เล่าสู่กันฟัง#1 : เมื่อกฏของมัวร์ไม่เป็นจริงอีกแล้ว น้องโยนกจะตามอย่างไง

สวัสดี ครับ เห็นโยนกมีบลอกให้เล่น เลยขอแจมด้วยคนในฐานะศิษ์เก่านะครับ

อันที่จริงผมจบจากที่นี่มาก็นานพอสมควร (รุ่นที่ห้า สมัยเดียวกับอาจารย์วีระพันธ์) นึกย้อนไปในอดีต มองทบทวนถึงปัจจุบันก็เลยอยากเล่าประสบการณ์  ลุ่มๆดอนๆแต่ขอเอาเนื้อหาบางส่วนที่พอจะน่ามีประโยชน์กับคนที่สนใจบ้างนะครับ

รุ่นที่ห้าของโยนกถือเป็นรุ่นต้นๆที่ ตอนนั้นทั้งสังคมไทย(หลังพฤษภาทมิฬ นายกชวน1-2มั้ง) ทั้งวิทยาลัย นักศึกษา กำลังอยู่ในวัยที่ตื่นตัวอยากเรียนรู้ในสิ่งใหม่ๆ  ผมเลือกเรียน สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ เพราะมันเป็นของใหม่จริงๆสำหรับสังคมไทยในยุคนั้น (แรมเมกละสี่ห้าพันได้มัง)

ความกังวลเรื่องเดียวของนักศึกษาไม่ว่ายุคสมัยใด คือ เรื่อง การหางานทำ  ผมเองก็เช่นกัน เมื่อทดสอบตัวเองแล้ว ว่าเอาแน่ทางไอทีก็ต้อง

ปรับตัวให้ทัน     มีวิชาหนึ่งตอนนั้นที่เรียน อาจารย์ (ไม่แน่ใจว่าเป็น อาจารย์อติชาต หรืออาจารย์เก๋ หรือท่านใหน) เล่าเรื่องกฏของมัวร์ (moore law) ให้ฟังในห้อง

ตอนนั้นยอมรับว่านึกขำอยู่ในใจ ว่าเอาอะไรมาเล่าให้ผมฝัง ผมไม่แน่ใจว่าทั้ง 40 กว่าคนในห้องมีใครสนใจหรือไม่แต่มันก็เป็นจุดเล็กๆที่ผมเริ่มปรับตัวเองเพื่อให้ลู่ลมไปตามกระแสหากกฎนี้มันเป็นจริง  ผมเริ่มจากการคิดพื้นๆ ว่าหาก จะหางานที่เหมาะกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยี (ตามกฏของมัวร์) ต้องหาความรู้อะไรใส่ตัวเพิ่มบ้าง ซึ่งค้นพบด้วยตัวเองสองทาง(ในตอนนั้น)  ว่าทุกๆ 18 เดือนหากเทคโนโลยีมันก้าวกระโดดผมจำเป้นต้องมีความรู้อะไรบ้างเพื่อรับประกันความมั่งคงในหน้าที่การงาน

1)   ผมต้องรู้เรื่องการบริหารจัดการเทคโนโลยี เพราะคิดว่าคงทำตัวเป็นหมาล่าเนื่อตามเทคโนโลยีไม่ไหวแน่ๆ เลยอยากรู้เรื่องนี้

ซึ่งตอนนั้นต้องบอกตามตรงไม่มีรายวิชาใด กล่าวถึงเรื่องนี้เป็นชิ้นเป็นอัน ยกเว้น วิชาหนึ่งที่ผมลงในสาขาการจัดการ มีกล่าวเรื่องการบริหารงานบุคลากรในองค์กรที่มีการใช้เทคโนโลยี (อ วิสุธ ขวัญพฤกษสอน) แต่ก็ผิวๆ เพียงแต่บอกว่าหากองค์กรณ์จะอยู่รอดต้องนำเทคโนโลยีมาใช้

(office automation นี่เป็นศัพท์หรูหราเกินเอื้อมมากในสมัยนั้น)

2) ผมต้องแม่นในพื้นฐานของการนำเทคโนโลยีไปใช้ เรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น งาน operation (user,NETWORK),งาน develop (programmer),งาน design (SA,DBA) ซึ่งมันจะแย้งกับข้อ1 นะครับ เพราะผมต้องทำตัวเองใหทันสมัยอยู่เรื่อยๆ (ทำให้เหนื่อยมาก)

เลยตัดสินใจว่าคงเอาแค่พอเข้าใจ concept ที่ไม่น่าจะเปลี่ยนไปตามเทคโนโลยี เช่น logic ด้านการ programming  การออกแบบระบบงาน

การออกแบบความสัมพนธ์ของฐานข้อมูล

เป็นเหมือนการแทงหวยครับ หากผมไม่เลือกเอาตัวเองเข้าไปอยู่ สองเรื่องที่เลือกเดิน ยังนึกภาพไม่ออกว่าเด็กจบวิทยาลัยเล็กๆในตจวสมัยนั้นชีวิตจะเป็นอย่างไรในตอนนี้     สำหรับผมในตอนนี้ ถึงแม้จะไม่เคยถูกรางวัลที่หนึ่งสองสามสี่ แต่ก็ไม่เคยโดนกินรวบซะทุกงวด

มาสะกิดใจเอาตอนไม่กี่เดือนที่ผ่านมาได้มีโอกาสคุยกับมือต้นๆของไทยด้านออกแบบด้านจัดการความปลอดภัยทางเทคโนโลยี ว่า “เฮ้ยผมว่ากฏของมัวร์มันไม่จริงแล้ว” เลยทำให้นึกถึงตอนเรียนโยนกไม่ได้  ว่านี่คือสัญญานที่ผมต้องปรับตัวให้รับกับความเปลี่ยนแปลงใหม่อีกครั้งเพื่อให้อีกค่อนครึ่งชีวิตยังคงเป็นเรื่องที่ไม่เหนื่อยจนเกินไป  ก็นึกถึงน้องๆในโยนกไม่ได้ ว่าจะมีใครคิดเอาเรื่องนี้มาเป็นสาระเหมือนผมตอนนั้นบ้างหรือเปล่าหนอ

เอาไว้มาเล่ากันฟังตอนต่อๆไปละกันครับ

สวัสดีครับ

rathakate yonok รุ่น 5

เพิ่มเติม อ้างอิงบทความเล็กๆด้านล่างจาก http://www.computers.co.th และมีคำสารภาพของมัวร์ตามวลีฮิตๆบ้านเราว่า “มันจบแล้วครับนาย”  Moore’s Law is dead, says Gordon Moore   –> http://news.techworld.com/operating-systems/3477/moores-law-is-dead-says-gordon-moore/

กฏของมัวร์ (Moore Law)

เวลา วารี ไม่เคยรอใคร ในปีนีกฏของมัวร์ได้มาครบรอบ 43 ปี ในวัน 28 เมษายน 2551 ที่ถ้าใครไม่ทราบว่ากฏของมัวร์เป็นอย่างไร คงเชยมาก เพราะคุณมัวร์แกทำนายไว้เมื่อ 43 ปีที่แล้ว โดยการทำนายที่ว่านี้ ถือเป็นกฏของมัวร์ (Moore Law) โดยท่าน Gordon Moore เป็นหนึ่งในทีมก่อตั้งบริษัท Intel ขึ้นมา ได้กล่าวไว้เมื่อปีคศ.1965 หรือเมื่อ 43 ปีที่แล้วว่า ” ปริมาณของ Transistor บน Chip ประมวลผล จะเพิ่มเป็นเท่าตัว ทุกๆ 18 เดือน”

ถ้านึกไม่ออก เราลองดูตัวเราก็ได้ครับ ว่าทุกวันนี้ต้องวิ่งตามเทคโนโลยีมากขนาดไหน ถ้าเราไม่ตามเพียงไม่กี่เดือน เราจะเห็นว่าเมื่อกลับมาดูอีก เจ้าเทคโนโลยีไปไกลแล้ว และถ้าทิ้งไปสักปี คงตามกันลำบาก นี่คงเป็นผลพวงของกฏของมัวร์ ก็เป็นได้ (ความคิดเห็นส่วนตัว)

“?(T)he first microprocessor only had 22 hundred transistors. We are looking at something a million times that complex in the next generations?a billion transistors. What that gives us in the way of flexibility to design products is phenomenal.”

?Gordon E. Moore

ข้อความนี้ถูกเขียนใน คอมพิวเตอร์ธุรกิจ, วิทยาการคอมพิวเตอร์ คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

2 ตอบกลับไปที่ เล่าสู่กันฟัง#1 : เมื่อกฏของมัวร์ไม่เป็นจริงอีกแล้ว น้องโยนกจะตามอย่างไง

  1. มองต่างมุมเรื่องการปรับตัว

    ผมรู้สึกเหนื่อยเหลือเกินกับการปรับตามการเปลี่ยนแปลงรอบตัว ได้เรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มองเห็นคำว่าสมเหตุสมผล พอประมาณ และภูมิคุ้มกัน ทำให้นึกได้ว่าถ้าลดการอุปโภค และบริโภคในระดับบุคคลได้สำเร็จจะทำให้อะไรต่อมิอะไรเปลี่ยนไปแน่ เช่น ยืดอายุการใช้ทรัพยากรของมนุษย์สำหรับมนุษย์รุ่นต่อไป เป็นต้น

    กิเลส และความอยากทำให้มีความทุกข์
    ถ้าลดความอยากลงสักนิดน่าจะทำให้ชีวิตมีความสุขขึ้น
    พระท่านว่า ความสงบเหนือความสุขเป็นไม่มี

  2. atichart พูดว่า:

    ถ้ามัวร์ไม่มั่ว หรือมั่วแล้วคำทำนายเกิดเป็นจริง ผมก็จะขอทำนายต่ออีกว่า อีกหน่อยจะต้องมีบริษัทกำจัด Chip เกิดขึ้นมากมาย เพราะ chip มันจะล้นโลก เป็นสารพิษต่อสภาพแวดล้อม และข้อมูลความลับต่างๆ ต้องทำลาย แต่ถ้าถามว่านักศึกษารุ่นน้องต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้างตามทฤษฎีมั่ว (เอ้ย! มัวร์) นั้น ผมอยากจะบอกว่าไม่ต้องเตรียมตัวอะไรมาก เพราะเตรียมไปอย่างไรก็ไล่มันไม่ทันอยู่ดี สิ่งที่ต้องทำคือ ถ้าไม่อยากเป็นหุ่นยนต์ (เชื่อในสิ่งที่เขากำหนดมาให้) ก็ต้องทำตัวให้ได้อย่าง อ.บุรินทร์ ไม่รู้ว่าอย่างไหนง่ายกว่ากัน

ใส่ความเห็น