ดร.ธีร์ คันโททอง
การเข้าสู่ตําแหน่งวิชาการด้านการรับใช้สังคม
สําหรับทุกคนที่เป็นอาจารย์สอนในระดับอุดศึกษาแล้วนั้น สิ่งที่ทุกคนจะทําพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา ก็คือ การสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ โดยการทําวิจัย ซึ่งเป็นภารกิจที่จะต้องทําในทุกปีการศึกษาอยู่แล้ว และจากงานวิจัยที่อาจารย์ทุกท่านต้องทํานั้น ไม่เพียงแค่การสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ แต่ผลงานวิชาการนั้นก็ยังสามารถนํามาขอตําแหน่งทางวิชาการได้เช่นกัน ซึ่งถือว่าเป็นรางวัลสําหรับอาจารย์ที่ได้ลงทุนลงแรงในการทําวิจัยนั่นเอง
เส้นทางการเข้าสู่ตําแหน่งวิชาการ
การเข้าสู่ตําแหน่งวิชาการของอาจารย์ของพนักงานมหาวิทยาลัยนั้นก็จะมีเส้นทางให้เลือกด้วยกันอยู่ 4 เส้นทาง ได้แก่
- ผลงานวิจัย หรือ ผลงานทางวิชาการรับใช้สังคม รวมกัน 2 เรื่อง (คุณภาพดี)
- ผลงานตามข้อ 1 จํานวน 1 เรื่อง และ ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น จํานวน 1 รายการ (คุณภาพดี)
- ผลงานตามข้อ 1 จํานวน 1 เรื่อง และ ตําราหรือหนังสือ (คุณภาพดี)
- สําหรับกลุ่มสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ผู้ขอตําแหน่งวิชาการอาจจะใช้เส้นทาง ดังนี้
– ผลงานวิจัย จํานวน 1 เรื่อง (คุณภาพดี) หรือ
– ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น จํานวน 1 เรื่อง (คุณภาพดี) หรือ
– ผลงานทางวิชาการรับใช้สังคม จํานวน 1 เรื่อง (คุณภาพดี) หรือ
– ตําราหรือหนังสือ (คุณภาพดี)
และ
– บทความทางวิชาการ 1 เรื่อง (คุณภาพดีมาก)
ทั้งนี้ในการตัดสินนั้นจะตัดสินจากผู้ทรงคุณวุฒิจํานวน 3 – 5 คน โดยใช้เสียงข้างมาก
ประเภทของผลงานวิชาการ
สําหรับผลงานวิชาการ สามารถแบ่งได้ 4 กลุ่ม ดังนี้
- งานวิจัย
- ผลงานวิชาการในลักษณะอื่น แบ่งเป็น
– ผลงานวิชาการเพื่ออุตสาหกรรม
– ผลงานวิชาการเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนและการเรียนรู้
– ผลงานวิชาการเพื่อการพัฒนานโยบายสาธารณะ
– กรณีศึกษา (Case Study)
– งานแปล
– พจนานุกรม สารานุกรม นามานุกรม และงานวิชาการในลักษณะเดียวกัน
– ผลงานวิชาการสร้างสรรค์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
– ผลงานสร้างสรรค์ด้านสุนทรียะ ศิลปะ – สิทธิบัตร และ
– ซอฟต์แวร์
- ผลงานวิชาการรับใช้สังคม
- อื่น ๆ แบ่งเป็น
– ตํารา
– หนังสือ และ
– บทความวิชาการ
ผลงานวิชาการรับใช้สังคม
ความหมายของผลงานวิชาการรับใช้สังคม
หมายถึง ผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ส่งผลให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมอย่างเป็นรูปธรรม โดย ประจักษ์ต่อสาธารณะ โดยผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมนั้น ต้องเป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นทางด้านใด ด้านหนึ่งหรือหลายด้านเกี่ยวกับ ชุมชน วิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม อาชีพ เศรษฐกิจ การเมืองการ ปกครอง คุณภาพชีวิต หรือสุขภาพ หรือเป็นผลงานที่นําไปสู่การจดทะเบียนสิทธิบัตรหรือทรัพย์สินทางปัญญา ในรูปแบบอื่นที่สามารถแสดงได้เป็นที่ประจักษ์ว่าสามารถใช้แก้ปัญหาหรือพัฒนาสังคม และก่อให้เกิด ประโยชน์อย่างชัดเจน หรือเป็นการเปลี่ยนแปลงในความตระหนักและการรับรู้ในปัญหาและแนวทางแก้ไขของ ชุมชนนั้นได้
ลักษณะคุณภาพของผลงานวิชาการรับใช้สังคม
ระดับดี
มีการรวบรวมข้อมูลและสารสนเทศที่ชัดเจน มีการระบุปัญหาหรือความต้องการคุณภาพโดย การมีส่วนร่วมของสังคมกลุ่มเป้าหมาย บุคลากรภาครัฐ หรือบุคลากรภาคเอกชน มีการวิเคราะห์หรือ สังเคราะห์ความรู้ที่สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นหรือทําความเข้าใจสถานการณ์ มีการถ่ายทอดผลงานทาง วิชาการ จนเกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นอย่างเป็นประจักษ์ หรือก่อให้เกิดพัฒนาชุมชน สังคม องค์กร ภาครัฐ หรือองค์กรภาคเอกชนนั้น
ระดับดีมาก
ใช้เกณฑ์เดียวกับระดับดี และเพิ่มเติม คือ ต้องสามารถนํามาใช้เป็นตัวอย่างในการแก้ไข ปัญหาหรือทําความเข้าใจสถานการณ์จนเกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นอย่างเป็นประจักษ์หรือก่อให้เกิด การพัฒนาสังคม องค์กรภาครัฐ หรือองค์กรภาคเอกชนอื่นได้ หรือก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย ระดับจังหวัดหรือประเทศอย่างเป็นรูปธรรมได้
ระดับดีเด่น
ใช้เกณฑ์เดียวกับระดับดีมาก และเพิ่มเติม คือ ต้องส่งผลกระทบต่อสังคมอย่างกว้างขวาง เป็นที่ยอมรับในระดับชาติ หรือระดับนานาชาติ หรือได้รับรางวัลองค์กรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ เช่น UNESCO WHO UNICEF เป็นต้น
สําหรับการที่จะเข้าสู่ตําแหน่งวิชาการในด้านผลงานวิชาการรับใช้สังคมนั้นซึ่งเป็นหัวข้อในลําดับที่ 3 ที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ในปัจจุบันก็ได้มีการกําลังถูกผลักดันเพื่อให้อาจารย์ทุกท่านได้หันมามองและทํางานวิจัยที่ เป็นประโยชน์และส่งผลกระทบจนเกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นอย่างเป็นประจักษ์ หรือก่อให้เกิดพัฒนา ชุมชน สังคมนั้นได้อย่างแท้จริง
กลุ่มสาขาวิชา (Discipline)
สําหรับการเลือกความเชี่ยวชาญเฉพาะทางของอาจารย์แต่ละท่านเพื่อขอตําแหน่งวิชาการนั้น จากประกาศ ก.พ.อ. (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๖ ด้วยเรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดํารง ตําแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ และจากประกาศ ก.พ.อ. ที่ ศธ 0๕0๙(๒)/ ว 90๗๖ ด้วยเรื่อง การกําหนดชื่อสาขาวิชาสําหรับการเสนอขอกําหนดตําแหน่งทางวิชาการและการ เทียบเคียงสาขาวิชาที่เคยกําหนดไปแล้ว พ.ศ. ๒๕๖๑ ในส่วนของการขอตําแหน่ง “ผู้ช่วยศาสตราจารย์” นั้น ได้มีการกําหนดให้อาจารย์ทุกท่านต้องเลือกสาขาวิชา จากบัญชีรายชื่อกลุ่มสาขาวิชา (Discipline) และอนุสาขาวิชา (Sup-Discipline) ซึ่งมีรายชื่อกลุ่มสาขาวิชา ดังนี้
รหัส / กลุ่มสาขาวิชา
01 กลุ่มวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (Natural Sciences)
11 กลุ่มวิศวกรรมศาสตร์ (Engineering)
15 กลุ่มสถาปัตยกรรมศาสตร์ (Architecture)
18 กลุ่มเทคโนโลยี (Technology)
21 กลุ่มแพทยศาสตร์และวิทยาศาสตร์การแพทย์ (Medicine and Medical and Medical Sciences)
25 กลุ่มการแพทย์อื่น (Other Medical Sciences)
31 กลุ่มทันตแพทย์ศาสตร์ (Dentistry)
33 กลุ่มเภสัชศาสตร์ (Pharmacy)
35 กลุ่มสาธารณสุขศาสตร์ (Public Health)
37 กลุ่มพยาบาลศาสตร์ (Nursing Science)
39 กลุ่มสหเวชศาสตร์ (Alied Health) และเทคนิคการแพทย์ (Medical Technology)
41 กลุ่มสัตวแพทย์ศาสตร์ (Veterinary Medicine)
51 กลุ่มเกษตรศาสตร์ (Agriculture)
53 กลุ่มวนศาสตร์ (Forestry)
55 กลุ่มประมง (Fishery)
61 กลุ่มสังคมศาสตร์ (Social Sciences)
63 กลุ่มบรรณารักษศาสตร์ (Library Sciences)
65 กลุ่มศึกษาศาสตร์ (Education)
67 กลุ่มนิติศาสตร์ (Law)
68 กลุ่มบัญชีและบริหารธุรกิจ (Accounting and Business Administration)
71-80 กลุ่มมนุษยศาสตร์ (Humanities)
81 กลุ่มวิจิตรศิลป์ (Fine Arts)
85 กลุ่มประยุกต์ศิลป์ (Applied Arts)
91 กลุ่มอื่น ๆ (Other Disciplines)
ทั้งนี้สามารถดูรายละเอียด สาขาวิชา และอนุสาขาวิชา เพิ่มเติมได้จากเอกสารแนบในตอนท้าย และขอตัวอย่างอาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ในการที่จะขอตําแหน่งวิชาการนั้นก็จะต้องเลือกความเชี่ยวชาญใน สาขาวิชาของตนเอง โดยจะต้องระบุสาขาวิชาและอนุสาขาวิชา เช่น
610502 อธิบายได้ว่า กลุ่มสังคมศาสตร์ สายนิเทศศาสตร์ และเอกด้านการสื่อสาร ดังนี้
61 กลุ่มสังคมศาสตร์ (Social Sciences)
05 นิเทศศาสตร์ (Communication Arts)
01 การสื่อสารมวลชน (Mass Communication)
02 การสื่อสาร (Communication)
03 วารสารศาสตร์ (Journalism)
04 การประชาสัมพันธ์ (Public Relations)
05 ภาพยนตร์และภาพถ่าย (Motion Picture and Photograph)
06 วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ (Radio and Television)
07 วาทวิทยา (Speech Communication)
08 วิธีวิทยาการวิจัยการสื่อสาร (Research Methodology in Communication)
09 สื่อสารการแสดง (Acting Communication)
10 การโฆษณา (Advertising)
11 นิเทศศาสตร์พัฒนาการ (Communication Development)
ทั้งนี้หวังเป็นอย่างยิ่งว่า KM นี้จะเป็นประโยชน์ต่ออาจารย์ทุกท่านที่สนใจที่อยากจะพัฒนาตนเอง และพัฒนาต่อยอดความรู้จากการทําวิจัยต่าง ๆ และนําผลงานวิจัยนั้นไปขอตําแหน่งวิชาการต่อไป
เอกสารอ้างอิง
- การกําหนดชื่อสาขาวิชาสําหรับการเสนอขอกําหนดตําแหน่งทางวิชาการและการเทียบเคียงสาขาวิชาที่เคยกําหนดไปแล้ว พ.ศ. ๒๕๖๑ จาก: https://www.tsu.ac.th/UserFiles/180720186 general personnel.pdf