7 ต.ค.52 ช่วงนี้อยู่ระหว่างเขียนรายงานการวิจัยเรื่อง “พัฒนาระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเอง ปีการศึกษา 2551กรณีศึกษามหาวิทยาลัยโยนก จังหวัดลำปาง” ซึ่งได้รับการสนับสนุนข้อมูลจาก อ.ศศิวิมล แรงสิงห์ ในส่วนของผลการวิจัย หัวข้อ “ผลวิเคราะห์ความเบี่ยงเบนจากการประเมินตนเอง และผู้ประเมิน ข้อมูลปีการศึกษา 2550” มีรายละเอียดว่า ผู้วิจัยได้เปรียบเทียบผลการประเมินตนเองของหน่วยงาน และผลการประเมินของผู้ประเมิน แล้วได้นำผลต่างของค่าทั้ง 2 มาคำนวณหาความเบี่ยงเบน เพื่อศึกษาจำนวนตัวบ่งชี้ที่มีความเบี่ยงเบนไปจาก 0 ซึ่งคะแนนประเมินทั้ง 2 ค่านั้นไม่ควรแตกต่างกันในทางทฤษฎี เพราะหน่วยงานที่จัดเตรียมเอกสารหลักฐานอย่างถูกต้องครบถ้วนแล้วประเมินตนเองด้วยคะแนนเท่าใดก็ควรได้รับคะแนนจากผู้ประเมินเมื่อตรวจสอบเอกสารเป็นเท่านั้น จึงไม่ควรจะมีความเบี่ยงเบนที่ต่างไปจาก 0
การวิเคราะห์ความเบี่ยงเบนของหน่วยงานจำแนกตามคณะสำหรับจำนวนตัวบ่งชี้รวม 39 ตัวที่ได้มีการประเมินตนเอง และจากผู้ประเมิน พบว่า 1)คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์มีจำนวนตัวบ่งชี้ที่มีความคลาดเคลื่อน 17 ตัวบ่งชี้ 2)บัณฑิตวิทยาลัยมีจำนวนตัวบ่งชี้ที่มีความคลาดเคลื่อน 12 ตัวบ่งชี้ 3)คณะนิเทศศาสตร์มีจำนวนตัวบ่งชี้ที่มีความคลาดเคลื่อน 9 ตัวบ่งชี้ 4)คณะบริหารธุรกิจมีจำนวนตัวบ่งชี้ที่มีความคลาดเคลื่อน 8 ตัวบ่งชี้ 5)คณะนิติศาสตร์มีจำนวนตัวบ่งชี้ที่มีความคลาดเคลื่อน 7 ตัวบ่งชี้ และ 6)คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีจำนวนตัวบ่งชี้ที่มีความคลาดเคลื่อน 5 ตัวบ่งชี้
การวิเคราะห์ความเบี่ยงเบนของหน่วยงานจำแนกตามตัวบ่งชี้สำหรับจำนวนตัวบ่งชี้รวม 39 ตัว ที่ได้มีการประเมินตนเอง และจากผู้ประเมิน พบว่าตัวบ่งชี้ที่หน่วยงานเข้าใจคลาดเคลื่อนไม่ต่ำกว่า 3 หน่วยงานมีทั้งหมด 9 ตัวบ่งชี้ โดยตัวบ่งชี้ที่เข้าใจคลาดเคลื่อน 4 หน่วยงานมี 2 ตัวบ่งชี้ คือ 1) ตัวบ่งชี้ 4.1 มีการพัฒนาระบบและกลไกในการสนับสนุนการผลิตงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ 2) ตัวบ่งชี้ 5.1 มีระบบและกลไกในการบริการทางวิชาการแก่สังคมตามเป้าหมายของสถาบัน
สำหรับตัวบ่งชี้ที่เข้าใจคลาดเคลื่อน 3 หน่วยงานมี 7 ตัวบ่งชี้ คือ 1) ตัวบ่งชี้ 1.1 มีการกำหนดปรัชญาหรือปณิธาน ตลอดจนมีกระบวนการพัฒนากลยุทธ์ แผนดำเนินงานและมีการกำหนดตัวบ่งชี้เพื่อวัดความสำเร็จของการดำเนินงานตามแผนให้ครบทุกภารกิจ 2) ตัวบ่งชี้ 2.1 มีระบบและกลไกในการพัฒนาและบริหารหลักสูตร 3) ตัวบ่งชี้ 2.8 มีระบบและกลไกสนับสนุนให้อาจารย์ประจำทำการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน 4) ตัวบ่งชี้ 5.2 ร้อยละของอาจารย์ประจำที่มีส่วนร่วมในการให้บริการทางวิชาการแก่สังคม เป็นที่ปรึกษา เป็นกรรมการวิทยานิพนธ์ภายนอกสถาบัน เป็นกรรมการวิชาการ กรรมการวิชาชีพในระดับชาติหรือระดับนานาชาติต่ออาจารย์ประจำ 5) ตัวบ่งชี้ 7.2 ภาวะผู้นำของผู้บริหารทุกระดับของสถาบัน 6) ตัวบ่งชี้ 7.8 มีการนำระบบบริหารความเสี่ยงมาใช้ในกระบวนการบริหารการศึกษา 7) ตัวบ่งชี้ 9.2 มีระบบและกลไกการให้ความรู้และทักษะด้านการประกันคุณภาพแก่นักศึกษา
ทีมวิจัยนำเสนอผลการวิเคราะห์ความคลาดเคลื่อนจากการประเมินตนเองกับของผู้ประเมินในการประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 22 /2552 วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม 2552 วาระ 4.3 โดยมีนักวิจัยร่วมประชุมครั้งนี้ 4 ท่านได้แก่ อ.ศศิวิมล แรงสิงห์ อ.บุรินทร์ รุจจนพันธุ์ อ.วันชาติ นภาศรี และ อ.คนึงสุข นันทชมภู ซึ่ง อ.วันชาติ นภาศรี ได้จัดทำบทสรุป 7 หน้า โดยมีข้อเสนอแนะในรายงาน 3 ข้อ คือ 1)เร่งพัฒนาศักยภาพของระบบฐานข้อมูลเพื่อการบริหาร การเรียนการสอน การบริการวิชาการ กิจกรรมพัฒนาศักยภาพนักศึกษา และการวิจัย 2)กำหนดนิยามปฏิบัติการในรายตัวบ่งชี้ที่ยังมีความสับสน เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน 3)จัดทำคำอธิบายว่าตัวบ่งชี้ใดใช้หลักฐานอะไรบ้าง และจัดให้มีการถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจแก่บุคลากรทุกคน นักศึกษา และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
Meta
พฤศจิกายน 2024 จ อ พ พฤ ศ ส อา 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 NTU Members
หมวดหมู่
- KM:ด้านการผลิตบัณฑิต (32)
- KM:ด้านการวิจัย (44)
- คณะทันตแพทยศาสตร์ (3)
- คณะนิเทศศาสตร์ (66)
- คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์ (137)
- การตลาด (11)
- การบัญชี (12)
- คอมพิวเตอร์ธุรกิจ (52)
- บริหารธุรกิจ (22)
- บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (3)
- รัฐประศาสนศาสตร์ (2)
- วิทยาการคอมพิวเตอร์ (43)
- คณะพยาบาลศาสตร์ (7)
- คณะสาธารณสุขศาสตร์ (24)
- คณะเทคนิคการแพทย์ (2)
- คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ (64)
- งานการเรียนการสอนและการสอบ (1)
- งานทรัพยากรมนุษย์ (2)
- งานทะเบียนและประมวลผล (3)
- งานบัญชีและการเงิน (1)
- งานประกันคุณภาพการศึกษา (1)
- งานประชาสัมพันธ์ รับนักศึกษา (144)
- งานระบบบริการสารสนเทศ (52)
- งานวิจัยและบริการวิชาการ (28)
- งานหอสมุด (2)
- งานอาคารสถานที่ (1)
- ทั่วไป (287)
ผมคงต้องดีใจด้วยใช่ไหมเนี่ยเพราะเรา หมายถึงคณะวิทย์ฯ ยิงนกพลาดเป้าไปเพียง 5 ตัว แล้วผลสรุปดังกล่าวจะช่วยสร้างความตระหนักให้บุคลากรโยนกได้จริงหรือ งานวิจัยของเก๋ในเรื่อง “พัฒนาระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเองฯ” จะใช้เป็นเครื่องมือที่จะช่วยสร้างความตระหนักหรือเป็นตัวช่วยให้การสืบค้นและบันทึกข้อมูลง่ายขึ้นกันแน่ เพราะผมเชื่อว่า ความตระหนักในความผิดพลาดจะมีสูงได้ จะต้องเป็นเรื่องที่ผู้นั้นได้รับผลกระทบ ลองเอาไฟแช็คมาลนที่มือตัวเองดูซิ ถ้าไม่กระชากมือออกผมจะจ่ายเงินให้ 2,000 บาท ทันที