แนวปฏิบัติการจัดเก็บเอกสารภายในและภายนอก

  

แนวปฏิบัติการจัดเก็บเอกสาร

ภายในและภายนอก

 

งานเลขานุการกลาง

มหาวิทยาลัยเนชั่น

งานสารบรรณ

งานสารบรรณ โดยในทางการปฏิบัติ งานสารบรรณเป็นงานที่เกี่ยวกับหนังสือ อาทิ การร่าง เขียน พิมพ์ จดจำ ทำสำเนา รับ ส่ง บันทึก โต้ตอบ จัดเก็บ ค้นหา และทำลาย ทั้งนี้ต้องเป็นระบบที่ให้ความสะดวกรวดเร็ว ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ขั้นตอนและขอบข่ายของงานสารบรรณว่าที่เกี่ยวข้องกับเรื่องใดบ้าง เริ่มตั้งแต่

1.การผลิตหรือจัดทำเอกสาร (พิจารณา – คิด – ร่าง- เขียน ตรวจทาน สำเนา และเสนอลงนาม)

2.การส่ง (ตรวจสอบ – ลงทะเบียน – แจกจ่าย)

3.การรับ (ตรวจ – ลงทะเบียน – แจกจ่าย)

4.การเก็บรักษาและการยืม

5.การทำลาย

โดยอ้างอิงถึง ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 กำหนดไว้ว่า หนังสือราชการ คือเอกสารที่เป็นหลักฐานในราชการ ได้แก่

1.หนังสือที่มีไปมาระหว่างส่วนราชการ

2.หนังสือส่วนราชการมีไปถึงหน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการหรือที่มีไปถึงบุคคลภายนอก

3.หนังสือที่มีหน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการหรือที่บุคคลภายนอกมีมาถึงส่วนราชการ

4.เอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานในราชการ

5.เอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับชนิดของหนังสือ มี 4 ชนิด ได้แก่

5.1 หนังสือภายนอก

5.2 หนังสือภายใน

5.3 หนังสือสั่งการ(คณะ)

5.4 หนังสือประชาสัมพันธ์

และยังสามารถแบ่งแยกชั้นความเร่งด่วน หนังสือที่ต้องปฏิบัติให้เร็วมากขึ้น เป็นหนังสือที่งานสารบรรณต้องดำเนินการด้วยความรวดเร็วเป็นพิเศษ ดังนี้

1.ด่วนที่สุด ให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติในทันทีที่ได้รับหนังสือนั้น

2.ด่วนมาก ให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติโดยเร็ว

3.ด่วน ให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติเร็วกว่าปกติเท่าที่จะทำได้

1.ขั้นตอนการลงทะเบียนรับหนังสือ

หนังสือรับ คือ หนังสือที่ได้รับมาจากหน่วยงานภายนอก มีขั้นตอนการปฏิบัติดังนี้

1.จัดลำดับความสำคัญและความเร่งด่วนของหนังสือเพื่อดำเนินการก่อนหลัง

2.ประทับตรารับหนังสือที่มุมบนด้านขวาของหนังสือ โดยกรอก เลขรับ วัน เดือน ปี และเวลาที่รับเอกสารนั้นๆ

3.ลงทะเบียนรับหนังสือในบันทึกในคอมพิวเตอร์ตามแบบฟอร์มทะเบียนรับ โดยแยกเป็นทะเบียนรับภายใน และทะเบียนรับภายนอก

4.ลงทะเบียนรับด้วยระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) ในกรณีเร่งด่วน การจัดแฟ้มเสนอหนังสือต่อผู้บังคับบัญชา

 2.ขั้นตอนการเสนอหนังสือ

ขั้นตอนการเสนอหนังสือคือ การนำหนังสือที่ดำเนินการกระบวนการพิจารณาชั้นความเร่งด่วนเสร็จแล้วนำเสนอต่อผู้บังคับบัญชา เพื่อการพิจารณา บันทึก สั่งการ ทราบและลงชื่อการเสนอไปตามสายการปฏิบัติงาน ตามลำดับผู้บังคับบัญชา โดยเจ้าหน้าที่ผู้รวบรวมเรื่องเสนอ และแยกหนังสือที่เสนอออกเป็นประเภทตามชั้นความลับ ความเร่งด่วน จัดลำดับว่าเป็นเรื่องที่ต้องสั่งการ พิจารณา หรือเพื่อทราบแล้วนำเสนอใส่แฟ้มเสนอตามหน่วยงาน ผู้บริหาร คณบดีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายที่ได้จัดไว้

  1. ขั้นตอนการส่งหนังสือ/จดหมายออก

หนังสือส่ง คือ เอกสารที่ส่งออกภายนอก โดยแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ มีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้

3.1.1.หนังสือภายนอก

3.1.1.1 ให้ตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วน ของหนังสือ

3.1.1.2 บรรจุซองแล้วปิดผนึก จ่าหน้าซองถึงผู้รับและผู้ส่งให้ชัดเจน

3.1.2.หนังสือส่งภายใน

3.1.2.1 ให้ตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วนของหนังสือ

3.2 ลงทะเบียนหนังสือ โดยการกรอกเลขทะเบียนส่ง จากหน่วยงานผู้ส่ง ถึงหน่วยงานผู้รับ ลายมือชื่อผู้รับ และวันที่รับหนังสือนั้น หากเป็นหนังสือเร่งด่วนจะส่งเอกสารผ่านระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) ไปหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และจึงประสานงานทางโทรศัพท์ facebook line e-mail เพื่อตรวจสอบการรับหนังสืออีกครั้ง   

  1. การยืมหนังสือ

การยืมหนังสือที่ส่งเก็บแล้ว ให้ปฏิบัติดังนี้

4.1 ผู้ยืมต้องแจ้งให้ทราบว่าเรื่องที่ยืมนั้นจะนำไปใช้ในงานใด

4.2 ผู้ยืมจะมอบหลักฐานการยืมให้เจ้าหน้าที่เก็บ แล้วลงชื่อรับเรื่องที่ยืมไว้ในบัตรยืมหนังสือและให้เจ้าหน้าที่เก็บรวบรวมหลักฐานการยืมเรียงลำดับ วัน เดือน ปี ไว้เพื่อติดตามทวงถาม ส่วนบัตรยืมหนังสือนั้น ให้เก็บไว้แทนที่หนังสือที่ถูกยืมไป

4.3 การยืมหนังสือระหว่างหน่วยงาน ผู้ยืมและผู้อนุญาตให้ยืมต้องเป็นหัวหน้าหน่วยงานหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย

4.4 การยืมหนังสือภายในหน่วยงานเดียวกัน ผู้ยืมและผู้อนุญาตยืมต้องเป็นหัวหน้าหน่วยงานหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายการให้บุคคลภายนอกยืมหนังสือ จะกะทำมิได้ เว้นแต่จะให้ดูเพื่อคัดลอกหนังสือ ทั้งนี้จะต้องได้รับอนุญาตจากหัวหน้างานหรือผู้ที่ได้รับหมายเท่านั้น

  1. การทำลายหนังสือ

งานสารบรรณได้จำแยกการทำลายเอกสารเป็น 3 ส่วนดังนี่

5.1 หนังสืองานประชาสัมพันธ์ทั่วระยะเวลาในการเก็บรักษา 1 ปี

5.2 หนังสืองานประชาสัมพันธ์ที่อ้างอิงเกี่ยวกับงาน เช่น เอกสารประกอบการพิจารณาต่าง ระยะเวลาในการเก็บรักษา 3 ปี

5.3 เอกสารอ้างอิงเกี่ยวกับการเรียนการสอน เช่น ข้อสอบ ผลการเรียนฯ เป็นต้น ระยะเวลาในการเก็บรักษา 5 ปี

เมื่อผ่านระยะเวลาในการเก็บรักษางานสารบรรณจะดำเนินการทำลายเอกสารด้วยเครื่องตัดมือโยก

 

โพสท์ใน ทั่วไป | ใส่ความเห็น

งานลงรายการบรรณานุกรม

http://doc.nation.ac.th/dataqa2560/Guidebook_Cataloging.pdf

โพสท์ใน งานหอสมุด | ใส่ความเห็น

แนวปฏิบัติการรับ-ส่งหนังสือของงานสารบรรณ (KM)

แนวปฏิบัติการรับ-ส่งหนังสือของงานสารบรรณ (KM)

ดาวน์โหลดเอกสาร

โพสท์ใน ทั่วไป | ใส่ความเห็น

การผลิตผลงานวิจัยเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งทางวิชาการ คือ

สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ซึ่งดํารงตําแหน่งอาจารย์ และทําการสอนมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 ปี หรือ สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า ผู้นั้นต้องดํารงตําแหน่งอาจารย์ และทําการสอนมาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี  หรือ สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า  ซึ่งดํารงตําแหน่งอาจารย์ และทําการสอนมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี และพ้นระยะทดลองการปฏิบัติงาน อีกทั้งต้องมีผลงานทางวิชาการตามเกณฑ์การแต่งตั้งบุคคลให้ดํารงตําแหน่งทางวิชาการ

เกณฑ์ผลงานทางวิชาการเพื่อเข้าตำแหน่งทางวิชาการ ต่อไปนี้

1.  ผลงานแต่งหรือเรียบเรียง ตํารา หนังสือ หรือบทความทางวิชาการ ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กําหนด

2.  ผลงานวิจัย ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กําหนด ทั้งนี้ ไม่นับงานวิจัยที่ทําเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใดๆ

3.  ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กําหนด

4.  ผลงานวิชาการรับใช้สังคม ซึ่งมีคุณภาพดี โดยผลงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติหน้าที่ตามภาระงานซึ่งสถาบันอุดมศึกษาหรือคณะวิชาให้ความเห็นชอบ และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กําหนด รวมทั้งได้รับการรับรองการใช้ประโยชน์ต่อสังคม โดยปรากฏผลที่สามารถประเมินได้เป็นรูปธรรม โดยประจักษ์ต่อสาธารณะ”

เกณฑ์การเผยแพร่ผลงานวิจัยพื่อเข้าตำแหน่งทางวิชาการ ดังนี้

  1. เผยแพร่ในรูปของบทความทางวิชาการในวารสารทางวิชาการ ทั้งนี้วารสารทางวิชาการนั้นอาจเผยแพร่เป็นรูปเล่มสิ่งพิมพ์หรือเป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีกำหนดการเผยแพร่อย่างแน่นอนชัดเจน
  2. เผยแพร่ในหนังสือรวมบทความในรูปแบบอื่นที่มีการบรรณาธิการประเมินและตรวจสอบคุณภาพของบทความต่างๆ ในหนังสือนั้นแล้ว
  3. เผยแพร่ในหนังสือประมวลผลการประชุมทางวิชาการ (Proceedings) ของการประชุมทางวิชาการในระดับชาติหรือระดับนานาชาติ ที่มีการบรรณาธิการประเมินและตรวจสอบคุณภาพของบทความต่างๆ ที่นำเสนอนั้นแล้ว (เมื่อได้เผยแพร่ตามลักษณะข้างต้นและได้มีการพิจารณาประเมินคุณภาพของ “บทความทางวิชาการ” นั้นแล้ว การนำ “บทความทางวิชาการ” นั้น มาแก้ไขปรับปรุงหรือเพิ่มเติมส่วนใดส่วนหนึ่ง เพื่อนำมาเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ และให้มีการประเมินคุณภาพ “บทความทางวิชาการ” นั้นอีกครั้งหนึ่งจะกระทำไม่ได้)

ลักษณะคุณภาพเกณฑ์การเผยแพร่ผลงานวิจัยพื่อเข้าตำแหน่งทางวิชาการ แบ่งเป็น 3 ระดับ ดังนี้

ระดับดี : เป็นบทความทางวิชาการที่มีเนื้อหาสาระทางวิชาการถูกต้องสมบูรณ์และทันสมัย มีแนวคิดและการนำเสนอที่ชัดเจนเป็นประโยชน์ต่อวงวิชาการ

ระดับดีมาก : ใช้เกณฑ์เดียวกับระดับดี โดยมีข้อกำหนดเพิ่มเติม ดังนี้

  1. มีการวิเคราะห์และเสนอความรู้หรือวิธีการที่ทันสมัยต่อความก้าวหน้าทางวิชาการและเป็นประโยชน์ต่อวงวิชาการ
  2. สามารถนำไปใช้อ้างอิงหรือนำไปปฏิบัติได้

ระดับดีเด่น : ใช้เกณฑ์เดียวกับระดับดีมาก โดยมีข้อกำหนดเพิ่มเติม ดังนี้

  1. มีลักษณะเป็นงานบุกเบิกทางวิชาการและมีการสังเคราะห์จนถึงระดับที่สร้างองค์ความรู้ใหม่ (Body of Knowledge) ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
  2. มีการกระตุ้นให้เกิดความคิดและค้นคว้าต่อเนื่อง เป็นที่เชื่อถือและยอมรับในวงวิชาการหรือวิชาชีพที่เกี่ยวข้องในระดับชาติและ/หรือนานาชาติ

ผลงานทางวิชาการสำหรับการเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการทุกตำแหน่ง ต้องเป็นผลงานที่มีทิศทางการศึกษาหรือวิจัยตามกรณีใดกรณีหนึ่งหรือหลายกรณีตามความเหมาะสมของแต่ละสาขาวิชา ดังต่อไปนี้
1. สอดคล้องกับศักยภาพหรือทรัพยากรของแต่ละพื้นที่ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์และการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ
2. เพื่อให้รู้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของบริบทโลก
3. เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
4. พัฒนาและส่งเสริมชุมชนหรือสังคมให้มีความเข้มแข็ง
5. ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อวงวิชาการ

โพสท์ใน ทั่วไป | ใส่ความเห็น

การสอนภาษาอังกฤษออนไลน์

การสอนภาษาอังกฤษออนไลน์
1. เตรียมความพร้อมก่อนสอนภาษาอังกฤษออนไลน์
1.1 สอบถามเป้าหมายในการเรียนภาษาอังกฤษของผู้เรียน เพื่อให้ผู้สอนแนะนำ กำหนดกระบวนการ และวิธีการเรียนที่เหมาะกับตัวผู้เรียน ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมายที่ต้องการได้
1.2 สำรวจผู้เรียน โดยเริ่มจากการทดสอบผู้เรียนจากการทดสอบคำศัพท์ระดับพื้นฐานไปจนถึงคำศัพท์ระดับยาก ทดสอบการเขียน การฟังและการพูดภาษาอังกฤษตามลำดับ
1.3 เมื่อทราบระดับของผู้เรียนแล้ว ผู้สอนจะแนะนำ กระบวนการ และวิธีการเรียนภาษาอังกฤษออนไลน์ ที่เป็นไปตามมาตรฐานทางด้านทักษะภาษาอังกฤษได้

2. วิธีการสอนภาษาอังกฤษออนไลน์
2.1 ผู้สอนแนะนำเว็บไซต์ วิธีการเข้าใช้งาน ขั้นตอนการเรียน หลักสูตรการเรียน และเวลาที่กำหนดในการเรียนตามโปรแกรมภาษาอังกฤษออนไลน์
2.2 ขณะที่ผู้เรียนได้เรียนโปรแกรมภาษาอังกฤษออนไลน์ตามบทเรียนต่างๆ จากผู้สอน แล้วไม่เข้าใจเนื้อหาในการเรียนบ้างส่วนหรือในโปรแกรมอธิบายเนื้อหาการเรียนไม่มากพอ ผู้สอนควรแนะนำให้ผู้เรียนค้นหาข้อมูลจากเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อเพิ่มความเข้าใจมากขึ้น อย่างเช่น ถ้าในบทเรียนสอนเรื่อง Past Simple Tense ผู้เรียนสามารถหาเพิ่มเติมได้ในเว็บไซต์ได้ตามที่ผู้สอนแนะนำ

3. ขั้นตอนการเรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
3.1 เมื่อผู้เรียนได้โปรแกรมภาษาอังกฤษออนไลน์ที่เหมาะสมจากการแนะนำจากผู้สอนแล้ว ในโปรแกรมภาษาอังกฤษออนไลน์ส่วนใหญ่จะมีแบบทดสอบวัดระดับ เพื่อให้แน่ใจว่าผู้เรียนจะเริ่มเรียนภาษาอังกฤษในระดับที่เหมาะสม
3.2 ในโปรแกรมภาษาอังกฤษออนไลน์ส่วนใหญ่จะมีแบบฝึกหัดจากบทเรียนที่สามารถฝึกทำซ้ำๆ เพื่อเพิ่มทักษะ และยังมีบทเรียนมัลติมีเดีย โดยผู้เรียนจะได้ฝึกการฟัง การอ่าน การเขียน และการพูดภาษาอังกฤษที่ใช้กันจริงในทั่วโลก และยังมีระบบจดจำเสียงพูดหรือบันทึกเสียงผู้เรียน ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนฝึกฝนและพัฒนาด้านภาษาอังกฤษให้ดีขึ้นเรื่อยๆ
3.3 ผู้สอนสอบถามเนื้อหาการเรียนจากผู้เรียนเป็นระยะๆ เพื่อสอบถามความเข้าใจของเนื้อหา เนื่องจากการเรียนภาษาอังกฤษออนไลน์ต้องมีวินัยในการเรียนเพราะเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองส่วนใหญ่ ผู้สอนจะมีบทบาทสำคัญในการอธิบายเนื้อหาในบทเรียนหากผู้เรียนไม่เข้าใจ ซึ่งผู้เรียนแต่ละคนมีพื้นฐานภาษาอังกฤษและความเข้าใจในการเรียนแตกต่างกัน
3.4 ผู้สอนมีการทดสอบเนื้อหาการเรียนภาษาอังกฤษออนไลน์เป็นระยะๆ เช่นกัน เพื่อตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียน
3.5 แนะนำผู้เรียนว่าไม่เพียงแต่การเรียนภาษาอังกฤษออนไลน์เพียงอย่างเดียวที่จะฝึกฝนและพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษได้ ผู้เรียนควรไม่กลัวที่จะลองพูด เพราะคำคัพท์บางคำมีการออกเสียงที่คล้ายกัน แต่ให้ความหมายต่างกัน นอกจากนี้ผู้เรียนควรทำสิ่งรอบตัวให้เป็นความรู้ภาษาอังกฤษโดยการแสวงหาคำศัพท์ใหม่ ๆ จากการใช้ชีวิตประจำวัน แล้วลองจดบันทึกดูเพราะทุกๆ ที่คือ “แหล่งเรียนรู้” การจะพัฒนาและเก่งภาษาอังกฤษได้ก็อยู่ที่ตัวผู้เรียนเองเป็นส่วนใหญ่

โพสท์ใน ทั่วไป | ใส่ความเห็น

ขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างวัสดุและบริการ

ขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างวัสดุและบริการ
1. บุคลากรที่มีความประสงค์จะจัดซื้อวัสดุ/จ้างทำวัสดุ ทำบันทึกข้อความขอซื้อ/ขอจ้าง โดยเรียนหัวหน้าศูนย์/ผู้อำนวยการ/คณบดี/ ผ่านเจ้าหน้าที่พัสดุ ทั้งนี้ ในบันทึกข้อความดังกล่าวต้องประกอบไปด้วยข้อความหลัก ๆ ดังนี้
1.1 เหตุผล และความจำเป็นที่จะต้องใช้
1.2 วันที่ที่จำเป็นต้องใช้
1.3 รายการวัสดุ
1.4 ปริมาณวัสดุแต่ละรายการ
1.5 ราคา โดยประมาณ
1.6 แผนงาน/งาน/โครงการ รวมทั้งหมวดเงินที่จะใช้ในการเบิกจ่าย
1.7 ผู้ขอซื้อ/ขอจ้าง

2. หัวหน้าศูนย์/ผู้อำนวยการ/คณบดี/รองอธิการบดี อนุมัติแล้ว เจ้าหน้าที่พัสดุหน่วยงานดำเนินการสืบราคาวัสดุที่จะซื้อ/จ้าง โดยขอเอกสารต่าง ๆ จากผู้ขาย ดังนี้
2.1 ใบเสนอราคา ซึ่งใบเสนอราคาต้องมีข้อความที่สำคัญ ๆ ดังนี้
2.1.1 ชื่อ และที่อยู่ ของสถานประกอบการของผู้ขาย
2.1.2 ปริมาณของวัสดุ
2.1.3 ราคาของวัสดุ ทั้งที่เป็นตัวเลข และตัวอักษร โดยระบุด้วยว่า เป็นราคารวมภาษี หรือไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม
2.1.4 กำหนดส่งของ ที่สัมพันธ์กับระยะเวลาที่ต้องการใช้พัสดุ
2.1.5 กำหนดยืนราคา
2.1.6 ลายมือชื่อ และชื่อ-ชื่อสกุล ของผู้เสนอราคา
2.1.7 ตรายาง (หากไม่มีตรายาง ให้เขียนรับรองว่า ไม่มีตรายาง)

2.2 รายละเอียดของวัสดุ (ถ้ามี)
3. เจ้าหน้าที่พัสดุ หรือผู้สืบราคา ลงลายมือชื่อผู้สืบราคาที่ใบเสนอราคา
4. เจ้าหน้าที่พัสดุ ดำเนินการรวบรวมใบเสนอราคา ทั้งนี้ การจัดซื้อเรื่องเดียวกัน หากเป็นวัสดุที่มียี่ห้อ/รุ่น ใบเสนอราคาของแต่ละรายต้องเป็นวัสดุที่มียี่ห้อ/รุ่นเดียวกัน เพื่อเป็นฐานเดียวกันในการเสนอราคา และพิจารณาราคา
5. เมื่อผู้มีอำนาจอนุมัติ อนุมัติให้ดำเนินการจัดซื้อ เจ้าหน้าที่พัสดุ ตรวจสอบการอนุมัติว่าอนุมัติให้ดำเนินการอย่างไร เช่น ทำเป็นสัญญา ทำเป็นข้อตกลง หรือทำเป็นใบสั่งซื้อ/สั่งจ้างทุกครั้ง ห้ามเว้นว่างไว้เด็ดขาด
6. เมื่อผู้ขาย/ผู้รับจ้าง ส่งมอบวัสดุแล้ว เจ้าหน้าที่พัสดุตรวจสอบใบส่งของ และเจ้าของงานมา ตรวจรับให้เสร็จสิ้นโดยเร็วที่สุด
7. เจ้าหน้าที่พัสดุนำรายการสินค้ามาระบุในสต็อกสินค้า โดยแยกประเภทการการเบิกจ่ายวัสดุ เช่น วัสดุสำนักงาน และวัสดุงานบ้าน
8. หน่วยงานที่ขอซื้อ จัดทำใบขอเบิกวัสดุเพื่อนำไปใช้
9. ส่งเอกสารให้งานบัญชีเมื่อทำการตัดสต็อกเรียบร้อยแล้ว เพื่อตรวจสอบต่อไป

โพสท์ใน ทั่วไป | ใส่ความเห็น

การผลิตผลงานวิจัยให้เป็นไปตามเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ (ใหม่)

ผศ.บดินทร์ เดชาบูรณานนท์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเนชั่น

การผลิตผลงานวิจัยให้เป็นไปตามเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ (ใหม่)

ตามที่ราชกิจจานุเบกษา ได้ออกประกาศ ก.พ.อ. วันที่ 31 ตุลาคม 2560 เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ 1 ปี หลังจากประกาศ (1 พฤศจิกายน 2561) โดยสรุปดังนี้

สำหรับหลักการแล้ว ประกาศ ก.พ.อ. ฉบับนี้มีความเข้มข้นมากขึ้น แต่ยื่นขอตำแหน่งได้เร็วขึ้น ตัวอย่างเช่น

1) อายุงานการเป็นอาจารย์ โดยมีวุฒิปริญญาตรี 6 ปี ปริญญาโท 4 ปี และ ปริญญาเอก 1 ปี และพ้นระยะทดลองการปฏิบัติงาน (ขอได้เร็วขึ้นกว่าเดิม)

2) ผลงานทางวิชาการ (เข้มขึ้นกว่าเดิม)

ตำแหน่ง ผศ. ประกอบด้วย วิจัย 2 เรื่อง (ดี) หรือวิจัย 1 เรื่องและผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น 1 รายการ (ดี) หรือวิจัย 1 เรื่อง และผลงานวิชาการรับใช้สังคม 1 เรื่อง (ดี) หรือวิจัย 1 เรื่อง และตำราหรือหนังสือ  1 เล่ม (ดี)

ตำแหน่ง รศ. ประกอบด้วย วิจัย 2 เรื่อง (ดี) หรือ วิจัย  1 เรื่อง และผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น 1 รายการ (ดี) หรือ วิจัย 1 เรื่อง และผลงานวิชาการ รับใช้สังคม 1 เรื่อง และตำราหรือหนังสือ 1 เล่ม (ดี)

ตำแหน่ง ศ. สำหรับการเสนอขอตำแหน่งในกลุ่มสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ ประกอบด้วย ตำราหรือหนังสือ 2 เล่ม และผลงานวิจัย 2 เรื่อง (ดีมาก) หรือตำราหรือหนังสือ 2 เล่ม ผลงานวิจัย 1 เรื่อง และผลงานวิชาการในลักษณะอื่นหรือผลงานวิชาการรับใช้สังคม 2 เรื่อง (ดีมาก) เป็นต้น (“ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง ผศ. รศ. และ ศ. พ.ศ. 2560 ,” 2561)

                        จากมุมมองของผู้เขียนเทคนิคการผลิตผลงานวิจัยสำหรับการขอตำแหน่งวิชาการตามเกณฑ์การประเมินตำแหน่งวิชาการแบบใหม่ ในกลุ่มสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ มีองค์ประกอบให้ผู้เสนอขอตำแหน่งได้พิจารณา ดังนี้

1)แสดงถึงความชำนาญและความเชี่ยวชาญในสาขาวิชานั้นๆ ต้องเป็นงานวิจัยที่

ลงลึกในศาสตร์นั้นๆ และตรงกับสาขาวิชาของผู้ขอ ซึ่งจะช่วยให้คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาผลงานได้ตรงกับสาขาวิชา โดยไม่ต้องขอผลงานเพิ่มเติม

2)มีระเบียบวิธีวิจัยที่ถูกต้อง น่าเชื่อถือ ผู้เสนอขอตำแหน่งสามารถเลือกส่งผลงานได้ทั้ง

งานวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ

3)ใช้การอ้างอิงที่เป็นมาตรฐาน ซึ่งในปัจจุบันมหาวิทยาลัยหลักใช้ตาม

ระบบ APA (6th Edition)

4)   ไม่คัดลอกผลงานผู้อื่น โดยจรรณยาบรรณของนักวิจัย ไม่ควรคัดลอกผลงานทาง

วิชาการ ผลงานวิจัย สิ่งพิมพ์ วิทยานิพนธ์ (Academic Plagiarism)

5)    หัวข้อน่าสนใจ  ซึ่งได้มาจากการอ่านเอกสาร ตำรา และการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ เช่น กรณีงานวิจัยสำหรับการขอตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ การทบทวนวรรณกรรมจะช่วยให้เกิดประโยชน์ โดยทราบถึงช่องว่างและโอกาสที่จะต่อยอดความคิด รวมถึงมีความคิดริเริ่มเป็นผู้บุกเบิกในหัวข้อวิจัยใหม่ๆ ได้

6)  วิจัยนำไปใช้ประโยชน์ได้ โดยสามารถนำไปประยุกต์ใช้ หรือเกิดประเกิดประโยชน์กับสังคม

7)  เผยแพร่ในวารสารวิชาการ ในฐานข้อมูล TCI  กลุ่ม 1 หรือ กลุ่ม 2

ตามเกณฑ์ ก.พ.อ. ผลงานวิจัยการขอตำแหน่ง ผศ. และ รศ. เผยแพร่ในฐานข้อมูล TCI  กลุ่ม 1 หรือ กลุ่ม 2 ก็ได้ สำหรับการขอตำแหน่ง ศ. สาขาสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ต้องเป็นฐานข้อมูล TCI  กลุ่ม 1

(ทั้งนี้ผู้ขอตำแหน่งสามารถดูผลการประเมินคุณภาพวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI ได้ใน

http://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/announcement_58.php)

 

รายการอ้างอิง

ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง ผศ. รศ. และ ศ.

พ.ศ. 2560. (2560, 1 พฤศจิกายน) วันที่เข้าถึงข้อมูล 14 มิถุนายน 2561,

แหล่งที่มา https://researchspaceblog.wordpress.com/2017/11/01/

โพสท์ใน คณะนิเทศศาสตร์, แนวทางการผลิตงานวิจัยเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ | ใส่ความเห็น

การดูแลรักษาบริเวณภูมิทัศน์ ให้มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ของมหาวิทยาลัยเนชั่น

http://doc.nation.ac.th/dataqa2560/KM_Landscape.pdf

โพสท์ใน ทั่วไป | ใส่ความเห็น

กระบวนการเสริมสร้างความยุติธรรมของอาจารย์ในการวัดผลการเรียน

กระบวนการเสริมสร้างความยุติธรรมของอาจารย์ในการวัดผลการเรียน

ในภาคการศึกษาที่ 2/2560 อาจารย์ภฏะ รองรัตน์ อาจารย์ประจำหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ได้เสนอประสบการณ์เกี่ยวกับการเสริมสร้างความยุติธรรมในการวัดผลการเรียน มีข้อเสนอแนะ ดังนี้

“ความยุติธรรม” คือ ความเที่ยงธรรม, ความชอบธรรม, ความชอบด้วยเหตุผล  และ ไม่เอนเอียงเข้าข้างใดข้างหนึ่งคุณธรรม

ในทุกปีทางมหาวิทยาลัย จะให้มีการประเมินการเรียนการสอนของอาจารย์ผู้สอน ถึงกระบวนการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาต่างๆ ให้เป็นไปตามมาตรฐานของหลักสูตร (TQF)  ซึ่งประเมินในช่วงใกล้สิ้นภาคการศึกษา เมื่อวัดประกาศผลการเรียน นักศึกษามักจะสงสัยในคะแนนสอบและเกรดอยู่ประจำทุกภาคการศึกษา ทำให้เกิดกระบวนการพิจารณาเกรดใหม่ หรือแก้ไขเกรด ส่งผลต่อภาพลักษณ์มหาวิทยาลัย และมาตรฐานทางด้านวิชาการของหลักสูตรและคณะวิชา ประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง คือข้อสอบวัดผลแบบอัตนัย ซึ่งนักศึกษาเห็นว่า ข้อสอบอัตนัยมักเป็นช่องว่างที่อาจารย์จะให้คะแนนโดยใช้ทัศนคติส่วนตัวที่มีต่อนักศึกษาทั้งด้านบวกและลบมาใช้เป็นมาตรวัดในการตรวจข้อสอบและให้คะแนน

ทางหมวดวิชาศึกษาทั่วไป จึงได้ทดลองกลไกเพื่อเสริมสร้างความยุติธรรมในการตรวจและการให้คะแนนข้อสอบ ดังนี้

*** ดูเพิ่มเติมที่
https://docs.google.com/spreadsheets/d/1SQeNuicKJ512UmIIE8X2hhjQAa0Z95ss9erPBjdxuIY/edit#gid=0

จากกระบวนการข้างต้น มีหลายขั้นตอนที่ผู้สอนและคณะกรรมการประจำหมวดวิชาศึกษาทั่วไปได้ดำเนินการอยู่แล้ว แต่ในภาคการศึกษาที่ผ่านมาก็ให้ความตระหนักมากยิ่งขึ้น และพบว่ากลไกดำเนินการของหมวดวิชาศึกษาทั่วไปดังกล่าว มีผลทำให้การประเมินความพอใจของนักศึกษาต่อกระบวนการเรียนการสอนมีเพิ่มมากขึ้น และไม่พบขอร้องเรียนในการข้อดูคะแนนสอบปลายภาค จากจำนวนที่เปิดลงทะเบียน จำนวน 14 วิชา  โดยในภาคการศึกษาถัดไปจะนำกระบวนการดังกล่าวมาพัฒนา เพื่อเป็นข้อมูลเชิงเปรียบเทียบกับภาคการศึกษาที่ผ่านมาและกลุ่มรายวิชาเดียวกัน เพื่อทำให้เกิดกระบวนการที่ดี

ขอบคุณ อาจารย์ภฏะ รองรัตน์ ที่ช่วยแชร์ประสบการณ์ไว้ ณ ที่นี้

โพสท์ใน ทั่วไป | ใส่ความเห็น

ข้อปฏิบัติสำหรับการเผยแพร่ผลงานวิจัยสำหรับบัณฑิตศึกษา

 

ข้อปฏิบัติสำหรับการเผยแพร่ผลงานวิจัยสำหรับบัณฑิตศึกษา

 การเผยแพร่ผลงานวิจัยสำหรับบัณฑิตศึกษา

ผลงานที่เผยแพร่

  1. ผลงานที่เผยแพร่เป็นผลงานหรือส่วนหนึ่งของผลงานวิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาโท
  2. นักศึกษาจะส่งผลงานไปเผยแพร่ได้หลังจากที่ได้รับอนุมัติหัวข้อวิทยานิพนธ์จากคณะกรรมการหลักสูตรบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยแล้ว

วิธีการเผยแพร่ผลงาน

การเผยแพร่ผลงานหรือส่วนหนึ่งของผลงานวิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาโท ดำเนินการได้  2 วิธี ดังนี้

  1. เผยแพร่ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการที่เป็นที่ยอมรับในวงวิชาการในสาขาวิชาที่นักศึกษาสำเร็จการศึกษา วารสารหรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการมีระบบประเมินบทความโดยกองบรรณาธิการ (editorial review) หรือโดยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก (peer review) หรือ
  2. เผยแพร่ในที่ประชุมวิชาการที่มีระบบประเมินบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก และมีการจัดทำ บทความวิจัยฉบับสมบูรณ์ (full paper) และเป็นรายงานการประชุมวิชาการ (proceedings)
  3. ประเภทของวารสารหรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการและประเภทของที่ประชุมวิชาการที่สำนักงานบัณฑิตศึกษากำหนดให้นักศึกษาหลักสูตรปริญญาโท แผนการศึกษา แผน ก แบบ ก 2 เผยแพร่วิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของผลงานวิทยานิพนธ์เพื่อขอสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท เป็นดังนี้
    • วารสารหรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการ
      • เป็นวารสารวิชาการระดับนานาชาติ ที่มีระบบประเมินบทความโดยกองบรรณาธิการหรือโดยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก กรณีของวารสารวิชาการที่เป็น Open Access (OA) ขอให้หลีกเลี่ยงวารสารที่ผลิตโดยสำนักพิมพ์ที่ปรากฏชื่อใน Beall’s list of Predatory, Open-Access Publishers ในช่วงเวลาที่ผลงานได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนั้น แม้ว่าวารสารนั้นจะปรากฏชื่อในฐานข้อมูลสากล ตรวจสอบรายชื่อสำนักพิมพ์ที่ควรหลีกเลี่ยงได้ที่ http://scholarlyoa.com
      • เป็นวารสารวิชาการไทยที่มีระบบประเมินบทความโดยกองบรรณาธิการหรือโดยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก และ/หรือ มีชื่ออยู่ในฐานข้อมูลของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index : TCI) ในกรณีที่มีข้อสงสัย นักศึกษาสามารถเสนอวารสารหรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการให้คณะกรรมการหลักสูตรบัณฑิตศึกษาพิจารณาก่อนส่งบทความวิจัยไปตีพิมพ์โดยกรอกแบบฟอร์มของหลักสูตรบัณฑิตศึกษา พร้อมแนบข้อมูลของวารสารหรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการฉบับล่าสุดที่แสดงหลักฐานระบุว่ามีระบบประเมินบทความโดยกองบรรณาธิการหรือโดยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก
  1. ที่ประชุมวิชาการ
    • การจัดประชุมต้องดำเนินการโดยหน่วยงานอย่างน้อยในระดับคณะ หรือหากเป็นการประชุมวิชาการเฉพาะสาขาต้องดำเนินการร่วมกัน ระหว่างหน่วยงานต่างๆ มิใช่เป็นการจัดโดยภาควิชาใดวิชาหนึ่ง หรือหลักสูตรใดหลักสูตรหนึ่งเท่านั้น
    • การจัดประชุมในข้อ1 ต้องมีการจัดทำบทความวิจัยฉบับสมบูรณ์ (full paper) เป็นรายงานการประชุมวิชาการ (proceedings)
    • ต้องมีคณะกรรมการประเมินผลงานที่นักศึกษาจะเผยแพร่เสนอผลงานและประเมินผลงานที่จะลงเผยแพร่ในรายงานการประชุมวิชาการ (proceedings)
    • นักศึกษาต้องไปเสนอผลงานด้วยตนเอง การนำเสนอจะเป็นการเสนอแบบ oral presentation หรือ poster presentation อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้
    • การระบุชื่อนักศึกษาในผลงานที่เผยแพร่ นักศึกษาสามารถระบุชื่อเป็นผู้แต่งหลักและหรือมีผู้แต่งร่วมก็ได้ และต้องระบุชื่อส่วนงานที่ศึกษาและมหาวิทยาลัย
  1. การเสนอหลักฐานการเผยแพร่วิทยานิพนธ์เพื่อขอสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
    • กรณีเผยแพร่ผลงานในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการ ที่มีระบบประเมินบทความโดยกองบรรณาธิการหรือโดยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก นักศึกษาต้องส่งหลักฐานการตีพิมพ์หรือการได้รับการตอบรับที่จะตีพิมพ์จากวารสารหรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการ พร้อมสำเนาต้นฉบับผลงานวิจัย (manuscript) จำนวน 2 ชุด และเมื่อผลงานได้รับการตีพิมพ์เรียบร้อยแล้ว นักศึกษาต้องส่งสำเนาบทความ (reprint) ที่ลงเผยแพร่ให้แก่สำนักงานบัณฑิตศึกษาจำนวน 2 ชุด อีกต่างหาก
  • กรณีเผยแพร่ผลงานในที่ประชุมวิชาการ นักศึกษาต้องส่งหลักฐานจำนวน 2 ชุด ดังต่อไปนี้                                                                                                      – บทคัดย่อ (abstract) ที่นำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการ                                – หลักฐานที่แสดงว่านักศึกษาไปเสนอผลงานในวันประชุมวิชาการ            – สำเนาบทความ (reprint) ที่ลงเผยแพร่ในรายงานการประชุมวิชาการ (proceedings)
  1. ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามประกาศนี้ ให้งานบัณฑิตศึกษามีอำนาจวินิจฉัยสั่งการ คำวินิจฉัยของผู้อำนวยการงานบัณฑิตศึกษาถือเป็นที่สิ้นสุด

 

เกณฑ์การพิจารณาวารสารวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เป็นที่ยอมรับระดับนานาชาติและระดับชาติ

  1. วารสารวิชาการที่เป็นที่ยอมรับระดับนานาชาติ (approved international journal)
  • มี impact factor ต่อเนื่อง
  • เป็นวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล หรือ
  • สอดคล้องตามเกณฑ์คุณภาพวารสารวิชาการระดับนานาชาติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ สกอ. กำหนด (เอกสารหมายเลข 1)

ทั้งนี้  วารสารวิชาการที่เป็นที่ยอมรับระดับนานาชาติ เป็นวารสารที่แนะนำให้ สกอ. ใช้เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก และผลงานของนักวิชาการ

  1. วารสารวิชาการที่เป็นที่ยอมรับระดับชาติ (approved national Journal)
  • มี impact factor ต่อเนื่อง หรือ
  • สอดคล้องตามเกณฑ์คุณภาพวารสารวิชาการระดับชาติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ สกอ. กำหนด (เอกสารหมายเลข 2)

นอกจากนี้ที่ประชุมคณะอนุกรรมการกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้กำหนดวารสารวิชาการที่เป็นที่ยอมรับระดับชาติเพิ่มเติม โดยพิจารณาจากวารสารที่มีค่า impact factor ในฐานข้อมูล TCI* เฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2548-2550 ไม่น้อยกว่า 0.024 และไม่มีค่า impact factor = 0 (ศูนย์) ในปี 2550

ทั้งนี้ วารสารวิชาการที่เป็นที่ยอมรับระดับชาติ เป็นวารสารที่แนะนำให้ สกอ.ใช้เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท และใช้เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกสำหรับมหาวิทยาลัยที่มิได้เน้นการวิจัยด้วย

ฐานข้อมูล TCI* หมายถึง ฐานข้อมูลการอ้างอิงวารสารไทย ที่จัดทำโดย “ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย :  Thai journal Citation Index Centre” ซึ่งจะประกาศค่า TCI impact factor ทุกวันที่ 15 กรกฎาคม ของทุกปี

 

เกณฑ์คุณภาพวารสารวิชาการระดับนานาชาติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เพื่อให้วารสารวิชาการของสถาบันการศึกษาในประเทศไทยได้ทำหน้าที่เป็นแหล่งกลางในการเผยแพร่งานวิชาการของประชาคมอุดมศึกษาให้มีมาตรฐานเทียงเคียงได้กับระดับนานาชาติสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยจึงกำหนดเกณฑ์คุณภาพวารสารวิชาการที่สมควรได้รับการสนับสนุนไว้ ดังนี้

  1. กองบรรณาธิการของวารสารวิชาการในประเทศจะต้องมีศาสตราจารย์ หรือผู้ทรงคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่าจากภายนอกประเทศที่มีผลงานตีพิมพ์เผยแพร่อย่างต่อเนื่องเป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้นๆ ไม่น้อยกว่า 25%
  2. บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ ต้องมีบทความที่ผู้เขียนมาจากภายนอกประเทศไม่น้อยกว่า 25% ของจำนวนบทความทั้งหมด
  3. ผู้ประเมินบทความต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้น ทำงานวิจัยและมีผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่อย่างต่อเนื่อง
  4. บทความที่เขียนโดยนักวิชาการในสถาบันที่จัดทำวารสารนั้นต้องมีผู้ประเมินจากสถาบันภายนอกทั้งหมด และในแต่ละปีต้องมีผู้ประเมินจากต่างประเทศไม่น้อยกว่า 25%
  5. วารสารต้องออกตรงตามเวลาอย่างต่อเนื่อง และได้ตีพิมพ์เผยแพร่มาแล้วอย่างน้อย 3 ปี
  6. วารสารควรมีการตีพิมพ์บทความปริทรรศน์ (review article) เป็นครั้งคราว
  7. กำหนดให้มีการประเมินคุณภาพวารสารทุกๆ 2 ปี ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ โดยจะมีการประเมินเบื้องต้นทุกๆ ปี

หมายเหตุ  บทความที่เขียนร่วมกับนักวิชาการต่างประเทศให้อนุโลมเป็นบทความวิชาการต่างประเทศได้

ที่มา : คณะอนุกรรมการกลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี             ในการประชุมครั้งที่ 3/2551  เมื่อวันจันทร์ที่ 10 มีนาคม 2551

 

เกณฑ์คุณภาพวารสารวิชาการระดับชาติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เพื่อให้วารสารวิชาการของสถาบันการศึกษาในประเทศไทยได้ทำหน้าที่เป็นแหล่งกลางในการเผยแพร่งานวิชาการของประชาคมอุดมศึกษาให้มีมาตรฐานเทียบเคียงได้กับระดับชาติ สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยจึงกำหนดเกณฑ์คุณภาพวารสารวิชาการที่สมควรได้รับการสนับสนุนไว้  ดังนี้

  1. กองบรรณาธิการของวารสารวิชาการในประเทศจะต้องมีศาสตราจารย์ หรือผู้ทรงคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่าจากภายนอกสถาบันที่จัดพิมพ์วารสารนั้น ที่มีผลงานตีพิมพ์เผยแพร่อย่างต่อเนื่องเป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้นๆ ไม่น้อยกว่า 25%
  2. บทความที่ดีพิมพ์ในวารสารวิชาการ ต้องมีบทความที่ผู้เขียนมาจากสถาบันอื่นไม่น้อยกว่า 25% ของจำนวนบทความทั้งหมด
  3. ผู้ประเมินบทความต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้น ทำงานวิจัยและมีผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่อย่างต่อเนื่อง
  4. บทความที่เขียนโดยนักวิชาการในสถาบันที่จัดทำวารสารนั้นต้องมีผู้ประเมินจากสถาบันภายนอกทั้งหมด และในแต่ละปีต้องมีผู้ประเมินจากต่างสถาบันไม่น้อยกว่า 25%
  5. วารสารต้องออกตรงตามเวลาอย่างต่อเนื่อง และได้ตีพิมพ์เผยแพร่มาแล้วอย่างน้อย 3 ปี
  6. วารสารควรมีการตีพิมพ์บทความปริทรรศน์ (review article) เป็นครั้งคราว
  7. กำหนดให้มีการประเมินคุณภาพวารสารทุกๆ 2 ปี ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้โดยจะมีการประเมินเบื้องต้นทุกๆ ปี

หมายเหตุ

1)  บทความที่เขียนร่วมกับนักวิชาการนอกสถาบันให้อนุโลมเป็นบทความวิชาการนอกสถาบันได้

2)  สำหรับวารสารที่ได้รับการพิจารณาให้เป็นวารสารที่เป็นที่ยอมรับระดับชาติไปแล้วนั้นการพิจารณาตาม ข้อ 1, 2 และ 4 ให้กำหนด เป็นร้อยละ 10 ตามเกณฑ์เดิมเป็นเวลา 2 ปี นับจากวันที่ประกาศรายชื่อวารสารที่เป็นที่ยอมรับระดับชาติเพิ่มเติม

ที่มา : คณะอนุกรรมการกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี                    ในการประชุมครั้งที่ 3/2551  เมื่อวันจันทร์ที่ 10 มีนาคม 2551

 

เกณฑ์มาตรฐานวารสารวิชาการกลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  ประจำปีงบประมาณ 2552

ด้วยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้ร่วมมือกันในการที่จะยกมาตรฐานการเผยแพร่งานวิชาการในประเทศให้มีคุณภาพและเพื่อผลักดันให้เกิดมาตรฐานที่ใกล้เคียง หรือเทียบได้กับนานาชาติ มาตรการหนึ่งในบรรดามาตรการทั้งหลาย คือการสนับสนุนให้เกิดวารสารทางวิชาการกลาง อันจะเป็นที่รวมและเผยแพร่ความรู้ของประชาคมวิชาการในประเทศไทย โดยไม่เพียงแต่สนองความต้องการของสถานบันใดสถาบันหนึ่ง

เพื่อให้วารสารวิชาการของสถาบันการศึกษาในประเทศไทยได้ทำหน้าที่เป็นแหล่งกลางในการเผยแพร่งานวิชาการของประชาคมอุดมศึกษาให้มีมาตรฐานเทียบเคียงกับระดับนานาชาติ ดังนั้นสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจึงกำหนดเกณฑ์คุณภาพวารสารวิชาที่สมควรได้รับการสนับสนุนไว้ ดังนี้

  1. กองบรรณาธิการของวารสารวิชาการในประเทศต้องมีศาสตราจารย์ หรือผู้ทรงคุณวุฒิระดับปริญญาเอกจากภายนอกสถาบันที่จัดพิมพ์วารสารนั้น หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่มีผลงานโดดเด่นอย่างต่อเนื่องเป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้นๆ
  2. ผู้ประเมินบทความต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้น ทำงานวิจัยและมีผลงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง
  3. บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ ต้องมีบทความที่ผู้เขียนมาจากสถาบันอื่นที่มิใช่สถาบันที่จัดทำวารสารนั้นไม่น้อยกว่า 10% ของจำนวนบทความทั้งหมด ในอนาคตควรมีการเพิ่มจำนวนบทความประเภทดังกล่าวให้ถึง 25% ของบทความทั้งหมดเพื่อเป็นการพัฒนา คุณภาพวิชาการของประเทศ
  4. บทความที่เขียนโดยนักวิชาการในสถาบันที่จัดทำวารสารนั้นต้องมีผู้ประเมินจากสถาบันภายนอกไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้ประเมินทั้งหมด
  5. กำหนดให้มีการประเมินคุณภาพวารสารทุกๆ 2 ปี ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
  6. บทความแต่ละบทความต้องมีบทคัดย่อภาษาอังกฤษ ในกรณีที่ตีพิมพ์เป็นภาษาต่างประเทศต้องมีบทคัดย่อเป็นภาษาไทยด้วย
  7. วารสารต้องออกตรงตามเวลาอย่างต่อเนื่อง
  8. วารสารต้องมีบทวิจารณ์หนังสือ (book review)
  9. วารสารควรมีการตีพิมพ์บทความปริทรรศน์ (review article) เป็นครั้งคราว

 

ระดับคุณภาพวารสารวิชาการที่ตีพิมพ์ในประเทศ

ตามที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้สนับสนุนทุนวิจัยเชิงวิชาการหลากหลายประเภท ที่มีเป้าหมายหลักในการสร้างนักวิจัยอาชีพที่มีความสามารถสูง ให้สร้างองค์ความรู้ใหม่และผลิตผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่มีคุณภาพสูงนั้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนเกี่ยวกับคุณภาพวารสารวิชาการในประเทศ และเพื่อใช้เป็นเกณฑ์อ้างอิงสำหรับ สกว. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คณะกรรมการประเมินคุณภาพวารสารวิชาการที่ตีพิมพ์ในประเทศ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย จึงได้กำหนดเกณฑ์คุณภาพวารสารทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และด้านมนุษยศาสตร์และศิลปกรรม ดังต่อไปนี้

  1. ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ระดับคุณภาพวารสารทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แบ่งออกเป็น 5 ระดับได้แก่

ระดับ 5                    excellent (ดีเยี่ยม)

ระดับ 4                    very good (ดีมาก)

ระดับ 3                    good (ดี)

ระดับ 2                    poor (พอใช้)

ระดับ 1                    to be improved (ควรปรับปรุง)

 

โดยมีเกณฑ์การพิจารณาคุณภาพวารสาร ดังต่อไปนี้

1) ระดับ 5: วารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูล Web of Science, WOS (Science Citation Index

Expanded), MEDLINE, BIOSIS, SciFinder (CA SEARCH)*, Ei Compendex, และ INSPEC หรือ

วารสารที่โครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (Royal Golden Jubilee Ph.D Program; RGJ) ยอมรับให้อยู่ในระดับนานาชาติ

2) ระดับ 4: วารสารวิชาการที่ตีพิมพ์ในประเทศ มี Journal Impact Factor เฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปี (จากฐานข้อมูล TCI ปี 2552-2554) ไม่ต่ำกว่า 0.100

3) ระดับ 3: วารสารวิชาการที่ตีพิมพ์ในประเทศ มี Journal Impact Factor เฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปี (จากฐานข้อมูล TCI ปี 2552-2554) ต่ำกว่า 0.100 แต่ไม่ต่ำกว่า 0.025

4) ระดับ 2: วารสารวิชาการที่ตีพิมพ์ในประเทศ มี Journal Impact Factor เฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปี (จากฐานข้อมูล TCI ปี 2552-2554) ต่ำกว่า 0.025 แต่ไม่ต่ำกว่า 0.010

5) ระดับ 1: วารสารวิชาการที่ตีพิมพ์ในประเทศ มี Journal Impact Factor เฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปี (จากฐานข้อมูล TCI ปี 2552-2554) ต่ำกว่า 0.010 แต่ไม่เท่ากับ 0

หมายเหตุ * บางรายการของ SciFinder (CA SEARCH) เช่น ที่ตีพิมพ์ในวารสารของสถาบันในประเทศบางแห่ง และวารสารที่ ทราบว่าไม่มีการ review อย่างเคร่งครัด อาจไม่ได้รับการพิจารณา

วารสารที่ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI สามารถเข้าไปตรวจสอบได้ตามเว็ปไซต์

https://www.facebook.com/TCI.Thai/

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

โพสท์ใน ทั่วไป | ใส่ความเห็น