95 พยายามกระทำให้ดีที่สุดเพราไม่สามารถจะเปลี่ยนแปลงเหตุการณ์ได้ร้อยละ 92.5 และอันดับสุดท้าย คือพยายามปลอบใจตนเอง ร้อยละ 90
- อาการทางด้านสังคม
อาการที่ผู้ป่วยขาดความมั่นใจ และรู้สึกว่าคุณค่าในตนเองลดลง เป็นความรู้สึกที่มักเกิดขึ้นเมื่อบุคคลมีความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆ ลดลง ต้องพึ่งพาผู้อื่น กลัวผู้อื่นรังเกียจภาพลักษณ์ที่เปลี่ยนไป ทำให้ทักษะในการเข้าสังคมเสียไป ผู้ป่วยมีการแยกตัว และจากการศึกษาการดูแลตนเองของผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกที่ได้รับรังสีรักษาพบว่า การดูแลตนเองเพื่อตอบสนองความต้องการการมีส่วนร่วมในสังคม ผู้ป่วยจะพยายามทำกิจกรรมให้เหมือนปกติหรือมากกว่าปกติ เพราะการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นในสังคม นอกจากจะได้รับความสบายใจแล้ว ผู้ป่วยยังรู้สึกว่ามีคุณค่า สามารถยังทำประโยชน์ให้สังคมได้ เช่น ในผู้ป่วยบางรายพอรู้ว่าตนเองป่วยก็จะไปช่วยงานมากกว่าเดิมไปช่วยร้องรำตามงาน ตัวเองก็สบายใจ ชอบอยู่กับเพื่อนด้วยกันสบายใจ ได้พูดคุยซักถามข้อมูลด้วยกันช่วยให้กำลังใจ ให้ความรู้ เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ป่วยชอบเข้ากลุ่มพูดคุยกับผู้ป่วยโรคมะเร็งด้วยกัน เนื่องจากทำให้ได้รับแรงสนับสนุนทางด้านอารมณ์ มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลตนเองและยังได้ประเมินเปรียบเทียบความเจ็บป่วยของตนกับผู้ป่วยที่มีความรุนแรงมากกว่าอีกด้วย
จากที่กล่าวมาจะเห็นว่า การเจ็บป่วยในแต่ละระยะการดำเนินของโรคมะเร็ง และการรักษาที่ได้รับมีผลกระทบต่อผู้ป่วยทั้งทางร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณอาการที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยก่อให้เกิดความทุกข์ทรมานอย่างมาก ถ้าอาการดังกล่าวไม่ได้รับการจัดการหรือบำบัดที่เพียงพอเหมาะสม ก็จะส่งผลให้ชีวิตต้องอยู่กับความทุกข์ทรมานตลอดไป ดังนั้นผู้ป่วยจึงพยายามแสวงหาวิธีการจัดการกับอาการที่เกิดขึ้นในหลายๆวิธีตามการรับรู้ของผู้ป่วยเอง ซึ่งมีทั้งวิธีที่มุ่งแก้ปัญหาและจัดการกับอารมณ์ มีทั้งการรับประทานยา และการไม่ใช้ยา เช่น การรับประทานยาแก้ปวด แก้คลื่นไส้อาเจียน การนวด การใช้สมุนไพร การรับประทานอาหารเหลว หรืออาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ การผ่อนคลายด้วยการฟังเพลง การทำสมาธิ และการพูดคุยปรับทุกข์หรือการปรึกษาหารือกับผู้อื่น เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามการจัดการกับอาการต่างๆ จะมีประสิทธิภาพหรือไม่อย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับการรับรู้ของผู้ป่วยต่อการจัดการกับอาการ รวมไปถึงองค์ประกอบต่างๆ ที่เข้ามาส่งเสริมหรือขัดขวางการจัดการอาการ เช่น ประสบการณ์อาการ การรับรู้อาการ การประเมินอาการ และการตอบสนองต่ออาการเป็นต้น
จากการทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยจะเห็นได้ว่า การให้การดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น จำต้องมีการศึกษาปรากฏการณ์เกี่ยวกับอาการต่างๆ ที่พบบ่อย และอาการที่ผู้ป่วยโรคมะเร็งรับรู้ว่ามีความรุนแรงและรบกวนการดำเนินชีวิต รวมทั้งประสบการณ์ที่ผู้ป่วยปฏิบัติเพื่อจัดการกับอาการเหล่านั้น ในการบรรเทาความรู้สึกไม่สุขสบายที่เกิดขึ้นกับตน ดังนั้นทีมสุขภาพจึงความให้ความสำคัญแก่อาการที่พบบ่อยของโรคมะเร็งดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น และจำเป็นต้องเข้าใจถึงองค์ประกอบต่างๆ ของผู้ป่วยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการกับอาการตามการรับรู้และประสบการณ์จริงของผู้ป่วย ซึ่งจะช่วยทำให้เข้าใจระบบความคิด ความเชื่อ และพฤติกรรมการจัดการกับอาการของผู้ป่วยมากขึ้น เป็นประโยชน์ในการนำความรู้และผลวิจัยที่ได้มาวางแผนกลยุทธ์ เพื่อพัฒนารูปแบบแนวทางในการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งที่สามารถควบคุมและป้องกันความรุนแรงของอาการจากโรคและภาวะแทรกซ้อนจากการรักษา รวมทั้งนำความรู้ที่ได้มาผสมผสานในการให้คำแนะนำและ/หรือปรับเปลี่ยนวิธีการดูแล การส่งเสริมการดูแลตนเองให้สอดคล้องกับความต้องการ และแบบแผนการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อไป
ส่วนที่ 3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
1. ศึกษาสถิติทางระบาดวิทยาของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
1.1 กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา
กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป เพศชายและเพศหญิง หมู่ที่1 บ้านฮ่องห้า ตำบลน้ำโจ้ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง
1.2 การเก็บรวบรวมข้อมูล
ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้ได้กำหนดระยะเวลา 2 อาทิตย์โดยศึกษาข้อมูลจากแฟ้มข้อมูลผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ป่วยกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านฮ่องห้า
1.3 การวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติผู้ป่วยโรคไม่ติดเต่อเรื้อรังในกลุ่มผู้สูงอายุ หมู่ที่ 1 บ้านฮ่องห้า
ตำบลน้ำโจ้ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง ข้อมูลระหว่างปี 2555-2556 ผลการวิเคราะห์ดังนี้
ตารางที่ 1 แสดงจำนวนร้อยละของกลุ่มตัวอย่าง “ด้านเพศ”
เพศ | จำนวน (คน) | ร้อยละ |
ชาย | 123 | 47 |
หญิง | 139 | 53 |
รวม |
จากตารางที่ 1 สามารถอธิบายข้อมูลทั่วไปด้านเพศจากแฟ้มข้อมูลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง พบว่า ผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรังเป็นเพศชาย ร้อยละ 47 และ เพศหญิงร้อยละ 53
ตารางที่ 2 แสดงจำนวนร้อยละของกลุ่มตัวอย่าง “ด้านช่วงอายุ”
ช่วงอายุ | จำนวน (คน) | ร้อยละ |
60 – 65 | 99 | 38 |
66 – 70 | 53 | 20 |
71 – 75 | 51 | 19 |
76 – 80 | 37 | 14 |
ตั้งแต่อายุ 80 ปีขึ้นไป | 22 | 9 |
รวม | 262 | 100 |
จากตารางที่ 2 สามารถอธิบายข้อมูลทั่วไปด้านช่วงอายุจากแฟ้มข้อมูลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง พบว่า ผู้สูงอายุอยู่ในช่วง 60 – 65 ปี ร้อยละ 38 ผู้สูงอายุอยู่ในช่วง 66 – 70 ปี ร้อยละ 20 ผู้สูงอายุอยู่ในช่วง
71 – 75 ปี ร้อยละ 19 ผู้สูงอายุอยู่ในช่วง 76-80 ปี ร้อยละ 14 และผู้สูงอายุตั้งแต่ 80 ปีขึ้นไป ร้อยละ 9
ตารางที่ 3 แสดงข้อมูลโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในกลุ่มผู้สูงอายุ ระหว่างปี 2555 – 2556
โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง | จำนวน (คน) | ร้อยละ |
เบาหวาน | 78 | 38 |
ความดัน | 104 | 50 |
หลอดเลือดหัวใจ | 10 | 5 |
หลอดเลือดสมอง | 7 | 3 |
มะเร็ง | 8 | 4 |
รวม | 207 | 100 |
จากตารางที่ 3 สามารถอธิบายข้อมูลโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในกลุ่มผู้สูงอายุ ระหว่างปี 2555 – 2556 พบว่า ผู้สูงอายุป่วยเป็นโรคเบาหวาน ร้อยละ 38 โรคความดัน ร้อยละ 50 โรคหลอดเลือดหัวใจ ร้อยละ 5 โรคหลอดเลือดสมอง ร้อยละ 3 และโรคมะเร็ง ร้อยละ 4
จากการศึกษาพบว่าจำนวนผู้สูงอายุของหมู่ที่1 บ้านอ่องห้ามีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยในปี 2555 มีผู้สูงอายุคิดเป็นประมาณร้อยละ 18 ของจำนวนประชากรในหมู่บ้าน และในปี 2556 ผู้สูงอายุมีการเพิ่มขึ้นจากเดิมคิดเป็นร้อยละ 19 ของประชากรทั้งหมดในหมู่บ้าน สิ่งที่ตามาคือการมีอายุไขที่ยืนยาวย่อมส่งผลกระทบต่อสุขภาพในผู้สูงอายุทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเกิดขึ้น ทั้งนี้สาเหตุอาจมาจากปัจจัยหลายๆอย่างเช่น พฤติกรรมการบริโภคเนื่องจากชุมชนเป็นเขตที่ติดต่อระหว่างเขตเมืองทำให้ผู้สูงอายุมีวัฒนธรรมการบริโภคที่เปลี่ยนไป ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจเนื่องจากผู้สูงอายุส่วนใหญ่ไม่ได้ประกอบอาชีพย่อมส่งผลถึงค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น เงินรายได้ที่ต้องพึ่งพาอาศัยบุตรหลานในการดำรงชีพ อาจก่อให้เกิดปัญหาทางด้านจิตใจ ความเครียด ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรค ทั้งนี้จากการศึกษาโดยใช้ข้อมูลการเฝ้าระวังโรคไม่ติดเรื้องรังในกลุ่มผู้สูงอายุ (ปี2555-2556)นั้นพบว่า ผู้สูงอายุนั้นมีอัตราการเพิ่มขึ้นของโรคเรื้อรังขึ้นทุกปีโรคที่พบบ่อยและมากที่สุดนั้นคือโรค ความดันโลหิตสูง รองลงมาคือโรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมองตามลำดับ
2. ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเกิดอุบัติการณ์ของโรค
จากการศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเกิดโรคในกลุ่มผู้สูงอายุ หมู่ที่ 1 บ้านฮ่องห้า พบว่า
เกิดจากปัจจัยด้านพฤติกรรมบุคคล ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม และปัจจัยด้านวัฒนธรรม
- ปัจจัยด้านส่วนบุคคล
1.1 กรรมพันธุ์
พบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่นั้นมีประวัติในครอบครัวนั้นป่วยเป็นโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดัน
1.2 ความเครียด
พบว่าผู้สูงอายุนั้นมีความเครียดในเรื่องของลูกหลานที่ไม่สามารถมาดูแลผู้สูงได้ทำให้เกิดความน้อยใจกลัวการถูกทอดทิ้งส่งผลให้เกิดความเครียดตามมา และอีกสาเหตุหนึ่งคือปัญหาภาระหนี้สิน ค่าใช้จ่ายภายในครอบครัวที่ผู้สูงอายุนั้นไม่มีรายได้ ส่งผลให้เกิดภาระใช้จ่ายตามมา
1.3 เศษฐกิจ
พบว่า เศรษฐกิจภายในหมู่บ้านฮ่องห้านั้น ส่วนใหญ่นั้นค่อนข้างยากจนส่งผลให้ผู้สูงอายุนั้นเกิดความเครียดในเรื่องภาระค่าใช้จ่ายต่างๆ ซึ่งจะส่งผลทำให้เกิดโรคความดัน โรคหลอดเลือดสมองตามมา
1.4 พฤติกกรมการบริโภคอาหาร
การรับประทานอาหารของผู้สูงอายุส่วนใหญ่นั้นนิยมรับประทานอาหารรสชาติ หวาน มัน เค็ม เนื่องจากผู้สูงอายุนั้นไม่ได้เป็นผู้ประกอบอาหารเอง โดยส่วนมากบุตรหลานจะเป็นคนปรุงอาหาร จึงทำให้ผู้สูงอายุนั้นหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะรับประทานอาหารรสชาติ หวาน มันเค็ม ซึ่งผลที่ตามมาคือผู้สูงอายุส่วนใหญ่นั้นมักจะเป็นกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดัน เนื่องมาจากการบริโภคอาหาร
1.5 พฤติกกรมการออกกำลังกาย
การออกกำลังกายในผู้สูงอายุนั้น พบว่า ส่วนมากมักจะไม่ออกกำลังกาย เนื่องมาจากสาเหตุที่ว่าไม่มีเวลาในการออกกำลัง ร่างกายไม่ไหว ซึ่งโดยปกติแล้วผู้สูงอายุนั้นจะต้องออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาที
1.6 พฤติกรรมการสูบบุหรี่
พฤติกรรมการสูบบุหรี่ยังพบในกลุ่มผู้สูงอายุทั้งชายหญิงที่นิยมสูบบุหรี่ที่มวนเอง
อันเนื่องมาจากวัฒนธรรมของคนสมัยก่อนที่นิยมการสูบบุหรี่มวนเอง ซึ่งปัจจุบันพบว่าการสูบบุหรี่มวนเองนั้นเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น COPD
1.7 พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
การดื่มสุรา ในกลุ่มผู้สูงอายุส่วนมากพบในผู้สูงอายุเพศชายที่มักจะดื่มสุรากลั่น เป็นประจำซึ่งจะให้ร่างกายนั้นทำงานหนักจากการขับสารพิษจากสุรา และยังเป็นปัจจัยต่างๆในการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆตามมา
- ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม
2.1 สิ่งแวดล้อมภายในบ้าน
การจัดสิ่งแวดล้อมภายในบ้านให้เป็นสัดส่วน พบว่า บ้านของผู้สูงอายุส่วนนั้นจัดไม่เป็นสัดส่วนเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหกล้ม อาจส่งผลให้เกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต ได้ และการดูแลสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมภายในบ้าน ทั้งห้องน้ำ ห้องส้วม และห้องครัว ยังไม่สะอาด เสี่ยงต่อการเกิดโรคระบาดได้
2.2 สิ่งแวดล้อมภายในชุมชน
เนื่องจากบริบทของชุมชนบ้านฮ่องห้าส่วนใหญ่นั้นมีอุตสาหกรรมโรงงานต่างๆ เช่น
โรงงานเซรามิค โรงงานขยะ ฯลฯ อาจจะส่งผลทำให้เกิดโรคทางระบบทางเดินหายใจ โรคปอดจากการสูดดมควันจากโรคงาน ซึ่งผู้สูงอายุนั้นมีอัตราเสี่ยงในการเกิดโรคมากเนื่องจากภูมิคุ้มกันในผู้สูงอายนั้นมักเสื่อมลง
- ปัจจัยทางวัฒนธรรม
จากการวิเคราะห์ปัญหาพบว่าปัจจัยทางด้านวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในกลุ่มผู้สูงอายุนั้น พบว่า ค่านิยมความเชื่อของชาวเหนือเมื่อมีเทศกาลหรืองานต่างๆเจ้าภาพมักจะเลี้ยงต้อนรับแขกเป็นอย่างดี เช่น กรณีงานศพในหมู่บ้าน จะเห็นว่าเจ้าภาพนั้นมักจะเลี้ยงอาหารที่ดี เช่นแกงฮังเล ซึ่งแกงฮังเลนั้นส่วนประกอบส่วนใหญ่นั้นจะเป็นเนื้อหมูที่ติดมัน ปรุงรสชาติด้วยหวานนำ ซึ่งอาหารเหล่านี้มักจะส่งผลทำให้เกิดโรคอ้วน เบาหวาน ความดันตามมาซึ่งเราพบว่านอกเหนือจากอาหารที่มีรสชาติหวานยังพบว่างานศพมักจะมีการเลี้ยงเครื่องดื่มเป็นกาแฟ โอวัลติน ซึ่งส่วนใหญ่นั้นจะมีรสชาติที่หวานจากการปรุงน้ำตาล นมข้น ครีมเทียมเพิ่มลงไป ทำให้เป็นการเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวานได้
มาตรการแนวทางป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
- การค้นหากลุ่มเสี่ยงและผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง และเสริมพลังความสามารถในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
- การดำเนินงานของชุมชนและองค์กรเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพและมีการปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อพฤติกรรมลดปัจจัยเสี่ยง
- การดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงควบคู่กับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและคัดกรองภาวะแทรกซ้อน
- การพัฒนาการสื่อสารสาธารณะ
- สร้างองค์ความรู้ตามหลักการ 3อ. 2ส. (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ สุรา ยาสูบ)
- สร้างกระแสสังคมเกิดความตระหนักในการดูแลสุขภาพตนเองตามหลัก 3อ. 2ส.
3. วิเคราะห์ปัญหาและโอกาสการพัฒนาและจัดทำแผนดำเนินการแก้ไขปัญหาอุบัติการณ์ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ
3.1 ตารางที่ 4 SWOT Analysis
Strengths-จุดแข็ง
1. มีการจัดตั้งกลุ่มชมรมผู้สูงอายุ 2. มีกองทุนสวัสดิการสุขภาพตำบล 3. มีภาคีเครือข่ายสุขภาพ 4. เข้าถึงบริการสุขภาพได้ง่าย 5. มีศักยภาพในการพัฒนา |
Weaknesses-จุดอ่อน
1. ผู้สูงอายุไม่ตระหนักในเรื่องของสุขภาพ 2. ขาดความรู้ ความเข้าใจ ของการดูแลสุขภาพ 3. พฤติกรรมการบริโภคไม่เหมาะสม 4. ผู้สูงอายุบางส่วนยังขาดความร่วมมือในการทำกิจกรรม |
Opportunities-โอกาส
1. ปีแห่งการส่งเสริมสุขภาวะในผู้สูงอายุ 2. ผู้สูงอายุส่วนใหญ่สามารถพัฒนาศักยภาพด้านสุขภาพได้ 3. มีบุคลากรที่มีความรู้ ความความสามารถ ในการดูแลสุขภาพ |
Threats-ภัยคุกคาม
1. ภาวะเศรษฐกิจมีการถดถอยทำให้ผู้สูงอายุเกิดความเครียด 2. ลักษณะทางสังคมเป็นกึ่งเมือง กึ่งชนบทส่งผลให้พฤติกรรมการดำเนินวิถีชีวิตเปลี่ยนไป 3. ชุมชนตั้งอยู่ในเขตโรงงานอุตสาหกรรม |
3.2 ตารางที่ 5 TOWS matrix
ผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ตามสถานการณ์ 4 รูปแบบของกลุ่มผู้สูงอายุ หมู่ที่ 1 บ้านฮ่องห้าได้ใช้กลยุทธ์ ดังนี้
S + O (จุดแข็ง+โอกาส)
1. จัดหางบประมาณในการส่งเสริมสุขภาพให้แก่ผู้สูงอายุจากหน่วยงานรัฐที่รับผิดชอบ 2. จัดให้มีการประชุมพบปะแลกเปลี่ยนความรู้ในกลุ่มผู้สูงอายุทุกเดือน 3. สร้างแรงจูงใจให้ผู้สูงอายุเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ |
W + O (จุดอ่อน+โอกาส)
1. จัดกิจกรรม/โครงการ เพื่อส่งเสริมความรู้ด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงสูงอายุมากขึ้น 2. จัดอบรมแกนนำผู้สูงอายุให้สามารถถ่ายทอดความรู้แก่สมาชิกในชมรม ซึ่งสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง 3. จัดหางบประมาณเพื่อทำโครงการ/กิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพแก่ผู้สูงอายุให้มีความหลากหลาย |
S+T (จุดแข็ง+ภัยคุกคาม)
1. จัดให้ชมรมผู้สูงอายุมีการพบปะปรึกษาพูดคุยกันเพื่อไม่ให้ผู้สูงอายุนั้นเกิดความเครียด 2. เครือข่ายสุขภาพร่วมกันรณรงค์พฤติกรรมการบริโภคอาหาร |
W+T (จุดอ่อน+ภัยคุกคาม)
สร้างความตระหนักให้แก่ผู้สูงอายุ ดูแลสุขภาพ รวมถึงพฤติกรรมการการรบริโภค หลีกเลี่ยงวัฒนธรรมสังคมเมือง ลดภาระหนี้สินค่าใช้จ่ายในครัวเรือน |
3.3 แผนดำเนินการแก้ไขปัญหาอุบัติการณ์การเกิดโรค
จากการวิเคราะห์ปัญหาและโอกาสการพัฒนาของผู้สูงอายุ หมู่ที่ 1 บ้านฮ่องห้า ทางผู้ศึกษาได้เห็นปัญหาในเรื่องของจุดอ่อนที่ต้องเร่งการแก้ไขปัญหาคือ ผู้สูงอายุยังขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องของการดูแลสุขภาพ และที่สำคัญคือผู้สูงอายุนั้นไม่ตระหนักเรื่องของสุขภาพ ซึ่งผู้ศึกษาเห็นว่าหากปล่อยให้ผู้สูงอายุนั้นขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพยิ่งจะทำให้เกิดปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคเรื้อรังตามมาทำให้อัตราผู้สูงอายุที่จะป่วยเป็นโรคเรื้อรังเพิ่มขึ้น จึงได้กำหนดแผนการดำเนินเพื่อแก้ไขอุบัติการณ์การเกิดโรคเรื้อรังในกลุ่มผู้สูงอายุที่ปกติ กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง ซึ่งมีการดำเนินการตามแผนดังนี้
ยุทธศาสตร์
- ส่งเสริมความรู้และเสริมสร้างพลังศักยภาพความสามารถในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
- ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มเสี่ยง กลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยง และกลุ่มเสี่ยงสูง
องค์ประกอบ
- การลดปัจจัยเสี่ยงในกลุ่มผู้สูงอายุ
- การปรับเปลี่ยนดูแลพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยง
ตารางที่ 6 แผนการดำเนินงานแก้ไขอุบัติการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
องค์ประกอบ | ยุทธศาสตร์ | ตัวชี้วัด |
การลดปัจจัยเสี่ยงในกลุ่มผู้สูงอายุ | ส่งเสริมความรู้และเสริมสร้างพลังศักยภาพความสามารถในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ | 1. มีโครงการส่งเสริมความรู้ให้แก่ผู้สูงอายุ
2. ผู้สูงอายุมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ดีขึ้น 3. จำนวนกลุ่มเสี่ยงผู้ป่วยโรคเบาหวานลดลง |
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยง กลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยง และกลุ่มเสี่ยงสูง | ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มเสี่ยง กลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยง และกลุ่มเสี่ยงสูง | ผู้สูงอายุที่อยู่กลุ่มเสี่ยง กลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยง และกลุ่มเสี่ยงสูง ของโรคเบาหวาน ความดัน มีการปรับพฤติกรรม 3อ. 2ส. 1ฟ. |
แนวทางการดำเนินงานตามแผน
การลดปัจจัยเสี่ยงในกลุ่มผู้สูงอายุ
ส่งเสริมความรู้และเสริมสร้างพลังศักยภาพความสามารถในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
– จัดกิจกรรมโครงการ “พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ” หมู่ที่1 บ้านฮ่องห้า
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยง กลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยง และกลุ่มเสี่ยงสูง
ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มเสี่ยง กลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยง และกลุ่มเสี่ยงสูง
– ติดตามการเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ โดยการเฝ้าติดตามจากการมารับบริการสุขภาพในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านฮ่องห้า
4. ดำเนินโครงการแบบมีส่วนร่วมกับชุมชนตามแผนดำเนินการ
ผู้ศึกษาได้กำหนดแผนดำเนินการการแก้ไขปัญหาอุบัติการณ์ของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในกลุ่มผู้สูงอายุ หมู่ที่ 1 บ้านอ่องห้า ซึ่งมียุทธศาสตร์ ดังนี้
- ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างความรู้และเสริมสร้างพลังศักยภาพในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
- ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มเสี่ยง กลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยง และ กลุ่มเสี่ยงสูง
ผู้ศึกษาจึงได้เลือกยุทธศาสตร์การเสริมสร้างความรู้และเสริมสร้างพลังศักยภาพในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ทั้งนี้เนื่องจากการวิเคราะห์ปัญหาทำให้ทราบถึงผู้สูงอายุนั้นยังขาดความรู้ ความเข้าใจ ในการปฏิบัติตนในเรื่องของการดูแลพฤติกรรมสุขภาพที่ส่งผลทำให้เกิดปัจจัยในโรคไม่ติดต่อเรื้อรังตามมา จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ โดยมีวัตถุประสงค์ขึ้นเพื่อให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุในกลุ่มที่ปกติ กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง ให้ผู้สูงอายุนั้นสามารถดูแลสุขภาพและแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพด้วยตนเอง และเพื่อให้ผู้สูงอายุนั้นได้พบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกันในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งในการจัดโครงการครั้งนี้ได้เชิญวิทยากรให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุ จำนวน 3 ท่าน คือ
- นางสาวสุภา ศรีรุ่งเรือง พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านฮ่องห้า
หัวข้อ : การดูแลสุขภาพ 3อ. 2ส. และการปฏิบัติตัวในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
- ทันตแพทย์หญิง มุขธิตา นันติชัย ทันตแพทย์โรงพยาบาลแม่ทะ
หัวข้อ : การดูแลสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุ
- นางสาวเสาวคนธ์ สุขมี นักกายภาพบำบัด โรงพยาบาลแม่ทะ
หัวข้อ : การฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุ
ผลการดำเนินโครงการ
จากการพิจารณาศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นภายในชุมชน หมู่ที่ 1 บ้านฮ่องห้า พบปัญหาในผู้สูงอายุเนื่องจากจำนวนผู้สูงอายุมีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาคือคือการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ซึ่งจะพบว่าผู้สูอายุป่วยเป็นโรคเบาหวานจำนวนร้อยละ 20 โรคความดันโลหิตสูง จำนวน ร้อยละ 35 โรคหลอดเลือดในสมอง จำนวนร้อยละ 2 โรคหัวใจ จำนวนร้อยละ 3 โรคมะเร็ง จำนวน ร้อยละ 3 และป่วยเป็นโรคไต จำนวนร้อยละ 4 ซึ่งปัญหาสุขภาพเหล่านี้เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้สูงอายุดำรงชีวิตอยู่อย่างไม่มีความสุข ดังนั้นทางคณะผู้จัดทำโครงการจึงเลือกประเด็นปัญหาสุขภาพในผู้สูงอายุโดยการให้ความรู้เพื่อนำไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ หมู่ที่ 1 บ้านฮ่องห้า ได้จัดขึ้นในวันที่ 4 ธันวาคม 2556 ณ ศาลาเอนกประสงค์วัดบ้านฮ่องห้า โดยความร่วมมือของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพสาธารณสุขศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 และ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านฮ่องห้า มีผู้สูงอายุเข้าร่วมอบรมจำนวน 101 คนโดยมีหัวข้อการอบรมดังนี้
- 3อ. 2ส.
- ปัญหาสุขภาพในช่องปากของผู้สูงอายุ
- การฟื้นฟูสุขภาพในผู้สูงอายุ
ในการจัดการอบรมครั้งนี้ได้ใช้เทคนิคการฝึกอบรมประกอบด้วย การบรรยาย การสาธิต และการฝึกปฏิบัติจริง ตลอดการบรรยายเพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ และสนุกสนานก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ตลอดจนมีทัศนคติที่ดีต่อการดูแลสุขภาพและสามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้างและพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการดูแลสุขภาพตนเองได้ การจัดอบรมโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ หมู่ที่ 1 บ้านฮ่องห้า ในครั้งนี้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี การบรรยายราบรื่นเรียบร้อย สนุกสนาน บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ทางคณะผู้จัดทำได้ตั้งไว้
การประเมินผลในการอบรมแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
- การประเมินความรู้
- การประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมการฝึกอบรม
1. การประเมินความรู้
ตารางที่ 7 แสดงผลการประเมินความรู้ก่อนและหลังการอบรม จำนวน 90 คน
ทดสอบความรู้ | คะแนนเต็ม | คะแนนต่ำสุด | คะแนนสูงสุด | ค่าเฉลี่ย |
ทดสอบความรู้ก่อนการอบรม | 10 | 3 | 6 | 5 |
ทดสอบความรู้หลังการอบรม | 10 | 5 | 9 | 7 |
ตารางที่ 1 การประเมินความรู้ : การทดสอบก่อนและหลังการอบรม โดยใช้แบบทดสอบ จำนวน 10 ข้อ ข้อละ 1 คะแนน คะแนนเต็ม 10 คะแนน พบว่า ก่อนการอบรมผู้เข้าร่วมรับการอบรมมีความรู้คะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 5 คะแนน คะแนนต่ำสุด 3 คะแนน และ คะแนนสูงสุด 6 คะแนน หลังการอบรมมีคะแนนเฉลี่ย 7 คะแนน คะแนนต่ำสุด 5 คะแนน และ คะแนนสูงสุด 9 คะแนน
2. การประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมการอบรม
ประเมินความพึงพอใจในหัวข้อต่างๆที่ทางคณะผู้จัดทำแบบประเมินความพึงพอใจต่อด้านความรู้ก่อนและหลังการอบรม ด้านวิทยากร ด้านสถานที่ และการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
หลังจากการอบรมในหัวข้อต่างๆทางคณะผู้จัดทำแบบประเมินความพึงพอใจต่อความรู้ก่อนการอบรม ความรู้หลังการอบรม การนำความรู้ไปใช้ ด้านวิทยากร และด้านสถานที่ ในวันที่ 4 ธันวาคม 2556
มีผู้เข้ารับการอบรมจำนวน 101 คน ตอบแบบประเมิน 90 คน คิดเป็นร้อยละ 89
- ความคิดเห็นเกี่ยวกับความรู้ก่อนการอบรม
ในประเด็นนี้มีการรายงานการประเมิน 5 รายการโดยได้แบ่งระดับความพึงพอใจออกเป็น 5 ระดับ คือ ระดับ 5 ดีมาก ระดับ 4 ดี ระดับ 3 ปานกลาง ระดับ 2 น้อย ระดับ 1 น้อยที่สุด ซึ่งผู้เข้าร่วมการอบรมมีการประเมินความพึงพอใจ ดังนี้
ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง 3อ. 2ส.
พบว่าผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้ 3อ.2ส. ก่อนการฝึกอบรมอยู่ในระดับ 3 คือปานกลาง ร้อยละ 45 และรองลงมาระดับ 2 คือ น้อย ร้อยละ 31
ความรู้เกี่ยวกับเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก
พบว่าผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก ก่อนการฝึกอบรมอยู่ในระดับ 3 คือปานกลาง ร้อยละ 48 และรองลงมาระดับ 2 คือ น้อย ร้อยละ 26
ความรู้เกี่ยวกับการฟื้นฟูสุขภาพในผู้สูงอายุ
พบว่าผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุด้านการฟื้นฟูสุขภาพ ก่อนการฝึกอบรมอยู่ในระดับ 3 คือปานกลาง ร้อยละ 48 และรองลงมาระดับ 2 คือ น้อย ร้อยละ 25
2. ความคิดเห็นเกี่ยวกับความรู้หลังการอบรม
ในประเด็นนี้มีการรายงานการประเมิน 5 รายการโดยได้แบ่งระดับความพึงพอใจออกเป็น 5 ระดับ คือ ระดับ 5 ดีมาก ระดับ 4 ดี ระดับ 3 ปานกลาง ระดับ 2 น้อย ระดับ 1 น้อยที่สุด ซึ่งผู้เข้าร่วมการอบรมมีการประเมินความพึงพอใจ ดังนี้
ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง 3อ.2ส.
พบว่าผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่อง 3อ. 2ส. หลังการฝึกอบรมอยู่ในระดับ 4 คือมาก ร้อยละ 36 และรองลงมาระดับ 2 คือมากที่สุด ร้อยละ 24
ความรู้เกี่ยวกับเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก
พบว่าผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก หลังการฝึกอบรมอยู่ในระดับ 4 คือมาก ร้อยละ 46 และระดับ 2 คือมากที่สุด ร้อยละ 37
ความรู้เกี่ยวกับการฟื้นฟูสุขภาพในผู้สูงอายุ
พบว่าผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุด้านการฟื้นฟูสุขภาพ หลังการฝึกอบรมอยู่ในระดับ 4 คือมาก ร้อยละ 40 และระดับ 2 คือมากที่สุด ร้อยละ 38
3. ความคิดเห็นเกี่ยวกับการนำความรู้ไปใช้
ในประเด็นนี้มีการรายงานการประเมิน 5 รายการโดยได้แบ่งระดับความพึงพอใจออกเป็น 5 ระดับ คือ ระดับ 5 ดีมาก ระดับ 4 ดี ระดับ 3 ปานกลาง ระดับ 2 น้อย ระดับ 1 น้อยที่สุด ซึ่งผู้เข้าร่วมการอบรมมีการประเมินความพึงพอใจ ดังนี้
ความรู้ที่ได้รับครั้งนี้มีประโยชน์มากน้อยเพียงใด
พบว่าผู้เข้ารับการอบรม ได้รับประโยชน์จากการอบรมอยู่ในระดับ 4 คือมาก ร้อยละ 37 และระดับ 2 คือมากที่สุด ร้อยละ 35
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
พบว่าผู้เข้ารับการอบรม นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน อยู่ในระดับ 4 คือมาก ร้อยละ 39 และระดับ 2 คือมากที่สุด ร้อยละ 37
การนำความรู้ไปเผยแพร่-ถ่ายทอด
พบว่าผู้เข้ารับการอบรม สามารถนำความรู้ไปเผยแพร่ถ่ายทอดได้ ในระดับ 4 คือมาก ร้อยละ 40 และระดับ 2 คือมากที่สุด ร้อยละ 39
- ด้านวิทยากร
ในประเด็นนี้มีการรายงานการประเมิน 5 รายการโดยได้แบ่งระดับความพึงพอใจออกเป็น ๕ ระดับ คือ ระดับ 5 ดีมาก ระดับ 4 ดี ระดับ 3 ปานกลาง ระดับ 2 น้อย ระดับ 1 น้อยที่สุด ซึ่งผู้เข้าร่วมการอบรมมีการประเมินความพึงพอใจ ดังนี้
การถ่ายถอดความรู้ของวิทยากร
พบว่าผู้เข้ารับการอบรมประเมินการถ่ายทอดความรู้ของวิทยากรอยู่ในระดับ 4 คือมาก ร้อยละ 41 และระดับ 2 คือมากที่สุด ร้อยละ 32
ความเหมาะสมของวิทยากรโดยรวม
พบว่าผู้เข้ารับการอบรมประเมินความเหมาะสมของวิทยากรโดยรวม อยู่ในระดับ 4 คือมาก ร้อยละ 47 และระดับ 2 คือมากที่สุด ร้อยละ 33
5. ด้านสถานที่
ในประเด็นนี้มีการรายงานการประเมิน 5 รายการโดยได้แบ่งระดับความพึงพอใจออกเป็น4 ระดับ คือ ระดับ 5 ดีมาก ระดับ 4 ดี ระดับ 3 ปานกลาง ระดับ 2 น้อย ระดับ 1 น้อยที่สุด ซึ่งผู้เข้าร่วมการอบรมมีการประเมินความพึงพอใจ ดังนี้
พบว่าผู้เข้ารับการอบรมประเมินความเหมาะสมของสถานที่ฝึกอบรม/โสตทัศนูปกรณ์ อยู่ในระดับ 4 คือมาก ร้อยละ 52 และระดับ 2 คือมากที่สุด ร้อยละ 32
สรุปแบบประเมินความพึงพอใจการฝึกอบรม
โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ หมู่ที่ 1 บ้านฮ่องห้า ตำบลน้ำโจ้ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง
วันที่ 4 ธันวาคม 2556
การอบรมโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ หมู่ที่ 1 บ้านฮ่องห้า มีผู้เข้าร่วมโครงการ 101 คน ตอบแบบสอบถามความพึงใจ จำนวน 90 คน คิดเป็นร้อยละ 89
หัวข้อกิจกรรรม 3อ. 2ส. ซึ่งมีนางสาวสุภา ศรีรุ่งเรือง พยาบาลวิชาชีพ จากโรงพยาบาลบ้านฮ่องห้า เป็นวิทยากรการให้ความรู้ ผลปรากฏดังนี้
ความรู้ก่อนการอบรม ผู้เข้าร่วมการอบรมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับที่ 3 คือปานกลาง ร้อยละ 36 ความรู้หลังการอบรม อยู่ในระดับที่ 4 คือมาก ร้อยละ 45
หัวข้อกิจกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก ซึ่งมีทันตแพทย์หญิง มุขธิตา นันติชัย ทันตแพทย์โรงพยาบาลแม่ทะ เป็นวิทยาให้ความรู้ ผลปรากฏดังนี้
ความรู้ก่อนการอบรม ผู้เข้าร่วมอบรมมีความพึงใจในอยู่ระดับที่ 3 คือปานกลาง ร้อยละ 48 ความรู้หลังการอบรม อยู่ในระดับ 4 คือมาก ร้อยละ 46
หัวข้อกิจกรรมการฟื้นฟูสุขภาพในผู้สูงอายุ ซึ่งมีนางสาวเสาวคนธ์ สุขมี นักกายภาพบำบัด โรงพยาบาลแม่ทะเป็นวิทยากรให้ความรู้ ผลปรากฏดังนี้
ความรู้ก่อนการอบรม ผู้เข้าร่วมการอบรมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับที่ 3 คือปานกลาง ร้อยละ
48 ความรู้หลังการอบรม อยู่ในระดับ 4 คือมาก ร้อยละ 40
ด้านการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ ผู้เข้าร่วมอบรมได้รับประโยชน์การอบรมครั้งนี้ อยู่ในระดับ
4คือมาก ร้อยละ 37 การนำความรู้ไปเผยแพร่ถ่ายทอด อยู่ในระดับ 4 คือมาก ร้อยละ 40
ด้านวิทยากร ผู้เข้าร่วมอบรมมีความพึงพอใจต่อวิทยากรในการถ่ายทอดความรู้ อยู่ในระดับ 4
คือมาก ร้อยละ 41 ความเหมาะสมของวิทยากรโดยรวม อยู่ในระดับ 4 คือมาก ร้อยละ 47
ด้านสถานที่ ผู้เข้าร่วมอบรมมีความพึงพอใจต่อด้านสถานที่ฝึกอบรม/โสตทัศนูปกรณ์ อยู่ใน
ระดับ 4 คือ มาก ร้อยละ 53
สรุปผลการศึกษา
จากการศึกษาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง พบว่าจำนวนผู้สูงอายุของหมู่ที่ 1 บ้านฮ่องห้ามีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยในปี 2555 มีผู้สูงอายุคิดเป็นประมาณร้อยละ 18 ของจำนวนประชากรในหมู่บ้าน และในปี 2556 ผู้สูงอายุมีการเพิ่มขึ้นจากเดิมคิดเป็นร้อยละ 19 ของประชากรทั้งหมดในหมู่บ้าน สิ่งที่ตามาคือการมีอายุไขที่ยืนยาวย่อมส่งผลกระทบต่อสุขภาพในผู้สูงอายุทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเกิดขึ้น ทั้งนี้สาเหตุอาจมาจากปัจจัยหลายๆอย่างเช่น พฤติกรรมการบริโภคเนื่องจากชุมชนเป็นเขตที่ติดต่อระหว่างเขตเมืองทำให้ผู้สูงอายุมีวัฒนธรรมการบริโภคที่เปลี่ยนไป ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจเนื่องจากผู้สูงอายุส่วนใหญ่ไม่ได้ประกอบอาชีพย่อมส่งผลถึงค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น เงินรายได้ที่ต้องพึ่งพาอาศัยบุตรหลานในการดำรงชีพ อาจก่อให้เกิดปัญหาทางด้านจิตใจ ความเครียด ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรค ทั้งนี้จากการศึกษาโดยใช้ข้อมูลการเฝ้าระวังโรคไม่ติดเรื้องรังในกลุ่มผู้สูงอายุ (ปี2555-2556)นั้นพบว่า ผู้สูงอายุนั้นมีอัตราการเพิ่มขึ้นของโรคเรื้อรังขึ้นทุกปีโรคที่พบบ่อยและมากที่สุดนั้นคือโรค ความดันโลหิตสูง รองลงมาคือโรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมองตามลำดับ
ผลการจัดกิจกรรมโครงการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ หมู่ที่1 ตามแผนดำเนินการแก้ไขปัญหาอุบัติการณ์ของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังพบว่าผู้สูงอายุให้ความสนใจร่วมกิจกรรมจำนวน 101 คน โดยมีวิทยากรจากหน่วยงานภายในและภายนอกมาให้ความรู้ ได้แก่ การดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ วิทยากร คือ ทันตแพทย์หญิงมุขธิตา นันติชัย ให้ความรู้เรื่องของการการแปรงฟันที่ถูกวิธี การเลือกใช้ฟันปลอมในผู้สูงอายุ และการดูแลวิธีการใช้ฟันปลอม รวมถึงการเชิญชวนให้ผู้สูงอายุนั้นร่วมโครงการฟันปลอมพระราชทานเพื่อผู้สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องของฟันคุณเสาวคนธ์ สุขมี นักกายภาพบำบัด โรงพยาบาลแม่ทะ ได้ให้ความรู้การฟื้นฟูสุขภาพ เรื่องของการออกกำลังกายอย่างถูกวิธีในผู้สูงอายุ และการฟื้นฟูสุขภาพในกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ทั้งนี้ได้มีการสาธิตการออกกำลังให้ผู้สูงอายุนั้นมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมร่วมกัน คุณสุภา ศรีรุ่งเรือง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านฮ่องห้า ได้ให้ความรู้ในหัวข้อ 3อ.2ส. ได้แก่ 1.อ.อาหาร 2.อ.อารมณ์ 3.อ.ออกกำลังกาย และ 2.ส ได้แก่ ไม่สูบบุหรี่และไม่ดื่มสุรา ในการจัดการอบรมครั้งนี้ได้ใช้เทคนิคการฝึกอบรมประกอบด้วย การบรรยาย การสาธิต และการฝึกปฏิบัติจริง ตลอดการบรรยายเพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ และสนุกสนานก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ตลอดจนมีทัศนคติที่ดีต่อการดูแลสุขภาพและสามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้างและพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการดูแลสุขภาพตนเองได้ การจัดอบรมโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ หมู่ที่ 1 บ้านฮ่องห้า ในครั้งนี้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี การบรรยายราบรื่นเรียบร้อย สนุกสนาน
ผลลัพธ์ที่ผู้สูงอายุได้รับจากการเข้าร่วมโครงการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ คือ ผู้สูงอายุนั้นมีทัศนคติที่ดีต่อการดูแลสุขภาพ มีความเข้าใจในการปฏิบัติตัวเพื่อหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคเรื้อรัง ซึ่งผู้สูงอายุสามารถนำความรู้ที่ได้นำไปปฏิบัติ ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อก่อให้เกิดศักยภาพในการพัฒนาผู้สูงอายุต่อไป