KM.การเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ

คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การเข้าสู่ต าแหน่งทางวิชาการ ได้จัดการอบบรมคณาจารย์ในคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเนชั่น เนื่องจากทาง คณะกรรมการส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ได้เล็งเห็นถึงความส าคัญในการเข้าสู่ต าแหน่งทางวิชาการของ
อาจารย์อันเป็นทรัพยากรบุคคลที่ทรงคุณค่าของคณะฯ นอกจากการท าหน้าที่หลักด้านการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ ถ่ายทอดความรู้เพื่อผลิตบัณฑิตที่เป็นคนดีและเก่ง ให้บริการทางวิชาการและการท านุบ ารุงศิลปวัฒนธรรม
แล้ว อาจารย์ยังเป็นกลไกส าคัญในการน ามหาวิทยาลัยให้บรรลุเป้าหมายในการเป็นมหาวิทยาลัยชั้นน าที่ ผลิตงานวิจัยที่มีคุณภาพสูงที่เป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติ ด้วยความส าเร็จและความก้าวหน้าทางวิชาการของ
อาจารย์จึงเป็นสิ่งบ่งชี้ถึงความส าเร็จและความก้าวหน้าของมหาวิทยาลัยโดยรวมด้วย
ดังนั้น การพัฒนาส่งเสริมและสนับสนุนให้อาจารย์ได้รับการยอมรับในฐานะนักวิชาการที่เป็นผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่สอน วิจัย หรือบริการวิชาการ เป็นที่ยอมรับในวงวิชาการ และมีความก้าวหน้าในต าแหน่งวิชาการในเวลาที่เหมาะสม จึงเป็นสิ่งจ าเป็นและส าคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาด้านวิชาการของมหาวิทยาลัย การสนับสนุนและส่งเสริมให้อาจารย์ได้ด ารงต าแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้น นอกจากจะเป็นการสร้างขวัญก าลังใจให้กับอาจารย์แล้ว ยังเป็นสิ่งส าคัญที่แสดงถึงความก้าวหน้าและความเป็นเลิศทางวิชาการของมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส าคัญยิ่งในการพัฒนาไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลกด้วยความภาคภูมิใจ

km

KM การเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ

โพสท์ใน KM:ด้านการวิจัย | ใส่ความเห็น

KM.การทวนสอบผลสัมฤทธิ์

จากการอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “การทวนสอบผลสัมฤทธฺิ์”  ซึ่งจัดโดย คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2557   โดยได้เรียนเชิญ ผศ.ดร.ศิริพร เสริตานนท์  เป็นวิทยากรให้ความรู้แก่บุคลากรของคณะสังคมศาสตร์ฯ และคณะอืน ๆ ด้วยนั้น  ซี่งพอจะอภิปรายผลได้ดังนี้

จากตารางผลการสอบก่อน และหลังการบริหารจัดการความรู้  เมื่อพิจารณาคะแนนเฉลี่ยผลการสอบ ก่อน และ หลัง พบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนหลังการให้ความรู้เรื่องการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ สูงกว่าค่าเฉลี่ยก่อนดำเนินการ เท่ากับ โดยเมื่อทำการทดสอบความแตกต่างระหว่างคะแนนเฉลี่ยก่อน และหลังดังกล่าวด้วยสถิติ paired sample t-test พบว่าแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญที่ระดับ .05

จึงสรุปได้ว่า การบริหารจัดการความรู้ เรื่องการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา เมื่อวันที่ 25มิถุนายน 2557 ของมหาวิทยาลัยเนชั่นมิได้มีผลให้ความรู้ในหัวข้อดังกล่าวของคณาจารย์เพิ่มขึ้นทั้งนี้อาจเนื่องจากอาจารย์ผู้เข้าร่วมการอบรมความรู้เกือบทั้งหมด มีพื้นฐานความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการ วิธีการ ขั้นตอนต่างๆ ของการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติเป็นอย่างดีอยู่แล้ว ด้งนั้นการอบรมแบ่งปันประสบการณ์ในครั้งนี้ จึงน่าจะเป็นเพียงการทบทวนความรู้ ความเข้าใจในวิธีการปฏิบัติ และการใช้เครื่องมือในการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ที่หลากหลาย และเป็นที่เข้าใจได้ตรงกันมากขึ้น อันจะเป็นผลดีต่อการวัดและการประเมินผลที่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์อันเป็นที่ยอมรับ  เป็นไปในทิศทางเดียวกันทุกสาขาวิชา และบรรลุวัตถุประสงค์ของกระบวนการเรียนการสอนมากขึ้น

ผศ.ดร.ศิริพร  เสริตานนท์

วิทยากร/ผู้รายงาน

IMG_1648

KM.ทวนสอบผลสัมฤทธิ์

โพสท์ใน KM:ด้านการวิจัย | ใส่ความเห็น

เทคนิคการเขียนโครงการวิจัยอย่างไรให้ได้ทุน วช.

ชื่อผู้เข้ารับการฝึกอบรม/สัมมนาภายนอก

1. อาจารย์ดรรชกร ศรีไพศาล

  2. อาจารย์รุ่งรัตน์ ธนบดีธาดา

  3. อาจารย์ชินกฤต อุดมลาภไพศาล

 

หน่วยงานที่จัด ศูนย์บ่มเพาะทางธุรกิจ สำนักวิจัยและพัฒนา ร่วมกับคณะนวัตกรรมการจัดการเกษตร

วัน/เวลา วันศุกร์ที่ 27 มิถุนายน 2557 เวลา 13.00 – 16.00 น.

สถานที่จัด ณ หอประชุมปัญญาภิวัฒน์ 2-3 สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

วิทยากรโดย คุณสุนันทา สมพงษ์ ผู้อำนวยการกองบริหารแผนและงบประมาณการวิจัย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) 02 940 9495 , 02 579 2284 www.nrct.go.th

e-mail address;rpcd2007@yahoo.com , rpcd2007@hotmail.com

การเตรียมความพร้อมในการเขียนโครงการวิจัย

ขั้นตอนเตรียมการวิจัย เน้นเรื่องการกำหนดสภาพปัญหา การกำหนดชื่อเรื่อง การกำหนดวัตถุประสงค์ ซึ่งเป็นด่านแรกของคณะกรรมการในการเลือกที่จะเปิดอ่านในหน้าต่อไปหรือไม่ โดยต้องเข้าใจถึงความสอดคล้องของการทบทวนวรรณกรรมเอกสารงานวิจัย การกำหนดสมมติฐาน  ตัวแปร และรายละเอียด ของงานวิจัย ให้ชัดเจนในด้านประชากร เครื่องมือ วิธีการเก็บรวบรวม และ การวิเคราะห์ผล การแปลผล และการสรุปผลข้อมูล เพื่อนำไปสู่ขั้นตอนการเขียนรายงานการวิจัย

ข้อพึงระลึกอยู่ตลอดสำหรับการเป็นนักวิจัยที่ดีคือ การ Copy งานของผู้อื่นมาเป็นผลงานของตนเอง การทิ้งงานวิจัยกลางคัน นักวิจัยจะถูกขึ้นบัญชีดำกับ วช และ ทาง วช จะทำหนังสือแจ้งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ทราบ

การเสนอโครงการงานวิจัยที่จะได้รับการพิจารณา

1 ต้องเขียนตามแบบฟอร์มให้ครบถ้วนทุกข้อ

2 ยื่นเอกสารให้ตรงเวลาที่กำหนด

3 การเตรียมความพร้อมในการเขียนโครงการตาม TOR เช่นการแปลความ การสื่อสารให้ชัดเจน และ ตรงประเด็น

4 ต้องเป็นงานวิจัยที่ไม่ขึ้นหิ้ง แต่ในทางกลับกันต้องสามารถนำไปใช้ประโยชน์ หรือต่อยอดการใช้ประโยชน์สู่การพัฒนาให้เกิดเป็นผลกระทบเป็นผลงานวิจัยที่ช่วยพัฒนาประเทศ หรือพัฒนาไปสู่เชิงพาณิชย์

5ต้องเป็นงานวิจัยที่สร้างจุดขาย หรือ ความแตกต่างให้สามารถประเมินความคุ้มค่าของงานวิจัยจากงบประมาณ บุคคลากร และ เวลาที่ใช้ไป

คำถามที่ผู้ตรวจสอบ วช. มักมองหา

1 รู้หรือไม่ว่าจะมาขอทำวิจัยเกี่ยวกับอะไร

2 รู้หรือไม่ว่าต้องมีหลักอะไร มีการเตรียมความพร้อมอะไรบ้าง

3 มีประสบการณ์ด้านการศึกษาและประสบการการวิจัยอะไรมาบ้าง เพียงพอที่จะให้กรรมการเชื่อว่าจะสามารถทำงานวิจัยที่ให้อย่างมีคุณภาพ

4 มีความเป็นได้แค่ไหนที่จะทำงานวิจัยให้สำเร็จ โดยผู้ตรวจสอบดูจากประสบการณ์ โจทย์การวิจัย วิธีการศึกษา การทบทวนเอกสาร กรอบแนวคิดการวิจัยตั้งคณะกรรมการเพื่อ ขอบเขต ตัวชี้วัด งบประมาณ ประโยชน์ที่ได้รับเป็นต้น

ระบบการประเมินผลงานวิจัย

ประเมินจากการช่วงการดำเนินการ และ แบ่งจ่ายงบประมาณให้ตามช่วงการดำเนินการที่แล้วเสร็จเห็นเป็นผลสัมฤทธิ์ จากคณะกรรมการ

เมื่อผลงานวิจัยไม่สัมฤทธิ์ ตามกำหนดการ และผู้วิจัยรายงานผลพร้อมหลักฐานแนบโดยสามารถพิสูจน์ได้ว่าไม่ได้เกิดจากการละทิ้งงาน ทาง วช จะตั้งผู้ทรงคุณวุฒิประเมินตามสภาพอีกครั้ง

 ประโยชน์ที่ท่านสามารถนำมาใช้กับการปฏิบัติงานได้ ดังนี้

การเตรียมความพร้อมในการพัฒนางานวิจัย เพื่อนำไปสู่การการของบประมาณจากหน่วยงานภายนอกทั้งภาครัฐบาล และ ภาคเอกชน

ความเห็น/ข้อเสนอแนะอื่นๆ

มหาวิทยาลัยควรสนับสนุบงบประมาณเพื่อเป็นการส่งเสริมให้บุคคลากร อาจารย์ เจ้าหน้าที่ ได้เข้าร่วมอบรมสัมมนาในหลักสูตรระยะยาว  ซึ่งเป็นการช่วยเปิดมุมมองความคิด และสามารถปรับปรุงตนเอง เพื่อให้เกิดผลงานวิจัยที่ช่วยพัฒนาประเทศ หรือพัฒนาไปสู่เชิงพาณิชย์ได้

โพสท์ใน งานวิจัยและบริการวิชาการ | ใส่ความเห็น

ตำแหน่งของ [ร่าง] คู่มือประกันคุณภาพ สกอ. และสมศ. 2557

ตำแหน่งของ [ร่าง] คู่มือประกันคุณภาพ สกอ. และสมศ. 2557

ตำแหน่งของ [ร่าง] คู่มือประกันคุณภาพ สกอ. และสมศ. 2557

ตำแหน่งของ [ร่าง] คู่มือประกันคุณภาพ สกอ. และสมศ. 2557

ปีการศึกษา 2557 มีการจัดทำร่างเกณฑ์ประกันคุณภาพการศึกษา
ทั้งของ สกอ. และ สมศ. และในการประชุมเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2557
ผู้ใหญ่ให้แขวนร่าง คู่มือประกันคุณภาพการศึกษา ทั้ง 2 เล่ม
เพื่อให้ทุกท่านเข้าถึงได้โดยสะดวก

จึงนำคู่มือทั้ง 2 เล่มในแบบ pdf
แขวนไว้ที่ http://www.nation.ac.th/handbooks
เพื่อสามารถ download มาใช้อ้างอิงในการทำงานต่อไป
ตำแหน่งดาวน์โหลดปรากฎตามภาพ
หรือดาวน์โหลดโดยตรงผ่านลิงค์
http://it.nation.ac.th/intranet/handbooks/handin/iqa_57.pdf
และ
http://it.nation.ac.th/intranet/handbooks/handin/onesqa_57.pdf
หากทาง สกอ. และสมศ. ปรับเอกสารรุ่นใหม่ ก็จะนำเข้าเว็บเพจและทับแฟ้มเดิมนี้ต่อไป

โพสท์ใน งานประชาสัมพันธ์ รับนักศึกษา | ติดป้ายกำกับ , , , , | ใส่ความเห็น

กระบวนการเขียนบทความวิชาการที่มีคุณภาพ

กระบวนการเขียนบทความวิชาการที่มีคุณภาพ
สุจิรา หาผล*

ความหมายของบทความ ความเรียงที่เขียนขึ้นมีหลักฐานข้อเท็จจริง ที่ผู้เขียนได้แทรกข้อเสนอแนะเชิงวิจารณ์อย่างสร้างสรรค์เอาไว้ด้วยในเนื้อหา
ลักษณะเฉพาะของบทความ
1. เป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจในขณะนั้น อาจเป็นปัญหาที่ต้องการคำตอบว่าจะดำเนินต่อไปอย่างไร หรือมีผลอย่างไร
หรือเป็นเรื่องที่อยู่ในยุคสมัย (In trend)
2. มีแก่นสาร มีสาระ ได้ความรู้ หรือแนวคิดเพิ่มเติม มีลักษณะเชิงคิดวิพากษ์ (Critical Thinking)
3. มีทัศนะ ข้อคิดเห็น ตลอดจนแนวทางข้อเสนอแนะของผู้เขียนแทรกด้วย โดยอาจยกแนวคิดทฤษฎีต่างๆ ประกอบ
4. วิธีการเขียนน่าอ่าน ชวนติดตาม ท้าทายความคิด สนุก เพลิดเพลินจากความคิดที่นำเสนอในเชิงโต้แย้ง
5. เนื้อหาสาระและสำนวนภาษาเหมาะสมกับบทความเชิงวิชาการ
ชนิดของบทความ แบ่งออกเป็น 2 แบบใหญ่ ดังนี้
1. บทความเชิงสาระ (Formal Essay) เน้นเรื่องวิชาการ ผู้เขียนต้องการถ่ายทอดความรู้อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นสำคัญ
2. บทความเชิงปกิณกะ (Informal Essay) เน้นความรู้สึกสนุกสนานเพลิดเพลินแก่ผู้อ่าน ด้วยบทความที่มีแก่นสาร ซึ่งมีเนื้อหาสาระประกอบกับการใช้สำนวนโวหารให้เกิดอรรถรส
บทความวิชาการ เป็นงานเขียนซึ่งผู้เขียนได้กำหนดวัตถุประสงค์ตามหลักวิชาการที่ชัดเจน วิเคราะห์ประเด็นปัญหา รวมทั้งสรุปประเด็นดังกล่าว โดยอาจนำความรู้จากแหล่งข้อมูลต่างๆ มาวิเคราะห์ และอาจแทรกทัศนะต่างๆ ทางวิชาการของผู้เขียนไว้อย่างชัดเจนและอาจมีการเสนอแนะการแก้ปัญหาหรือวิเคราะห์คาดการณ์ประเด็นต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตไว้ด้วยก็ได้

องค์ประกอบบทความวิชาการ ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ ส่วนนำ (Introduction) ส่วนเนื้อหา (Body) และส่วนท้าย (Conclusion)

ประเภทบทความวิชาการ สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
ประเภทที่ 1 บทความวิชาการทั่วไป บทความที่นำเสนอความรู้ทางวิชาการและประสบการณ์ของผู้เขียน งานเขียนลักษณะนี้เป็นการนำข้อมูลความรู้ต่างๆ มาเรียบเรียง สอดแทรกความคิดเห็น เป็นลักษณะบทความกึ่งวิชาการ
ประเภทที่ 2 บทความปริทัศน์ บทความที่นำเสนอเนื้อหาเชิงวิชาการที่มีการสังเคราะห์ โดยการวิเคราะห์ เปรียบเทียบ สรุปประเด็น วิจารณ์ และมีข้อเสนอแนะ เป็นต้น
ประเภทที่ 3 บทความวิจัย นำเสนอผลการค้นคว้าวิจัยใหม่ๆ ด้วยการนำเสนอความเป็นมา การทบทวนวรรณกรรม ระเบียบวิธีวิจัย บทสรุป และข้อเสนอแนะ

กระบวนการเขียนบทความวิชาการ
ประกอบด้วย 1) การกำหนดแนวคิด 2) การวิเคราะห์แนวคิด 3) การกำหนดชื่อเรื่อง 4) การวางโครงเรื่อง 5) การลงมือเขียน 6) การทบทวน การประเมินผลงานเขียน และ7) การกำหนดสาระสังเขป
1) การกำหนดแนวคิด ซึ่งเป็นประเด็นที่ผู้อ่านสนใจ และต้องเป็นเนื้อหาผู้เขียนมีความรู้และเชี่ยวชาญ สามารถศึกษา ค้นคว้าเพิ่มเติมเพื่อนำมาแสดงความคิดเห็นหรือเสนอแนวทางได้อย่างเหมาะสม
2) การวิเคราะห์แนวคิด พิจารณาถึงประเด็นที่จะเขียน มีการทบทวนขอบเขตของแนวคิดอย่างละเอียด เพื่อวางโครงเรื่อง
3) การกำหนดชื่อเรื่อง การตั้งชื่อเรื่องต้องครอบคลุมเนื้อหาและสื่อถึงแนวคิดอย่างชัดเจน เพื่อให้การตั้งชื่อเรื่องดูเหมาะสม อาจต้องไปสำรวจชื่อหนังสือ ชื่อบทความต่างๆ ของวารสารต่างๆ จากฐานข้อมูลห้องสมุดรวมถึงแหล่งสารสนเทศอื่นๆ เช่น จากเว็บไซต์ต่างๆ
4) การวางโครงเรื่อง คือ การวางแผนการเขียนเนื้อหา โดยการลำดับเนื้อหา อาจลำดับตามเวลา ตามความสำคัญ หรือจากการตั้งประเด็น ซึ่งคล้ายคลึงกับการตั้งโจทย์คำถาม แล้วตอบคำถามทีละประเด็น การลำดับแบบใดแบบหนึ่งควรจะพิจารณาร่วมกับวัตถุประสงค์การเขียนและขอบเขตเนื้อหาด้วย
5) การลงมือเขียน ประกอบด้วยการเขียน ส่วนนำ เนื้อเรื่อง และบทสรุป
6) การทบทวนและการประเมินผลงานเขียน อาจกระทำได้ด้วยตัวเอง หรือเชิญผู้ทรงคุณวุฒิประเมินงานเขียน
7) การกำหนดสาระสังเขป เป็นขั้นตอนการมองภาพรวมทั้งหมดของผลงานการเขียนตั้งแต่ต้นจนจบ (overview)

วิธีการหาข้อมูลเนื้อหา
ก่อนที่เขียนบทความ ผู้เขียนต้องสืบเสาะหาสาระจากความรู้และเรื่องราวอันเป็นข้อมูลต่างๆ เพื่อเป็นแก่นและเนื้อหาสำหรับการเขียน เพราะเป็นการเขียนประเภทที่ไม่ใช่แต่งหรือสมมติขึ้นเองได้ อาจหาข้อมูลได้จากแหล่งต่างๆ ดังนี้
1. จากการสัมภาษณ์ สอบถามผู้รู้
2. จากการสืบค้น เสาะแสวงหาว่าที่ใดมีข้อมูลที่ต้องการ ลงไปดูสถานที่จริง ไปพบบุคคล สังเกตเหตุการณ์ต่างๆ ที่มีข้อมูลเหล่านั้น
3. จากข่าวสารตามหนังสือพิมพ์รายวัน ข่าวสดทั้งใหม่และเก่า ตั้งแต่เรื่องที่เป็นประเด็นจนถึงเรื่องสามัญทั่วๆ ไป นักเขียนบทความ สามารถหยิบยกเรื่องจากประเด็นข่าวสดต่างๆ มาเขียนอ้างได้
4. จากหนังสือและบทความในวารสารต่างๆ
5. จากบุคคลต่างๆ เริ่มจากบุคคลที่อยู่ใกล้ตัวเรา จนถึงบุคคลที่มีการแนะนำอ้างถึง
6. จากการเดินทางท่องเที่ยว สามารถเก็บภาพต่างๆ ออกมาเขียนเป็นข้อมูล และสามารถนำมาเขียนอ้างอิง เสนอแนะต่างๆ ได้
7. จากปฏิทินในรอบปีซึ่งมีถึง 12 เดือน มีเทศกาลมากมายหลากหลาย ตั้งแต่พระราชพิธีต่างๆ จนถึงงานเทศกาลของแต่ละจังหวัด
8. จากแวดวงไม่ว่าจะเป็นบันเทิงคดี การเมือง การศึกษา ครอบครัว กีฬา และสถานบันต่างๆ

วิธีเขียนบทความ
การเขียนบทความที่มีคุณภาพ ผู้เขียนต้องรู้จักวางโครงเรื่องให้ดี เพราะโครงเรื่องจะช่วยควบคุมการเขียน ให้เป็นไปตามแนวคิดที่กำหนดไว้ เป็นการป้องกันมิให้เขียนวกวนกลับไปกลับมา โครงเรื่องของบทความแบ่งเป็น 3 ตอน ได้แก่
– เกริ่นนำ (Introduction) เป็นการขึ้นต้นบอกกล่าวให้รู้ว่าจะเขียนเรื่องอะไร การขึ้นเกริ่นนำมีอยู่ 2 แบบ คือ 1) การกล่าวขึ้นต้นทั่วไป ก่อนที่จะเข้าสู่เนื้อหาที่จะเขียน 2) กล่าวเจาะลงไปให้ตรงกับชื่อเรื่องที่จะเขียนเลย
การเขียนบทนำต้องเขียนน่าอ่านชวนติดตาม เพราะผู้อ่านส่วนใหญ่นิยมอ่านย่อหน้าแรกก่อน หากอ่านแล้วไม่น่าติดตามก็จะไม่อ่านส่วนต่อไป
– เนื้อเรื่อง (Body) แบ่งเป็น 2 ตอน คือ 1) ส่วนแรกเป็นการขยายความ ที่ได้เกริ่นในบทนำแล้ว หากผู้อ่านยังติดตามความคิดที่ผู้เขียนได้เกริ่นไว้ ยังไม่เข้าใจดีพอ ก็ต้องขยายความออกไป เพื่อช่วยให้เข้าใจได้มากขึ้น 2) ส่วนที่สองเป็นรายละเอียด มีสถิติ การเก็บรวบรวมข้อมูล การเปรียบเทียบ ยกตัวอย่างประกอบ แต่ต้องอย่าให้มากจนผู้อ่านอาจไม่อยากติดตาม ต้องดูความเหมาะสม แต่ถ้าเป็นบทความจากงานวิจัยก็นำเฉพาะประเด็นที่สำคัญเท่านั้น เพราะจะทำให้เนื้อหามากจนดูเฝือ
– บทสรุป (Conclusion) เป็นส่วนที่แสดงทัศนะข้อคิดเห็นของผู้อื่นที่นำมาอภิปรายเพื่อให้ภาพรวมของบทความดูมีความน่าเชื่อถือ รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะในการแก้ไขประเด็นปัญหาต่างๆ

วิธีการเขียนเกริ่นนำ
การเขียนเกริ่นนำถือว่าเป็นบทที่ยากที่สุด ถ้าเริ่มได้ดีก็จะช่วยให้การเขียนในส่วนต่อไปไหลลื่น การเขียนบทนำจึงเป็นส่วนที่ต้องการความละเมียดละไมอย่างมากเพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับผู้อ่าน ทำให้ส่วนต่อไปซึ่งเป็นเนื้อหาของเรื่องน่าชวนติดตาม การเขียนบทนำ มีหลากหลายวิธีดังต่อไปนี้
1. นำด้วยข่าว
2. นำด้วยการอธิบาย
3. นำด้วยการเสนอความคิดเห็น
4. นำด้วยการใช้คำที่ทำให้ผู้อ่านเกิดความสนใจ
5. นำด้วยการเล่าถึงความสำคัญ
6. นำด้วยการประชดประชันหรือเสียดสี
7. นำด้วยการตั้งคำถาม
8. นำด้วยการสรุปใจความสำคัญของเรื่อง
9. นำด้วยสุภาษิต คำพังเพย คำคม บทกวี ที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับเรื่อง
10. นำด้วยสุนทรพจน์ของผู้นำ บุคคลที่มีชื่อเสียงในสังคม

วิธีการเขียนเนื้อเรื่อง
เนื้อเรื่องเป็นส่วนเนื้อหาสาระที่สำคัญ เป็นส่วนที่ยาวที่สุด รวมความคิดและข้อมูลทั้งหมด ย่อหน้าแต่ละย่อหน้าในเนื้อเรื่องจะต้องสัมพันธ์เป็นเนื้อเดียวกัน (Coherence) มีการเรียงลำดับขั้นตอนไม่วกวนไปมา (Organization without Circumlocution) ก่อนเขียนบทความผู้เขียนต้องหาข้อมูลความรู้ที่จะนำมาเขียน การหาข้อมูลดูวิธีการหาข้อมูลเนื้อหาข้างต้น

การเขียนเนื้อเรื่องควรคำนึงถึงความสำคัญดังต่อไปนี้
1. ใช้ถ้อยคำที่ถูกต้องตามความหมาย ตัวสะกดถูกต้องตามพจนานุกรม
2. ใช้สำนวนโวหารให้เหมาะกับเรื่อง ใช้ถ้อยคำที่เป็นทางการ ใช้ศัพท์เฉพาะในการเขียนบทความทางวิชาการ ใช้ถ้อยคำที่สำนวน คำแสลงได้ สำหรับการเขียนบทความทั่วไป
3. ข้อมูล เหตุผล สถิติและการอ้างอิงประกอบเรื่อง ที่เข้าใจง่ายและเชื่อถือได้

วิธีการเขียนสรุป
การเขียนบทความในส่วนสรุปหรือบทลงท้าย ส่วนนี้ผู้เขียนต้องการบอกเล่าให้ผู้อื่นทราบว่า ข้อมูลทั้งหมดที่เสนอมาทั้งหมดจะจบลงแล้ว ผู้เขียนควรมีกลวิธี ที่จะทำให้ผู้อ่าน พอใจ ประทับใจ ตอนสรุปนี้เป็นส่วนที่ผู้เขียนจะฝากความคิดและประเด็นปัญหาไว้กับผู้อ่านหลังจากที่อ่านแล้ว การเขียนสรุปหรือบทลงท้ายมีหลายแบบดังนี้
1. สรุปด้วยใจความสำคัญ (Main Idea or Theme)
2. สรุปด้วยการแสดงความประสงค์ของผู้เขียน (Writer’s Intention)
3. สรุปด้วยคำถามที่ชวนให้ผู้อ่านคิดหาคำตอบ (Questions)
4. สรุปด้วยการใช้คำกล่าว คำคม บทกวี สุนทรพจน์ ที่ประทับใจ (Sayings, Quotes, or Speeches)
5. สรุปด้วยการใช้สำนวนโวหาร การเล่นคำ (Rhetorical Expressions)

อ้างอิง
http://elearning.spu.ac.th/content/thi114/write5.html. เข้าถึงเมื่อ 11 พ.ค. 2557
http://stks.or.th/wiki/doku.php?id=academic-writing:academic-article. เข้าถึงเมื่อวันที่ 28 เม.ย. 2557

โพสท์ใน ทั่วไป | ใส่ความเห็น

กระบวนการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ

ppt.บรรยาย การขอตำแหน่งทางวิชาการ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ได้มีการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ” ไปเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2557 เวลา 9.00-12.00 น. เป็นการให้ความรู้แก่คณาจารย์ในคณะวิชาและอาจารย์ที่สนใจของมหาวิทยาลัย ซึ่งถือเป็นการจัดความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้กับคณาจารย์ซึ่งปฏิบัติงานอยู่ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการทำงานในฐานะอาจารย์ผู้สอน และต้องมีตำแหน่งอันทรงเกียรติคู่ควรกับภาระหน้าที่นี้ด้วยอีกคำรบเช่นกัน  ดังนั้นเอกสารที่ผศ.ดร.ศิริพร เสริตานนท์ ได้บรรยายในวันนั้น ขอนำมาแบ่งปันให้กับทุกคนในห้องการจัดการความรู้นี้เพื่อเป็น knowledge sharing ให้คณาจารย์ที่ตั้งใจจะเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการได้วางแผนและเตรียมตัวไว้เลย

 

โพสท์ใน ทั่วไป | ใส่ความเห็น

ค่าเช่าการใช้อาคารสถานที่ของมหาวิทยาลัยเนชั่น

rental rate

rental rate

ประกาศมหาวิทยาลัยเนชั่น
เรื่อง อัตราค่าบำรุงการใช้อาคารสถานที่ของมหาวิทยาลัยเนชั่น
หรือค่าเช่าสถานที่ต่าง ๆ ทั้งหมด 11 สถานที่

ดังนี้
ห้องประชุมใหญ่อาคารบริหารธุรกิจ
ห้องประชุมใหญ่อาคารคณะนิเทศศาสตร์/อาคารอเนกประสงค์
ห้องประชุมอาคาร ดร.เทียม โชควัฒนา
ห้องประชุมอาคารศูนย์นักศึกษาคริสเตียน
ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
ห้องเรียนตามอาคารต่าง ๆ
ห้องเรียน 1203 และ 1208
ลานข่วงดาว
ร้านดอยพระบาท
อัฒจันทร์กลางแจ้ง (ริมอ่างตระพังดาว)
ลานดาว อาคาร ดร.เทียม
สำหรับรายละเอียดค่าบริการตามภาพ

โพสท์ใน งานประชาสัมพันธ์ รับนักศึกษา | ติดป้ายกำกับ , | ใส่ความเห็น

บทความการพัฒนาระบบ peervisit ตามโมเดลเซกิ

การพัฒนาระบบตรวจเยี่ยมสำหรับการประเมินตนเอง
โดยใช้โมเดลเซกิ กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเนชั่น จังหวัดลำปาง

peer visit with seci model

peer visit with seci model

มีโอกาสนำเสนอบทความจากการวิจัยเรื่อง
การพัฒนาระบบตรวจเยี่ยมสำหรับการประเมินตนเอง
โดยใช้โมเดลเซกิ กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเนชั่น จังหวัดลำปาง
A Development of Peer Visit System for Self Assessment
by SECI Model : A Case Study of Nation University
ในงาน NCCIT 2014 เมื่อวันที่ 8-9 พฤษภาคม 2557
http://www.slideshare.net/thaiall/nccit2014-11
และ proceeding ฉบับเต็มที่
http://www.scribd.com/doc/223300399/Proceedings-of-NCCIT2014
แล้วได้อ่านวารสารเทคโนโลยีสารสนเทศ
ของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ซึ่งเราสามารถ download บทความได้
ที่  http://202.44.34.134/journal/index2.htm
ซึ่งเป็นอีกเวทีที่แตกต่างจากเวทีประชุมวิชาการระดับชาติ .. ผมว่าน่าสนใจ

สำหรับบทความที่ไปนำเสนอใน NCCIT 2014  มีเนื้อหาในบทความดังนี้

บทคัดย่อ
งานวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาระบบบันทึกผลการตรวจเยี่ยมคุณภาพการศึกษา ตามเกณฑ์ประกันคุณภาพการศึกษาของ สกอ. และสมศ. เพื่อพัฒนาระบบรายงานผลการตรวจเยี่ยมของกรรมการตรวจเยี่ยมในระดับคณะวิชา เป็นกรณีศึกษามหาวิทยาลัยเนชั่น มีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้วิธีเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 5 กลุ่ม ประกอบด้วยผู้บริหาร และหน่วยงานที่รับผิดชอบการประกันคุณภาพการศึกษา ผู้รับผิดชอบองค์ประกอบคุณภาพระดับมหาวิทยาลัย บุคลากรในคณะวิชาที่รับผิดชอบองค์ประกอบ หน่วยงานที่รับผิดชอบตัวบ่งชี้ และผู้ประเมินภายใน เครื่องมือที่ใช้พัฒนาระบบคือ เครื่องบริการอาปาเช่ ตัวแปลภาษาพีเอชพี  เอแจ็กซ์ และระบบฐานข้อมูลมายเอสคิวแอล แล้วดำเนินการพัฒนาระบบฐานข้อมูลโดยใช้การจัดการความรู้ตามโมเดลเซกิ (SECI Model) ประกอบด้วย การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Socialization) การสกัดความรู้ออกจากตัวคน (Externalization) การควบรวมความรู้ (Combination) และ การผนึกฝังความรู้ (Internalization) แล้วใช้แบบประเมินความพึงพอใจต่อการอบรมการใช้งานโปรแกรมต้นแบบ และภายหลังการใช้งานระบบโดยผู้ตรวจเยี่ยม งานที่พัฒนาขึ้นใช้กับการตรวจเยี่ยมระดับคณะวิชาตามร่างรายงานการประกัน คุณภาพการศึกษาปีการศึกษา 2555 โดยลักษณะคำตอบเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ พบว่า ผลประเมินความพึงพอใจต่ออบรมการใช้งานระบบฐานข้อมูลการตรวจเยี่ยมโดยรวมอยู่ ระดับมาก (xˉ =3.94, S.D.=0.46) และผลการประเมินความพึงพอใจต่อการใช้งานระบบ อยู่ระดับมาก (xˉ =3.65, S.D.=0.64) ซึ่งสรุปได้ว่าระบบที่พัฒนาขึ้นตอบสนองความพึงพอใจของผู้ตรวจเยี่ยมได้
คำสำคัญ: การตรวจเยี่ยม ผู้ตรวจเยี่ยม การประกันคุณภาพ เกณฑ์ประเมินคุณภาพการศึกษา

Abstract
The objective of this operational research is to develop the peer visit system for the quality assessment system that is supported the internal and external indicators. It will help the inspector to generate the suggestion report. The system will be used as the case study of Nation University.  The data sampling is divided into 5 groups, consisting of administrator, assessors, faculties, key performance indicator owner and peer visit committee. The system development tools are Apache Server, PHP Interpreter, AJAX and MySQL Database. Another tool for knowledge management process is SECI model that consist 4 sub-processes of socialization, externalization, combination and internalization. 5-scale rating questionnaire is collected to evaluate system performance in 2 times. This system was served for peer visit inspector in all faculties in 2012. The evaluation result of training’s satisfaction is high with a mean of 3.94 and standard deviation of 0.46. The evaluation result of system’s satisfaction is high with a mean of 3.65 and standard deviation of 0.64. It is concluded that the system performance can satisfy the peer visit inspectors.
Keyword: Peer visit, Inspector, Quality Assurance, Quality Indicator

1. บทนำ
สถาบันการศึกษาในประเทศไทยต้องจัดการศึกษาให้มีคุณภาพมาตรฐาน เพื่อตอบสนองต่อเจตนารมณ์แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542  เป็นไปตาม
ตัวบ่งชี้ที่จัดทำขึ้นโดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) โดยผลการประเมินสะท้อนถึงคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดขึ้น
มหาวิทยาลัยเนชั่นได้จัดทำรายงานการประเมินตนเองเพื่อรับการประเมินคุณภาพ ภายนอกประจำปีการศึกษา 2549 จากรายงานการประเมินคุณภาพภายนอก [1] ได้มีข้อเสนอแนะและทิศทางการพัฒนาเร่งด่วนของสถาบัน ว่ามหาวิทยาลัยควรพัฒนาฐานข้อมูล เกณฑ์ และเป้าหมาย เพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาตามตัวบ่งชี้
ผลการประเมินในปีต่อมาถึงปัจจุบันยังต้องมีการพัฒนาให้สูงขึ้น การเพิ่มระบบและกลไกในการควบคุมคุณภาพจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจาก ทุกระดับเชิงบูรณาการ การเพิ่มระบบตรวจเยี่ยมก่อนที่คณะวิชาจะจัดทำรายงานการประเมินตนเองฉบับ สมบูรณ์ เป็นกลไกที่ทำให้เกิดการพัฒนาและมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งที่จะทำให้การไหลวนเป็นวงจรของข้อเสนอแนะ และสารสนเทศมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
จึงเป็นที่มาของการพัฒนาระบบตรวจเยี่ยมโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบ บันทึกผลการตรวจเยี่ยมคุณภาพการศึกษา ตามเกณฑ์ประกันคุณภาพการศึกษาของ สกอ. และสมศ. เพื่อพัฒนาระบบรายงานผลการตรวจเยี่ยมของกรรมการตรวจเยี่ยมในระดับคณะวิชา ซึ่งจะได้ระบบตรวจเยี่ยมที่สนับสนุนการจัดทำรายงานการประเมินตนเองฉบับ สมบูรณ์อย่างเป็นระบบ

2. วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
2.1 การประกันคุณภาพ
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 ได้กำหนดจุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นคุณภาพและมาตรฐาน โดยกำหนดรายละเอียดไว้ในหมวด 6 มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา  ซึ่งประกอบด้วย “ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน” และ “ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายนอก”  เพื่อใช้เป็นกลไกในการผดุงรักษาคุณภาพและมาตรฐานของสถาบันอุดมศึกษา [2]
การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน  เป็นการสร้างระบบและกลไกในการควบคุม  ตรวจสอบและประเมินการดำเนินงานของสถานศึกษาให้เป็นไปตามนโยบาย  เป้าหมายและระดับคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด โดยหน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษากำหนดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถาน ศึกษา ให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง  มีการจัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานการประเมินคุณภาพภายในเสนอต่อหน่วยงาน ต้นสังกัด และเปิดเผยต่อสาธารณชนเพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาและรอง รับการประกันคุณภาพการศึกษาภายนอก
การประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน หมายถึง การดำเนินการตามระบบประเมินคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดโดย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ซึ่งเกณฑ์มุ่งเน้นการสะท้อนคุณภาพด้านระบบและกลไก และกระบวนการจัดการศึกษา ซึ่งประกอบด้วย 9 องค์ประกอบคุณภาพ
การประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก [3] หมายถึง การดำเนินการตามระบบประเมินคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดโดย สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา
(สมศ.) ซึ่งเกณฑ์ต่าง ๆ มุ่งเน้นการสะท้อนคุณภาพด้านผลลัพธ์จากระบบการจัดการศึกษา ซึ่งประกอบด้วย 18 มาตรฐาน และในปีการศึกษา 2555 ได้ถูกปรับให้มีการรายงานร่วมกับเกณฑ์ของ สกอ. ภายใต้กระบวนการที่ต้องดำเนินการประจำปี
2.2 โมเดล และเครื่องมือ
โมเดลเซกิ (SECI Model) [4] คือ แผนภาพแสดงความสัมพันธ์การหลอมรวมความรู้ในองค์กรระหว่างความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) กับความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) ใน 4 กระบวนการ เพื่อยกระดับความรู้ให้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นวัฎจักร เริ่มจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Socialization) การสกัดความรู้ออกจากตัวคน (Externalization) การควบรวมความรู้ (Combination) และการผนึกฝังความรู้ (Internalization) และวนกลับมาเริ่มต้นทำซ้ำที่กระบวนการแรก เพื่อพัฒนาการจัดการความรู้ให้เป็นงานประจำที่ยั่งยืน
ภาษาพีเอชพี (PHP Language) [5] คือ ภาษาคอมพิวเตอร์ประเภทโอเพนท์ซอร์ท (Open Source Computer Language) สำหรับพัฒนาเว็บเพจแบบไดนามิก (Dynamic Webpage) เมื่อเครื่องบริการได้รับคำร้องจากผู้ใช้ก็จะส่งให้กับตัวแปลภาษาทำหน้าที่ ประมวลผลและส่งข้อมูลกลับไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ที่ร้องขอ ในรูปของภาษาเอชทีเอ็มแอล ภาพ หรือแฟ้มอิเล็กทรอนิกส์อื่นใด ลักษณะของภาษามีรากฐานมาจากภาษาซีเป็นภาษาที่สามารถพัฒนาให้ใช้งานแบบโต้ตอบ กับผู้ใช้ได้
2.3 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
อัจฉรา แก้วละเอียด และผุสดี บุญรอด [6] ทำการศึกษาวิจัย เรื่อง การจัดการองค์ความรู้เชิงความหมายโดยใช้โมเดลเอสอีซีไอสำหรับตรวจสอบบัญชี คอมพิวเตอร์ เพื่อพัฒนาระบบการจัดการความรู้สำหรับตรวจสอบบัญชีคอมพิวเตอร์ กรณีศึกษา กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ โดยสร้างฐานความรู้ออนโทโลยีในรูปแบบโดเมนออนโทโลยี แล้วแปลงไปเป็นภาษาเอ็กซ์เอ็มแอลรองรับการค้นคืนเชิงความหมาย ใช้เครื่องมือคือ โปรแกรมโฮโซ ออนโทโลยี อีดิเตอร์ (Hozo-Ontology editor) มีวิธีการดำเนินงานวิจัย 3 ขั้นตอนคือ 1) การวิเคราะห์และออกแบบระบบจัดการองค์ความรู้โดยใช้โมเดลเอสอีซีไอ 2) การพัฒนาฐานความรู้และระบบการจัดการองค์ความรู้
3) การทดสอบระบบ โดยประเมินคุณภาพด้วยวิธีการแบบแบล็คบ็อกซ์ (Black box testing) มีผลประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญในระดับดี ค่าเฉลี่ย 4.16 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.63 มี
ผลประเมินโดยผู้ใช้ในระดับดี ค่าเฉลี่ย 4.12 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.64 ซึ่งสรุปได้ว่าฐานความรู้ออนโทโลยีและระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นสามารถจัดการ องค์ความรู้ได้อย่างเหมาะสม
ณัฐพล สมบูรณ์ และนลินภัสร์ ปรวัฒน์ปรียกร [7] ทำการศึกษาวิจัย เรื่อง ระบบการจัดการความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ กรณีศึกษาสำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง เพื่อพัฒนาระบบถามตอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศผ่านเว็บแอพพลิเคชั่น โดยใช้เทคนิคการจัดการความรู้ด้วยโมเดลปลาทู (Tuna Model) ที่มี 3 ส่วนคือ 1) การรวบรวมและจัดเก็บความรู้ แยกหมวดหมู่ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (KV=Knowledge Vision) 2) การกระจายความรู้ (KS=Knowledge Sharing)
3) การเก็บเข้าคลังความรู้ (KA=Knowledge Assets) มีวิธีการดำเนินงานวิจัย 2 ขั้นตอนคือ 1) การวิเคราะห์และออกแบบระบบ 2) การพัฒนาระบบ มีผลประเมินความพึงพอใจโดยผู้เชี่ยวชาญในระดับดี ค่าเฉลี่ย 4.46 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.23 มีผลประเมินโดยผู้ใช้ในระดับดี ค่าเฉลี่ย 3.89 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.86 ซึ่งสรุปได้ว่าระบบสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้จริงและช่วยในการถ่ายทอดความ รู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กิตติยา สีอ่อน [8] ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับโมเดลเชิงสาเหตุประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายใน สำหรับกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ โดยสังเคราะห์งานวิจัยทั้งในและต่างประเทศ พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการประกันคุณภาพการศึกษา ได้แก่ คุณลักษณะของบุคลากรด้านความตระหนักถึงความสำคัญและการมีทัศนคติที่ดีต่อการ ประกันคุณภาพภายใน การทำงานเป็นทีม การฝึกอบรมพัฒนาบุคลากร ความพร้อมด้านทรัพยากรทั้งด้านจำนวนบุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ โครงสร้างองค์กรและการกำหนดให้มีผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานประกันคุณภาพ วัฒนธรรมคุณภาพ ภาวะผู้นำของผู้บริหาร และขนาดขององค์กร ส่วนประสิทธิผลการประกันคุณภาพการศึกษามี 2 ส่วนคือ ประสิทธิผลระหว่างทาง ได้แก่ การบริหารจัดการแบบกระจายอำนาจ การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การปฏิบัติงานแบบวงจรคุณภาพ และความพึงพอใจในงานของบุคลากร สำหรับประสิทธิผลสุดท้าย  ได้แก่ การบรรลุพันธกิจของสถาบัน
เมื่อศึกษาจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จึงได้เพิ่มกลไกการตรวจเยี่ยมและใช้โมเดลเซกิขับเคลื่อนกระบวนการในการพัฒนา ระบบ เพื่อให้เกิดการจัดการความรู้ไปสนับสนุนการจัดทำรายงานการประเมินตนเองที่ สมบูรณ์

3. วิธีการดำเนินการวิจัย
3.1 ศึกษาข้อมูลเบื้องต้น
3.1.1 รวบรวมข้อมูลจากเอกสาร และสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องทั้งทีมวิจัยและผู้มีบทบาทสำคัญต่องานประกันคุณภาพ การศึกษา ทำความเข้าใจต่อกิจกรรม ข้อมูลและประเด็นปัญหา โดยมีเอกสารสำคัญคือ คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา และรายงานการประเมินตนเองที่ผ่านมา [1]
3.1.2 ประชากร คือ อาจารย์และเจ้าหน้าที่จำนวน 88 คน มีกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหาร และหน่วยงานที่รับผิดชอบการประกันคุณภาพการศึกษาจำนวน 7 คน ผู้รับผิดชอบองค์ประกอบคุณภาพระดับมหาวิทยาลัยจำนวน 8 คน บุคลากรในคณะวิชาที่รับผิดชอบองค์ประกอบจำนวน 10 คน หน่วยงานที่รับผิดชอบตัวบ่งชี้จำนวน 5 คน และผู้ประเมินภายใน 5 คน
3.2 กระบวนการจัดการความรู้
การพัฒนาระบบใช้กระบวนการจัดการความรู้ตามโมเดลเซกิ (SECI Model) ครอบคลุมวงจรการพัฒนาระบบ (SDLC) โดยเริ่มจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่นำไปสู่การสร้างโปรแกรมต้นแบบ (Prototype) แล้วจัดเวทีอบรมให้ทดลองใช้ นำผลการใช้และข้อเสนอแนะไปปรับปรุงระบบ หลังมีการใช้งานระบบแล้ว คณะวิชาก็จะนำข้อมูลในระบบไปพัฒนาความรู้ภายในคณะวิชา และรับการประเมินจากผู้ประเมิน แล้วนำข้อเสนอแนะกลับไปจัดเวทีเรียนรู้ภายในคณะวิชาต่อไป
3.3 วิเคราะห์และออกแบบระบบงานใหม่
การวิเคราะห์ระบบใช้วิธีศึกษาจากคู่มือการประกันคุณภาพภายในและภายนอก โดยออกแบบตามทฤษฎีระบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ เก็บข้อมูลในมายเอสคิวแอล พัฒนาโปรแกรมด้วยภาษาพีเอชพี และเทคนิคเอแจ็กซ์ ทำการพัฒนาโปรแกรม นำเสนอต่อผู้ตรวจเยี่ยม คณะวิชา และผู้เกี่ยวข้อง
3.4 เก็บข้อมูลความพึงพอใจต่อการใช้งานโปรแกรม
เข้าเก็บข้อมูลจากคณะวิชา และผู้ประเมิน หลังผ่านช่วงเวลาของการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับคณะวิชา และระดับมหาวิทยาลัย มีจำนวน 8 คน
3.4.1 ใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานแสดงระดับความพึงพอใจ โดยแบบสอบถามใช้มาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) แบบวัดเจตคติตามเทคนิคของลิเคิร์ท [9] 5 ระดับ คือ ดีมาก ดี พอใช้ น้อย และน้อยมาก
3.4.2 การแปลผลคะแนนสามารถสรุปเป็นระดับของความพึงพอใจ โดยนำระดับสูงสุดลบระดับต่ำสุดแล้วหารด้วยจำนวนช่วงที่ตั้งไว้ จึงได้เกณฑ์การแปลผลคะแนนดังนี้ มากที่สุดมีคะแนนเฉลี่ย 4.21–5.00   มากมีคะแนนเฉลี่ย 3.41–4.20
ปานกลางมีคะแนนเฉลี่ย 2.61–3.40  น้อยมีคะแนนเฉลี่ย 1.81–2.60 และน้อยที่สุดมีคะแนนเฉลี่ย 1.00–1.80

4. ผลการดำเนินงาน
4.1  การวิเคราะห์สถานการณ์ระบบฐานข้อมูล พบว่า มหาวิทยาลัยควรมีระบบที่จะประกันได้ว่าเมื่อเข้ากระบวนการประเมินตนเองจะมี ผลประเมินอยู่ในระดับที่สูงขึ้น จึงจัดให้มีการตรวจเยี่ยมก่อนจัดทำรายงานที่สมบูรณ์ เพื่อให้มีกลไกการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และปรับปรุงก่อนรับการประเมินจริงอย่างเป็นระบบ จึงได้มีการพัฒนาระบบบันทึกผลการตรวจเยี่ยมคุณภาพการศึกษา ตามเกณฑ์ประกันคุณภาพการศึกษาของ สกอ. และสมศ. และพัฒนาระบบรายงานผลการตรวจเยี่ยมของกรรมการตรวจเยี่ยมระดับคณะวิชา โดยดำเนินการพัฒนาระบบฐานข้อมูลที่บูรณาการกับการจัดการความรู้โดยใช้โมเดล เซกิ
4.2  การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Socialization) เป็นการจัดเวทีระหว่างผู้รู้ที่มีความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) ที่เป็นผู้บริหารและผู้ทำงานด้านประกันคุณภาพมาร่วมแลกเปลี่ยนถึงบทเรียนจาก การประเมินตนเองที่ผ่านมาและกำหนดประเด็นปัญหาที่ต้องการแก้ไข ได้ข้อสรุปเป็นการพัฒนาระบบตรวจเยี่ยม (Peer Visit) ที่จะยกระดับความสมบูรณ์ในการประเมินตนเอง

4.3 การสกัดความรู้ออกจากตัวคน (Externalization) เป็นการกำหนดบทบาท กลุ่มเป้าหมาย ทำความเข้าใจกิจกรรมกับผู้รู้ที่มีความรู้ฝังลึกที่อยู่กับข้อมูลโดยตรง เพื่อให้สามารถสกัด และผ่องถ่ายออกเป็นความรู้ชัดแจ้ง โดยมีกิจกรรมอบรม เพื่อศึกษาความต้องการเพิ่มเติม กำหนดรูปแบบการพัฒนา ผ่านโปรแกรมต้นแบบที่นำเสนอในการอบรม พบว่า มีผลประเมินความพึงพอใจในระดับมาก (xˉ=3.94, S.D.=0.40)

4.4 การควบรวมความรู้ (Combination) เป็นการระบุความรู้ชัดแจ้งที่เกิดจากการเข้าตรวจเยี่ยมของผู้รู้ และส่งข้อเสนอแนะเข้าไปในระบบให้คณะวิชาได้เข้าถึง แล้วนำผลในรูปความรู้ใหม่ไปแบ่งปัน วิพากษ์ แลกเปลี่ยนภายในคณะวิชาและผู้ตรวจเยี่ยมภายใน เกิดเป็นความเข้าใจร่วมเป็นความรู้ชัดแจ้งใหม่ นำไปสู่การจัดทำรายงานการประเมินตนเองที่สมบูรณ์ พบว่า มีผลประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบตรวจเยี่ยมอยู่ในระดับมาก (xˉ=3.65, S.D.=0.64)

4.5 การผนึกฝังความรู้ (Internalization) เป็นการเลือกนำเสนอสารสนเทศในรูปของรายงานสมบูรณ์แก่ผู้ประเมินคุณภาพภายนอก ในบทบาทของผู้รู้ที่ตรวจประเมินความรู้ชัดแจ้ง ผ่านระบบฐานข้อมูลภายนอก (CheQA) ที่มีการเผยแพร่สู่สาธารณะ แล้วให้ข้อเสนอแนะกลับแก่ผู้ถูกประเมิน ทำให้เกิดการพัฒนาเป็นความรู้ฝังลึกทั้งในคณะวิชา และมหาวิทยาลัย ส่งผลให้นำความรู้ไปพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเป็นวัฎจักร

5. สรุป
การใช้โมเดลเซกิเป็นกลไกขับเคลื่อนการพัฒนาระบบตรวจเยี่ยมการประเมินตนเอง สามารถใช้งานได้จริง ผลประเมินความพึงพอใจทั้งสองครั้งพบว่าอยู่ระดับมาก โดยครั้งแรกเป็นการฝึกอบรมและแลกเปลี่ยนระหว่างผู้รู้ด้านการประกันคุณภาพ และผู้รู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่สองเป็นการประเมินความพึงพอใจของผู้ตรวจเยี่ยมหลังสรุปผลการตรวจ เยี่ยม ด้วยแบบสอบถาม
แต่ผลประเมินความพึงพอใจครั้งแรกสูงกว่าครั้งที่สอง ซึ่งเกิดจากความไม่พร้อมของคณะวิชาในการรับการตรวจเยี่ยมตามร่างรายงานการ ประเมินตนเอง เมื่อผู้ประเมินเข้าตรวจเยี่ยมและได้รับข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์ ทำให้ความพึงพอใจต่อระบบตรวจเยี่ยมลดลง เนื่องจากผู้ใช้มีความต้องการที่หลากหลาย และคาดหวังความสมบูรณ์ต่อข้อมูลที่คณะวิชาส่งเข้าไปในระบบ อนึ่งระบบนี้เป็นระบบที่ใช้งานจริงและมีนโยบายที่จะใช้งานอย่างต่อเนื่อง จึงสามารถนำข้อเสนอแนะหลังการใช้งาน มาปรับปรุงระบบให้พร้อมใช้งานสำหรับปีการศึกษาต่อไป เพื่อสนับสนุนการพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษา
ข้อเสนอแนะ คือ ควรเพิ่มกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากต่างคณะวิชา และภายในคณะวิชาเดียวกัน โดยบริการระบบฐานข้อมูลตรวจเยี่ยมที่เชื่อมกับข้อเสนอแนะต่าง ๆ และเร่งการจัดทำร่างรายงานการประเมินตนเองให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ก่อนจัดให้มีการตรวจเยี่ยมอย่างเป็นระบบ และมีนโยบายกำกับให้คณะวิชาดำเนินการตามแผนที่สามารถปฏิบัติได้จริง

เอกสารอ้างอิง
[1]     บุญรักษา สุนทรธรรม,  รายงานการประเมินคุณภาพภายนอกระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยโยนก, สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา, กรุงเทพฯ, 2550.
[2]     สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา, กระทรวงศึกษาธิการ, กรุงเทพฯ, 2553.
[3]    สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์กรมหาชน), คู่มือการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม ระดับอุดมศึกษา, สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์กรมหาชน), กรุงเทพฯ, 2555.
[4]    Nonaka, I. and H. Takeuchi, The Knowledge Creating Company, Oxford University Press, New York, 1995.
[5]     พร้อมเลิศ หล่อวิจิตร,  คู่มือเรียน PHP และ MYSQL สำหรับผู้เริ่มต้น,  บริษัทโปรวิชัน จำกัด., กรุงเทพฯ, 2549.
[6]    อัจฉรา แก้วละเอียด และผุสดี บุญรอด, “การจัดการองค์ความรู้เชิงความหมายโดยใช้โมเดลเอสอีซีไอสำหรับตรวจสอบบัญชี คอมพิวเตอร์,” the 9th National Conference on Computing and Information Technology (NCIT2013), กรุงเทพ, ประเทศไทย, 9-10 พ.ค.2556 หน้า 873-878.
[7]    ณัฐพล สมบูรณ์ และนลินภัสร์ ปรวัฒน์ปรียกร, “ระบบการจัดการความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ กรณีศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง,” the 9th National Conference on Computing and Information Technology (NCIT2013), กรุงเทพ, ประเทศไทย, 9-10 พ.ค.2556 หน้า 234-239.
[8]    กิตติยา สีอ่อน, โมเดลเชิงสาเหตุประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายในสำหรับกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์ สุขภาพ, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ, 2547.
[9]    L.W. Anderson,   Likert  Scales,  Education  Research  Methodology  and  Measurement : An  International  Handbook,  John,  D.  Keeves,  eds,  Victoria : Pergamon pp.427-428, 1988.

โพสท์ใน ทั่วไป | ติดป้ายกำกับ , , , , | ใส่ความเห็น

นำเสนอรายชื่อวารสารสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

journal in TCI

journal in TCI

16 มิถุนายน 2557 วันนี้มีโอกาสเข้าไปอ่านรายชื่อวารสาร
จากฐานข้อมูลศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai Journal Citation Index Centre)
พบวารสารสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทั้งหมด 260 รายการ
ที่ http://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/list%20journal.php?branch=S
และ
พบวารสารสาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ ทั้งหมด 288 รายการ
ที่ http://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/list%20journal.php?branch=H

สำหรับกลุ่มวารสารสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
พบว่า มีหลายฉบับที่สามารถเปิดอ่านแบบออนไลน์ได้ เช่น
รายการที่ 6 AU Journal of Technology ที่ออกปีละ 4 ฉบับ ๆ ละ 5 บทความ
รวมปีละประมาณ 20 papers ซึ่งเป็นภาษาอังกฤษ อ่านได้ที่
http://www.journal.au.edu/abacjourtech_index.html
หรือ
รายการที่ 102 วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศ ของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าพระนครเหนือ
สามารถ download บทความได้ ที่ออกปีละ 2 ฉบับ ๆ ละ 10 บทความ
รวมปีละประมาณ 20 papers ซึ่งเป็นภาษาไทย อ่านได้ที่
http://202.44.34.134/journal/index2.htm

โดยทั้ง 260 วารสาร
เป็นวารสารภาษาอังกฤษ 50 วารสาร ภาษาไทยมี 210 วารสาร โดยมีรายชื่อวารสาร ดังนี้
ลำดับ    issn    ชื่อไทย    เจ้าของ
1    2287-0741     Applied Environmental Research     สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2    0217-5460     ASEAN Journal on Science and Technology for Development     ASEAN Committee on Science and Technology
3    1905-7415     Asian Biomedicine     Faculty of Medicine, Chulalongkorn University
4    1513-4121     Asian Journal of Energy and Environment     The Joint Graduate School of Energy and Environment
5    0125-877X     Asian Pacific Journal of Allergy and Immunology     The Allergy and Immunology Society of Thailand
6    1513-0886     AU Journal of Technology     Assumption University
7    0125-2526     Chiang Mai Journal of Science     คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
8    1685-1994     Chiang Mai University Journal of Natural Sciences     Chiang Mai University
9    1685-9545     ECTI Transactions on Electrical Eng., Electronics, and Communications     The Electrical Engineering/Electronics, Computers, Telecommunications and Information Technology Association (ETCI Association)
10    0125-8281     Engineering Journal     คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
11    0859-9238     Engineering Transactions     Mahanakorn University of Technology
12    1686-5456     Environment and Natural Resources Journal     Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University
13    1906-1714     EnvironmentAsia     The Thai Society of Higher Education Institutes on Environment (TSHE)
14    1686-9141     International Journal of Agricultural Technology     Association of Agricultural Technology in Southeast Asia (AATSEA)
15    1906-4063     International Journal of Applied Biomedical Engineering     สมาคมวิจัยวิศวกรรมการแพทย์ไทย
16    1905-7172     International Journal of Renewable Energy     School of Renewable Energy Technology, (SERT)
17    0858-7027     International Journal of the Computer, The Internet and Management     Thailand Chapter of the Association for Computing Machinery – ACM & Thailand Chapter of the Computer Society of the IEEE
18    1906-2257     Journal of Applied Animal Science     คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
19    0857-4421     Journal of Health Research     วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข
20    0857-5754     Journal of Physiological and Biomedical Sciences     The Official Journal of The Physiological Society of Thailand
21    1685-6600     Journal of Science, Technology, and Humanities     Burapha University
22    1906-4918     Journal of Sustainable Energy and Environment     The Joint Graduate School of Energy and Environment (JGSEE), King Monkuts University of Technology Thonburi
23    0075-5192     Kasetsart Journal (Natural Science)     มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
24    0125-796X     Kasetsart University Fisheries Research Bulletin     Faculty of Fisheries, Kasetsart University
25    1906-151X     King Mongkuts University of Technology North Bangkok International Journal of Applied Science and Technology     King Mongkuts University of Technology North Bangkok
26    1905-2367     KMITL Science and Technology Journal     Faculty of Science, King Monkuts Institute of Technology Ladkrabang
27    1685-2044     KMITL Science Journal     Faculty of Science, King Monkuts Institute of Technology Ladkrabang
28    1905-7873     Maejo International Journal of Science and Technology     Maejo University
29    2286-8933     Outbreak, Surveillance and Investigation Reports     สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
30    1906-8107     Pacific Rim International Journal of Nursing Research     Thailand Nursing and Midwifery Council
31    0858-1088     Phuket Marine Biological Center Research Bulletin     Phuket Marine Biological Center
32    1905-3193     Rajabhat Journal of Sciences, Humanities and Social Sciences     มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
33    2229-063X     Rangsit Journal of Arts and Sciences     มหาวิทยาลัยรังสิต
34    1513-1874     ScienceAsia     Science Society of Thailand
35    1905-9159     Silpakorn University Science and Technology Journal     Silpakorn University Research and Development Institute (SURDI)
36    0125-3395     Songklanakarin Journal of Science and Technology     มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
37    0858-849X     Suranaree Journal of Science and Technology     Suranarree University of Technology
38    0495-3843     Thai Forest Bulletin (Botany)     ฝ่ายจัดการตัวอย่างพรรณไม้
39    0049-3589     Thai Journal of Agricultural Science     The Agricultural Science Society of Thailand Under The Patronage of His Majesty the King
40    0859-2446     Thai Journal of Gastroenterology     Official Publication of the Gastroenterological Association of Thailand
41    0857-8664     Thai Journal of Genetics     สมาคมพันธุศาสตร์แห่งประเทศไทย (The Journal of Genetics Society of Thailand)
42    0857-6084     Thai Journal of Obstetrics and Gynaecology     The Royal Thai College of Obstetricians and Gynaecologists
43    2286-7333     Thai Journal of Science and Technology     คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
44    1985-9057     Thailand Statistician     Thai Statistical Association
45    0859-4074     Thammasat International Journal of Science and Technology     Thammasat University
46    0080-9472     The Natural History Bulletin of the Siam Society     The Siam Society
47    0125-1562     The Southeast Asian Journal of Tropical Medicine and Public Health     Southeast Asian Journal of Tropical Medicine and Public Health, SEAMEO TROPMED Network
48    0125-4685     The Thai Journal of Pharmaceutical Sciences     คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
49    1513-9700     Tropical Natural History     Department of Biology, Faculty of Science, Chulalongkorn University
50    1686-3933     Walailak Journal of Science and Technology     Institute of Research and Devolpment, Walailak University
51    0125-0485     แก่นเกษตร     คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
52    0125-7501     ขอนแก่นเวชสาร     โรงพยาบาลขอนแก่น
53    0125-2208     จดหมายเหตุทางแพทย์ แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์     แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย
54    0857-5118     จักษุเวชสาร     ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย และสมาคมจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย
55    0125-6483     จุฬาลงกรณ์เวชสาร     คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
56    0875-6920     เชียงใหม่ทันตแพทยสาร     คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
57    0125-5983     เชียงใหม่เวชสาร     คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
58    1685-9502     เชียงใหม่สัตวแพทยสาร     คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
59    1905-3460     ไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ     คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
60    1686-9540     ไทยไภษัชยนิพนธ์     คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์
61    1513-5241     ธรรมศาสตร์เวชสาร     คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
62    0125-5118     พยาบาลสาร     คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
63    0125-7560     พุทธชินราชเวชสาร     โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก
64    0857-8052     รามาธิบดีพยาบาลสาร     โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และสมาคมศิษย์เก่าพยาบาลรามาธิบดี
65    0125-3611     รามาธิบดีเวชสาร     คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
66    0125-1252     วชิรเวชสาร     คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร
67    0943-0916     วนสาร     กรมป่าไม้
68    0859-9343     วารสาร มฉก.วิชาการ     มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
69    1906-215X     วารสาร มทร.อีสาน     สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
70    0125-1643     วารสารกรมการแพทย์     กรมการแพทย์
71    0125-7242     วารสารกองการพยาบาล     สำนักการพยาบาล กรมการแพทย์
72    0125-4634     วารสารกายภาพบำบัด     สมาคมกายภาพบำบัดแห่งประเทศไทย
73    1686-5103     วารสารการเกษตรราชภัฏ     คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
74    0857-4553     วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต     สมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทย
75    1906-1773     วารสารการพยาบาลและการศึกษา     กลุ่มพัฒนาการศึกษา สถาบันพระบรมราชชนก
76    1906-0025     วารสารการพยาบาลและสุขภาพ     คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
77    1685-991X     วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก     กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
78    0859-3299     วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ     ฝ่ายวิจัย คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ
79    1906-3016     วารสารการวิจัย กาสะลองคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย     สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
80    0858-0405     วารสารการศึกษาพยาบาล     สถาบันพระบรมราชชนก
81    0859-5453     วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม     กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
82    1513-9980     วารสารก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์     คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
83    0125-3794     วารสารกีฏและสัตววิทยา     กองกีฏและสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตร
84    0858-0944     วารสารกุมารเวชศาสตร์     ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไย/สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย
85    0857-0841     วารสารเกษตร     คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
86    0857-0108     วารสารเกษตรพระจอมเกล้า     คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
87    1685-8379     วารสารเกษตรพระวรุณ     คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
88    0858-3080     วารสารเกื้อการุณย์     คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์
89    0858-4338     วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา     คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
90    1513-3613     วารสารคณะพลศึกษา     คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
91    1685-3954     วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม     คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
92    1905-8160     วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ     สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
93    1905-2960     วารสารจักษุธรรมศาสตร์     ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
94    0858-0006     วารสารจันทรเกษมสาร     สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
95    0125-1422     วารสารจิตวิทยาคลินิก     สมาคมนักจิตวิทยาคลินิกไทย
96    0215-2534     วารสารทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย     คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
97    0857-880X     วารสารทันตาภิบาล     วิทยาลัยสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
98    0125-2682     วารสารเทคนิคการแพทย์     สมาคมเทคนิคการแพทย์แห่งประเทศไทย
99    0125-5347     วารสารเทคนิคการแพทย์เชียงใหม่     คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
100    0857-6653     วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด     คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
101    1686-3070     วารสารเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยสยาม     มหาวิทยาลัยสยาม
102    1685-8573     วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศ     คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยนเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ)
103    2229-1210     วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี     คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
104    1906-2141     วารสารนเรศวรพะเยา     มหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา
105    1905-9949     วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์     บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
106    1905-8837     วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช     มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
107    1905-6729     วารสารประสาทวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ     สมาคมประสาทวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
108    0125-0078     วารสารพยาบาล     สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
109    0857-3743     วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข     สมาคมศิษย์เก่าพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข
110    1906-652X     วารสารพยาบาลตำรวจ     สมาคมศิษย์เก่าพยาบาลตำรวจ
111    1513-5217     วารสารพยาบาลทหารบก     สมาคมพยาบาลทหารบก
112    0857-605X     วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก     สมาคมพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอกแห่งประเทศไทย
113    0858-1231     วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย     คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
114    1513-5454     วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม     คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
115    0125-8885     วารสารพยาบาลศาสตร์     คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
116    0125-7021     วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ     คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
117    0125-8958     วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์     คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
118    0857-5371     วารสารพยาบาลสาธารณสุข     สมาคมพยาบาลสาธารณสุขไทยฯ
119    0858-8430     วารสารพระจอมเกล้าลาดกระบัง     สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
120    1906-7038     วารสารพฤกษศาสตร์ไทย     สมาคมพฤกษศาสตร์ในพระบรมราชินูปถัมภ์และองค์การสวนพฤกษศาสตร์
121    1513-4695     วารสารพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ     สมาคมพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุไทย
122    0859-0818     วารสารพลังงาน     สถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
123    0857-5452     วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา     สำนักพัฒนาเทคนิคศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
124    0857-264X     วารสารพิษวิทยาไทย     สมาคมพิษวิทยาแห่งประเทศไทย
125    1906-5574     วารสารเภสัชกรรมไทย     คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
126    0125-3832     วารสารเภสัชวิทยา     Department of Pharmacology, Srinakharinwirot University
127    0125-1570     วารสารเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล     คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
128    1905-0852     วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน     คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
129    0125-6955     วารสารโภชนาการ     สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
130    1685-1412     วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน     มหาวิทยาลัยคริสเตียน
131    0859-9807     วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ     สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยทักษิณ
132    1906-5681     วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์     มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
133    0858-7418     วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร     มหาวิทยาลัยนเรศวร
134    0859-2535     วารสารมหาวิทยาลัยบูรพา     มหาวิทยาลัยบูรพา
135    0125-7498     วารสารมหาวิทยาลัยมหาสารคาม     มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
136    1906-5965     วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร     สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
137    1686-9311     วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี)     มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
138    0859-2586     วารสารมหิดล     มหาวิทยาลัยมหิดล
139    0858-2688     วารสารร่มไทรทอง     มหาวิทยาลัยเอเซียอาคเนย์
140    0857-1422     วารสารรังสีเทคนิค     สมาคมรังสีเทคนิคแห่งประเทศไทย
141    0125-2968     วารสารราชบัณฑิตยสถาน     ราชบัณฑิตยสถาน
142    0125-2038     วารสารโรคมะเร็ง     มูลนิธิสถาบันมะเร็งแห่งชาติ
143    0857-8575     วารสารโรคเอดส์     สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
144    1686-8579     วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์     ศูนย์ส่งเสริมการวิจัย โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
145    0125-6882     วารสารโรงพยาบาลชลบุรี     โรงพยาบาลชลบุรี
146    1686-4417     วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม     โรงพยาบาลมหาสารคาม
147    0858-6101     วารสารโรงพยาบาลศรีธัญญา     โรงพยาบาลศรีธัญญา
148    0859-7251     วารสารโรงพยาบาลสกลนคร     โรงพยาบาลสกลนคร
149    0857-6149     วารสารโลหะ วัสดุ และแร่     สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
150    0858-2025     วารสารโลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิต     ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย และสมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทย
151    0857-1724     วารสารวนศาสตร์     คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
152    0859-3957     วารสารวิจัย มข.     มหาวิทยาลัยขอนแก่น
153    1906-201X     วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา)     บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น
154    1906-3334     วารสารวิจัย มสด. สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี     มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
155    1906-1889     วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก     สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
156    1906-6627     วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย     มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
157    1906-1137     วารสารวิจัยคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น     ฝ่ายวิจัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
158    0859-7685     วารสารวิจัยทางการพยาบาล     สำนักงานสภาการพยาบาล
159    1906-0319     วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ     วิทยาลัยพยาบาลเครือข่ายภาคกลาง 1 สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
160    1905-7393     วารสารวิจัยเทคโนโลยีการประมง     คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
161    1686-3437     วารสารวิจัยพลังงาน     สถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
162    1906-3628     วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่     สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
163    1686-8420     วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี     สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
164    1686-9974     วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม     สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
165    0858-9437     วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข     สถาบันวิจัยระบบสาธารณาสุข กระทรวงสาธารณสุข
166    1905-4963     วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร     สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
167    1906-1722     วารสารวิจัยรามคำแหง ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี     สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยรามคำแหง
168    1906-327X     วารสารวิจัยรำไพพรรณี     สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
169    0125-278X     วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ.     มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
170    1906-2605     วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ     สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์
171    0125-8850     วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร     สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
172    1685-2923     วารสารวิจัยวิทยาศาสตร์ (Section T)     ฝ่ายวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
173    0125-6335     วารสารวิจัยวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย     คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
174    1686-4409     วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์     มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
175    1906-392X     วารสารวิชาการ วิศวกรรมศาสตร์ ม.อบ.     คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
176    2228-8120     วารสารวิชาการ ศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร     คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
177    1905-291X     วารสารวิชาการ สถาบันการพลศึกษา     กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
178    0125-8389     วารสารวิชาการเกษตร     กรมวิชาการเกษตร
179    1906-5337     วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง     คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
180    0125-5134     วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล.     คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
181    1905-3819     วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ     คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
182    1686-9869     วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม     ฝ่ายวิจัย วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
183    1906-7186     วารสารวิชาการนายเรืออากาศ     โรงเรียนนายเรืออากาศ
184    0857-684x     วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ     มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
185    2286-6175     วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี     มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
186    1905-6583     วารสารวิชาการราชภัฏตะวันตก     เป็นโครงการความร่วมมือ 4 สถาบัน คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม และมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
187    1906-0432     วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร     สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
188    0858-4923     วารสารวิชาการสาธารณสุข     สำนักวิชาการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข
189    0859-1083     วารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 จังหวัดนครราชสีมา     สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 จังหวัดนครราชสีมา
190    1905-9450     วารสารวิชาการอุตสาหกรรมศึกษา     สาขาวิชาอุตสาหกรรมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
191    0857-7927     วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ     วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ
192    0859-4562     วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา     วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
193    0859-6808     วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์     วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
194    0858-110X     วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี     วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี
195    1686-4522     วารสารวิทยาศาสตร์ คชสาส์น     คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
196    0125-7730     วารสารวิทยาศาสตร์ มก.     คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
197    0125-2364     วารสารวิทยาศาสตร์ มข.     คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
198    0857-1600     วารสารวิทยาศาสตร์ มศว.     คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
199    1513-7430     วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ     คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
200    0859-6633     วารสารวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและกีฬา     คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา
201    0125-0369     วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร     สมาคมวิทยาศาสตร์การเกษตรแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
202    0858-7612     วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา     คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
203    1686-5561     วารสารวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร     คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
204    0857-9512     วารสารวิทยาศาสตร์ลาดกระบัง     คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
205    1686-9664     วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม     มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
206    1685-7941     วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี     โครงการจัดตั้งกองส่งเสริมการวิจัย บริการวิชาการและศิลปวัฒนธรรม
207    0858-4435     วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี     มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
208    1513-7201     วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา     สมาคมวิทยาศาสตร์การกีฬาแห่งประเทศไทย
209    1686-4530     วารสารวิทยาศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี     คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
210    0857-2178     วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่     คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
211    1905-4548     วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ     คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
212    1513-4652     วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม     มหาวิทยาลัยสยาม
213    1685-5280     วารสารวิศวกรรมศาสตร์ ราชมงคลธัญบุรี     คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
214    1906-3636     วารสารวิศวกรรมศาสตร์     คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
215    1686-2961     วารสารวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมไทย     สมาคมวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย (สวสท.)
216    2228-8724     วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี     ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนางานวิจัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม
217    0857-4405     วารสารศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล     คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
218    0857-0914     วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า     โรงพยาบาลพระปกเกล้า
219    1513-1262     วารสารสภาการพยาบาล     สภาการพยาบาล
220    0125-6985     วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย     สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย
221    0125-8842     วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ     สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
222    1685-408X     วารสารสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย     สมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย
223    1513-4261     วารสารสมาคมสำรวจข้อมูลระยะไกลและสารสนเทศภูมิศาสตร์แห่งประเทศไทย     สมาคมสำรวจข้อมูลระยะไกลและสารสนเทศภูมิศาสตร์แห่งประเทศไทย
224    0857-2127     วารสารสวนปรุง     โรงพยาบาลสวนปรุง
225    1513-4865     วารสารสหเวชศาสตร์     คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
226    0858-396X     วารสารสัตว์ป่าเมืองไทย     คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
227    0125-5169     วารสารสัตวแพทย์     คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
228    0858-2297     วารสารสัตวแพทยศาสตร์ มข.     คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
229    1905-7164     วารสารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยบูรพา     คณะสาธารณสุข มหาวิทยาลัยบูรพา
230    1905-1387     วารสารสาธารณสุขและการพัฒนา     สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล
231    0125-1678     วารสารสาธารณสุขศาสตร์     คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
232    0028-0011     วารสารสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ     สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
233    0858-8899     วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น     สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น
234    0859-3868     วารสารสิ่งแวดล้อม     สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม
235    1906-8557     วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษา-สสศท     สมาคมสิ่งแวดล้อมศึกษาแห่งประเทศไทย
236    0859-497X     วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย     กรมสุขภาพจิต
237    1906-9790     วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้     หน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
238    0857-0965     วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม     สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย
239    0125-4987     วารสารอายุรศาสตร์เขตร้อนและปาราสิตวิทยา     สมาคมปรสิตวิทยาและอายุรศาสตร์เขตร้อนแห่งประเทศไทย
240    1685-3091     วารสารอายุรศาสตร์อีสาน     คณาจารย์ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
241    0859-1180     วารสารอาหารและยา     สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
242    0859-9254     วิทยาสารทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น     คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
243    1905-0488     วิทยาสารทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ     คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
244    0045-9917     วิทยาสารทันตแพทยศาสตร์     ทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
245    0125-5614     วิทยาสารทันตแพทยศาสตร์มหิดล     คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
246    0857-4154     วิศวกรรมสาร มก.     คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
247    0125-8273     วิศวกรรมสาร มข.     คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
248    1905-615X     วิศวกรรมสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร     คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
249    0857-7951     วิศวกรรมสารฉบับวิจัยและพัฒนา     วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
250    1686-8803     วิศวกรรมสารเอเชียอาคเนย์     คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์
251    0125-1724     วิศวสารลาดกระบัง     คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง
252    0857-1287     วิสัญญีสาร     ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย
253    0125-6491     เวชชสารสัตวแพทย์     คณะสัตวแพทยศาสตร์
254    0857-6823     เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร     ราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูแห่งประเทศไทยและสมาคมเวชศาสตร์ฟื้นฟูแห่งประเทศไทย
255    0125-7722     เวชสารแพทย์ทหารบก     กรมแพทย์ทหารบก
256    0859-6255     ศรีนครินทรวิโรฒเภสัชสาร     คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
257    0857-3123     ศรีนครินทร์เวชสาร     คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
258    0125-8435     สงขลานครินทร์เวชสาร     คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
259    1905-7571     สัตวแพทย์มหานครสาร     คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
260    0125-152X     สารศิริราช     คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

โพสท์ใน งานประชาสัมพันธ์ รับนักศึกษา | ติดป้ายกำกับ , | 1 ความเห็น

ภาพร่าง เปรียบเทียบเกณฑ์ 53 กับเกณฑ์ 57

เนื้อหาใน post นี้มีเพื่อการทบทวน ชวนแลกเปลี่ยน และเตรียมพร้อมตามเอกสารฉบับร่าง
ยังไม่เป็นทางการ และยังอ้างอิงไม่ได้ จนกว่าฉบับจริงจะออกมาใน 2 – 3 เดือนข้างหน้า
เป็นผลสืบเนื่องจากที่มีโอกาสเข้าร่วมวิพากษ์ (ร่าง)
คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
ระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2557 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2557 ที่เชียงใหม่

 

จึงสนใจเรื่องความแตกต่างของเกณฑ์เก่ากับเกณฑ์ใหม่
แล้วคุณลักขณา มะโนพันธ์ ได้ทำตารางแสดงการเปรียบเทียบ 2 ตาราง
คือ 1) ความต่างของเกณฑ์ใหม่กับเกณฑ์เก่า และ 2) ความต่างของเกณฑ์เก่ากับเกณฑ์ใหม่
จึงรู้ว่า สกอ.นำมาตรฐานของ สมศ. จำนวน 9 มาตรฐานแรกเข้ามาในเกณฑ์ใหม่แล้ว
โดยไม่นำเรื่องทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ชี้นำสังคม หรือเอกลักษณ์ อัตลักษณ์เข้ามาในเกณฑ์ใหม่
ส่วนร่างเกณฑ์ก็ไม่มีตัวบ่งชี้เรื่องทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมโดยตรงในระดับคณะวิชา
ซึ่งสะท้อนว่ามีการปรับรายละเอียดไปแล้วในระดับหนึ่ง

แล้วต้องตอบคำถามว่าเกณฑ์ใหม่กับเก่าต่างกันอย่างไร
ก็อธิบายเป็นคำพูดได้ว่า เกณฑ์เก่าจะต้องรับผิดชอบเหมือนกันในทุกระดับ
แต่เกณฑ์ใหม่จะกำหนดให้แต่ละระดับรับผิดชอบแตกต่างกันไป
ทำให้หลักฐานในแต่ละระดับใช้ซ้ำไม่ได้แบบเดิม

เมื่อเขียนเป็นแผนภาพ แบบที่ผมเข้าใจ ก็จะเข้าใจได้ง่ายขึ้น ดังนี้

เกณฑ์ปี 2553

เกณฑ์ปี 2553

เกณฑ์ปี 2557

เกณฑ์ปี 2557

ร่าง คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
ระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2557

http://www.scribd.com/doc/221987061/

โพสท์ใน ทั่วไป | ติดป้ายกำกับ , , | ใส่ความเห็น