โครงการการหยุดยั้งวัณโรคในกลุ่มอาชีพมัดหอมและกระเทียม

บทนำ

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

วัณโรค   เป็นโรคติดต่อทางเดินหายใจ   ซึ่งสามารถแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่นได้อย่างรวดเร็วทำให้วัณโรคกลับมาเป็นปัญหาที่สำคัญทางสาธารณสุขอีก จากรายงานของ  กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับองค์การอนามัยโลกเมื่อปี 2013 พบว่า วัณโรคยังเป็นปัญหาแพร่ระบาดทั่วโลก เป็นสาเหตุการเสียชีวิตปีละกว่า 1.7 ล้านคน องค์การอนามัยโลกจัดให้ไทยเป็น 1 ใน 22 ประเทศที่มีปัญหาวัณโรคในระดับรุนแรงซึ่งคาดว่าขณะนี้มีผู้ป่วยทั้งรายเก่าและใหม่ประมาณ 110,000 รายโดยมีรายใหม่เพิ่มปีละประมาณ 86,000 ราย และเสียชีวิตประมาณ 9,800 รายสำคัญที่สุดต้องเร่งจัดการปัญหาให้เร็วและมีประสิทธิภาพที่สุดคือเชื้อวัณโรคดื้อยาหลายขนานและดื้อยารุนแรงซึ่งจะทำให้การใช้งบประมาณเพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาสิ้นเปลืองกว่าเชื้อวัณโรคทั่วไป 50-100 เท่าองค์อนามัยโลกประมาณการว่าประเทศไทยน่าจะมีผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนานและวัณโรคดื้อยารุนแรงประมาณ 2,000 รายและอาจแพร่เชื้อชนิดนี้ไปสู่คนอื่นได้อีก

ด้วยสภาวะแวดล้อมของชุมชนบ้านกล้วยม่วง หมู่ที่ 3 ตำบล กล้วยแพะ อำเภอเมือง  จังหวัดลำปาง ซึ่งมีประชาชนประกอบอาชีพเสริมคือมัดหอมกระเทียม จากข้อมูลประชากรที่ได้มาทั้งหมดคือ1,492 คนพบว่าในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา มีผู้ที่ป่วยเป็นวัณโรคจำนวน16 คน  โดยสามารถแบ่งได้ดังนี้ คือ  ปีพ.ศ.2552 จำนวน 4 คน คิดเป็นอัตรา 86.52  ปี พ.ศ.2553 จำนวน 4 คน คิดเป็นอัตรา 86.52  ปี พ.ศ.2554 จำนวน 2 คน คิดเป็นอัตรา 134.04  ปี  พ.ศ.2555 จำนวน 2 คน คิดเป็นอัตรา 134.04  ปี พ.ศ.2556 จำนวน 4 คน คิดเป็นอัตรา 86.52 (อัตราประชากรต่อแสน)

ดังนั้นเพื่อสร้างความตระหนักในระดับชุมชนและร่วมกันส่งเสริมป้องกันปัญหาของวัณโรคให้ลดน้อยลงทางกลุ่มจึงได้จัดทำและดำเนินการโครงการหยุดยั้งวัณโรคเพื่อป้องกันและควบคุมวัณโรคในกลุ่มอาชีพผู้มัดหอมกระเทียมไม่ให้แพร่กระจายและติดต่อผู้อื่นต่อไป

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ และถ่ายทอดประสบการณ์ในแง่ของการปฏิบัติตัวเพื่อการป้องกันโรควัณโรคและสร้างความตระหนักในอันตรายของโรควัณโรค

ผู้รับผิดชอบโครงการ

  1. นายปรัชญา           มาวงค์วัน       5306008
  2. นายเอนก              อัครนันท์        5306009
  3. นางสาวเบญจมาศ  ตันวงศ์          5306020
  4. นางสาวจันทร์เพ็ญ  สุทธิพันธ์        5306025

คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ สาขาสาธารณสุขศาสตร์  มหาวิทยาลัยเนชั่น

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ

อาจารย์ พฤกษ์ศราวุธ      จักสวย

ขอบเขตการศึกษา

ผู้ประกอบอาชีพมัดหอมกระเทียม จำนวน 71 คน ชุมชนบ้านกล้วยม่วง หมู่ที่ 3 ตำบล กล้วยแพะ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. มีผู้เข้าร่วมโครงการสัมมนาการหยุดยั้งวัณโรคในกลุ่มอาชีพมัดหอมและกระเทียม ร้อยละ 80

 

วิธีดำเนินการ

ขั้นเตรียมการ

1.การวางแผนกำหนดโครงการ

2.ประชุมแต่งตั้งคณะกรรมการ แบ่งหน้าที่แต่ละฝ่าย

3.เขียนโครงการเสนอต่ออาจารย์พี่เลี้ยงในแหล่งฝึก

4.ประชุมติดตามงานแต่ละฝ่ายหาข้อบกพร่องเพื่อแก้ไข และนำเสนออีกครั้ง

ขั้นตอนดำเนินการในชุมชน

1.การวางแผนกำหนดโครงการ

ศึกษาข้อมูลระบาดวิทยาย้อนหลังจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกล้วยม่วง ตำบลกล้วยแพะ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง โดยพบว่าโรคระบาดลำดับแรกคือ โรคอุจจาระร่วง อันดับที่สองคือ โรควัณโรค เหตุผลที่เลือกที่จะทำโครงการเกี่ยวกับโรควัณโรคเพราะ ในช่วงนั้นโรควัณโรคกับกำลังมีการระบาดและผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้ประกอบอาชีพมัดหอมและกระเทียม ทางกลุ่มเราจึงเลือกทำโครงการที่จะรณรงค์ให้ความรู้ในเรื่องของโรควัณโรคแก่กลุ่มผู้ประกอบอาชีพมัดหอมกระเทียม จึงทำให้เกิดโครงการการหยุดยั้งวัณโรคในกลุ่มอาชีพมัดหอมและกระเทียมแบบครบวงจร

เมื่อได้หัวข้อโครงการแล้ว ทางกลุ่มเราจึงต้องออกสำรวจบุคคลที่ประกอบอาชีพมัดหอมและกระเทียมว่าเสี่ยงต่อการเกิดโรคใดบ้าง เช่น โรควัณโรค  ผู้สูงอายุ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ผู้สัมผัสโรคร่วมบ้าน/ผู้ใกล้ชิดผู้ป่วยเพื่อที่จะได้ค้นหาบุคคลที่ป่วยเป็นโรควัณโรคในขณะนั้น

ขั้นเตรียมการ

1.ประชุมกลุ่ม

2.วางแผนจัดทำโครงการ

2.การให้ความรู้

โรควัณโรค  เป็นโรคติดต่อทางเดินหายใจ   ซึ่งสามารถแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่นได้อย่างรวดเร็วทำให้ผู้ป่วยเกิดการติดเชื้อที่ปอด การตรวจเสมหะของผู้ป่วยโดยการย้อมเสมหะพบเชื้อหรือเพาะเชื้อขึ้น ผู้ป่วยเป็นวัณโรคปอดมักมีอาการและอาการแสดง คือ ไอเรื้อรังนานเกิน 2 สัปดาห์โดยที่มีหรือไม่มีไข้ ไอเป็นเลือด หรือมีภาพถ่ายรังสีทรวงอกเข้าได้กับวัณโรคและตรวจไม่พบสาเหตุอื่นๆ ร่วมกับการวินิจฉัยของแพทย์

ด้วยสภาวะแวดล้อมของชุมชนบ้านกล้วยม่วง หมู่ที่ 3 ตำบล กล้วยแพะ อำเภอเมือง  จังหวัดลำปาง ซึ่งมีประชาชนประกอบอาชีพเสริมคือมัดหอมกระเทียม จากข้อมูลประชากรที่ได้มาทั้งหมดคือ1,492 คนพบว่าในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา มีผู้ที่ป่วยเป็นวัณโรคจำนวน16 คน

อาการของวัณโรค

1. ไอ ระยะแรกๆ ไอแห้งๆ ไอนานกว่า 2 อาทิตย์

2. ไข้ เป็นอาการตั้งแต่เริ่มแรกและมีความสำคัญที่จะชี้ถึงความรุนแรงของโรคเมื่อเป็นน้อยๆ ไข้ไม่สูง มักมีไข้ตอนบ่าย แต่ถ้าได้พักผ่อนมากๆ

3. อ่อนเพลีย และเหนื่อยง่ายเมื่อออกแรงเล็กน้อย

4. น้ำหนักตัวลดลง โดยเฉพาะในรายที่โรคกำลังเป็นมากขึ้น หรือรุนแรงมักจะผอมซีด

5. มีเหงื่อออกผิดปกติในตอนกลางคืน อาจจะมีตั้งแต่ระยะเริ่มเป็นวัณโรคโดยเฉพาะระยะที่มีไข้

6. เบื่ออาหาร บางรายพบว่า การย่อยอาหารไม่ปกติ โดยผู้ป่วยจะให้ประวัติว่ามีท้องเสียบ่อยๆ มีคลื่นไส้อาเจียน

7. ไอมีเลือดปน (Hemoptysis) เลือดมักออกเวลาไอ อาจออกเพียงเล็กน้อยบางครั้งออกเป็นเลือดสดๆ

การรักษา

ผู้ป่วยวัณโรคที่ไม่ได้รักษาจะมีอัตราการตาย ร้อยละ 40-60 ปัจจุบันมีวิธีการรักษาวัณโรคระยะสั้น โดยการให้ยารักษาควบคู่กันไปหลายขนาน หากรักษาครบกำหนดจะมีอัตราหายร้อยละ 90 การรักษาจะใช้ร่วมกันหลายชนิดโดยให้ INH, Rifampicine 6 เดือน และให้ Ethambutal,pyracinamide 2 เดือนแรก ผู้ป่วยที่มีรายได้น้อยก็สามารถไปรักษาโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ที่โรงพยาบาลหรือสถานีอนามัยของรัฐเมื่อรักษาไป 2-3 สัปดาห์ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นอย่าตัดสินใจหยุดยาเองเป็นอันขาด การกินยาไม่สม่ำเสมอ หรือหยุดยาก่อนกำหนดจะทำให้เชื้อโรคดื้อยาการรักษาวัณโรคที่ดื้อยา ผู้ป่วยจะแพร่เชื้อดื้อยาไปสู่ผู้อื่น จะต้องใช้ยา 18-24 เดือนโดยใช้ยาที่เชื้อไม่ดื้อยาอย่างน้อย3 ชนิด

ขั้นเตรียมการ

1.ทำการศึกษาข้อมูลทางระบาดวิทยาโรควัณโรคย้อนหลัง 5 ปี ของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกล้วยม่วง

2.ทำการค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ

3.การประชาสัมพันธ์

เนื้อหาโปสเตอร์ขั้นตอนการใส่หน้ากากอนามัยที่ถูกต้อง

1.ล้างมือให้สะอาดก่อนใส่หน้ากากอนามัย

2.ใช้ด้านสีเข้มอยู่ด้านนอก โดยให้ขอบลวดอยู่บนสันจมูก

3.ดึงสายหน้ากากอนามัยคล้องหูทั้งสองข้าง

4.กดขอบลวดให้ติดกับสันจมูก

5.ดึงหน้ากากลงมาให้ปิดจมูกและปากให้กระชับ

เนื้อหาโปสเตอร์ข้อควรปฏิบัติในขณะการมัดหอมและมัดกระเทียมเพื่อสุขภาพที่ดี ห่างไกลวัณโรค

1. ใส่ผ้าปิดจมูกและปาก/หน้ากากอนามัยทุกครั้งก่อนปฏิบัติงาน

2.จัดสถานที่ทำงานให้อากาศถ่ายเทสะดวก

3.ไม่ทำงานหักโหมมากจนเกินไป

4.ระมัดระวังการใช้ภาชนะร่วมกัน

5.หากท่านมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด มีไข้ต่ำๆตอนบ่ายหรือเย็นและไอเรื้อรังเกิน 2 สัปดาห์ควรรีบปรึกษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกล้วยม่วง

ขั้นตอนดำเนินงาน

1.ประชุมเพื่อวางแผนการจัดทำการประชาสัมพันธ์โครงการ

2.ศึกษาข้อมูลการใส่หน้ากากอนามัยที่ถูกต้อง และข้อมูลเกี่ยวกับการป้องกันวัณโรค

3.นำเสนอโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์การใส่หน้ากากอนามัยที่ถูกต้องและข้อควรปฏิบัติในขณะการมัดหอมและมัดกระเทียมเพื่อสุขภาพที่ดี ห่างไกลวัณโรคกับครูพี่เลี้ยงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกล้วยม่วง

4.จัดทำโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์การใส่หน้ากากอนามัยที่ถูกต้องและข้อควรปฏิบัติในขณะการมัดหอมและมัดกระเทียมเพื่อสุขภาพที่ดี ห่างไกลวัณโรค

 

ระยะเวลาดำเนินงาน

กิจกรรม เดือน
พ.ย.56 ธ.ค.56 ม.ค.57 ก.พ.57 มี.ค.57  

เม.ย57

 

การเตรียมการ

1.การวางแผนกำหนดโครงการ

2.ประชุมแต่งตั้งคณะกรรมการ แบ่งหน้าที่แต่ละฝ่าย

3.เขียนโครงการเสนอต่ออาจารย์พี่เลี้ยงในแหล่งฝึก

4.ประชุมติดตามงานแต่ละฝ่ายหาข้อบกพร่องเพื่อแก้ไข และนำเสนออีกครั้ง

ขั้นตอนการดำเนินการสัมมนา

1.เชิญวิทยากร

2.ประชาสัมพันธ์

3.จัดการดำเนินการศึกษาผู้ประกอบอาชีพมัดหอมกระเทียม

4.สรุปผลการศึกษาผู้ประกอบอาชีพมัดหอมกระเทียม

5.จัดสถานที่ในการสัมมนา ณ ตึก คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

6.ดำเนินการจัดสัมมนาเชิงวิชาการเรื่อง การหยุดยั้งวัณโรคในกลุ่มอาชีพมัดหอมและกระเทียม

7.ติดตามประเมินผลการจัดสัมมนา

8.สรุปผลการจัดสัมมนา

24 มี.ค57

9.จัดส่งเอกสารสรุปผลการจัดเชิงวิชาการเรื่อง การหยุดยั้งวัณโรคในกลุ่มอาชีพมัดหอมและกระเทียม

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

19 มี.ค 57
 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เอกสารและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องวัณโรค

ความหมายของวัณโรค

โรควัณโรค หมายถึง โรคซึ่งเกิดจากเชื้อมัยโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลสีส (Mycobacterium

tuberculosis) ทำให้ผู้ป่วยเกิดการติดเชื้อที่ปอด การตรวจเสมหะของผู้ป่วยโดยการย้อมเสมหะพบเชื้อหรือเพาะเชื้อขึ้น ผู้ป่วยเป็นวัณโรคปอดมักมีอาการและอาการแสดง คือ ไอเรื้อรังนานเกิน 2 สัปดาห์โดยที่มีหรือไม่มีไข้ ไอเป็นเลือด หรือมีภาพถ่ายรังสีทรวงอกเข้าได้กับวัณโรคและตรวจไม่พบสาเหตุอื่นๆ ร่วมกับการวินิจฉัยของแพทย์ (กลุ่มงานระบาดวิทยาโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สำนักระบาดวิทยา, 2548; บัญญัติ ปริชญญานนท์ และคณะ, 2542)

วัณโรค (Tuberculosis หรือ TB) เป็นโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium ถูกค้นพบโดย โรเบิร์ต ค๊อค (Robert Kock) นายแพทย์ชาวเยอรมัน ในปีพ.ศ. 2425 (บัญญัติ ปริชญานนท์, 2542)

อาการของวัณโรค

อาการของวัณโรคขึ้นอยู่กับเชื้อวัณโรคจะไปเติบโตที่ส่วนใดของร่างกาย แต่โดยทั่วไปเชื้อวัณโรคมักเติบโตที่ปอด ทำให้กลายเป็นวัณโรคปอด ซึ่งมีอาการสำคัญ (บัญญัติ ปริชญานนท์,2542) ดังนี้

1. ไอ ระยะแรกๆ ไอแห้งๆ ไอนานกว่า 2 อาทิตย์ ต่อมาอาจจะมีเสมหะร่วมด้วยเจ็บชายโครงขณะไอ บางรายเป็นมากเสมหะจะเหนียวมีสีเขียวกลิ่นเหม็น ถ้าไอมากๆ บางครั้งมีเลือดปนเสมหะออกมาด้วย ทำให้เสมหะเป็นสีน้ำตาลหรือแดง อาจพบหายใจลำบากร่วมด้วย

2. ไข้ เป็นอาการตั้งแต่เริ่มแรกและมีความสำคัญที่จะชี้ถึงความรุนแรงของโรคเมื่อเป็นน้อยๆ ไข้ไม่สูง มักมีไข้ตอนบ่าย แต่ถ้าได้พักผ่อนมากๆ ไข้จะหายไปเอง ลักษณะของไข้จะขึ้นลงเปลี่ยนแปลงไปแต่ละวัน มีไข้ต่ำๆ

3. อ่อนเพลีย และเหนื่อยง่ายเมื่อออกแรงเล็กน้อย อาการดังกล่าวจะมากขึ้นนับแต่เริ่มเป็นจนกระทั่งเป็นมากขึ้น ไม่มีแรงเมื่อทำงานเล็กๆ น้อยๆ

4. น้ำหนักตัวลดลง โดยเฉพาะในรายที่โรคกำลังเป็นมากขึ้น หรือรุนแรงมักจะผอมซีด

5. มีเหงื่อออกผิดปกติในตอนกลางคืน อาจจะมีตั้งแต่ระยะเริ่มเป็นวัณโรคโดยเฉพาะระยะที่มีไข้

6. เบื่ออาหาร บางรายพบว่า การย่อยอาหารไม่ปกติ โดยผู้ป่วยจะให้ประวัติว่ามีท้องเสียบ่อยๆ หรือมีคลื่นไส้อาเจียน

7. ไอมีเลือดปน (Hemoptysis) เลือดมักออกเวลาไอ อาจออกเพียงเล็กน้อยบางครั้งออกเป็นเลือดสดๆ

  การติดต่อของวัณโรค

1. การติดต่อระบบทางเดินหายใจ เชื้อวัณโรคจะแพร่กระจายจากปอดของผู้ป่วยวัณโรค เมื่อผู้ป่วยไอ จาม หรือบ้วนเสมหะ จะทำให้ละอองฝอย (Droplet nuclei) ขนาดเล็ก ซึ่งมีเชื้อวัณโรคอยู่เข้าสู่ปอดของบุคคลทั่วไปที่หายใจสูดเอาละอองซึ่งมีเชื้อวัณโรคเข้าไปในถุงลม ถ้าหากผู้รับเชื้อมีสุขภาพและภูมิต้านทานที่ดี ก็จะไม่ป่วยเป็นวัณโรค ในขณะที่มีภูมิต้านทานต่ำ เช่น อยู่ในภาวะขาดสารอาหารเป็นเบาหวาน ติดเชื้อเอช ไอ วี เป็นต้น โอกาสป่วยเป็นวัณโรคก็มากขึ้น (นงเยาว์ มีสิทธิ์, 2547)

2. การติดต่อของเชื้อวัณโรค นอกเหนือจากการหายใจการติดต่อของเชื้อวัณโรค นอกเหนือจากการหายใจ (นงเยาว์ มีสิทธิ์, 2547) พบได้น้อย ได้แก่

1. การกลืนกินเชื้อเข้าไป จากการที่เชื้อปนเปื้อนในนมหรืออาหาร ซึ่งในอดีตเป็นทางติดต่อที่สำคัญของเชื้อ Mycobacterium bovis จากวัวสู่คน เพราะการดื่มนมสดที่ไม่ผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อ

2. การติดเชื้อโดยการสัมผัส พบในกรณีมีรอยโรค หรือมีแผลในผิวหนัง

3. การติดเชื้อจากการฉีดสารเข้าสู่ร่างกายหรือขณะทำหัตถการ เช่น การติดเชื้อ BCG แพร่กระจายหลังฉีดวัคซีน BCG ในเด็กติดเชื้อเอดส์ หรือเป็นวัณโรคผิวหนังหลังจากการสัก หรือการเจาะหู เป็นต้น

4. การติดเชื้อจากมารดาสู่ทารกในครรภ์ ซึ่งอาจติดเชื้อผ่านทางรกตั้งแต่อยู่ในครรภ์ หรือจากการสัมผัส การกลืน หรือสำลักเชื้อลงปอดระหว่างการทำคลอด ในมารดาที่มีวัณโรคระยะลุกลามบริเวณช่องคลอด

การวินิจฉัยวัณโรค(สมาคมปราบวัณโรคแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์และคณะ, 2543)

1. อาการและอาการแสดง อาการที่น่าสงสัยว่าเป็นวัณโรคปอด ได้แก่ อาการไอเรื้อรังโดยเฉพาะหากไอนานเกิน 2 สัปดาห์ หรือไอเป็นเลือดสำหรับอาการอื่นๆ เช่น อาการเหนื่อยอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ เหงื่อออกตอนกลางคืนหรือเจ็บหน้าอก อาจเป็นอาการของวัณโรคได้ แต่มีความเฉพาะเจาะจงน้อยกว่าอาการไอเป็นเลือด

2. การถ่ายภาพรังสีทรวงอก เป็นการตรวจที่มีความไวสูง แต่มีความจำเพาะต่ำ คือความผิดปกติที่เห็นอาจจะไม่ใช่เกิดจากวัณโรคก็ได้ โดยอาจจะเป็นเงาเปรอะเปื้อนบนฟิล์ม เป็นเนื้องอกหรือมะเร็ง หรือเกิดจากโรคติดเชื้ออื่นๆ การที่จะวินิจฉัยว่าผู้ป่วยเป็นวัณโรคปอด จึงต้องการทำร่วมกับการตรวจเสมหะหาเชื้อวัณโรคด้วยเสมอ เพื่อหลีกเลี่ยงการวินิจฉัยผิดพลาดและการรักษาที่ไม่จำเป็นให้เหลือน้อยที่สุด

3. การตรวจเสมหะหาเชื้อวัณโรค

3.1 วิธีการตรวจเสมหะหาเชื้อวัณโรคด้วยกล้องจุลทรรศน์ (บัญญัติ ปริชญานนท์,2542)

3.1.1 วิธีป้ายจากเสมหะโดยตรง (Direct smear) เตรียมโดยใช้ไม้เขี่ยเสมหะแล้วป้ายลงบนแผ่นกระจกสไลด์โดยตรงวิธีนี้เป็นที่นิยมใช้กันมาก เพราะเป็นวิธีที่ง่าย สะดวก และรวดเร็ว สามารถทำได้ในสถานบริการสาธารณสุขทุกระดับ ผลการตรวจพบเชื้อวัณโรคขึ้นอยู่กับจำนวนเชื้อในเสมหะจะต้องมีมากพอควร ข้อเท็จจริงที่ควรปฏิบัติคือ การกระจายของเชื้อวัณโรคในเสมหะไม่เท่ากัน ดังนั้นการเลือกเขี่ยเสมหะมาป้ายบนกระจกสไลด์จึงสำคัญมาก ถ้าเขี่ยบริเวณที่ไม่

มีเชื้อหรือมีเชื้อจำนวนน้อยมาป้ายก็จะตรวจไม่พบหรือพบเชื้อได้ยาก จึงจำเป็นต้องเลือกเขี่ยส่วนที่น่าจะมีเชื้อมากที่สุดมาตรวจ คือ ส่วนที่เป็นก้อนเมือกเหนียว สีขุ่น สีเข้ม คล้ายหนอง จะพบเชื้อได้ง่ายขึ้น

3.1.2 วิธีป้ายจากตะกอนเสมหะ (Concentrated smear) เตรียมโดยผ่านกรรมวิธีย่อยเสมหะด้วยสารเคมีก่อน ทำให้เชื้อกระจายสม่ำเสมอแล้วนำมาปั่นด้วยเครื่องปั่นเหวี่ยงเอาเฉพาะตะกอนที่เข้มข้นมาป้ายบนแผ่นกระจกสไลด์ จะทำให้ตรวจพบเชื้อได้ง่ายขึ้น แต่ต้องใช้เครื่องปั่นเหวี่ยงที่มีแรงปั่นเหวี่ยงสูงถึง 3000 xg จึงจะทำให้เชื้อตกตะกอนดีขึ้น การย่อยเสมหะโดยใช้สารเคมีที่แนะนำให้ใช้คือ น้ำยาฟอกผ้าขาว ที่มีจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป เช่น Clorox ที่มีส่วนผสมของ Sodium hypochlorite ประมาณร้อยละ 5–10 โดยผสมลงในเสมหะปริมาณเท่าตัวเขย่าให้เข้ากันดีประมาณ 5 นาที แล้วนำมาปั่นในเครื่อง Centrifuge ความเร็ว 3,000 รอบต่อนาทีหรือเทียบเป็นค่า Relative Centrification Force (RCF) ได้เท่า กับ 3,000 xg หรือมากกว่าเป็นเวลานาน 15 นาที เพื่อให้เชื้อวัณโรคในเสมหะตกตะกอนเทน้ำส่วนใสทิ้ง แล้วนำตะกอนเสมหะมาป้ายบนกระจกสไลด์ เพื่อย้อมสีจะทำให้มีโอกาสตรวจพบเชื้อได้มากขึ้น และหากทำด้วยความระมัดระวังก็จะไม่มีอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน เพราะสารนี้ฆ่าเชื้อวัณโรคในเสมหะได้ดีจึงเหมาะใช้เฉพาะวิธีตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์เท่านั้นจะนำไปเพาะเชื้อไม่ได้ เนื่องจากเชื้อวัณโรคจะตายหมด

3.2 การเพาะเชื้อวัณโรค และการทดสอบความไวของเชื้อต่อยา มีวัตถุประสงค์เพื่อยืนยันว่าผู้ป่วยเป็นวัณโรคจริงเพราะมีเชื้ออยู่ในร่างกาย และเพื่อต้องการได้เชื้อวัณโรคมาทดสอบการดื้อยาของเชื้อวัณโรค เพื่อเป็นประโยชน์ในการรักษาผู้ป่วย ควรทำการเพาะเชื้อในรายที่อยู่โรงพยาบาลที่สามารถจะทำการเพาะเชื้อได้ หรือในรายสงสัยว่าจะเป็นวัณโรคแต่เสมหะไม่พบเชื้อเพื่อยืนยันการวินิจฉัย การส่งเสมหะเพาะเชื้อวัณโรคและทดสอบความไวของเชื้อต่อยาวัณโรคก่อนการรักษาจะต้องทำในกรณีที่ผู้ป่วยมีปัจจัยเสี่ยงที่จะมีเชื้อวัณโรคดื้อยา ในกรณีต่อไปนี้

1. ผู้ป่วยที่มีประวัติการรักษาไม่สม่ำเสมอ

2. ผู้ป่วยที่รักษาหายแล้วกลับเป็นซ้ำ

3. ผู้ป่วยที่มีการรักษาล้มเหลว

4. ผู้ป่วยที่มีประวัติสัมผัสกับผู้ป่วยดื้อยา หรือมีประวัติวัณโรคดื้อยาในครอบครัว

5. ผู้ป่วยที่ติดยาเสพติด

4. การตรวจทางพยาธิวิทยาของชิ้นเนื้อ

5. การใช้เทคนิคใหม่อย่างอื่น เช่น Polymerase chain reaction (PCR), Ligase chainreaction (LCR), Transcription mediated amplification (TMA) ยังไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการวินิจฉัยวัณโรคปอด ตามห้องปฏิบัติการทั่วไป เนื่องจากค่าใช้จ่ายสูงและต้องอาศัยความชำนาญของเจ้าหน้าที่เทคนิคมาก การประเมินค่าใช้จ่ายต่อผลประโยชน์จะไม่คุ้มค่า ยกเว้นในบางกรณีโดยเฉพาะการวินิจฉัยวัณโรคนอกปอด เช่น การใช้ PCR ในการวินิจฉัยวัณโรคเยื่อหุ้มสมองAdenosine deaminase activity ในการวินิจฉัยวัณโรคเยื่อหุ้มปอด เป็นต้น

การติดเชื้อวัณโรค

หมายถึง การที่เชื้อวัณโรครุกล้ำเข้าสู่เนื้อเยื่อของร่างกายและเจริญเติบโตหรือเพิ่มจำนวนอยู่ในเนื้อเยื่อของร่างกายแต่ยังไม่ทำให้เกิดโรค เรียกว่าอยู่ในระยะสงบ (Latent state) ผลการทดสอบ Tuberculin เป็นบวก ผลภาพถ่ายรังสีทรวงอกมักปกติ ไม่สามารถตรวจหาเชื้อวัณโรคพบในเสมหะหรือเนื้อเยื่อของร่างกาย ไม่สามารถแพร่กระจายเชื้อหรือติดต่อสู่ผู้อื่น ไม่มีอาการแสดงของการป่วยเป็นวัณโรค ผู้ที่ติดเชื้อมีความเสี่ยงที่จะเกิดการป่วยเป็นวัณโรคตามมาหลังการติดเชื้อได้ประมาณร้อยละ 10 ตลอดช่วงชีวิต

องค์ประกอบที่สำคัญของการติดเชื้อวัณโรคตามหลักวิทยาการระบาด

การติดเชื้อวัณโรคมีองค์ประกอบที่สำคัญตามหลักวิทยาการระบาด ได้แก่ บุคคล (host)

เชื้อก่อโรค (agent) และสิ่งแวดล้อม (environment) ดังนี้

1. บุคคล

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคน ได้แก่

1.1 อายุ ผู้สูงอายุและเด็กจะติดเชื้อได้โดยง่ายกว่ากลุ่มอายุอื่นๆทั้งนี้เนื่องจากจะมีระดับภูมิต้านทานต่ำ เนื่องจากอวัยวะต่างๆของร่างกายยังเจริญไม่เต็มที่ทำให้ความสามารถในการกำจัดเชื้อโรคไม่มีประสิทธิภาพ ส่วนผู้สูงอายุระบบภูมิต้านทานเสื่อมประสิทธิภาพลงจึงทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายจากการศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกาพบผู้ป่วยเด็กที่ติดเชื้อวัณโรคจากการสัมผัสผู้ป่วยวัณโรคโดยตรง และผู้สูงที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ขึ้นไปที่มีภูมิต้านทานโรคต่ำ มีความเสี่ยงต่อการเกิดวัณโรคระยะแพร่กระจายสูงกว่าคนปกติถึง 2.2- 5 เท่า ในผู้สูงอายุพบว่าร้อยละ 90ของวัณโรคเกิดจาก reactivation ของการติดเชื้อวัณโรคในระยะแรก

1.2 เพศ มีการศึกษาพบว่าเพศมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรค โดยพบว่าเพศชายมีการติดเชื้อและป่วยเป็นวัณโรคมากกว่าเพศหญิง 2.36 เท่า (นิธิพัฒน์ เจียรกุล และ สมลักษณ์ จึงสมาน, 2544) ความแตกต่างของการติดเชื้อและการป่วยระหว่างเพศเชื่อว่าเพศชายขาดความสนใจในการดูแลตนเอง ไม่ค่อยยอมรับความเจ็บป่วย ไม่แสวงหาการรักษา จึงทำให้เกิดการล่าช้าในการรักษาและมักไม่ให้ความร่วมมือในการรักษา เพศหญิงจะสนใจดูแลสุขภาพของตนเองดีกว่า นอกจากนี้เพศชายยังมีปัจจัยเสี่ยงทางอ้อมประการอื่น เช่นการดื่มสุรา การสูบบุหรี่ เป็นต้นซึ่งพบมากกว่าเพศหญิง (บุญเชิด กลัดพ่วง, ประทิน จาดตาล, และจรีย์ จันทร์แก้ว, 2545) 1.3 โรคเดิมที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ เป็นสาเหตุส่งเสริม เช่นผู้ป่วยเบาหวาน ในภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง จะมีความผิดปกติของระบบเลือด เช่น เม็ดเลือดแดงจะมีอายุสั้นลง เกร็ดเลือดจะยิ่งเกาะ และรวมตัวกันได้ง่าย เม็ดเลือดขาวบางชนิด เช่น โพลีมอโฟนิวเคลียร์ (polymorphonuclear) ทำหน้าที่ต่อต้านเชื้อโรคได้ไม่ดี โดยพบว่าการเคลื่อนที่ของเม็ดเลือดขาวไปยังบริเวณที่มีการติดเชื้อเป็นไปได้ไม่ดีความสามารถในการยึดติดกับผิวของส่วนที่มีการติดเชื้อลดลง การทำหน้าที่ฟาโกไซโตสีส (phagocytosis) และฆ่าแบคทีเรียก็ลดลงด้วย ลิมโฟซัยท์ (lymphocyte) ที่มีบทบาทในการทำลายสิ่งแปลกปลอมทั้งที่อยู่ในกระแสเลือดและที่เกี่ยวข้องกับเซลล์ก็เสื่อมหน้าที่ลง ทำให้ผู้ป่วยมีความต้านทานโรคต่ำกว่าคนปกติ ทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย (สมจิต หนูเจริญกุล, 2534)โรคมะเร็ง ในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งจะเกิดการติดเชื้อได้ง่าย เนื่องจากมีผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดยทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงลดจำนวนลง ระดับอิมมูโนโกลบูลิน(immunoglobulin) ต่ำลง การสร้างโปรตีนของร่างกายบกพร่องทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย และจากการที่ได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัด รังสีรักษา และยากดภูมิคุ้มกัน จะมีผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายลดต่ำลงเช่นกัน

โรคพิษสุราเรื้อรัง การดื่มสุราทำให้เกิดการทำลายของอวัยวะ หลายๆระบบรวมทั้งระบบประสาท ระบบภูมิคุ้มกัน โดยแอลกอฮอล์ในสุราทำให้การทำหน้าที่ของโมโนนิวเคลียร์แมคโครฟาจ (Mononuclear Macrophage) และอัลวีโอลาแมคโครฟาจ (Alveolar Macrophage) ในการทำลายโรคเสียไป (สมบัติ ลีลาสุภาศรี, 2539)ผู้ป่วยไตวายหรือโรคไตระยะสุดท้าย ในประเทศไทย จากการศึกษาของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ในผู้ป่วยเยื่อบุช่องท้องอักเสบ จากเชื้อวัณโรคในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยการล้างท้องอย่างถาวร พบว่าการติดเชื้อวัณโรคมัก เกิดจากการลดลงของภูมิคุ้มกันชนิดพึ่งเซลล์ (Cellular immunity) ในผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย มีอุบัติการณ์สูงกว่าประชากรทั่วไปประมาณ 6-16 เท่า และมี อุบัติการณ์ของการติดเชื้อ ในอวัยวะนอกปอดมากกว่าประชากรทั่วไปถึง 4 เท่า (เจริญ เกียรติวัชรชัย, 2541)ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีหรือเอดส์ และผู้ป่วยที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน จะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อวัณโรคสูงจากความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกันชนิดพึ่งเซลล์ (Cellular-Mediated Immunity: CMI) (นิธิพัฒน์ เจียรกุล, 2551

1.3 ภาวะทุพโภชนาการ ในผู้ที่มีภาวะขาดสารอาหาร พบว่ามีความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันชนิดพึ่งเซลล์ (Cellular-Mediated Immunity: CMI) จำนวนลิมโฟซัยท์ (lymphocyte)ที่ลดลงทำให้มีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย อีกทั้งยังมีผลต่อการสร้างโปรตีนลดลง ทำให้กลไกการป้องกันของปอดเสียหน้าที่ ร่างกายอ่อนแอ ภูมิต้านทานลดลง ในผู้ป่วยวัณโรค น้ำหนักตัวเป็นตัวชี้วัดระดับสุขภาพอนามัย ภาวะทุพโภชนาการทำให้ความต้านทานของร่างกายลดลง พบว่าผู้ป่วยที่มีน้ำหนักต่ำกว่า 40 กิโลกรัม มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p < 0.01    (บุญเชิดกลัดพ่วง, ประทิน จาดตาล, และ จรีย์ จันทร์แก้ว, 2545)

2. เชื้อวัณโรค

เชื้อวัณโรค เป็นเชื้อแบคทีเรียจัดอยู่ใน ตระกูลมัยโคแบคทีรีเอเซ่ (Family mycobacteriacae)ชื่อว่า มัยโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลสีส (Mycobacterium tuberculosis) เป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดชอบอากาศ (aerobic) มีขนาดเล็กประมาณ 1-5 ไมครอน เชื้อมีผนังหนาทำให้ทนทานต่อสิ่งแวดล้อมสามารถเจริญได้ดีในที่ซึ่งมีค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) 6.0-7.6 ที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส (°C)เชื้อวัณโรคมีระยะฟักตัวประมาณ 4-5 สัปดาห์ (อะเคื้อ อุณหเลขกะ, 2545)ลักษณะของเชื้อมัยโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลสีส เมื่ออยู่ในเนื้อเยื่อจะมีลักษณะเป็นท่อนตรง ผอมบาง (Slender shape) หรือโค้งเล็กน้อย ขนาดกว้าง 0.3-0.6ไมโครเมตร ยาว 2-4ไมโครเมตร อยู่เดี่ยวๆ แต่มักอยู่เป็นกลุ่มไม่สร้างสปอร์ ไม่เคลื่อนที่ ไม่มีแคปซูล และเมื่อเลี้ยงใอาหาร อาจเป็นทรงกลมและแตกกิ่งก้าน ไม่สามารถจัดเป็นพวกแกรมบวกหรือแกรมลบ เพราะย้อมสีธรรมดาติดสียากต้องย้อมด้วยสีทนกรดโดยใช้สีของ คาร์บอน ฟุคซิล (carbon-fuchsin) ตัวเชื้อจะติดสีแดงเป็นท่อนยาว เมื่อย้อมติดสีแล้วจะทนต่อการล้างด้วยแอลกอฮอล์กรด (acid alcohol) จึงเรียกเชื้อนี้ว่า แบคทีเรียทนกรด (acid fast bacteria) การที่เชื้อมีสมบัติทนกรดเพราะมีปริมาณไขมันมากที่ผนังเซลล์ สีย้อมจะทำปฏิกิริยากับกรดไมโคลิก (mycolic acid) ที่ผนังเซลล์จึงจับสีไว้ การย้อมสีด้วยวิธีนี้ถ้าเป็นเชื้อจากเนื้อเยื่อและเสมหะจะติดสีไม่สม่ำเสมอและเป็นแถบๆ เพราะมีแวคิวโอล และสารพอลิฟอสเฟต นอกจากนี้ยังอาจย้อมด้วยสีคาร์บอน-ออรามีน (carbon-auramine) เมื่อส่องด้วยแสงอุลตร้าไวโอเลตจะเกิดการเรืองแสงเป็นสีเหลืองสว่าง (ชัยเวช นุชประยูร, 2542; ปรีชา วิชิตพันธ์,เปรม บุรี, และ วัลลี สัตยาศัย, 2537)เชื้อวัณโรคถูกทำลายได้ในน้ำเดือดเป็นเวลานาน 2 นาที การแช่แข็ง (freezing) ไม่สามารถทำลายเชื้อวัณโรคได้ เชื้อวัณโรคทนทานต่อความแห้ง เชื้อวัณโรคที่ถูกทำให้แห้ง (driedtubercle bacilli) สามารถมีชีวิตอยู่ได้ตั้งแต่ 4 ชั่วโมงถึง 5 วัน ในภาวะแวดล้อมต่างๆ กัน และสามารถมีชีวิตอยู่ในห้องมืดได้นานตั้งแต่ 40 วัน จนถึง 5 เดือน รังสีอุลตราไวโอเลทในแสงแดดสามารถทำลายเชื้อวัณโรคได้ เชื้อวัณโรคมีความทนทานต่อน้ำยาทำลายเชื้อมากกว่าเชื้อชนิดอื่นๆ เอทธิล(Ethyl) และ ไอโซพรอพพิล แอลกอฮอล์ (isopropyl alcohols) ที่มีความเข้มข้นสูงสามารถทำลายเชื้อวัณโรคได้ แสงแดดทำลายเชื้อวัณโรคได้ภายใน 5 นาที การผึ่งแดดจึงเป็นวิธีการที่สะดวกที่สุดในการทำลายเชื้อ เชื้อวัณโรคอาจมีชีวิตเป็นปีในที่มืด ความร้อนที่อุณหภูมิ 60 และ 70 องศาเซลเซียส สามารถทำลายเชื้อวัณโรคได้ภายในเวลา 20 และ 5 นาที ตามลำดับ (ปรีชา วิชิตพันธ์และคณะ 2537; ชัยเวช นุชประยูร, 2542)

 

3. สิ่งแวดล้อม (environment)

แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ และสิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ

3.1 สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (physical environment) มีส่วนส่งเสริมให้เกิดการ

แพร่กระจายของเชื้อวัณโรคได้ ปัญหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นคือ สถานที่คับแคบหรือทึบ(enclosed spaces) ขาดการถ่ายเทอากาศที่เหมาะสม การไหลเวียนของอากาศที่ไม่ดี ไม่เพียงพอในการขจัด ละอองเชื้อโรค(infectious droplet nuclei) เช่น ภายในโรงพยาบาลหรือหอผู้ป่วยที่มีการระบายอากาศไม่ดี อากาศถ่ายเทไม่สะดวก หรือบางแห่งไม่มีการระบายอากาศเลย ผู้ป่วยที่ต้องอยู่อย่างแออัดมีโอกาสรับเชื้อวัณโรคได้ง่าย โดยเฉพาะบริเวณซึ่งมีผู้ป่วยวัณโรคที่ยังไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษา นอกจากนี้การใช้เครื่องปรับอากาศในหอผู้ป่วยหรือในบริเวณที่มีผู้ป่วยแออัดจะทำให้การไหลเวียนอากาศลดลง เชื้อวัณโรคจึงลอยอยู่ในอากาศได้เป็นเวลานาน

3.2 สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ (biological environment) เป็นสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับ

สิ่งมีชีวิตทั้งหลาย เช่น บุคลากรทางการแพทย์ ญาติผู้ป่วย และผู้ที่มาเยี่ยม มีส่วนส่งเสริมให้เกิดการแพร่กระจายเชื้อ หรือเป็นแหล่งแพร่กระจายเชื้อวัณโรคในโรงพยาบาลโดยตรง หากบุคคลนั้นป่วยเป็นวัณโรคปอดระยะแพร่กระจายเชื้อการป่วยเป็นวัณโรค ( Tuberculosis )หมายถึงการติดเชื้อวัณโรคแล้วเกิดการลุกลามของรอยโรคขึ้นจนปรากฏอาการหรือมีอาการแสดงของโรค และปรากฏให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของพยาธิสภาพในอวัยวะที่ติดเชื้อ (กองวัณโรค กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข, 2537) ผลการทดสอบ Tuberculin เป็นบวกผลภาพถ่ายรังสีทรวงอกมักผิดปกติ สามารถตรวจหาเชื้อวัณโรคพบในเสมหะหรือเนื้อเยื่อของร่างกาย สามารถแพร่กระจายเชื้อหรือติดต่อสู่ผู้อื่นได้ หากอยู่ในระยะแพร่เชื้อ (active state) และไม่ได้รับการรักษา

การเปรียบเทียบระหว่างการติดเชื้อวัณโรค (Tuberculous infection) และการป่วยเป็นวัณโรค (Tuberculosis)

สิ่งที่เหมือนกันคือมีเชื้อวัณโรคอยู่ในร่างกาย และการทดสอบปฏิกิริยาTuberculin ให้ผลบวกเหมือนกัน ส่วนความแตกต่างคือการป่วยเป็นวัณโรคจะมีภาพถ่ายรังสีทรวงอกผิดปกติ มีอาการแสดงของการป่วยเป็นวัณโรค สามารถตรวจหาเชื้อที่เป็นสาเหตุในเสมหะหรือเนื้อเยื่อของร่างกายและสามารถแพร่กระจายเชื้อหรือติดต่อไปยังผู้อื่นได้ ในขณะที่การติดเชื้อวัณโรคผลภาพถ่ายรังสีทรวงอกมักปกติ ไม่พบเชื้อจากการตรวจเสมหะและการเพาะเชื้อ ไม่สามารถแพร่กระจายเชื้อหรือติดต่อไปยังผู้อื่นและไม่มีอาการแสดงของการป่วยเป็นวัณ

อาการและอาการแสดงของผู้ป่วยวัณโรค

อาการและอาการแสดงที่พบบ่อย คือ อาการและอาการแสดงทางระบบทางเดินหายใจได้แก่ อาการไอมีเสมหะปนเลือด เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก เป็นหวัดบ่อย ส่วนอาการและอาการแสดงในระบบอื่นๆ ที่สำคัญของผู้ป่วยวัณโรคปอดได้แก่ มีไข้ต่ำๆ มักเป็นตอนบ่ายหรือตอนเย็นเหงื่อออกตอนกลางคืน อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด (กระทรวงสาธารณสุข, 2541; ปรีชา วิชิตพันธ์, เปรม บุรี, และ วัลลี สัตยาสัย, 2542; นิธิพัฒน์ เจียรกุล, 2551; Luelmo, 2004)

อาการและอาการแสดงทางระบบทางเดินหายใจที่ต้องพิจารณาเป็นพิเศษ ได้แก่

1. อาการไอ เป็นอาการที่พบบ่อยจากการติดเชื้อแบบเฉียบพลัน และจะหายไปเองภายใน 1 หรือ 2 สัปดาห์ หากผู้ป่วยมีอาการไอมากกว่า 2-3 สัปดาห์ จำเป็นต้องตรวจเสมหะเพื่อหาเชื้อวัณโรค เสมหะจะไม่มีลักษณะพิเศษ อาจจะใสเหนียว เป็นหนอง หรือปนเลือดก็ได้ เลือดที่ปนในเสมหะผู้ป่วยวัณโรคปอด อาจมีเพียงจุดเล็กๆ หรือไอออกมาเป็นก้อนใหญ่ก็ได้

2. อาการเจ็บหน้าอก เป็นอาการที่พบบ่อยในผู้ป่วยที่เป็นวัณโรค บางครั้งเป็นเพียงเจ็บตื้อๆ บางครั้งเจ็บมากขณะหายใจเข้าเนื่องจากเยื่อหุ้มปอดอักเสบ บางครั้งก็เกิดจากการขัดยอกของกล้ามเนื้อหน้าอกจากการไอมากๆ และบางครั้งอาจไอมากจนทำให้กระดูกซี่โครงหัก(cough fracture)

3. อาการหายใจลำบาก ในผู้ป่วยที่เป็นวัณโรคปอด เกิดจากโรคกระจายไปมากในปอด หรือเกิดจากน้ำในช่องปอดซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อน บางครั้งผู้ป่วยจะหายใจมีเสียงวี๊ด(wheeze) เนื่องจากหลอดลมอักเสบจากเชื้อวัณโรค หรือจากการกดทับต่อมน้ำเหลืองต่อหลอดลม

อาการและอาการแสดงในระบบอื่นๆ ที่สำคัญ ได้แก่

1. มีไข้ต่ำๆ มักเป็นตอนบ่ายหรือตอนเย็น ผู้ป่วยมีอาการตัวร้อนได้ง่าย หากทำงานหนักเกินไป ตกใจ หรือดีใจง่าย เมื่อวัดไข้จะมีอุณหภูมิประมาณ 38.3 องศาเซลเซียส ในเวลาเช้ามักมีอาการตัวเย็นกว่าปกติ ผู้ป่วยจะมีอาการมึนศีรษะและอ่อนเพลียมาก

2. เหงื่อออกตอนกลางคืน ผู้ป่วยจะมีอาการเหมือนส่างไข้ และมีเหงื่อออกมากจนเสื้อเปียก ทำให้นอนไม่หลับ เมื่อตื่นนอนตอนเช้าตัวก็จะเย็นกว่าปกติ มีอาการหนาวจนตัวสั่น

3. อาการอ่อนเพลีย จะมีมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นมากในตอนเช้า และเป็นน้อยในตอนบ่าย

4. เบื่ออาหาร

5. น้ำหนักลด ผู้ป่วยเป็นวัณโรคมักเป็นผู้ที่มีรูปร่างผอม และจะมีน้ำหนักลดอย่าง

รวดเร็ว

การวินิจฉัยวัณโรคปอด

การวินิจฉัยวัณโรคปอดสามารถวินิจฉัยได้จากอาการ อาการแสดง และการตรวจทางห้องปฏิบัติการดังนี้  (ยุทธิชัย เกษตรเจริญ, 2542; ATS, 2000)

1. การซักประวัติและการตรวจร่างกาย

1.1 อาการและอาการแสดงของวัณโรคปอด สามารถวินิจฉัยการเกิดวัณโรคปอดได้อย่างมีประสิทธิภาพในเบื้องต้น อาการสำคัญของผู้ป่วยวัณโรคปอด ได้แก่ อาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด มีไข้ต่ำๆ มักเป็นตอนบ่ายหรือตอนเย็นเหงื่อออกตอนกลางคืน

1.2 อาการทางปอด ได้แก่ อาการไอมากกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไปสามารถทำนายการเกิดวัณโรคได้ร้อยละ 100 อาจไอเป็นเลือด ไอเสมหะมีเลือดปน เสมหะมักมีสีเหลือง เขียวและมีกลิ่นเหม็น บางรายอาจมีอาการเจ็บหน้าอก เหนื่อยง่าย ฟังเสียงการหายใจลดลงจากการมีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด ฟังปอดมีเสียง crepitation บริเวณรอยโรค

2. การตรวจเสมหะเพื่อวินิจฉัยวัณโรค

2.1 การตรวจเสมหะด้วยวิธีย้อมเชื้อทนกรด เป็นการตรวจหาเชื้อวัณโรคด้วยวิธีdirect smear มีความจำเพาะ (specificity) สูงมาก คิดเป็นร้อยละ 99.6-100 หากตรวจเสมหะพบเชื้อสามารถวินิจฉัยได้ว่าเป็นวัณโรค และให้การรักษาได้โดยไม่ต้องรอผลการเพาะเชื้อ แต่มีความไว (sensitivity) ร้อยละ 39-74 คือไม่สามารถบอกชนิดของ Mycobacterium ได้การตรวจหาเชื้อทนกรดในเสมหะด้วยกล้องจุลทรรศน์ จะมีโอกาสพบเชื้อวัณโรคได้หากในเสมหะ1 มิลลิลิตร มีเชื้อประมาณ 5,000-10,000 ตัวขึ้นไป หากปริมาณเชื้อน้อยกว่านี้โอกาสตรวจพบด้วยกล้องจุลทรรศน์จะลดลงมาก การตรวจควรตรวจซ้ำอย่างน้อย 3 ครั้ง ดังนั้นจึงต้องมีการเก็บเสมหะอย่างถูกต้อง ต้องอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจว่าต้องเป็นเสมหะที่ไอจากส่วนลึกของหลอดลม และมีปริมาณมากพอสมควรประมาณ 5-10 มิลลิลิตร หากเก็บไม่ถูกต้อง จะทำให้ผลการตรวจผิดพลาดได้เสมหะที่ได้ควรส่งห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจโดยเร็ว หากเก็บไว้ในตู้เย็น4 °Cไม่ควรเก็บนานเกินกว่า 1 สัปดาห์ (สมาคมปราบวัณโรคแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์,2544)

2.2 การเพาะเชื้อในเสมหะ เป็นการตรวจที่ให้ผลถูกต้องแม่นยำ มีความไวและความจำเพาะร้อยละ 81.5 และ 98.4 ตามลำดับ ถือเป็นมาตรฐานสามารถตรวจพิสูจน์หาเชื้อวัณโรคได้แม้จะมีจำนวนเชื้อวัณโรคที่มีชีวิตเพียง 10 เซลล์ต่อสิ่งส่งตรวจ 1มิลลิลิตร และยังจำแนกชนิดของเชื้อและทดสอบความไวของเชื้อต่อยาปฏิชีวนะ เพื่อตรวจหาเชื้อ

3. การตรวจด้วยเทคนิคสมัยใหม่

3.1 Polymerase Chain Reaction (PCR) เป็นเทคนิคการสังเคราะห์สารพันธุกรรม(DNA) ในหลอดทดลองเลียนแบบการสังเคราะห์ DNA ที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ ทำการทดสอบ DNAที่ได้จากเทคนิค PCR เทียบกับ DNA มาตรฐานโดยวิธีอีเลคโตรโฟรีสิส (electrophoresis) วิธีการนี้มีข้อดีคือมีความไวและความจำเพาะสูงมากอาจถึงร้อยละ 100 (95% CI= 85-100) แม้มีเชื้อวัณโรคในสิ่งส่งตรวจเพียง 3 ตัว ก็สามารถตรวจพบได้ภายในเวลา 48 ชั่วโมง หากมีการปนเปื้อนเชื้อวัณโรคอาจจะให้ผลเป็นลบได้ (Warren et al., 2004)

3.2 Restriction fragments length polymorphism (RFLP) เป็นการนำเอา DNAของเชื้อมาตัดด้วยเอนไซม์ เรสทริคชั่น เอ็นโดนิวคลีเอส (restriction endonuclease) ให้ DNA ขาดเป็นท่อนๆ แล้วนำไปแยกด้วยวิธีอีเลคโตรโฟรีสิส (electrophoresis) จะเกิดรูปแบบการเรียงตัวของDNA ท่อนเล็กและท่อนใหญ่ที่เรียกว่า DNA fingerprinting ซึ่งใช้จำแนกสายพันธุ์ของเชื้อได้ วิธีนี้ จะมีประโยชน์ในการศึกษาระบาดวิทยาของเชื้อโรค สามารถบอกแหล่งระบาดของโรคได้

4. การทดสอบปฏิกิริยาทูเบอร์คูลินทางผิวหนัง (tuberculin skin test) หมายถึง                                              การใช้น้ำยาทูเบอร์คูลินชนิดพีพีดี (Purified Protein Derivative [PPD]) จำนวน 0.1 มิลลิลิตร ฉีดเข้าชั้นผิวหนังแล้วอ่านผลหลังทดสอบ 48-72 ชั่วโมง เป็นการตรวจวินิจฉัยที่นิยมเนื่องจากเป็นวิธีที่สะดวก ทราบผลการตรวจได้รวดเร็วและมีความแม่นยำ สามารถตรวจโดยทั่วไปได้ ความไวของการทดสอบทูเบอร์คูลินทางผิวหนังเพื่อตรวจหาการติดเชื้อวัณโรคในคนปกติ มีค่าอยู่ระหว่างร้อยละ92-94 และมีความจำเพาะร้อยละ 98-99 เป็นการตรวจวินิจฉัยว่าผู้นั้นได้รับเชื้อวัณโรคมาแล้ว เนื่องจากในประเทศไทยมีความครอบคลุมการฉีดวัคซีน BCGค่อนข้างสูง จึงเป็นการยากที่จะแยกปฏิกิริยาที่เกิดจากการติดเชื้อวัณโรคและการได้รับวัคซีน BCGได้ ดังนั้นจึงใช้ตรวจเพื่อวินิจฉัยวัณโรคที่ตรวจไม่พบเชื้อ ในประเทศไทยไม่แนะนำให้ทดสอบปฏิกิริยาทูเบอร์คูลินในประชาชนทั่วไปที่ไม่มีอาการผิดปกติ แต่ให้สอบถามอาการที่เกี่ยวข้องกับวัณโรคเป็นประจำ ได้แก่ อาการไข้เรื้อรัง ไอตั้งแต่ 3 สัปดาห์ขึ้นไป ไอเป็นเลือด หรือน้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ (อภิรักษ์ ปาลวัฒน์วิชัยไชย, ประมวณ สุนากร, และ วัลลภ ปายะนันทน์, 2542)

การแพร่กระจายของเชื้อวัณโรค (บุญส่งพัจนสุนทร และ วิภา รีชัยวิชิตกุล, 2543) คือ

1. การแพร่กระจายเชื้อจากผู้ป่วยวัณโรคปอดสู่ผู้ป่วยอื่น พบได้ในกรณีผู้ป่วยที่เข้ามารับการรักษา ยังไม่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นวัณโรคปอดระยะแพร่เชื้อ และยังไม่ได้รับการรักษา จึงมีการแพร่กระจายเชื้อได้มาก ผู้ป่วยอื่นและบุคลากรไม่มีการป้องกันตัวเอง โอกาสได้รับเชื้อและป่วยเป็นวัณโรคมีสูงมาก มีคนจำนวนมากที่มีการติดเชื้อวัณโรค แต่ไม่ป่วยเป็นวัณโรค เนื่องจากมีภูมิต้านทานแข็งแรงพอที่จะยับยั้งการป่วยเป็นวัณโรค แต่ภูมิต้านทานก็ไม่สามารถทำลายเชื้อวัณโรคได้หมด ดังนั้นคนที่ติดเชื้อวัณโรคยังคงมีความเสี่ยงที่จะป่วยเป็นวัณโรค หากเชื้อวัณโรคสามารถต่อต้านภูมิคุ้มกันของร่างกายและเจริญแพร่พันธุ์ได้ (อะเคื้อ อุณหเลขกะ, 2545) ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงในการป่วยเป็นวัณโรคได้แก่ ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานต่ำที่เกิดจากเชื้อไวรัส (WHO, 1995) ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคพิษสุราเรื้อรัง เนื่องจากผู้ป่วยมีภาวะภูมิต้านทานต่ำเมื่อมีการติดเชื้อวัณโรค เชื้อก็จะต่อต้านภูมิคุ้มกันในร่างกายผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วยที่ติดเชื้อ เอชไอวีบางรายผลการตรวจเสมหะด้วยกล้องจุลทรรศน์ และการถ่ายภาพรังสีทรวงอกที่เป็นลบ ทำให้ไม่สามารถวินิจฉัยและรักษาวัณโรคได้ในระยะแรกของการติดเชื้อวัณโรค ทำให้โรคดำเนินต่อไปและแพร่กระจายสู่ผู้อื่นได้หากเข้าสู่ระยะแพร่กระจาย

การรักษา

ผู้ป่วยวัณโรคที่ไม่ได้รักษาจะมีอัตราการตาย ร้อยละ 40-60 ปัจจุบันมีวิธีการรักษาวัณโรคระยะสั้น โดยการให้ยารักษาควบคู่กันไปหลายขนาน หากรักษาครบกำหนดจะมีอัตราหายร้อยละ 90 การรักษาจะใช้ร่วมกันหลายชนิดโดยให้ INH, Rifampicine 6 เดือน และให้ Ethambutal,pyracinamide 2 เดือนแรก ผู้ป่วยที่มีรายได้น้อยก็สามารถไปรักษาโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ที่โรงพยาบาลหรือสถานีอนามัยของรัฐเมื่อรักษาไป 2-3 สัปดาห์ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นอย่าตัดสินใจหยุดยาเองเป็นอันขาด การกินยาไม่สม่ำเสมอ หรือหยุดยาก่อนกำหนดจะทำให้เชื้อโรคดื้อยาการรักษาวัณโรคที่ดื้อยา ผู้ป่วยจะแพร่เชื้อดื้อยาไปสู่ผู้อื่น จะต้องใช้ยา 18-24 เดือนโดยใช้ยาที่เชื้อไม่ดื้อยาอย่างน้อย3 ชนิด(สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข)

ระบบยาที่แนะนำ มีดังต่อไปนี้

ระบบยาสำหรับผู้ป่วยที่ยังไม่เคยได้รับการ รักษามาก่อน (หรือไม่เกิน 1 เดือน) การให้ยาแบ่งได้เป็น 2 ระยะ คือ ระยะเข้ม ข้น (intensive phase) และระยะต่อเนื่อง(maintenance phase) ระบบยาที่เหมาะสมกับประเทศไทย ทั้งในแง่ประสิทธิภาพที่ดี ราคายาที่ เหมาะสม และอัตราการกลับเป็นใหม่ของโรคที่ต่ำ(relapse) ได้แก่

 

 

1.1 ผู้ป่วยใหม่ย้อมเสมหะพบเชื้อ

1.1.1) ระบบยาที่ใช้เวลา 6 เดือน 2HRZE(S)/4HR หรือ 2HRZE(S)/4H3R3

1.1.2) ระบบยาที่ใช้เวลา 8 เดือน 2HRZE(S)/6HE

1.1.3) ระบบยาที่ใช้เวลา 9 เดือน 2HRE/7HR

ยารักษาวัณโรค

หมายเหตุ :แนะนำให้ใช้สูตร 6 เดือนเป็นหลัก ให้ ใช้ยาอย่างน้อย 4 ชนิด ในระยะเข้มข้นเนื่องจากมี อัตราเชื้อต้านยาปฐมภูมิต่อ INH สูง ยกเว้นในผู้ป่วย บางรายที่มีปัญหาเช่น ทนฤทธิ์ยาพัยราซินะไมด์ไม่ ได้ อาจใช้2HRE/7HR ได้ ต้องพยายามจัดระบบการรักษาระยะ สั้นแบบให้กินยาภายใต้การสังเกตโดยตรง Directly observed treatment, short coutse (DOTS) ทุกราย เพื่อป้องกันการดื้อยา การให้ยาแบบสัปดาห์ละ 3 ครั้ง มี เงื่อนไขว่าต้องให้ผู้ป่วยกินยาต่อเจ้าหน้าที่ทุกครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ป่วยได้รับยาจริง การใช้ยาในระยะ 2 เดือนแรก มีความ สำคัญต่อการรักษามาก ควรจัดให้อยู่ในการควบคุม อย่างใกล้ชิด หรือ DOTS

ยา อีแธมบิวตอล และ สเตร็พโตมัยซิน อาจใช้แทนกันได้ ยารับประทานทุกขนานควรใช้วันละ ครั้งเดียวเวลาท้องว่าง เช่น ก่อนนอนโดยจัดรวมอยู่ ในซองเดียวกันเพื่อให้ได้ผลการรักษาดีที่สุด ต้องให้ แน่ใจว่า ผู้ป่วยใช้ยาทุกขนานครบตามระบบยานั้น ในผู้ป่วยบางรายที่ไม่รับประทานยาบางขนาน ซึ่ง อาจจะทำให้เกิดภาวะดื้อยา และการรักษาไม่ได้ผล ดี จึงสนับสนุนให้ใช้ยา Rifampicin รวมกับยาอื่น 13 รวม 2-3 ขนานในเม็ดเดียวกัน (Fixed-dose combination) ซึ่งมีกำหนดสัดส่วนที่แน่นอนโดยเลือก ยาชนิดที่ได้มีการศึกษาเกี่ยวกับ Bioavailability ใน คน จากสถาบันทีเชื่อถือได้

1.2 ผู้ป่วยใหม่ย้อมเสมหะไม่พบเชื้อ

1.2.1 ให้การรักษาเหมือน new smear-positive pulmonary tuberculosis คือสูตรยา 6 เดือน

1.2.2 ในรายที่เสมหะตรวจย้อมสี ไม่พบเชื้อ(smear negative) และการเพาะเชื้อให้ผลบวกหรือลบ ก็ตาม ร่วมกับภาพรังสีทรวงอกมีรอยโรคขนาดน้อย มากและไม่มีโพรง กล่าวคือมีขนาดรอยโรครวมกัน ทั้งปอดแล้วไม่เกิน 10 ตร.ซม. อาจให้การรักษา 6 เดือน ด้วยระบบยา 2HRZ/4HRระบบยาสำหรับผู้ป่วยเสมหะบวก ที่เคยได้รับการรักษามาแล้ว (Retreatment)คำจำกัดความ

2.1 Treatment failure หมายถึง ผู้ป่วยที่ กำลังรักษาอยู่ด้วยระบบยาระยะสั้น 6 เดือนนาน เกิน 5 เดือน แล้วเสมหะยังตรวจพบเชื้อ

2.2 Relapse หมายถึง ผู้ป่วยที่เคยได้รับการรักษาหายมาแล้วหยุดยาแล้วโรคกลับเป็นใหม่ โดยมีผลตรวจเสมหะ (direct smear หรือ culture) เป็นบวก

2.3 Default หมายถึง ผู้ป่วยที่ขาดยาติดต่อ กันนานเกินกว่า 2 เดือน

การรักษาซ้ำในกรณีผู้ป่วย relapse, default และ treatment failure ในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับการรักษาจนครบ สูตรยาและแพทย์สั่งจำหน่ายหายแล้วแต่ผู้ป่วยกลับ ป่วยเป็นวัณโรคอีก (Relapse) จากการศึกษาพบว่า เชื้อมักจะไม่ดื้อต่อยาในกรณีนี้ให้ใช้ระบบระยะสั้นเดิม แล้วส่งเสมหะก่อนเริ่มให้ยาเพื่อเพาะเชื้อและ ทดสอบความไวของยาในกรณีที่ผู้ป่วยรับยาไม่สม่ำเสมอหรือ ขาดการรักษา (Default) หรือไม่ครบขนานหรือบาง ขนานที่ระบบยาสั้น และคาดว่าเชื้ออาจจะดื้อต่อยา บางขนาน แต่ไม่ใช่การดื้อยาหลายขนาน (MDRTB) โดยเฉพาะดื้อต่อยา RMP ให้ใช้ระบบยา 2HRZES/1HRZE/5HREในกรณีที่ผู้ป่วยมีการรักษาล้มเหลวด้วยระบบยาที่ใช้ยาอยู่ตามข้อ 1.1.1 หรือตามข้อ 1.1.2                       โดยมีหลักฐานว่าผู้ป่วยได้รับยาสม่ำเสมอเช่นได้ รับ DOTS มาตลอด ให้ส่งเสมหะเพื่อเพาะเชื้อและ ทดสอบความไวของเชื้อต่อยาก่อนเปลี่ยนระบบยา ใหม่ทั้งหมดโดยใช้ยารักษาวัณโรคตัวอื่นๆ ที่ไม่เคย ใช้มาก่อนอย่างน้อยอีก 3 ตัว (พิจารณายาสำรอง ตามตารางที่ 2) เมื่อได้ผลเพาะเชื้อแล้วให้ปรับระบบ ยาใหม่ตามผลการทดสอบความไวของยา การรักษาใหม่ในรายที่มีการรักษาล้มเหลวจากเชื้อดื้อยา จะ ต้องให้ยาต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 12 เดือน หลังจากที่ตรวจย้อมเสมหะและเพาะเชื้อไม่พบเชื้อวัณโรค ควรเน้นการรักษาครั้งแรกให้ถูกต้องเป็น ปัจจัยสำคัญที่สุด เพื่อป้องกันมิให้เกิดการรักษาล้ม เหลวและเชื้อดื้อยา โดยให้การบริการจัดการรักษา วัณโรคที่ดีและให้ DOTS ในกรณีที่สถานบริการไม่สามารถจะทำการเพาะเชื้อและทดสอบความไวของ เชื้อต่อยาได้ อาจจะต้องส่งตัวผู้ป่วยไปรักษายัง สถานบริการที่สามารถกระทำได้

การติดตามและประเมินผลการรักษา

ผู้ป่วยวัณโรคปอดที่มีเสมหะย้อมสีพบ เชื้อทนกรด และได้รับการรักษาด้วยยารักษาวัณโรค ด้วยระบบมาตรฐาน การตรวจเสมหะด้วยกล้อง จุลทรรศน์ (และการเพาะเชื้อถ้ากระทำได้) เป็นวิธีการหลักในการประเมินผลการรักษาที่สำคัญและไว กว่าการทำภาพรังสีทรวงอก จึงต้องได้รับการตรวจ ย้อมสีเสมหะเพื่อตรวจหาเชื้ออย่างน้อย 3 ช่วงเวลา ระหว่างรักษา คือ หลังการรักษา 2 เดือนเพื่อดูอัตรา การเปลี่ยนของเสมหะจากบวกเป็นลบ (conversion rate) ช่วงที่สองหลังการรักษา 5 เดือน เพื่อดูว่ามีการ รักษาล้มเหลวหรือไม่ และเมื่อสิ้นสุดการรักษาเพื่อดู อัตราการหายใจจากโรค (cure rate) เสมหะที่ส่ง ตรวจแต่ละครั้งควรจะต้องประกอบด้วยเสมหะ 2 ตัว อย่าง ที่เก็บในตอนหลังตื่นนอนหนึ่งตัวอย่าง และอีก หนึ่งตัวอย่างจะเก็บขณะที่ผู้ป่วยมารับการตรวจ รักษาหรืออย่างน้อยที่สุดหนึ่งตัวอย่าง ถ้าหาก สามารถจะเพาะเชื้อวัณโรคจากเสมหะได้ควรจะทำ การเพาะเชื้อร่วมด้วยภาพรังสีทรวงอกผู้ป่วย อาจถ่ายภาพรังสี ทรวงอกก่อนการรักษา และควรถ่ายภาพรังสีทรวง อกอีกครั้งเมื่อสิ้นสุดการรักษา เพื่อเป็นภาพรังสีทรวง อกที่ใช้ในการเปรียบเทียบหากผู้ป่วยมีอาการหลัง หยุดการรักษา การถ่ายภาพรังสีทรวงอกระหว่างการรักษาไม่จำเป็น ยกเว้นในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการ เปลี่ยนแปลงที่เลวลงระหว่างการรักษาหรือสงสัยว่ามีโรคแทรกซ้อนเกิดขึ้น

ผู้ป่วยวัณโรคปอดที่ตรวจเสมหะย้อมสี ไม่พบเชื้อด้วยวิธีตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ไม่ว่าผล การเพาะเชื้อเป็นบวกหรือลบก็ตาม โดยทั่วไปให้ใช้ อาการแสดงทางคลินิกดูผลการรักษา แต่ควรตรวจ เสมหะเมื่อสิ้นสุดการรักษาระยะเข้มข้นเพื่อป้องกัน ความผิดพลาดในผลการตรวจเสมหะก่อนรักษา หรือผู้ป่วยได้รับยาไม่สม่ำเสมอผู้ป่วยที่ขาดยาเกิน 2 วัน ในระยะเข้ม ข้นหรือเกิน 7 วัน ในระยะต่อเนื่องต้องติดตามทันทีเพื่อหาสาเหตุและอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงความ สำคัญของการกินยาให้ครบถ้วน

ตารางที่ 1 ยารักษาวัณโรคที่มีประสิทธิภาพดี

ชื่อ ใช้ยาทุกวัน ให้ยาสัปดาห์ละ 3 ครั้ง (สำหรับผู้ใหญ่) ฤทธิ์ข้างเคียงที่ สำคัญ
ผู้ใหญ่ เด็ก
Isoniazid (H) 300 มก./วัน 5(4-6) มก./กก./วัน 10(8-12) มก./กก. ตับอักเสบ
Rifampicin (R) >50กก.ให้ 600 มก./วัน

<50กก.ให้ 450 มก./วัน

10(8-12) มก./กก./วัน 10(8-12) มก./กก. ตับอักเสบ อาการ คล้ายไข้หวัดใหญ่ ถ้าให้ยาสัปดาห์ละ 2 ครั้ง
Streptomycin (S) >50 กก.ให้ 1 กรัม/วัน

< 50 กก.ให้ 0.75 กรัม/วัน

15(12-18) มก./กก./วัน ไม่เกินวันละ 1 กรัม 15(12-18) มก./กก. หูตึง เสียการทรงตัว
Pyrazinamide (Z) 20-30 มก./กก./วัน 25(20-30) มก./กก./วัน 35(30-40) มก./กก. ตับอักเสบ ผิวหนังเกรียม แพ้แดด ปวดมือ
Ethambutol (E) 15-25 มก./กก./วัน 15(15-20) มก./กก./วัน 30(25-30) มก./กก. ตามัว และอาจตาบอดได้

** หมายเหตุ : มก. = มิลลิกรัม กก. = กิโลกรัม

นอกจากนี้ยังมียาสำรองบางชนิดที่หาซื้อได้ยาก ราคาแพง ประสิทธิภาพปานกลางหรือต่ำ และมี ฤทธิ์ข้างเคียงสูง (ตารางที่ 2)

ตารางที่ 2 ยาสำรอง (ที่มีจำหน่ายในประเทศไทย)

ขนาด ผลข้างเคียง
1) Thiacetazone 150 มก./วัน เบื่ออาหาร ผื่นคัน ตับอักเสบ
2) Amikacin 15 มก./กก./วัน หูตึง เสียการทรวงตัว
3) Kanamycin 15 มก./กก./วัน หูตึง เสียการทรงตัว
4) Ofloxacin 400-600 มก./วัน คลื่นไส้ ปวดศีรษะ
5) Levofloxacin 400-600 มก./วัน คลื่นไส้ ปวดศีรษะ
6) Ciprofloxacin 750-1000 มก./วัน คลื่นไส้ ปวดศีรษะ
7) PAS 8-12 กรัม/วัน คลื่นไส้ แน่นท้อง ท้องเสีย เป็นผื่น
8) Cycloserine 500-750 มก./วัน บวม อารมณ์ผันผวน จิตประสาท ชัก

** หมายเหตุ : มก. = มิลลิกรัม กก. = กิโลกรัม

นำมาจาก แนวทางการวินิจฉัยและรักษาวัณโรคในประเทศไทย พิมพ์ครั้งที่ 2 (ฉบับปรับปรุง)

 

วิธีการดำเนินงาน

การศึกษาครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้ศึกษาผู้ประกอบอาชีพมัดหอมกระเทียม ณ หมู่บ้านกล้วยม่วง หมู่ที่ 3 ตำบลกล้วยแพะ อำเภอเมือง  จังหวัดลำปาง 52000

โดยได้ดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้

1. กำหนดประชากร และกลุ่มตัวอย่าง

2. สร้างเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา

3. การเก็บรวบรวมข้อมูล

4. การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้

กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา

กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้ประกอบอาชีพมัดหอมและกระเทียม หมู่บ้านกล้วยม่วง หมู่ที่ 3 ตำบลกล้วยแพะ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง จำนวน 71 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ แบ่งออกเป็นดังนี้ คือ

ส่วนที่ 1 แบบคัดกรองรายชื่อผู้ประกอบอาชีพมัดหอมกระเทียมที่มีความเสี่ยงเป็นวัณโรค ประกอบด้วย

–                    ชื่อ – สกุล

–                    อายุ

–                    ที่อยู่

–                    จำนวนปีที่มัดหอมกระเทียม

–                    ระยะเวลาในการมัดหอม

–                    การสำรวจปัจจัยเสี่ยงต่างๆของโรคประกอบด้วย โรคเบาหวาน  โรคความดันโลหิตสูง  โรควัณโรค  ผู้สัมผัสโรคร่วมบ้าน/ผู้ใกล้ชิดผู้ป่วยวัณโรค โรคความดันและโรคความดันโลหิตสูง

การเก็บรวบรวม

ในการศึกษาครั้งนี้ได้กำหนดระยะเวลา 3 สัปดาห์โดยการศึกษาจากผู้ประกอบอาชีพมัดหอมและกระเทียม หมู่บ้านกล้วยม่วง หมู่ที่ 3 ตำบลกล้วยแพะ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง จำนวน 71 คน

การวิเคราะห์ข้อมูล

            การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้สถิติบรรยาย คือ ค่าร้อยละ (Percentage)

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

ตารางสรุปผลการสำรวจในกลุ่มอาชีพมัดหอมกระเทียมที่มีความเสี่ยงเป็นวัณโรค หมู่บ้านกล้วยม่วง หมู3 ตำบลกล้วยแพะ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

ส่วนที่ 1 เพศ

เพศ จำนวนคน ร้อยละ
ชาย 28 39.43
หญิง 43 60.56

จากตารางส่วนที่ 1 จะพบว่า กลุ่มอาชีพมัดหอมกระเทียมที่มีความเสี่ยงเป็นวัณโรค ชุมชนกล้วยม่วง หมู่3 ตำบลกล้วยแพะ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง มีทั้งหมด 71 คน จากประชากรทั้งหมดคิดเป็นร้อยละ 4.46  มีเพศชาย 28 คน คิดเป็นร้อยละ 39.43  เพศพญิง 43 คน คิดเป็นร้อยละ 60.56 ของกลุ่มอาชีพมัดหอมกระเทียมทั้งหมด

ส่วนที่ 2 ข้อมูลช่วงอายุแบ่งตามเพศ

ช่วงอายุ เพศชาย (คน) ร้อยละ เพศหญิง (คน) ร้อยละ
30 – 40 ปี 2 2.81
41 – 50 ปี 12 16.90
51 – 60ปี 5 7.04 26 36.61
60 ปีขึ้นไป 9 12.67 17 23.94

จากตารางส่วนที่ 2 จะพบว่า ช่วงอายุเพศชายในการประกอบอาชีพกลุ่มมัดหอมกระเทียมที่มีความเสี่ยงเป็นวัณโรค ในช่วงอายุ 51-60 ปี มีจำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 7.04 และ 61 ปีขึ้นไปมีจำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 12.67 ของประชาการในกลุ่มอาชีพมัดหอมกระเทียมทั้งหมด

ช่วงอายุเพศหญิงในการประกอบอาชีพกลุ่มมัดหอมกระเทียมที่มีความเสี่ยงเป็นวัณโรคในช่วงอายุ 30-40 ปี มีจำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 2.81  41-50 ปี มีจำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 16.90  51-60 ปี มีจำนวน 26 คน คิดเป็นร้อยละ 36.61 และ 61 ปีขึ้นไป มีจำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 23.94 ของประชาการในกลุ่มอาชีพมัดหอมกระเทียมทั้งหมด

 ส่วนที่ 3 ระยะเวลาที่เริ่มประกอบอาชีพมัดหอมและกระเทียม

ระยะเวลา(ปี) จำนวนคน ร้อยละ
1 – 5 ปี 12 16.90
6 – 10 ปี 15 21.12
11 – 15 ปี 39 54.92
16 – 20 ปี 3 4.22
20 ปีขึ้นไป 2 2.81

จากตารางส่วนที่ 3 จะพบว่า การเริ่มทำงานของแต่ละคนในกลุ่มอาชีพมัดหอมกระเทียมที่มีความเสี่ยงเป็นวัณโรคในระยะเวลา 1-5 ปี ในการทำงานมีจำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 16.90  6-10 ปีในการทำงานมีจำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ21.12  11-15 ปีในการทำงานมีจำนวน 39 คน คิดเป็นร้อยละ 54.92  16-20 ปีในการทำงานมีจำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 4.22  และ20ปีขึ้นไป มีจำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 2.81 ของประชาการในกลุ่มอาชีพมัดหอมกระเทียมทั้งหมด

ส่วนที่ 4 ระยะเวลา/วันที่ประกอบอาชีพมัดหอมกระเทียม

ระยะเวลา(ชั่วโมง) จำนวนคน ร้อยละ
06.00 น. – 15.00 น. 2 2.81
06.00 น. – 16.00 น. 1 1.40
06.00 น. – 17.00 น. 2 2.81
07.00 น. – 15.00 น. 1 1.40
07.00 น. – 16.00 น. 2 2.81
07.00 น. – 17.00 น. 3 4.22
08.00 น. – 15.00 น. 2 2.81
08.00 น. – 16.00 น. 11 15.49
08.00 น. – 17.00 น. 47 66.19

จากตารางส่วนที่ 3 จะพบว่า ระยะเวลาในการทำงาน เวลา/วัน(ชั่วโมง)ในกลุ่มอาชีพมัดหอมกระเทียมที่มีความเสี่ยงเป็นวัณโรค บ้านกล้วยม่วงในช่วงเวลาต่อไปนี้ 06.00 น. – 15.00 น. จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 2.81  06.00 น. – 16.00 น. จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 1.40  06.00 น. – 17.00 น. จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 2.81  07.00 น. – 15.00 น. จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 1.40  07.00 น. – 16.00 น. จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 2.81  07.00 น. – 17.00 น. จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 4.22  08.00 น. – 15.00 น. จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 2.81  08.00 น. – 16.00 น. จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 15.49  และ08.00 น. – 17.00 น. จำนวน 47 คน คิดเป็นร้อยละ 66.19 ของประชาการในกลุ่มอาชีพมัดหอมกระเทียมทั้งหมด

ส่วนที่ 5 ปัจจัยเสี่ยงของโรคต่างๆในกลุ่มผู้มัดหอมและกระเทียม

ปัจจัยเสี่ยง จำนวนคน ร้อยละ
DM 11 15.49
HT 15 21.12
DM+HT 12 16.90
วัณโรค
ผู้สู้อายุ 31 43.66
ผู้สัมผัสโรคร่วมบ้าน-ผู้ใกล้ชิดผู้ป่วยวัณโรค 2 2.81

จากตารางส่วนที่ 5 จะพบว่า โรคที่มีปัจจัยเสี่ยงกลุ่มอาชีพมัดหอมมัดกระเทียมที่มีความเสี่ยงเป็นวัณโรค โรคเบาหวาน มีจำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 15.49 โรคความดันโลหิตสูง มีจำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 21.12 โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มีจำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 16.90 ผู้สูงอายุจำนวน 31 คน คิดเป็นร้อยละ 43.66 และผู้สัมผัสโรคร่วมบ้าน-ผู้ใกล้ชิดผู้ป่วยวัณโรคจำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 2.81

 

สรุปผลการดำเนินงาน

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวัณโรคในกลุ่มอาชีพมัดหอมและกระเทียม หมู่บ้านกล้วยม่วง  หมู่ที่ 3 ตำบลกล้วยแพะ อำเภอเมือง  จังหวัดลำปาง 52000 เป็นการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้ที่ประกอบอาชีพมัดหอมและกระเทียมในหมู่บ้านกล้วยม่วง หมู่ที่ 3 จำนวน 71 ราย โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sample)  ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบคัดกรองรายชื่อผู้ประกอบอาชีพมัดหอมกระเทียมที่มีความเสี่ยงเป็นวัณโรค  ผลการศึกษาพบว่า โรคที่มีปัจจัยเสี่ยงกลุ่มอาชีพมัดหอมมัดกระเทียมที่มีความเสี่ยงเป็นวัณโรค โรคเบาหวาน มีจำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 15.49 โรคความดันโลหิตสูง มีจำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 21.12 โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มีจำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 16.90 ผู้สูงอายุจำนวน 31 คน คิดเป็นร้อยละ 43.66 และผู้สัมผัสโรคร่วมบ้าน-ผู้ใกล้ชิดผู้ป่วยวัณโรคจำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 2.81  ซึ่งจากผลการศึกษาจะพบว่าไม่พบผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรควัณโรค

เรื่องนี้ถูกเขียนใน คณะสาธารณสุขศาสตร์ และติดป้ายกำกับ , คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

หนึ่งความเห็นตอบกลับที่ โครงการการหยุดยั้งวัณโรคในกลุ่มอาชีพมัดหอมและกระเทียม

  1. ตรวจเอชไอวี พูดว่า:

    ข้อมูลดีมากเลยค่ะ

ใส่ความเห็น