KM การจัดการความรู้เพื่อการพัฒนาชุมชน

ดร.ธีร์ คันโททอง

สำหรับการพัฒนาชุมชนนั้นเป็นสิ่งที่สถานศึกษาในพื้นที่จะต้องให้ความสนใจและเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนและเมื่อชุมชนเข้มแข็งสถานศึกษาก็เข้มแข็งตามไปด้วย ดังนั้นแล้วเข้าจัดการความรู้ของชุมชนในส่วนของนักวิจัยเองก็จะจะต้องมีความเข้าใจในหลักการ วิธีการ กลุ่มผู้ที่ได้รับผลกระทบรวมไปถึงเครื่องมือต่าง ๆ ที่จะนำไปใช้ในการวิจัยเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลและนำไปสู่การจัดการความที่มีประสิทธิภาพ เป็นประโยชน์ต่อชุมชนต่อไป สำหรับเนื้อหาสาระสำคัญที่จะขอกล่าวในที่นี้เพื่อเป็นแนวทางให้กับนักวิจัยทุกท่านได้นำไปปรับใช้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อชุมชนต่อไปนั้นประกอบไปด้วย

  1. การจัดการความรู้เพื่อชุมชน (Knowledge Management)
  2. การสร้างความรู้การวิจัยเพื่อชุมชน
  3. กำหนดกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders)
  4. เครื่องมือของการจัดการความรู้ (Knowledge Management)

 

  1. การจัดการความรู้เพื่อชุมชน (Knowledge Management)

ในเบื้องต้นเราสามารถแบ่งความรู้ออกเป็น 2 ส่วนด้วยกัน ได้แก่

1.1 ความรู้ในตัวคน (Tacit) หมายถึง ความรู้ที่เกิดจากการสะสมความรู้ของแต่ละคนในเรื่องต่าง ๆ ซึ่งอาจเกิดจากประสบการณ์หรือการอ่าน การเรียนรู้จากสื่อต่าง ๆ ก็ได้ซึ่งจะต้องมีขั้นตอนของการไหลเวียนความรู้อยู่ตลอดเวลาจึงจะทำให้เกิดความรู้ขึ้นใหม่เรื่อย ๆ ประกอบด้วยขั้น การใช้ความรู้ การสร้างความรู้ และการแลกเปลี่ยนความรู้ โดยทั้ง 3 องค์ประกอบนี้มีความสำคัญในทุกส่วนจึงจะทำให้เกิดเป็นพลวัตที่ต่อเนื่องไปและก็จะทำให้เกิดความรู้ใหม่ขึ้นเรื่อย ๆ ต่อไป

1.2 ความรู้ในเอกสาร (Explicit) หมายถึง ความรู้ที่มีการบันทึกเป็นรายลักษณ์อักษรในเอกสารต่าง ๆ เช่น บทความ งานวิจัย หนังสือ เป็นต้น ซึ่งก็จะต้องมีขั้นตอนพลวัตของความรู้จึงจะสามารถเพิ่มพูนและจัดระบบเพื่อการใช้งานความรู้ได้อย่างสะดวกและต่อเนื่อง ประกอบด้วย การตรวจสอบยืนยันความรู้ การจัดระบบความรู้ และการเก็บสะสมความรู้ โดยใน 3 องค์ประกอบนี้จะมีความสัมพันธ์กับความรู้ในตัวคน (Tacit) ด้วย

  1. การสร้างความรู้การวิจัยเพื่อชุมชน

ในการจัดการความรู้นั้นผู้วิจัยจะต้องคำนึงถึงชุมชนเป็นสำคัญเนื่องจากความรู้นั้นจะต้องถูกย่อยให้นำไปใช้ได้จริงในภาคปฏิบัติโดยชุมชนเอง ดังนั้นการสร้างความรู้การวิจัยจึงต้องพิจารณาปัญหาของชุมชนเป็นหลัก ซึ่งมีขั้นตอนประกอบด้วย

2.1. โจทย์ต้องมาจากสถานการณ์ในชุมชนนั้น ๆ โดยที่ชุมชนนั้น ๆ จะต้องเป็น “เจ้าของปัญหา” เอง

2.2. เจ้าของปัญหานั้น (ชุมชน) ต้องเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการวิจัยตั้งแต่เริ่มต้นจาก การกำหนดโจทย์ การเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การปฏิบัติการ การสรปุผลการวิจัย และการถอดบทการเรียนรู้

2.3. ต้องมีกรอบคิดทางวิชาการในการใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญของผู้วิจัยในสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่งหรือหลายสาขา ในกระบวนการแก้ปัญหาของชุมชนนั้น ๆ

2.4. มีการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงในชุมชน โดยจะต้องเริ่มต้นตั้งแต่จุดเริ่มต้นไปจนถึงสิ้นสุดงานและหลังสิ้นสุดงานก็ยังต้องติดตามผลต่ออีกด้วย

  1. กำหนดกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders)

กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) นั้นจะหมายถึง กลุ่มผู้ที่มีความเกี่ยวข้องกับโครงการ หรือได้รับผลกระทบจากการดำเนินการของโครงการทั้งทางบวกและทางลบ โดยต้องกำหนดตามความสำคัญหรือมีอิทธิพล และมีความสนใจต่อปัญหานั้น ๆ ของชุมชน โดยการกำหนดกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) สามารถใส่ตามรายละเอียดดังต่อไปนี้

 

มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของโครงการสูง

กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ที่มีอิทธิพลมากและความสนใจน้อย กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ที่มีอิทธิพลมากและความสนใจมาก
กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ที่มีอิทธิพลน้อยและความสนใจน้อย กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ที่มีอิทธิพลน้อยและความสนใจมาก

               มีความสนใจต่อโครงการสูง

 

  1. เครื่องมือของการจัดการความรู้ (Knowledge Management)

ในการจัดการความรู้นั้นจำเป็นจะต้องมีเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากชุมชน โดยปกติแล้วการได้มาซึ่งข้อมูลจากชุมชนนั้นจะมีเครื่องมือที่หลากหลาย ซึ่งผู้วิจัยจะเลือกใช้เครื่องมือเหล่าให้เหมาะสมตามสถานการณ์และเป้าหมายของโครงการนั้นด้วย ซึ่งเครื่องมือต่าง ๆ เหล่านี้ผู้วิจัยขอรวบรวมและนำเสนอในเบื้องต้นดังตัวอย่างต่อไปนี้

4.1 การระดมสมอง (Brain Storming)

4.2 มุมมองใหม่ (Fresh Eye)

4.3 การใช้กลุ่มคำสร้างสรรค์ (Random Word)

4.4 ใบแสดงความคิด (Idea Card)

4.5 การใช้ผังมโนทัศน์ (Concept Map)

4.6 สนทนากลุ่ม (focus group)

4.7 ผังก้างปลา (Cause & Effect Diagram)

4.8 แผนที่ความรู้ (Knowledge MAP)

4.9 ข้อมูลเชิงประชากรศาสตร์ (Demographics)

4.10 เครื่องมือการตลาด 7P

4.11 การถอดบทเรียน

4.12 SWOT Analysis และ TOWS Matrix

4.13 คำถามสู่โอกาส

– เราจะทำอย่างไร (How can we ?)

– ถ้าหาก (What if ?)

จากเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลจากชุมชนเหล่านี้ จะเป็นเครื่องมือพื้นฐานที่จะช่วยให้ผู้วิจัยสามารถรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการจัดการความรู้อีกที โดยเครื่องมือเหล่านี้ยังได้ช่วยให้ชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของชุมชนตนเองอีกด้วย ดังนั้นทั้งการ การจัดการความรู้เพื่อชุมชน (Knowledge Management) การสร้างความรู้การวิจัยเพื่อชุมชน กำหนดกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) และเครื่องมือของการจัดการความรู้ (Knowledge Management) จึงมีส่วนสำคัญในการทำวิจัยชุมชนให้สามารถบรรลุเป้าหมายของงานวิจัยและสามารถจัดการความรู้ซึ่งทำให้เกิดการแก้ไขปัญหาของชุมชนได้อย่างยั่งยืนต่อไป

 

ข้อความนี้ถูกเขียนใน คณะนิเทศศาสตร์, แนวทางการผลิตงานวิจัยเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

ใส่ความเห็น