ทักษะที่นักเรียนจำต้องเรียนรู้วันที่เพื่อเติบโตในวันหน้า

บทบาทครู
มีตัวอย่างให้เห็นใน Social Media
แล้วผมก็ชอบติดตาม อ.อดิศักดิ์ จำปาทอง
เพราะท่านมักจะแชร์ประเด็นความรู้
ให้ข้อคิดที่มีประโยชน์
ได้รู้จักท่านแล้วรู้สึกดี ท่านมองอะไรเป็นบวก
ทำให้รู้สึกดี ช่วยกระตุ้มต่อมคิดบวกของผมเสมอ
ครั้งนี้ท่านแชร์มาในกลุ่มของมหาวิทยาลัย เรื่อง
“16 ทักษะที่นักเรียนจำต้องเรียนรู้วันที่เพื่อเติบโตในวันหน้า”
จึงได้นำไปเล่าให้นักศึกษาฟังครับ .. ว่าพวกเขาควรมีทักษะอะไรบ้าง
http://www.weforum.org/agenda/2016/03/21st-century-skills-future-jobs-students

 

skill

[การรู้พื้นฐาน Foundational Literacies]
1. การอ่านออกเขียนได้ (Literacy)
2. การรู้คิดคำนวณ (Numeracy
3. การรู้วิทยาศาสตร์ (Scientific literacy)
4. การรู้ไอซีที (ICT literacy)
5. การรู้การเงิน (Financial literacy)
6. การรู้วัฒนธรรม และพลเมือง (Cultural and civic literacy)
[สมรรถนะ Competencies]
7. การคิดเชิงวิพากษ์ และแก้ปัญหา (Critical thinking/problem-solving)
8. ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity)
https://www.facebook.com/wiriyah
9. การสื่อสาร (Communication)
10. การร่วมมือ (Collaboration)
[ลักษณะนิสัย Character Qualities]
11. อยากรู้อยากเห็น (Curious)
12. ริเริ่ม (Initiative)
13. มุ่งมั่น/อดทน (Persistence/grit)
14. ปรับตัวได้ (Adaptability)
15. ผู้นำ (Leadership)
16. เข้าสังคมและตระหนักในวัฒนธรรม (Social and Cultural awareness)

โพสท์ใน KM:ด้านการผลิตบัณฑิต | ติดป้ายกำกับ , | ใส่ความเห็น

ทอล์คเจาะลึกการทำงานข่าวของสื่อมวลชน โดยผ่านสื่อภาพยนตร์ เรื่อง Spotlight คนคลั่งข่าว

หน้าที่ของสื่อคือการแก้ไขความเลวร้ายของสังคม
เราต้องสร้างสังคมให้ดีขึ้น
เพื่อเรียกศรัทธากลับคืนมา เพราะสังคมคาดหวังจากเรา…
ข้อคิดดีๆที่คุณเกี๊ยง — นันทขว้าง สิรสุนทร นักวิจารณ์ภาพยนตร์และคอลัมนิสต์ชื่อดัง
ฝากไว้ให้แก่เยาวชนชาวลำปาง จากการทอล์คเจาะลึกการทำงานข่าวของสื่อมวลชน
โดยผ่านสื่อภาพยนตร์ เรื่อง Spotlight คนคลั่งข่าว
กิจกรรมการเรียนรู้ดี ๆ นอกห้องเรียนของม.เนชั่น
ที่โรงภาพยนตร์ SF เซ็นทรัล พลาซา ลำปาง เมื่อ 15 ก.พ.59 ที่ผ่านมา

https://www.facebook.com/adisak.champathong/media_set?set=a.1079887572032669.1073741924.100000343096881

spot light กับ อ.อดิศักดิ์ จำปาทอง และ คุณนันทขว้าง สิรสุนทร

spot light กับ อ.อดิศักดิ์ จำปาทอง และ คุณนันทขว้าง สิรสุนทร

15 ก.พ.59 อ.อดิศักดิ์ จำปาทอง ดำเนินรายการ
เสวนากับคุณนันทขว้าง สิรสุนทร นักวิจารณ์ภาพยนตร์
หลังฉายหนังเรื่อง Spot light ให้นักเรียน นักศึกษาในลำปางได้ชมในราคาพิเศษ
ที่ โรงภาพยนตร์ SF เซ็นทรัล ลำปาง ระหว่าง 12.30 – 16.00น.
เรื่องราวเป็นทีมข่าว Spot light ของหนังสือพิมพ์ The Boston Globe
ที่เข้าไปเจาะข่าวการละเมิดเพศของเด็กโดยบาทหลวงคาทอลิก
เป็นข่าวหลังเหตุการณ์ 11 กันยายน 2001
spot light

spot light

รวมภาพโดย คุณสราวุธ เบี้ยจรัส
 
มีประเด็นที่ฟังจากเวทีเสาวนามากมาย อาทิ
1. อ.อดิศักดิ์ จำปาทอง บอกว่าลักษณะการทำข่าวของทีม Spot light
เป็นแบบ investigative reporting เป็นการรายงานจากการสืบสวน
2. หาข้อมูลจากแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้มารายงาน โดยไม่มีความเห็นส่วนตัว
ทีมนี้ต้องไม่มีการปักธง ต้องทำด้วยความเป็นกลาง และรายงานความจริง
คุณนันทขว้าง บอกว่าบางทีจะทำข่าว ต้องหาทีมใหม่เข้าไปเจาะข่าว
เพราะถ้าใช้ทีมที่คุ้นเคย อาจได้ข้อมูลที่ไม่เป็นจริง เข้าข้างแหล่งข่าวได้
อัลบั้มโดย นิเวศน์ อินติ๊บ

อัลบั้มโดย นิเวศน์ อินติ๊บ

3. ข่าวเจาะลึกคดีบาทหลวงละเมิดเด็ก
ถูกบรรณาธิการคนใหม่ผู้มีสัญชาติญาณ เลือกเป็นประเด็นข่าวสำคัญ
เพราะเคยมีข่าวนี้ลงตีพิมพ์มาก่อน ทีมข่าวคนเดิมก็เคยรายงาน
แต่ไม่ให้ความสำคัญ จนบรรณาธิการคนใหม่
เห็นว่าให้ทีมหยิบมาขยาย เป็นพาดหัวได้
จึงเริ่มการสืบสวนอย่างจริงจัง
และห้องทำงานของ บก. มี นกฟลามิงโก
ที่ร้องแล้ว ร้องต่อ ๆ กันไป ขยายวงออกไป
4. มีการพูดถึง “กะแดะ ตอแหล” ของคนในสังคมไทย
อย่างกรณีหนังเรื่อง อาบัติ หรือ อาปัติ
ก็ถามว่าเป็นอะไร ยอมรับกันไม่ได้เหรอ
ว่าในสังคมของศาสนาพุทธ มีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นจริง
เปลี่ยนชื่อหนังแล้วฉายได้ หมายความว่าไง ก็เรื่องเดิม
บ้านเมืองเราก็ไม่ยอมให้แตะต้องศาสนา
ทำไมต้องห้ามพระเล่นกีต้า
เห็นซื้อไอโฟน ซื้อหนังโป๊
5. ถ้านักข่าวกล้าตีแผ่น ใครจะกล้า backup
ก็มีสำนักพิมพ์ หรือบรรณาธิการคอยดูแล
ที่เครือเนชั่น หัวหน้าจะดูแลนักข่าว และดูแลเนื้อหาก่อนเผยแพร่
อย่างดีทุกคน ทุกเรื่อง ไม่ให้เกิดปัญหาตามมา
6. ยกตัวอย่างภาพยนตร์ All The President’s Men
ที่สองนักข่าวเข้าไปสัมภาษณ์แหล่งข่าว แล้วถูกห้ามเผยแพร่
ห้ามจด ห้ามอัดเสียง ห้ามบันทึกด้วยวิธีใด ๆ
แต่สองนักข่าวใช้การจำข้อความในกระดาษ
แล้วผลัดกันออกไปจดข้อความในห้องน้ำ
จนได้ข้อมูลไปรายงานเรื่องประธานาธิบดีในที่สุด
จนมีชื่อเสียง และขึ้นมาเป็นนักข่าวระดับต้นในที่สุด
7. พูดถึงการวิจารณ์ภาพยนตร์อย่างตรงไปตรงมา
คุณนันทขว้าง บอก “ต้มยำ..”
ซึ่งคุณนันทขว้างบอกว่าเคยติดตามกองถ่ายไปออสเตรเลีย
แต่ให้ติดตามกองถ่ายไปต่างประเทศ ก็ไม่เกี่ยวกับการวิจารณ์หนัง
ที่ต้องวิจารณ์แบบตรงไปตรงมา จะวิจารณ์เอาใจผู้กำกับคนเดียว
แต่คนด่าทั้งประเทศไม่ได้ เพราะเป็นอาชีพที่ต้องตรงไปตรงมา
8. เล่าประสบการณ์การเป็นนักข่าว
ที่ต้องเจาะแหล่งข่าว เช่น
ร้านตัดผม ที่ขายบริการ แถวสุทธิสาร ก็ต้องปกป้องแหล่งข่าว
หรือปลอดตัวเป็นนักแข่งรถ แข่งพนันผู้หญิงที่ซ้อนท้าย
9. เล่าเรื่องการทำตลาดของ GTH
ที่บอกว่ามีการแบ่งทีมประชาสัมพันธ์ผ่าน social media อย่างเป็นระบบ
จะส่งข่าวออกไป แต่ไม่ทำช่วง  9.00 – 16.00
10. ปิดท้ายด้วยการเล่าเรื่องหนัง Shane, come back!
ที่มีม้าดำ กับมาขาว วิ่งลงมาจากภูเขา
แล้วเหยียบน้ำ ที่ทำให้ดูออกว่าใครดี และใครไม่ดี
หรือเรื่อง Titanic ที่มีปลาโลมา 2 ตัวว่ายน้ำนำเรือไป
ก็จะมีความหมายซ่อนอยู่
spot light ในโรงภาพยนตร์ SF ที่เซ็นทรัล ลำปาง

spot light ในโรงภาพยนตร์ SF ที่เซ็นทรัล ลำปาง

อ.อดิศักดิ์ จำปาทอง และคุณนันทขว้าง สิรสุนทร

อ.อดิศักดิ์ จำปาทอง และคุณนันทขว้าง สิรสุนทร

บันทึกบล็อกครั้งนี้ อาจตกหลงใจความสำคัญ หรือคลาดเคลื่อนบ้าง
เพราะใช้การจดจำเป็นหลักจากการฟังเสวนา
โพสท์ใน การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ, คณะนิเทศศาสตร์, งานประชาสัมพันธ์ รับนักศึกษา | ใส่ความเห็น

ความเห็นชาวพุทธ

ความเห็นชาวพุทธ

ความเห็นชาวพุทธ

ความเห็นชาวพุทธ
ในเดือนมกราคม มีข่าวในทางพระพุทธศาสนาหลายประเด็น
สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยเนชั่น จึงได้ทำการสำรวจความคิดเห็น
ของพุทธศาสนิกชน จำนวน 1016 คน ที่เข้าร่วมงานพิธีมงคลวัฒนยุ
พระธรรมมงคลญาณ หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโร ณ วัดธรรมมงคล
ในระหว่างวันที่ 8 – 10 มกราคม 2559 ปรากฎผลสำรวจดังนี้
1. บทบาทของวัดต่อสังคม
อันดับ 1 เป็นแบบอย่างที่ดีในสังคม ไม่ประพฤติตนเสื่อมเสีย 35%
อันดับ 2 เผยแพร่และสั่งสอนให้ประชาชนปฏิบัติตนอยู่ในศีลธรรม 31.3%
อันดับ 3 ช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสและสังคม 16.4%
อันดับ 4 ไม่บิดเบือนหลักคำสอน 8.1%
อันดับ 5 เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้/การศึกษา 5.7%
2. การสนับสนุนพระพุทธศาสนาจากภาครัฐ
อันดับ 1 สนับสนุนให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ  28.6%
อันดับ 2 ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี 21.7%
อันดับ 3 สนับสนุนงบประมาณเพื่อพัฒนาวัดในชนบท  16.5%
อันดับ 4 สนับสนุนกิจกรรมให้เยาวชนปฏิบัติตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนา 9.3%
อันดับ 5 จัดระบบคัดกรองและควบคุมพฤติกรรมของพระสงฆ์ 8.4%
3. บุญหรือการปฏิบัติธรรมที่เป็นประโยชน์สูงสุด
อันดับ 1 การเจริญภาวนา (ปฏิบัติสมาธิ) 53.3%
อันดับ 2 การรักษาศีลหรือประพฤติดี 21.7%
อันดับ 3 การให้ปันสิ่งของ (การบริจาค) 14.0%
อันดับ 4 การประพฤติอ่อนน้อม 6.3%
อันดับ 5 การบอกบุญและอนุโมทนาบุญ 2.3%
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10208172992743509&set=a.10206803178058998.1073741830.1262180885

โพสท์ใน ทั่วไป | ติดป้ายกำกับ | 1 ความเห็น

Thailand Franchise Standard 2016

อัพพลังความรู้ สู่ความก้าวหน้าธุรกิจแฟรนไชส์ (Thailand Franchise Standard 2016)

franchise 2559 @มหาวิทยาลัยเนชั่น

franchise 2559 @มหาวิทยาลัยเนชั่น

มาร่วมอัพพลังความรู้ และก้าวหน้าไปด้วยกัน
ใน โครงการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการธุรกิจแฟรนไชส์
(Thailand Franchise Standard)
พร้อมร่วมสัมมนา Thailand Franchise Standard
ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 9.00น.-16.00น.
ณ ศูนย์ฝึกอบรมพัฒนาธุรกิจการค้า ชั้น 6 กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์

งานนี้มีแต่กำไร
กำไรต่อที่ 1 – รับโอกาสตรวจเช็คศักยภาพธุรกิจโดยกูรุด้านการพัฒนาธุรกิจ
จากจุฬาลวกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเนชั่น
กำไรต่อที่ 2 – รับคำปรึกษา แนะนำการพัฒนาธุรกิจ ถึงสถานประกอบการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
กำไรต่อที่ 3 – เพิ่มโอกาสการสร้างเครือข่าย ได้ร่วมแชร์ความรู้และประสบการณ์ธุรกิจ
กำไรต่อที่ 4 – เสริมทัพความเชื่อถือ ด้วยการประเมินรับรองมาตรฐานคุณภาพการบริหารจัดการ
โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
กำไรต่อที่ 5 – คุณอาจได้รับการคัดเลือกให้เผยแพร่ธุรกิจผ่านสื่อในเครือเนชั่นที่มีผู้อ่าน
มากกว่า 100,000 ราย โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

ผู้ปรกอบการธุรกิจแฟรนไชส์ สามารถสมัครเข้าร่วมโครงการ หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
ได้ที่ ที่ปรึกษาโครงการ Thailand Franchise Standard มหาวิทยาลัยเนชั่น
ศูนย์เนชั่นบางนา ชั้น 9 เลขที่ 1854 ถนนบางนา-ตราด (กม.45) แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10250
โทรศัพท์ 023383861, 0813584756 โทรสาร 023383871 หรือ franchise@nation.ac.th
กองส่งเสริมธุรกิจแฟรนไชส์ กองส่วเสริมและพัฒนาธุรกิจ
คุณทิพย์ณัฐนันต์ โทรศัพท์ 025475953 โทรสาร 025745952

โพสท์ใน งานประชาสัมพันธ์ รับนักศึกษา | ติดป้ายกำกับ , , | ใส่ความเห็น

ความตระหนักต่อความเป็นส่วนตัวของนักเรียนมัธยมปลาย (Privacy)

วิทยากรได้เล่าเรื่องการจัดการความรู้ในประเด็น  “การผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพ
จากการแลกเปลี่ยนตามเนื้อหาในบทความเรื่อง “Information Ethics and Behaviors of Upper Secondary Students Regarding the Use of Computers and The Internet” โดย อ.ดร.อติชาต หาญชาญชัย  และ อ.เกศริน อินเพลา ซึ่งแปลเป็นไทยว่า “จริยธรรมทางสารสนเทศ และพฤติกรรมของนักเรียนระดับมัธยมปลายที่ใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต” โดยวิทยากรชวนแลกเปลี่ยน แล้วได้สรุปว่ามีนักเรียนระดับมัธยมปลายในลำปาง ร้อยละ 41.8 ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ และมีถึงร้อยละ 34.8 ที่ใช้อินเทอร์เน็ต การเข้าใจถึงพฤติกรรมของนักเรียนมัธยมปลายจะช่วยในการจัดทำแผนรณรงค์รับนักศึกษาให้ตรงกลุ่มเป้าหมายยิ่งขึ้น การจัดกิจกรรมบริการวิชาการแก่เยาวชน และการปรับหลักสูตรและรายวิชาให้รองรับนักเรียนที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ได้ดีขึ้น

แล้วยังนำความรู้เรื่องพฤติกรรมการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตที่ตามแนวคิด PAPA (Privacy, Accuracy, Property, Accessibility) มาปรับใช้ในการผลิตบัณฑิตให้มีคุณธรรมจริยธรรม สอดรับกับมาตรฐานผลการเรียนรู้กลาง คือ การผลิตบัณฑิตให้มีคุณธรรมจริยธรรม ซึ่งมาตรฐานนี้มีทั้งหมด 5 ด้าน

1) คุณธรรม จริยธรรม (Morality and Ethics)

2) ความรู้ (Knowledge development)

3) ทักษะทางปัญญา (Intellectual development)

4) ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ (Interpersonal relationship and responsibility)

5) ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (Mathematical analytical thinking, communication skills, and information technology skills)

 

ซึ่งจากผลสำรวจนักเรียนระดับมัธยมปลายทั้ง 3 ชั้นในจังหวัดลำปางจำนวน 1450 ตัวอย่าง ทำให้ทราบว่านักเรียนกลุ่มเป้าหมายใช้ Facebook มากถึงร้อยละ 96.7 รองลงมาใช้ Youtube ร้อยละ 66.1 ใช้ Line ร้อยละ 61.6 ใช้ Twitter ร้อยละ 47.2 ใช้ WhatsApp ร้อยละ 28.0 และอื่น ๆ ร้อยละ 10.6 แล้วผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ประเด็นจริยธรรมทั้ง 4 คือ ความถูกต้อง ความเป็นเจ้าของ และการเข้าถึงมีความสัมพันธ์กับทัศนคติการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต (ยอมรับสมมติฐาน) แต่ความเป็นส่วนตัวมีความสัมพันธ์กับทัศนคติการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตน้อย หรือไม่มีความสัมพันธ์กัน (ไม่ยอมรับสมมติฐาน) แสดงว่านักเรียนให้ความสำคัญกับความเป็นส่วนตัวน้อยกว่าประเด็นอื่น

สรุปได้ว่าปัจจุบันนักเรียนระดับมัธยมปลายยังขาดความตระหนักในเรื่องการควบคุมความเป็นส่วนตัว และไปแสดงความเห็นในเครือข่ายสังคมอย่างไม่ระมัดระวัง ยังมีทัศนคติพึงระวังต่อความเป็นส่วนตัวไม่มากเท่าที่ควร ดังนั้นในกระบวนการผลิตบัณฑิตของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ จึงควรเพิ่มเนื้อหาที่จะสอนนักศึกษาในรายวิชา แล้วยกตัวอย่างปัญหาเรื่องของความตระหนักต่อความเป็นส่วนตัวให้มากขึ้น ซึ่ง ผศ.บุรินทร์ รุจจนพันธุ์ เห็นว่าเป็นแนวปฏิบัติที่ดีแล้วนำไปปรับใช้สอนนักศึกษา และจัดทำเว็บเพจ http://www.thaiall.com/ethics ที่ให้ข้อมูลเรื่องความเป็นส่วนตัวในเครือข่ายสังคม และนำเสนอกรณีปัญหาที่ต้องพึงระวังสำหรับการแบ่งปันข้อมูลที่เป็นส่วนตัว

โพสท์ใน KM:ด้านการวิจัย | ติดป้ายกำกับ , , , | ใส่ความเห็น

กระบวนการเสนอผลงานวิชาการเพื่อการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ

พบรายงานว่า  ได้มีการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในคณะวิชา เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีที่อยู่ในตัวบุคคล
ซึ่งมีการจัดการความรู้ เรื่อง “การนำเสนอผลงานวิชาการระดับนานาชาติ
ซึ่งวิทยากรเลือกกรณีตัวอย่างด้วยการนำเสนอผ่านผลงานวิชาการที่ได้ตีพิมพ์เรื่อง Information Ethics and Behaviors of Upper Secondary Students Regarding the Use of Computers and The Internet ในวารสาร Journal of Information Ethics  ซึ่งเป็นผลงานที่ทำร่วมกับ อ.ดร.อติชาต หาญชาญชัย ในการนำเสนอผลงานครั้งนี้
มีกระบวนการโดยสรุป ดังนี้
– อาจารย์ทำวิจัยแล้วเสร็จ และมีผลงานที่พร้อมสำหรับการตีพิมพ์เป็นบทความวิชาการ
– ศึกษา และเลือก e-Journal หรือ Journal ที่สนใจจากห้องสมุด และตรงกับสาขาวิชาของผู้วิจัย
– บอกรับวารสาร (Subscriptions) ที่สนใจกับสาขาวิชา
เช่น Journal of Information Ethics
แล้วอ่านเพื่อทบทวนวรรณกรรม และศึกษาวารสาร ซึ่งเงื่อนไขของวารสารที่น่าสนใจ มีดังนี้
วารสารตีพิมพ์ 2 ครั้งต่อปี คือ ฤดูใบไม้ผลิ (spring) และ ฤดูใบไม้ร่วง (fall)
วารสารมีเฉพาะ hard copy ค่าสมาชิกต่อปีคือ $120 สำหรับสถาบันการศึกษา หรือ $40 สำหรับบุคคล
ถ้าอยู่นอกสหรัฐอเมริกาต้องบวกเพิ่ม $20
– ศึกษาเงื่อนไขการส่ง Journal ว่าส่งที่ไหน มีรูปแบบการเขียนอย่างไร
ที่ http://www.mcfarlandbooks.com/customers/journals/journal-of-information-ethics/
โดยเขียนจดหมายถึงบรรณาธิการ 4 – 6 หน้า ส่วนบทความมีขนาด 10 – 25 หน้า
โดย Style การเขียนทั้งเรื่อง General Instructions, Content, Style, Documentation
สามารถเข้าไปอ่านได้ในเว็บไซต์ และศึกษาได้จากบทความที่เคยตีพิมพ์ในวารสารที่บอกรับมา
– เมื่อเขียนบทความตาม Style ที่กำหนดแล้ว ก็ส่งไปให้กับบรรณาธิการ เพื่อพิจารณาส่งให้ peer reviewer
– เมื่อ peer reviewer ก็จะอ่าน และมีข้อเสนอแนะมาให้แก้ไข
เมื่อแก้ไขแล้ว ก็ส่งกลับไปให้พิจารณาปรับแก้ และส่งกลับไปใหม่
ทำเช่นนี้จนกว่า peer reviewer จะให้ผ่าน
– มีหนังสือตอบรับจากวารสาร และวารสารบางฉบับมีค่าตอบแทนให้กับผู้เขียน

นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเพื่อสนับสนุนด้านการวิจัย คือ สนับสนุนให้บุคลากรเข้าร่วมอบรมการใช้งานระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิจัย แล้วนำผลงานเข้าสู่ระบบฐานข้อมูล และเปิดให้มีการนำมาพิจารณาปรับใช้สำหรับแต่ละคนต่อไป โดยมีเว็บไซต์อยู่ที่ http://it.nation.ac.th/research

โพสท์ใน KM:ด้านการวิจัย | ติดป้ายกำกับ , | ใส่ความเห็น

กิจกรรม รับน้อง ไหว้ครู และเฟรชชี่

Activities for Freshman

แต่ละปี เมื่อมีนักศึกษาใหม่เข้ามา ก็จะมีกิจกรรมหลายอย่างที่น่าสนใจ
สำหรับปี 2558 ก็มีการพัฒนาต่างไปจากปีก่อน ๆ ซึ่งปรับทุกปี

น้องใหม่บนภูเขา (freshman on mountain)

น้องใหม่บนภูเขา (freshman on mountain)

– รับน้อง ขึ้นดอย
ม.เนชั่น รับน้องสร้างสรรค์ใส่ใจประเพณีพี่พาน้องเตียวขึ้นดอย
+ https://www.facebook.com/media/set/?set=oa.998256906906846

freshy idol

freshy idol

– Freshy contest และ Popular vote
+ แนะนำ idol https://www.youtube.com/watch?v=rcYw-4opS9c

+ รวมภาพ https://www.facebook.com/media/set/?set=oa.1004372916295245

NTU Freshy night party 2015

NTU Freshy night party 2015

– Freshy night for Freshman
NTU freshy night party 2015
Theme : Colorful Black Light
+ รวมภาพ https://www.facebook.com/media/set/?set=oa.1006270959438774

+ การแสดง https://www.youtube.com/watch?v=6JWOuuJxbRs

+ แนะนำตัว https://www.youtube.com/watch?v=57d-qntOQdo

ไหว้ครู

ไหว้ครู

– ไหว้ครู

+ กิจกรรมไหว้ครู https://www.facebook.com/media/set/?set=oa.1005419349523935

+ https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10153522776813895&set=gm.1005281882871015

+ การแสดง https://www.youtube.com/watch?v=SvKQ-NoYz6k

+ กล่าวปาเจรา https://www.youtube.com/watch?v=S6N7i7Lb-EI

โพสท์ใน ทั่วไป | ใส่ความเห็น

การทำวิจัยทางสังคมศาสตร์

วิทยากร  ศ.ดร.วัลลภ  ลำพาย

23 มิถุนายน 2558  เวลา  10.30 – 16.30 น.

 

สรุปองค์ความรู้ที่ได้รับ

ศาสตราจารย์ ดร. วัลลภ ลำพาย บรรยายถึงการทำวิจัยทางสังคมศาสตร์ โดยเริ่มต้นจากนิยามคำว่าการวิจัยคืออะไร วิธีการหาเหตุผลวิธีต่าง ๆ ทั้งแบบนิรนัย Deductive Reasoning และแบบอุปนัย Inductive Reasoning ต่อมาก็เป็นเรื่องขั้นตอนการทำวิจัย การเขียนรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โดยให้ผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ให้ทำโครงร่างของการวิจัย เสนออาจารย์ผู้สอน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการทำวิจัยโดยเน้นการทำวิจัยเชิงปริมาณในทางสังคมศาสตร์

การวิจัย ดร.วัลลภ ลำพาย ได้ให้นิยามไว้ว่า การวิจัยเป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ Scientific process ในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และตีความข้อมูล เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ ความจริง ความเข้าใจ เพื่ออธิบายปรากฎการณื หรือปัญหาต่าง ๆ

ทั้งนี้การหาเหตุผลแบบนิรนัย เป็นการหาความรู้ที่เริ่มจากข้อเท็จจริงใหญ่ที่มีลักษณะกว้างๆ ไปหาข้อเท็จจริงย่อย แล้วจึงหาข้อสรุปที่เป็นเหตุผลระหว่างข้อเท็จจริงใหญ่กับข้อเท็จจริงย่อย

ส่วนการหาเหตุผลแบบอุปนัย เป็นการสรุปความจริงที่จะต้องอาศัยการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อหาข้อเท็จจริงย่อยๆ เพื่อนำมาสรุปเป็นข้อเท็จจริงใหญ่ซึ่งเป็นข้อสรุปโดยทั่วไป

การเขียนเค้าโครงการวิจัย เริ่มต้นจากการเลือกหัวข้อวิจัย ซึ่งหัวข้อที่ดีจะต้องมีลักษณะที่ไม่กว้างหรือแคบจนเกินไป เป็นหัวข้อที่มีประโยชน์ อยู่ในวิสัยที่ผู้วิจัยทำได้ และสอดคล้องกับสาขาที่ศึกษา

ต่อมาก็คือการเขียนความสำคัญของปัญหา Problems Statement ซึ่งจะต้องเป็นประเด็นที่น่าสนใจ เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบัน โดยเขียนให้ตรงประเด็น รวมทั้งมีข้อมูลเชิงเหตุผล มีสถิติ ข้อมูล อ้างอิงให้น่าเชื่อถือ ไม่ยืดยาวจนน่าเบื่อ ใช้ภาษาที่ง่ายต่อความเข้าใจ และเขียนแค่ 4 ย่อหน้าก็เพียงพอ

ลำดับต่อมาคือการกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัย โดย จะต้องกำหนดเป็นข้อ ๆ ให้ชัดเจน ควรขึ้นต้นวัตถุประสงค์ด้วยคำว่า “เพื่อ” และตามด้วยข้อความที่แสดงการกระทำในการวิจัย มีการจัดลำดับก่อนหลังของวัตถุประสงค์

ต่อมาคือเรื่องขอบเขตของงานวิจัย ต้องครอบคลุม 4 มิติ กล่าวคือ 1) ขอบเขตด้านเนื้อหา ศึกษาเรื่องอะไร 2) ขอบเขตด้านประชากร ศึกษากับใคร 3) ขอบเขตด้านภูมิศาสตร์ ศึกษาที่ไหน และ  4) ขอบเขตด้านเวลา ศึกษาในช่วงเวลาใดถึงช่วงเวลาใด

สุดท้ายของการเขียนเค้าโครงการวิจัยคือ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ซึ่งจะต้องเป็นประโยชน์จริงๆ ที่คาดว่าจะได้รับจากงานวิจัยนี้ โดยอาจจะเป็นประโยชน์ในทางทฤษฎี หรือประโยชน์ในการประยุกต์ใช้ และห้ามเขียนล้อวัตถุประสงค์ของงานวิจัย

โดยครั้งนี้อาจารย์มีเวลาบรรยายเพียงแค่การเขียนเค้าโครงการวิจัย ส่วนต่อมาเพื่อให้งานวิจัยสมบูรณ์อาจจะต้องบรรยายในครั้งหน้า

 

อาจารย์รุ่งรัตน์  ธนบดีธาดา

ผู้วิเคราะห์ และสรุปองค์ความรู้

 

โพสท์ใน KM:ด้านการวิจัย | ติดป้ายกำกับ | ใส่ความเห็น

ความสำคัญของการวิจัยกับอาจารย์มหาวิทยาลัย

ความสำคัญของงานวิจัยกับอาจารย์มหาวิทยาลัย การเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย งานที่อาจารย์ทุกคนได้รับมอบหมายจากมหาวิทยาลัยคืออาจารย์จะต้องทำตามพันธกิจ 4 ด้านของมหาวิทยาลัย ประกอบด้วย งานสอน งานวิจัย งานบริการวิชาการ และงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

อาจารย์บางท่านเห็นว่าแค่งานสอนเพียงอย่างเดียวก็ไม่มีเวลาพอสำหรับทำงานวิจัยแล้ว แต่หากอาจารย์คิดที่จะมีรายได้เพิ่มจากภาระงานสอนเพียงอย่างเดียว อาจารย์จะไม่ได้พัฒนาองค์ความรู้เพิ่มเติมให้กับตัวเอง ความสำคัญของการทำวิจัยคือการพัฒนาองค์ความรู้ เกิดทฤษฎีใหม่ ค้นคว้าให้รู้มากยิ่งขึ้น

นอกจากการพัฒนาองค์ความรู้แล้ว งานวิจัยยังเป็นที่มาของรายได้ของอาจารย์ จะเห็นได้ว่า อาจารย์สามารถเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอทุนสนับสนุนจากมหาวิทยาลัย หรือ ขอทุนวิจัยจากภายนอกมหาวิทยาลัย และเมื่ออาจารย์ทำงานวิจัยแล้ว อาจารย์ก็ควรจะนำเสนอบทความทางวิชาการในเวทีวิชาการต่างๆ ซึ่งจากประกาศมหาวิทยาลัยเนชั่นก็ให้เงินสนับสนุนงานวิจัย และการตีพิมพ์บทความทางวิชาการ และเมื่ออาจารย์มีการเสนอบทความเท่ากับอาจารย์ทำให้ตนเองเป็นที่รู้จักกับสังคมภายนอกมหาวิทยาลัย และเมื่อสังคมภายนอกรู้จักอาจารย์แล้ว ก็อาจจะชวนอาจารย์มาร่วมทำงานวิจัย ก็ทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ ขึ้น

เมื่อเกิดองค์ความรู้ใหม่ อาจารย์ก็นำความรู้ที่ได้รับจากการทำงานวิจัยนั้นมาสอนนักศึกษา เป็นตัวอย่าง หรือกรณีศึกษา จะเห็นได้ว่าการทำวิจัยทำแล้วมีแต่เกิดประโยชน์ทั้งต่อตัวอาจารย์ มหาวิทยาลัย และนักศึกษา

 

อ.รุ่งรัตน์  ธนบดีธาดา

ผู้รวบรวมองค์ความรู้

โพสท์ใน KM:ด้านการวิจัย | ติดป้ายกำกับ | ใส่ความเห็น

เทคนิคการทวนสอบ

คู่มือทวนสอบรายวิชา-ตาม มคอ.1 มคอ.2 และ มคอ.3

 

การทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้ หมายถึงกระบวนการหาหลักฐานด้วยวิธีการใด ๆ เช่น การสังเกต การตรวจสอบ การประเมิน การสัมภาษณ์ ฯลฯ เพื่อยืนยันหรือสนับสนุนว่า นักศึกษาทุกคนมีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาตรงตามมาตรฐานผลการเรียนรู้เป็นอย่างน้อย ซึ่งอาจได้ผลจากการประเมินข้อสอบว่าครอบคลุมมาตรฐานผลการเรียนรู้ การให้คะแนนตรงตามความเป็นจริง การให้ข้อมูลย้อนกลับของผู้สำเร็จการศึกษา การประสบความสำเร็จในการทำงานของผู้สำเร็จการศึกษา

กลยุทธ์โดยทั่วไปที่ใช้ในการทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้ ได้แก่ การตรวจสอบคะแนนจากกระดาษคำตอบข้อสอบของนักศึกษา และงานที่มอบหมาย การประเมินหลักสูตรโดยนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษา การประเมินคณะวิชาและหลักสูตรโดยบุคลากรภายนอก และการรายงานเกี่ยวกับทักษะของบัณฑิตโดยผู้ใช้บัณฑิต ให้อธิบายกระบวนการที่ใช้ในการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้แต่ละรายวิชา เช่น ทวนสอบจากคะแนนข้อสอบ หรืองานที่มอบหมาย หรือประเมินหลักสูตรจากผู้เกี่ยวข้อง

ดังนั้นสิ่งที่แต่ละหลักสูตรจะต้องทำ คือ ให้คณาจารย์ผู้สอนทุกท่าน มีการบันทึกการสอนของตนในรายวิชาที่ตนสอนทุกครั้ง ตั้งแต่เทคนิคที่อาจารย์ใช้ในการสอน ตัวอย่างที่ยกให้นักศึกษา ปฏิกิริยาของผู้เรียน รวมถึงบันทึกหลักการเหตุผลของอาจารย์ในการออกข้อสอบ แนวคำตอบ วิธีการตรวจข้อสอบ เกณฑ์การให้คะแนน

คณะวิชา จะต้องมีการประชุมคณะกรรมการวิชาการ เพื่อตรวจสอบแลกเปลี่ยนปัญหา กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย พิจารณาเกณฑ์การวัดและประเมินผลของนักศึกษาให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริง กรณีในรายวิชาที่มีผู้สอนหลายท่าน เมื่อสอนให้อาจารย์ผู้ร่วมสอนท่านอื่น ๆ เข้าสังเกตการสอนร่วมด้วยตาม มคอ.3 เพื่อช่วยตรวจสอบ แก้ไข

ทั้งนี้ คณะวิชา และหลักสูตรต้องจัดให้มีการประชุมก่อนการจัดการเรียนการสอนเพื่อพิจารณาแนวทางการจัดการเรียนการสอน มีการประชุมระหว่างการสอน และหลังการสอน โดยเชิญผู้เกี่ยวข้องของแต่ละวิชา (เช่นอาจารย์ผู้สอนนอกคณะ) มาประชุมก่อนสอน ระหว่างสอน และหลังการสอน และมีการจัดการความรู้ แลกเปลี่ยน การติดตามและการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

 

รุ่งรัตน์ ธนบดีธาดา

โพสท์ใน KM:ด้านการวิจัย, ทั่วไป | ติดป้ายกำกับ | ใส่ความเห็น