เทคโนโลยีชีวภาพ : จากวิชาการไปสู่ผู้ประกอบการ

จากวิชาการไปสู่ผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีชีวภาพ Bio-education to Bioentrepreneur

โดย อาจารย์เมธัส ชูเวช (วท.บ.)ชีวเคมีและชีวเคมีเทคโนโลยี  (วท.ม.) เทคโนโนโลยีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คุณกำลังตัดสินใจถึงก้าวต่อไปในการสร้างอนาคตของคุณหรือเปล่า?

นวัตกรรมและการประกอบการธุรกิจด้านเทคโนโลยีชีวภาพอาจเป็นคำตอบที่ลงตัวสำหรับคุณ ก็ได้

หนึ่งในความสุดยอดของการท้าทายสำหรับนักวิจัยทางชีวภาพก็ คือ การพัฒนานวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์จากการคิดค้นไปสู่ธุรกิจที่ทำรายได้เป็นกอบเป็นกำหรือค้นหาคำตอบทางการแพทย์เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยให้หายจากความทุกข์ทรมาน ในอดิตที่ผ่านไป “ก้าวแรก” ที่ผิดพลาดของบริษัทด้านเทคโนโลยีชีวภาพได้ฟันฝ่าไปแล้วนั้นเปรียบเสมือน “หุบเขาแห่งความตาย” โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการที่ขาดประสบการณ์และความแจนจัดที่จำเป็นต่อการปรับเปลี่ยนแนวความคิดให้ ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมต่อการบริโภคของกลุ่มเป้าหมาย อันเป็นผลทำให้นักลงทุนส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะมองข้ามการลงทุนในบริษัทด้านเทคโนโลยีชีวภาพอีกต่อไป นี่เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่เป็นอุปสรรคต่อนักวิจัยที่ต้องการพัฒนานวัตกรรมของตนไปสู่ภาคธุรกิจ ในโลกแห่งความเป็นจริงธุรกิจด้านชีวภาพไม่เพียงแต่เกี่ยวข้องกับการสร้างผลิตภัณฑ์โดยการใช้เทคโนโลยีการตัดต่อยีนเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงการใช้เทคโนโลยีแบบดั้งเดิมมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ทำจากวัตถุดิบที่ได้สร้างรายได้สูงสุดให้กับประเทศไทยมาเป็นเวลานาน อันได้แก่ ข้าว ยาง มันสำปะหลัง ข้าวโพด น้ำมันปาล์ม อ้อย และผลไม้ต่างๆ

มีการพยายามสั่งสมทรัพยากรและบุคลากรเพื่อก้าวไปสู่ความเป็นเลิศทั้งทางด้านธุรกิจชีวภาพและความรอบรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่ยอมรับของตลาด หนึ่งในผลงานของทางคณะฯ ที่ได้รับการจดสิทธิบัตร คือ การผลิตนมข้าว จากการจดสิทธิบัตรครั้งนั้นทางคณะฯ ได้สานต่อการค้นคว้าจนเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ อาทิ เช่น ไอศครีมนมข้าว โยเกิร์ตนมข้าว ไอศครีมโยเกิร์ตจากนมข้าว สบู่นมข้าว และเครื่องสำอางนมข้าว เป็นต้น

ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดนี้ จึงได้พัฒนาผู้ประกอบการทางชีวภาพสากล ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการชีวภาพรายใหม่สามารถพัฒนาการค้นพบทางวิทยาศาสตร์จากห้องสมุด และภาคการทดลองมุ่งสู่ภาคธุรกิจด้วยคณาจารย์และผู้สอนที่มีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ระดับโลกจากทั้งภาคอุตสาหกรรม และภาคการศึกษา

อนึ่ง ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีชีวภาพ ได้ทำให้ผู้ประกอบการทางด้านนี้สามารถสร้างรายได้มากกว่าอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศถึง 25 เท่า โดยรายได้ส่วนใหญ่มาจากเทคโนโลยีชีวภาพแบบดั้งเดิม และรายได้ทั้งหมดนี้ยังได้กระจายไปสู้ประชากรอย่างทั่งถึงอีกด้วย

Bioentrepreneurship คือ ?

คำว่า “Bioentrepreneurship” ถือเป็นคำที่ค่อนข้างแปลกใหม่สำหรับประเทศทั่วโลก นอกเหนือจากสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของการเป็นผู้ประกอบการทางชีวภาพ ในสหรัฐอเมริกาผู้ประกอบการทางชีวภาพถือกำเนิดมานานกว่า 3 ทศวรรษ ก่อนที่บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศอย่างไมโครซอฟท์ ซัน และซิสโก้จะถูกก่อตั้งขึ้น บริษัทด้านเทคโนโลยีชีวภาพอย่าง Genentech และ Amgen ได้ขยายแผนการวิจัยเชิงแข่งขันและร่วมมือกับบริษัทยามาแล้ว

ในปี 1996 Persidis เปรียบเทียบ “Bioentrepreneurship” ว่าเป็นการสร้างความมั่งคั่งซึ่งได้มาจากการประยุกต์วิทยาศาสตร์ชีวภาพสู่ภาคธุรกิจ

ผู้ประกอบการด้านชีวภาพได้พยายามแสวงหาและสร้างตุณค่าทางธุรกิจจากผลงานการวิจัยทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ

ทำไมต้อง Bioentrepreneurship ?

จุดมุ่งหมายของการศึกษาด้านการประกอบการ คือ การปลูกฝังนิสัยให้เยาวชนรุ่นใหม่เล็งเห็นถึงโอกาสต่างๆ และใช้มันให้เต็มศักยภาพ ผู้ประกอบการจะต้องใช้ความคิดในเชิงสร้างสรรใหม่ๆ การหา ลู่ทาง วิธีการ แนวทางและรูปแบบใหม่ๆ ที่สามารถทดสอบได้ ความเข้าใจในภาษาที่พูดในเชิงธุรกิจและมุมมองของนักบริหารที่มีส่วนสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงโดยไม่คำนึงถึงตำแหน่ง อาชีพ หรือการงานที่แต่ละบุคคลเลือก

 

การที่ประเทศชาติจะมีความมั่งคั่งและประชากรจะอยุ่ดีกินดีแค่ไหนนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนนักวิทยาศาสตร์ที่ได้รางวัลโนเบลมากน้อยแค่ไหน แต่มันขึ้นอยุ่กับว่าเราได้สร้างผู้ประกอบการที่มีคุณธรรมและมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีที่มีผู้สร้างเพิ่มขึ้นทุกวันมาใช้ในในเชิงธุรกิจเพื่อหารายให้กับประเทศ อยู่มากน้อยเพียงใดต่างหาก

(ข้อมูลจาก Dr. Churdchai Cheowtirakul)

ภายหลังการจัดการความรู้ครั้งนี้ ทำให้อาจารย์ภายในคณะวิทยาศาสตร์ร่วมกันพัฒนาข้อเสนอโครงการส่ง วช. ชื่อโครงการ การพัฒนาแป้งข้าวก่ำดัดแปรและการประยุกต์ใช้เพื่อผลิตเป็นอาหารสุขภาพเพื่อเพิ่มมูลค่าข้าวไทย ซึ่งขณะนี้ยังรอผลการพิจารณาโครงการต่อไป

20504220_1601602376519384_899853063_n

19553893_1565089700170652_3738292315527326148_n

โพสท์ใน ทั่วไป | ติดป้ายกำกับ | ใส่ความเห็น

การพัฒนาแนวทางการสร้างผลงานวิจัยในชุมชนสำหรับอาจารย์ใหม่

เรื่อง การพัฒนาแนวทางการสร้างผลงานวิจัยในชุมชนสำหรับอาจารย์ใหม่

โดย อาจารย์ ธณกฤษ หมื่นก้อนแก้ว และ รศ.ดร.สุดารัตน์ สิทธิสมบัติ**

Tacit Knowledge**วิทยากรผู้สอนหลักสูตรการพัฒนานักศึกวิจัยหน้าใหม่ในชุมชน โครงการลูกไก่ แม่ไก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และวิทยากรผู้สอนหลักสูตรการพัฒนานักศึกวิจัยหน้าใหม่ในชุมชน โครงการลูกไก่ แม่ไก่ ในการทำ KM และการสร้างผลงานวิจัยในชุมชน

เรียบเรียงโดย: คณาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเนชั่น

เป้าหมาย/ผู้ร่วมกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Desired State): อาจารย์ประจำสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพและผู้สนใจ

เนื้อหา (Content) : การทำวิจัยในชุมชนเป็นงานวิจัยที่มีการทำงานในเชิงของการมีส่วนร่วมกับชุมชนเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเน้นการให้ชุมชนเป็นผู้ดำเนินการวิจัยด้วยตนเองเป็นหลัก โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ชุมชนสามารถใช้ประโยชน์จากการทำงานวิจัย นำไปดำเนินงานในการพัฒนาชุมชนของตนเองได้อย่างต่อเนื่อง และสามารถพึ่งพิงตนเองได้เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการวิจัย ซึ่งการทำงานวิจัยในชุมชนมีรูปแบบของการทำวิจัยที่หลากหลาย เช่น การทำวิจัยเชิงพรรณนา การทำวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ การทำวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นต้น แต่โดยส่วนใหญ่แล้วการทำวิจัยในชุมชนจะใช้รูปแบบของการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นหลัก และอาจมีการรูปแบบของการวิจัยเชิงปริมาณร่วมด้วย ดังนั้นผู้ที่ทำวิจัยจึงต้องมีทักษะ และเข้าใจในวิธีการ และกระบวนการในการทำวิจัยในชุมชนให้ถูกต้อง และเหมาะสมเสียก่อน ซึ่งอาจจะถูกพัฒนาทักษะในแนวทางต่างๆ ประกอบด้วย

– การส่งอาจารย์หน้าใหม่ไปพัฒนาความรู้ และทักษะการทำงานวิจัยในชุมชน จากหน่วยงาน องค์กรที่มีความเชี่ยวชาญในการทำงานด้านนี้ โดยเฉพาะ รวมถึงให้หน่วยงานดังกล่าวเป็นที่ปรึกษาในการทำงานวิจัยในชุมชน และเป็นแหล่งงบประมาณในการสนับสนุนการทำงานด้วย เพื่อที่จะทำให้อาจารย์ได้รับการพัฒนาทักษะ และประสบการณ์ผ่านการทำงานวิจัยได้อย่างถูกต้อง และมีคุณภาพมากที่สุด

– การพัฒนาอาจารย์หน้าใหม่ในการทำวิจัยในชุมชน โดยการสรรหาอาจารย์ที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญในการทำวิจัยในชุมชนมาเป็นที่ปรึกษาในการทำงานวิจัย และแนะนำกระบวนการทำงานวิจัยในชุมชนให้แก่อาจารย์ รวมถึงการของบประมาณสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอกที่สนับสนุนทุนวิจัย เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และสามารถดำเนินงานวิจัยในชุมชุนได้อย่างเหมาะสม โดยมีผู้ให้คำปรึกษาในการทำงานที่ดี ซึ่งจะทำให้อาจารย์ได้รับการพัฒนาประสบการณ์ในการทำวิจัยที่ดีร่วมด้วย

– การพัฒนาอาจารย์หน้าใหม่ในการทำวิจัย โดยการให้อาจารย์หน้าใหม่มาเป็นผู้ร่วมวิจัย และถ่ายทอดวิธีการ และกระบวนการทำวิจัย ผ่านการทำงานวิจัย ซึ่งอาจารย์หน้าใหม่จะได้เรียนรู้ขั้นตอนต่างๆ ของการทำงานจากคณะผู้ดำเนินงานวิจัย ทั้งนี้งานวิจัยที่ร่วมดำเนินการจะต้องมีขนาดของงานวิจัยที่หลากหลาย และที่สำคัญต้องเป็นงานวิจัยที่มีคุณภาพสูง และมีกระบวนการวิจัยที่ถูกต้อง เพื่อให้อาจารย์หน้าใหม่ได้เรียนรู้ และได้พัฒนาทักษะการทำงานวิจัยในชุมชนอย่างเหมาะสม และนำไปใช้ในการสร้างสรรค์งานวิจัยในชุมชนด้วยตนเองได้ต่อไป

** ข้อควรระวังคือ งานวิจัยในชุมชน เป็นงานที่ทำงานร่วมกับชุมชนเป็นหลัก ดังนั้นผู้ทำการวิจัยควรมีทักษะในการเรียนรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับบริบทของชุมชน วัฒนธรรมชุมชน กิจกรรมต่างๆ ของชุมชน รวมถึงผู้ที่ทำหน้าที่สำคัญในชุมชนนั้นๆ เป็นอย่างดีเสียก่อน อีกทั้งต้องชี้แจงวิธีการ ประโยชน์ และการนำผลที่ได้จากการทำงานวิจัยไปใช้ให้ชุมชนได้เข้าใจ ซึ่งจะทำให้การทำงานวิจัยดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องและมีคุณภาพต้องเป้าหมายของการทำงานวิจัยนั้นๆ

ซึ่งจากการดำเนินงานด้านการจัดการความรู้ถูกนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาอาจารย์ใหม่ โดยส่งเสริมอาจารย์สร้างงานวิจัยในชุมชน เพื่อขอรับทุนสนับสนุนการวิจัย และมีอาจารย์ในคณะ 1 ท่าน คือ อาจารย์นิภรดา ยาวิราช ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ในงานวิจัย เรื่องการพัฒนาชุมชนต้นแบบการบริหารจัดการตนเองจังหวัดลำปาง

โพสท์ใน คณะสาธารณสุขศาสตร์ | ติดป้ายกำกับ | ใส่ความเห็น

การพัฒนาแนวทางการนิเทศงานวิชาฝึกประสบการณ์สร้างเสริมวิชาชีพสาธารณสุข สำหรับอาจารย์ใหม่

ผลการดำเนินงานการจัดการความรู้ (KM) : ประเด็นการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน

เรื่อง การพัฒนาแนวทางการนิเทศงานวิชาฝึกประสบการณ์สร้างเสริมวิชาชีพสาธารณสุขสำหรับอาจารย์ใหม่

โดย อาจารย์ ดิลกา ไตรไพบูลย์**

เรียบเรียงโดย: คณาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเนชั่น

เป้าหมาย/ผู้ร่วมกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Desired State): อาจารย์นิเทศงานใหม่ประจำสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ

เนื้อหา (Content) : กระบวนการนิเทศงานนักศึกษาเป็นกระบวนการหนึ่งที่มีลักษณะการดำเนินงาน ที่ใช้ในการกำกับ ติดตาม ให้คำแนะนำ การวัดผล และประเมินผลผู้ฝึกปฏิบัติ หรือนักศึกษา โดยให้ผู้มีความรู้และประสบการณ์ อันประกอบด้วย อาจารย์ ครูพี่เลี้ยง รวมถึงผู้เชี่ยวชาญในสถานที่ฝึกปฏิบัติงาน เป็นผู้ใช้กระบวนการดังกล่าว สำหรับการประเมินองค์ความรู้ ทักษะ รวมไปถึงการประยุกต์ใช้ความรู้จากศาสตร์และศิลป์ที่ได้เรียนรู้มาของนักศึกษา เพื่อให้ได้มาซึ่งบัณฑิตที่มีคุณภาพ และสามารถนำองค์ความรู้ หรือทักษะที่ได้จากการเรียนและการฝึกปฏิบัติงาน มาใช้ในการทำงานในสาขาวิชาชีพนั้นได้อย่างเต็มความสามารถ การนำกระบวนการนิเทศงานมาใช้งาน ผู้นิเทศจึงต้องมีความเข้าใจในวิธีการดำเนินการเป็นอย่างมาก เนื่องจากหากดำเนินงานตามกระบวนการไม่ถูกต้อง หรือเหมาะสมแล้ว อาจทำให้นักศึกษา หรือผู้ฝึกปฏิบัติ มีคุณภาพ และความสามารถในการทำงานในสาขาวิชาชีพนั้นได้อย่างไม่เต็มความสามารถเท่าที่ควร ซึ่งรูปแบบของการนิเทศงานในสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์จะจำแนกออกเป็น ระดับต่างๆ อันประกอบด้วย

– ระดับที่ 1 การนิเทศงานที่เน้นการนำองค์ความรู้ และทักษะในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ และการสุขาภิบาลมาใช้ในการส่งเสริมสุขภาพของกลุ่มคนไม่มีความเจ็บป่วย ให้มีสุขภาพดียิ่งขึ้น ตั้งแต่ระดับบุคคล ระดับครอบครัว และระดับชุมชน

– ระดับที่ 2 การนิเทศงานที่เน้นการนำองค์ความรู้ และทักษะการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการป้องกันควบคุมโรค อันได้แก่ การป้องกันควบคุมโรคติดต่อ และโรคไม่ติดต่อ การป้องกันควบคุมงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม และการป้องกันควบคุมงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ในกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย ให้มีสุขภาพที่ดี ตั้งแต่ระดับบุคคล ระดับครอบครัว และระดับชุมชน

– ระดับที่ 3 การนิเทศงานที่เน้นการนำองค์ความรู้ และทักษะการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการรักษา และการฟื้นฟูอาการเจ็บป่วยจากโรค ในกลุ่มคนที่มีความเจ็บป่วย ให้มีสุขภาพดีขึ้น ตั้งแต่ระดับบุคคล ระดับครอบครัว และระดับชุมชน

ทั้งนี้ ข้อควรระวังในการนำรูปแบบการนิเทศงานทั้ง 3 ระดับมาใช้ในการดำเนินงานนั้น ผู้นิเทศงานต้องสามารถจำแนกระดับของบุคคล ครอบครัว และชุมชน ได้อย่างชัดเจนว่าอยู่ในการนิเทศระดับใด เพื่อเป็นการป้องกันการผิดพลาดในการใช้กระบวนการนิเทศงาน ที่ไม่ถูกต้องกับระดับการฝึกปฏิบัติ

ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จากการจัดการความรู้ถูกนำไปใช้ประโยชน์ในการจัดทำเป็นคู่มือสำหรับการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพสาธารณสุขศาสตร์สำหรับนักศึกษาเป็นระดับต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้อาจารย์ที่นิเทศงานสามารถดำเนินการนิเทศได้อย่างถูกต้อง และมีคุณภาพต่อการจัดการเรียนการสอน

 

โพสท์ใน คณะสาธารณสุขศาสตร์ | ติดป้ายกำกับ | ใส่ความเห็น

นวัตกรรมในสถานศึกษา.

นวัตกรรมในสถานศึกษา.
Innovation Management for Work Improvement and Service Excellence

จากการที่ศูนย์เนชั่นบางนามีจัดการอบรมบุคลากรภายใน เรื่องนวัตกรรมในสถานศึกษา.
โดยวิทยากรบรรยาย คือ อาจารย์ดร พยัต วุฒิรงค์ ณ ห้อง 601 มหาวิทยาลัยเนชั่น ศูนย์เนชั่นบางนา เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2560

วิทยากร พูดถึง นวัตกรรม Innovation ไม่จำเป็นต้องเป็นสินค้า แต่นวัตกรรม Innovation is about creating value for stakeholders by improving Product, Services, Processes, Marketing Methods, and Management Methods. เช่นนวัตกรรมของอีเกีย IKEA, นครชัยแอร์และ ธนาคารไทยพาณิชย์

นอกจากนี้ยังพูดถึง Kaizen ไคเซน ซึ่งเป็นวิธีการการบริหารจัดการแบบหนึ่ง หมายถึงปรัชญาการทำงานร่วมกันขององค์กร พฤติกรรมนิยมที่ปฏิบัติร่วมกันในองค์กร วัฒนธรรมองค์กร
หลักการของไคเซน มีหัวใจสำคัญอยู่ 5 ประการคือ
– Challenge ความท้าทาย
– Kaizen ไคเซน – การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องไม่สิ้นสุด
– เก็นจิ เก็นบุตซึ – การเข้าไปตรวจสอบหน้างานจริง
– Respect การยอมรับนับถือซึ่งกันและกัน
– Teamwork การทำงานเป็นทีม

สรุปได้ว่า ไคเซน คือการทำงานให้น้อยลงด้วยการเปลี่ยนวิธีการทำงานเสียใหม่ โดยสนับสนุนให้เกิดการประดิษฐ์คิดค้น เป็นการทำเพื่อตัวเราเอง เพื่อให้เราสามารถทำงานของเราได้ง่ายและสะดวกสบายขึ้น ดังนั้นตนเองต้องเป็นจุดเริ่มต้นที่จะเริ่มต้นทำไคเซน การทำไคเซนเป็นสิ่งที่ทำเพื่อตัวเองการบีบคอตนเองย่อมไม่เกิดประโยชน์ต่อตนเอง

คนญี่ปุ่นชอบปรับปรุง ตัวเองตลอด

เคล็ดลับในการทำไคเซน
เปลี่ยนแบบค่อยเป็นค่อยไป
เน้นวิธีการมากกว่าสิ่งของ
ไม่ลงทุน หรือ ลงทุนน้อยมากๆ
ทำบ่อยๆ ทำต่อเนื่องทำทุกคน
เน้นคนที่คุ้นเคยกับงาน
อย่าหวังว่าจะสำเร็จ 100%
ใครๆก็ทำได้

จุดแรกคือยอมรับว่าตัวเองมีปัญหา ความพอใจเป็นศัตรูตัวสำคัญของไคเซน
โดยปกติของมนุษย์ มีความรักตัวเองมากกว่าองค์กรเสมอ หลักการที่สำคัญคือ เลิก ลด เปลี่ยน
เลิก – เรื่องที่ไม่มีความจำเป็น เรื่องที่ไม่ทำก็ได้ เรื่องที่จะทำหรือไม่ทำก็ได้
ลด – การลงมือทำซ้ำ 2 – 3 หน การแก้ไข การทำใหม่ การตรวจสอบซ้ำๆ หลายครั้ง การลอกข้อความเดิม/การเขียนใหม่หลาย ๆ ครั้ง
เปลี่ยน – เปลี่ยนขั้นตอน ตำแหน่ง วิธีเตรียมงาน ขนาด วัสดุ วัตถุดิบ

คำถามว่าอะไรคือปัญหา
– ไม่รู้ว่ามีปัญหา
– รู้ว่ามีปัญหาแต่ไม่ยอมรับรู้
– รับว่ามีปัญหา และรับรู้ แต่ไม่ยอมแก้
– รับว่ามีปัญหาแต่เกี่ยงกัน (ไม่) แก้
– เจตนากลบปัญหา (เพราะตัวเองกลัวปัญหา)
– เจตนากลบปัญหา (เพราะนายไม่ชอบปัญหา)
– ปัญหาเรื้อรัง แก้แล้วไม่หาย ก็เลยไม่แก้ (แก้ปลายเหตุ)
– รู้ว่ามีปัญหา แต่ไม่ยอมกล้าแก้ (เข้าเนื้อเปล่าๆ)
– มีปัญหาต้องแก้เป็นทีม (ทีมแตกเรื่อย/ทีมมีปัญหาเอง)
– ความรู้ด้านเทคนิคไม่พอในการแก้ปัญหา
– วิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาไม่เป็น
– รู้ว่ามีปัญหาแต่กำหนดไม่ถูกว่าอะไรคือ ปัญหา
จะทำให้สำเร็จได้ต้อง ยอมรับก่อนว่ามีปัญหา และพร้อมที่จะแก้ไขปัญหาไปด้วยกันเป็นทีม เปลี่ยนทัศนคติของตัวเองและทีม ลงมือปฏิบัติ ทบทวนแก้ไขใหม่ หากยังไม่สามารถแก้ไขปัญหานั้นได้ และเริ่มกระบวนการดังกล่าวอีกครั้งโดยมีทัศนคติว่า การเปลี่ยนนั้นเพื่อทำให้ตัวเองทำงานน้อยลง

โพสท์ใน KM:ด้านการวิจัย, คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์, ทั่วไป | ติดป้ายกำกับ , , | ใส่ความเห็น

อิสระภาพทางการเงินไม่ใช่แค่ฝัน คุณก็ทำได้ค่ะ

จากการที่ศูนย์เนชั่นบางนามีจัดการอบรมภายใน เรื่องอิสระภาพทางการเงินไม่ใช่แค่ฝัน คุณก็ทำได้ค่ะ โดยวิทยากรบรรยาย คือ อาจารย์นนทิชา ศอศันสนีย ณ เอ็มเอเคเดมี่ เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2559 โดยมีวัตถุประสงค์ให้อาจาร์และบุคลากรของมหาวิทยาลัยมีอิสระภาพทางการเงิน ไม่เป็นหนี้

อิสระภาพทางการเงิน คนที่มีเงินเดือนสูง ไม่ใช่ว่าจะไม่มีหนี้ จากสถิติพบว่า ยิ่งคนมีเงินเดือนสูง ยิ่งมีค่าใช้จ่ายมาก มีรายจ่ายที่ไม่จำเป็นที่ทำให้เราต้องกู้หนี้ยืมสินจากคนอื่น โดยให้หมุนได้ก่อน อาจจะติดหนี้บัตรเครดิต หนี้ส่วนบุคคลที่มีดอกเบี้ยมาก ๆ

จุดที่ทำให้ว่าอะไรคืออิสระภาพทางการเงิน ไม่ใช่ว่ามีเงินเดือนมาก แต่เป็นการวางแผนทางการเงินจากเงินที่มีอยู่ และนำไปลงทุน

การลงทุนที่คุ้มที่สุดสำหรับคนที่เริ่มต้นทำงานที่มหาวิทยาลัยเนชั่น คือ

1.ออมเงินในสหกรณ์ โดยซื้อหุ้นเป็นรายเดือน สหกรณ์ออมทรัพย์เนชั่นมัลติมีเดียกรุ๊ป ให้เงินปันผลปีละ 5 % ดังนั้น ถ้าคุณลงทุน 100,000 บาท จะได้ดอกเบี้ย 5,000 บาท มีเงิน 1,000 ลงทุนทุกเดือน โดยไม่ถอนออกมา 10 ปี คุณจะได้เงินล้าน ความพิเศษของดอกเบี้ยทบต้น (ตัวเลข 72) ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าการฝากเงินผ่านธนาคาร ออมทรัพย์ 0.25 %ประจำมากที่สุด 3.25%

  1. ลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของบริษัทเนชั่น (Providence Fund) เมื่อออกจากงานจะได้มีเงินก้อน หากสมัครกองทุนสำรองเลี้ยงชีพน้อยกว่า 3 ปี แล้วออกจากงานได้เฉพาะเงินตัวเอง หากเป็นสมาชิก 3-5 ปี ได้ส่วนของตัวเอง และของบริษัท 50% และหากเป็นสมาชิก 5 ปีขึ้นไปได้ทั้งส่วนของตัวเองและบริษัท  100% ทั้งนี้แม้ว่าเราลาออกเองก็ได้เงินก้อนนี้อยู่ดี

เงินทองต้องวางแผน เรามีเวลาทำงาน แค่ 35 ปี แล้วเราต้องเอาเงินที่เราทำงาน 35 ปี ใข้ต่อจนเราตาย ยิ่งตอนนี้การแพทย์ก้าวหน้า คนอายุยืนมากขึ้น เราอยู่ในสังคมผู้สูงอายุ เราอาจจะไม่ได้ตายตอนอายุ  70 อาจจะเป็น 80 90 แล้วเราจะเอาเงินที่ไหนใช้ในการดำรงชีวิต ดังนั้นจึงต้องรีบเก็บตั้งแต่ตอนที่ทำงานได้

ชีวิตวัยทำงาน ก็มีซื้อบ้าน ซื้อรถ แต่งงาน มีลูก ดังนั้นจึงต้องจัดสรรเงินให้เป็นส่วน ๆ เพื่อจะได้มีอิสระภาพทางการเงินอย่างแท้จริง

โพสท์ใน คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์ | ใส่ความเห็น

การเขียนบทความวิชาการเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการ

โดย ดร.สุจิรา หาผล เป็นวิทยากร

เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2559 ณ ห้องประชุม คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์


การเขียนบทความทางวิชาการ

วัตถุประสงค์
1. การนำเสนอความรู้ความคิดใหม่ๆ รวมทั้งประสบการณ์ของผู้เขียน
2. เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ บนพื้นฐานของวิชาการในเรื่องนั้นๆ
3. หรืออาจจะเป็นการแสดงความคิดเห็นในเชิงวิเคราะห์ วิจารณ์ วิชาการในเรื่องนั้นๆ เพื่อนำเสนอแนวคิดใหม่ๆ เกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ
4. หรือเพื่อตั้งคำถามหรือประเด็นใหม่ๆ ที่จะกระตุ้นให้ผู้อ่านเกิดความสนใจที่จะศึกษาค้นคว้าในเรื่องนั้นต่อไป

Capture

ลักษณะสำคัญของบทความทางวิชาการ
1.  มีการนำเสนอความรู้
2.  มีการวิเคราะห์  วิจารณ์  ให้ผู้อ่านเห็นประเด็นสำคัญ
3.  มีการเรียบเรียงเนื้อหาสาระอย่างเหมาะสม
4.  มีการอ้างอิงทางวิชาการและให้แหล่งอ้างอิงทางวิชาการอย่างถูกต้อง
5.  มีการอภิปรายให้แนวคิด  แนวทางในการนำความรู้ไปใช้ให้เป็นประโยชน์

Capture2

ส่วนประกอบของบทความทางวิชาการ
1.  ส่วนนำ
2.  ส่วนสาระสำคัญของเรื่อง
3.  ส่วนสรุป
4.  ส่วนอ้างอิง

Capture3

การเขียนบทความทางวิชาการ เพื่อนำเสนอเนื้อหาสาระทางวิชาการให้กลุ่มผู้อ่านที่เป็นนักวิชาการในกลุ่มสาขาเดียวกันได้รับรู้ โดยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารทางวิชาการเฉพาะสาขานั้นๆ
ลักษณะการเขียน ควรครอบคลุมส่วนประกอบหัวข้อต่างๆ ชัดเจน ภาษากระชับ ตรงประเด็น ลำดับต่อเนื่อง นำเสนอความคิดใหม่ ๆ ให้ปรากฏ

 

โพสท์ใน ทั่วไป | ใส่ความเห็น

การจัดการเรียนรู้แบบบูรณการ(Integrated Instruction)

หลักการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ
การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เป็นการสอนที่เชื่อมโยงความคิดรวบยอดหรือทักษะเข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดการเรียนรู้โดยองค์รวม การเรียนรู้แบบบูรณาการเป็นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงเนื้อหาสาระทั้งหลายเข้าด้วยกันอย่างมีความหมายและนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง
ความสำคัญของการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ
การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ทำให้นักศึกษามีประสบการณ์ที่สัมพันธ์กันและต่อเนื่องกับประสบการณ์ตรง เปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียน ก่อให้เกิดความลึกซึ่งและเข้าใจในสิ่งที่เรียน สามารถกระตุ้นนักศึกษาให้เกิดความคิดและตระหนักถึงความเชื่อมโยงระหว่างความคิด
แนวทางปฎิบัติในการบูรณาการโดยใช้หัวข้อเรื่องเป็นแกน
1.เลือกหัวข้อหรือปัญหาที่ต้องการให้เกิดการเรียนรู้แบบบูรณาการ
2.พิจารณาว่ามีเนื้อหาสาระจากวิชาใดที่เชื่อมโยงกับหัวข้อหรือปัญหานั้น
3.พิจารณาเลือกความคิดรวบยอดที่เกี่ยวข้องในแต่ละวิชาให้เหมาะสมกับนักศึกษา
4.วางแผนกิจกรรมที่จะให้นักศึกษาได้ปฎิบัติโดยใช้แผนผังความคิดเพื่อให้เห็นภาพการบูรณาการที่ชัดเจนขึ้น
(เอกสารอ้างอิง : รศ.สมชาย รัตนทองคำ (2556).เอกสารการอบรม วิธีการสอนและการเพิ่มประสิทธิภาพการสอน. มหาวิทยาลัยรามคำแหง)
ตัวอย่างการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ
การบูรณาการ การสอนในวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เพื่อให้นักศึกษาได้รู้และเข้าใจการฝึกอบรม ซึ่งเป็นหนึ่งในกระบวนการเรียนการสอน สำหรับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ(Integrated Learning Management)ใช้กระบวนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามความสนใจ ความสามารถของนักศึกษาโดยเชื่อมโยงสาระของศาสตร์ต่างๆให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ทักษะไปใช้ในการฝึกปฎิบัติได้ด้วยตนเอง
ข้อจำกัด
หากผู้เรียนมีจำนวนมาก หรือ รูปแบบการนำเสนอไม่น่าสนใจ และ ไม่มีการสรุปประเด็นอย่างชัดเจน จะทำให้ประสิทธิการสอนลดลงและต้องใช้เวลามาก
ข้อเสนอแนะ
ผู้นำเสนอต้องจับประเด็นเนื้อหาที่นำเสนอให้มีความชัดเจนและน่าสนใจ

โพสท์ใน การตลาด, การบัญชี, คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์ | ใส่ความเห็น

บทความวิชาการ (Academic Article)

บทความวิชาการ (Academic Article) เป็นข้อเขียนเชิงสาระที่นำเสนอประเด็นใดประเด็นหนึ่ง ด้านวิชาการ วิชาชีพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หรือวิพากษ์ทัศนะหรือแนวคิดเดิม และหรือนำเสนอหรือเผยแพร่แนวคิดใหม่ บทความวิชาการเน้นการให้ความรู้และต้องอาศัยข้อมูลทางวิชาการ เอกสารอ้างอิง และเหตุผลที่พิสูจน์ได้ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้อ่าน ซึ่งแนวทางการเขียนเนื้อเรื่องซึ่งเป็นสาระหลักของการเขียนบทความวิชาการ สามารถสรุปได้ดังนี้
การเขียนส่วนเนื้อเรื่องจะต้องใช้หลักวิชาการที่ผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงในการเขียน ได้แก่ กรอบแนวความคิด (conceptual framework) ที่ผู้เขียนใช้ในการเขียนจะต้องแสดงให้เห็นความเชื่อมโยงของเหตุที่นำไปสู่ผล (causal relationship) การอ้างอิงข้อมูลต่างๆ และร้อยเรียงเพื่อนำเสนอเรื่องที่เขียน การลำดับความ การบรรยาย วิธีการอ้างอิง สถิติและข้อมูลต่างๆ ที่ใช้ในการประกอบเรื่องที่เขียน เพื่อให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจ
ในส่วนเนื้อหาสาระผู้เขียนควรคำนึงถึงประเด็นสำคัญๆ ดังต่อไปนี้
(1) การจัดลำดับเนื้อหาสาระ ผู้เขียนควรมีการวางแผนจัดโครงสร้างของเนื้อหาสาระที่จะนำเสนอ และจัดลำดับเนื้อหาสาระให้เหมาะสม การนำเสนอเนื้อหาสาระควรมีความต่อเนื่องกัน เพื่อช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจสาระนั้นได้โดยง่าย
(2) การเรียบเรียงเนื้อหา ในส่วนนี้ต้องอาศัยความสามารถในการใช้ภาษา รูปแบบการเขียน วิธีการนำเสนอ การนำเสนอเนื้อหาสาระให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่าย
(3) การวิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์ อย่างมีหลักการใช้ ทฤษฎี หรือมีหลักฐานอ้างอิงอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ มีความเป็นเหตุเป็นผลที่น่าเชื่อถือ มีการอ้างอิงข้อมูลที่เชื่อถือได้ เพื่อนำไปสู่ข้อสรุปด้วยทรรศนะและมุมมองของผู้เขียน
(4) วิธีการนำเสนอ การนำเสนอเนื้อหาสาระให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่ายและรวดเร็วนั้นจำเป็นต้องใช้เทคนิคต่างๆ ในการนำเสนอเข้าช่วย เช่น การใช้สื่อประเภทภาพ แผนภูมิ ตาราง กราฟ เป็นต้น
เอกสารอ้างอิง
รองศาสตราจารย์ ดร บุญทิพย์ สิริธรังศรี (2558). เอกสารประกอบการอบรม : เทคนิคการเขียนผลงานทางวิชาการ: บทความและตำรา.มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

โพสท์ใน การตลาด, การบัญชี, คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์ | ใส่ความเห็น

ตกม้าตายเรื่องฟอนต์ (itinlife586)

font

เริ่มต้นตัวอย่างภาพยนตร์เรื่องแฟนเดย์ ก็ยิงประโยคเด็ด คุณเคยรู้สึกเป็นหมาเหมือนผมไหมครับ ตามมาด้วย เป็นหมารับใช้ด้านไอที และ ไม่ต้องขอบคุณก็ได้ครับ สมัยนี้เด็กประถมเค้าก็ทำได้กันหมดแล้ว รู้สึกว่าที่พระเอกเทียบตัวเองเป็นหมา อาจเทียบกับนางเอกที่เป็นเครื่องบินก็ได้ เพราะนางเอกดูงดงามสูงส่งเหมือนเครื่องบิน แต่พระเอกดูต่ำต้อยเหมือนหมา ก็ไม่รู้ว่าคนไอทีทั่วไปจะคิดว่าตนเองเป็นอะไร เวลาที่คนในองค์กรสนใจ มักเป็นเวลาที่มีปัญหา หากไม่มีปัญหาก็ไม่เรียกหา แล้ววันหนึ่งก็มีเพื่อนส่งแฟ้มมาสอบถามเรื่องสีตัวอักษรในเอกสารที่ต้องการเผยแพร่

แฟ้มเวิร์ด (DOC) และแฟ้มพีดีเอฟ (PDF) ที่ส่งมามีหลายสิบหน้า แต่ละหน้ามี 1 กล่องข้อความ (Text Box) เป็นเนื้อหา ทำให้การจัดหน้าในแต่ละหน้า เป็นอิสระออกจากกันโดยสิ้นเชิง เพื่อนแจ้งว่าต้องเปลี่ยนสีทั้งเอกสารเป็นสีดำ เพราะกดเลือกทั้งหมด (Ctrl-A) แล้วไม่เปลี่ยน เนื่องจากการใช้กล่องข้อความจะต้องเข้าไปปรับสีในแต่ละกล่อง แนวคิดการใช้กล่องข้อความในแฟ้มเอกสารแบบนี้มักใช้กับการออกแบบหน้าของนิตยสารที่แต่ละหน้ามีรูปแบบแตกต่างกัน ระหว่างปรับสีในเครื่องของผม ก็พบว่ามีปัญหาเรื่องช่องไฟ และแท็บ จึงช่วยจัดใหม่เล็กน้อย ก่อนส่งออกเป็นแฟ้มพีดีเอฟ เพื่อนำไปใช้ หลังเสร็จงานแล้วส่งที่ปรับแก้กลับไปให้เพื่อน แล้วเค้าก็โทรกลับมาถามว่าทำไมตัวเลขไม่เป็นเลขไทย กลับเป็นเลขอาราบิก ไม่เหมือนต้นฉบับ

กลับไปตรวจสอบในรายละเอียดของแฟ้ม พบว่า แฟ้มต้นฉบับใช้ฟอนต์ TH NiramitIT๙ ซึ่งเป็นเหตุให้ผมพลาด เพราะเครื่องของผมไม่มีฟอนต์นี้ เวลาเพื่อนจัดทำเอกสาร แล้วใช้ฟอนต์ข้างต้น จะพิมพ์เลขอาราบิก หรือเลขไทย ก็จะเห็นเป็นเลขไทย แต่เวลาส่งแฟ้มนี้ให้ใคร ที่ไม่ติดตั้งฟอนต์นี้ก็จะมองเห็นว่าเป็นเลขอาราบิก หรือเลขไทย สรุปว่าการทำเอกสารที่ต้องส่งให้ใครเค้าเห็นเลขไทยเหมือนเราทำได้ 2 วิธี คือ วิธีแรก พิมพ์เลขไทยทั้งหมด ไม่พิมพ์สลับไปมาระหว่างเลขอาราบิกและเลขไทย วิธีที่สอง พิมพ์สลับไปมาผ่านฟอนต์ข้างต้น แต่ถ้าส่งแฟ้มเวิร์ดไปให้ใคร ต้องแจ้งว่าใช้ฟอนต์ข้างต้น เพราะผู้รับอาจตกม้าตายเหมือนผมที่ไม่ได้ติดตั้งฟอนต์ไทยสำหรับแปลงเลขไทย

http://www.scdc5.forensic.police.go.th/fonts.htm

https://www.youtube.com/watch?v=OPp2CoLdXcc

โพสท์ใน KM:ด้านการผลิตบัณฑิต | ติดป้ายกำกับ | ใส่ความเห็น

กำหนดการพิธีประสาทปริญญาบัตร ครั้งที่ 22

กำหนดการพิธีประสาทปริญญาบัตร ครั้งที่ 22
ณ อัฒจันทร์กลางแจ้ง มหาวิทยาลัยเนชั่น จังหวัดลำปาง
วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม 2560

พิธีประสาทปริญญาบัตร ครั้งที่ 22

พิธีประสาทปริญญาบัตร ครั้งที่ 22

มีภาพสวย ๆ ของบัณฑิต และมหาบัณฑิต
ในวารสารมหาวิทยาลัยเนชั่น
ฉบับปีการศึกษา 2557 จำแนกตามสาขาวิชา
เพียบเลย
http://it.nation.ac.th/std/journal57/

รวมภาพจากพิธีฯ

รวมภาพจากพิธีฯ

โพสท์ใน งานประชาสัมพันธ์ รับนักศึกษา | ติดป้ายกำกับ , | ใส่ความเห็น