โครงการบ้านน้ำโจ้ร่วมใจ ป้องกันภัยโรคไข้เลือดออก

บทนำ

 

ความเป็นมาและความสำคัญ

ด้วยโรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญ โดยมีพาหะนำโรค ได้แก่ ยุงลาย

ซึ่งสามารถแพร่พันธุ์ได้ดีในช่วงฤดูฝน การรณรงค์กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน/ชุมชนและโรงเรียนจำเป็นต้องกระทำอย่างต่อเนื่องและจริงจัง  ครอบคลุมทุกหลังคาเรือน  เพื่อตัดวงจรการแพร่ระบาดเชื้อโรคไข้เลือดออก  และจะต้องดำเนินการอย่างรวดเร็วเมื่อเกิดโรคในพื้นที่ จึงจะสามารถควบคุมโรคไข้เลือดออก ให้สงบได้ หากไม่รีบดำเนินการป้องกันควบคุมโรคอย่างเร่งด่วนแล้ว นับว่ามีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆในแต่ละปี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านหนอง มีพื้นที่หมู่บ้านรับผิดชอบจำนวน 5 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่บ้านป่าจ้ำ หมู่บ้านต๋อ หมู่บ้านหนอง หมู่บ้านน้ำโจ้ หมู่บ้านหนองพัฒนา ซึ่งมีประชากรทั้งหมด 6,460 คน มีจำนวนหลังคาเรือนที่รับผิดชอบทั้งหมด 1,670 หลังคาเรือน พบว่าในปี 2551-2556 มีจำนวนผู้ป่วยจำนวน 16, 2,8, 0, 1, 16 รายตามลำดับ และเมื่อคิดเทียบเป็นอัตราป่วยต่อแสนประชากรพบว่าตั้งแต่ปี 2551 – 2556 มีอัตราป่วย 249.38 , 31.14 , 125.61 , 0 , 15.33 และ 247.68 ต่อแสนประชากรตามลำดับ

จากการประเมินสถานการณ์ย้อนหลัง 5 ปีตั้งแต่ ปี 2551- 2556 โดยจำแนกตามหมู่บ้าน พบว่ามีจำนวนผู้ป่วย ความหนาแน่นของประชากร และอัตราการเคลื่อนย้ายของประชากรเพื่อประเมินความเสี่ยงในการเกิดโรคในปีถัดไป พบว่าหมู่บ้านป่าจ้ำ หมู่ที่ 2 หมู่บ้านต๋อ หมู่ที่ 3 หมู่บ้านหนอง หมู่ที่ 4 หมู่บ้านน้ำโจ้ หมู่ที่ 5 มีคะแนนค่าความเสี่ยงที่จะเกิดโรคสูง และหมู่บ้านหนองพัฒนา หมู่ที่9 มีค่าความเสี่ยงปานกลาง เมื่อพิจารณาตามจำนวนของผู้ป่วยในปีปัจจุบันคือ ปี 2556 พบว่าหมู่บ้านน้ำโจ้ หมู่ที่ 5 มีจำนวนผู้ป่วย 9 รายซึ่งสูงที่สุดในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองประกอบด้วยบริบทของชุมชน ความกระจุกตัว ความหนาแน่นของหลังคาเรือน และสภาพแวดล้อมในชุมชนที่มีความเอื้ออำนวยต่อการเกิดโรคไข้เลือดออก

ดังนั้นเพื่อเป็นการเตรียมรับสถานการณ์การระบาดและให้มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ ตลอดจนกระตุ้นเตือนให้ประชาชนในชุมชนเกิดความตระหนักในการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออก ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านหนอง จึงได้จัดทำโครงการบ้านน้ำโจ้ร่วมใจ ป้องกันภัยโรคไข้เลือดออกขึ้น

 

วัตถุประสงค์

1. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทุกครัวเรือนมีความรู้ความเข้าใจและมีความร่วมมือในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง

2. เพื่อสร้างความตระหนักให้กับประชาชนในชุมชน

3. เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและควบคุมโรคในพื้นที่

4. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

5. เพื่อให้ประชาชนในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมในครัวเรือน

 

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายของโครงการ

–         เชิงปริมาณ

  1. อาสาสมัคสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเข้าร่วมกิจกรรมร้อยละ 80
  2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 โรงเรียนบ้านน้ำโจ้ เข้าร่วมกิจกรรมร้อยละ 90
  3. พี่เลี้ยงศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลน้ำโจ้เข้าร่วมกิจกรรมร้อย 100
  4. จำนวนหลังคาเรือนที่เลี้ยงปลาหางนกยูงเพิ่มขึ้นร้อยละ 80

–         เชิงคุณภาพ

ประชาชนในหมู่บ้านน้ำโจ้ หมู่ที่ 5 ตำบลน้ำโจ้ อำเภอแม่ทะมีความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนัก

เรื่องโรคไข้เลือดออก และมีการกำจัดลูกน้ำยุงลายด้วยการเลี้ยงปลาหางนกยูงเพื่อลดสารเคมีที่ตกค้างจากการพ่นหมอกควันรวมไปถึงการป้องกันตนเองจากโรคไข้เลือดออก

 

ขอบเขตของการศึกษา

ศึกษาปัญหาโรคไข้เลือดออกของชุมชนจากเอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้องกับงานระบาดหรือโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสำคัญของชุมชนภายใต้ขอบเขตการรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านหนอง ดังนี้

1. ขอบเขตด้านการศึกษา

1.1. แบบประเมินผลการดำเนินงานสาธารณสุขประจำปีงบประมาณ 2556 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านหนอง

1.2. เอกสารวิชาการงานควบคุมโรคไข้เลือดออก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านหนอง

1.3. แบบฟอร์มงานระบาด

1.4. แบบสอบสวนควบคุมโรคไข้เลือดออก

2. ขอบเขตด้านประชากร

ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตหมู่บ้านน้ำโจ้ หมู่ที่ 5 ตำบลน้ำโจ้ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง

3. ขอบเขตด้านเนื้อหา

ศึกษาปัญหาการเกิดโรคไข้เลือดออกโรคไข้เลือดออกของชุมชนโดยมีปัจจัยการระบาดของโรคไข้เลือดออกได้แก่ ปัจจัยทางด้านความรู้เรื่องการป้องกันโรคไข้เลือดออก และปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อการเกิดโรคไข้เลือดออก

4. ตัวแปรที่ศึกษา

ตัวแปรต้น

โรคไข้เลือดออกในหมู่บ้านน้ำโจ้กับการป้องกันโรคไข้เลือดออก

ตัวแปรตาม

– ปัจจัยทางด้านความรู้เรื่องการป้องกันโรคไข้เลือดออก

– ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อการเกิดโรคไข้เลือดออก

 

ผู้รับผิดชอบโครงการสัมมนา

          ผู้รับผิดชอบโครงการสัมมนาบ้านน้ำโจ้ร่วมใจ ป้องกันภัยโรคไข้เลือดออกมีผู้รับผิดชอบดังต่อไปนี้

  1. นางสาวจุฑามาส       ฤทธิ์เจริญ
  2. นางสาวพิมพ์พิศสมัย   ทรัพย์แตง
  3. นางสาวศิริพร            แก่นคำ
  4. นางสาวอรพรรณ       ยนวงศ์

 

ประโยชน์

  1. ทำให้ทราบถึงปัญหาโรคไข้เลือดออกซึ่งเป็นปัญหาของชุมชนที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจของคนในชุมชน
  2. สามารถส่งเสริมให้ประชาชนทุกครัวเรือนมีความรู้ความเข้าใจและมีความร่วมมือในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง
  3. ประชานเกิดความตระหนักในการป้องกันโรคไข้เลือดออก
  4. ชุมชนมีอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง
  5. ประชาชนในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมในครัวเรือน

 

วิธีการดำเนินงาน

1. ขั้นเตรียมการ

1. การวางแผนกำหนดโครงการ
2. ประชุมแต่งตั้งคณะกรรมการ

3. เสนอโครงการแก่ครูพี่เลี้ยงในแหล่งฝึก

4. ประชุมติดตามงานแต่ละฝ่ายหาข้อบกพร่องเพื่อแก้ไข

2. ขั้นดำเนินการในชุมชน

1. ศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากเอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้องกับงานระบาดหรือโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสำคัญของชุมชนภายใต้ขอบเขตการรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านหนอง ดังนี้

1.1. แบบประเมินผลการดำเนินงานสาธารณสุขประจำปีงบประมาณ 2556 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านหนอง

1.2. เอกสารวิชาการงานควบคุมโรคไข้เลือดออก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านหนอง

1.3. แบบฟอร์มงานระบาด

1.4. แบบสอบสวนควบคุมโรคไข้เลือดออก

2. ลงพื้นที่สำรวจชุมชนหมู่บ้านน้ำโจ้ หมู่ที่ 5 ตำบลน้ำโจ้ อำเภอแม่ทะ จ.ลำปาง

3. การวิเคราะห์ SWOT โครงการบ้านน้ำโจ้ร่วมใจ ป้องกันภัยโรคไข้เลือดออก

4.  กำหนดกิจกรรมในโครงการบ้านน้ำโจ้ร่วมใจ ป้องกันโรคไข้เลือดออก

 

ผลการวิเคราะห์ SWOT โครงการบ้านน้ำโจ้ร่วมใจ ป้องกันภัยโรคไข้เลือดออก

จุดแข็ง Strength (S)

  1. โครงการบ้านน้ำโจ้ร่วมใจ ป้องกันภัยไข้เลือดออก เป็นโครงการเชิงรุกเน้นการป้องกันโรค
  2. โครงการบ้านน้ำโจ้ร่วมใจ ป้องกันภัยไข้เลือดออก ใช้งบประมาณในการดำเนินโครงการน้อยและเป็นโครงการ   ที่ยั่งยืนสามารถต่อยอดไปยังชุมชนอื่น ๆ ที่เป็นปัญหาโรคไข้เลือดออกได้
  3. โครงการมีกิจกรรมอบรมให้ความรู้การกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำด้วยปลาหางนกยูง ซึ่งเป็นวิธีการกำจัด   แหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำทางธรรมชาติ การประชาสัมพันธ์ผ่านหอกระจายข่าว ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้านและการทำประชาคมเพื่อสร้างมาตรการในการป้องกันโรคไข้เลือดออกของชุมชน
  4. กลุ่มเป้าหมายของโครงการมีความคลอบคลุมตั้งแต่ผู้สูงอายุ เด็กนักเรียนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ครูพี่เลี้ยงศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
  5. คณะผู้จัดทำมีความรู้และความพร้อมในการจัดทำโครงการ

จุดอ่อน Weakness (W)

  1. ผู้จัดทำโครงการมีประสบการณ์ในการจัดทำโครงการเพื่อชุมชนน้อย
  2. โครงการบ้านน้ำโจ้ร่วมใจ ป้องกันภัยไข้เลือดออกมีกลุ่มเป้าหมายกลุ่มเดียวคือ หมู่บ้านน้ำโจ้ เนื่องจากระยะเวลาและความเหมาะสมในการจัดทำโครงการ

โอกาส Opportunity (O)

  1. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านหนอง ให้การสนับสนุนเรื่องข้อมูล อุปกรณ์การดำเนินกิจกรรมและพันธุ์ปลาหางนกยูงรวมถึงน้ำดื่มสมุนไพร
  2. ชุมชนให้การสนับสนุนพันธุ์ปลาหางนกยูง
  3. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ให้ความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรม
  4. เนื่องจากโรคไข้เลือดออกเกิดการระบาดในช่วงที่ผ่านมาจึงเอื้อต่อการจัดทำโครงการบ้านน้ำโจ้ร่วมใจ ป้องกันภัยไข้เลือดออก
  5. ได้รับความร่วมมือจากวัดบ้านน้ำโจ้,โรงเรียนบ้านน้ำโจ้,ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านน้ำโจ้และชุมชนบ้านน้ำโจ้ ที่เห็นความสำคัญของโรคไข้เลือดออกจึงให้ความร่วมมือในการดำเนินโครงการ

อุปสรรค Threat (T)

  1. มีระยะเวลาในการจัดทำโครงการน้อย
  2. ประชาชนบางหลังคาเรือนขาดความตระหนัก และไม่ให้ความร่วมมือ
  3. ชุมชนมีบริบทที่เอื้อในการระบาดของโรคไข้เลือดออก เนื่องจากเป็นชุมชนแออัด
  4. การดำเนินกิจกรรมของโครงการฯ ไม่สามารถดำเนินการได้ทุกหลังคาเรือน เนื่องจากบางหลังคาเรือนไม่มีผู้อยู่อาศัย ซึ่งไปประกอบอาชีพต่างถิ่นทำให้ไม่มีผู้ดูแลบ้านเรือน และบางหลังคาเรือนไม่มีภาชนะสำหรับ            เลี้ยงปลาหางนกยูง

 

กิจกรรมในโครงการบ้านน้ำโจ้ร่วมใจ ป้องกันโรคไข้เลือดออก

1. การให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก

การเสริมสร้างองค์ความรู้ให้กับประชาชนเป็นการลดปัญหาของการเจ็บป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกเพราะการที่ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ทำให้ประชาชนเกิดความตระหนักได้ถึงปัญหาของสุขภาพเมื่อเกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกดังนั้นการให้ความรู้เพื่อสร้างความเข้าใจ ก่อให้เกิดความตระหนักในการป้องกันโรคของชุมชน

ขั้นตอนการดำเนินงาน

1. สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปัจจุบัน และความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเรื่องโรคไข้เลือดออกและการป้องกันโรค

2. ดำเนินการอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายอันได้แก่ ผู้นำชุมชนหรือตัวแทนประชาชน อสม. พี่เลี้ยงศูนย์เด็กเล็ก โรงเรียนบ้านน้ำโจ้

2. การประชาสัมพันธ์ทางหอกระจายข่าว

การเผยแพร่ความรู้ในรูปแบบต่างๆเพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้ ไม่ว่าจะเป็น การอบรม การติดป้ายประกาศ การแจกแผ่นพับ  ซึ่งการให้ความรู้ดังกล่าวถือว่าส่งผลดี แต่ยังไม่ส่งผลดีต่อวงกว้าง เนื่องจากว่า การให้ความรู้ดังกล่าวยังไม่ทั่วถึงดังนั้นการเผยแพร่และชี้แจงผ่านหอกระจ่ายข่าว ที่วัดบ้านน้ำโจ้ ซึ่งเป็นจุดศูนย์รวมในการให้ความรู้แก่ประชาชนชุมชนบ้านน้ำโจ้อย่างทั่วถึง

 

ขั้นตอนการดำเนินงาน

1. สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องโรคไข้เลือดออก ในการแพร่กระจ่ายความรู้

– ความรู้เบื้องต้น และความหมายเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก

– สาเหตุของโรคไข้เลือดออก

– อาการของโรคไข้เลือดออก

– การป้องกันตนเองจากโรคไข้เลือดออก

– วิธีการควบคุมแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย

2. จัดทำเอกสารความรู้เพื่อใช้เป็นข้อมูลเพื่อการประชาสัมพันธ์

3. ประชาสัมพันธ์ผ่านหอกระจายข่าว ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้านน้ำโจ้ หมู่ที่ 5

3. การแจกพันธ์ปลาหางนกยูงกินลูกน้ำ

จากการที่ได้ศึกษาข้อมูลการกำจัดลูกน้ำยุงลายและการป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ผ่านมาพบว่า การกำจัดยุงลายจะทำด้วยการฉีดพ่นสารเคมี ซึ่งก่อให้ผลกระทบจากสารตกค้างและเป็นอันตรายต่อมนุษย์การรณรงค์ปล่อยปลากินลูกน้ำเพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลายด้วยวิธีการทางธรรมชาติ โดยคณะนักศึกษาฯ จะนำปลาหางนกยูงมอบให้แก่หมู่บ้านน้ำโจ้ หมู่ที่ 5 โดยให้อาสาสมัครหมู่บ้าน (อสม.) นำไปแจกจ่ายแก่ประชาชนที่ตนรับผิดชอบและนำไปปล่อยตามแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในบ้านของตนเองเพื่อเป็นการตัดตอนการเกิดยุงโตเต็มวัยและยังเป็นลดปริมาณยุงลายในพื้นที่ระบาดของโรคไข้เลือดออกได้

ขั้นตอนการดำเนินการ

  1. จัดทำแบบสำรวจจำนวนหลังคาเรือนที่เลี้ยงปลาหางนกยูง
  2. ดำเนินการหาพันธุ์ปลาหางนกยูงให้เพียงพอต่อหลังคาเรือนที่ยังไม่ได้เลี้ยง
  3. มอบปลาหางนกยูงให้แก่ อสม. เพื่อนำไปแจกจ่ายให้แก่หลังคาเรือนที่ตนรับผิดชอบ
  4. ประเมินผลโดยการสุ่มตรวจหลังคาเรือนหลังจากมอบพันธุ์ปลาหางนกยูง

4. การทำประชาคมหมู่บ้าน

การทำประชาคมหมู่บ้านเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อการป้องกันปัญหาโรคไข้เลือดออก ในพื้นที่ตำบลน้ำโจ้และเป็นการเตรียมรับสถานการณ์การระบาดของโรคไข้เลือดออกให้มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ ตลอดจนกระตุ้นให้ประชาชนในชุมชนเกิดความตระหนักในการป้องกันปัญหาโรคไข้เลือดออกร่วมกันจึงจำเป็นที่จะต้องมีการทำประชาคมหมู่บ้านเพื่อใช้เป็นมาตรการร่วมกันในการป้องกันโรคไข้เลือดออก

ขั้นตอนการดำเนินการ

  1. ประชาสัมพันธ์การทำประชาคมหมู่บ้านโดยมีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) บ้านน้ำโจ้ ตำบลน้ำโจ้ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง จำนวน 38 คน เข้าร่วมทำประชาคมหมู่บ้าน
  2.  ทบทวนประชาคมเรื่องการป้องกันโรคไข้เลือดออกปี 2556
  3. ลงมติประชาคมเรื่องการป้องกันโรคไข้เลือดออกปี 2557
  4. ประชาสัมพันธ์ประชาคมผ่านหอกระจายข่าวของชุมชน
  5. จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ประชาคมเรื่องการป้องกันโรคไข้เลือดออกปี 2557

 

  1. ระยะเวลาในการดำเนินการในชุมชน

วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2556 – วันศุกร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ.2556

 

งบประมาณ

  1. แผ่นผับให้ความรู้ จำนวน 415 แผ่น                                                           453 บาท
  2. คู่มือเรื่องโรคไข้เลือดออก สำหรับพระสงฆ์/โรงเรียน/ศูนย์เด็กเล็ก/รพสต./ผู้ใหญ่บ้าน     365 บาท
  3. ป้ายโครงการ                                                                                                300 บาท
  4. ป้ายประชาคม 2 ป้าย                                                                                   600 บาท
  5. เอกสารแบบสอบถามความรู้ก่อน-หลังการอบรม                                         90 บาท
  6. เอกสารเผยแพร่สรุปผลประชาคมปี2557                                                 100 บาท
  7. เอกสารประกอบการสัมมนา                                                                         500 บาท
  8. ป้ายประชาสัมพันธ์โครงการสัมมนา                                                             300 บาท
  9. อาหารว่าง                                                                                                       250 บาท
  10. อุปกรณ์เครื่องเขียน                                                                                       200 บาท

รวม             3,185 บาท

 

การติดตามผลการดำเนินงาน

การติดตามผลการดำเนินงานโครงการบ้านน้ำโจ้ร่วมใจ ป้องกันภัยโรคไข้เลือดออก

  1. แบบทดสอบความรู้ก่อน-หลังการเข้ารับการอบรม
  2. แบบสำรวจหลังคาเรือนก่อน-หลังการลี้ยงพันธุ์ปลาหางนกยูง
  3. แบบสอบถามความพึงพอใจของโครงการบ้านน้ำโจ้ร่วมใจ ป้องกันภัยโรคไข้เลือดออก
  4. แบบประเมินกิจกรรมการประชาสัมพันธ์ความรู้ผ่านหอกระจายข่าว
  5. ประชาคมหมู่บ้านน้ำโจ้ เรื่องการป้องกันโรคไข้เลือดออก

การติดตามผลการจัดสัมมนาบ้านน้ำโจ้ร่วมใจ ป้องกันภัยโรคไข้เลือดออก

แบบสอบถามความพึงพอใจของการจัดสัมมนาบ้านน้ำโจ้ร่วมใจ ป้องกันภัยโรคไข้เลือดออก

 

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

ผลการดำเนินกิจกรรมโครงการบ้านน้ำโจ้ร่วมใจ ป้องกันภัยโรคไข้เลือดออกได้ใช้แบบประเมินต่างๆเพื่อวัดผลความสำเร็จของโครงการดังนี้

  1. แบบสำรวจสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการระบาดของโรคไข้เลือดออก
  2. แบบประเมินความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกก่อน- หลังการอบรม

2.1     แบบทดสอบความรู้ของอาสาสมัคสาธารณสุขบ้านน้ำโจ้

2.2    แบบทดสอบความรู้ของพี่เลี้ยงศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลน้ำโจ้

2.3   แบบทดสอบความรู้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านน้ำโจ้

  1. แบบสำรวจลูกน้ำยุงลายและการเลี้ยงปลาหางนกยูงก่อน-หลังการจัดทำโครงการ
  2. แบบสำรวจความพึงพอใจของโครงการบ้านน้ำโจ้ร่วมใจ ป้องกันภัยโรคไข้เลือดออก
  3. แบบสำรวจความพึงพอใจของการประชามสัมพันธ์ผ่านหอกระจายข่าวชุมชน

 

  1. แบบสำรวจสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการระบาดของโรคไข้เลือดออก

แบบสำรวจสภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อการระบาดของโรคไข้เลือดออกเป็นแบบสำรวจสภาพแวดล้อมทั้งในบริเวณภายนอกและภายในบ้านที่สนับสนุนและเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคไข้เลือดออกไม่ว่าจะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ที่อยู่อาศัย แหล่งหากินของยุงลาย โดยในแบบสำรวจสภาพแวดล้อมนี้ได้ทำการสำรวจหลังคาเรือนที่มีประวัติการเจ็บป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในปีพ.ศ.2556 จำนวน 9 หลังคาโดยมีข้อมูลจากการสำรวจดังนี้

ข้อมูลทั่วไป

ลำดับ บ้านเลขที่ จำนวนสมาชิก เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี จำนวนผู้ป่วย
1 58/31 3 1 1
2 12/3 3 1 1
3 10/2 4 2 1
4 26/2 5 1 1
5 8/3 5 0 1
6 52/6 6 1 1
7 71 6 0 1
8 9/1 5 2 1
9 57 6 2 1
รวม   42 8 9

 

สภาพแวดล้อมโดยทั่วไปหมู่บ้านน้ำโจ้เป็นหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีประชากรและมีจำนวนหลังคาเรือนหนาแน่น บ้านเรือนมีการกระจุกตัวรวมกันในลักษณะของชุมชนแอดอัดทั้ง 9 หลังคาเรือนหรือคิดเป็นร้อยละ 100

ลักษณะของบ้านเป็นบ้านปูนครึ่งไม้ 5 หลัง บ้านไม้ 2 หลัง และบ้านปูน 2 หลัง คิดเป็นร้อนละ 55.55, 22.22 และ 22.22 ตามลำดับ

ลักษณะของบ้านที่มีการป้องกันยุงพบว่า มีบ้านที่ไม่มีมุ้งลวดหรือมีประตูปิดมิดชิด 8 หลังคาเรือน คิดเป็นร้อยละ 88.89 และพบบ้านที่มีการป้องกัน 1 หลังคาเรือน คิดเป็นร้อยละ 11.11

การจัดการสภาพแวดล้อมด้วยวิธีการปิดภาชนะและป้องกันแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายมีจำนวน 5 หลังคาเรือนที่มีการป้องกันคิดเป็นร้อยละ 55.56 และมี 4 หลังคาเรือนที่ไม่มีการป้องกัน คิดเป็นร้อยละ 44.44

แหล่งน้ำใช้มีจำนวน 9 หลังใช้น้ำประปาชุมชน คิดเป็นร้อยละ 100

แหล่งน้ำดื่ม พบว่าซื้อน้ำดื่มจำนวน 6 หลัง ดื่มน้ำประปาจำนวน 1 หลัง และ ใช้น้ำฝนจำนวน 2 หลัง คิดเป็นร้อนละ 66.67 , 22.22 และ 11.11 ตามลำดับ

การระบายน้ำทิ้งในครัวเรือนมีจำนวน 9 หลังคาเรือนไม่มีท่อระบายน้ำโดยใช้การปล่อยน้ำขังให้ซึมลงดินคิดเป็นร้อยละ 100

บริเวณห่างจากตัวบ้านในรัศมี 5 เมตรมีแหล่งน้ำขังมีจำนวน 9 หลังคาเรือนคิดเป็นร้อยละ 100

 

  1. แบบประเมินความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกก่อน – หลังการอบรม

2.1    แบบทดสอบความรู้ของอาสาสมัคสาธารณสุขบ้านน้ำโจ้

แบบทดความรู้ทั่วไปเรื่องโรคไข้เลือดออกเป็นแบบปรนัยโดยให้เลือกคำตอบถูกหรือผิดจำนวน 20 ข้อ คะแนน 20คะแนนมีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 33 คน และตอบแบบทดสอบจำนวน 33 คน คิดเป็นร้อยละ 100 โดยมีเกณฑ์การให้คะแนนดังนี้

 

  คะแนน ระดับ

คะแนน   18 ขึ้นไป             ระดับดีมาก

คะแนน   17                     ระดับดี

คะแนน   16                     ระดับพอใช้

คะแนน   15                     ระดับปรับปรุง

ผลการประเมินความรู้ก่อนการได้รับการอบรมมีจำนวนอสม.บ้านน้ำโจ้ทั้งหมด 38คน มีอสม.ที่เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 33 คน คิดเป็นร้อยละ 86.84มีคะแนนเฉลี่ยเป็น 17.91 คะแนนอยู่ในเกณฑ์ระดับดี

ผลการประเมินความรู้หลังการได้รับการอบรม มีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 18.06 คะแนนอยู่ในเกณฑ์ระดับดีมาก

2.2    แบบทดสอบความรู้ของพี่เลี้ยงศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลน้ำโจ้

แบบทดความรู้ทั่วไปเรื่องโรคไข้เลือดออกเป็นแบบปรนัยโดยให้เลือกคำตอบถูกหรือผิดจำนวน 20 ข้อ คะแนน 20 คะแนน มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 3 คน และตอบแบบทดสอบจำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 100 โดยมีเกณฑ์การให้คะแนนดังนี้

 

  คะแนน ระดับ

คะแนน   18 ขึ้นไป             ระดับดีมาก

คะแนน   17                     ระดับดี

คะแนน   16                     ระดับพอใช้

คะแนน   15                     ระดับปรับปรุง

ผลการประเมินความรู้ก่อนการได้รับการอบรมมีจำนวนพี่เลี้ยงศูนย์พัฒนาแด็กเล็กเทศบาลบ้านน้ำโจ้ทั้งหมด 3คน มีจำนวนพี่เลี้ยงที่เข้าร่วมกิจกรรม 3 คน คิดเป็นร้อยละ 100มีคะแนนเฉลี่ยเป็น 19.33 คะแนนอยู่ในเกณฑ์ระดับดีมาก

ผลการประเมินความรู้หลังการได้รับการอบรม มีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 19.67 คะแนนอยู่ในเกณฑ์ระดับดีมาก

2.3 แบบทดสอบความรู้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านน้ำโจ้

แบบทดความรู้ทั่วไปเรื่องโรคไข้เลือดออกเป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก โดยให้เลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดมีจำนวนคำถาม 5 ข้อ คะแนน 5 คะแนน มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 29 คน และตอบแบบทดสอบจำนวน 29 คน คิดเป็นร้อยละ 100 โดยมีเกณฑ์การให้คะแนนดังนี้

 

  คะแนน ระดับ

คะแนน   5                      ระดับดีมาก

คะแนน   4                      ระดับดี

คะแนน   3                      ระดับพอใช้

ผลการประเมินความรู้ก่อนการได้รับการอบรมมีจำนวนเด็กนักเรียนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 ทั้งหมด 30คน มีจำนวนเด็กนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม 29 คน คิดเป็นร้อยละ 96.67มีคะแนนเฉลี่ยเป็น 3.72 คะแนนอยู่ในเกณฑ์ระดับพอใช้

ผลการประเมินความรู้หลังการได้รับการอบรม มีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 4.07 คะแนนอยู่ในเกณฑ์ระดับดี

3. แบบสำรวจลูกน้ำยุงลายและการเลี้ยงปลาหางนกยูงก่อน-หลังการจัดทำโครงการ

ผลการสำรวจลูกน้ำยุงลายและการเลี้ยงพันธุ์ปลาหางนกยูงก่อนการจัดทำโครงการบ้านน้ำโจ้ร่วมใจ ป้องกันภัยโรคไข้เลือกออกได้ใช้ข้อมูลจากรายงานการเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองประจำเดือน พฤศจิกายน 2556 พบว่า บ้านนำโจ้ หมู่ที่ 5 ตำบลน้ำโจ้ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปางมีจำนวนประชากรทั้งหมด 1470 คน มีจำนวนหลังคาเรือนทั้งหมด 359 หลังคาเรือน มีจำนวนหลังคาเรือนที่เลี้ยงพันธุ์ปลาหางนกยูงจำนวน 32 หลังคาเรือนคิดเป็นร้อยละ 8.91 ของหลังคาเรือนทั้งหมด และพบลูกน้ำยุงลายจำนวน 1 หลังคาเรือนคิดเป็นร้อยละ 0.28 ของหลังคาเรือนทั้งหมด

ผลการสำรวจลูกน้ำยุงลายและการเลี้ยงพันธุ์ปลาหางนกยูงก่อนการจัดทำโครงการบ้านน้ำโจ้ร่วมใจ ป้องกันภัยโรคไข้เลือกออกได้ใช้ข้อมูลจากรายงานการเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองประจำเดือน พฤศจิกายน 2556 พบว่า บ้านน้ำโจ้ หมู่ที่ 5 ตำบลน้ำโจ้ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปางมีจำนวนประชากรทั้งหมด 1470 คน มีจำนวนหลังคาเรือนทั้งหมด 359 หลังคาเรือน มีจำนวนหลังคาเรือนที่เลี้ยงพันธุ์ปลาหางนกยูงจำนวน 32 หลังคาเรือนคิดเป็นร้อยละ 8.91 ของหลังคาเรือนทั้งหมด และพบลูกน้ำยุงลายจำนวน 1 หลังคาเรือนคิดเป็นร้อยละ 0.28 ของหลังคาเรือนทั้งหมด

รายงานการเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านหนอง

ประจำเดือน พฤศจิกายน 2556

 

วัน พื้นที่ดำเนินการ การใช้เคมีภัณฑ์ การควบคุมแหล่งเพราะพันธุ์ยุง  
 

 

 

 

 

4

 

หมู่บ้าน

 

หมู่

 

จำนวนประชากร

 

จำนวนหลังคาเรือน

 

ทราย

 

พ่นหมอกควัน

 

พ่นฝอยละออง

การสำรวจลูกน้ำ(ภาชนะ) ปล่อยปลา
หลังคาเรือน จำนวนภาชนะ วัด โรงเรียน ศูนย์เด็ก สถานที่ราชการ
สำรวจ พบ สำรวจ พบ สำรวจ พบ สำรวจ พบ สำรวจ พบ สำรวจ พบ
ป่าจ้ำ 2 1049 286 286 0 0 286 0 1073 0 10 0 12 0 11 0 0 0 15
ต๋อ 3 1873 428 428 0 0 428 1 2061 2 15 0 35 0 7 0 21 0 25
หนอง 4 1218 315 315 0 0 315 0 1785 0 19 0 12 0 11 0 0 0 16
น้ำโจ้ 5 1470 359 359 0 0 359 1 1728 1 15 0 14 1 8 0 20 0 32
หนอง 9 850 228 228 0 0 228 0 2006 0 0 0 0 0 0 0 0 0 18
รวม   6460 1670 1670 0 0 1670 2 8653 3 59 0 73 1 37 0 41 0 106

 

 

 

 

 

 


ภาชนะ จำนวนภาชนะที่สำรวจ จำนวนภาชนะที่พบลูกน้ำยุงลาย
หม้อน้ำดื่ม 12
ถังอาบน้ำ 34 1
ราดส้วม 28
จานรองขาตู้ 18
แจกัน 19
ยางรถ 1
ภาชนะนอกบ้าน 45
ปลาหางนกยูง 24

ตารางแสดงผลการสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายหลังการจัดโครงการฯ.

 

ผลการสำรวจลูกน้ำยุงลายและการเลี้ยงพันธุ์ปลาหางนกยูงหลังการจัดทำโครงการบ้านน้ำโจ้ร่วมใจ ป้องกันภัยโรคไข้เลือกออกได้สุ่มสำรวจบ้านจำนวน 30 หลังคิดเป็นร้อยละ 8.36 พบว่า มีจำนวนหลังคาเรือนที่เลี้ยงพันธุ์ปลาหางนกยูงจำนวน 24 หลังคิดเป็นร้อยละ 80 ของหลังคาเรือนทั้งหมด มีหม้อน้ำดื่มจำนวน 12 หม้อ ถังอาบน้ำ 34 ถัง ถังน้ำราดส้วม 24 ถัง จานลองขาตู้ 18 จาน แจกัน 19 ใบ ยางรถยนต์ 1 วง ภาชนะอื่นๆนอกบ้าน 45 ภาชนะ และพบลูกน้ำยุงลายจำนวน 1 หลังคาเรือนคิดเป็นร้อยละ 0.28 ของหลังคาเรือนทั้งหมด

จากการสัมภาษณ์และการสอบถามหลังคาเรือนที่ไม่เลี่ยงพันธุ์ปลาหางนกยูงเนื่องจากไม่มีภาชนะน้ำขังที่เหมาะกับการเลี้ยงปลาหางนกยูง และประชาชนหันมาใช้ระบบน้ำประปาผ่านท่อน้ำไม่เก็บน้ำหรือบรรจุน้ำใส่ถังไว้ใช้ในระยะยาว

 

  1. แบบประเมินความพึงพอใจของการประชามสัมพันธ์ผ่านหอกระจายข่าวชุมชน

เป็นการประเมินความพึงพอใจในหัวข้อกระบวนการ/ขั้นตอนการให้บริการเจ้าหน้าที่หรือบุคลากรที่ให้บริการความรู้ที่ได้รับหลังจากการประชาสัมพันธ์เรื่องโรคไข้เลือด ของหอกระจายข่าวของหมู่บ้านทางคณะผู้จัดทำแบบประเมินความพึงพอใจต่อหัวข้อกระบวนการ ขั้นตอนการให้บริการซึ่งคณะผู้จัดทำได้ทำการสุ่มสำรวจจำนวน  ทั้งหมด 30 หลังคาเรือน ตอบแบบประเมิน30 หลังคาเรือน คิดเป็นร้อยละ100

ในประเด็นนี้ มีการรายงานการประเมิน 5รายการ โดยได้แบ่งระดับความพึงพอใจออกเป็น 5 ระดับ คือ ระดับ 5 มากที่สุด  ระดับ 4 มาก  ระดับ3 ปานกลางระดับ 2 น้อย  ระดับ1 น้อยที่สุด ซึ่งมีการประเมินความพึงพอใจ ดังนี้

ด้านกระบวนการ/ขั้นตอนการให้บริการ

การให้บริการไม่ยุ่งยากซับซ้อน และมีความคล่องตัว พบว่า จากการสุ่มสำรวจประชาชน มีความพอใจในการให้บริการอยู่ใน ระดับ 5 คือ มากที่สุด ร้อยละ53.33 รองลงมาได้แก่ระดับ 4 คือ มาก ร้อยละ 26.66 และระดับ 3คือ ปานกลาง ร้อยละ 20.00

ความพอใจความสะดวก รวดเร็วของการให้บริการ พบว่า จากการสุ่มสำรวจประชาชน มีความพอใจในการใจความสะดวก รวดเร็วของการให้บริการอยู่ใน ระดับ 5 คือ มากที่สุด ร้อยละ46.66 รองลงมาได้แก่ระดับ 4 คือ มาก ร้อยละ 43.33 และระดับ 3คือ ปานกลาง ร้อยละ 43.33

ความชัดเจนในการอธิบาย ชี้แจง และแนะนำขั้นตอนการปฏิบัติตัวและป้องกันโรค พบว่าจากการสุ่มสำรวจประชาชน มีความชัดเจนในการอธิบาย ชี้แจง และแนะนำขั้นตอนการปฏิบัติตัวและป้องกันโรคอยู่ใน ระดับ 4 คือ มาก ร้อยละ66.66 รองลงมาได้แก่ระดับ 5 คือ มากที่สุด ร้อยละ 20.00และระดับ 3คือ ปานกลาง ร้อยละ 10.00

ด้านเจ้าหน้าที่หรือบุคลากรที่ให้บริการ

ความพึงพอใจในมีความรู้ ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ พบว่าจากการสุ่มสำรวจประชาชนแสดงความพึงพอใจในมีความรู้ ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้อยู่ใน ระดับ 5 และระดับ 4 คือ มากที่สุดและมาก ร้อยละ43.33 รองลงมาได้แก่ระดับ 3 คือ ปานกลาง ร้อยละ 13.33

ความพึงพอใจการพูดจาใช้ถ้อยคำและน้ำเสียงสุภาพ ชัดเจน

พบว่าจากการสุ่มสำรวจประชาชน มีความความพึงพอใจการพูดจาใช้ถ้อยคำและน้ำเสียงสุภาพ ชัดเจนอยู่ใน ระดับ 4 คือ มาก ร้อยละ50.00 รองลงมาได้แก่ระดับ 5 คือ มากที่สุด ร้อยละ 40.00และระดับ 3คือ ปานกลาง ร้อยละ 10.00

ด้านความรู้ที่ได้รับ

แสดงความมีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องโรคไข้เลือดออก พบว่าจากการสุ่มสำรวจประชาชน มีความมีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องโรคไข้เลือดออกอยู่ใน ระดับ 5 คือ มากที่สุด ร้อยละ43.33 รองลงมาได้แก่ระดับ 4 คือ มาก ร้อยละ 33.33 ระดับ 3คือ ปานกลาง ร้อยละ 20.00 และระดับ 2 คือ น้อย ร้อยละ 3.33

ความสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออก พบว่าจากการสุ่มสำรวจประชาชน มีความสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออกอยู่ใน ระดับ 4 คือ มาก ร้อยละ40.00 รองลงมาได้แก่ระดับ 5 คือ มากที่สุด ร้อยละ 36.66 ระดับ 3คือ ปานกลาง ร้อยละ 20.00 และระดับ 1 คือ น้อยที่สุด ร้อยละ 3.33

5. แบบสำรวจความพึงพอใจของโครงการบ้านน้ำโจ้ร่วมใจ ป้องกันภัยโรคไข้เลือดออก

ประเมินความพึงพอใจในหัวข้อเนื้อหาวิชา  วิทยากร  การจัดฝึกอบรม/สถานที่ และการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

            หลังจากการบรรยายตามกิจกรรมต่าง ๆ ทางคณะผู้จัดทำแบบประเมินความพึงพอใจต่อเนื้อหาวิชา  วิทยากร  การจัดฝึกอบรม/สถานที่ และการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ วันที่ 9,13 กันยายน 2556 ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมทั้งหมด 65 คน ตอบแบบประเมิน 65 คน คิดเป็นร้อยละ 100

1.ความคิดเห็นเกี่ยวกับหัวข้อเนื้อหาวิชา

ในประเด็นนี้ มีการรายงานการประเมิน 4 รายการ โดยได้แบ่งระดับความพึงพอใจออกเป็น 5 ระดับ คือ ระดับ 5 ดีมาก  ระดับ 4 ดี  ระดับ 3 ปานกลาง ระดับ 2 น้อย  ระดับ 1 น้อยที่สุด ซึ่งผู้เข้าร่วมฝึกอบรมมีการประเมินความพึงพอใจ ดังนี้

ด้านเนื้อหาวิชา

ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิชาก่อนการฝึกอบรม พบว่า ผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิชานี้ก่อนการฝึกอบรมอยู่ในระดับ 4 คือ มาก ร้อยละ 52.30 รองลงมาได้แก่ระดับ 3 ปานกลาง ร้อยละ 32.3 และระดับ 5 คือ มากที่สุด ร้อยละ 9.32

ความเข้าใจหลังการฝึกอบรมเกี่ยวกับวิชาหลังการฝึกอบรม พบว่า ผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิชานี้หลังการฝึกอบรมอยู่ในระดับ 4 คือ มาก ร้อยละ 55.38 รองลงมาได้แก่ระดับ 5 คือ มากที่สุด ร้อยละ 41.53 และระดับ 3 คือ ปานกลาง ร้อยละ 3.07

ความเหมาะสมของเนื้อหาวิชา พบว่า ผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจต่อความสอดคล้องของเนื้อหา อยู่ในระดับ 4 คือ มาก ร้อยละ 60.00 รองลงมาได้แก่ระดับ 5 คือ มากที่สุด ร้อยละ 23.07 และระดับ 3 คือปานกลาง ร้อยละ 16.93

ความพึงพอใจต่อการจัดแบ่งเวลาเหมาะสมกับเนื้อหา พบว่า ผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจต่อการจัดแบ่งเวลาเหมาะสมกับเนื้อหา อยู่ในระดับ 4คือ มาก ร้อยละ 63.07 รองลงมาได้แก่ระดับ 5 คือ มากที่สุด ร้อยละ 23.07 และระดับ 3 คือ ปานกลาง ร้อยละ 13.84

ด้านวิทยากร

ความพึงพอใจในการถ่ายทอดความรู้ให้ผู้ฟังเข้าใจ พบว่า ผู้เข้ารับการอบรม มีความพึงพอใจในการถ่ายทอดความรู้ให้ผู้ฟังเข้าใจ อยู่ในระดับ 5 คือ มากที่สุด ร้อยละ 55.38 รองลงมาได้แก่ระดับ ระดับ 4 คือ มาก ร้อยละ 43.07 และระดับ 3 คือ ปานกลาง ร้อยละ 1.53

ความพึงพอใจการถ่ายทอดเนื้อหาวิชาน่าสนใจ พบว่า ผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจการถ่ายทอดเนื้อหาวิชาน่าสนใจ อยู่ในระดับ 5 คือ มากที่สุด ร้อยละ 55.38 รองลงมาได้แก่ระดับ 4 คือ มาก ร้อยละ 41.53 และระดับ 3 คือ ปานกลาง ร้อยละ 1.53

ความพึงพอใจต่อความชัดเจนในการบรรยาย พบว่า ผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจต่อความชัดเจนในการบรรยาย อยู่ในระดับ 5 คือ มากที่สุด ร้อยละ 58.46 รองลงมาได้แก่ระดับ 4 คือ มาก ร้อยละ 40.00 และระดับ 3 คือ ปานกลาง ร้อยละ 1.53

ความพึงพอใจความเหมาะสมต่อวิทยากรโดยรวม พบว่า ผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจความเหมาะสมต่อวิทยากรโดยรวม อยู่ในระดับ 5 คือ มากที่สุด ร้อยละ 61.53 รองลงมาได้แก่ระดับ 4 คือ มาก ร้อยละ 36.92 และระดับ 3 คือ ปานกลาง ร้อยละ 1.53

ด้านที่ 3 การจัดฝึกอบรม (สถานที่)

ความพึงพอใจสถานที่จัดฝึกอบรม พบว่า ผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจสถานที่จัดฝึกอบรม อยู่ในระดับ 4 คือ มาก   ร้อยละ 43.07 รองลงมาได้แก่ระดับ 5 คือ มากที่สุด ร้อยละ 21.53 และระดับ 3 คือ ปานกลางร้อยละ 35.38

ความพึงพอใจต่อโสตทัศนูปกรณ์ พบว่า ผู้เข้ารับการอบรม มีความพึงพอใจต่อโสตทัศนูปกรณ์ อยู่ในระดับ 4 คือ มาก ร้อยละ 46.15 รองลงมาได้แก่ระดับ 3 คือ ปานกลาง ร้อยละ 30.76 และระดับ 5 คือ มากที่สุด ร้อยละ 23.07

ความพึงพอใจต่อการดำเนินงาน/ประสานงาน/อำนวยความสะดวกของผู้จัด พบว่า ผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจต่อการดำเนินงาน/ประสานงาน/อำนวยความสะดวกของผู้จัด อยู่ในระดับ 4 คือ มาก ร้อยละ 53.84 รองลงมาได้แก่ระดับ 5 คือ มากที่สุด ร้อยละ 27.69 และระดับ 3 คือ ปานกลาง ร้อยละ 18.46

ด้านที่ 4 การนำความรู้ไปใช้

ความรู้ที่ได้รับครั้งนี้มีประโยชน์มากน้อยเพียงใด พบว่า ผู้เข้ารับการอบรม ได้รับความรู้ครั้งนี้มีประโยชน์มากน้อยเพียงใด อยู่ในระดับ 5 คือ มากที่สุด ร้อยละ 86.15 รองลงมาได้แก่ระดับ 4 คือ มาก ร้อยละ 12.30 และระดับ 3 คือ ปานกลาง ร้อยละ 1.53

สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน พบว่า ผู้เข้ารับการอบรม มีความพึงพอใจต่อการสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน อยู่ในระดับ 5 คือ มากที่สุด ร้อยละ78.46 รองลงมาได้แก่ระดับ 4 คือ มาก ร้อยละ 20 และระดับปานกลาง คือ 3 ร้อยละ 1.53

การนำความรู้ไปเผยแพร่และถ่ายทอดได้ พบว่า ผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจต่อการนำความรู้ไปเผยแพร่และถ่ายทอดได้ อยู่ในระดับ 5 คือ มากที่สุด ร้อยละ 76.92 รองลงมาได้แก่ระดับ 4 คือ มาก ร้อยละ 20 และระดับปานกลาง คือ 3 ร้อยละ 3.07

สรุปแบบประเมินหัวข้อเนื้อหาวิชา วิทยากร การจัดฝึกอบรม และการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

การบรรยายในหัวข้อความสำคัญของการให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก เพื่อเป็นการเสริมสร้างองค์ความรู้ให้กับประชาชนเป็นการลดปัญหาของการเจ็บป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกเพราะการที่ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ทำให้ประชาชนเกิดความตระหนักได้ถึงปัญหาของสุขภาพเมื่อเกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ผลปรากฏดังนี้

การบรรยายดังกล่าว ได้จัดขึ้นวันที่ 9 ธันวาคม ณ วัดบ้านน้ำโจ้ และวันที่ 13 ธันวาคม 2556 ณ โรงเรียนบ้านน้ำโจ้, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านน้ำโจ้ มีผู้เข้าร่วมฝึกอบรมทั้งหมด จำนวน 65 คน มีผู้ตอบแบบประเมินจำนวน 65คน คิดเป็นร้อยละ 100 ด้านเนื้อหาวิชา ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจก่อนการฝึกอบรมอยู่ในระดับ 4 คือมาก หลังการฝึกอบรม อยู่ในระดับ 4 คือ มาก เวลาเหมาะสมกับเนื้อหาอยู่ในระดับ 4 คือ มาก และเอกสารประกอบอยู่ในระดับ 4 คือ มาก

ด้านวิทยากร มีความสามารถในการถ่ายทอดอยู่ในระดับ 5 คือ มากที่สุด การถ่ายทอดเนื้อหาเป็นที่น่าสนใจอยู่ในระดับ 5 คือ มากที่สุด การบรรยายชัดเจนอยู่ในระดับ 5 คือ มากที่สุด และความเหมาะสมของวิทยากรโดยรวมอยู่ในระดับ 5 คือ มากที่สุด

ด้านการจัดฝึกอบรม (สถานที่) อยู่ในระดับ 4 คือ มาก โสตทัศนูปกรณ์อยู่ในระดับ 4 คือ มาก และการดำเนินการ ประสานงานอยู่ในระดับ 4 คือ มาก

ด้านการนำความรู้ไปใช้ อยู่ในระดับ 5 คือ มากที่สุด การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้อยู่ในระดับ 5 คือ มากที่สุด และสามารถนำความรู้ไปถ่ายทอดและเผยแพร่ได้อยู่ในระดับ 5 คือ มากที่สุด

ผู้เข้าร่วมโครงการไม่ได้เสนอแนะข้อคิดเห็นแต่อย่างไร  จากการสังเกตบรรยากาศโดยรวมเป็นไปด้วยดี สนุกสนาน ผู้เข้าร่วมโครงการให้ความร่วมมืออย่างดี

เรื่องนี้ถูกเขียนใน คณะสาธารณสุขศาสตร์ และติดป้ายกำกับ คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

ใส่ความเห็น