อาจารย์อดิศักดิ์ จำปาทอง เรียบเรียง
แนวปฏิบัติในการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ เรียบเรียงมาจาก การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การเตรียมความพร้อมในการยื่นขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 11 เดือน พฤศจิกายน 2564 เวลา 09.00-16.00 น. ผ่านระบบ Google Meet จัดโดย สำนักวิชาการ มหาวิทยาลัยเนชั่น และมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยากรโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดาวรุ่งรตา วงษ์ไกร ผู้ช่วยอธิการบดี ผู้อำนวยการสำนักวิชาการ และเลขานุการคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
กรอบเนื้อหา
1. ระเบียบคณะกรรมการการอุดมศึกษาเกี่ยวกับมาตรฐานหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งคณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
2. แนวปฏิบัติการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ
3. แนวปฏิบัติในการเสนอขอให้พิจารณากลั่นกรอง
4. การยื่นขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ และปัญหา อุปสรรคในการดำเนินการ
องค์ประกอบในการกำหนดตำแหน่งวิชาการ ประกอบด้วย
1. คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง
1.1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์
ปริญญาตรี ต้องเป็นอาจารย์มาแล้ว 6 ปี
ปริญญาโท ต้องเป็นอาจารย์มาแล้ว 4 ปี
ปริญญาเอก ต้องเป็นอาจารย์มาแล้ว 1 ปี และพ้นการทดลองงานแล้ว
1.2 รองศาสตราจารย์
ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์มาแล้ว 2 ปี
1.3 ศาสตราจารย์
ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์มาแล้ว 2 ปี
2. การประเมินผลการสอน
2.1 มีชั่วโมงสอนประจำวิชาใดวิชาหนึ่งที่กำหนดไว้ในหลักสูตรของสถาบัน ซึ่งเทียบค่าได้ไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต ในระบบทวิภาค
2.2 เสนอเอกสารหลักฐานเพื่อประกอบการประเมิน
2.3 คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการของสถาบันทำหน้าที่ประเมินผลการสอนตามข้อบังคับของสภาสถาบัน
2.4 กรณีที่สถาบันเห็นว่ามีระบบการประเมินผลการสอนของคณาจารย์ประจาปีที่ครอบคลุมประเด็นที่กำหนดอาจใช้ระบบประเมินดังกล่าวแทนได้
2.5 อาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อประเมินผลการสอนได้
3. การประเมินผลงานทางวิชาการ จะพิจารณาจาก
3.1 ประเภทของผลงานวิชาการ
3.2 การเผยแพร่
3.3 การมีส่วนร่วมในผลงานวิชาการ
3.4 ความสอดคล้องกับสาขาวิชาที่เสนอขอ
4. วางแผนขอตำแหน่งวิชาการ ประกอบด้วยผลงานดังนี้
4.1 เอกสารประกอบการสอน/เอกสารคำสอน
4.2 งานวิจัย
4.3 หนังสือ/ตารา
4.4 ผลงานใช้สังคมและอื่น ๆ
สิ่งที่ควรพิจารณา
1. ผลงานทางวิชาการทุกประเภท ต้องเป็นผลงานหลังจากได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการเดิมและได้รับการเผยแพร่ตามหลักเกณฑ์ที่ ก.ก.อ.กำหนด
2. แหล่งเผยแพร่ทุกกรณี ต้องผ่านการประเมินคุณภาพโดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (peer reviewer) ที่มาจากหลากหลายสถาบัน
3. การกำหนดสาขาวิชาที่แต่งตั้งต้องสอดคล้องกับผลงานที่เสนอขอ โดยพิจารณาจาก 1) ภาระงานสอน 2) ผลงานทางวิชาการที่ใช้ขอ 3) เป็นสาขาที่เป็นระบบสากล แสดงให้เห็นถึงความเชี่ยวชาญ ได้รับการยอมรับในวงวิชาการและวิชาชีพสาขาวิชานั้น ๆ ไม่ใช่พิจารณาจาก 1) วุฒิการศึกษา/วิชาเอก/สาขาที่สำเร็จการศึกษา 2) ภาควิชา คณะ หลักสูตรที่สังกัด
4. การขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการในระดับตำแหน่งและสาขาวิชาเดียวกับที่เคยเสนอขอ หากมีการนำผลงานทางวิชาการเดิมที่เคยเสนอขอมาขออีกครั้ง ทั้งนี้ไม่ว่าจะโดยผู้ขอคนเดิมหรือคนใหม่ ให้ใช้ผลการพิจารณาเดิมแต่ละชิ้นที่ผ่านการพิจารณามาแล้วโดยไม่ต้องพิจารณาใหม่ เว้นแต่คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเห็นว่าเป็นผลงานที่ล้าสมัย โดยต้องระบุเหตุผลทางวิชาการโดยชัดแจ้งด้วย
5. จริยธรรมและจรรยาบรรณ
5.1 ต้องมีความซื่อสัตย์ทางวิชาการ ไม่นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน ไม่ลอกเลียนผลงานของผู้อื่น ไม่นำผลงานของตนเองในเรื่องเดียวกันไปเผยแพร่ในวารสารวิชาการมากกว่า 1 ฉบับในลักษณะที่จะทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นผลงานชิ้นใหม่ ไม่คัดลอกข้อความใด ๆ จากผลงานของตนโดยไม่อ้างอิง ทั้งนี้ ในลักษณะที่จะทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นผลงานใหม่
5.2 ให้เกียรติและอ้างถึงบุคคลหรือแหล่งที่มาของข้อมูลที่นำมาใช้
5.3 ต้องไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ทางวิชาการจนละเลยหรือละเมิดสิทธิ์ส่วนบุคคลของผู้อื่น
5.4 ผลงานวิชาการต้องได้มาจากการศึกษาโดยใช้หลักวิชาการเป็นเกณฑ์ ไม่มีอคติ เสนอผลงานตามความเป็นจริง ไม่จงใจเบี่ยงเบนผลการวิจัยโดยหวังประโยชน์ส่วนตัวหรือต้องการสร้างความเสียหายแก่ผู้อื่น ไม่ขยายข้อค้นพบโดยปราศจากการตรวจสอบยืนยันในทางวงวิชาการ
5.5 ต้องนำผลงานไปใช้ประโยชน์ในทางที่ชอบธรรมและชอบด้วยกฎหมาย
5.6 หากมีการใช้ข้อมูลจากการทำวิจัยในคนหรือสัตว์ ต้องขออนุญาตจากคณะกรรมการวิจัยในมนุษย์
6. วันที่แต่งตั้ง
6.1 วันที่สภารับเรื่อง = คุณสมบัติและผลงานครบถ้วนตั้งแต่วันที่รับเรื่อง
6.2 วันที่สภาได้รับผลงานฉบับปรับปรุง = กรณีที่มีการปรับปรุงผลงาน (ยกเว้นงานวิจัยและบทความวิชาการ)
6.3 วันที่สภาได้รับผลงานเพิ่มเติม = กรณีที่ส่งผลงาน หลักฐานแหล่งอ้างอิง และหลักฐานความเป็นที่ยอมรับในวงวิชาการเพิ่มเติม
6.4 วันที่สภาได้รับงานวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับเผยแพร่แล้ว = กรณีงานวิจัยหรือบทความวิชาการได้รับหนังสือรับรองจากบรรณาธิการวารสารว่าจะเผยแพร่ให้เมื่อใด ฉบับใด
6.5 วันที่สภารับเรื่องและก่อนวันลาศึกษาต่อ = กรณียื่นขอแล้วและต่อมาได้รับอนุมัติให้ลาศึกษาต่อ หากคุณสมบัติและผลงานอยู่ในเกณฑ์โดยไม่มีการปรับปรุงแก้ไข
6.6 วันที่สภารับเรื่องหรือได้รับผลงานฉบับปรับปรุง/เพิ่มเติม = กรณียื่นขอไว้แล้วและต่อมาถึงกำหนดเกษียณอายุ