การปรับปรุงหลักสูตร

การปรับปรุงหลักสูตร

โพสท์ใน งานการเรียนการสอนและการสอบ | ใส่ความเห็น

การคำนวณจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่า

การคำนวณจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่า (FTES)

  1. คำนวณค่าหน่วยกิตนักศึกษา (Student Credit Hours : SCH)
  2. คำนวณค่า FTES สาขาวิชา
  3. คำนวณค่า FTES คณะ
  4. คำนวณค่า FTES มหาวิทยาลัย
    ดูตัวอย่างการคำนวณ คลิกที่นี่
  5. ค่า FTES ปีการศึกษา 2560 คลิกที่นี่
โพสท์ใน งานทะเบียนและประมวลผล, ทั่วไป | ใส่ความเห็น

สัมมนารปศ

ความหมายของการเรียนสัมมนา

  • สัมมนา ที่ใช้ในต่างประเทศ หมายถึง….วิธีสอนในระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งจะเน้นหนักในด้านการวิจัย ค้นคว้า และ การแก้ปัญหาที่นักศึกษากลุ่มนั้น ๆ  มีความสนใจร่วมกัน  วิชาที่สอนใน รูปแบบสัมมนาเป็นวิชาระดับสูง..เป็นการเรียนของนักศึกษาชั้นปีสุดท้าย เพื่อประมวลความรู้ในสิ่งที่เรียนมาผู้เรียนจะต้องมีพื้นฐานความรู้ และ ประสบการณ์ในสาขานั้นเป็นอย่างดี  จึงมุ่งให้ผู้เรียนรู้จักแก้
  • ปัญหา หรือ ค้นคว้าร่วมกัน โดยอาศัยการคิดอย่างมีเหตุผล และ การใช้ความรู้ และ ประสบการณ์ที่มีอยู่  เพื่อประโยชน์ร่วมกันในการแก้ปัญหา หรือ  การวิจัยค้นคว้าสัมมนาในประเทศไทย  คือ วิธีการสอน คือ มุ่งให้ผู้เรียนรู้จักการ   แก้ปัญหา หรือ วิจัยค้นคว้าร่วมกันโดยการแลกเปลี่ยนความรู้   ความคิดเห็น และ ประสบการณ์ที่มีอยู่ เพื่อประโยชน์ ร่วมกันในการแก้ปัญหา หรือการวิจัยค้นคว้านั้น ๆ

 

เว็บไซต์คณะสังคมฯ คลิกที่นี่

โพสท์ใน ทั่วไป | ใส่ความเห็น

การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเนชั่น

แนวทางปฏิบัติการประกันคุณภาพการศึกษาคณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ

  1. วัตถุประสงค์

เพื่อให้การดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพครอบคลุมทั้งการควบคุมคุณภาพ การประเมินคุณภาพการศึกษา และการติดตามตรวจสอบคุณภาพ ทั้งระดับหลักสูตร และระดับคณะ

 

  1. ขอบเขต

2.1 ดำเนินการควบคุมคุณภาพ โดยการกำหนดนโยบาย องค์ประกอบและตัวบ่งชี้คุณภาพ ผู้รับผิดชอบและการใช้ตัวบ่งชี้คุณภาพในการดำเนินงานให้ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด

2.2 ดำเนินการประเมินคุณภาพ โดยการประเมินการทำงานตามเกณฑ์คุณภาพของตัวบ่งชี้ และตัดสินใจในการประเมินผลการดำเนินงานตามร่องรอยหลักฐาน การสัมภาษณ์ หรือสิ่งที่ปรากฏเป็นหลักฐาน

2.3 ดำเนินการติดตามตรวจสอบคุณภาพ โดยการตรวจสอบการดำเนินงานตามระบบกลไกในการควบคุมคุณภาพ และผลการประเมินคุณภาพการศึกษาทั้งในระดับหลักสูตร และระดับคณะ เพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่มีมาตรฐานอย่างต่อเนื่อง

 

  1. คำนิยาม

คุณภาพการศึกษา หมายถึง คุณลักษณะที่พึงประสงค์ตาม ปรัชญา วิสัยทัศน์ และพันธกิจของการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาของแต่ละคณะและสถาบัน ที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาการอุดมศึกษาของประเทศและยุทธศาสตร์ชาติ

การประกันคุณภาพการศึกษา หมายถึง การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาในระดับอุดมศึกษา

ระบบและกลไก หมายถึง ขั้นตอนการดำเนินงานต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์ และเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ โดยอาศัยบุคลากร ทรัพยากร ระเบียบ แนวปฏิบัติ และปัจจัยต่างๆ เป็นกลไกในการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย

การควบคุมคุณภาพการศึกษา หมายถึง การมีระบบและกลไกในการควบคุมคุณภาพแต่ละองค์ประกอบ เพื่อกำกับการดำเนินงานของหลักสูตรและคณะ ให้ได้ผลตามเกณฑ์ตัวชี้วัดคุณภาพที่กำหนด

การประเมินคุณภาพการศึกษา หมายถึง กระบวนการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานและผลลัพธ์ของการบริหารคณะและสถาบัน ให้มีคุณภาพตามเกณฑ์ตัวชี้วัดคุณภาพที่กำหนด

การติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา หมายถึง กระบวนการในการกำกับ ติดตาม วิเคราะห์ และปรับปรุงการดำเนินงาน เพื่อให้ได้ผลการดำเนินงานและผลลัพธ์ตามเกณฑ์คุณภาพของระบบและกลไกควบคุมคุณภาพ

องค์ประกอบคุณภาพ หมายถึง ปัจจัยหลักในการดำเนินงานเพื่อให้ได้คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรและระดับคณะ

เกณฑ์ตัวบ่งชี้คุณภาพ หมายถึง ตัวชี้วัดการดำเนินงานตามองค์ประกอบคุณภาพ ที่ใช้สำหรับการประเมิน และติดตามตรวจสอบการดำเนินงานด้านคุณภาพการศึกษาของหลักสูตรและคณะ

 

  1. ความรับผิดชอบ

4.1 คณบดี

4.2 ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทุกหลักสูตร

4.3 อาจารย์ประจำหลักสูตรทุกคน

4.4 บุคลากรสายสนับสนุนทุกคน

 

  1. เอกสารอ้างอิงที่เกี่ยวข้อง

5.1 กฎกระทรวง เรื่องการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561. (2561). [ระบบออนไลน์]. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/A/011/3.PDF

5.2 สำนักมาตรฐานและประเมินผลอุดมศึกษา. (2557). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับ 2557. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัดการพิมพ์.

ขั้นตอนการดำเนินงานตามระบบประกันคุณภาพการศึกษา คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ

รายละเอียดเอกสารประกอบ แนวทางการดำเนินงานตามระบบประกันคุณภาพคณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ เพิ่มเติม คลิกที่นี่

 

โพสท์ใน คณะสาธารณสุขศาสตร์, งานประชาสัมพันธ์ รับนักศึกษา | ใส่ความเห็น

คู่มือ Che QA Online System ระดับหลักสูตร

คู่มือ Che QA Online System ระดับหลักสูตร

โพสท์ใน ทั่วไป | ใส่ความเห็น

การเขียนโครงร่างงานวิจัย (Proposal)

ตอนที่ 1 เทคนิคการตั้งชื่อหัวข้องานวิจัย

การตั้งชื่อหัวข้องานวิจัย จะต้องมีองค์ประกอบ 2 ส่วน ด้วยกันคือ

1.ส่วนที่เป็นประเด็น หรือตัวแปรที่ศึกษา และ

2.ส่วนที่เป็นประชากรที่จะศึกษา (ชูศรี  วงศ์รัตนะ, 2549)

ตอนที่ 2  เทคนิคการเขียนภูมิหลังงานวิจัย

การเขียนภูมิหลังงานวิจัย ต้องเขียนให้ครบ 5 ประเด็น หรือเขียนเป็น 5 ย่อหน้า

2. ภูมิหลัง (ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา)

2.1 ประเด็นที่ควรเขียนในภูมิหลัง

2.1.1  ประเด็นความสำคัญของตัวแปรตามที่เลือกมาศึกษา

2.1.2  ประเด็นสภาพปัญหา และที่มาของปัญหาที่พบในกลุ่มประชากร

ก. มีผู้วิจัยไว้แล้ว (ต้องอ้างอิงผลการวิจัย) (ไม่ควรอ้างงานวิจัยระดับเดียวกันกับงานวิจัยที่ทำ)

ข. ผู้วิจัยสำรวจเอง (ต้องแสดงผลการสำรวจ)

ค. ผู้รู้หรือผู้เชี่ยวชาญเขียนไว้ (ต้องอ้างอิงเอกสาร) (ควรเป็นระดับรศ. ขึ้นไป)

2.1.3 ประเด็นแนวทางการวิจัย ที่ได้จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัย

แนวทางที่ 1 ต้องการอธิบายหรือทำความเข้าใจ กับตัวแปรตามที่เลือกมาศึกษา

แนวทางที่ 2 ต้องการอธิบายผลของตัวแปรอิสระ ที่มีต่อตัวแปรตามโดยใช้วิธีทดลอง

2.1.4  ประเด็นคำถามการวิจัยที่ต้องการหาคำตอบ

2.1.5  ประเด็นเมื่อได้คำตอบแล้วจะเชื่อมโยงกับงานวิจัยที่มีอยู่แล้วได้อย่างไร และนำไปใช้ประโยชน์ในแง่ใดกับใครและหน่วยงานใดบ้าง

(ที่มา : เทคนิคการเขียนเค้าโครงงานวิจัย, ชูศรี  วงศ์รัตนะ, 2549)

ตอนที่ 3  เทคนิคการเขียนวัตถุประสงค์งานวิจัย

3.1  เทคนิคการเขียน คือ เขียนบรรยายเป็นข้อๆ ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ศึกษาเรื่องอะไร กับใคร และในแง่มุมใด

3.2  หลักการเขียน คือ ต้องสอดคล้องกับคำถามวิจัยหรือประเด็นที่ผู้วิจัยใคร่รู้ ใน 4 ลักษณะ

ก. การวิจัยแบบสำรวจ

ข.  การวิจัยแบบเปรียบเทียบ

ค. การวิจัยแบบทดลอง

ง. การวิจัยแบบความสัมพันธ์

3.3  ต้องสอดคล้องกับหัวข้อและส่วนอื่นๆในโครงร่างงานวิจัย

(ที่มา : เทคนิคการเขียนเค้าโครงงานวิจัย, ชูศรี  วงศ์รัตนะ, 2549)

ตอนที่ 4  เทคนิคการตั้งสมมุติฐานสำหรับงานวิจัย

4.1  สมมุติฐาน คือ คำตอบที่ผู้วิจัยคาดคะเนไว้ล่วงหน้าอย่างมีเหตุผล เพื่อตอบความมุ่งหมาย (วัตถุประสงค์) ของการวิจัยที่ตั้งไว้

4.2  สมมุติฐานการวิจัย มี 2 ชนิด

ก. แบบมีทิศทาง

ถ้าเป็นการวิจัยเปรียบเทียบ จะมีคำว่า “มากว่า”, “น้อยกว่า”, “สูงกว่า”, “ต่ำกว่า” อยู่ในสมมุติฐานนั้น

ถ้าเป็นการวิจัยแบบหาความสัมพันธ์ จะมีคำว่า “สัมพันธ์กันทางบวก”, “สัมพันธ์กันทางลบ”

ข. แบบไม่มีทิศทาง

ถ้าเป็นการวิจัยเปรียบเทียบ จะมีคำว่า “แตกต่างกัน” อยู่ในสมมุติฐานนั้น

ถ้าเป็นการวิจัยแบบหาความสัมพันธ์ จะมีคำว่า “สัมพันธ์กัน”

4.3  ลักษณะของงานวิจัยที่ต้องตั้งสมมุติฐาน มี 3 ลักษณะ คือ

ก. แบบเปรียบเทียบ

ข. แบบหาความสัมพันธ์

ค.  แบบทดลอง

(ที่มา : เทคนิคการเขียนเค้าโครงงานวิจัย, ชูศรี  วงศ์รัตนะ, 2549)

ตอนที่ 5  กรอบแนวคิดงานวิจัย

5.1  กรอบแนวคิดการวิจัย (Conceptual Framework) เขียนในรูปองค์ประกอบ 3 ส่วน ดังนี้

ก.  ปัจจัยนำเข้า (Input)

ข.  กระบวนการ (Process)

ค.  ผลผลิต (Output)

5.2  รูปแบบของการวิจัย (Model Research)

เป็นการนำส่วนที่เป็นกระบวนการ (Process) ตามกรอบแนวคิด (Conceptual Framework) มาขยายเป็นกระบวนการย่อย ที่ใช้ดำเนินงานวิจัย โดยใช้ทฤษฎีที่ได้ศึกษา มาจับหรือผสมผสานกัน

ตอนที่ 6 ขอบเขตในการวิจัย

6.1 ขอบเขตการวิจัยที่ต้องกำหนด

6.1.1  ประชากรที่ใช้ในการวิจัย

ก. ลักษณะของประชากร

ข. จำนวนประชากร (ถ้าหาได้)

6.1.2 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย

ก. ขนาดของกลุ่มเป้าหมาย

ข. วิธีเลือกกลุ่มเป้าหมาย

6.1.3  ตัวแปรที่ศึกษา

6.1.3.1  ตัวแปรอิสระ (Independent Variable) คือ ตัวแปรที่เป็นเหตุ

6.1.3.2  ตัวแปรตาม (Dependent Variable) คือ ตัวแปรที่เป็นผล

6.2 ขอบเขตเพิ่มเติม (กรณีงานวิจัยเชิงทดลอง)

ก. ขอบเขตของเนื้อหาที่ใช้ในการทดลอง

ข. ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง

(ที่มา : เทคนิคการเขียนเค้าโครงงานวิจัย, ชูศรี  วงศ์รัตนะ, 2549)

ตอนที่ 7 วิธีการวิจัย

7.1  ประชากร และกลุ่มตัวอย่าง

7.1.1  ประชากร (Population)

ก. ประชากรที่สามารถหาจำนวนที่แน่นอนได้

ข. ประชากรที่ไม่สามารถหาจำนวนที่แน่นอนได้

7.1.2 กลุ่มตัวอย่าง (Sample)

ก. ลักษณะของกลุ่มตัวอย่าง

1. บางส่วนของประชากร

2. เป็นตัวแทนที่ดีของประชากร

ข. หลักการเลือกกลุ่มตัวอย่าง

ประเภทที่ 1 เลือกโดยใช้ทฤษฎีความน่าจะเป็น

1. สุ่มอย่างง่าย (Sample Random Sampling)

2. สุ่มตามระดับชั้น (Stratified Random Sampling)

3. สุ่มแบบมีระบบ (Systematic Random Sampling)

4. สุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling)

ประเภทที่ 2 เลือกโดยไม่ใช้ทฤษฎีความน่าจะเป็น

1. เลือกตามสะดวก (Convenience Sampling)

2. เลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)

3. เลือกแบบกำหนดสัดส่วน (Quota Sampling)

ค.  การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง (จำเป็นอย่างยิ่งกับงานวิจัยเชิงสำรวจ)

1. คำนวณจากสูตร

2. กำหนดเป็นร้อยละ

– ถ้าประชากรมีจำนวนเป็นร้อย ควรใช้กลุ่มเป้าหมายประมาณ 25%ของประชากรทั้งหมด

– ถ้าประชากรมีจำนวนเป็นพัน ควรใช้กลุ่มเป้าหมายประมาณ 10%ของประชากรทั้งหมด

– ถ้าประชากรมีจำนวนเป็นหมื่น ควรใช้กลุ่มเป้าหมายประมาณ 10%ของประชากรทั้งหมด

3. ใช้ตารางสำเร็จรูป

– ใช้ตารางของ Yamane เมื่อสถิติที่ใช้เป็นร้อยละ

–  ใช้ตารางของ ศิริชัย กาญจนวาสีและคณะ เมื่อสถิติที่ใช้เป็นค่าเฉลี่ย

(ที่มา : เทคนิคการเขียนเค้าโครงงานวิจัย, ชูศรี  วงศ์รัตนะ, 2549)

7.2  เครื่องมือวิจัย

7.2.1  การออกแบบสร้างเครื่องมือการวิจัย

ก. วิธีการเลือกเครื่องมือการวิจัย มีอยู่ 5 ประเภท ดังนี้

– แบบสอบถาม (Questionnaire) ขึ้นอยู่กับตัวแปร มี 3 ประเภท ดังนี้

  1. ตัวแปรตามประเภท “ความคิดเห็น, ทัศนะ, ความพึงพอใจ” ใช้แบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 4 หรือ 5 ระดับ
  2. ตัวแปรตามประเภท “เจตคติ” มักนิยมใช้แบบวัดเจตคติแบบลิเคอร์ท (Likert attitude scale)
  3. ตัวแปรตามประเภท “พฤติกรรม เช่นการบริโภค” นิยมใช้แบบสอบถามประเภท เลือกตอบ (Checklist)

–  การสัมภาษณ์ (Interview)

–  มาตราวัดเจตคติ หรือทัศนคติ (Attitude scale)

–  การสังเกต (Observation)

–  แบบทดสอบ (Test)

ข. การได้มาของเครื่องมือวิจัย มี 3 ช่องทาง ดังนี้

– ผู้วิจัยสร้างเองทั้งหมดตามนิยามศัพท์เฉพาะ เนื่องจากตัวแปรตามที่สนใจศึกษายังไม่มีใครศึกษา

–  ผู้วิจัยสร้างเองโดยใช้วิธีปรับปรุงจากเครื่องมือของผู้วิจัยอื่น ที่วัดตัวแปรตัวเดียวกันหรือคล้ายคลึงกัน

–  ผู้วิจัยใช้เครื่องมือของผู้วิจัยอื่นทั้งฉบับ เนื่องจากวัดได้ตรงนิยามและมีคุณภาพดี ลักษณะกลุ่มเป้าหมายเป็นลักษณะเดียวกันหรือคล้ายคลึงกันมาก

ค. คุณภาพของเครื่องมือวิจัยที่ดี มี 4 ข้อ ดังนี้

– ความเที่ยงหรือความตรง (Validity) คือ เครื่องมือที่วัดได้ครอบคลุมสิ่งที่ต้องการวัด โดยผู้เชี่ยวชาญไม่ต่ำกว่า 3 คน (เป็นเลขคี่เพื่อการสรุปผล) มีข้อแนะนำ 2 ข้อ ดังนี้

  1. กำหนดสัดส่วนของความเห็นที่สอดคล้องกัน เช่น 2 ใน 3 หรือ 3 ใน 5
  2. หาค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of congruence) IOC ข้อที่ใช้ได้ต้องมีค่า IOC ตั้งแต่ 0.5 ขึ้นไป

– อำนาจจำแนก (Discrimination)

– ความเชื่อมั่นหรือความเชื่อถือได้ (Reliability)

– ความยากง่าย (Difficulty) กรณีแบบทดสอบ

ง. วิธีสร้างเครื่องมือการวิจัย มี 8 ขั้นตอน ดังนี้

  1. วิเคราะห์ความมุ่งหมาย/วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อพิจารณาตัวแปรทั้งหมดที่ต้องศึกษา
  2. ศึกษาทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับตัวแปรที่ต้องศึกษา โดยเฉพาะตัวแปรตาม
  3. ให้คำจำกัดความของตัวแปรโดยเฉพาะตัวแปรตาม ในรูปของนิยามปฏิบัติการ (Operation definition)
  4. เขียนข้อคำถามให้สอดคล้องกับนิยามปฏิบัติการ
  5. หาคุณภาพด้านความเที่ยงตรง โดยอาศัยผู้เชี่ยวชาญ
  6. ทดลองใช้ (Try-out ครั้งที่ 1 ) เพื่อหาคุณภาพรายข้อ เช่นอำนาจจำแนก
  7. ทดลองใช้ครั้งที่ 2 เพื่อหาคุณภาพทั้งฉบับ ได้แก่ ความเชื่อมั่น
  8. ปรับปรุงครั้งสุดท้ายให้สมบูรณ์

(ที่มา : เทคนิคการเขียนเค้าโครงงานวิจัย, ชูศรี  วงศ์รัตนะ, 2549)

 

โพสท์ใน ทั่วไป | ใส่ความเห็น

งานวิจัยชิ้นใหม่

อธิการบดีของมหาวิทยาลัย ผศ.ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม

อธิการบดีของมหาวิทยาลัย ผศ.ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม

การใช้ internetของนักศึกษามหาวิทยาลัย

โพสท์ใน ทั่วไป | ใส่ความเห็น

การปรับปรุงหลักสูตรบัญชี

1.มคอ.2

โพสท์ใน ทั่วไป | ใส่ความเห็น

คู่มือการใช้ระบบ e-studentloan

คู่มือการใช้ระบบ e-studentloan

 

โพสท์ใน ทั่วไป | ใส่ความเห็น

ระบบการเบิกจ่ายทุนการศึกษาปริญญาตรี เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อเยาวชน จังหวัดน่าน

ระบบการเบิกจ่ายทุนการศึกษาปริญญาตรี
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
เพื่อเยาวชน จังหวัดน่าน

โครงการทุนการศึกษาปริญญาตรี เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เพื่อเยาวชนจังหวัดน่าน เป็นโครงการร่วมมือระหว่างธนาคารกสิกรไทยและมหาวิทยาลัยเนชั่น เพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาในระดับอุดมศึกษาให้แก่นักเรียนในจังหวัดน่าน ศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยเนชั่น อันเป็นการเตรียมความพร้อมในด้านกำลังคนที่จะรองรับการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจของประเทศให้เจริญเติบโตอย่างยั่งยืนและสนับสนุน ผลักดันให้นักเรียนในจังหวัดน่านที่ได้รับทุนการศึกษานำความรู้มาพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ชุมชน ตลอดจนทรัพยากรสิ่งแวดล้อมในบ้านเกิดของตนเอง รวมถึงโครงการทุนการศึกษาฯ นี้ มหาวิทยาลัยเนชั่นได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการฝ่ายกลั่นกรองโครงการและกิจกรรมงานเฉลิมพระเกียรติ ทำเนียบรัฐบาล ให้โครงการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 เข้าร่วมเป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติฯอีกด้วย โดยเริ่มโครงการตั้งแต่ปีการศึกษา 2558 (รุ่น 1)เป็นต้นมา รุ่นละ 60 คน ทุนการศึกษามูลค่าทุนละ 450,000 บาท

เงื่อนไขการรับทุน
1. ผู้รับทุนต้องศึกษาตามระยะเวลาตลอดหลักสูตร
2. ผู้รับทุนต้องสนับสนุน ดำเนินกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ต่อชุมชน สังคม ตามทุนการศึกษาที่ได้รับ
3. เงื่อนไขอื่นๆ ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การระงับทุนการศึกษา
มหาวิทยาลัยจะระงับทุนการศึกษาเมื่อ
1. ผู้รับทุนไม่ลงทะเบียนเรียนภายในระยะเวลาที่กำหนด
2. ผู้รับทุนพ้นสภาพการเป็นนักศึกษา
3. ผู้รับทุนรักษาสภาพการเป็นนักศึกษาโดยไม่มีเหตุอันควร
4. ผู้รับทุนมีความประพฤติเสื่อมเสีย
5. ผู้รับทุนการศึกษามีผลการเรียนต่ำกว่ามาตรฐานที่มหาวิทยาลัยกำหนด
6. มหาวิทยาลัยพิจารณาเห็นสมควรให้ระงับทุนการศึกษา

การเบิกจ่ายทุนการศึกษา
ผู้รับทุนการศึกษา ดำเนินการดังนี้
1. ผู้รับทุนการศึกษารายงานตัวเพื่อรับทุนการศึกษาที่งานรับนักศึกษาและสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยเนชั่น โดยเตรียมเอกสารและข้อมูลสำหรับการเปิดบัญชีธนาคารให้พร้อม ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน และหมายเลขโทรศัพท์ของผู้รับทุน
2. เมื่อผู้รับทุนการศึกษา ได้รับสมุดบัญชีเงินฝากแล้ว ผู้รับทุนการศึกษาจะต้องรายงานตัวเพื่อรับเงินค่าครองชีพเป็นประจำทุกเดือน ณ ห้องบัญชีการเงิน ภายในอาทิตย์แรกของเดือน ยกเว้นช่วงปิดภาคการศึกษา ไม่ต้องรายงานตัว
3. ผู้รับทุนการศึกษาพบอาจารย์ที่ปรึกษาและลงทะเบียนเรียนภายในระยะเวลาที่กำหนด ทุกภาคการศึกษา

งานรับนักศึกษาและสื่อสารองค์กร ดำเนินการดังนี้
1. กำหนดวันรายงานตัวนักศึกษาทุนโครงการเฉลิมพระเกียรติฯ เพื่อรายงานตัวนักศึกษาทุน และประสานงานกับธนาคารกสิกรไทย สาขาถนนฉัตรไชย เพื่อเตรียมเปิดบัญชีให้นักศึกษาทุน
2. เมื่อนักศึกษาทุนได้รับสมุดบัญชีธนาคารแล้ว งานรับนักศึกษาและสื่อสารองค์กร ส่งรายชื่อนักศึกษาทุนให้งานทะเบียนฯ ,สำนักพัฒนานักศึกษา และงานบัญชีการเงิน

งานทะเบียนฯ ดำเนินการดังนี้
1. ตรวจสอบสิทธิ์การได้รับทุนการศึกษาโครงการทุนเฉลิมพระเกียรติฯ ก่อนการรับลงทะเบียนเรียนให้นักศึกษาทุนโครงการเฉลิมพระเกียรติฯ ตามกำหนดการรับลงทะเบียน

สำนักพัฒนานักศึกษา
1. ตรวจสอบข้อมูลการได้รับทุนการศึกษาก่อนการลงทะเบียนเรียนของนักศึกษาในแต่ละภาคการศึกษา
2. จัดเตรียมหอพักสำหรับนักศึกษาทุนโครงการเฉลิมพระเกียรติฯ
3. จัดทำรายงานการดำเนินงานทุนโครงการเฉลิมพระเกียรติฯ ทุกภาคการศึกษา
4. ดำเนินการจัดประชุมปฐมนิเทศนักศึกษาทุนโครงการเฉลิมพระเกียรติฯ ทุกปีการศึกษา
5. ดำเนินการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ระหว่างนักศึกษาทุนโครงการเฉลิมพระเกียรติฯ และ ธนาคารกสิกรไทย เป็นประจำทุกปีการศึกษา

งานบัญชีการเงินฯ ดำเนินการดังนี้
1. กำหนดเลขที่ Vendor ของนักศึกษาทุนฯทุกคน เพื่อเตรียมเข้าระบบการนำจ่ายค่าครองชีพรายเดือนผ่านระบบ Workflow
2. ตรวจสอบการรายงานตัวของนักศึกษาทุนโครงการเฉลิมพระเกียรติฯ และติดตามให้มารายงานตัวให้ครบทุกคน
3. จัดทำบันทึกเพื่อขออนุมัติเบิกจ่ายค่าครองชีพประจำเดือน ทุกเดือน ให้เสร็จสิ้นก่อนวันที่ 15 ของทุกเดือน เมื่อได้รับการอนุมัติให้นำเรื่องเข้าสู่ระบบWorkflow กำหนดให้เงินค่าครองชีพเข้าบัญชีนักศึกษาทุนทุกวันที่ 1 ของเดือน กรณีที่ตรงกับวันหยุดให้เลื่อนเป็นวันถัดไป
4. สรุปผลการเบิกจ่ายค่าครองชีพ ค่าเล่าเรียน และค่าที่พัก ทุกภาคเรียน เพื่อส่งข้อมูลให้สำนักพัฒนานักศึกษาจัดทำรายงานผลการดำเนินงานทุนโครงการเฉลิมพระเกียรติฯ เป็นประจำทุกภาคการศึกษา

งานบัญชีการเงินทรัพย์สินและงบประมาณ
31 พฤษภาคม 2561

โพสท์ใน งานบัญชีและการเงิน, ทั่วไป | ใส่ความเห็น