แนวปฏิบัติในการส่งนักศึกษานิเทศศาสตร์ฝึกงานในสถานประกอบการ

แนวปฏิบัติในการส่งนักศึกษานิเทศศาสตร์ฝึกงานในสถานประกอบการ

โดย อาจารย์ชีวิน สุนสะธรรม

สำหรับนักศึกษาคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเนชั่น เมื่อสำเร็จการศึกษาในระดับชั้นปีที่ 2 ทุกคนจะต้องไปฝึกงานด้านนิเทศศาสตร์ที่เครือเนชั่น ถึงแม้นักศึกษาทุกคนได้ผ่านการอบรมเตรียมการฝึกงานแล้วในโครงการ Media Training ในชั้นปีที่ 1 การเข้าฝึกงานในชั้นปีที่ 2 ก็ยังประสบปัญหาเช่นกัน

ปัญหาแรกที่ได้คณะได้พบคือ การเข้ารับฝึกงานงานและจำนวนนักศึกษาที่จะไปฝึกงาน รวมถึง ความชอบของนักศึกษาในแผนกต่างๆบางครั้งก็สอดคล้องกันแต่บางครั้งก็ไม่สอดคล้องกันทำให้ ในบางครั้งนักศึกษามีจำนวนที่ต้องการไปฝึกงานในบางแผนกเยอะกว่าที่แผนกจะรองรับได้ และในบางครั้งนักศึกษาก็ไม่ทราบว่าตนเองชอบอะไรและไปฝึกในตำแหน่งที่ตนไม่ชอบ หรือบางครั้งไปฝึกในแผนกที่ตนต้องการแต่ผลของการฝึกกลับไม่เป็นอย่างที่ตนคาดหวัง ดังนั้นเพื่อให้ปัญหาเหล่านี้หมดไป คณะนิเทศศาสตร์ ศูนย์เนชั่นบางนาจึงหาแนวทางแก้ไขดังนี้

คณะนิเทศศาสตร์ได้จัดให้มีการอบรมให้กับนักศึกษาชั้นปีที่ 2 โดยรวมมือกับกองบรรณาธิการ หัวหน้าฝ่าย ที่อยู่ในเครือเนชั่น เพื่อเข้ามา อธิบายรายละเอียดการทำงานในแผนกต่างๆ เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจว่าตนเองกำลังจะต้องไปเผชิญกับการทำงานในรูปแบบใด ก่อนที่จะตัดสินใจเลือก

การอบรมดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาเป็นอย่างยิ่ง เพราะทำให้นักศึกษาเลือกแผนกที่ตนกำลังจะไปฝึกงานได้ตามที่ตนต้องการ และทำให้การฝึกงานของนักศึกษามีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย

อย่างไรก็ดี ปัญหาหนึ่งที่มักจะเกิดขึ้นในการอบรมจากรุ่นพี่เจ้าหน้าที่ที่มาอบรมให้นั่นคือหลายๆครั้งที่พูดเขาไม่ทราบว่าจะต้องพูดในเรื่องใดบ้างและจะต้องอบรมในเรื่องใดบ้าง เพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ คณะนิเทศศาสตร์จึงได้จัดทำฟอร์มขึ้น เพื่อให้เจ้าหน้าที่ที่มาจากเครือเนชั่นกรอกและนำฟอร์มนั้นมาประกอบการบรรยาย ทำให้การบรรยายอยู่ในขอบเขตที่นักศึกษาต้องการทราบและครอบคลุมสิ่งที่นักศึกษาจำเป็นต้องรู้เพื่อใช้ในการตัดสินใจเข้าเลือกแผนกการฝึกงาน

 

การจัดให้พี่เลี้ยงอบรมนักศึกษา ก่อนที่จะส่งนักศึกษา เข้าไปฝึกงานในแผนกนั้นยังทำให้ รุ่นพี่ หรือพี่เลี้ยง ได้รู้จักกับน้องๆและน้องน้องๆ ก็ได้รู้จักกับรุ่นพี่หรือพี่เลี้ยงของตนก่อนที่จะได้เข้าฝึกงานอีกด้วย

อีกสิ่งหนึ่งที่คณะเห็นว่ามีประโยชน์ ได้แก่ ในวันที่จัดอบรมเพื่อเข้าฝึกงานนั้น คณะ ยังได้จัดทำแบบฟอร์มให้นักศึกษาลงชื่อและเลือกแผนกที่ตนจะเข้ารับ พร้อมกับเซ็นชื่อ ทำให้การดำเนินงานในการเลือกสถานที่ฝึกงานของนักศึกษาเป็นไปอย่างราบรื่นมากขึ้นอีกด้วย

สรุปได้ว่า การจัดอบรมและเชิญพี่เลี้ยงมาบรรยายเกี่ยวกับแผนกของตนและการจัดแบบฟอร์มในการอบรมให้กับพี่เลี้ยงพร้อมกับแบบฟอร์มให้นักศึกษาได้เลือก ทำให้การดำเนินการจัดสรรนักศึกษาเพื่อเข้าฝึกงานในแผนกต่างๆเป็นไปได้อย่างราบรื่นยิ่งขึ้นมากที่สุด

 

โพสท์ใน KM:ด้านการผลิตบัณฑิต, การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ, คณะนิเทศศาสตร์ | ใส่ความเห็น

การเตรียมความพร้อมนักศึกษาก่อนเข้าฝึกงานในสถานประกอบการ (ชั้นปีที่ 1)

การเตรียมความพร้อมนักศึกษาก่อนเข้าฝึกงานในสถานประกอบการ (ชั้นปีที่ 1)
โดย อาจารย์ชีวิน สุนสะธรรม

การฝึกงานตั้งแต่ชั้นปีที่หนึ่งนั้นเป็นแนวคิดและนโยบายของมหาวิทยาลัยเนชั่น มาตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง เพื่อเป็นการตอบสนอกงนโยบายดังกล่าว คณะนิเทศศาสตร์ จึงได้ส่งนักศึกษาเข้าฝึกงานในชั้นปีที่ 1 มาโดยตลอด

ช่วงแรกของการส่งนักศึกษาเข้าฝึกงานนั้น คณะนิเทศศาสตร์ จะได้รับกับ คำตำหนิติเตียน จากองค์กรที่นักศึกษาไปฝึกงานอยู่บ่อยครั้ง เนื่องจาก นักศึกษา ยังไม่ได้เรียนรู้ศาสตร์ใดใดของนิเทศศาสตร์ เพราะในชั้นปีที่ 1 นักศึกษาเรียนรู้แต่วิชาพื้นฐาน ดังนั้น เมื่อไปฝึกงาน จึงทำให้นักศึกษายังไม่รู้เรื่องใดๆเลยโดยเฉพาะเรื่องการใช้อุปกรณ์หรือศาสตร์ด้านการสื่อสาร ไม่เพียงแค่นั้น นักศึกษายังขาดประสบการณ์ และวินัยรวมถึง การพบปะพูดคุยกับผู้ใหญ่ จึงทำให้นักศึกษาได้รับคำตำหนิกลับมาอยู่เป็นประจำ และเนื่องจากนักศึกษายังไม่มีความรู้ด้านนิเทศศาสตร์ ในการไปฝึกงานตั้งแต่ตี 1 ทำให้นักศึกษาหลายคนไม่ได้รับมอบหมายงานใดๆ จึงทำให้ขาดโอกาสที่จะได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง สรุปได้ว่าการเรียนรู้ จากประสบการณ์จริงหรือการไปฝึกงานตั้งแต่ปีที่ 1 นั้น ไม่ได้ทำให้เกิดผลดีต่อนักศึกษามากอย่างที่คาดหวังไว้

คณะนิเทศศาสตร์จึงได้จัดทำโครงการ Media Training ขึ้น เพื่อให้นักศึกษาปี 1 ได้เรียนรู้ เรื่องการฝึกงาน และเรียนรู้ เรื่องของนิเทศศาสตร์ การใช้เครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในงานนิเทศ จากอาจารย์และรุ่นพี่ที่เคยไปฝึกงานมาก่อน เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนที่จะต้องฝึกงานจริงในปี 2

การจัด Media Training Program โดยคณะนิเทศศาสตร์นั้นจัดขึ้นมาแล้วทั้งหมด 3 ครั้งด้วยกันซึ่งแต่ละครั้งก็ได้มีการปรับปรุงพัฒนาไปอยู่เรื่อยๆ เริ่มจากครั้งที่ 1 คณะให้ตัวแทนจากฝ่ายต่างๆในเครือเนชั่น เข้ามาอบรมให้กับนักศึกษาพร้อมมอบหมายงานให้ทำและกลับมาตรวจงานของนักศึกษา ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นจากการอบรมในครั้งแรกนั้น คือ ตัวแทนจากฝ่ายต่างๆที่มาจากเครือเนชั่นนั้นไม่มีเวลาพอที่จะอบรมให้กับนักศึกษา และไม่มีเวลาพอที่จะตรวจงานให้กับนักศึกษา จึงสามารถจัดได้เพียงหนึ่งปีเท่านั้น การอบรมแบบนี้จึงต้องสิ้นสุดไป

เมื่อเข้าถึงปีที่ 2 คณะนิเทศศาสตร์ ต้องการจะให้นักศึกษาได้ทดลองทำงานจริง คณะจึงได้จัดตั้ง ช่องยังเท (Young Te) ซึ่งเป็นสถานีสำหรับวัยรุ่นขึ้นมา เพื่อให้นักศึกษาได้ทำรายการให้กับช่องดังกล่าว โดยนักศึกษาจะต้องทำรายการทั้งสิ้น 4 รายการภายใน 5 สัปดาห์เฉลี่ยสัปดาห์ละ 1 รายการโดยสัปดาห์แรก คณะได้จัดให้เป้นการอบรมเท่านั้น จากการอบรมและทำรายการ ทำให้นักศึกษามีประสบการณ์ในการทำรายการ และมีประสบการณ์ในการใช้กล้อง และเครื่องมือต่างๆอย่างมากมาย แต่เนื่องจากเวลาน้อย และเร่งรัดเกินไป นักศึกษายังไม่คุ้นชินกับการทำรายการจึงทำให้บางกลุ่ม ไม่สามารถ ทำรายการได้ตามกำหนด

เมื่อมาถึงปีล่าสุด การอบรม Media Training ก็ได้เปลี่ยนรูปแบบ ให้มีการดูงานมากขึ้น และยังจัดให้มีการอบรมจากรุ่นพี่ที่สำเร็จการศึกษาไปแล้วที่ทำงานในด้านสื่ออีกด้วย นอกจากนั้นยังให้นักศึกษาจัดทำรายการ Facebook Live รายการ วาไรตี้ รวมถึง จัดทำเสวนาและคลิปท่องเที่ยวเมืองไทยและโปสเตอร์โฆษณามหาวิทยาลัยอีกด้วย การที่ให้นักศึกษา ได้ทำชิ้นงานหลากหลายแบบนี้ ทำให้นักศึกษา มีความรู้ด้านนิเทศศาสตร์กว้างมากขึ้นและเข้าใจว่างานด้านนิเทศศาสตร์นั้น ไม่ใช่เป็นเพียงแต่งานบรอดคาสติ้งเท่านั้น

สรุปได้ว่า การจัดโครงการ Media Training นั้น สร้างความพร้อมให้กับนักศึกษาก่อนที่จะไปฝึกงานได้เป็นอย่างดีไม่เพียงเท่านั้นยังสร้างความพร้อม ก่อนที่นักศึกษาจะขึ้นเรียนชั้นปีที่ 2 อีกด้วย นักศึกษาที่ผ่านการอบรม Media Training มานั้นจะมีวินัยและมีความตรงต่อเวลามากขึ้น พร้อมสู่การเป็นนักนิเทศศาสตร์มืออาชีพได้มากขึ้น

โพสท์ใน KM:ด้านการผลิตบัณฑิต, การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ, คณะนิเทศศาสตร์, ทั่วไป | ใส่ความเห็น

แนวปฏิบัติการให้บริการยานพาหนะของมหาวิทยาลัย

แนวปฏิบัติการให้บริการยานพาหนะของมหาวิทยาลัย

ดาวน์โหลดเอกสาร

โพสท์ใน ทั่วไป | ใส่ความเห็น

การบริหารองค์กรโดยนำการประกันคุณภาพมาพัฒนาด้านการจัดการเรียนการสอนและงานวิจัย

การบริหารองค์กรโดยนำการประกันคุณภาพ

มาพัฒนาด้านการจัดการเรียนการสอนและงานวิจัย

 

แนวคิดการบริหารองค์กร โดยนำการประกันคุณภาพการศึกษามาใช้บริหารงานองค์กร

การนำระบบการประกันคุณภาพการศึกษามาใช้เป็นตัวขับเคลื่อนการบริหารงาน โดยใช้วิธีการบริหารองค์กรแบบองค์รวม (Seamless) เป็นแนวทางการบริหารที่มีการเชื่อมโยงการบริหารงานทุกด้านเข้าหากัน โดยใช้การประกันคุณภาพการศึกษามาเป็นเครื่องมือในการดำเนินงาน

รูปแบบการบริหารองค์กรโดยนำการประกันคุณภาพการศึกษามาใช้บริหารงาน

รายละเอียดเอกสารประกอบเอกสารการจัดการความรู้ เรื่องการบริหารองค์กรโดยนำการประกันคุณภาพมาพัฒนาด้านการจัดการเรียนการสอนและงานวิจัยเพิ่มเติม คลิกที่นี่

โพสท์ใน KM:ด้านการผลิตบัณฑิต, KM:ด้านการวิจัย, คณะสาธารณสุขศาสตร์, งานประชาสัมพันธ์ รับนักศึกษา | ใส่ความเห็น

การประยุกต์ใช้การประกันคุณภาพกับการบริหารองค์กร

การประยุกต์ใช้การประกันคุณภาพกับการบริหารองค์กร

 

แนวคิดการประยุกต์ใช้การประกันคุณภาพการศึกษากับการบริหารองค์กร

การพัฒนาองค์กรโดยการนำการประกันคุณภาพการศึกษามาประยุกต์ใช้ในการบริหารงาน เป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยให้องค์กรมีผลการดำเนินงานที่เป็นไปตามเป้าหมายและมีประสิทธิภาพสูง โดยการใช้การรายงานผลงานเข้าในข้อมูล HRD เพื่อใช้เป็นข้อมูลผลงานประจำปี การดำเนินงานในลักษณะนี้จะช่วยให้สามารถปรับปรุงและพัฒนาผลงานได้อย่างรวดเร็วและตรงตามเป้าหมายขององค์กร

 

ขั้นตอนการประยุกต์ใช้การประกันคุณภาพกับการบริหารองค์กร

รายละเอียดเอกสารประกอบการจัดการความรู้ เรื่องการประยุกต์ใช้การประกันคุณภาพกับการบริหารองค์กรเพิ่มเติม คลิกที่นี่

โพสท์ใน คณะสาธารณสุขศาสตร์, งานประชาสัมพันธ์ รับนักศึกษา | ใส่ความเห็น

แนวทางการพัฒนารายได้สู่ชุมชน : การพัฒนาแป้งเพื่อสุขภาพ

                ในปัจจุบันภาครัฐมีนโยบายในการสนับสนุนงานวิจัยเพื่อนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาผลผลิตทางการเกษตรให้มีมูลค่าเพิ่มในเชิงการค้าอย่างเป็นรูปธรรม ไม่ว่าจะเป็นด้านการแปรรูปสินค้าเกษตรเป็นผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการนำพาประเทศที่จะพัฒนาไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ตามแนวทางการพัฒนาประเทศสู่ Thailand 4.0 ให้สามารถขยายผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวก่ำเป็นนวัตกรรมอาหารเพื่อสุขภาพได้มากยิ่งขึ้น

                 แม้ว่าประเทศไทยจะเป็นผู้ส่งออกข้าวในระดับโลก แต่ประเทศไทยก็ไม่มีอำนาจในการกำหนดราคาข้าวในตลาดโลกเลย ประกอบกับมีคู่แข่งขันในตลาดโลกเป็นจำนวนมาก อาทิ เวียดนาม สหรัฐอเมริกา ออสเตรเรีย ปากีสถาน และจีน โดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีเทคโนโลยีในการการพัฒนาพันธุ์ การเพาะปลูก และการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากข้าวในรูปแบบต่างๆ ดังนั้น การสร้างความแตกต่างให้กับข้าวไทย จึงมีความจำเป็นอย่างมากสำหรับประเทศไทยในการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในด้านต่างๆ เช่น การปลูกข้าวอินทรีย์ การเพิ่มผลผลิต และการแปรรูปข้าว เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลกและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับข้าวไทย

             ศาสตราจารย์ ดร. อรอนงค์ นัยวิกุล เมธีส่งเสริมนวัตกรรม และอาจารย์ประจำคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ทำการศึกษา วิจัย และพัฒนาเกี่ยวกับการ แปรรูปข้าวมามากกว่า 30 ปี ได้ให้มุมมองในการพัฒนานวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ข้าว โดยได้มองถึงความคุ้นเคยและความสัมพันธ์ของข้าวที่มีต่อชาวไทยตั้งแต่สมัยอดีต ทั้งในด้านวัฒนธรรม ประเพณี สังคม และเศรษฐกิจ อันนำมาซึ่งความเจริญของประเทศไทย จวบจนปัจจุบันข้าวก็ยังคงเป็นสินค้าเศรษฐกิจหลักที่นำรายได้มาใช้เพื่อการพัฒนาประเทศอยู่ตลอดมา แต่ถ้าจะสร้างให้ข้าวมีความสำคัญต่อประเทศเช่นที่มีมาแต่เดิมตลอดไป เราคงต้องมองว่าเรากำลังทำอะไรกับข้าวอยู่ ปัจจุบันมีความแตกต่างจากอดีตมากน้อยแค่ไหน และทิศทางของอนาคตของข้าว ควรจะเป็นอย่างไร

           ในอดีตบรรพบุรุษของชาวไทยได้คิดค้นสูตรอาหารมากมายจากข้าว ทั้งที่คิดทำเพื่อเป็นอาหารสำหรับพระมหากษัตริย์ เช่น อาหารตำรับชาววัง หรืออาหารชาวกรุง ชาวบ้าน และอาหาร พื้นบ้านท้องถิ่นต่างๆ โดยผลิตภัณฑ์อาหารจากข้าวที่เรายังพอรู้จัก และซื้อหาได้ อาทิ ข้าวแช่ ข้าวยำ ข้าวหมก ข้าวหลาม ข้าวเส้น (ขนมจีน) ข้าวซอย ข้าวเม่าราง ข้าวเม่าหมี่ ข้าวเม่าทอด ข้าวเกรียบ และข้าวแตน หลายคนอาจไม่รู้จัก ไม่เคยทาน ไม่รู้ว่าผลิตภัณฑ์เหล่านั้นมีกระบวนการผลิตอย่างไร สิ่งนี้เองเป็นสิ่งที่ชี้ ให้เห็นว่าภูมิปัญญาของบรรพบุรุษของเรากำลังจะสูญหายไป ดังนั้น เราจึงควรนำอดีตของผลิตภัณฑ์เหล่านั้นมาพัฒนาจนเกิดเป็นนวัตกรรมผลิตภัณฑ์อาหารจากข้าวในปัจจุบัน เพื่อสร้างโอกาส ทางการค้า อีกทั้งยังเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาของประเทศ

           การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวให้เป็นอุตสาหกรรมข้าวหลากหลายรูปแบบต้องดำเนินการศึกษาในทุกทาง ตั้งแต่งานวิจัยพื้นฐาน เริ่มตั้งแต่การสร้างรากฐานการผลิตข้าวด้วยพันธุ์ที่ หลากหลาย จนถึงการพัฒนากระบวนการแปรรูปข้าว ตลอดจน ผลิตภัณฑ์จากข้าว ผลิตภัณฑ์หมักดอง และผลพลอยได้จากข้าว ดังที่เห็นในปัจจุบัน เช่น ผลิตภัณฑ์ข้าวหุงสุกเร็ว ข้าวสำเร็จรูปบรรจุกระป๋องหรือบรรจุภัณฑ์อ่อนตัว ข้าวแช่เยือกแข็ง ก๋วยเตี๋ยว เส้นหมี่ ขนมจีน ข้าวเกรียบ ข้าวอบกรอบ น้ำมันรำข้าว เชื้อเพลิงจากแกลบ ทั้งนี้ เราควรดำเนินการพัฒนานวัตกรรมจากข้าว อย่างต่อเนื่องจนประเทศไทยได้ชื่อว่า “ ไทยเป็นผู้ผลิต ผู้ส่งออกข้าวและผลิตภัณฑ์จากข้าว ”

แนวทางการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมข้าวไทย 

จากการศึกษาพบว่าการพัฒนานวัตกรรมข้าวไทยสามารถพัฒนาได้ใน 5 กลุ่มอุตสาหกรรม ดังนี้

  1. กลุ่มการพัฒนานวัตกรรมในระบบการเพาะปลูกข้าว โดยการพัฒนาพันธุ์ข้าวให้มีผลผลิตและมีสารอาหารเพิ่มขึ้น เช่น Golden Rice เป็นข้าวที่มีสารเบต้า-แคโรทีนสูง รวมถึงการนำระบบเกษตรอินทรีย์เข้ามาใช้ในการปลูกข้าว และเทคโนโลยีต่างๆ ที่ใช้ในการปลูกข้าว
  2. กลุ่มนวัตกรรมข้าวไทยกับอุตสาหกรรมอาหารเช่น ข้าวที่ผ่านกระบวนการเพิ่มคุณค่าสารอาหาร (nutrient-enriched rice) และแป้งข้าวเจ้าที่เหมาะสำหรับการควบคุมน้ำหนัก (resistant starch) เป็นต้น
  3. กลุ่มนวัตกรรมข้าวไทยกับอุตสาหกรรมยาหรืออาหารเสริม เช่น การสกัดสารสำคัญออริซานอล (oryzanol) ไฟโตสเตอรอล (phytosterol) จากข้าว และการใช้ประโยชน์จากข้าวแดงได้จากการหมักข้าวด้วย red yeast (Monascus purpureus)
  4. กลุ่มนวัตกรรมข้าวไทยกับอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง การนำสารสกัดจากข้าวไปใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เช่น การนำกรดโคจิก (kojic acid) ที่มีคุณสมบัติในการยับยั้งการสร้างเม็ดสี (melanin) ของผิวหนัง และโปรตีนข้าว (hydrolyzed rice bran protein) เมื่อถูกนำผสมกับโปรตีนถั่วเหลืองจะมีคุณสมบัติในการลดรอยขอบตาดำ เป็นต้น
  5. กลุ่มนวัตกรรมข้าวไทยกับอุตสาหกรรมอื่นๆเช่น การนำแกลบซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการสีข้าวไปใช้ในอุตสาหกรรมยางรถจักรยานเพื่อให้มีลักษณะเบาและมีความยืดหยุ่นดี การนำแกลบไปเป็นส่วนผสมในการทำพื้นผิวถนน ตลอดจนการนำแกลบหรือฟางข้าวไปใช้ในอุตสาหรรมการผลิตบรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้

             จากที่กล่าวมาทั้งหมด กลุ่มเป้าหมายของการส่งออกผลิตภัณฑ์อยู่ที่ตลาดยุโรปสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ซึ่งเป็นตลาดที่ผู้บริโภคมีกำลังซื้อ และมีความตื่นตัวในการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่มาจากธรรมชาติเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในทุกอุตสาหกรรม ดังนั้น จึงเป็นโอกาสอันดีของประเทศไทยและคนไทยซึ่งมีวัตถุดิบที่มี คุณค่าอยู่ในมือ อันจะสามารถนำมาใช้เพื่อการสร้างให้เกิด เป็นผลิตภัณฑ์นวัตกรรมด้านข้าว ทั้งนี้ เราจึงควรให้ความสำคัญ กับการพัฒนาจากสิ่งที่เรามีอยู่เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ไม่ใช่เพื่อใครแต่เพื่อตัวท่านเองและลูกหลาน ให้สมกับคำกล่าวที่ว่า “นวัตกรรมข้าวไทย คนไทยทำได้”

               ดังนั้นแนวทางการพัฒนารายได้สู่ชุมชน : การพัฒนาแป้งเพื่อสุขภาพ ถือเป็นทางเลือกหนึ่งในการขับเคลื่อนนวัตกรรมอาหารเพื่อสุขภาพ โดยสามารถนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเผยแพร่ให้กับชุมชน ซึ่งเป็นการสนับสนุนและส่งเสริมนวัตกรรมอาหารสุขภาพ เป็นการาส่งเสริมสุขภาพในชุมชน และนำมาซึ่งรายได้เข้าสู่ชุมชนต่อไป 

โพสท์ใน ทั่วไป | ติดป้ายกำกับ , , | ใส่ความเห็น

คู่มือการใช้งานระบบลาหยุดงาน

ขั้นตอนการลาหยุดงานผ่าน Web Nationhouse

ขั้นตอนที่ 1 เข้าระบบ ที่ url https://nationhouse.nationgroup.com   แล้ว click ที่ มุม  HR  จะเข้าหน้าจอ login เข้าระบบโดยใช้ user และ password เข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ของแต่ละคนต้องใส่ตัวอักษรตัวเล็กตัวใหญ่ให้ถูกต้อง


ขั้นตอนที่ 2     หน้าจอหลักแสดงการลาของปีปัจจุบันข้้นตอนที่ 3  การลา กดที่ Tab  บันทึกใบลา  หรือปุ่มสร้างใบลา  และกรอกข้อมูลการลาต่าง

 

เสร็จสิ้นการลาสำหรับบุคลากร

ขั้นตอนที่ 4   การอนุมัติใบลา  (สำหรับหัวหน้างาน)    กดที่ Tab  อนุมัติใบลา  จะปรากฎหน้าจอรายการที่รอพิจารณา     กดปุ่ม Approve  ในรายการที่ต้องการอนุมัติ

 เอกสารฉบับเต็ม คู่มือการใช้งานระบบลาหยุดงานผ่าน Web Nationhouse

โพสท์ใน งานทรัพยากรมนุษย์, ทั่วไป | ใส่ความเห็น

เผยแพร่วารสารมหาวิทยาลัยเนชั่น

รวมภาพจากพิธีฯ

รวมภาพจากพิธีฯ

โพสท์ใน ทั่วไป | ใส่ความเห็น

Study Blog สนุกสนาน

วันนี้มาเรียนรู้เรื่อง Blog จาก คุณครูเปรม ได้ความรูัเพิ่ม และสนุกสนาน เบิกบานดีจังเลย

 

ขอบคุณคุณครูเปรมและทีมงานทุกคนที่ดูแลในการเรียนรู้ครั้งนี้

ป้าจี๋ (อ. ดิลกา)

โพสท์ใน คณะสาธารณสุขศาสตร์ | ใส่ความเห็น

เผยแพร่วารสารมหาวิทยาลัยเนชั่น

 

 

1 วารสารมหาวิทยาลัยเนชั่น

รวมภาพจากพิธีฯ

รวมภาพจากพิธีฯ

2

 

 

 

 

 

 

 

 

3http://blog.nation.ac.th/%e0%b8%81%e0%b8%b3%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b8%94%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%b5%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%97%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b4%e0%b8%8d-2/

 

 

 

โพสท์ใน ทั่วไป | ใส่ความเห็น