โครงการ “รู้ก่อน ปลอดภัย ห่างไกล โรคตาแดง”

บทนำ

ในปัจจุบันโรคตาแดง เป็นโรคติดต่อซึ่ง เป็นโรคที่มีการแพร่ระบาดได้ง่ายมาก โรคตาแดงเป็นโรคที่มีการอักเสบของเยื่อตา เกิดจากการหลายสาเหตุ โรคตาแดงพบได้ในทุกเพศทุกวัย ส่วนใหญ่จะมีการระบาดของโรคตลอดทั้งปีเนื่องจากการติดต่อของโรคเกิดจากการสัมผัสขี้ตาหรือน้ำตาของผู้ป่วยโดยตรง การใช้สิ่งของร่วมกัน การไอ จาม หายใจรดกัน ดังนั้นสถานที่ที่มีคนอยู่ร่วมกันจึงต้องระวังให้มาก โดยเฉพาะในโรงเรียน สถานเลี้ยงเด็กและที่ทำงานให้บริการ หลังจากได้รับเชื้อ ภายใน 2 – 14 วัน ผู้ป่วยจะมีอาการเคืองตา น้ำตาไหล ขี้ตามาก เปลือกตาบวม ต่อมน้ำเหลืองหน้าหูโต เยื่อตาจะค่อย ๆ แดงขึ้นเรื่อย ๆ จนแดงก่ำ บางรายอาจพบการบวมของเยื่อตา เปลือกตาด้านในเป็นเม็ดใส ๆ กระจายอยู่ทั่วไป หากเชื้อรุกลามไปที่กระจกตาอาจเกิดการอักเสบของกระจกตา ทำให้ปวดตา สายตามัวลงได้ ส่วนใหญ่โรคตาแดงจะหายได้เองภายใน 1 – 3 สัปดาห์ โดยไม่มีอาการแทรกซ้อน แต่เนื่องจากความรุนแรงของโรคมีหลายระดับหากมีอาการควรได้รับการตรวจตา

การเกิดโรคตาแดงเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนทุกคนในหลายด้านเช่น เศรษฐกิจ  สังคม การเงิน และครอบครัว คือ ทำให้ผู้ที่ประกอบอาชีพได้ลางานซึ่งทำให้ขาดรายได้ และถ้าเป็นนักเรียนนักศึกษาก็ต้องได้หยุดเรียนและทำให้เรียนไม่ทันเพื่อนสาเหตุที่ต้องหยุดเพื่อที่จะไม่ให้เชื้อโรคแพร่กระจายต่อบุคคลอื่น ส่งผลต่อการเงิน และครอบครัวทำให้ขาดรายได้ในการเลี้ยงครอบครัวและชีวิต

การมีคุณภาพชีวิตที่ดีคือหัวใจสำคัญของการดำเนินชีวิตของประชาชน ไม่ว่าจะเป็นทางร่างกาย จิตใจและสังคมของทุกเพศ ทุกวัย  ประชาชนจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้นั้นจะต้องปราศจากเป็นโรคภัยไข้เจ็บและมีการดูแลสุขภาพของตนเองและผู้อื่นอย่างถูกวิธี มีการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่ถูกต้อง ในฐานะผู้ส่งเสริมและดูแลสุขภาพของประชาชนจึงมีความตระหนักที่อยากจะให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งร่างกาย จิตใจและสังคม

จากาการศึกษาข้อมูลการเกิดโรคในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านโทกหัวช้าง อัตราป่วยด้วยโรคตาแดงย้อนหลัง 5 ปี พบว่า  ในปี  พ.ศ. 2556  =  102.91 ต่อแสนประชากร  อัตราป่วย ปี พ.ศ. 2555  =  18.63 ต่อแสนประชากร  อัตราป่วยปี พ.ศ. 2554  =  111.81 ต่อแสนประชากร  อัตราป่วยปี พ.ศ. 2553  =  9.31  ต่อแสนประชากร  อัตราป่วยปี พ.ศ. 2552  =  18.63  ต่อแสนประชากร  และอัตราป่วยปี พ.ศ. 2551  =  91.17 ต่อแสนประชากร   โรคตาแดง (Conjunctivitis) เป็นอีกโรคหนึ่งที่เกิดการระบาดในทุกเพศ ทุกวัย และมีการระบาดตลอดทั้งปี สืบเนื่องมาจากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการประกอบอาชีพ  ภาวะเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ  ปัญหาจากสิ่งแวดล้อม เช่น ฝุ่น เพราะมีรถบรรทุกดินสัญจรผ่านไปมาเป็นประจำ อีกทั้งบ้านเรือนก็ตั้งติดถนนทำให้เกิดฝุ่นจำนวนมากและมีโอกาสเกิดโรคตาแดงและก่อให้เกิดการระบาดได้  จึงส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนเพราะเมื่อเกิดโรคตาแดง ต้องหยุดงาน  หยุดเรียน ก่อให้เกิดการขาดรายได้  ขาดการเข้าร่วมสังคม ส่งผลกระทบต่อจิตใจ

ดังนั้นทางคณะผู้จัดทำจึงเล็งเห็นความสำคัญเรื่องการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคตาแดง จึงได้จัดทำโครงการ รู้ก่อน ปลอดภัย ห่างไกล โรคตาแดง ขึ้นเพื่อให้ประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านโทกหัวช้าง ตระหนักเรื่องการดูแลสุขภาพและการป้องกันโรคตาแดง ก่อให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจ

วัตถุประสงค์

                1. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดโรคตาแดงกับปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ชุมชนบ้านโทกหัวช้าง ตำบลพระบาท อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

2. เพื่อนำผลการศึกษา มาจัดทำสัมมนา รู้ก่อน ปลอดภัย ห่างไกล โรคตาแดง ให้ความรู้แก่นักศึกษาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเนชั่น และผู้ที่สนใจเข้าร่วมสัมมนา

ขอบเขตการศึกษา

–  กลุ่มเยาวชน นักเรียนโรงเรียนบ้านโทกหัวช้าง  จำนวน  56  คน

–  กลุ่มอาสาสมัครหมู่บ้าน อ.ส.ม.  จำนวน  18  คน

–  กลุ่มผู้สูงอายุ  จำนวน  15  คน

วิธีดำเนินการ

ขั้นเตรียมการ

  1. การวางแผนกำหนดโครงการ เรื่องที่จะศึกษาเพื่อจัดทำสัมมนา
  2. ประชุมแต่งตั้งคณะกรรมการ แบ่งหน้าที่แต่ละฝ่าย
  3. เขียนโครงการเสนอต่ออาจารย์เบญจวรรณ  นันทชัย
  4. ประชุมติดตามงานแก้ไขข้อบกพร่อง

ขั้นดำเนินการ

  1. จัดการดำเนินการศึกษาประวัติการระบาดโรคตาแดงย้อนหลัง 5 ปี
  2. ดำเนินการให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย
  3. สรุปผลการศึกษาและการประเมินการทดสอบความรู้ทั้งก่อนและหลังการให้ความรู้จากกลุ่มตัวอย่าง
  4.  จัดสถานที่ในการสัมมนา ณ ตึก คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
  5. ดำเนินการจัดสัมมนา รู้ก่อน ปลอดภัย ห่างไกล โรคตาแดง
  6.  ติดตามประเมินผลการจัดสัมมนา
  7. สรุปผลการจัดสัมมนา
  8. จัดส่งเอกสารสรุปผลการจัดสัมมนา รู้ก่อน ปลอดภัย ห่างไกล โรคตาแดง

ระยะเวลาดำเนินงาน

วัน/เดือน/ปี การดำเนินงาน หมายเหตุ
เดือนพฤศจิกายน 2556 ศึกษาข้อมูลงานระบาดวิทยา             และปัจจัยที่ส่งผลก่อให้เกิดโรคตาแดง – ให้กลับมาศึกษาหัวข้อที่จะสัมมนาให้ละเอียดกว่านี้
วันที่ 5 ธันวาคม 2556 นำเสนอหัวข้อและรายละเอียดของโครงการรู้ก่อน ปลอดภัย ห่างไกลโรคตาแดง                          กับคุณนิรันทร์ กาชัย พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ -จัดทำแบบก่อนและหลังการให้ความรู้

– จัดทำแบบประเมินความพึงพอใจ

– จัดทำแผลงานสุขศึกษา

วันที่ 6 ธันวาคม 2556 ให้ความรู้แก่นักเรียนโรงเรียนบ้านโทกหัวช้าง จำนวน 56 คน – มีสื่ออิเล็กทรอนิกส์

– เอกสารแผนพับ

วันที่ 12 ธันวาคม 2556 ให้ความรู้แก่กลุ่มอาสาสมัครหมู่บ้าน อ.ส.ม. จำนวน 18 คน – เอกสารแผนพับ

– แลกเปลี่ยนเรียนรู้

วันที่ 13 ธันวาคม 2556 ให้ความรู้แก่กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน 15 คน –                   เอกสารแผนพับ
เดือน มกราคม – กุมภาพันธ์ 2557 ประชุมกลุ่ม

–                   สรุปผลการดำเนินการศึกษา

–                   จัดทำโครงร่างสัมมนา

–                   วางแผน/แบ่งงาน/เตรียมความพร้อมก่อนจัดสัมมนา

–                   เตรียมเอกสารลงทะเบียน

 
วันที่ 19 มีนาคม 2557 ดำเนินการจัดสัมมนา รู้ก่อน ปลอดภัย ห่างไกล โรคตาแดง ตึก 4 คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

 

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

โรคตาแดง Conjunctivitis

                โรคตาแดงเป็นโรคที่พบได้บ่อยที่สุด เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ คือ เชื้อไวรัส แบคทีเรีย และภูมิแพ้ ทั้ง 3 สาเหตุทำให้เกิดอาการตาแดงได้คล้ายคลึงกัน แต่ลักษณะบางอย่างแตกต่างกันจึงควรวินิจฉัยแยกโรค เพื่อให้การรักษาและการดูแลตนเองอย่างถูกต้องเหมาะสม

โรคตาแดงจากภูมิแพ้ (Allergic Conjunctivitis)

                เป็นอาการอักเสบของเยื้อบุตาที่เกิดจากการแพ้ เช่น แพ้เกสรดอกไม้ ฝุ่น ยา ควันบุหรี่ เป็นต้น มักจะเป็นๆ หายๆ และเป็นร่วมกับโรคภูมิแพ้ของอวัยวะอื่น เช่น น้ำมูกไหล หืด หรือผื่นแพ้ที่ผิวหนัง เมื่อเป็นติดต่อกันนานๆ จะทำให้เป็นต้อลมและต้อเนื้อได้

อาการสำคัญ คันตามากโดยเฉพาะตรงบริเวณหัวตา  มีตาแดงเรื้อๆ มักจะเป็นสองข้าง ระคายเคืองตา ตาบวม มีน้ำตาไหล มีเมือกหรือขี้ตาใสๆ

การป้องกันและการรักษา หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้เกิดการแพ้ ประคบเย็น เพื่อลดบวม ใช้ยาหยอดตาแก้แพ้ ยาหยอดตาลดการอักเสบ และยาแก้แพ้ชนิดรับประทาน

โรคตาแดงเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial Conjunctivitis)

                เป็นการอักเสบของเยื่อบุตาที่เกิดจากการติดเชื้อ S.epidermidis , S.aureus

อาการสำคัญ คือ มีอาการจาแดงไม่มาก มีขี้ตามากสีเขียวปนเหลือง ทำให้เปิดตาลำบากในตอนเช้า มักจะไม่มีอาการปวดหรือเคืองตา ไม่มีอาการคัน อาจเป็นข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ บางรายมีไข้ร่วม

การรักษา คือ การใช้สำลีชุบน้ำอุ่นเช็ดทำความสะอาดเปลือกตา เพื่อให้ขี้ตาอ่อนตัวลง ใช้ยาหยอดตาปฏิชีวนะและอาจใช้ยาหยอดตาแก้แพ้ร่วมด้วย

โรคตาแดงจากเชื้อไวรัส (Viral Conjunctivitis)

                เป็นการอักเสบของเยื่อบุตาจากเชื้อไวรัสในกลุ่ม adenovirus พบบ่อยในเด็กเล็กๆ มักระบาดในฤดูฝนและแพร่ระบาดได้ง่ายในชุมชน โรงเรียน ถ้าไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่แรก ก็อาจติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนได้

อาการสำคัญ คือ เยื่อบุตาขวาจะอักเสบแดงมาก ปวดตา เคืองตา มีน้ำตาไหล กลัวแสง ต่อมน้ำเหลืองหลังหูมักเจ็บและบวม มักเป็นที่ตาข้างใดข้างหนึ่งก่อนแล้วติดมายังอีกข้างหนึ่ง

การรักษา คือ จะรักษาตามอาการของโรค เนื่องจากเป็นเชื้อไวรัสยังไม่มียาฆ่าเชื้อไวรัสนี้โดยตรง ถ้ามีขี้ตามักหยอดยาปฏิชีวนะ ถ้ามีไข้ เจ็บคอ ก็ใช้ยาแก้อักเสบร่วมกับยาลดไข้ ยาลดปวด หากมีอาการรุนแรงมากให้รีบพบแพทย์

การติดต่อของโรคตาแดง

                โรคตาแดงมักระบาดในกลุ่มที่อยู่รวมกันอย่างแออัด โดยส่วนใหญ่จะติดต่อโดยตรงจากการสัมผัสกับน้ำตา ขี้ตา ของผู้ป่วยหรือคลุกคลีกับผู้ป่วยโดยตรง หรืออาจติดต่อทางอ้อมได้

–                   ใช้มือสกปรกที่มีเชื้อโรคขยี้ตา

–                   ใช้สิ่งของเครื่องใช้ เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว แว่นตา เครื่องสำอาง และของใช้อื่นๆ ร่วมกับผู้เป็นโรค

–                   แมลงวันหรือแมลงหวี่มาตอมตา

ทั้งนี้โรคตาแดงจะไม่ติดต่อทางการสบตา ทางอากาศ หรือการรับประทานอาหารร่วมกัน และอาการต่างๆ จะเกิดขึ้นภายใน 1-2 วัน ระยะการติดต่อไปถึงผู้อื่นประมาณ 14 วัน

ข้อควรปฏิบัติขณะเป็นโรคตาแดง

  1. ควรหยุดเรียนหรือหยุดงานประมาณ 1-2 สัปดาห์ หรือจนกว่าอาการตาแดงจะหายเป็นปกติ และไม่ควรไปอยู่ในชุมชน เช่น โรงภาพยนตร์ ห้างสรรพสินค้า หรือลงเล่นน้ำในสระ เพราะอาจนำโรคไปแพร่ติดผู้อื่นได้
  2. เมื่อมีอาการของโรคตาแดงควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อขอคำแนะนำและทำการรักษา
  3. ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังจากถูตาและหมั่นล้างมือเป็นประจำ
  4. ควรพักสายตาไม่ใช้สายตามากนัก และพยายามรักษาสุขภาพ พักผ่อนมากๆ ไม่ควรทำงานดึก ควรนอนให้เพียงพอ
  5. ไม่จำเป็นต้องปิดตาไว้ตลอด ยกเว้น มีอาการกระจกตาอักเสบจึงปิดตาเป็นครั้งคราว
  6. แยกของใช้ส่วนตัวไม่ใช้ร่วมกับผู้อื่น
  7. ควรใส่แว่นกันแดดเพื่อลดอาการระคายเคือง
  8. งดใส่คอนแทกเลนส์จนกว่าตาจะหายอักเสบ
  9. หากใช้กระดาษทิชชูซับน้ำตาหรือขี้ตาแล้ว ควรทิ้งในถังขยะที่มีฝาปิดมิดชิด

วิธีป้องกันไม่ให้ติดโรคตาแดง

                โรคนี้เป็นโรคที่ป้องกันได้โดยการรักษาสุขภาพอนามัยส่วนบุคคล ได้แก่

  1. หมั่นล้างมือด้วยน้ำและสบู่อยู่เสมอ ไม่ใช้มือที่ไม่ได้ล้างขยี้ตา
  2. เมื่อฝุ่นละอองหรือผงเข้าตาไม่ควรขยี้ตา ให้ล้างด้วยน้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว
  3. ในสถานที่ที่คนอยู่รวมกันแออัด ควรจัดหาน้ำสะอาดให้เพียงพอสำหรับการอุปโภคและบริโภค
  4. ไม่ใช้สิ่งขิง เช่น แว่นตา เครื่องสำอาง ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ถ้วยล้างตา ยาหยอดตา ร่วมกับผู้อื่น โดยเฉพาะเมื่อมีโรคตาแดงระบาดต้องให้ระวังมากขึ้น
  5. หมั่นดูแลรักษาความสะอาดของร่างกาย สิ่งของ เครื่องใช้ต่าง ๆ เช่น เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า ปลอกหมอน ผ้าปูที่นอน ให้สะอาดอยู่เสมอ

สุขบัญญัติแห่งชาติ 10 ประการ

สุขบัญญัติ คือ ข้อกำหนดที่เด็กและเยาวชน ตลอดจนประชาชนทั่วไปพึงปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอจนเป็นสุขนิสัยเพื่อให้มีสุขภาพดี ทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคม ดังนั้นการส่งเสริมสุขบัญญัติจึงเป็นกลวิธีหนึ่งในการสร้างเสริมและปลูกฝังพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ เพื่อให้เด็ก เยาวชน และประชาชนปฏิบัติเพื่อนำไปสู่การมีสุขภาพที่ดีได้

ในปี พ.ศ. 2476 กองอนุสภากาชาดสยามได้บัญญัติคำว่า กติกาอนามัย เพื่อใช้สำหรับสมาชิกอนุกาชาด มี 12 ข้อ

ต่อมา ปี พ.ศ. 2535 ได้มีการจัดประชุมทบทวนสุขบัญญัติแห่งชาติขึ้น เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันที่ปัญหาสาธารณสุขเปลี่ยนแปลงไป จึงได้มีการปฏิรูปสุขบัญญัติแห่งชาติให้ทันสมัยขึ้น โดยเน้นกลุ่มเด็กและเยาวชนเป็นเป้าหมายที่จะต้องปลูกฝังและส่งเสริมให้มีสุขภาพดี โดยเน้นสถาบันต่าง ๆ ในสังคม อาทิ สถาบันครอบครัว สถาบันศึกษา สถาบันศาสนา สถาบันสาธารณสุข สถาบันการเมืองและสื่อมวลชน ฯลฯ มีส่วนร่วมในการเผยแพร่สุขบัญญัติแห่งชาติ  โดยให้มีเนื้อหาครอบคลุม 6 พฤติกรรม ได้แก่ อนามัยส่วนบุคคล อาหารและโภชนาการ การออกกำลังกาย สุขภาพจิต อุบัติเหตุ และอนามัยสิ่งแวดล้อม มี 10 ประการ ดังนี้

  1. อาบน้ำทุกวัน อย่างน้อยวันละ  2 ครั้ง
  2. แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
  3. นอนหลับให้เต็มที่ในที่อากาศถ่ายเทสะดวก
  4. ดื่มน้ำสะอาดมากๆ ไม่ดื่มน้ำชา กาแฟ
  5. ควรกินอาหารพวกเนื้อ นม ไข่ ผักสด ทุกวัน
  6. ล้างมือก่อนรับประทานอาหารและหลังออกจากห้องส้วมทุกครั้ง
  7. เล่นหรือออกกำลังกายกลางแจ้งทุกวัน
  8. ถ่ายอุจจาระทุกวันให้เป็นเวลา
  9. พยายามหลีกเลี่ยงโรคติดต่อ
  10. ทำจิตใจให้มีความสุขเสมอ

วิธีดำเนินงาน

 การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเพื่อศึกษาการระบาดของโรคตาแดงย้อนหลัง 5 ปี และทำการให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย ในชุมชนบ้านโทกหัวช้าง ตำบลพระบาท อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

1. เครื่องมือในการศึกษา

2. การเก็บรวบรวมข้อมูล

3. การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้

4. กลุ่มตัวอย่าง

 

1. กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา

กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ คือ กลุ่มเยาวชน จำนวน 56 คน  กลุ่มอาสาสมัครหมู่บ้าน จำนวน 18 คน และกลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน 15 คน  หมู่ที่ 8 บ้านโทกหัวช้าง ตำบลพระบาท อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

2. เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นข้อมูลด้านระบาดวิทยา และการประเมินการให้ความรู้แกกลุ่มตัวอย่างมี 3 ส่วนดังนี้

ส่วนที่ 1  ทะเบียนบัญชีรายชื่อผู้ป่วยโรคตาแดง E.0 และ E.1

ทะเบียนบัญชีรายชื่อผู้ป่วยและผู้ตายรายเดือน โรคตาแดง E.2 และ E.3

ส่วนที่ 2 แบบทดสอบก่อนและหลังการให้ความรู้

ส่วนที่ 3 แบบประเมินความพึงพอใจในการให้ความรู้

3. การเก็บรวบรวม

ในการศึกษาครั้งนี้ได้กำหนดระยะเวลา 1 สัปดาห์โดยศึกษาจากทะเบียนบัญชีรายชื่อผู้ป่วยและดำเนินการให้ความรู้แก่กลุ่มตัวอย่างกำหนดระยะเวลา 2 สัปดาห์

4. การวิเคราะห์ข้อมูล

การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้สถิติบรรยาย คือ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และแปลผล

 

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

การศึกษาการระบาดโรคตาแดงย้อนหลัง 5 ปี อัตราการป่วยคิดเป็นต่อแสนประชากร มีดังต่อไปนี้

ส่วนที่ 1

  1.  อัตราการป่วยด้วยโรคตาแดงปี พ.ศ. 2551 จำนวน 93.17 ต่อแสนประชากร
  2. อัตราการป่วยด้วยโรคตาแดงปี พ.ศ. 2552 จำนวน 18.63 ต่อแสนประชากร
  3. อัตราการป่วยด้วยโรคตาแดงปี พ.ศ. 2553 จำนวน 9.31 ต่อแสนประชากร
  4. อัตราการป่วยด้วยโรคตาแดงปี พ.ศ. 2554 จำนวน 111.81 ต่อแสนประชากร
  5. อัตราการป่วยด้วยโรคตาแดงปี พ.ศ. 2555 จำนวน 18.63 ต่อแสนประชากร
  6. อัตราการป่วยด้วยโรคตาแดงปี พ.ศ. 2556 จำนวน 102.91 ต่อแสนประชากร

จากอัตราการป่วยข้างต้น อธิบายว่าการเกิดโรคตาแดงและการระบาดของโรคตาแดงนั้นมีอัตราการป่วยที่สูงและต่ำสลับกัน แต่อัตราการป่วยของทุกๆครั้งก็มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น นั้นหมายถึงเกิดการระบาดมากขึ้น

ส่วนที่ 2

แบบทดสอบก่อนการให้ความรู้

 ตารางที่ 1 กลุ่มตัวอย่างเยาวชน จำนวน 56คน

คะแนน จำนวน (คน) ร้อยละ
0 2 3.5
1 1 1.7
2 5 8.9
3 10 17.8
4 16 28.5
5 20 35.7
6 2 3.5
7 0 0
8 0 0
9 0 0
10 0 0

จากตารางที่ 1 สามารถอธิบายข้อมูลแบบทดสอบก่อนการให้ความรู้ตามลำดับ 5 คะแนน จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 35.71  , 4 คะแนน จำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 28.57 และ 3 คะแนน จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 17.85

ตารางที่ 2 กลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุ จำนวน 15 คน

คะแนน จำนวน (คน) ร้อยละ
0 0 0
1 0 0
2 1 6.6
3 1 6.6
4 5 8.9
5 5 8.9
6 3 5.3
6 0 0
8 0 0
9 0 0
10 0 0

จากตารางที่ 2 สามารถอธิบายข้อมูลแบบทดสอบก่อนการให้ความรู้ตามลำดับ 5 คะแนน จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 8.9  , 4 คะแนน จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 8.9 และ 6 คะแนน จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 5.3

 

ตารางที่ 3 กลุ่มตัวอย่างอาสาสมัครหมู่บ้าน จำนวน 18 คน

คะแนน จำนวน (คน) ร้อยละ
0 0 0
1 0 0
2 0 0
3 0 0
4 2 11.7
5 2 11.7
6 9 50
7 4 22.2
8 1 5.5
9 0 0
10 0 0

จากตารางที่ 3 สามารถอธิบายข้อมูลแบบทดสอบก่อนการให้ความรู้ตามลำดับ 6 คะแนน จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 50  , 7 คะแนน จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 22.2  ,  5 คะแนน จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 11.7  และ 4 คะแนน จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 11.7

 

แบบทดสอบหลังการให้ความรู้

 ตารางที่ 4 กลุ่มตัวอย่างเยาวชน จำนวน 56 คน

คะแนน จำนวน (คน) ร้อยละ
0 0 0
1 0 0
2 0 0
3 0 0
4 1 1.7
5 3 5.3
6 3 5.3
7 5 8.9
8 13 23.2
9 20 35.7
10 11 19.6

จากตารางที่ 4 สามารถอธิบายข้อมูลแบบทดสอบหลังการให้ความรู้ตามลำดับ 9 คะแนน จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 35.71  , 8 คะแนน จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 23.21  และ 10 คะแนน จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 19.64

 

ตารางที่ 5 กลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุ จำนวน 15 คน

คะแนน จำนวน (คน) ร้อยละ
0 0 0
1 0 0
2 0 0
3 0 0
4 4 7.1
5 3 5.3
6 3 5.3
7 5 8.9
8 0 0
9 0 0
10 0 0

จากตารางที่ 5 สามารถอธิบายข้อมูลแบบทดสอบหลังการให้ความรู้ตามลำดับ 5 คะแนน จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 5.3  , 6 คะแนน จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 5.3 ,  4 คะแนน จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 7.1  และ 7 คะแนน จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 8.9

 

ตารางที่ 6 กลุ่มตัวอย่างอาสาสมัครหมู่บ้าน จำนวน 18 คน

คะแนน จำนวน (คน) ร้อยละ
0 0 0
1 0 0
2 0 0
3 0 0
4 0 0
5 0 0
6 0 0
7 2 11.7
                                 8 4 22.2
9 9 50.0
10 3 16.6

จากตารางที่ 6 สามารถอธิบายข้อมูลแบบทดสอบหลังการให้ความรู้ตามลำดับ 10 คะแนน จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 16.6  , 8 คะแนน จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 22.2 และ 9 คะแนน จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 50.0

ส่วนที่ 3 แบบประเมินความพึงพอใจ การให้ความรู้ เรื่อง รู้ก่อนปลอดภัย ห่างไกลโรคตาแดง

 

หัวข้อการประเมิน มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด
1. เนื้อหาวิชา จำนวน(คน) ร้อยละ จำนวน(คน) ร้อยละ จำนวน(คน) ร้อยละ จำนวน(คน) ร้อยละ จำนวน(คน) ร้อยละ
1.1 ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหัวข้อนี้ก่อนการฝึกอบรมมากน้อยเพียงใด 0 0 57 64 30 33.7 2 2.2 0 0
1.2 ท่านได้รับความรู้ ความเข้าใจหลังการฝึกอบรมมากน้อยเพียงใด 60 67.4 29 32.5 9 10.1 0 0 0 0
1.3 ระยะเวลาการฝึกอบรมมีความเหมาะสมกับเนื้อหามากน้อยเพียงใด 66 74 16 17.9 6 6.7 1 1.1 0 0
1.4 การจัดแบ่งเวลาเมาะสมกับเนื้อหามากน้อยเพียงใด 61 68.5 22 24.7 5 5.6 1 1.1 0 0
2. ด้านวิทยากร                    
2.1 ความรอบรู้ในเนื้อหาวิชา 69 77.5 15 16.8 5 5.6 0 0 0 0
2.2 ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ให้ผู้ฟังเข้าใจ 65 73 15 16.8 9 10.1 0 0 0 0
2.3 การถ่ายทอดเนื้อหาวิชาให้เป็นที่น่าสนใจ 69 77.5 16 17.9 4 4.4 0 0 0 0
2.4 การจัดลำดับความสัมพันธ์ของเนื้อหา 65 73 14 15.7 10 11.2 0 0 0 0
2.5 ความชัดเจนในการบรรยาย 70 78.6 13 14.6 6 6.7 0 0 0 0
2.6 ความสามารถในการซักตอบคำถาม 66 74.1 16 17.9 7 7.8 0 0 0 0
2.7 ความเหมาะสมของวิทยากรโดยรวม 60 67.4 14 15.7 15 16.8 0 0 0 0
3. ด้านการจัดฝึกอบรม (สถานที่)                    
3.1 สถานที่จัดฝึกอบรม 67 75.2 15 16.8 6 6.7 1 1.1 0 0
3.2 โสตทัศนูปกรณ์ 59 66.2 19 21.3 10 11.2 0 0 0 0
3.3 การดำเนินงาน/ประสานงาน/อำนวยความสะดวกของผู้จัด 63 70.7 16 17.9 10 10.2 0 0 0 0
4. ด้านการนำความรู้ไปใช้                    
4.1 ความรู้ที่ได้รับครั้งนี้มีประโยชน์มากน้อยเพียงใด 69 77.5 14 15.7 6 6.7 0 0 0 0
4.2 สามารถนำความรู้ที่ได้รับนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน 64 71.9 21 23.5 4 4.4 0 0 0 0
4.3 สามารถนำความรู้ไปเผยแพร่-ถ่ายทอดได้ 68 76.4 12 13.4 9 10.1 0 0 0 0

จากส่วนที่ 3 สามารถอธิบายได้ว่าการประเมินความพึงพอใจ 4 ด้าน คือ ด้านเนื้อหาวิชา  ด้านวิทยากร  ด้านสถานที่ และด้านการนำความรู้ไปใช้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีมากที่สุด

ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ

  1. อยากให้นักศึกษาเข้ามาทำกิจกรรมให้ความรู้อีกครั้งในเรื่องสุขภาพต่าง ๆ
  2. ได้รับความรู้เรื่องโรคตาแดงเพิ่มมากขึ้น
  3. ควรเพิ่มเวลาในการทำกิจกรรมให้มากขึ้น
  4. ขอบคุณที่นักศึกษาได้เข้าไปให้ความรู้เรื่องสุขภาพ

สรุปผลการศึกษา

ศึกษาการเกิดโรคตาแดงและการระบาดของโรคตาแดงย้อนหลัง 5 ปี ในชุมชนบ้านโทกหัวช้าง ตำบลพระบาท อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง เป็นการเก็บข้อมูลอัตราการเจ็บป่วยด้วยโรคตาแดง เพื่อทำการให้ความรู้ส่งเสริมการป้องกันโรค และการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง โดยให้ความรู้แก่กลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม คือ กลุ่มเยาวชน นักเรียนโรงเรียนบ้านโทกหัวช้าง จำนวน 56 คน  กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน  15 คน  และกลุ่มอาสาสมัครหมู่บ้าน จำนวน 18  คน และทำการทดสอบความรู้ทั้งก่อนและหลังการให้ความรู้ เพื่อประเมินว่ากลุ่มตัวอย่างมีความรู้ความเข้าใจมากน้อยเพียงใด ซึ่งกลุ่มตัวอย่างมีความรู้เพิ่มพูนมากขึ้นหลังการได้รับการให้ความรู้ และประเมินความพึงพอใจในการดำเนินการให้ความรู้ เกณฑ์การประเมินอยู่ในเกณฑ์ดีมากที่สุด หมายถึงพึงพอใจต่อการดำเนินการทั้งหมด

 

โพสท์ใน คณะสาธารณสุขศาสตร์ | ใส่ความเห็น

โครงการ “เบาหวานป้องกันโรคแทรกซ้อนได้ เพียงรู้และเข้าใจ”

“เบาหวานป้องกันโรคแทรกซ้อนได้ เพียงรู้และเข้าใจ”

บทนำ

โรคเบาหวาน นับเป็นปัญหาการเจ็บป่วยที่สำคัญและนำมาซึ่งความทุกข์ ความสูญเสียทรัพยากรในการดูแลรักษา มีผลกระทบต่อผู้ป่วยเอง และผู้ดูแล ค่ารักษารักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายในครอบครัว มีอาการป่วยเรื้อรังเป็นเวลานาน ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ บางรายอาจมีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง เช่น แผลเรื้อรัง ปัญหาการมองเห็น ปัญหาทางไต อัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นต้น จากการคาดการขององค์การอนามัยโลก พบว่าค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล เฉพาะการรักษาพยาบาลเบาหวานอย่างเดียว ไม่รวมภาวะแทรกซ้อนอื่นๆที่ตามมา ในประเทศพัฒนาแล้ว ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลถึง ร้อยละ 8 ของงบประมาณด้านสาธารณสุขทั้งหมด ตลอด 8 ปีที่ผ่านมา แต่ยังพบว่าอุบัติการณ์เกิดโรคยังเพิ่มอย่างต่อเนื่องและกลับทวีความรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา  อัตราตายด้วยโรคเบาหวานเท่ากับ 7.9-11.8 (อัญชลี  ศิริพิทยาคุณกิจ, 2547) โรคเบาหวานเป็นปัญหาสำคัญในประเทศไทยพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชายเล็กน้อย ความชุกของเบาหวานมีแนวโน้มสูงขึ้นตามอายุที่มากขึ้น โดยพบความความชุกสูงสุดที่กลุ่มอายุ 60 ถึง 69 ปี

จากสภาพปัญหาปัจจุบัน ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ในรายที่เป็นเรื้อรังมานาน มักประสบปัญหามีอาการมึน ชาอวัยวะส่วนปลาย โดยเฉพาะบริเวณ ปลายนิ้วมือ นิ้วเท้า เมื่อเกิดแผลจะทำให้ไม่รู้ตัว เพราะเนื่องจากว่าเลือดไปเลี้ยงที่บริเวณปลายนิ้วมือ นิ้วเท้าไม่พอ

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ

1. เพื่อให้ความรู้เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการทำน้ำแช่เท้า

2. เพื่อเป็นการเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้เข้าร่วมสัมมนา

กลุ่มเป้าหมาย

นักศึกษาสาธารณสุขศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 จำนวน 20 คน

นักศึกษาสาธารณสุขศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 จำนวน 17 คน

นักศึกษาสาธารณสุขศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 จำนวน 29 คน

นักศึกษาสาธารณสุขศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 จำนวน 28 คน

ผู้รับผิดชอบโครงการสัมมนา  

งานสัมมนาพฤติกรรมการบริโภคอาหารของวัยรุ่นทำนายแนวโน้มสุขภาพในอนาคตมีผู้รับผิดชอบต่อไปนี้

1. นายบวรชัย                  แปงปวนจู           ประธานโครงการสัมมนา

2. นางสาวมัชรียะ             ยูโซ๊ะ                 รองประธาน

3. นางสาวประทุมพร        กงซุย                 เลขา

4. นางสาวอรวรรณ          ผิวผ่อง               ประชาสัมพันธ์

5. นายสุรพล                   นครชัย               พิธีกร/ผู้ดำเนินรายการ

6. นางสาวอรวรรณ          ผิวผ่อง               ฝ่ายจัดซื้อ

7. นางสาวอรวรรณ          ผิวผ่อง               ฝ่ายสถานที่

ประโยชน์

1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนามีความรู้เกี่ยวกับการทำน้ำแช่เท้าได้ด้วยตนเอง

2. ผู้เข้าร่วมสัมมนาสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องน้ำแช่เท้า

 วิธีการดำเนินการ

 1. ขั้นเตรียมการ

1. การวางแผนกำหนดโครงการ
2. ประชุมแต่งตั้งคณะกรรมการ

3. เขียนโครงการเสนอตามลำดับ

4. ประชุมติดตามงานแต่ละฝ่ายหาข้อบกพร่องเพื่อแก้ไข

2. ขั้นดำเนินการ

1. ประชุมกลุ่มเตรียมจัดทำโครงการสัมมนาในหัวข้อเรื่อง “เบาหวานป้องกันโรคแทรกซ้อนได้ เพียงรู้และเข้าใจ”

2. จัดทำโครงการสัมมนาในหัวข้อเรื่อง “เบาหวานป้องกันโรคแทรกซ้อนได้ เพียงรู้และเข้าใจ”

3. ติดต่อท่านวิทยากร

4. จัดเตรียมสถานที่จัดทำสัมมนา

5. จัดทำสัมมนา

6. สรุปผลโครงการสัมมนา

ปฏิทินการดำเนินงาน

 

ลำดับที่ รายละเอียด กุมภาพันธ์ มีนาคม
1 ประชุมกลุ่ม

 

         
2 จัดทำโครงการสัมมนา

 

       
3 ติดต่อท่านวิทยากร

 

         
4 จัดเตรียมสถานที่

 

         
5 จัดทำสัมมนา

 

         
6 สรุปผลโครงการสัมมนา

 

         

ระยะเวลาการดำเนินการ

  1. ระยะเวลาดำเนินการโครงการสัมมนาทั้งหมด

วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน – วันศุกร์ที่ 27 ธันวาคมพ.ศ. 2556

  1. วันจัดโครงการสัมมนา

วันอังคารที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2557 เวลา 10.30-12.00 น.

สถานที่ดำเนินการ

ห้อง 4201 ตึกคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเนชั่น

งบประมาณการดำเนินการ

 

ลำดับที่ รายละเอียด จำนวนเงิน
1 ค่าเอกสาร 300
2 ค่าอาหารว่าง 1,000
3 ค่าเบ็ดเตล็ด 500
4 ค่าเผื่อเหลือเผื่อขาด 500
รวม 2,300

การติดตามผลการดำเนินงาน

           แบบสอบถามความพึงพอใจหลังการเข้าร่วมการจัดสัมมนาเรื่อง “เบาหวานป้องกันได้ ควบคุมได้ เพียงรู้และเข้าใจ”

 

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

 ความหมายและอันตรายของโรคเบาหวาน

 เบาหวานเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินกว่าที่ควรจะเป็น มีสาเหตุมาจากการหลั่งอินซูลิน (insulin)  ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่เพียงพอ เรียกว่ามี ภาวะขาดอินซูลิน หรือเกิดจากความสามารถในการตอบสนองต่อฤทธิ์ของอินซูลินลดลง  เรียกว่ามีภาวะดื้ออินซูลิน หรือเกิดจากสาเหตุทั้งสองอย่าง คือ ในบุคคลคนเดียวกันอาจมีทั้งความผิดปกติในการหลั่งอินซูลิน และการตอบสนองต่อฤทธิ์ของอินซูลินลดลงและบ่อยครั้งที่ยากจะบอกว่า การขาดอินซูลิน หรือดื้ออินซูลิน เป็นสาเหตุเริ่มต้นที่ทำให้เกิดระดับน้ำตาลในเลือดสูง การที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานานๆ ส่งผลให้อวัยวะและเนื้อเยื่อทั้งหมดของร่างกายมีความผิดปกติในการทำงานเกิดขึ้น และท้ายที่สุดทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนขึ้นในอวัยวะต่างๆ ได้แก่ ตา ไต เส้นประสาทและสมอง หัวใจ หรือเกิดปัญหาที่เท้า

องค์การอนามัยโลกและสมาพันธ์เบาหวานนานาชาติ ได้ติดตามสถานการณ์ของโรคเบาหวานมาอย่างต่อเนื่อง พบว่า จำนวนผู้เป็นโรคเบาหวานเพิ่มมากขึ้นทั่วโลกโดยไม่มีแนวโน้มว่าจะลดลงหรือคงตัว ใน พ.ศ. ๒๕๕๓ จำนวนผู้เป็นโรคเบาหวานทั่วโลกมีมากกว่า ๒๘๕ ล้านคน หากไม่ดำเนินการอย่างเหมาะสมแล้วคาดว่า อีก ๒๐ ปี พ.ศ. ๒๕๗๓ จะเพิ่มขึ้นเป็น ๔๓๙ ล้านคน ดังนั้นสมาพันธ์เบาหวานนานาชาติ องค์การอนามัยโลกและองค์กรที่เกี่ยวข้อง ต่างก็ตระหนักเป็นอย่างดีว่า โรคเบาหวานเป็นปัญหาสาธารณสุข    ของทุกประเทศทั่วโลก จึงได้นำประเด็นโรคเบาหวานเข้าสู่ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติและสมัชชาได้ผ่านญัตติให้โรคเบาหวานเป็นปัญหาระดับโลก เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๙  โดยองค์การสหประชาชาติได้ขอความร่วมมือจากประเทศสมาชิก ให้จัดหามาตรการดำเนินการ เพื่อลดปัญหาโรคเบาหวานในประเทศของตน มีการป้องกัน และดูแลโรคเบาหวานที่ครอบคลุม อย่างเป็นระบบ มีประสิทธิภาพ และอย่างยั่งยืน

จากการสำรวจสภาวะสุขภาพอนามัยของคนไทยที่มีอายุ ๑๕ ปีขึ้นไปเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๑ –  พ.ศ.๒๕๕๒  พบว่า เป็นโรคเบาหวานร้อยละ ๖.๙ อายุที่เริ่มเป็นโรคเบาหวาน  ลดน้อยลง ผู้หญิงจะเป็นมากกว่าผู้ชาย คนอ้วนเป็นมากกว่าคนไม่อ้วน และคนในเมืองเป็นมากกว่าคนในชนบทซึ่งหมายถึง ในขณะนี้ประชากรไทยที่เป็นโรคเบาหวานมีจำนวนไม่ต่ำกว่า ๓ ล้านคนที่น่ากังวลคือ ประมาณ ๑ ใน ๓ ไม่รู้ตัวว่า เป็นโรคเบาหวาน นอกจากนี้ประชากรไทย          อีกจำนวนมากไม่ต่ำกว่า ๗ ล้านคน มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคเบาหวานในอนาคต เมื่อเป็นโรคเบาหวานแล้วมักจะเกิดโรคแทรกซ้อนที่ก่อให้เกิดการเจ็บป่วย ความพิการ หรือเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ทำให้ผู้ป่วย และครอบครัว มีภาระและต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสูงมาก ดังนั้นประเทศไทยจำเป็นต้องมีมาตรการเร่งด่วน เพื่อป้องกัน และลดปัญหาโรคเบาหวานที่คุกคามคนไทย มีความจำเป็นที่คนไทยทุกคนจะต้องรู้จักโรคเบาหวาน   ตระหนักถึงปัญหา และภัยของโรคเบาหวาน มีความตื่นตัวเรื่องการดูแลสุขภาพของตนเองรู้วิธีป้องกันไม่ให้เกิดโรคเบาหวานขึ้น มีการตรวจค้นหา และวินิจฉัยโรคเบาหวานให้ได้เร็วที่สุด เพื่อให้ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมตั้งแต่ระยะเริ่มแรกที่เป็นโรคนี้  รวมทั้งเพิ่มประสิทธิผล   ในการดูแลรักษาโรคให้ได้ตามเกณฑ์หรือเป้าหมายที่กำหนด ซึ่งจะช่วยลดอัตราความพิการ   การเสียชีวิตที่เกิดจากโรคเบาหวาน ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และช่วยให้ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานมีคุณภาพชีวิตที่ดี ใกล้เคียงกับคนปกติทั่วไป

โรคแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเบาหวาน

โรคแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเบาหวานสามารถเกิดได้ทุกระบบได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคตา โรคไต โรคแทรกซ้อนที่ขา โรคแทรกซ้อนทางระบบประสาท ความดันโลหิตสูง โรคทางช่องปาก โรคผิวหนัง

โรคหัวใจและหลอดเลือด

เนื่องจากโรคเบาหวานมักจะพบร่วมกับโรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเส้นเลือด โรคอ้วน ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด การป้องกันจะลดอัตราการป่วยและการเสียชีวิต โรคเบาหวานมักจะมีโรคแทรกซ้อนที่สำคัญคือหลอดเลือดแข็ง เมื่อหลอดเลือดแข็งที่อวัยวะหรือระบบใดก็จะเกิดโรคที่ระบบนั้น เช่นกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด อัมพาต เท้าขาดเลือด หรือไตวาย  นอกจากนั้นโรคเบาหวานมักจะมีโรคอื่นร่วมด้วย เช่นความดัน ไขมัน หรืออ้วนซึ่งจะเป็นปัจจัยทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นปัญหาความเจ็บป่วยสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน  โรคหลอดเลือดเลือดแข็งนอกจากทำให้เกิด ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคอัมพาต ยังก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดตีบที่ขา โรคเบาหวานเป็นปัจจัยเสี่ยงข้อหนึ่งของโรคหลอดเลือดตีบซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้

อาการและอาการแสดง

  1. โรคหัวใจและหลอดเลือดสามารถป้องกันได้โดยการพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ ตรวจหาระดับน้ำตาล ไขมัน งดบุหรี่ หากท่านมีอาการดังต่อไปนี้ควรปรึกษาแพทย์
  2. ชาหรืออ่อนแรงแขนหรือขา ตาบอดเฉียบพลัน พูดลำบาก
  3. เจ็บแน่นบริเวณหน้าอกข้างซ้าย และร้าวไปแขนซ้ายเวลาออกกำลังกาย พักเหนื่อยจะหายปวด เท้าบวม หัวใจเต้นผิดปกติ
  4. ปวดน่องหรือขาเวลาเดินพักแล้วหายปวด

 การรักษา

เป้าหมายของการรักษาโรคหัวใจล้มเหลวคือการฟื้นฟูคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยด้วยการเปลี่ยนแบบแผนการดำเนินชีวิต และการรักษาด้วยยา การรักษาที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่ การใช้ยาขับปัสสาวะและยากลุ่มยับยั้งเอนไซม์เอซีอี (ACE inhibitor) และยากลุ่มปิดกันตัวรับชนิดเบต้า (Beta blocker) ซึ่งมีข้อมูลจากการศึกษาว่าเป็นประโยชน์ในการรักษาโรคหัวใจล้มเหลว นอกจากนี้ยังมีการวินิจฉัยซึ่งจะช่วยให้ตรวจพบตั้งแต่ระยะเริ่มต้นและยังช่วยในการประเมินการรักษาอีกด้วย

โรคตา

ตาก็เป็นอวัยวะหนึ่งที่เกิดโรคแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน โรคแทรกซ้อนที่พบคือ ต้อกระจก ต้อหิน เบาหวานขึ้นจอประสาทตา จอประสาทตาลอก หากวินิจฉัยช้าอาจจะทำให้ตาบอด โรคแทรกซ้อนทางตาของโรคเบาหากเกิดแล้วไม่หายขาด การป้องกันโรคแทรกซ้อนทางตา จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ ซึ่งต้องตรวจตาตามแพทย์นัด       การควบคุมโรคเบาหวานให้ดี การคุมโรคความดัน โรคไขมันในเส้นเลือดและปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ

ผู้ป่วยเบาหวานถ้าควบคุมเบาหวานให้ดี สามารถลดอัตราการเกิดโรคแทรกซ้อนทาง microvascular complication ได้แก่โรคแทรกซ้อนทางตา  ไต และเส้นประสาท ทุก 1%         ของ HbA1c ที่ลดลงจะลด microvascular complication ได้ 35% การให้ aspirin ไม่ได้ทำให้ Retinal hemorrhage เพิ่มขึ้นดังนั้นจึงสามารถให้ aspirin ในผู้ป่วย diabetic retinopathy ได้

 ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคแทรกซ้อนทางตา

ระยะเวลาที่เป็นเบาหวานโดยพบว่ามีอัตราการเกิดโรคแทรกซ้อนทางตาคือ พบอัตราการเกิดร้อยละ8เมื่อเป็นเบาหวาน 3 ปี ร้อยละ25เมื่อเป็น 5 ปี ร้อยละ 60 เมื่อเป็น10ปี และร้อยละ 80 เมื่อเป็นเบาหวานนาน 15 ปี

อัตราการควบคุมโรคเบาหวาน โดยพบว่าเบาหวานชนิดที่1 หากควบคุมเบาอย่างดีจะลดโรคแทรกซ้อนทางตาได้   ร้อยละ 54 ส่วนเบาหวานชนิดที่2 หากควบคุมอย่างดี (ลดค่าน้ำตาลเฉลี่ยจาก 8 ลงไป 7) จะลดอุบัติการณ์ลงได้ร้อยละ 38ความดันโลหิตพบว่าหากลดความดันโลหิตจาก 180/105 ลงให้ต่ำกว่า 150/90 พบว่าอุบัติการณ์การเกิดโรคแทรกซ้อนทางตาลดลงร้อยละ 47

 แนวทางปฏิบัติในการป้องกันโรคแทรกซ้อนทางตา

ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 เมื่อเริ่มเป็น 3-5 ปีมักจะไม่มีปัญหาโรคแทรกซ้อนทางตา แต่เมื่ออายุ 20 ปีขึ้นไปผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมีความผิดปกติที่จอรับภาพ

สำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 พบว่ามีความผิดปกติที่จอรับภาพร้อยละ 21 เมื่อได้รับการวินิจฉัย

  1. ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่หนึ่งให้ตรวจตาหลังจากเป็นเบาหวาน3-5 ปี หรือผู้ป่วยเบาหวานชนิด 1 ที่อายุมากกว่า 10 ปี
  2. ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สองให้ตรวจตาหลังจากวินิจฉัยได้
  3. ให้ตรวจตาทุกปีถ้าปกติ ถ้าผิดปกติให้ตรวจถี่ขึ้น
  4. ผู้ป่วยเบาหวานที่ตั้งครรภ์หรือมีแผนจะตั้งครรภ์ต้องตรวจตาอย่างสม่ำเสมอ ควรตรวจทุก 3 เดือน แต่สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาขณะตั้งครรภ์ไม่จำเป็นต้องตรวจเนื่องจากกลุ่มนี้มีโรคแทรกซ้อนทางตาน้อย
  5. ผู้ป่วยเบาหวานที่เริ่มโตเป็นหนุ่มสาว
  6. ผู้ป่วยที่เป็น severe proliferative ,macular edema ,proliferate retinopathy ควรปรึกษาจักษุแพทย์ให้ดูแลรักษา

ผู้ป่วยควรควรพบจักษุแพทย์หากมีอาการเหล่านี้

  • ตามัวลง1-2วันโดยที่ตามัวไม่สัมพันธ์กับระดับน้ำตาลในเลือด
  • ตาบอดเฉียบพลัน
  • เป็นจุดดำ เห็นแสงไฟแลบ หรือเห็นเป็นใยแมลงมุม
  • ปวดตา
  • มองเห็นได้เพียงด้านหนึ่งของตา
  • อ่านหนังสือลำบาก
  • เห็นภาพซ้อน

การรักษาและการป้องกัน

  • รักษาระดับน้ำตาลให้ใกล้เคียงคนปกติ
  • ควบคุมความดันให้ต่ำกว่า 140/90 มม.ปรอท
  • หยุดสูบบุหรี่
  • ตรวจตาอย่างน้อยปีละครั้ง
  • ปรึกษาแพทย์ถ้าหากจะออกกำลังกาย

 โรคแทรกซ้อนที่ขา

เนื่องจากโรคเบาหวานมักจะพบร่วมกับโรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเส้นเลือด โรคอ้วน ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคหลอดเลือดตีบ หากสูบบุหรี่ก็ทำให้ตีบเร็ว นอกจากนั้นโรคเบาหวานยังทำให้เกิดปลายประสาทอักเสบซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดแผลได้ง่าย

โรคเบาหวานกับการดูแลเท้า

โรคเบาหวานทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนที่เท้าซึ่งมีสาเหตุจากหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงเท้าตีบ เลือดไปเลี้ยงเท้าไม่พอเกิดแผลเนื่องจากขาดเลือด ปลายประสาทอักเสบทำให้เกิดแผลกดทับ การติดเชื้อที่ผิวหนังก็ทำให้เกิดแผล นอกจากนั้นโรคแทรกซ้อนทางผิวหนังเช่นผิวแห้ง เชื้อรา เป็นต้น

 สาเหตุให้เกิดแผลที่เท้า

โรคเบาหวานเป็นโรคที่มีภาวะแทรกซ้อนหลายระบบ ภาวะแทรกซ้อนที่เท้าทำให้เกิดแผลเบาหวานที่เท้าและเป็นสาเหตุให้ถูกตัดเท้า การป้องกันการถูกตัดเท้าจะต้องมีความรู้เรื่องเบาหวาน ปัจจัยเสี่ยงของการถูกตัดขา การตรวจเท้าเป็นประจำแผลที่เท้าของผู้ป่วยโรคเบาหวานจะเกิดจาก แผลที่เท้าจากปลายประสาทอักเสบ Diabetic neuropathy โครงสร้างของเท้าผิดปกติ และหลอดเลือดไปเลี้ยงที่เท้าตีบ

ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ถูกตัดเท้าส่วนใหญ่เกิดจากแผลที่เท้าเป็นตัวนำ หากวินิจฉัย  ตั้งแต่เริ่มแรกและให้การรักษาจะสามารถป้องกันการถูกตัดขา

 ความรู้เกี่ยวกับเบาหวานและโรคเท้า

ประกอบไปด้วยสัญญาณแสดงว่าจะมีโรคแทรกซ้อนที่เท้า ข้อปฏิบัติเพื่อลดปัจจัยเสี่ยง และการรักษาปัจจัยเสี่ยงของการถูกตัดขา

การตรวจดูเท้าด้วยตัวเอง

ญาติหรือผู้ป่วยโรคเบาหวานต้องหมั่นดูเท้าของผู้ป่วย เช่นดูสีผิว อุณหภูมิ ขน เล็บ  การติดเชื้อ การผิดรูป ตาปลา ว่ามีสิ่งผิดปกติอะไรบ้าง เมื่อไรต้องไปพบแพทย์

การบริหารเท้า

เนื่องจากโรคเบาหวานมีปัญหาเรื่องหลอดเลือดเท้าตีบ และปลายประสาทอักเสบ  การบริหารเท้าจะทำให้เลือดไปเลี้ยงเท่าเพิ่มขึ้นและกล้ามเนื้อแข็งแรงมากขึ้นป้องกันการเกิดแผลจากโรคเบาหวาน

การดูแลสุขภาพเท้า

การดูแลสุขภาพเท้าจะต้องดูแลตั้งแต่เล็บ ผิวหนัง การออกกำลังกาย การดูแลสุขภาพโดยรวมเท้าเป็นอวัยวะที่มีโรคแทรกซ้อนจากเบาหวานได้บ่อย เนื่องจากโรคแทรกซ้อนทางระบบประสาท หลอดเลือดแข็ง และการติดเชื้อ การดูแลเท้าที่ดี จะป้องกันโรคแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นกับเท้าได้

ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานไม่อยากให้มีแผลหรือถูกตัด นิ้ว รวมทั้งเท้า ผู้ป่วยควรจะต้องดูแลเท้าตลอดชีวิต การดูแลเท้าจะมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในผู้ป่วยเบาหวานที่มีอาการดังต่อไปนี้

  1. มีอาการชาเท้า
  2. รูปร่าง สี ของเท้าผิดไป
  3. มีแผลที่เท้าซึ่งหายยาก
  4. ปวดเท้าเวลาเดิน
  5. เคยเป็นแผลที่เท้า

 ปัจจัยเสี่ยงของการถูกตัดเท้า

  1. ผู้ป่วยที่มีปลายประสาทอักเสบ หลอดเลือดที่เท้าตีบ เคยถูกตัดเท้า เคยติดเชื้อหรือเท้าผิดรูปจะมีความเสี่ยงในการถูกตัดเท้า
  2. มีปลายประสาทอักเสบ peripheral neuropathy เนื่องจากผู้ป่วยไม่รู้สึกเจ็บปวดเมื่อเหยียบวัตถุมีคม หรือถูกไฟ ทำให้เกิดแผลโดยไม่รู้ตัวทำให้การรักษาช้า
  3. มีหลอดเลือดแดงที่ขาแข็ง peripheral vascular disease โรคเบาหวานทำให้  หลอดเลือดที่ขาตีบ การสูบบุหรี่ทำให้หลอดเลือดที่ขาตีบมากขึ้น เมื่อมีการอุดตัน ของเส้นเลือดทำให้เลือดไปเนื้อเยื่อลดลง ลักษณะเท้าของผู้ป่วยจะมีสีคล้ำ เท้าเย็น บางท่านเดินแล้วปวดเท้าคลำชีพขจรหลังเท้าไม่ได้ แผลหายช้ามีเนื้อตายเกิดแผลที่เท้า(Diabetic foot ulcer) และติดเชื้อ การออกกำลังจะช่วยให้เลือดไปเลี้ยงขามากขึ้น

การติดเชื้อ(Infection) เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยนอนโรงพยาบาลสามารถเกิดได้แม้ว่าจะมีแผลเล็กๆที่เท้า

  1. มีประวัติแผลหรือถูกตัดขา พบว่าผู้ที่มีแผลจะเกิดแผลซ้ำที่เดิมภายใน 2-5 ปี
  2. มีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของเท้า altered biomechanical
  3. มีจอประสาทตาผิดปกติจากโรคเบาหวาน
  4. หนังแข็งใต้ฝ่าเท้า
  5. เล็บผิดปกติ
  6. รองเท้าไม่เหมาะสม
  7. พฤติกรรมการดูแลเท้าไม่ถูกต้อง
  8. ระยะเวลาที่เป็นโรคเบาหวานเกิน 10 ปี
  9. ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ดี
  10. เพศชาย
  11. สูบบุหรี่
  12. มีภาวะแทรกซ้อนที่ไตจากโรคเบาหวาน
  13. การเลือกรองเท้า

โรคเบาหวานจะมีภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญคือ ปลายประสาทอักเสบทำให้เกิดการชาของเท้า และเส้นเลือดตีบทำให้เลือดไปเลี้ยงที่เท้าไม่พอ การเลือกรองเท้าให้เหมาะสมจะลดการเกิดโรคแทรกซ้อนที่เท้าลงได้เลือกรองเท้าขนาดพอดี

  1. เลือกรองเท้าที่มีเบาะรองเท้าที่นุ่มนิ่ม ไม่ควรทำจากพลาสติก
  2. ไม่ใส่ส้นสูง เพราะจะทำให้เกิดโรคข้อและเกิดแผลกดทับ
  3. สวมถุงเท้าก่อนใส่รองเท้าทุกครั้ง และควรเป็นถุงเท้าที่ไม่มีตะเข็บและควรทำจากผ้าฝ้ายเพื่อซับเหงื่อ
  4. ควรตรวจดูสิ่งแปลกปลอมก่อนใส่ทุกครั้ง
  5. ควรใส่รองเท้าทั้งใน และนอกบ้าน
  6. รองเท้าควรจะระบายอากาศได้ดี
  7. ห้ามใส่รองเท้าที่เปิดปลายนิ้วเท้าหรือรองเท้าแตะเพราะจะทำให้เกิดแผล
  8. หากซื้อรองเท้าใหม่ ต้องวัดให้มีขนาดพอดีทั้งความลึก ความกว้าง
  9. รองเท้าควรจะมีตะเข็บให้น้อยที่สุดเพื่อป้องกันมิให้ตะเข็บกดเท้า ควรจะใช้เชือกผูกหรือแทบซึ่งจะทำให้รองเท้าพอดีกับเท้า
  10. เมื่อสวมรองเท้าใหม่ให้หยุดเดินหรือหยุดพักบ่อยๆเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดพองที่เท้า
  11. หากเท้าท่านผิดปกติเช่นกระดูกงอก ควรจะใส่รองเท้าชนิดพิเศษ
  12. ไม่ควรใส่รองเท้าแตะ แบบคีบ
  13. หากซื้อรองเท้าใหม่ไม่ควรสวมเป็นเวลานานๆต่อเนื่อง ควรจะมีรองเท่าคู่เก่าเปลี่ยนจนกระทั่งรองเท้าคู่ใหม่เข้ากับเท้า

 การประเมินความเสี่ยงของการเกิดแผล

เราประเมินความเสี่ยงของการถูกตัดเท้าออกเป็นสามระดับ ได้แก่ ระดับสูง ปานกลางและระดับต่ำ

ความเสี่ยงระดับต่ำมีลักษณะดังนี้

  1. ไม่เคยมีแผลหรือถูกตัดขา
  2. รูปเท้าปกติ
  3. ผิวหนังและเล็บปกติ
  4. คลำชีพขจรที่เท้าปกติ(ABI>9
  5. ความเสี่ยงระดับปานกลาง
  6. ลักษณะเท้าที่มีความเสี่ยงระดับปานกลาง
  7. เท้าไม่มีแผลขณะประเมิน
  8. การรับความรู้สึกลดลง
  9. ชีพขจรเบาลงหรือมีมีเท้าผิดรูป
  10. ผิวหนังที่เท้าและเล็บผิดปกติ
  11. เท้าที่มีความเสี่ยงระดับสูง
  12. ลักษณะเท้าที่มีความเสี่ยงระดับสูงมีลักษณะดังนี้
  13. เท้าไม่มีแผลขณะประเมินการ
  14. รับความรู้สึกลดลง
  15. ชีพขจรเบาลง
  16. มีเท้าผิดรูป
  17. ผิวหนังที่เท้าและเล็บผิดปกติ

  การดูแล้วตัวเองเพื่อป้องกันการเกิดแผลที่เท้า

ผู้ป่วยโรคเบาหวานทุกท่านจะต้องดูแลตัวเองไม่ว่าจะเกิดแผล หรือมีความเสี่ยงของการเกิดแผลที่ระดับใดท่าจะต้องมีความรู้หรือการปฏิบัติดังต่อไปนี้

 ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน

  1. การดูแลเท้า
  2. การออกกำลังกายโดยเฉพาะที่เท้า
  3. ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดแผลที่เท้า
  4. การเลือกรองเท้า
  5. การเกิดโรคหลอดเลือดที่เท้า
  6. โรคเบาหวานกับเท้า
  7. การตรวจเท้าอย่างละเอียด
  8. การงดสูบบุหรี่
  9. การคุมระดับน้ำตาล ไขมัน และความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

 ชนิดของแผลเบาหวาน

ชนิดของแผลเบาหวานแบ่งเป็นสามชนิดได้แก่แผลที่เกิดจากปลายประสาทอักเสบ แผลจากการขาดเลือดไปเลี้ยง และแผลจากโรคติดเชื้อการรักษาขึ้นกับสาเหตุของการเกิดแผล

 การรักษาแผลที่เท้าของผู้ป่วยโรคเบาหวาน

กลไกการเกิดแผลที่เท้าของผู้ป่วยโรคเบาหวานมีได้หลายกลไก การรักษาก็ขึ้นกับสาเหตุหรือกลไกการเกิดแผล โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น แผลจากปลายประสาทเสื่อมแผลจากขาดเลือด และแผลจากการติดเชื้อ

  1. แผลปลายประสาทเสื่อม

ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานจะพบว่ามีโรคแทรกซ้อน เป็นโรคปลายประสาทเสื่อมหรืออักเสบ ร้อยละ 58 ซึ่งจะส่งผลเสียดังนี้

1.1      จะทำให้มีอาการชา นอกจากนั้นหากมีความผิดปกติของเท้า เช่นนิ้วเท้ามีการหงิกงอก็จะทำให้เกิดแผลกดทับได้ ตำแหน่งที่พบบ่อยได้แก่ฝ่าเท้า   มักจะไม่มีอาการเจ็บปวด ขอบแผลนูนจากพังผืด ก้นแผลสีแดงเนื่องจากมีเนื้อเยื่อ

1.2     ประสาทอัตโนมัติเสื่อมทำให้ไม่มีเหงื่ออก เกิดผิวแห้ง ผิวแตกซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดแผลที่เท้าได้ง่าย

1.3    ข้อพิการหรือที่เรียกว่า Charcot’s joint เนื่องจากประสาทรับความรู้สึกและบอกตำแหน่งเสีย ทำให้เวลาเดินไม่สามารถกะระยะทางได้อย่างถูกต้องจึงเกิดการกระแทกของข้อทำให้เกิดข้อพิการ

2. แผลขาดเลือด

มักเกิดบริเวณปลายนิ้วเท้า แผลมักจะลุกลามจากปลายนิ้วมายังโคนนิ้วและลาม   มาถึงเท้า ขอบแผลเรียบ ก้นแผลมีสีซีด ไม่มีเลือดออก และอาจจะมีการตายของนิ้วเท้าข้างเคียงร่วมด้วย ในระยะแรกอาจจะมีอาการปวดเท้าเวลาเดินซึ่งอาการปวดจะดีขึ้นเมื่อหยุดพัก แต่ในระยะท้ายของการขาดเลือดจะมีอาการปวดบริเวณที่ขาดเลือด แผลเหล่านี้หายยาก การตรวจขา เท้า และผิวหนังพบว่าผิวหนังแห้ง เย็นซีด ขนร่วง เส้นแตกง่าย กล้ามเนื้อน่องรีบ คลำชีพขจรที่เท้าเบาลงหรือคลำไม่ได้

3. แผลที่ติดเชื้อ

แผลที่มีการอักเสบเฉียบพลันจะพบลักษณะบวมแดงร้อน กดเจ็บที่แผล และอาจจะมีหนองไหลออกมา ส่วนแผลที่อักเสบเรื้อรังจะมีอาการบวม แดงร้อน หากติดเชื้อรุนแรง อาจจะมีไข้ร่วมด้วย บางครั้งมีอาการโลหิตเป็นพิษ เช่น ชีพขจรเบา เร็ว ความดันโลหิตลดลง ซึมลง

ดังนั้นหากเกิดแผลที่เท้าต้องดูว่าแผลเกิดจากสาเหตุใด การรักษาจะตามสาเหตุ

การรักษาแผลโรคเบาหวาน

การรักษาแผลเบาหวานที่เท้าจะต้องประเมินว่าแผลเกิดจากอะไร ความรุนแรงระดับไหน หลังจากนั้นจึงให้การรักษา

 โรคแทรกซ้อนทางไต

เป็นโรคแทรกซ้อนที่ผู้ที่เป็นเบาหวานกลัวที่สุด เป็นแรกๆจะไม่มีอาการ หากมีอาการแล้วมักจะรักษาไม่หาย การดูแลเพื่อป้องกันโรคเบาหวานจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด

ผู้ป่วยเบาหวานที่มีโอกาสเป็นเป็นโรคไต ขึ้นกับปัจจัยดังนี้

  1. ระดับการควบคุมน้ำตาลให้ใกล้เคียงปกติให้มากที่สุด การควบคุมโรคเบาหวานได้ดีโอกาสเป็นโรคไตจะน้อยลง ท่านต้องปรึกษาแพทย์ว่าระดับน้ำตาลแค่ไหนถึงจะดี
  2. ระดับความดันโลหิต
  3. กรรมพันธุ์

เบาหวานเป็นสาเหตุที่สำคัญของโรคไตวายเรื้อรังเนื่องจาก ผู้ป่วยเบาหวานมีชีวิตยาวขึ้นมีอุบัติการณ์ของเบาหวานเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะชนิดที่สอง ร้อยละ 20-30 ของผู้ป่วยเบาหวานพบว่ามีไข่ขาวในปัสสาวะ แต่มีเพียงร้อยละ 20 ที่จะกลายเป็นโรคไต ซึ่งเราสามารถรู้ได้    ก่อนที่จะเกิดอาการไตวายโดยตรวจหาปริมาณหรือโปรตีน ไข่ขาวในปัสสาวะถ้ามากกว่า 30 มก./วัน หรือ 20 microgram/min เรียกว่า microalbuminuria พบว่าโรคเบาหวานชนิดที่หนึ่งถ้ามี microalbuminuria แล้วไม่ได้รักษาร้อยละ 50 จะเป็นโรคไตวายเรื้อรังใน 10 ปี       มากกว่าร้อยละ 75ในเวลา 20 ปี

สำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สองจะพบว่ามี microalbuminuria หลังการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานไม่นาน เนื่องจากผู้ป่วยเป็นเบาหวานมานานหลายปีก่อนการวินิจฉัย ร้อยละ 20-40 ของผู้ป่วยที่มี microalbuminuria จะกลายเป็นโรคไตวายเรื้อรัง แต่มีจำนวนน้อยกลายเป็นโรคไตวายเรื้อรัง เนื่องจากเสียชีวิตจากโรคหัวใจก่อน

 โรคแทรกเกี่ยวกับระบบประสาท

เส้นประสาทที่ยาวจะเกิดการอักเสบได้บ่อย ดังนั้นจึงจะพบว่าเกิดปลายประสาทอักเสบที่เท้าได้บ่อย และยังมีการเสื่อมของประสาทอัตโนมัติ

โรคเบาหวานทำให้เกิดการอักเสบของเส้นประสาท ทำให้เกิดอาการต่างตามที่เส้นประสาท ไปเลี้ยงได้แก่ ชาตามปลายมือปลายเท้า หรือบางรายอาจจะเกิดอาการที่อวัยวะภายในร่างกายเช่น ทางเดินอาหาร หัวใจ อวัยวะเพศทำให้เกิดอาการ แน่นท้อง ท้องร่วงหรือท้องผูก ปัสสาวะไม่ออก หย่อนยานทางเพศ ปลายประสาทหมายถึงเส้นประสาทที่ออกจากสมอง หรือไขสันหลัง ปลายประสาทอักเสบหมายถึงมีการทำลายเยื่อหุ้มเส้นประสาททำให้การทำงานของเส้นประสาทเสียไป

คำแนะนำเกี่ยวกับเบาหวาน

1. เบาหวาน เป็นโรคเรื้อรัง ต้องใช้เวลาการรักษานานหรือตลอดชีวิต หากไม่ได้รับการปฏิบัติที่ถูกต้องก็อาจมีอันตรายจากโรคแทรกซ้อนได้มาก

2. ผู้ที่กินยาหรือฉีดยารักษาเบาหวานอยู่ บางครั้งอาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำอาการได้แก่ ใจสั่น หน้ามืด ตาลาย ตัวเย็น เหงื่อออก ถ้าเป็นมากๆ อาจเป็นลม หมดสติ    และอาจจะชักได้ ควรจะต้องพก น้ำตาลหรือของหวานติดตัวไว้ ถ้ารู้สึกมีอาการก็ให้รีบรับประทาน แล้วทบทวนดูว่าเกิดอาการเหล่านี้ได้อย่างไร โดยสังเกตตัวเองจากการบริโภคอาหารเมื่อเป็นเบาหวานเช่น กินอาหารน้อยไปหรือไม่ ออกกำลังมากเกินไปหรือไม่ กินหรือฉีดยาเบาหวานเกินขนาดไปหรือไม่ แล้วควบคุมทั้ง 3 อย่างนี้ให้พอดีกัน สำหรับผู้ที่กินอาหารผิดเวลาก็อาจเกิดภาวะนี้ได้เช่นกัน ดังนั้นจึงควร รับประทานอาหารให้ตรงเวลาทุกมื้อด้วย

3. อย่าซื้อยากินเอง เนื่องจากยาบางประเภทมีผลต่อค่าน้ำตาลในเลือดได้ เช่น สเตอรอยด์ ยาขับปัสสาวะ และยาบางประเภทก็อาจทำให้ฤทธิ์ของยารักษาเบาหวานแรงขึ้นได้ ก็จะมีผลให้น้ำตาลในเลือดต่ำกว่าปกติ เช่น แอสไพริน ดังนั้นเมื่อเป็น เบาหวาน ก่อนทานยาประเภทใดควรจะต้องแน่ใจว่ายานั้นไม่มีผลต่อค่าน้ำตาลในเลือด

4. ผู้ที่มีญาติพี่น้องเป็นเบาหวาน ควรตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเป็นครั้งคราวเพื่อป้องกันตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม

การบริโภคอาหารเมื่อเป็น เบาหวาน

1.          เลือกบริโภคอาหารให้ครบ 5หมู่ โดยคำนึงถึงพลังงานที่ได้จากอาหารโดยประมาณจากคาร์โบไฮเดรต (แป้ง) ประมาณ 55-60% โปรตีน (เนื้อสัตว์) ประมาณ 15-20% ไขมัน ประมาณ 25%

2.          ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากควรจะต้องลดปริมาณการรับประทานลง โดยอาจจะค่อยๆลดลงให้เหลือเพียงครึ่งหนึ่งของปริมาณที่เคยรับประทานปรกติ และพยายามงดอาหารมันๆ

3.         รับประทานอาหารที่มีกากใยมากเพื่อช่วยในการขับถ่าย

4.          หลีกเลี่ยงการรับประทานจุกจิกและรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา

5.         พยายามรับประทานอาหารในปริมาณที่สม่ำเสมอกันในทุกมื้อ

6.         หากมีอาการเกี่ยวกับโรคไตหรือความดันโลหิตสูง ควรหลีกเลี่ยงอาหารรสเค็ม

7.          แม้ระดับน้ำตาลในเลือดจะปรกติดีแล้วก็ควรจะต้องควบคุมอาหารตลอดไป

ข้อแนะนำในการดูแลตัวเองของผู้ป่วย โรคเบาหวาน

          1. เบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่ต้องรักษาติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือตลอดชีวิต ซึ่งหากได้รับการรักษาอย่างจริงจัง อาจมีชีวิตเหมือนคนปกติได้ แต่ถ้ารักษาไม่จริงจังก็อาจมีอันตรายจากโรคแทรกซ้อนได้มาก

2. ควบคุมอาหาร การลดน้ำหนัก (ถ้าอ้วน) และการออกกำลังกาย มีความสำคัญมาก ในรายที่เป็นไม่มาก ถ้าปฏิบัติในเรื่องเหล่านี้ได้ดี อาจหายจากเบาหวานได้โดยไม่ต้องพึ่งยา ทั้งนี้ ผู้ป่วยควรอาหารที่มีผลต่อโรค ดังต่อไปนี้

– ลดการกินน้ำตาล และของหวานทุกชนิด รวมทั้งผลไม้หวานและน้ำผึ้ง และควรเลิกกินน้ำหวาน น้ำอัดลม ขนมหวาน เหล้าเบียร์

– ลดการกินอาหารพวกแป้ง เช่น ข้าว ข้าวเหนียว ขนมปัง ก๋วยเตี๋ยว บะหมี่ วุ้นเส้น เผือก มัน เป็นต้น

– ลดอาการพวกไขมัน เช่น ของทอด ของมัน ขาหมู หมูสามชั้น อาหารหรือขนมที่ใส่กะทิ หันไปกินอาหารพวกโปรตีน เนื้อแดง ไข่ นม ถั่วต่างๆ รวมทั้งเพิ่มผักและผลไม้ที่ไม่หวานจัดให้มากขึ้น

– ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่ไม่ควรหักโหม เช่น เดินเร็ว วิ่งเหยาะ ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ รำมวยจีน เล่นโยคะ กายบริหาร เป็นต้น

3. เลิกสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด มิเช่นนั้น อาจทำให้ผนังหลอดเลือดแดงแข็งเร็วขึ้น ซึ่งเป็นต้นเหตุของโรคแทรกซ้อนต่างๆ

4. หมั่นดูแลรักษาเท้าเป็นพิเศษ ระวังอย่าให้เกิดบาดแผลหรือการอักเสบ เพราะอาจลุกลามจนกลายเป็นแผลเน่าจนต้องตัดนิ้วหรือขาทิ้ง

ควรล้างเท้าให้สะอาดด้วยสบู่ เช็ดให้แห้ง โดยเฉพาะตรงซอกเท้า อย่าถูแรงๆ

เวลาตัดเล็บเท้า ควรตัดออกตรงๆ อย่าตัดโค้งหรือตัดถูกเนื้อ

อย่าเดินเท้าเปล่า ระวังเหยียบถูกของมีคม หนาม หรือของร้อน

อย่าสวมรองเท้าคับไป หรือใส่ถุงเท้ารัดแน่นเกินไป

ถ้าเป็นหูดหรือตาปลาที่เท้า ควรให้แพทย์รักษา อย่าแกะหรือตัดออกเอง

ถ้ามีตุ่มพอง มีบาดแผล หรือการอักเสบที่เท้าควรรีบไปให้แพทย์รักษา

5. ผู้ป่วยที่กินยาหรือฉีดยารักษาเบาหวานอยู่ บางครั้งอาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ คือมีอาการใจหวิว ใจสั่น หน้ามืด ตาลาย เหงื่อออก ตัวเย็นเหมือนเวลาหิวข้าว ถ้าเป็นมากๆ อาจเป็นลม หมดสติ หรือชักได้ ดังนั้น จึงต้องระวังดูอาการดังกล่าว และควรพกน้ำตาลหรือของหวานติดตัวประจำ ถ้าเริ่มรู้สึกมีอาการดังกล่าวให้ผู้ป่วยรีบกินน้ำตาลหรือของหวาน จะช่วยให้หาย

6. หมั่นตรวจปัสสาวะด้วยตัวเอง และตรวจเลือดที่โรงพยาบาลเป็นประจำ เพราะเป็นวิธีที่บอกผลการรักษาได้แน่นอนกว่าการสังเกตจากอาการเพียงอย่างเดียว

7. อย่าซื้อยาชุดกินเอง เพราะยาบางอย่างอาจเพิ่มน้ำตาลในเลือดได้ แต่หากมีความจำเป็นต้องใช้ยาเองต้องแน่ใจว่า ยานั้นไม่มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด

8. ควรมีบัตรประจำตัว (หรือกระดาษแข็งแผ่นเล็กๆ) ที่เขียนข้อความว่า “ข้าพเจ้าเป็นโรคเบาหวาน” พร้อมกับบอกชื่อยาที่รักษาพกติดกระเป๋าไว้ หากบังเอิญเป็นลมหมดสติ ทางโรงพยาบาลจะได้ทราบประวัติการเจ็บป่วยและให้การรักษาได้ทันท่วงที

9. ป้องกันโรคนี้ด้วยการรู้จักกินอาหาร ลดของหวานๆ อย่าปล่อยตัวให้อ้วน หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ และทำจิตใจให้ร่าเริงเบิกบาน อย่าให้เครียดหรือวิตกกังวล โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีญาติพี่น้องเป็นเบาหวาน ควรต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ และควรตรวจเช็คปัสสาวะหรือเลือดเป็นครั้งคราว เพราะหากพบเป็นเบาหวานในระยะเริ่มแรก จะสามารถควบคุมอาการของโรคได้

ผักและสมุนไพรที่มีฤทธิ์ช่วยต้านเบาหวาน

• เมล็ดธัญพืชไม่ขัดสี ข้าวซ้อมมือและธัญพืชไม่ขัดสีต่างๆจะประกอบไปด้วยวิตามินอี แมกนีเซียม และที่สำคัญคือใยอาหาร ในปริมาณที่สูง ซึ่งสารอาหารเหล่านี้มีผลโดยตรงต่อการควบคุมระดับน้ำตาลและปริมาณอินซูลินในกระแสเลือด อีกทั้งใยอาหารชนิดละลายน้ำได้ในธัญพืชไม่ขัดสีบางชนิด ซึ่งพบได้มากในข้าวบาร์เล่ย์และข้าวโอ๊ต มีสรรพคุณที่ดีเยี่ยมในการช่วยชะลอการย่อยและดูดซึมน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดส่งผลให้ระดับน้ำตาลไม่สูงมาก การรับประทานธัญพืชไม่ขัดสียังมีประโยชน์ในการช่วยป้องกันโรคหัวใจ ซึ่งเป็นโรคแทรกซ้อนหลักที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความเสี่ยงที่จะเป็นได้  ในอัตราสูงมาก

• ถั่วเปลือกแข็ง ถั่วเปลือกแข็งจะมีไขมันไม่อิ่มตัวซึ่งมีคุณสมบัติช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาลได้ อีกทั้งยังช่วยในการทำให้ร่างกายสามารถตอบสนองต่อการทำงานของอินซูลินได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้แล้วในถั่วเปลือกแข็งยังมีสารอาหาร ใยอาหาร และแมกนีเซียม ซึ่งมีประโยชน์ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้เป็นอย่างดีอีกด้วย แต่มีข้อพึงระวังในการรับประทานถั่วเปลือกแข็ง กล่าวคือ ให้ทานถั่วเปลือกแข็งแทนการทานเนื้อสัตว์ หรือแทนการทานพวกขนมขบเคี้ยวที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น พวกมันฝรั่ง หรือคุกกี้ เป็นต้น ทั้งนี้เพราะถั่วเปลือกแข็งมีไขมันและพลังงานที่ค่อนข้างสูงนั่นเอง โดยที่ไขมันที่ว่าเป็นประเภทไขมันดีชนิดเดียวกับที่มีในน้ำมันมะกอก ถ้าทานในปริมาณไม่มากก็ไม่เป็นอันตรายใดๆต่อร่างกาย

• กระเทียมและหัวหอม กระเทียมและหัวหอมมีสารที่มีคุณสมบัติที่ช่วยในการลดระดับน้ำตาลในกระแสเลือด อีกทั้งยังมีสารที่ช่วยละลายลิ่มเลือด ทำให้ลดปัญหาอาการหลอดเลือดตีบ และคุณสมบัติที่สำคัญยิ่งคือช่วยลดระดับไขมันในกระแสเลือดด้วย

• ตำลึง ในทุกๆส่วนของตำลึง ไม่ว่าจะเป็นราก ลำต้น ใบ และผล ล้วนสามารถที่จะช่วยลดระดับน้ำตาลในกระแสเลือดได้เป็นอย่างดี และมีสารเบต้าแคโรทีนซึ่งช่วยในการชะลอความแก่และต้านมะเร็ง ตำลึงจึงเป็นผักที่ต้องเป็นอาหารหลักเลยของผู้ป่วยโรคเบาหวาน

• สะตอ นับว่าเป็นอาหารยอดนิยมชนิดหนึ่ง และมีสรรพคุณที่สำคัญในการช่วยลด          ปริมาณน้ำตาลในกระแสเลือดและช่วยลดความดันได้ดีอีกด้วย

• ผักบุ้ง ผักบุ้งมีสรรพคุณทางยาที่เป็นที่รับรู้กันดีคือ ช่วยบำรุงสายตาเพราะอุดมไปด้วย   วิตามินเอ นอกจากนี้ผักบุ้งยังช่วยลดอาการร้อนในและอาการท้องผูกได้อย่างดีเยี่ยม        และที่สำคัญในผักบุ้งมีสารคล้ายอินซูลินทำให้สามารถช่วยลดปริมาณน้ำตาลในกระแสเลือดได้ จึงควรใช้ผักบุ้งทำเป็นอาหารให้ผู้ป่วยโรคเบาหวาน

• ใบมะยม ในใบมะยมมีวิตามินเอและวิตามินซีในปริมาณสูงมาก จึงสามารถช่วยลดปริมาณน้ำตาลในกระแสเลือดได้เป็นอย่างดี

• มะระจีน ในมะระจีนมีสารสำคัญที่ช่วยในการลดการดูดซึมของน้ำตาลกลูโคส และยังช่วยลดการเกิดต้อกระจกซึ่งเป็นอาการข้างเคียงของผู้ป่วยโรคเบาหวาน

• ขมิ้นและอบเชย จะมีสารที่ช่วยในการลดระดับน้ำตาลในกระแสเลือดได้อย่างดี

• ฟักทอง การรับประทานฟักทองทั้งเปลือกจะส่งผลดีให้ได้รับสารสำคัญซึ่งมีสรรพคุณช่วยกระตุ้นการหลั่งสารอินซูลินซึ่งช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือด ป้องกันการเกิดเบาหวาน ความดันโลหิต อีกทั้งฟักทองมีกากใยในปริมาณที่สูงมาก จึงช่วยทำให้ระบบการย่อยอาหารดีขึ้น ไม่ทำให้อ้วนเนื่องจากมีแคลอรี่ไม่สูง                      จึงทำให้สามารถป้องกันโรคเบาหวานได้

โรคเบาหวานนับได้ว่าเป็นโรคที่ร้ายแรงและเป็นจุดเริ่มต้นของโรคต่างๆอีกมากมาย ดังนั้นเราต้องหมั่นดูแลและใส่ใจในการรับประทานอาหาร โดยเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ไม่ตามใจปาก เพื่อเป็นการป้องกันและหลีกไกลจากโรคร้ายนี้

การดูแลเท้า

เท้าเป็นอวัยวะที่มีโรคแทรกซ้อนจากเบาหวานได้บ่อย เนื่องจากโรคแทรกซ้อนทางเส้นประสาท หลอดเลือดแข็ง และการติดเชื้อ การดูแลเท้าที่ดีจะป้องกันโรคแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นกับเท้าได้

หากผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานไม่อยากให้มีแผลหรือถูกตัด นิ้ว รวมทั้งเท้า ผู้ป่วยควรจะต้องดูแลเท้าตลอดชีวิตการดูแลเท้าจะมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในผู้ป่วยเบาหวานที่มีอาการดังต่อไปนี้

  1. มีอาการชาเท้า
  2. รูปร่าง สี ของเท้าผิดไป
  3. มีแผลที่เท้าซึ่งหายยาก
  4. ปวดเท้าเวลาเดิน
  5. เคยเป็นแผลที่เท้า

วิธีการดูแลตัวเองเพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนที่เท้า

  1. ควบคุมเบาหวานให้ใกล้เคียงปกติซึ่งจะชะลอการเกิดโรคแทรกซ้อน
  2. ควบคุมระดับน้ำตาลให้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด
  3. ร่วมมือกับแพทย์ในการวางแผนการรักษา
  4. รับประทานยาตามแพทย์สั่ง
  5. ควบคุมอาหารตามแพทย์สั่ง
  6. ดูแลเท้า และออกกำลังบริหารเท้าโดยเคร่งคัด
  7. ไปตรวจตามนัด
  8. ตรวจและดูแลผิวหนังทุกวันเวลาที่ดีคือเวลาเย็น
  9. ล้างเท้าด้วยน้ำธรรมดาวันละ2 ครั้งและซับให้แห้งโดยเฉพาะซอกนิ้ว ไม่ควรใช้แปรงหรือขนแข็งขัดเท้า
  10. ตรวจผิวหนังที่เท้า ดูว่ามีแผล การอักเสบ รอยแดง หากแผลไม่หายในสองวันควรปรึกษาแพทย์ มีหนังหนาหรือตาปลาหรือไม่ ถ้ามีแสดงว่าใส่รองเท้าไม่เหมาะสม
  11. สำหรับผู้สูงอายุหรือสายตาไม่ดีควรจะให้คนอื่นช่วยดู สภาพผิวว่าแห้งไปหรือไม่ มีรอยแตกย่นหรือไม่ เล็บหนาหรือมีเชื้อราหรือไม่ มีแผลอักเสบซอกเล็บหรือไม่ ผิวซอกนิ้วมีอับชื้นหรือไม่ อาจจะใช้กระจกส่อง หรือให้ญาติช่วยดู ถ้าผิวมีเหงื่อออกให้โรยแป้ง
  12. ระบบประสาท เริ่มมีอาการชาหรือปวดแสบบริเวณเท้าหรือไม่ หากมีอาการดังกล่าวแสดงว่าเริ่มมีปลายประสาทอักเสบ peripheral neuropathy
  13. ตัดเล็บให้สั้น หรือตัดเล็บให้ตรงไม่ต้องเล็มจมูกเล็บ
  14. การบริหารเท้า
  15. รักษาความดัน และไขมันในเลือด
  16. ออกกำลังกายอยู่เสมอปรึกษาแพทย์ก่อนออกกำลังกาย
  17. หากเท้าเย็นให้แก้ไขโดยการใส่ถุงเท้า
  18. ไม่ควรเดินเท้าเปล่า แม้จะอยู่ในบ้าน
  19. ห้ามตัดตาปลา
  20. ไม่ควรนั่งไขว่ห้าง เพราะทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก

น้ำแช่เท้าสมุนไพร

ขั้นตอนการทำน้ำแช่เท้า

1.          เตรียมสมุนไพรให้พร้อม สมุนไพรประกอบไปด้วย ไพล ใบยูคาลิปตัส ใบเป้า ขมิ้นชัน ตะไคร้ ใบมะขาม ใบส้มป่อย ใบพลับพลึง ใบมะกรูด ผลมะกรูด หญ้าเอ็นยืด การบรู พิมเสน เกลือ

2.          นำสมุนไพรที่เตรียมไว้มาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ

3.         นำสมุนไพรที่หั่นไว้แต่ละชนิด อย่างละ 1 กำมือ ไปต้มในน้ำเดือด

4.          นำมาผสมน้ำเปล่าให้ร้อนพอที่จะแช่มือแช่เท้าได้

5.         แช่ประมาณ 30 นาที หรือจนกว่าน้ำเย็น

สมุนไพรที่ใช้ในการแช่เท้าประกอบไปด้วย

ไพล                   สรรพคุณ   แก้ปวดเมื่อย  ครั่นเนื้อครั่นตัว

ใบยูคาลิปตัส        สรรพคุณ   ใช้สูดดมแก้หวัดคัดจมูก ทาถูนวด แก้ปวดบวมช้ำ

ใบเป้า                 สรรพคุณ   ช่วยดับกลิ่นคราว กลิ่นตัวและช่วยถอนพิษ ผิดสำแดง บำรุงผิว

ขมิ้นชัน               สรรพคุณ   แก้โรคผิวหนัง สมานแผล

ตะไคร้                สรรพคุณ   ดับกลิ่นคาว บำรุงธาตุไฟ

ใบมะขาม            สรรพคุณ   แก้อาการคันตามร่างกาย ช่วยให้ผิวหนังสะอาด

ใบพลับพลึง         สรรพคุณ   แก้อาการกซ้ำ เคล็ดขัดยอ บรรเทาอาการปวด บวม

ใบมกรูด              สรรพคุณ   ช่วยขับลม ทำให้เลือดลมไหลเวียนดี ช่วยบำรุงหัวใจ ระบบการไหลเวียนของโลหิต แก้ไอ ลดอาการอักเสบของกล้ามเนื้อ แก้ช้ำใน อาการเกร็ง

ผลมะกรูด           สรรพคุณ   มีฤทธิ์ร้อน ฟอกโลหิต ถอนพิษผิดสำแดง ช่วยขยายหลอดเลือด

หญ้าเอ็นยืด         สรรพคุณ   กำจัดพิษ รักษาการอักเสบของเอ็นและกล้ามเนื้อ

การบรู               สรรพคุณ   บำรุงธาตุ ขับเสมหะ ขับลม แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ ขับเหงื่อ

พิมเสน                 สรรพคุณ   มีกลิ่นหอม แก้ลมวิงเวียนหน้ามืด บำรุงหัวใจ ทำให้ชุ่มชื่น แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ แก้ปวดท้อง แก้บาดแผลสด

เกลือ                 สรรพคุณ   เป็นตัวนำยาซึมเข้าผิวหนัง

 น้ำคลอโรฟิลล์

สมุนไพรฤทธิ์เย็นปรับสมดุล บำบัด หรือบรรเทาภาวะร่างกายไม่สมดุลแบบร้อนเกิน

สมุนไพรที่ใช้ทำน้ำคลอโรฟิลล์

1.  ใบย่านางเขียว 5 – 20 ใบ

2.  ใบบัวบก ½ – 1 กำมือ

3.  หญ้าปักกิ่ง 3 – 5 ต้น

4.  ใบอ่อมแซบ ½ – 1 กำมือ

5.  ผักบุ้ง ½ – 1 กำมือ

6.  ใบเสลดพังพอน ½ – 1 กำมือ

7.  วานกาบหอย 3 – 5 ใบ  และสมุนไพรฤทธิ์เย็นอื่นๆ จะใช้อย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน ก็ได้ที่รู้สึกเหมาะสมถูกกับสุขภาพและร่างกายของเรา

วิธีทำ

โขลกให้ละเอียดหรือขยี้หรือปั่นในเครื่องปั่นไฟฟ้า แต่ปั่นในเครื่องไฟฟ้าจะทำให้ประสิทธิภาพลดลงประมาณ 20% ความร้อนจะไปทำลายความเย็นของสมุนไพร ผสมกับ น้ำเปล่า 1 – 3 แก้ว    กรองผ่านกระชอน เอาน้ำที่ได้มาดื่มครั้งละ ½ – 1 แก้ว วันละ 2 – 3 ครั้ง ก่อนอาหารหรือท้องร่วง ผสมเจอจางดื่มแทนน้ำเปล่าได้

ประโยชน์น้ำเขียว

1. ระบบเลือด บำรุงเลือด ล้างพิษ ทำลายอนุมูลอิสระในเม็ดเลือด แก้โรคโลหิตจาง ลดความดันโลหิตสูง

2. ระบบทางเดินอาหาร ล้างพิษโดยตรงในกระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก สมานแผลในกระเพาะอาหาร กระตุ้นเนื้อเยื่อให้ฟื้นตัว

3.  บำรุงปาก ฟัน ระงับกลิ่นปาก โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการโรคเหงือกอักเสบ

4.  รักษาแผลต่างๆ ทำหน้าที่ฟื้นฟูเนื้อเยื่อของแผลทุกชนิดทั้งภายในและภายนอกร่างกาย

5.  ระงับกลิ่น กลิ่นเหม็นจากแผลเรื้อรัง แผลในช่องปาก กลิ่นอุจจาระที่รุนแรง การผายลม หรือกลิ่นตัวแรงมาก

6.  ควบ คุมสมดุลของแคลเซียมในผู้บริโภคเนื้อมากเกินไปซึ่งจะขาดความสมดุลของธาตุ แคลเซียม  ทำให้ป่วยเป็นโรคกระดูกผุ โรคหัวใจ โรคกล้ามเนื้อ โรคผิวหนัง โรคเลือดไม่แข็งตัวเมื่อมีบาดแผล ประจำเดือนผิดปกติ

7.  ป้องกันโรคภูมิแพ้ เกิดจากการที่อากาศและอาหารเป็นพิษโดยสะสมติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน

หมายเหตุ สรรพคุณโดยทั่วไปของน้ำเขียวมีมากมาย แต่ถ้าเราต้องการจะเน้นสรรพคุณตัวไหนก็จะใส่สมุนไพรตัวนั้นในสัดส่วนที่มากกว่าปกติ เช่น โรคเบาหวานหรือโรคมะเร็ง ก็จะใส่สมุนไพรหญ้าปักกิ่งในสัดส่วนที่มากกว่าตัวอื่น

 

นโยบาย“สู้เบาหวาน ความดัน”

ด้วยการปฏิบัติตาม “3 อ. บอกลา 2 ส. และเพิ่ม 1 ฟ.” กรมอนามัย นำเสนอองค์ความรู้ให้ประชาชนได้รับรู้ถึงสถานะทางสุขภาพของตนเอง เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเอง เป็นการ”ปรับก่อนป่วย” และให้ประชาชนพึ่งตนเองได้โดยไม่พึ่งสถานบริการสาธารณสุข ด้วยการปฏิบัติตาม “3 อ. บอกลา 2 ส. และเพิ่ม 1 ฟ.”

ปฏิบัติตาม 3 อ. คือ

1. อ. อาหาร“กิน เพื่อ ลดพุง” หลักการคือ 2 ให้ 3 ไม่

2 ให้ คือ 1) ให้กินอาหารครบ 3 มื้อ ครบ 5 หมู่

2) ให้กินผักผลไม้(ไม่หวาน) มาก

3 ไม่ คือ 1) ไม่กินข้าวแป้งมาก

2 )ไม่กินหวาน มันมาก

3) ไม่กินจุบจิบ

 2 .อ.ออกกำลังกาย“ออกกำลังกาย เพื่อ ลดพุง”

ออกกำลังกายแบบแอโรบิคออกกำลังกายสัปดาห์ละ 5 – 6 วันๆละ 30 – 60 นาที

ขยับเท่ากับออกกำลังกาย

3. อ.อารมณ์

1.  สกัด สิ่งกระตุ้นที่ทำให้หิว

2.  สะกด ใจไม่ให้กินเกิน

3. สะกิด คนรอบข้างให้ช่วย

 

 บอกลา 2 ส. คือ ไม่บริโภค

1. ยาสูบ

2. สุรา

 

 เพิ่ม 1 ฟ.ฟัน (ถ้าสามารถควบคุมปริทนต์อักเสบได้ก็จะลดการเสี่ยงจากโรคเบาหวาน    ความดันโลหิตสูงได้)

1. เพิ่มการทำความสะอาดช่องปาก

2. เพิ่มการตรวจสุขภาพช่องปากในกลุ่มที่ตรวจคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ถ้าสามารถควบคุม

ปริทนต์อักเสบได้ ก็จะลดการเสี่ยงจากโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงได้

3. พัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพช่องปากตามปิงปอง 7 สีและดำเนินการในพื้นที่ทดลอง

 

สรุป

          เนื่องจากโรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้สาเหตุของโรคเบาหวานเกิดได้ 2 สาเหตุหลักๆ คือ เกิดจากพันธุกรรมและเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของบุคคล เมื่อเป็นโรคเบาหวานแล้วหากมีการดูแลตนเองไม่ดีหรือมีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ก็จะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนตามมา ซึ่งโรคแทรกซ้อนที่สำคัญคือ การเกิดแผลตามตัวโดยเฉพาะปลายมือปลายเท้า  ซึ่งแปลของผู้ป่วยโรคเบาหวานจะหายช้าและหายยาก เนื่องจากปริมาณน้ำตาลในเลือดอยู่ในระดับสูง ทำให้บางครั้งต้องตัดอวัยวะที่เกิดแผลส่วนนั้นทิ้งไป ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือการป้องกันไม่ให้เกิดแผลในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ด้วยการดูแลมือและเท้า ซึ่งวิธีหนึ่งในการดูแลมือและเท้าคือการแช่เท้าด้วยน้ำสมุนไพร เนื่องจากส่วนผสมที่ใช้จะเป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์ร้อน ซึ่งช่วยให้หลอดเลือดมีการขยายตัวส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนนั้นได้ดีขึ้น อีกวิธีหนึ่งก็คือการดื่มน้ำเขียวซึ่งในน้ำเขียวก็จะมีสมุนไพรอยู่หลายชนิดแต่ในกรณีของโรคเบาหวาน ก็จะใส่สมุนไพรหญ้าปักกิ่งในปริมาณที่มากกว่าปกติ และสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือการปฏิบัติตนตามหลัก 3 อ. 2 ส. 1ฟ.

โพสท์ใน คณะสาธารณสุขศาสตร์ | ใส่ความเห็น

รายงานผลการดำเนินการ โครงการลดเสี่ยง เลี่ยงโรคความดัน – เบาหวาน บ้านปงวัง หมู่ที่ 6 ตำบลพิชัย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

20140223_085737 20140223_090738

20140223_090928 20140223_092333

20140223_092919 20140223_101035

20140223_101444 20140223_102304

20140223_102540 20140223_102700 20140223_102755 20140223_103150

20140223_105346

 

รายงานผลการดำเนินการ

โครงการลดเสี่ยง เลี่ยงโรคความดัน – เบาหวาน

บ้านปงวัง หมู่ที่ 6  ตำบลพิชัย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2556

สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ

มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง

คำนำ

 โครงการลดเสี่ยง เลี่ยงโรคความดัน – เบาหวาน จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ทั้งเป็นการสร้างทัศนคติที่ดีในการเลือกรับประทานอาหารให้ถูกหลักโภชนาการที่เหมาะสมต่อภาวะสุขภาพ และ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการนำทักษะในการเลือกรับประทานอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ และเหมาะสมต่อภาวะสุขภาพไปใช้ในการส่งเสริมสุขภาพของตนเองและครอบครัว  เพื่อให้นักศึกษาสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ ชั้นปีที่  2 สามารถนำองค์ความรู้ในรายวิชาการส่งเสริมสุขภาพในชุมชน PUBH 220 มาบูรณาการในการบริการวิชาการแก่สังคม และการทำนุบำรุงศิลปและวัฒนธรรมได้

ผู้รับผิดชอบโครงการ                        

1. นางสาวเอมอร                เพชรบูรณ์ปี้                          ประธานโครงการ

2. นายกฤษฎา                    วัฒนกีบุตร                           รองประธาน

3. นายรัฐวุฒิ                       ตั้งเชิง                                   กรรมการ

4. นางสาววนิดา                 ดวงจันทร์                             กรรมการ

5. นางสาวศศิธร                 จันทร์หอม                            กรรมการ

6. นางสาวอธิชา                 บุญยืน                                  กรรมการ

7. นางสาวอนัญลักษณ์      ดีมาก                                   กรรมการ

8. นางสาวณัฏฐชา             พรมมิน                                 กรรมการ

9. นางสาวเรณุกา                ใจยะสุ                                  กรรมการ

10. นางสาวพรลภัส           ต๊ะพรหม                               กรรมการ

11. นางสาวสุพรทิพย์        ลิ้มเพชรชัยกุล                      กรรมการ

12. นางสาวลดาวัลย์           คนธสิงห์                               กรรมการ

13. นางสาวอารีย์รัตน์        อภัยรุณ                                 กรรมการ

14. นางสาวอารยา              การร้อย                                กรรมการ

15. นางสาวสีนวล          พิมพ์เสนา                                  กรรมการ

16. นางสาวจิราพร             เอี่ยมสะอาด                          เลขานุการ

17. นางสาวชณานุช          เจริญยิ่ง                                  ผู้ช่วยเลขานุการ

ระยะการดำเนินโครงการ  วันอาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 เวลา 08.00 น. – 12.00 น.

สถานที่ดำเนินโครงการ    วัดปงวัง บ้านปงวัง หมู่ 6 ตำบลพิชัย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

ผู้เข้าร่วมโครงการ

– ประชาชนบ้านปงวัง จำนวน 44 คน

– นักศึกษาสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง จำนวน 17 คน

– อาจารย์ จำนวน 1 ท่าน ได้แก่ อาจารย์สกุลศักดิ์ อินหล้า

งบประมาณ

งบประมาณสนับสนุนจากนักศึกษา สาขาสาธารณสุขศาสตร์ชั้นปีที่ 2 จำนวนเงิน 3,600 บาท

-ค่าของที่ระลึกประธานในพิธี                         300 บาท

-ค่าของที่ระลึกวิทยากรภาควิชากา  ร              300 บาท

-ค่าวัสดุอุปกรณ์                                                   200 บาท

-ค่าของว่างและเครื่องดื่ม                                  850 บาท

-ค่าเอกสารประกอบการบรรยาย                      450 บาท

-ค่าของที่ระลึกผู้เข้าร่วมโครงการ                    1,500 บาท

สิ่งที่ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับ

– นายวิรันดร์ ต๊ะสูง ตำแหน่ง ผู้ใหญ่บ้านปงวัง เป็นผู้ดูแลผู้ป่วย

“ในฐานะที่เป็นผู้ใหญ่บ้าน ได้มีนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเนชั่น ได้เข้ามาทำโครงการ เป็นการกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคต่างๆ ในชุมชน เป็นโครงการที่ว่าด้วยเรื่องความดันเบาหวานในกลุ่มเสี่ยงที่มีอยู่ในหมู่บ้าน ได้มาคัดกรองความดันเบาหวานในชุมชน ก็เป็นสิ่งที่ดีมากๆ เพราะว่าชุมชนก็จะได้รับโอกาส เพราะบางคนบางท่านไม่มีโอกาสไปโรงพยาบาล ไปคลินิก หรืออนามัย  ก็ต้องขอบคุณน้องๆ ที่มาอำนวยความสะดวกถึงที่บ้าน ก็ดีใจมากๆ ที่มีนักศึกษาออกมาดำเนินโครงการ ว่างๆ คราวหน้าคงมีโอกาสมาอีก ขอบคุณมากๆ”

–  นายทวี ศรีไชยวงศ์  ตำแหน่ง อบต.ปงวัง ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและไขมันในเส้นเลือด

“ทางน้อง ๆมาทำโครงการ ซึ่งรู้สึกว่าก็ดี เพราะว่าผู้ป่วยแต่ละท่านที่ได้มารับความรู้ มาอบรม จะได้ปฏิบัติตัวถูก ว่าเราเป็นโรคอะไร เราจะปฏิบัติอย่างไร ทำตัวอย่างไรให้มันถูกต้องกับโรคที่เป็นอยู่ ทุกวันนี้ การอยู่การกิน การออกกำลังกาย จะทำอย่างไรดี จะให้โรคของเราที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ลุกลามหรือเป็นไปมากกว่านี้”

– นางจำเนียน ศรีไชยวงค์ ตำแหน่ง อสม.ปงวัง ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน

“ความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการ ลดเสี่ยงเลี่ยงโรค ดิฉันได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานมากขึ้นจากโครงการนี้ ทำให้ทราบถึงประโยชน์จากอาหารที่ควรรับประทาน เช่น ไม่กินหวาน มัน เค็ม และควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จึงจะนำความรู้ที่ได้จากโครงการนี้มาแนะนำผู้ป่วยให้ปฏิบัติอย่างถูกต้องและเหมาะสม”

– นางอำพร เทพศิริ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

“จากการที่เข้าร่วมโครงการในครั้งนี้ ทำให้ดิฉันมีความรู้ในเรื่องของโรคความดันดลหิตสูงมากขึ้น และความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติใช้ในชีวิตประจำวัน  โดยการงดหวาน งดเค็ม กินผักมากขึ้น และหมั่นออกกำลังกายสุดท้ายนี้ก็อยากให้นักศึกษาจัดทำโครงการแบบนี้อีกบ่อยๆ”

 ปัญหาที่พบในกลุ่มผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

1. การควบคุมการรับประทาอาหารประเภทแป้ง เช่น ข้าวเหนียวเพราะผู้ป่วยต้องทำงาน หารายได้ในครอบครัวจึงเลือกรับประทานข้าวเหนียวมากกว่าข้าวสวยเพราะข้าวเหนียวรับประทานแล้วอิ่มมากกว่าทำให้มีแรงในการทำงานมากกว่า และพฤติกรรมการเลือกรับประทานอาหารที่มีรส หวาน มัน เค็ม เพราะความเคยชินในการรับประทานอาหาร ทำให้บางทีอาจจะลืมตัวไปบ้างว่าตัวเองเป็นโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน และไม่ค่อยใส่ใจกับอาหารที่ควรรับประทานและไม่ควรรับประทาน

2. ทัศนคติและความเชื่อที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้ชีวิต ด้วยเหตุผลที่ว่าผู้ป่วยยึดถือว่ารับประทานอาหารตามท้องถิ่น เป็นคนภาคเหนือต้องรับประทานข้าวเหนียว เพราะข้าวเหนียวทำให้รับประทานแล้วอิ่มนาน ทำให้การทำงานหารายได้ของผู้ป่วยจะไม่ค่อยมีปัญหาโดยไม่ได้คำนึงถึงว่าเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานต้องรับประทานในปริมาณเท่าใด

3. ผู้ป่วยมีความเข้าใจในเรื่องการรับประทานอาหารบางชนิดคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง เพราะเป็นความเข้าใจและรับข้อมูลมาแบบผิด ๆ

 การบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ

1.ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

2. ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถอธิบายวิธีการเลือกรับประทานอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ และเหมาะสมต่อภาวะสุขภาพ ตลอดจนอธิบายแนวทางการนำไปใช้ส่งเสริมสุขภาพของตนเองและครอบครัวได้

โพสท์ใน คณะสาธารณสุขศาสตร์ | ใส่ความเห็น

การหาปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรควัณโรคปอดของประชาชนในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกล้วยม่วง ตำบลกล้วยแพะ อำเภอเมืองจังหวัด ลำปาง

การหาปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรควัณโรคปอดของประชาชนในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกล้วยม่วง ตำบลกล้วยแพะ

อำเภอเมือง จังหวัด ลำปาง

Determinations of risk factor of Tuberculosis in people for area of responsibility at Ban Kluay Muang Health promoting Hospital, Tumbon Kluay Phae,

Amphoe Mueang, Lampang province.

วรรณทนา บัวอ่อน1, พัชรี แก้วแก้ง1, วราพร คุณใหญ่1, จันทร์สุดา แหวนะ1,อานนท์ จับใจนาย1, มัตติกา ธรรมริยา1, ณัฏฐา ธงทอง1, เบญจวรรณ นันทชัย1,

พฤกษ์ศราวุธ จักสวย1, ศิริลักษณ์ รัตนดวง2

 

 บทคัดย่อ

                งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรควัณโรคปอดของประชาชนในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกล้วยม่วง และเพื่อให้ประชาชนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกล้วยม่วงสามารถจัดการกับความเสี่ยงที่จะเกิดวัณโรคปอด   การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเรื่องการหาปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรควัณโรคปอดของประชาชนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกล้วยม่วง ตำบลกล้วยแพะ อำเภอเมือง จังหวัด ลำปางโดยเป็นการศึกษาเชิงพรรณนา (Descriptive Study) โดยได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ป่วยโรควัณโรคปอดในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกล้วยม่วง ตำบลกล้วยแพะ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง อายุ 15 ปีขึ้นไป ทุกเพศ ใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์ ที่สร้างโดย รุ่งทิพย์สุจริตธรรม (2550) ได้รับการตรวจสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหาและความเชื่อมั่นมาแล้วการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ใช้คอมพิวเตอร์ในการวิเคราะห์ข้อมูลในการหาค่า ร้อยละ ผลการวิจัย พบว่าพบว่า ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดวัณโรคปอด ได้แก่ เพศชายมากกว่าเพศหญิงคิดเป็นร้อยละ 63 และอยู่ในช่วงอายุ 46-60 ปี คิดเป็นร้อยละ 35.2  น้ำหนักในช่วง 41-50 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 38.9  ส่วนสูงอยู่ในช่วงประมาณ 150-170  เซนติเมตร คิดเป็นร้อยละ 42.6 มีจำนวนสมาชิกในครอบครัว 4-6 คน คิดเป็นร้อยละ 57.4 มีสถานภาพสมรส คิดเป็นร้อยละ 74 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา คิดเป็นร้อยละ 64.8 ในด้านการประกอบอาชีพในอดีต ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร และรับจ้างทั่วไป คิดเป็นร้อยละ 38.9 และด้านการประกอบอาชีพในปัจจุบัน ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป คิดเป็นร้อยละ 44.4 มีรายได้น้อยกว่า 5,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 72.2 มีระยะเวลาในการป่วยน้อยกว่า 6  เดือน – 1 ปี คิดเป็นร้อยละ 57.4 มีการเอาที่นอนออกตากแดด 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 81.5  ผู้ป่วยไม่เคยสวมถุงมือในการปฏิบัติงาน คิดเป็นร้อยละ 50 ใส่หน้ากากอนามัยขณะปฏิบัติงานบางครั้ง คิดเป็นร้อยละ 48.1 มีการพักผ่อน 8 ชั่วโมงต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 72.2 ออกกำลังกายบางครั้ง คิดเป็นร้อยละ 55.6  บ้านของผู้ป่วยที่ไม่มีการเก็บผลิตผลทางการเกษตรคิดเป็นร้อยละ 53.7

คำสำคัญ : วัณโรคปอด, ปัจจัยเสี่ยง

1 สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเนชั่น

2 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านกล้วยม่วง ตำบลกล้วยแพะ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

 

บทสรุป (Conclusion)

 ในการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษา เรื่องการหาปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรควัณโรคปอดของประชาชนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกล้วยม่วง ตำบลกล้วยแพะ อำเภอเมือง จังหวัด ลำปางเป็นการศึกษาเชิงพรรณนา (Descriptive Study) ได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ป่วยโรควัณโรคปอดในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกล้วยม่วง ตำบลกล้วยแพะ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง อายุ 15 ปีขึ้นไป ทุกเพศ ใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์ ที่สร้างโดย รุ่งทิพย์ สุจริตธรรม (2550) ได้รับการตรวจสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหาและความเชื่อมั่นมาแล้ว การศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยได้ใช้คอมพิวเตอร์ในการวิเคราะห์ข้อมูลในการหาค่า ร้อยละโดยการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ได้แก่  1.เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรควัณโรคปอดของประชาชนในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกล้วยม่วง 2.เพื่อให้ประชาชนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกล้วยม่วงสามารถจัดการกับความเสี่ยงที่จะเกิดวัณโรคปอดการศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นการศึกษาในผู้ป่วยวัณโรคปอด ซึ่งผลการวินิจฉัยโรคพบว่า ผู้ป่วยที่มีผลการตรวจเสมหะเป็นผลบวก คิดเป็นร้อยละ 59.3 ผู้ป่วยที่มีผลการตรวจเสมหะเป็นผลลบ คิดเป็นร้อยละ 40.7 และพบว่าผู้ป่วย มีผลการตรวจ Chest X-ray ที่มีผลเป็นบวก คิดเป็นร้อยละ59.3มีผลการตรวจ Chest X-ray ที่มีผลเป็นลบ คิดเป็นร้อยละ 40.7จากผลการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ สามารถสรุปได้ดังนี้ด้านข้อมูลทั่วไป พบว่า เพศชายมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 63 ด้านอายุ พบว่า ช่วงอายุ 46-60 ปี มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 35.2  และรองลงมาคือ ช่วงอายุ 61-75 ปี คิดเป็นร้อยละ 33.3 ด้านน้ำหนัก พบว่า น้ำหนัก 41-50 กิโลกรัมมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 38.9และรองลงมาคือ 51-60 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ33.3 ด้านส่วนสูง พบว่า ส่วนสูง 150 -160 เซนติเมตรมากที่สุดและ161 -170 คิดเป็นร้อยละ 42.6 ด้านสมาชิกในครอบครัวสมาชิกในครอบครัว 4-6 คนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 57.4และรองลงมาคือ 1-3 คน คิดเป็นร้อยละ 33.3 ด้านสถานภาพ พบว่า สถานภาพสมรสมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 74 และรองลงมาคือ สถานภาพหม้าย/หย่า คิดเป็นร้อยละ20.4 ด้านโรคประจำตัว พบว่า ไม่มีโรคประจำตัว คิดเป็นร้อยละ 53.7  ด้านระดับการศึกษา พบว่า จบการศึกษาระดับประถมศึกษามากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 64.8และรองลงมาคือ ไม่ได้เรียนหนังสือ คิดเป็นร้อยละ27.8ด้านการประกอบอาชีพในอดีต พบว่า ประกอบอาชีพเกษตรกร และรับจ้างทั่วไป คิดเป็นร้อยละ 38.9 ด้านการประกอบอาชีพในปัจจุบัน พบว่า ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป คิดเป็นร้อยละ 44.4 และรองลงมาคือว่างงานและประกอบอาชีพเกษตรกรรม คิดเป็นร้อยละ18.5 ด้านรายได้เฉลี่ยต่อเดือน พบว่า มีรายได้น้อยกว่า 5000 บาทมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 72.2 และรองลงมาคือ 5,001 – 10,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 22.2 ด้านระยะเวลาในการป่วยเป็นวัณโรค พบว่ามีระยะเวลาในการป่วยน้อยกว่า 6  เดือน – 1 ปีมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 57.4และรองลงมาคือ น้อยกว่า 6 เดือน คิดเป็นร้อยละ18.5 ด้านการสูบบุหรี่ พบว่าไม่เคยสูบบุหรี่ คิดเป็นร้อยละ 59.3 ด้านการดื่มสุราพบว่า ไม่ดื่มสุรา คิดเป็นร้อยละ 57.4 ด้านการเอาที่นอนออกตากแดด พบว่าทำ 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ มีจำนวนทั้งหมด 44 คน คิดเป็นร้อยละ 81.5 ด้านแต่งกายในการปฏิบัติงาน พบว่าผู้ป่วย เวลาก่อนที่จะปฏิบัติงาน เปลี่ยนชุดแต่งกาย เปลี่ยนทุกวัน คิดเป็นร้อยละ 94.4ด้านการสวมถุงมือในการปฏิบัติงาน พบว่าผู้ป่วยไม่เคยสวมถุงมือในการปฏิบัติงาน คิดเป็นร้อยละ 50 ด้านการใส่หน้ากากอนามัยในการปฏิบัติงานพบว่า ใส่หน้ากากอนามัยขณะปฏิบัติงาน ใส่บางครั้ง มีจำนวนทั้งหมด 26 คน คิดเป็นร้อยละ 48.1 ด้านการพักผ่อนนอนหลับของผู้ป่วยพบว่าพักผ่อน 8 ชั่วโมงต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 72.2 ด้านการออกกำลังกาย พบว่าผู้ป่วยออกกำลังกายบางครั้ง คิดเป็นร้อยละ 55.6 ด้านการรับประทานอาหารปรุงสุกพบว่าผู้ป่วยรับประทานอาหารปรุงสุกเป็นประจำ คิดเป็นร้อยละ 38.9 ด้านการรับรู้ทางด้านการรักษา พบว่า ผู้ป่วยที่คิดว่าวัณโรคเป็นโรคที่ต้องรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 6 เดือน ผู้ป่วยที่คิดว่าใช่ คิดเป็นร้อยละ 96.3 ผู้ป่วยที่คิดว่าการรับประทานยาหลายเม็ดไม่เป็นอุปสรรคในการรักษา คิดเป็นร้อยละ 68.5 ผู้ป่วยที่คิดว่าการเดินทางมารักษาวัณโรคในแต่ละครั้งไม่ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง คิดเป็นร้อยละ 77.8 ผู้ป่วยการมารับยาแต่ละครั้งทำให้ไม่เสียเวลาในการทำงานประจำคิดเป็นร้อยละ 66.7 ผู้ป่วยที่คิดว่าเมื่อรับประทานยาไปแล้วระยะหนึ่ง ปรากฏว่าไม่มีอาการของวัณโรค ไม่สามารถหยุดกินยารักษาวัณโรคได้ คิดเป็นร้อยละ 83.3 ผู้ป่วยที่คิดว่าไม่สามารถลด หรือหยุดยาเองได้ เมื่อเกิดอาการข้างเคียงจากยารักษาวัณโรค คิดเป็นร้อยละ 81.5 ผู้ป่วยที่ไม่คิดว่าการรับประทานยารักษาวัณโรคทุกวันติดต่อกันเป็นเวลานานทำให้รู้สึกเบื่อ คิดเป็นร้อยละ 72.2 ผู้ป่วยที่ไม่คิดว่าการมีพี่เลี้ยงกำกับการกินยา ทำให้ท่านกินยาได้อย่างสม่ำเสมอ คิดเป็นร้อยละ 74.1 ผู้ป่วยที่ไม่คิดว่าการมีพี่เลี้ยงกำกับการกินยา ทำให้รู้สึกรำคาญ คิดเป็นร้อยละ 85.2ผู้ป่วยที่คิดว่าสามารถกินยาได้เองโดยไม่ต้องมีผู้กำกับดูแล คิดเป็นร้อยละ 66.7 ผู้ป่วยที่ไม่คิดว่าพี่เลี้ยงทำให้มีความเข้าใจต่อวิธีการรักษาเป็นอย่างดี คิดเป็นร้อยละ 53.7 ผู้ป่วยที่คิดว่าการลืมกินยามื้อเดียวมีผลต่อการรักษา คิดเป็นร้อยละ 96.3 ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม พบว่า ด้านสภาพบ้านเรือน พบว่าผู้ป่วยเปิดหน้าต่างทุกบานในบ้าน คิดเป็นร้อยละ 83.3 สภาพแวดล้อมภายในบ้านมีสภาพ อากาศถ่ายเทสะดวก คิดเป็นร้อยละ 96.3 บ้านของผู้ป่วยไม่มีสัตว์เลี้ยงในบริเวณบ้าน คิดเป็นร้อยละ 70.4 บ้านของผู้ป่วยที่ไม่มีการเก็บผลิตผลทางการเกษตรคิดเป็นร้อยละ 53.7 ก่อนที่ผู้ป่วยจะรู้ว่าป่วยเป็นวัณโรคมีการทำความสะอาดบริเวณบ้านเรือนบางครั้ง คิดเป็นร้อยละ 59.3ผู้ป่วยมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำความสะอาดบ้านเรือน คิดเป็นร้อยละ 53.7 ด้านการประกอบอาชีพพบว่า ผู้ป่วยที่ไม่เคยใช้แก้วน้ำ ช้อน จาน ร่วมกับผู้อื่น คิดเป็นร้อยละ 74.1 ผู้ป่วยที่ไม่เคยรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น คิดเป็นร้อยละ 55.6ผู้ป่วยที่มีวิธีการกำจัดวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรโดยวิธีการอื่นๆ ด้านข้อมูลข่าวสาร ผู้ป่วยได้รับความรู้เกี่ยวกับวัณโรคจากสื่ออื่นๆ (บุคลากรทางการแพทย์) คิดเป็นร้อยละ 64.8

 

โพสท์ใน คณะสาธารณสุขศาสตร์ | ใส่ความเห็น

ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเกิดโรคมะเร็งของประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านฮ่องห้า ตำบลน้ำโจ้ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง

10485378_793292337382628_1642523949_n

10514993_793292340715961_1269704288_n

10559122_793292344049294_848723760_n

ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเกิดโรคมะเร็งของประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านฮ่องห้า ตำบลน้ำโจ้ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง

ฉัตรชัย หมื่นก้อนแก้ว*­,ธนัชพร มณีวรรณ, สุภา ศรีรุ่งเรือง, กรุณา ยะสะโน,นภดล แนบนิล,วัชรินทร์ พุกอุด, อรุณี ทวีชีพ,ณัฐวรรณ ตันชะและอรพิมล ดวงติ๊บ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง และเปรียบเทียบปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งระหว่างกลุ่มผู้ป่วยกับกลุ่มญาติผู้ป่วย รวมทั้งเปรียบเทียบปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งระหว่างกลุ่มผู้ป่วยกับกลุ่มประชาชนที่อยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านฮ่องห้า ตำบลน้ำโจ้ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปางกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มผู้ป่วยโรคมะเร็ง กลุ่มญาติผู้ป่วยโรคมะเร็ง และกลุ่มประชาชนทั่วไป จำนวน 341 คน ซึ่งได้จากกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของ Hendelที่ระดับความเชื่อมั่น 95% เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบสอบถาม ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลทั่วไป ปัจจัยด้านบุคคล ประกอบด้วย ปัจจัยเสี่ยงด้านอาหาร และปัจจัยเสี่ยงด้านการใช้ชีวิต และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย ปัจจัยเสี่ยงด้านภายในบ้าน และปัจจัยเสี่ยงด้านภายในสถานที่ทำงาน ซึ่งทดสอบคุณภาพของเครื่องมือ โดยการหาความเที่ยงตรงของเครื่องมือจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน และหาความเชื่อมมั่นของเครื่องมือโดยไปทดสอบ กับกลุ่มที่คล้ายคลึงตัวอย่างจำนวน 30 คน ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาคอนบรากเท่ากับ 0.79 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย แบบ t-test

ผลการวิจัยเกี่ยวกับปัจจัยด้านบุคคลที่มีผลต่อการเกิดโรคมะเร็งพบว่าปัจจัยเสี่ยงด้านพฤติกรรมการรับประทานอาหาร มีระดับความเสี่ยงปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.18 +1.01โดยพฤติกรรมพบมากที่สุด คือการรับประทานอาหารแห้งในกลุ่มพืชที่ใช้สำหรับเครื่องปรุงอาหารและปัจจัยเสี่ยงด้านการใช้ชีวิต พบว่า มีระดับความเสี่ยงปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.76 +1.14 โดยพฤติกรรมพบมากที่สุด คือวิธีการจัดการความเครียดด้วยตนเอง ในส่วนของด้านสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการเกิดโรคมะเร็ง พบว่าปัจจัยเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมภายในบ้าน มีระดับความเสี่ยงปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.20 +1.24 โดยพฤติกรรมพบมากที่สุด คือการใช้เคมีทำความสะอาดอุปกรณ์ และปัจจัยเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมภายในสถานที่ทำงาน มีระดับความเสี่ยงต่ำ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.44 +0.84 โดยพฤติกรรมพบมากที่สุด คือการทำงานที่สัมผัสกับควัน

สำหรับผลการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มผู้ป่วยกับกลุ่มญาติผู้ป่วย พบว่า มีความแตกต่างทางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (P < 0.033) คือปัจจัยเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมภายในบ้านโดยกลุ่มผู้ป่วยมีค่าเฉลี่ยความเสี่ยงสูงกว่ากลุ่มญาติผู้ป่วย (2.21 + 0.93> 2.12 + 0.97) และผลการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มผู้ป่วยกับกลุ่มบุคคลทั่วไป พบว่า มีความแตกต่างทางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (P < 0.001) คือปัจจัยเสี่ยงด้านพฤติกรรมการรับประทานอาหาร โดยกลุ่มผู้ป่วยมีค่าเฉลี่ยความเสี่ยงน้อยกว่ากลุ่มบุคคลทั่วไป (1.90 + 0.50 < 2.24 + 0.51)

สรุปจากผลการวิจัยครั้งนี้พบว่าประชาชนในพื้นที่ ที่ทำการศึกษายังคงมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง ดังนั้นข้อมูลที่ได้จากการศึกษาดังกล่าวสามารถนำไปเป็นฐานข้อมูลในการกำหนดนโยบายและวางแผนส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคมะเร็งในพื้นที่รับผิดชอบให้เหมาะสมได้

 

การอภิปรายผล

การศึกษาเรื่องปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านฮ่องห้า ตำบลน้ำโจ้ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงด้านต่างๆ ประกอบด้วยปัจจัยด้านบุคคลเกี่ยวกับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ปัจจัยด้านบุคคลพฤติกรรมการใช้ชีวิต ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมภายในบ้าน และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมภายในสถานที่ทำงาน

จากการสอบถามข้อมูลทั่วไปจากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มผู้ป่วย กลุ่มญาติผู้ป่วย และกลุ่มบุคคลทั่วไป ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านฮ่องห้า พบว่าประชาชนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 59.90 และประชาชนที่มีช่วงอายุ 49-56 ปี คือกลุ่มตัวอย่างที่พบมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 19.76 โดยมีการศึกษาส่วนใหญ่อยู่ในระดับประถมศึกษา คิดเป็นร้อยละ 59.88 และประกอบอาชีพเกษตรกรเป็นหลัก คิดเป็นร้อยละ 31.43 ทั้งนี้ประชาชนร้อยละ 80.88 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 9,000 บาท และส่วนใหญ่ร้อยละ 58.98 เข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี สำหรับประวัติการป่วยและเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งในครอบครัว พบว่ามีครอบครัวที่ป่วยด้วยโรคมะเร็ง แล้วยังมีชีวิตอยู่ คิดเป็นร้อยละ 6.58 และเป็นผู้ป่วยที่เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง คิดเป็นร้อยละ 16.76 โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่เคยมีญาติที่เคยป่วย และเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งซึ่งเป็นญาติสายตรง คิดเป็นร้อยละ 96.10

สำหรับการศึกษาปัจจัยเสี่ยงด้านบุคคล ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านบุคคลเกี่ยวกับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และปัจจัยด้านบุคคลพฤติกรรมการใช้ชีวิต ผลการศึกษาปัจจัยเสี่ยงด้านบุคคลเกี่ยวกับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร พบว่าประชาชนส่วนใหญ่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคมะเร็งในเรื่องของการรับประทานอาหารแห้ง ได้แก่ พริกแห้ง หอม กระเทียม ถั่วลิสง และเครื่องเทศต่างๆ เนื่องจากเป็นวัตถุดิบที่ประชาชนนิยมนำมาใช้เป็นเครื่องปรุงในการประกอบอาหารรับประทานเป็นประจำ ซึ่งอาหารกลุ่มนี้อาจมีสาเหตุของความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง คือการได้รับสารเคมีตกค้างจากการเพาะปลูกทางการเกษตรสะสมในร่างกาย เนื่องจากเป็นวัตถุดิบที่ใช้สารเคมีเพื่อเพิ่มผลผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภคส่วนใหญ่ จึงส่งผลให้วัตถุดิบดังกล่าวไม่มีความปลอดภัย สำหรับความเสี่ยงอีกด้านหนึ่ง คืออาจได้รับสารพิษ และสารก่อมะเร็ง จากวัตถุดิบที่มีการเก็บรักษาไม่เหมาะสม เช่น การเก็บรักษาอาหารไว้ในที่ที่มีความชื้นสูง อาจทำให้มีเชื้อราเกิดขึ้นในอาหารได้ง่าย ทำให้อาหารไม่มีความปลอดภัยเนื่องจากมีการสร้างสารพิษจากเชื้อราตกค้างในอาหาร และหากอาหารนั้นถูกเก็บรักษาไว้เป็นเวลานานยิ่งทำให้อาหารเกิดสารพิษตกค้างมากขึ้น โดยเฉพาะสารอะฟลาทอคซิน ซึ่งเป็นสารพิษชนิดหนึ่งที่เป็นความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง สำหรับความเสี่ยงรองลงมา พบว่าประชาชนนิยมรับประทานผักชนิดต่างๆ ซึ่งมีความเสี่ยงที่แฝงคือการมีสารเคมีตกค้างเช่นเดียวกับการรับประทานอาหารแห้ง เนื่องจากประชาชนนิยมซื้อผักมารับประทานแต่อาจมีวิธีการลดสารเคมีตกค้างในผักที่ไม่เหมาะสม จึงทำให้ได้รับการสะสมสารเคมีตกค้างในร่างกายเป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งได้ในระยะยาว เมื่อพิจารณาจากกลุ่มตัวอย่างเป็นรายกลุ่ม พบว่าทั้ง 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ป่วย กลุ่มญาติผู้ป่วย และกลุ่มบุคคลทั่วไป มีความเสี่ยงสูงในเรื่องของการรับประทานอาหารแห้ง ทั้งนี้ความเสี่ยงที่แต่ละกลุ่มจะได้รับจะแตกต่างกันไป โดยในกลุ่มผู้ป่วยอาจมีโอกาสที่โรคจะมีความรุนแรงของโรคเพิ่มขึ้น หรือในกลุ่มผู้ที่หายจากโรคแล้วอาจกลับมาเป็นโรคใหม่ได้อีกครั้ง เนื่องจากการได้รับสารเคมีทางการเกษตร และสารพิษจากเชื้อราในอาหารสะสมในร่างกาย ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการดังกล่าว ซึ่งผลการวิจัยคล้ายคลึงกับงานของ กนกกาญจน์ บำรุงกิจ (2555) ศึกษาเกี่ยวกับการกลายพันธุ์ของยีน ทีพี 53 ของผู้ป่วยมะเร็งปอดในภาคเหนือของประเทศไทย และความสัมพันธ์กับปัจจัยเสี่ยงผลจากการศึกษา พบว่าการใช้ยาฆ่าแมลง หรือสารเคมีกำจัดศัตรูพืช และการอาศัยอยู่ในบ้านที่มีอากาศถ่ายเทไม่ดี ได้แก่ บ้านซีเมนต์ หรือบ้านที่มีห้องครัวอยู่ภายในบ้าน มีผลต่อการกลายพันธุ์ของยีนทีพี 53 ในผู้ป่วยมะเร็งปอด ทางด้านกลุ่มญาติผู้ป่วย อาจได้รับสารเคมีทางการเกษตร และสารพิษจากเชื้อราในอาหารสะสมในร่างกาย และทำให้เกิดเป็นโรคมะเร็งขึ้นได้ เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีความเกี่ยวเนื่องทางพันธุกรรมกับผู้ป่วยโรคมะเร็ง จึงมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งสูงกว่าบุคคลทั่วไป และในกลุ่มบุคคลทั่วไป หากได้รับการสะสมของสารเคมีทางการเกษตร และสารพิษจากเชื้อราในอาหารสะสมในร่างกายอย่างต่อเนื่องอาจมีโอกาสเกิดเป็นโรคมะเร็งขึ้น

เมื่อพิจารณาผลการศึกษาปัจจัยเสี่ยงด้านบุคคลเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้ชีวิต พบว่าประชาชนส่วนใหญ่มีวิธีการจัดการความเครียดที่ไม่เหมาะสม เช่น การสูบบุหรี่ การรวมกลุ่มกันดื่มสุราหลังจากเลิกงาน และการรับประทานอาหารสุกๆ ดิบๆ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ วนิดา โชควาณิชย์พงษ์ (2552) ศึกษาเกี่ยวกับการสำรวจพฤติกรรม และทัศนคติการบริโภคปลาดิบ และการเกิดมะเร็งท่อน้ำดี พบว่ามีการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ ที่เกิดจากการบริโภคปลาน้ำจืด ทั้งเพศชาย และเพศหญิง ส่วนใหญ่นิยมบริโภคปลาดิบ เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคพยาธิใบไม้ในตับ มีผลเสี่ยงต่อปัจจัยที่ก่อให้เกิดเป็นโรคมะเร็งท่อน้ำดี อีกทั้งขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้เมื่อทำเป็นประจำมีโอกาสกระตุ้นการเกิดโรคมะเร็งขึ้นได้ เพราะร่างกายเสื่อมโทรมจากการดื่มสุรา การสะสมสารพิษจากการสูบบุหรี่ และร่างกายกำจัดสารพิษออกจากร่างกายไม่เพียงพอเพราะออกกำลังกายไม่สม่ำเสมอ เป็นสาเหตุทำให้เซลล์ในร่างกายเสื่อมโทรม มีการทำงานผิดปกติ และส่งผลให้เกิดเป็นเซลล์ก่อโรคมะเร็งขึ้นได้ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ สุพรรณี พรหมเทศ (2553) ศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งในคนไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่าการสูบบุหรี่ และการดื่มสุรา มีความสัมพันธ์ต่อความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งปอดในเพศชาย โดยเมื่อมีอายุเพิ่มมากขึ้นยิ่งมีความเสี่ยงสูงต่อการทำให้เกิดเป็นโรคมะเร็งปอดมากขึ้นตามไปด้วย เมื่อพิจารณาจากกลุ่มตัวอย่างเป็นรายกลุ่ม พบว่าทั้ง 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ป่วย กลุ่มญาติผู้ป่วย และกลุ่มบุคคลทั่วไป มีการจัดการความเครียดที่ไม่เหมาะสม รวมไปถึงขาดการออกกำลังกายอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะกลุ่มบุคคลทั่วไปมีพฤติกรรมในการใช้ชีวิตที่มีความเสี่ยงสูง คือสูบบุหรี่และมีการรวมกลุ่มกันดื่มสุราหลังจากเลิกงานเป็นประจำ รับประทานอาหารสุกๆ ดิบๆ เป็นประจำ รวมถึงขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอด้วย ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้จะเป็นตัวกระตุ้นทำให้ร่างกายเกิดความเสื่อมโทรม และมีโอกาสเกิดเป็นโรคมะเร็งได้ในที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ Kiyomi Sakata and et all. (2005). ศึกษาเกี่ยวกับการดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคมะเร็งหลอดอาหารในคนญี่ปุ่น พบว่าเพศชาย ในประชากรทั่วไปวัย 40-79 ปี โดยเครื่องมือที่ใช้ คือแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยต่างๆ ในวิถีการดำรงชีวิตเกี่ยวกับอัตราการตายด้วยการสูบบุหรี่ และการดื่มสุรา พบผู้ที่สูบบุหรี่ และผู้ที่หยุดสูบบุหรี่แล้ว มีอัตราเสี่ยงต่อการตายสูงกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ รวมทั้งผู้ที่ดื่มสุรา และผู้ที่หยุดดื่มสุราแล้ว มีอัตราเสี่ยงต่อการตายสูงกว่าผู้ที่ไม่ดื่มสุรา จะมีปริมาณที่มากขึ้นก่อให้เกิดเป็นโรคมะเร็งหลอดอาหารจากการสูบบุหรี่และดื่มสุราเพิ่มมากขึ้น สำหรับกลุ่มผู้ป่วย และกลุ่มญาติผู้ป่วย มีการจัดการความเครียดบางอย่างที่ไม่เหมาะสม เช่น ยังมีการสูบบุหรี่ รวมถึงดื่มแอลกอฮอล์เป็นบางครั้ง ทั้งนี้หากกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งยังมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม อาจมีโอกาสที่อาการของโรคมะเร็งจะมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น และในกลุ่มของญาติผู้ป่วย ความเสี่ยงที่จะเกิดเป็นโรคมะเร็งมากกว่ากลุ่มบุคคลทั่วไป เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีความเกี่ยวเนื่องทางพันธุกรรมกับผู้ป่วยโรคมะเร็ง ทั้งนี้หากมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งรวมด้วย มีโอกาสทำให้บุคคลกลุ่มนี้เกิดเป็นโรคมะเร็งสูงขึ้นตามไปด้วย

ในส่วนของการศึกษาปัจจัยเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมภายในบ้าน และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมภายในสถานที่ทำงาน ผลการศึกษาปัจจัยเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมภายในบ้าน พบว่าประชาชนส่วนใหญ่มีการใช้สารเคมีที่เกี่ยวข้องกับการทำความสะอาดอุปกรณ์ที่สัมผัสกับอาหาร และสารเคมีที่ใช้ในการทำความสะอาดภายในบ้าน เช่น ผงซักฟอก น้ำยาทำความสะอาดพื้น น้ำยาล้างห้องน้ำ เป็นต้น ความเสี่ยงที่จะได้รับจากการใช้สารเคมีเหล่านี้ โดยเฉพาะสารเคมีที่ใช้ในการทำความสะอาดอุปกรณ์ที่สัมผัสกับอาหาร เกิดจากมีสารเคมีตกค้างในภาชนะ ทำให้เกิดการปนเปื้อนสารเคมีลงสู่อาหาร เมื่อบุคคลภายในบ้านรับประทานอาหารเข้าไปทำให้เกิดการสะสมสารเคมีในร่างกายได้ ซึ่งสอดคล้องกับ Ami R Zota (2010) ศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยด้านเคมี และสิ่งแวดล้อมจากการใช้สารเคมีทำความสะอาดภายในบ้านที่มีผล และเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเต้านม พบว่าการใช้สารเคมีทำความสะอาดภายในบ้านและสารเคมีที่ใช้สำหรับปรับอากาศภายในบ้านมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น

เมื่อพิจารณาจากกลุ่มตัวอย่างเป็นรายกลุ่ม พบว่าทั้ง 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ป่วย กลุ่มญาติผู้ป่วย และกลุ่มบุคคลทั่วไป มีการใช้สารเคมีที่เกี่ยวข้องกับการทำความสะอาดอุปกรณ์ที่สัมผัสกับอาหาร และสารเคมีที่ใช้ในการทำความสะอาดภายในบ้านในปริมาณสูง โดยเฉพาะในกลุ่มบุคคลทั่วไป มีการใช้สารเคมีเหล่านี้ในปริมาณสูงจึงมีโอกาสที่สารเคมีจะสะสมในร่างกายได้สูงตามไปด้วย หากไม่มีการตระหนักในเรื่องการปนเปื้อนของสารเคมีที่ใช้ทำความสะอาดอุปกรณ์ที่สัมผัสกับอาหาร ทั้งนี้การที่บุคคลได้รับการสะสมสารเคมีในร่างกายอย่างต่อเนื่อง และมีพฤติกรรมเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งต่างๆ ร่วมด้วยไม่ว่าจะเป็น การรับประทานอาหารที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง หรือพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม ยอมมีโอกาสที่เป็นสาเหตุในการก่อให้เกิดโรคมะเร็งสูงขึ้น สำหรับในกลุ่มผู้ป่วย และกลุ่มญาติผู้ป่วย ความเสี่ยงที่ได้รับเช่นเดียวกับกลุ่มบุคคลทั่วไป แต่มีโอกาสเกิดโรคมะเร็งได้ง่ายในกลุ่มของญาติผู้ป่วย ซึ่งมีความเสี่ยงในเรื่องของการเกิดโรคมะเร็งที่แฝงมากับยีนทางพันธุกรรม และในกลุ่มของผู้ป่วยอาจเกิดการกระตุ้นให้เกิดความรุนแรงของโรคมะเร็งเพิ่มขึ้นในบุคคลที่เป็นโรคมะเร็งอยู่ หรืออาจทำให้เกิดเป็นโรคมะเร็งได้ ใหม่ในบุคคลที่เป็นโรคมะเร็งมาก่อน

ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมภายในสถานที่ทำงาน พบว่าประชาชนส่วนใหญ่มีโอกาสสัมผัสกับควันไฟ เนื่องจากประชาชนประกอบอาชีพทางการเกษตรกรรมเป็นหลัก และมีการประกอบอาหารโดยใช้วัสดุที่เป็นเชื้อเพลิงทางธรรมชาติ ดังนั้นจึงมีโอกาสสัมผัสกับควันไฟตลอดเวลา เช่น ควันไฟจากการเผาถ่าน การประกอบอาหารโดยใช้ฟืน การเผาขยะภายในบ้าน รวมถึงการเผาฟางข้าวเพื่อทำการเกษตร จากการที่ประชาชนสัมผัสกับควันไฟมีโอกาสได้รับสารพิษจากควันไฟที่เกิดจากการเผาไหม้วัสดุต่างๆ สะสมภายในร่างกายตลอดเวลาส่งผลให้เกิดเป็นโรคระบบทางเดินหายใจชนิดต่างๆ ขึ้นได้ และหากมีอาการอย่างต่อเนื่องอาจส่งผลต่อการเกิดโรคมะเร็งระบบทางเดินหายใจขึ้นได้ โดยเฉพาะโรคมะเร็งปอด ทั้งนี้หากมีพฤติกรรมเสี่ยงอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น การสูบบุหรี่เป็นประจำ และการทำงานในสถานที่ที่มีฝุ่นละอองสูง ยอมทำให้มีโอกาสเกิดโรคมะเร็งได้สูงขึ้นตามไปด้วย ซึ่งได้ผลการวิจัยคล้ายคลึงกับงานของ Dario Consonni and et all. (2009) ศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงในการก่อให้เกิดเป็นโรคมะเร็งปอดจากการสูบบุหรี่ รวมทั้งสารเคมีต่างๆในสถานที่ทำงาน พบว่ากลุ่มที่ทำงานในอาชีพที่มีความเสี่ยงสูง คือกลุ่มที่ทำงานที่สัมผัสกับสารเคมีเป็นประจำ เช่น งานที่เกี่ยวกับการผลิต เซรามิค และงานที่เกี่ยวกับสารเคมีเป็นสารระเหย ร่วมกับการมีพฤติกรรมเสี่ยง คือการสูบบุหรี่ และการดื่มแอลกอฮอร์ ทำให้มีโอกาสเกิดโรคมะเร็งสูงขึ้น เมื่อพิจารณาจากกลุ่มตัวอย่างเป็นรายกลุ่ม พบว่าทั้ง 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ป่วย กลุ่มญาติผู้ป่วย และกลุ่มบุคคลทั่วไป มีความเสี่ยงจากการได้รับสารพิษจากควันไฟของการเผ้าไหม้วัสดุต่างๆ สะสมในร่างกาย โดยเฉพาะของกลุ่มบุคคลทั่วไป และกลุ่มญาติผู้ป่วย ซึ่งมีโอกาสได้รับควันไฟจากแหล่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ควันไฟจากการเกษตร ควันไฟจากการประกอบอาหาร ทำให้ร่างกายได้รับสารพิษเข้าสู่ร่างกายอย่างต่อเนื่องมีโอกาสเกิดโรคระบบทางเดินหายใจได้ง่าย และหากเป็นโรคในระบบทางเดินหายใจเรื้อรังอาจเป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งขึ้นได้ ทั้งนี้ในกลุ่มของญาติผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อการเกิดเป็นโรคมะเร็งได้สูงกว่ากลุ่มบุคคลทั่วไปด้วย เนื่องจากมียีนแฝงของการเกิดโรคมะเร็งอยู่ภายในร่างกาย สำหรับกลุ่มผู้ป่วยมีโอกาสสัมผัสกับควันไฟจากการประกอบอาหารเป็นส่วนใหญ่ แต่หากได้รับการสัมผัสอย่างต่อเนื่องอาจกระตุ้นโรคมะเร็งให้มีความรุนแรงสูงขึ้น หรือมีโอกาสเกิดเป็นโรคมะเร็งที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจได้

ในส่วนของการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มผู้ป่วยกับกลุ่มญาติผู้ป่วยทั้งหมด พบว่าปัจจัยที่มีค่าความแตกต่างกันมากที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (P < 0.033) คือปัจจัยเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมภายในบ้าน โดยค่าเฉลี่ยรวมปัจจัยเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมภายในบ้านของกลุ่มผู้ป่วย มีค่าเท่ากับ 2.21 + 0.93 และกลุ่มญาติผู้ป่วย มีค่าเท่ากับ 2.12 + 0.97 หากพิจารณาจากค่าความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งจะเห็นได้ว่ากลุ่มของผู้ป่วยมีค่าเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มญาติผู้ป่วย ดังนั้นกลุ่มผู้ป่วยอาจมีโอกาสที่โรคจะทวีความรุนแรงของโรคเพิ่มขึ้น หรือในกลุ่มผู้ที่หายจากโรคแล้วอาจกลับมาเป็นโรคใหม่ได้อีกครั้ง ซึ่งสอดคล้องกับ Ami R Zota (2010) ศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยด้านเคมี และสิ่งแวดล้อมจากการใช้สารเคมีทำความสะอาดภายในบ้านที่มีผล และเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเต้านม พบว่าการใช้สารเคมีทำความสะอาดภายในบ้านและสารเคมีที่ใช้สำหรับปรับอากาศภายในบ้านมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น ร้อยละ30 และในกลุ่มที่ใช้เป็นประจำมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเต้านม ร้อยละ 50

สำหรับการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มผู้ป่วยกับกลุ่มบุคคลทั่วไปทั้งหมด พบว่าปัจจัยที่มีค่าความแตกต่างกันมากที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (P < 0.001) คือปัจจัยเสี่ยงด้านพฤติกรรมการรับประทานอาหาร โดยค่าเฉลี่ยรวมปัจจัยเสี่ยงด้านพฤติกรรมการรับประทานอาหารของกลุ่มผู้ป่วย มีค่าเท่ากับ 1.90 + 0.50 และกลุ่มบุคคลทั่วไป มีค่าเท่ากับ 2.24 + 0.51 หากพิจารณาจากค่าความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งจะเห็นได้ว่ากลุ่มของบุคคลทั่วไปมีค่าเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มผู้ป่วย ดังนั้นกลุ่มบุคคลทั่วไปอาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งสูงขึ้น หากมีพฤติกรรมเสี่ยงด้านการรับประทานอาหาร ได้แก่ การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา และการได้รับสารเคมีร่วมกับปัจจัยเสี่ยงด้านอื่นๆ อาทิเช่น พฤติกรรมเสี่ยงจากการทำงานในสถานที่ที่มีฝุ่นละออง หรือไอระเหยของสารเคมีเป็นประจำ ซึ่งได้ผลการวิจัยคล้ายคลึงกับงานของ Dario Consonni (2009) ศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงในการก่อให้เกิดเป็นโรคมะเร็งปอดจากการสูบบุหรี่ รวมทั้งสารเคมีต่างๆในสถานที่ทำงาน พบว่ากลุ่มที่ทำงานในอาชีพที่มีความเสี่ยงสูง คือกลุ่มที่ทำงานที่สัมผัสกับสารเคมีเป็นประจำ เช่น งานที่เกี่ยวกับการผลิต เซรามิค และงานที่เกี่ยวกับสารเคมีเป็นสารระเหย ร่วมกับการมีพฤติกรรมเสี่ยง คือการสูบบุหรี่ และการดื่มแอลกอฮอร์ ทำให้มีโอกาสเกิดโรคมะเร็งสูงขึ้น

โพสท์ใน คณะสาธารณสุขศาสตร์ | ติดป้ายกำกับ , | ใส่ความเห็น

การมีส่วนร่วมในการบูรณาการองค์ความรู้ด้านการใช้สมุนไพรไทย ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น และศาสตร์การสาธารณสุข : กรณีศึกษาบ้านต้นฮ่างพัฒนา ตำบลบ้านค่า อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

ชื่อเรื่องวิจัย การมีส่วนร่วมในการบูรณาการองค์ความรู้ด้านการใช้    สมุนไพรไทย ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น และศาสตร์การสาธารณสุข  : กรณีศึกษาบ้านต้นฮ่างพัฒนา ตำบลบ้านค่า อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

ผู้เขียน          นายสกุลศักดิ์  อินหล้า

บทคัดย่อ   การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพ เพื่อสร้างสุขภาพที่ดี ครอบครัวอบอุ่น และศึกษาการบูรณาการองค์ความรู้ด้านการใช้สมุนไพรไทย ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นและศาสตร์การสาธารณสุข บ้านต้นฮ่างพัฒนา ตำบลบ้านค่า อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง เพื่อนำเสนอบริบทชุมชน การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของกลุ่มเป้าหมายด้านสุขภาพ กระบวนการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพของชุมชน การบูรณาการองค์ความรู้ด้านการใช้สมุนไพรไทย ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นและศาสตร์การสาธารณสุขในชุมชนบ้านฮ่างพัฒนา ตำบลบ้านค่า อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง เป็นวิธีการวิจัยแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม สามารถนำเสนอผลการศึกษา ดังนี้รูปภาพ5 1) บริบทชุมชน และสภาพที่เป็นจริงของชุมชนบ้านต้นฮ่างพัฒนา 2) กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันอย่างไร เพื่อเป็นแนวทางเสริมสร้างสุขภาพที่ดี ครอบครัวเกิดความอบอุ่นและมีความสุขร่วมกันของชุมชนบ้านต้นฮ่างพัฒนา 3) การบูรณาการองค์ความรู้ด้านการใช้สมุนไพรไทย ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นและศาสตร์การสาธารณสุขในชุมชนบ้านต้นฮ่างพัฒนา

สรุปผลการวิจัย

            จากการวิจัยครั้งนี้ สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้

             ผู้วิจัยได้ดำเนินการศึกษาและการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) เพื่อเกิดการสร้างหรือพัฒนารูปแบบเชิงคุณภาพ ดังนี้

  1. บริบทชุมชนบ้านฮ่างพัฒนา ตำบลบ้านค่า อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

บ้านต้นฮ่างพัฒนาเป็นหมู่บ้านที่มีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบเชิงเขาสูง มีป่าไม้และภูเขาล้อมรอบ มีอาณาเขตพื้นที่ส่วนใหญ่ของหมู่บ้านเป็นพื้นที่ที่มีเขตติดต่อกับอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อนและเขตอุทยานแห่งชาติขุนตาล เนื้อที่ถือครองที่ดินทั้งหมดของหมู่บ้านต้นฮ่างพัฒนา มีจำนวน 2,500 ไร่ จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 249 ครัวเรือน มีประชากรรวม 986 คน ประกอบด้วยชาย 508 คน หญิง 478 คน เด็กอายุ 0 – 6 ปี จำนวน 58 คน ผู้สูงอายุ จำนวน 148 คน ทิศเหนือจรดตำบลทุ่งกว๋าว อำเภอเมืองปาน ทิศใต้จรดตำบลบ้านเอื้อม ทิศตะวันตกจรดอำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูนทิศตะวันออก  จรดอำเภอแจ้ห่ม อาชีพหลักทำเกษตรกรรม อาชีพรองเลี้ยงสัตว์ และงานรับจ้างทั่วไป มีการปกครอง  โดยผู้ใหญ่บ้านเป็นแกนหลักหรือผู้นำของหมู่บ้าน โดยมีผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านอีก 2 คน การดูแลของหมู่บ้านมีรูปแบบการกระจายงานโดยผ่านกลุ่มผู้นำ มีผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้สั่งการ ผ่านมายังผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน 2 ท่าน และมีการแต่งตั้งคณะกรรมการของหมู่บ้าน 12 คน โดยมีหน้าที่ดูแลบ้านแต่ละหมวดของตัวเอง หมู่บ้านต้นฮ่างพัฒนามีทุนทางสังคม ประกอบไปด้วย ทุนวัฒนธรรม ความเชื่อ และประเพณี ทุนกลุ่มและบุคคลภายใน ทุนกลุ่มจากภายนอก ทุนทรัพยากรในชุมชน

2. การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของกลุ่มเป้าหมายด้านสุขภาพ

ปัญหาในชุมชนที่ไม่สามารถแก้ไขได้และเป็นปัญหาใหญ่ คือ ปัญหายาเสพติด แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ คนในชุมชนไม่เข้มแข็งพอ คนในชุมชนต้องช่วยกันแก้ไขสาเหตุของปัญหา สิ่งสำคัญคือ คนในชุมชนต้องร่วมมือกันด้วยความเข้มแข็งของชุมชน แสดงถึงแนวคิดวิเคราะห์ชุมชนได้ อย่างในปัจจุบัน มีการรวมกลุ่มต่าง ๆ ในชุมชนบ้านต้นฮ่าง เช่น กลุ่มเด็กและเยาวชน เพื่อทำกิจกรรมร่วมกัน ให้เด็กหันมาสนใจกิจกรรมอื่น ๆ มากกว่าการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด กลุ่มสตรีแม่บ้าน รวมตัวเพื่อหารายได้เข้าหมู่บ้านและครอบครัว กลุ่มสมุนไพรไทย  และกลุ่มผู้สูงอายุ

3. กระบวนการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพของชุมชน

ชุมชนบ้านต้นฮ่างพัฒนา มีกระบวนการการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพของชุมชนต่าง ได้แก่ การรวมกลุ่มทำแปรงผักเกษตรอินทรีย์ การลดการใช้สารเคมี การตรวจเลือดหาสารพิษตกค้างในเลือด การออกกำลังกายของกลุ่มเยาวชนในชุมชน และแผนงานที่ชุมชนบ้านต้นฮ่างพัฒนาจะผลักดันไปสู่อนาคต คือ โครงการลูกโลกสีเขียว และผลักดันชุมชนให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงระบบนิเวศในอนาคต โดยในชุมชนมีคณะทำงานเครือข่ายพันธมิตรสร้างสุขภาพของชุมชน คือ กลุ่ม อสม. และชมรมผู้สูงอายุ

4. การบูรณาการองค์ความรู้ด้านการใช้สมุนไพรไทย ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นและศาสตร์การสาธารณสุขในชุมชน

การบูรณาการองค์ความรู้ด้านการใช้สมุนไพรไทย ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น ปราชญ์ชุมชน บ้านต้นฮ่างพัฒนาได้รับสืบทอดตำราสมุนไพรเป็นลักษณะของปริศนาสมุนไพรหรือยาผีบอก ซึ่งตัวของปราชญ์ชุมชนได้รับสืบทอดมาจากคุณพ่อของตน ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันการใช้สมุนไพรไม่ได้มีการเผยแพร่และไม่เคยใช้รักษาให้คนในชุมชนนอกจากนำมาใช้ในครอบครัวตนเองเท่านั้น

ทั้งนี้ หลังจากได้มีการศึกษาการบูรณาการองค์ความรู้ด้านการใช้สมุนไพรไทย ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น ปราชญ์ชุมชนบ้านต้นฮ่างพัฒนาจึงได้คัดลอกตำรายาสมุนไพรส่วนหนึ่งนำมาให้กลุ่มเยาวชน ได้ศึกษาเรียนรู้ถึงชนิดและวิธีการใช้ประโยชน์ของสมุนไพร และผนวกกับองค์ความรู้ทางด้านสมุนไพรไทย ในชุมชนที่กลุ่มเยาวชนได้ทำการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อที่จะได้สืบสานเป็นองค์ความรู้ของชุมชนสืบไป

การอภิปรายผลการศึกษา

  1. บริบทชุมชน และสภาพที่เป็นจริงของชุมชนบ้านต้นฮ่างพัฒนาเป็นอย่างไร

บ้านต้นฮ่างพัฒนาเป็นหมู่บ้านที่มีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบเชิงเขาสูง มีป่าไม้และภูเขาล้อมรอบ เป็นพื้นที่ต้นน้ำ มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ มีป่าไม้และสัตว์ป่าอยู่มากมายหลายชนิดเหมาะสมกับการประกอบอาชีพเกษตรกรรมและเลี้ยงสัตว์ ลักษณะโครงสร้างทางสังคม ประชาชนส่วนใหญ่ มีความสัมพันธ์แบบชนบท ความผูกพันแบบญาติมิตร มีความเอื้ออาทรช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในครอบครัวและเพื่อนบ้าน ประชาชนยังคงรักษาประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นได้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะประเพณีพิธีกรรมทางศาสนา สอดคล้องกับงานวิจัย (กนกรัตน์ ทิพนี, 2552) ว่า “ประชาชนให้ความร่วมมือร่วมใจในการดำรง รักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมและประเพณีอย่างมั่นคง ถึงแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพก็ตาม”

  1. กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันอย่างไร เพื่อเป็นแนวทางเสริมสร้างสุขภาพที่ดี ครอบครัว  เกิดความอบอุ่นและมีความสุขร่วมกันของชุมชนบ้านต้นฮ่างพัฒนา

นโยบายด้านสาธารณสุขยังเป็นนโยบายในภาพรวมเป็นส่วนใหญ่ ยังไม่เป็นนโยบายที่ชัดเจน ไม่มีการดำเนินงานร่วมกับชุมชน มีเพียงแต่ความร่วมมือกับ อสม. เท่านั้น เรื่องสุขภาพของคนในชุมชนเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ต้องร่วมมือร่วมใจทำให้คนในชุมชนมีสุขภาพที่ดี นำไปสู่การมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพของชุมชน คนในชุมชนที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมยังไม่ให้ความสำคัญและไม่ตระหนักถึงอันตรายจากการใช้สารเคมีเท่าที่ควร ปัญหาในชุมชนที่ไม่สามารถแก้ไขได้และเป็นปัญหาใหญ่ คือ ปัญหายาเสพติด คนในชุมชนต้องช่วยกันแก้ไขปัญหา ต้องร่วมมือกันด้วยความเข้มแข็งของชุมชน สอดคล้องกับประโยชน์ของการมีส่วนร่วมของเฉลียว บุรีภักดี และคณะ (จีระศักดิ์ เจริญพันธ์, 2550)และสอดคล้องกับงานวิจัย (กนกรัตน์ ทิพนี, 2552) ว่า “วิถีชีวิตประจำวันของคนในชุมชน หลังเลิกงานในตอนเย็นก็จะมีการแวะดื่มที่ร้านเหล้าในชุมชนประจำ จับกลุ่มคุยกันเฮฮาทุกเย็น

การเสริมสร้างครอบครัวอบอุ่น เกิดจากการรวมกลุ่มของเยาวชนซึ่งทำให้เกิดกิจกรรมต่าง ๆ หรือการที่เยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาหรือทำประโยชน์ให้แก่ชุมชน ทำให้เกิดการยอมรับจากคนในชุมชนและครอบครัวของกลุ่มเยาวชนเองว่าพวกเขาก็สามารถสร้างสิ่งที่ดีและมีประโยชน์แก่ชุมชนได้ จุดเด่นของการทำกิจกรรมที่ทำให้คนในชุมชนและคนในครอบครัวของกลุ่มเยาวชนยอมรับและเห็นคุณค่าตลอดจนความสามารถของกลุ่มเยาวชน คือ กิจกรรมสร้างฝายชะลอน้ำ และการปลูกผักโดยใช้แนวทางของเกษตรอินทรีย์รวมถึงการเลี้ยงหมูหลุม โดยยึดตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง เนื่องจากเป็นการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพที่มีในกลุ่มเยาวชนให้คนในชุมชนได้เห็นคุณค่าในตัวของเยาวชน ซึ่งจะทำให้กลุ่มเยาวชนเกิดการตระหนักรู้ถึงคุณค่าของตัวเองเช่นกัน เนื่องจากได้รับการยอมรับจากบุคคลในครอบครัว เยาวชนจึงอยากที่จะรักษาคุณค่าของตัวเองไว้ ส่งผลให้กลายเป็นปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องในการทำให้ครอบครัวอบอุ่นคือ เยาวชนเกิดกระบวนการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งส่วนหนึ่งของกิจกรรมสามารถส่งเสริมให้เกิดรูปแบบครอบครัวที่ดีได้ เช่น เกิดการรับฟังซึ่งกันและกันเพราะการได้พูดคุยกันภายในครอบครัว การทำกิจกรรมของกลุ่มเยาวชนตลอดจนเรื่องของการประกอบอาชีพเพื่อหาเลี้ยงชีพอย่างสุจริต เพื่อให้ได้มาซึ่งรายได้ในการจุนเจือครอบครัวอยู่ดีมีสุข และ เป็นครอบครัวที่อยู่รวมกันเพราะสมาชิกภายในครอบครัวรู้บทบาทหน้าที่ของตน โดยพ่อแม่เป็นตัวอย่างที่ดีแก่ลูก เช่น ไม่ได้สูบบุหรี่ ไม่ดื่มเหล้า ไม่เล่นการพนัน ไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ไม่สนใจแต่การทำงานจนไม่มีเวลาอบรมเลี้ยงดูบุตรของตัวเอง ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งที่ดึงให้เยาวชนห่างไกลจากยาเสพติด เพราะปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาที่สำคัญอีกหนึ่งปัญหาสำหรับเยาวชนและเมื่อเยาวชนห่างไกลจากยาเสพติดแล้วเยาวชนก็จะมีความใกล้ชิดกับครอบครัว เมื่อครอบครัวได้ปะทะสังสรรค์กันมากขึ้นก็จะก่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ในครอบครัวมากขึ้น เพราะเยาวชนไม่ไปรวมกลุ่มมั่วสุมเรื่องยาเสพติด ทำให้เยาวชนถูกมองในแง่ดี คนในชุมชนก็เห็นความสำคัญของเยาวชนจากกิจกรรมที่เยาวชนทำซึ่งจะส่งผลเกิดความรักสามัคคีกันในชุมชนและจะส่งผลต่อยอดไปทำให้ชุมชนเข้มแข็งโดยมีครอบครัวที่อบอุ่นเป็นพื้นฐานของความเข้มแข็งในที่สุด

  1. การบูรณาการองค์ความรู้ด้านการใช้สมุนไพรไทย ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นและศาสตร์ การสาธารณสุขในชุมชนอย่างไร

พืชสมุนไพรที่มีอยู่ในชุมชนบ้านต้นฮ่างพัฒนานั้นสามารถสำรวจได้ 91 ชนิด ซึ่งแต่ละชนิด มีสรรพคุณที่ใช้ในการรักษาความเจ็บป่วยที่แตกต่างกันออกไปโดยที่มาขององค์ความรู้ในเรื่องพืชสมุนไพรในชุมชนบ้านต้นฮ่างพัฒนาได้มีการสืบทอดต่อกันมาจากบรรพบุรุษ ส่วนในการเสาะแสวงหาพืชสมุนไพรเพื่อนำมาใช้นั้นส่วนใหญ่จะเสาะหาจากแหล่งธรรมชาติภายในชุมชน สอดคล้องกับทฤษฎีต้นทุนทางสังคมของครูเตอร์และเลซิน (ณรงค์ศักดิ์ หนูสอน, 2553) เนื่องจากมีพื้นที่อยู่ในเขตต้นน้ำ ทำให้มีสภาพป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ทำให้พบพืชสมุนไพรหลากหลายชนิดในบริเวณป่าชุมชนและภายในบริเวณหมู่บ้านเอง สอดคล้องกับงานวิจัย (พัชทิชา กุลสุวรรณ์, 2554) ว่า “องค์ความรู้ในเรื่องพืชสมุนไพรการเรียนรู้เริ่มจากครอบครัวและเครือญาติที่มีการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพ หากมีผู้ใดในครอบครัวเจ็บป่วยผู้ที่มีความรู้ในการใช้พืชสมุนไพรภายในครอบครัวจะเป็นผู้ดูแลรักษาและเสาะหาสมุนไพร เพื่อนำมารักษาผู้ป่วยบุคคลภายในครอบครัวจะเกิดการเรียนรู้ จดจำ และเมื่อเกิดการทำหลาย ๆ ครั้ง ก็เกิดเป็นประสบการณ์และสามารถปฏิบัติเองได้”

โพสท์ใน คณะสาธารณสุขศาสตร์ | ติดป้ายกำกับ | ใส่ความเห็น

คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ การจัดการความรู้ (KM): เทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการ

คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ

การจัดการความรู้ (KM): เทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการ

                                             โดย อาจารย์ ดิลกา ไตรไพบูลย์

Tacit Knowledge **อาจารย์ผู้สอนหลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์มหาบัณทิตและพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต (สาขาพยาบาลชุมชนและสาขาพยาบาลอาชีวอนามัย) และหลักสูตรพยาบาลศาสตร์บัณฑิต(หลักสูตรนานาชาติ) ประจำคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเป็นวิทยากร ในการทำ KM และการเขียนบทความทางวิชาการ

 เรียบเรียงโดย: คณาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเนชั่น

เป้าหมาย/ผู้ร่วมกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้(Desired State): อาจารย์ประจำสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพและผู้สนใจ     

เนื้อหา (Content)      

            เทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการ เป็นหัวข้อของการจัดการความรู้ ในคณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเนชั่น (Nation University) โดยมีเป้าหมายของการจัดการความรู้ (Knowledge Management) ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเนชั่น และนโยบายการกำหนดประเด็นความรู้ขององค์กรคือประเด็น “การดำเนินการหลักสูตรให้เป็นไปตามกรอบมาตรฐาน คุณวุฒิระดับอุดมศึกษา” ซึ่งมีการกำหนดเป้าหมาย ของ Knowledge Management (KM) ในประเด็น “เทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการ” โดยให้คณะต่างๆ ในมหาวิทยาลัยเป็นผู้ดำเนินการในเป้าหมายดังกล่าว ซึ่งคณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ ได้เชิญวิทยากร จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อาจารย์ ดิลกา ไตรไพบูลย์ มาเป็นวิทยากรพิเศษในการให้ความรู้และหลักการการทำ KM  ตลอดจนช่วยทำให้เกิดการทำ KM  เชิงปฎิบัติการในคณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ ม่สาระสำคัญ ดังนี้

ด้วยการใช้กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management Process)   7 ขั้นตอน เพื่อให้บุคลากรในคณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ  สามารถแลกเปลี่ยน แบ่งปันความรู้และเกิดการเรียนรู้ โดยอาศัย Tuna Model (โมเดลปลาทูน่า) มาเป็นกรอบแนวคิดในการจัดการความรู้  ซึ่งกำหนดให้หัวปลาเป็น Knowledge Vision (KV) ด้วยการใช้เป็นส่วนของการกำหนด เป้าหมาย วิสัยทัศน์ หรือทิศทางของ KM ในคณะฯ โดยมีการกำหนดเป้าหมายการจัดการความรู้เรื่อง “เทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการ” ร่วมกันในคณะฯ และใช้ตัวปลาเป็น KnowledgeSharing (KS) ซึ่งในคณะมี “คุณอำนวย” ทำหน้าที่เป็นวิทยากรกระบวนการ (Facilitator) มีบทบาทในการกระตุ้น ให้ “คุณกิจ” (คณาจารย์) มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกี่ยวกับความรู้ในการเขียนบทความทางวิชาการ โดยเฉพาะความรู้ซ่อนเร้น (Tacit Knowledge) ที่มีอยู่ในตัวของคณาจารย์ พร้อมทั้งอำนวยการให้เกิดบรรยากาศในการเรียนรู้แบบเป็นทีม ให้เกิดการเรียนรู้ (Leaning) ร่วมกัน และเกิดการหมุนเวียนความรู้ จนได้ความรู้ในลักษณะ เป็นที่ยอมรับของคนในองค์กร ซึ่งสามารถนำไปสู่การปฎิบัติจริง โดยความรู้นั้นสามารถ เก็บไว้ใช้ได้ในครั้งต่อๆไป โดยใช้หางปลา เป็น KnowledgeAsset (KS) ซึ่งเกิดจากการเก็บสะสมความรู้ “ความรู้สู่การปฎิบัติ” เป็นความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) ด้วยการเก็บความรู้ด้วยวิธีต่างๆ ให้คลังความรู้คือหางปลานั่นเอง ซี่งสามารถเผยแพร่ได้ดังนี้

เทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการ ก่อนจะลงมือเขียนบทความฯ ควรมีความเข้าใจถึงความหมายของบทความวิชาการให้ตรงกัน เพราะว่าเป็นงานเขียนหรือความเรียงที่ผู้เขียนต้องการ สื่อองค์ความรู้หรือข้อค้นพบใหม่ๆ ทางวิชาการในสาขาวิชาการสาธารณสุข หรือสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งเป็นการเฉพาะ เช่น บทความวิจัย  บทความเสนอแนวคิด หลักการ และ/หรือ แบบจำลองเป็นต้น ดังนั้นในการเขียนบทความทางวิชาการในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งเป็นการเฉพาะ  เช่น บทความวิจัย  บทความเสนอแนวคิด หลักการทางวิชาการ ซึ่งควรคำนึงถึงองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการได้แก่ ตัวผู้เขียน สิ่งที่จะเขียน และ ผู้อ่าน ดังต่อไปนี้

ประการแรกคือตัวผู้เขียนบทความ ควรมีศักยภาพและความพร้อมในการสร้างผลงานวิชาการ โดยอาศัยปัจจัยภายในตัวเอง (Internal factors) คือมีความรู้เรื่องที่จะเขียน และมีเวลาในการเขียนตลอดจนมีความสุขในการที่จะสร้างสรรค์งานเขียนทางวิชาการที่ตนเองประสงค์จะดำเนินการ นอกจากนี้ควรต้องอาศัยปัจจัยภายนอกตนเอง (External factors) คือการมีบรรยากาศทางวิชาการในองค์กรและมีแหล่งความรู้ รวมทั้งบุคคลที่จะช่วยเหลือสนับสนุนงานเขียน ตลอดจนการบริหารจัดการกับภาระงานของผู้เขียน เช่น งานสอน งานวิจัยฯ และภาระงานที่บ้าน เช่นการดูแลครอบครัวของตนเอง  เป็นต้น เพื่อป้องกันอุปสรรคในการเขียน

ประการที่สองคือ สิ่งที่เขียนลงในบทความ ควรเป็นสิ่งที่ทันสมัยและอยู่ในความสนใจในวงวิชาการ โดยอาศัยความรู้จากตัวผู้เขียน ที่มีประสบการณ์ และความชำนาญในเรื่องที่จะเขียนหรือผลที่เกิดจากการวิจัยของตัวผู้เขียนบทความเอง โดยสิ่งที่เขียนควรมีเนื้อหาสาระที่มีความถูกต้องเชื่อถือได้ ในทางวิชาการ และมีประโยชน์ต่อสังคมและ/หรือประเทศชาติ โดยอยู่บนพื้นฐานของคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณของนักวิชาการเอง โดยงานเขียนบทความทางวิชาการ ควรมีโครงสร้างหลัก 4  ประการของการเขียนคือ

1)        ชื่อบทความ ควรสั้นกระทัดรัด ใช้ภาษาง่ายต่อการเข้าใจ มีความหมายที่สื่อให้ผู้อ่านอยากติดตามและจูงใจในการอ่าน

2)        คำนำ/หรือบทนำ เป็นส่วนของการเปิดประเด็นเข้าสู่เนื้อหา ควรบอกถึงความสำคัญและวัตถุประสงค์ของการเขียน เพื่อจูงใจทำให้ผู้อ่านเลือกที่จะอ่าน

3)      เนื้อเรื่อง ควรแสดงองค์ความรู้ ข้อค้นพบ ที่อยู่บนฐานข้อมูลที่เป็นความจริง หรือสถิติที่ทันสมัย มีหลักฐานอ้างอิงที่ชัดเจน ควรมีภาพประกอบ หรือตารางตามความเหมาะสม

4)       บทสรุป เป็นการสรุปเชิงพรรณาจากส่วนเนื้อหา ไม่ควรยืดยาว เยิ่นเย้อ บางครั้งอาจใช้ภาษิตหรือปรัชญามาช่วยสรุป ให้เกิดข้อคิดแก่ผู้อ่านได้ด้วยก็เป็นสิ่งที่ดี และควรคำนึงถึงการใช้ภาษา การถูกหลักไวยากรณ์ รวมทั้งการอ้างอิงให้ถูกหลักการเขียน บรรณานุกรมด้วยเสมอ

 

ประการที่สาม ตัวผู้อ่านบทความ ควรรู้ว่าใครคือกลุ่มเป้าหมาย มีความสามารถในการรับรู้สิ่งที่เขียน เช่น ระดับความรู้ ความสามารถ และความสนใจในแวดวงวิชาการ รวมทั้ง ความสามารถของผู้อ่านในการเข้าถึง (Accessibility) สิ่งที่เขียน ได้แก่ ชนิดของสื่อ หรือแหล่งที่เผยแพร่บทความวิชาการเป็นต้น ดังนั้นเทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการ จึงควรคำนึงถึงผู้อ่านเป็นสำคัญเสมอ

โพสท์ใน KM:ด้านการวิจัย, คณะสาธารณสุขศาสตร์ | ติดป้ายกำกับ | ใส่ความเห็น

คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ การจัดการความรู้(KM) : การทำวิจัยเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ

การจัดการความรู้(KM): การทำวิจัยเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ

                                                 โดย  อาจารย์ ดิลกา ไตรไพบูลย์**

Tacit Knowledge **อาจารย์ผู้สอนหลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์มหาบัณทิตและพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต (สาขาพยาบาลชุมชนและสาขาพยาบาลอาชีวอนามัย) และหลักสูตรพยาบาลศาสตร์บัณฑิต(หลักสูตรนานาชาติ) ประจำคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเป็นวิทยากร ในการทำ KM และการเขียนบทความทางวิชาการ

เรียบเรียงโดย: คณาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเนชั่น

เป้าหมาย/ผู้ร่วมกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้(Desired State): อาจารย์ประจำสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพและผู้สนใจ

 เนื้อหา (Content) : การทำวิจัยเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการควรเป็นงานวิจัย  ที่มีลักษณะ เป็นงานค้นคว้าอย่างมีระบบและมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล  หลักการ  หรือข้อสรุปรวมที่จะนำไปสู่ความก้าวหน้าทางวิชาการ  หรือเอื้อต่อการนำวิชาการนั้นไปประยุกต์  ใช้ให้เกิดประโยชน์ในแวดวงวิชาการ เช่นใช้ในการจัดการเรียนการสอน หรือสามารถประยุกต์ใช้กับงานบริการวิชาการเป็นต้น  ตลอดจนเป็นเอกสารที่มีระเบียบวิธีวิจัยที่เหมาะสมกับธรรมชาติของวิชาและ งานวิจัยที่คณาจารย์ทำแล้ว  ให้นำเผยแพร่ควรมีลักษณะใด ลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้

–        ตีพิมพ์เผยแพร่ในรูปของบทความวิจัย ในวารสารทางวิชาการ ที่มีคุณภาพตั้งแต่ดีจนถึงดีเด่น

–        ตีพิมพ์ในหนังสือรวมงานวิจัยระดับนานาชาติ  ซึ่งเป็นงานที่ได้รับเชิญให้เขียน  และ / หรือมีกองบรรณาธิการ ตรวจสอบคุณภาพของงานวิจัยนั้นๆ

–        เสนองานวิจัยในรูปของเอกสารต่อที่ประชุมทางวิชาการ  ซึ่ง            เป็นที่ยอมรับของผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้น ๆ โดยมีการ นำไปรวมเล่มเผยแพร่ในรูปของเอกสารวิชาการ  (proceeding) จากการประชุมครั้งนั้น

–        ในกรณีที่งานวิจัยฉบับสมบูรณ์  มีความยาวขนาดเล่มหนังสือ  จะต้องผ่านการประเมินคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ  ก่อนนำเผยแพร่ไปยังสถาบันทางวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้อง

–        ได้รับการพิมพ์เผยแพร่มาแล้ว และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการจัดการศึกษา  และการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

–        ผลงานที่มิได้จัดทำแต่ผู้เดียว  ให้ระบุผู้ขอมีส่วนร่วมจัดทำร้อยละเท่าไหร่

จัดทำอยู่ในส่วนใด  และผู้ร่วมจัดทำ  ต้องรับรองว่าผู้ร่วมจัดทำ  ได้จัดทำในส่วนใด

** ข้อควรระวังคือ ผลงานทางวิชาการ ต้องไม่เป็นผลงานที่ใช้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา หรือ เคยใช้เพื่อเลื่อนตำแหน่ง หรือเลื่อนวิทยฐานะ มาแล้ว เช่น ขอตำแหน่ง ศาสตราจารย์ (ศ.) ผลงานวิจัยไม่ควรซ้ำกับการที่เคยขอตำแหน่ง รองศาสตราจารย์ (รศ.) หรือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ (ผศ.) เป็นต้น

โพสท์ใน KM:ด้านการวิจัย, คณะสาธารณสุขศาสตร์ | ติดป้ายกำกับ | ใส่ความเห็น

คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ การจัดการความรู้ (KM) : แนวปฏิบัติในการการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของนักศึกษา

คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ

การจัดการความรู้ (KM): แนวปฏิบัติในการการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของนักศึกษา

                                                                     โดย อาจารย์ เบญจวรรณ นันทชัย**

**คณบดีคณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเนชั่น  ผู้แลกเปลี่ยนความรู้

เรียบเรียงโดย: คณาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเนชั่น

เป้าหมาย/ผู้ร่วมกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้(Desired State): อาจารย์ประจำสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพและผู้สนใจ     

เนื้อหา (Content)  

    ความนำ

            กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (Thai Qualification Framework for Higher Education: TQF)     ได้กำหนดให้ทุกหลักสูตรต้องดำเนินการทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้ของผู้เรียนทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ        ในกลยุทธ์หรือกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาต่าง ๆ ที่จัดให้แก่นักศึกษาเพื่อเป็นการพัฒนาผลการเรียนรู้    ในแต่ละด้านตามแผนที่การกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculum Mapping) โดยความรู้และทักษะนั้น ๆ จะต้องสอดคล้องกับมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่สาขาวิชากำหนดไว้ในรายละเอียดของหลักสูตร (มคอ. 2 หมวดที่ 4,5) และวิธีการดำเนินการการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามที่ระบุไว้ในรายละเอียด ของรายวิชาทุกวิชา (มคอ. 3 มคอ.4 : หมวดที่ 7)  ทั้งนี้ให้มีการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาอย่างน้อย   ร้อยละ 25 ของรายวิชาที่เปิดสอนในแต่ละปีการศึกษา

 

แนวทางปฏิบัติ :  การทวนสอบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของนักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ

มหาวิทยาลัยเนชั่น มีนโยบายในการยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัย โดยมุ่งเน้นให้คณะวิชาต่าง ๆ พัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรให้สอดคล้องตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ซึ่งเป็นเครื่องมือปฏิบัติในการพัฒนาหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นมาตรฐานผลการเรียนรู้ของบัณฑิต (Learning Outcome) เป็นสำคัญ ตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา ข้อ 6 กำหนดให้มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนดใน มคอ. 3 และมคอ. 4 อย่างน้อยร้อยละ 25 ของรายวิชาที่เปิดสอนในแต่ละปีการศึกษา คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพจึงกำหนดวิธีการ     ทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาซึ่งคณะ ฯ ได้ใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการ ดังนี้

1. ดำเนินการทวนสอบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของนักศึกษาโดยอาจารย์ประจำคณะ ฯ ที่เป็นคณะกรรมการวิชาการ

2. คณาจารย์พิจารณาคัดเลือกรายวิชาที่เปิดสอนในหลักสูตรในแต่ละปีการศึกษาเพื่อดำเนินการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยใช้แนวทางการพิจารณา คือ การคัดเลือกในรายวิชาแกน/วิชาเอก รายวิชาที่ระบุการเรียนการสอนสอดคล้องกับเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย โดยคณะกรรมการสุ่มรายวิชาอย่างน้อยร้อยละ 25 ของรายวิชาที่เปิดสอนในแต่ละภาคของแต่ละปีการศึกษาและไม่ทวนสอบรายวิชาเดิมหรือซ้ำซ้อน สำหรับการดำเนินการทวนสอบรายวิชาในรายวิชาศึกษาทั่วไป และรายวิชาพื้นฐาน ขึ้นอยู่กับการดำเนินการมหาวิทยาลัย

3. ใช้กระบวนการทวนสอบในหลายวิธี เช่น การสังเกต การตรวจสอบ ผลการประเมินการจัดการเรียนการสอนในระบบออนไลน์ของมหาวิทยาลัย การสอบถามนักศึกษา เพื่อยืนยันว่าสิ่งที่กำหนดขึ้นนั้นได้มีการดำเนินการและบรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์  เพื่อสร้างความมั่นใจว่ามาตรฐานผลการเรียนรู้ที่คาดหวังเป็นที่เข้าใจตรงกันและมีการจัดการเรียนการสอนจนบรรลุผลสำเร็จ

4. วิธีการทวนสอบ ดำเนินการโดยให้นักศึกษาประเมินตนเองเกี่ยวกับระดับความรู้ความสามารถ ทักษะ พฤติกรรมหลังจากเรียนทุกรายวิชาวิชาเมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนในแต่ละภาคการศึกษาในระบบการประเมินของมหาวิทยาลัย คณะกรรมการทวนสอบ ฯ นำผลการประเมินมาบันทึกในแบบรายงานผลการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาที่คณะ ฯ จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการในทิศทางเดียวกัน

หมายเหตุ 

  1. ตัวบ่งชี้กำหนดให้มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนดใน มคอ. 3 และ มคอ. 4 (ถ้ามี) อย่างน้อยร้อยละ 25 ของรายวิชาที่เปิดสอนในแต่ละปีการศึกษา
  2. การทวนสอบเป็นการหาหลักฐานว่าได้มีการดำเนินการตามมาตรฐานผลการเรียนรู้และมีการจัดการเรียนการสอนจนบรรลุผลสำเร็จ
  3. แบบประเมินเพื่อทวนสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นแบบประเมินเพื่อให้นักศึกษาได้ประเมินตนเองภายหลัง  การเรียนรายวิชาว่าเกิดผลการเรียนรู้อะไรบ้าง ซึ่งผู้ประเมินต้องนำไปเทียบกับมาตรฐานผลการเรียนรู้ของรายวิชา (ตาม มคอ. 3) และ มคอ. 4 ว่าผลการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นของนักศึกษาเป็นไปตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ของรายวิชานั้น ๆ หรือไม่

 

 

คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพได้กำหนดให้มีระบบและกลไกการทวนสอบทางการศึกษาเพื่อตรวจสอบว่านักศึกษา     มีผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้และการได้รับการพัฒนาคุณลักษณะครบถ้วนทั้ง 5 ด้าน ตามที่กำหนดไว้           ในหลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์ (มคอ. 2) ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาและเพื่อเป็นสิ่งยืนยันว่าผู้สำเร็จการศึกษาที่มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามที่ระบุไว้ในหลักสูตรโดยผ่านกระบวนการจัดการเรียนการสอนในทุกรายวิชาการทวนผลการเรียนรู้ได้ดำเนินการทวนสอบทั้งในระดับรายวิชา และในระดับหลักสูตร โดยมีแนวทางปฏิบัติดังนี้

การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ในระดับรายวิชา
กำหนดแนวทางดำเนินการ วิธีดำเนินการ/ แหล่งข้อมูลที่ทำการทวนสอบฯ
  1. มีคณะกรรมการทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้ของนักศึกษา

2. อาจารย์ผู้สอนต้องดำเนินการดังนี้

– จัดทำ มคอ. 3 รายละเอียดของรายวิชา (Course Specification) ล่วงหน้าก่อนเปิดภาคเรียน ในทุกรายวิชา

– จัดทำมคอ. 5 รายงานผลการดำเนินการของรายวิชา (Course Report)

– จัดทำมคอ. 6 รายงานผลการดำเนินการของประสบการณ์ภาคสนาม (Field Experience Report)

** ให้ครบทุกรายวิชาที่เปิดสอนในแต่ละภาคการศึกษา ภายใน 30 วัน หลังสิ้นสุดภาคการศึกษา

1. แต่งตั้งคณะกรรมการวิชาการภายในคณะทำการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาระดับรายวิชาทุกรายวิชาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ โดยดำเนินการร่วมอาจารย์ผู้รับผิดชอบวิชาทุกรายวิชา

 

3. คณะกรรมการทำการทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้ของนักศึกษาระดับรายวิชา อย่างน้อย 25% ของรายวิชาที่เปิดสอนในแต่ละภาคการศึกษาภายใน 2 สัปดาห์หลังสิ้นสุดการเรียนการสอน

3.1 อาจารย์ประจำสาขาวิชามีส่วนร่วมในการทวนสอบ ฯ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

3.2 คะแนนผลการประเมินความ       พึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนการสอน   ในแต่ละรายวิชา และสิ่งสนับสนุนการเรียนการสอนที่ประเมินโดยนักศึกษาต้อง        ไม่น้อยกว่า 3.51 จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน (องค์ประกอบที่ 2 สกอ. ตัวบ่งชี้ 2.6 )

 

 

3. ทำการทวนสอบโดยวิธีการวิเคราะห์จากเอกสาร/หลักฐาน ดังนี้

3.1 มคอ. 2 รายละเอียดหลักสูตร (Programme Specification)

3.2 มคอ. 3 รายละเอียดของรายวิชา (Course Specification)

– หมวดที่ 5 แผนการสอนและการประเมินผล

(ข้อ 2. แผนการประเมินผลการเรียนรู้)

– หมวดที่ 7 การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของรายวิชา

(ข้อ 1.  ผลการประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา)

(ข้อ 2. ประเมินจากผลการเรียนของนักศึกษาหรือการสังเกตการณ์สอน)

(ข้อ 4. ทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้ของนักศึกษาในรายวิชา ได้แก่

การทวนสอบจากคะแนนข้อสอบ งานที่มอบหมาย เช่น กรณีศึกษา

การนำเสนอรายงาน คะแนนการปฏิบัติงาน บันทึกประสบการณ์)

3.3มคอ. 4 รายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม (Field Experience Specification)

– หมวดที่ 3การพัฒนาผลการเรียนรู้

(ข้อ 3 วิธีการที่จะใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ในมาตรฐานผลการเรียนรู้แต่ละด้านที่เกี่ยวข้อง)

– หมวดที่ 6 การประเมินนักศึกษา

(ข้อ 2 กระบวนการประเมินผลการปฏิบัติงานของนักศึกษา)

  1. คณะกรรมการทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้ของนักศึกษาทำการวิเคราะห์ และสรุปผลการดำเนินการทวนสอบ ฯ เสนอต่อที่ประชุมคณะ ฯ เพื่อปรับปรุงแก้ไขต่อไป
4. วิเคราะห์ และสรุปผลการทวนสอบ ฯ

4.1 มคอ. 5 รายงานผลการดำเนินการของรายวิชา (Course Report)

– หมวดที่ 3 สรุปผลการจัดการเรียนการสอนของรายวิชา

(ข้อ 7.การทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา ระบุวิธีการทวนสอบ และสรุปผลการทวนสอบ)

– หมวดที่ 6 แผนการปรับปรุง (ข้อ 2. การดำเนินการในการปรับปรุงรายวิชา)

 

 

 

 

แหล่งข้อมูลที่ทำการวิเคราะห์ในการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ในระดับรายวิชา

 

มคอ. 3 รายละเอียดของรายวิชา (Course Specification)

การจัดการเรียนการสอนของแต่ละรายวิชาให้สอดคล้องรายละเอียด ของหลักสูตร แต่ละรายวิชาจะกำหนดวัตถุประสงค์และรายละเอียดของเนื้อหาความรู้ในรายวิชา แนวทางการปลูกฝังทักษะและคุณลักษณะที่นักศึกษาจะได้รับ         การพัฒนาให้ประสบความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายของรายวิชา มีการกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับระยะเวลาที่ใช้ในการเรียน วิธีการเรียน การสอนการวัดและประเมินผลในรายวิชา

หมวดที่ทำการทวนสอบ ฯ

หมวดที่ 7 การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของรายวิชา

ข้อ 1. กลยุทธ์การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา

ข้อ 2. กลยุทธ์การประเมินการสอน

ระบุวิธีการประเมินที่จะได้ข้อมูลการสอน เช่น จากผู้สังเกตการณ์ หรือทีมผู้สอน หรือผลการเรียนของนักศึกษา     เป็นต้น

ข้อ 4. การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา

อธิบายกระบวนการที่ใช้ในการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ของรายวิชา      เช่น ทวนสอบจากคะแนนข้อสอบ หรืองานที่มอบหมาย กระบวนการอาจจะต่างกันไปสำหรับรายวิชาที่แตกต่างกัน หรือสำหรับมาตรฐานผลการเรียนรู้แต่ละด้าน

 

 

 

 

 

 

มคอ. 4 รายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม  (Field Experience Specification)

การบริหารจัดการในรายวิชาหรือกิจกรรมที่นักศึกษาจะต้องออกฝึกงานหรือฝึกภาคสนาม โดยต้องวางแผน            ให้สอดคล้องตามที่กำหนดไว้ในรายละเอียดของหลักสูตร วัตถุประสงค์และกิจกรรมการฝึกต้องมีความชัดเจน                 เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้และทักษะจากประสบการณ์ภาคสนาม รวมทั้งเกณฑ์การวัดและประเมินผลประสบการณ์ภาคสนาม

หมวดที่ทำการทวนสอบ ฯ

หมวดที่ 3การพัฒนาผลการเรียนรู้

(ข้อ3วิธีการที่จะใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ในมาตรฐานผลการเรียนรู้แต่ละด้านที่เกี่ยวข้อง)

หมวดที่ 6 การประเมินนักศึกษา

(ข้อ 2 กระบวนการประเมินผลการปฏิบัติงานของนักศึกษา)

หมวดที่ 7 การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม

(ข้อ 1 กระบวนการประเมินการฝึกประสบการณ์ภาคสนามจากผู้เกี่ยวข้องต่อไปนี้

1.1 นักศึกษา

1.2 พนักงานพี่เลี้ยงหรือผู้ประกอบการ

1.3 อาจารย์ที่ดูแลกิจกรรมภาคสนาม

1.4 อื่น ๆ เช่น บัณฑิตจบใหม่)

มคอ.6

หมวดที่ทำการทวนสอบ ฯ

หมวดที่ 5 การประเมินการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม

-ความเห็น/ข้อเสนอแนะของอาจารย์ผู้รับผิดชอบ/อาจารย์ที่ปรึกษาการฝึกประสบการณ์ภาคสนามเสนอต่ออาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

– อาจารย์พี่เลี้ยงที่ดูแลกิจกรรมการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม

 

มคอ. 5 รายงานผลการดำเนินการของรายวิชา (Course Report)

การรายงานผล การจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ผู้สอนแต่ละรายวิชาเมื่อสิ้นภาคเรียนเกี่ยวกับภาพรวมของ        การจัดการเรียนการสอนในวิชานั้น ๆ ว่า ได้ดำเนินการสอนอย่างครอบคลุมและเป็นไปตามแผนที่วางไว้ในรายละเอียด          ของรายวิชาหรือไม่และหากไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ ต้องให้เหตุผลและข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการจัดการเรียน    การสอนของรายวิชาดังกล่าวในครั้งต่อไป รายงานนี้จะครอบคลุมถึงผลการเรียนของนักศึกษา จำนวนนักศึกษาตั้งแต่   เริ่มเรียนจนสิ้นสุด ปัญหาในด้านการบริหารจัดการและสิ่งอำนวยความสะดวก การวิเคราะห์ผลการประเมินรายวิชาของนักศึกษา

หมวดที่ทำการทวนสอบ ฯ

หมวดที่ 3 สรุปผลการจัดการเรียนการสอนของรายวิชา

(ข้อ 7.การทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา ระบุวิธีการทวนสอบ และสรุปผลการทวนสอบ)

หมวดที่ 6 แผนการปรับปรุง

(ข้อ 2. การดำเนินการในการปรับปรุงรายวิชา)

 

เครื่องมือที่ใช้ในการทวนสอบผลสัมฤทธิ์การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ในระดับรายวิชา

1. แบบประเมินเพื่อทวนสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน : แบบสัมภาษณ์นักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอน

  1. แบบประเมินเพื่อทวนสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน : แบบประเมินผลการนำเสนอรายงาน
  2. แบบทวนสอบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของนักศึกษา : แบบประเมินคุณลักษณะของตนเอง5 ด้าน
  3. แบบทวนสอบผลสัมฤทธิ์ : การจัดการเรียนการสอนชองอาจารย์ (ภาคทฤษฎี)

5. แบบทวนสอบผลสัมฤทธิ์ : แบบประเมินพฤติกรรมการฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษา (ภาคสนาม)

6. แบบทวนสอบผลสัมฤทธิ์ : แบบประเมินผลการจัดการเรียนการสอน (ระบบออนไลน์ของมหาวิทยาลัย

 

โพสท์ใน KM:ด้านการวิจัย, คณะสาธารณสุขศาสตร์ | ติดป้ายกำกับ | ใส่ความเห็น

เกณฑ์ประเมินวารสารวิชาการ ของ TCI (Thai-Journal Citation Index Centre)

tci - Thai-Journal Citation Index Centre

tci – Thai-Journal Citation Index Centre

มีโอกาสได้อ่านเกณฑ์ประเมินวารสารวิชาการ
ของ TCI (Thai-Journal Citation Index Centre) รอบที่ 2 พ.ศ.2555
จึงได้รู้ว่าคะแนนเต็ม 18 ถ้าเฉลี่ยเป็นร้อยละแล้วไม่ถึง 40% จัดอยู่ในกลุ่ม 3 ที่ถือว่าตก
ถ้าถึง 40-79% ให้อยู่ในกลุ่ม 2 ถ้า 80% ขึ้นไปอยู่ในกลุ่ม 1

วารสารต่าง ๆ ทั้ง 541 ฉบับ ที่เคยเข้าไปอยู่ใน TCI คงตกใจไม่น้อยที่ถูกประเมินด้วยเกณฑ์เข้ม
เพราะ มีเพียง 144 วารสาร (27%) ที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม 1
และ มี 260 วารสาร (48%) ที่ไปอยู่ในกลุ่ม 2
แต่มีถึง 137 วารสาร (25%) ที่ไปอยู่ในกลุ่ม 3
และเป็นความผิดปกติที่ 126 วารสารไม่ได้ส่งข้อมูลเพื่อรับการประเมิน
เมื่อเข้าไปดูใน 126 วารสาร พบว่ามีหลายฉบับหยุดตีพิมพ์ไป ได้แก่
กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
1.1685-2044     KMITL Science Journal     Faculty of Science, King Monkuts Institute of Technology Ladkrabang
2.0858-0405     วารสารการศึกษาพยาบาล     สถาบันพระบรมราชชนก
3.0125-3794     วารสารกีฏและสัตววิทยา     กองกีฏและสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตร
4.1905-8837     วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช     มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
5.0858-8430     วารสารพระจอมเกล้าลาดกระบัง     สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
6.0859-0818     วารสารพลังงาน     สถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
7.0859-2586     วารสารมหิดล     มหาวิทยาลัยมหิดล
8.0858-2688     วารสารร่มไทรทอง     มหาวิทยาลัยเอเซียอาคเนย์
9.1513-4865     วารสารสหเวชศาสตร์     คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
10.0857-0965     วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม     สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย
กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
1.0125-8427     บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ มข.     ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศ ศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศมสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2.1906-2591     วารสารการสื่อสารมวลชน     คณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
3.0125-0906     วารสารข้าราชการ     สวัสดิการสำนักงาน ก.พ.
4.0858-7396     วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร     คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
5.xxxx-xxxx     วารสารสมาคมเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์     สมาคมเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์
6.1685-2494     วารสารสหวิทยาการ     โครงการปริญญาเอก สหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เกณฑ์เชิงคุณภาพในการประเมินคุณภาพวารสารในฐานข้อมูล TCI
รอบที่ 2 พ.ศ.2555 สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

เกณฑณ์การพิจารณา (ข้อละ 2 คะแนนรวม 18 คะแนน ถ้าประเมินแล้วไม่ถึง 10 ถือว่าไม่ผ่าน)
1. บทความทุกบทความต้องมีการควบคุมคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review)
2. วารสารมีกำหนดออกตรงเวลา
3. วารสารมีอายุการตีพิมพ์บทความวิชาการไม่น้อยกว่า 3 ปี
4. วารสารมี citation ที่ตรวจสอบได้จากฐานข้อมูล TCI
5. วารสารมีการกำหนดกติกาและรูปแบบการตีพิมพ์อย่างชัดเจน
6. วารสารมีกองบรรณาธิการเป็นผู้ทรงคุณวุฒิมาจากหลากหลายหน่วยงาน
7. วารสารตีพิมพ์บทความที่มีผู้นิพนธ์มาจากหลากหลายหน่วยงานทั้งภายในและภายนอก
8. วารสารมีการตีพิมพ์บทความที่มีรูปแบบการตีพิมพ์และรูปเล่มที่ได้มาตรฐาน
9. วารสารควรมีเว็บไซต์ของวารสารหรือมีระบบการส่งบทความแบบออนไลน์ และมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง
อ้างอิงจาก http://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/Evaluation/Evaluation_56.html

โพสท์ใน งานประชาสัมพันธ์ รับนักศึกษา | ติดป้ายกำกับ | ใส่ความเห็น