IT Examination

tutor_it_59_1 tutor_it_59_2

ปีการศึกษา 2558 ภาคเรียนที่ 2 จากคะแนนเต็ม 50
มีนักศึกษาสอบ IT Examination ได้คะแนน 48 และ 49 หลายคน ดังนี้
– ดวงพร เบ้าสมศรี 49 คะแนน
– นรากร อินทรวิจิตร 49 คะแนน
– ทรงพล พรรัตนพิทักษ์ 49 คะแนน
– จิรนันท์ แก้วใส 48 คะแนน
– นิตยา จอมคำ 48 คะแนน
– พิมพกานต์ ปะละวงค์ 48 คะแนน
– ชนิกานต์ สิงหะ 48 คะแนน
สำหรับผู้ผ่านตามเกณฑ์ คือ ไม่น้อยกว่า 40 คะแนนในการสอบครั้งแรก
จะได้รับเกียรติบัตรจากมหาวิทยาลัย และได้รับผลการเรียน S ในวิชา COMP 300
https://www.facebook.com/ajburin/media_set?set=a.10150990934333895.443727.814248894

ทุกภาคการศึกษา มหาวิทยาลัยเนชั่นจะมีกลไกจัดติว และจัดสอบ
IT Examination : Computer for Working
โดยจะจัดให้นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ทุกคณะวิชา และผู้ที่ยังไม่ผ่านการสอบ
การติวนั้นก็เพื่อให้นักศึกษามีความพร้อมในการเข้าสอบ
เงื่อนไขการผ่านเกณฑ์คือ
คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ตามประกาศ
ถ้าสอบผ่านเกณฑ์ก็จะไม่ต้องลงทะเบียนวิชา COMP 300
แต่ได้รับผลการเรียนเป็น S พร้อมรับเกียรติบัตรในฐานะที่สอบผ่านเกณฑ์ในครั้งแรก
ถ้าสอบไม่ผ่านเกณฑ์ ก็ต้องลงทะเบียนวิชา COMP 300
และเข้าเรียนรู้ด้วยตนเองในระบบ แล้วเข้าติวก่อนสอบรอบต่อไป
หากยังสอบอีกครั้งแล้วไม่ผ่านก็จะได้รับผลการเรียนเป็น U และต้องลงทะเบียนในภาคเรียนต่อไปอีก

certification

certification ของ ศัลณ์ษิกา ไชยกุล ในพิธีไหว้ครู

โดยปีการศึกษา 2558 ภาคเรียนที่ 2
จัดติวในวันที่ 27 เมษายน 2559 ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 1 มีนักศึกษาสนใจเข้าติวจำนวนมาก
https://www.facebook.com/ajburin/media_set?set=a.10152198257413895.1073741841.814248894

หลักเกณฑ์การสอบ IT Examination :Computer for working
ประกาศ 20 พฤศจิกายน 2556
http://it.nation.ac.th/std/news/file_load/STD0029.docx
http://it.nation.ac.th/std/?pages=3

Download หลักเกณฑ์ของมหาวิทยาลัย
ที่ http://goo.gl/8EKwWn

โพสท์ใน คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ, คอมพิวเตอร์ธุรกิจ, วิทยาการคอมพิวเตอร์ | ติดป้ายกำกับ , | ใส่ความเห็น

ความรู้เรื่องโอ่งชีวิต และความเข้าใจของกลุ่มเป้าหมาย

โอ่งชีวิต

โอ่งชีวิต – ภาพโดย อ.วิเชพ ใจบุญ

 

โอ่งชีวิต หรือโอ่งเศรษฐกิจ
คือ เครื่องมือช่วยวิเคราะห์เศรษฐกิจของชุมชน หรือบุคคล
ว่ามีสิ่งใดเป็นรายรับ สิ่งใดเข้ามาเป็นประโยชน์ หรือเข้ามาสนับสนุนชุมชน
และมีสิ่งใดเป็นรายจ่าย สิ่งใดรั่วไหลออกไป หรือเป็นต้นทุนที่ต้องจ่าย
หากรู้ที่มาของรายรับ และที่ไปของรายจ่าย ก็จะเป็นข้อมูลในการจัดการ
ด้วยการเพิ่มรายรับ และลดรายจ่ายต่อไป
อาทิ นักศึกษาใช้โอ่งชีวิตช่วยวิเคราะห์รายรับ รายจ่าย ด้านการศึกษาของตนเอง

จิรายุ คำแปงเชื้อ

จิรายุ คำแปงเชื้อ

จิรายุ คำแปงเชื้อ แบ่งปันประสบการณ์เรื่อง โอ่งชีวิต ว่า
โอ่งชีวิต เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้การคิดวิเคราะห์
สำหรับโอ่งชีวิตเป็นเครื่องมีที่มีประโยชน์สามารถนำไปใช้กับชุมชนก็ได้ ใช้กับตนเองก็ได้
เพื่อที่เราจะได้รู้รายรับที่เข้ามาและรายจ่ายที่ออกไปและเงินออมของเรา
ในภาพประกอบไปด้วย ก็อกน้ำเปรียบเหมือนรายรับที่เข้ามาของเดือนนั้น
โอ่งเปรียบเหมือนเงินเก็บของเราในเดือนนั้น
และรอยรั่วเปรียบเหมือนรายจ่ายที่ออกไปในเดือนนั้น
สำหรับผมก็อยากจะรู้ว่ารายรับที่ผมได้มาทำไมมันไม่พอใช้ ผมก็ได้มาเยอะนะ(ต่อเดือน)
ผมก็เลยเขียนรายจ่าย ตรงรอยรั่วนั้นลงไป ทำให้ผมได้รู้เลย
ทำไมรายจ่ายของผมถึงไม่พอ เพราะผมไปใช้ในเรื่องไร้สาระนั้นเอง แถมใช้ไปเยอะด้วย
อาทิเช่น แทงบอล เที่ยว กินเหล้า ซื้อรองเท้า ซื้อเสื้อผ้า ฯลฯ
ผมก็เลยตัดการใช้จ่ายบางรายการออกไปและลดการใช้จ่ายบางรายการดู
ผมนี้ตกใจเลย เงินที่ได้มาเหลือเยอะขนาดนี้เลยหรือนี้
ถ้าผมทำอย่างนี้บ่อย ๆ ผมอาจจะมีโอ่งใบเล็ก ๆ ที่รองรอยรั่ว เปรียบเหมือนเงินออมนั้นเอง
บันทึกไว้ หลังจากได้รับการอบรมจากคุณภัทรา มาน้อย เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2559

โพสท์ใน KM:ด้านการวิจัย | ติดป้ายกำกับ , | ใส่ความเห็น

ความรู้เรื่องแผนที่ความคิด และความเข้าใจของกลุ่มเป้าหมาย

mind map

mind map – ภาพโดย อ.วิเชพ ใจบุญ

แผนที่ความคิด (Mind Map)
คือ แผนผัง (Diagram) ที่ใช้แสดงแนวความคิดของมนุษย์ที่เชื่อมโยงความคิดต่าง ๆ จากจุดศูนย์กลาง
แล้วแตกแขนงออกไปเหมือนเส้นประสาทในสมองของมนุษย์ที่เชื่อมโยงกัน
โดยที่แผนที่ความคิดถูกสร้างขึ้นมา เพื่อใช้เป็นจุดกำเนิด หรือการเริ่มต้นในการทำงานต่าง ๆ
การเขียนแผนที่ความคิดจะมีโครงสร้างและแนวความคิดแตกต่างกันออกไป
ขึ้นอยู่ว่าจะนำมาเขียนในประเด็นอะไร
อาทิ นักศึกษาใช้เล่าเรื่อง programmer

อ้างอิงจาก บทความแผนที่ความคิดของ ดร.อาณัติ รัตนถิรกุล
ที่ http://www.arnut.com/b/node/286
ซึ่ง อ.วิเชพ ใจบุญ ได้แบ่งปันมาในกลุ่มเฟสบุ๊ค

พิทยา กานต์อาสิญจ์

พิทยา กานต์อาสิญจ์

พิทยา กานต์อาสิญจ์ แบ่งปันประสบการณ์เรื่อง Mind Mapping ว่า
Mind Mapping เป็นเครื่องมือที่ใช้ได้ดี และกว้างมากในการเขียนแผนผังความคิดที่ไม่มีขอบเขต
สามารถที่จะเขียนเรื่องราวได้จากหัวข้อเดียว
แล้วขยายเป็นรากแยกออกไปเรื่อย ๆ ไม่มีที่สิ้นสุดที่จะจำกัดความคิดของเราได้
แต่ต้องมีความรู้ด้านนั้น ๆ เพื่อเขียนออกมาเป็นเรื่องราว
ถ้าหากไม่มีความรู้เกี่ยวกับด้านนั้นจริง ๆ ควรไปศึกษาสิ่งที่ต้องการเขียนออกมาก่อน
ไม่งั้นจะไม่สามารถเขียนอะไรออกมาได้เลย ถึงจะชอบเรื่องนั้น ๆ มากก็ตามครับ
บันทึกไว้ หลังจากได้รับการอบรมจากคุณภัทรา มาน้อย เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2559

โพสท์ใน KM:ด้านการวิจัย | ติดป้ายกำกับ | ใส่ความเห็น

ความรู้เรื่องต้นไม้ชุมชน และความเข้าใจของกลุ่มเป้าหมาย

community tree

community tree – ภาพโดย อ.วิเชพ ใจบุญ

ต้นไม้ชุมชน คือ เครื่องมือวิเคราะห์ชุมชน
โดยแบ่งต้นไม้ออกเป็นส่วน ๆ ที่มีหน้าที่สัมพันธ์กัน
แล้วเปรียบเทียบว่าแต่ละส่วนของต้นไม้ก็เหมือนแต่ละส่วนของชุมชน
และให้คนในชุมชนร่วมกันวิเคราะห์ว่าแต่ละส่วนที่ชุมชนมีนั้นมีอะไรบ้าง
ประกอบด้วย
1. ราก – ประวัติ วัฒนธรรม รากเหง้า
2. ลำต้น – ทรัพยากร
3. กิ่ง – เครือข่ายในชุมชน
4. ใบ – ผู้นำหาอาหารมาหล่อเลี้ยงทั้งต้น
5. ผล – สิ่งที่เจริญงอกงาม โดดเด่นได้จากองค์ประกอบข้างต้น

บางครั้งอาจพบการเปลี่ยนจากต้นไม้ชุมชนเป็นต้นไม้ปัญหา
เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ปัญหา โดยแบ่งรากเป็นสาเหตุ ลำต้นเป็นปัญหา และผลเป็นผลกระทบ

วรวัช ไชยธิ

วรวัช ไชยธิ

วรวัช ไชยธิ แบ่งปันประสบการณ์เรื่อง ต้นไม้ชุมชน ว่า
เรื่อง ต้นไม้ชุมชน เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้การคิดวิเคราะห์
ในเรื่องของรายละเอียด ประวัติศาสตร์ ความเป็นมา การเปลี่ยนแปลง หรือ สิ่งใหม่ที่เกิดกับชุมชน
แบ่งความสัมพันธ์ได้ 5 ส่วน คือ ราก ลำต้น กิ่ง ใบ ผล
1.ราก คือ ประวัติศาสตร์ รากเหง้า ของชุมชน
2.ลำต้น คือ ทรัพยาการที่ล่อเลี่ยงชุมชน
3.กิ่ง คือ ระบบความมสัมพันธ์ในชุมชน
4.ใบ คือ ผู้นำของชุมชน
5.ผล คือ ผลกำไรจากการประกอบอาชีพในชุมชน
5 ส่วนนี้มีความสัมพันธ์กันจากอดีตจนถึงปัจจุบัน
และสามารถบอกถึงการเปลี่ยนแปลงของแต่ละส่วนในชุมชนนั้น ๆ ได้
บันทึกไว้ หลังจากได้รับการอบรมจากคุณภัทรา มาน้อย เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2559

ณัฐชนน แก้วตัน

ณัฐชนน แก้วตัน

ณัฐชนน แก้วตัน แบ่งปันประสบการณ์เรื่อง ต้นไม้ชุมชน ว่า
ต้นไม้ชุมชน เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้การคิดวิเคราะห์
ในเรื่องของวัฒนธรรมประเพณีหรือวิถีชีวิตของคนในชุมชน
ซึ่งจะแบ่งความสัมพันธ์ออกเป็น 5 ส่วน
คือ ส่วนของราก ลำต้น กิ่ง ใบ และผล ซึ่ง ส่วนต่างๆ มีความหมายดังนี้
1. ราก เปรียบเสมือนประวัติศาสตร์
2. ลำต้น เปรียบเสมือนวัฒนธรรมประเพณี
3. กิ่ง เปรียบเสมือนวิถีชีวิต
4. ใบ เปรียบเสมือนผู้นำชุมชน
5. ผล เปรียบเสมือนความเปลี่ยนแปลงในชุมชน
ซึ่ง 5 ส่วนนี้ หมายถึง การสืบทอดจากอดีตจนถึงปัจจุบัน
หรือการเปลี่ยนแปลงจากอดีตสู่ปัจจุบันนั่นเอง
บันทึกไว้ หลังจากได้รับการอบรมจากคุณภัทรา มาน้อย เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2559

โพสท์ใน KM:ด้านการวิจัย | ติดป้ายกำกับ , | ใส่ความเห็น

ความรู้เรื่อง Body Scan และความเข้าใจของกลุ่มเป้าหมาย

body scan

body scan – ภาพโดย อ.วิเชพ ใจบุญ

ตรวจเช็คร่างกาย (Body Scan)
คือ เครื่องมือวิเคราะห์ที่สามารถประยุกต์ใช้กับประเด็นต่าง ๆ
โดยเปรียบเทียบประเด็นที่สนใจก็เหมือนกับร่างกายมนุษย์
สามารถแบ่งหมวดหมู่ให้สอดคล้องกับร่ายกาย
อาจแบ่งเป็น 2 ซีกให้ซีกซ้ายเป็นปัญหา และซีกขวาเป็นแนวทางแก้ไข
หรือแบ่งเป็นหัว มือ หัวใจ ร่างกาย และเท้า
ว่าแต่ละส่วนเชื่อมโยงกับประเด็นที่สนใจอย่างไร
อาทิ ให้น.ศ.มองสถานศึกษาเป็นร่างกาย แล้วฝึกวิเคราะห์

นรภัทร นรศักดิ์

นรภัทร นรศักดิ์

นรภัทร นรศักดิ์ แบ่งปันประสบการณ์เรื่อง Body Scan ว่า
Body Scan หรือเราเรียกว่า ตุ๊กตาชุมชน คือ เครื่องมือวิเคราะห์ปัญหาของคนกลุ่มหนึ่ง
ซึ่งเราใช้ในการวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นในกลุ่มคน
ได้จากการวาดรูปตุ๊กตาขึ้นมาและนำส่วนบางส่วนในร่างกายมาเปรียบเทียบ
เช่น
1. หัว คือ สมองคน ความคิดของคน หรือ ความเชื่อ
2. มือ คือ การบริโภค ความสะอาด
3. ร่างกาย คือ ด้านสุขภาพของร่างกาย เช่น โรคภัยไข้เจ็บ เป็นต้น
4. หัวใจ คือ ด้านจิตใจอารมณ์ ความอ่อนไหว เป็นต้น
5. เท้า คือ เหมือนการเดิน เราก็ต้องเดินต่อไปข้างหน้า การมีเป้าหมายเป็นของตัวเอง
ทั้งหมดนี้คือ ส่วนในร่างกายของตุ๊กตาชุมชน
เราจะแบ่งครึ่งคือจะมีเส้นแบ่งตรงกลางผ่าตัวของตุ๊กตาชุมชนตั้งแต่หัวจนถึงเท้า
ฝั่งซ้าย เราจะวิเคราะห์เชิง ปัญหาคนในกลุ่ม ในแต่ละส่วนของร่างกายตุ๊กตาชุมชน
ฝั่งขวา เราจะวิเคราะห์เชิง วิธีแก้ไข้ปัญหาในแต่ละส่วนของร่างกายตุ๊กตาชุมชน
เราสามารถนำตุ๊กตาชุมชน ไปปรับใช้ได้หลายระดับ
เช่น คนในครอบครัว กลุ่มเด็กนักเรียน กลุ่มนักศึกษาในมหาลัย
กลุ่มเพื่อนในที่ทำงาน เราสามารถประยุกต์ใช้ได้หลายกลุ่มชน
บันทึกไว้ หลังจากได้รับการอบรมจากคุณภัทรา มาน้อย เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2559

วสันต์ ศรีโชติ

วสันต์ ศรีโชติ

วสันต์ ศรีโชติ แบ่งปันประสบการณ์เรื่อง Body Scan ว่า
Body Scan เป็นเครื่องมือทางการคิดวิเคราะห์รูปแบบหนึ่ง
โดย เชื่อมโยง ลักษณะ สรีระร่างกาย
แบ่ง หมวดหมู่ตามการใช้งานให้สอดคล้อง กับ พฤติกรรม
ซึ่งแบ่ง กระบวนการ วิเคราะห์ เป็น 2 แบบ คือ สภาพปัญหา และ การแก้ไข
สรีระที่แบ่งนั้น ประกอบไปด้วย 5 ปัจจัย คือ หัว มือ หัวใจ ร่างกาย เท้า เป็นต้น
องค์ประกอบ ของปัญหาที่กล่าวมานั้น ยกตัวอย่างได้ คือ ตุ๊กตา มหาวิทยาลัยเนชั่น
ซึ่งจะทำการยก ปมปัญหา ที่เกี่ยวกับ นักศึกษา ในมหาวิทยาลัยเนชั่น มีแบบแผนดังนี้
1.ส่วนหัว (Head) สภาพปัญหา ความเชื่อ ทัศนคติ
ผมยกหัวข้อการช่วยเหลือและพึ่งพาตัวเอง เพราะการมาเรียนหนังสือ
มักจะมาเรียนตามเพื่อน หากเพื่อนไม่เรียนเราก้อไม่ไป อย่างนี้เป็นต้น
การแก้ไข ผมใช้หัวข้อ ธรรมะ เข้ามามีบทบาทกับ วิถีชีวิตของตน
หัวข้อคือ อฺตตาหิ อฺตตโน นาโถ ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน
ควรช่วยเหลือตนเอง ก่อน จะขอความช่วยเหลือกับผู้อื่น
2. ส่วนมือ (Hand) การบริโภค นักศึกษาจะใช้ภาชนะที่ไม่สะอาดเป็นส่วนใหญ่
สังเกตจากสภาพแวดล้อม ที่ไม่เอื้อต่อการบริโภค และไม่รอบคอบในการทำความสะอาด
ภาชนะก่อนรับประทานอาหาร นำมาซึ่งพาหะ และโรคภัยไข้เจ็บ
การแก้ไขปัญหา ทำความสะอาดด้วยเครื่องมือที่เหมาะสม
เช่น สก๊อตไบท์ ที่บีบจนแห้งหลังการใช้งาน น้ำยาล้างจาน และเมื่อทำความสะอาดเสร็จแล้ว
ควรเช็ด กับผ้าสะอาดให้แห้ง และเก็บไว้ในสถานที่ ที่ถ่ายเท
การใช้ช้อนส้อมของร้านอาหาร จะมีน้ำร้อน ให้เรานำช้อนส้อมไปลวกก่อนใช้งาน เป็นต้น
3.ส่วนหัวใจ (Heart) อารมณ์ สุขภาพจิต จิตใจ อ่อนไหว รู้สึกท้อ
ต่อการเรียน กดดัน ขาดกำลังใจ อยากมีคนรัก
การแก้ไขปัญหา สร้างกำลังใจจากคนรอบข้าง จากครอบ ครัว จากพ่อแม่
นอกเหนือ จากเวลาเรียน ทำกิจกรรมผ่อนคลาย ออกกำลังกาย ดูหนัง ฟังเพลง
คนรัก ควรมีในแบบที่วางตัวเหมาะสม เป็นเพื่อนใจที่ดีต่อกัน
ผลักดัน ให้สำเร็จ ต่อความมุ่งหมาย เป็นต้น
4. ส่วนร่างกาย (Body) สุขภาพ ด้านร่างกาย และ ด้านต่าง ๆ
การรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา ความอ่อนแอของร่างกาย ความเกียจคร้านต่อการออกกำลังกาย
สภาพอากาศ เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวหนาว การปรับสภาพร่างกาย
การแก้ไขปัญหา รับประทานหาร ที่เป็นประโยชน์ ต่อร่างกาย
เช่น ผัก นม ผลไม้ เป็นต้น การออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ การเตรียมพร้อมต่อโรคภัยไข้เจ็บ
ควรซื้อยา มาเผื่อไว้ที่ห้อง เช่น พารา ลดไข้ ยาลดน้ำมูก ยาแก้ปวดท้อง
หากไม่สบาย กินดัก ก่อนจะ ไม่ทันการ เพราะ ผลเสียที่ตามมา มีหลายอย่างนัก
5. ส่วนเท้า (Foot) จุดมุ่งหมาย การเดินไปข้างหน้า
จุดหมายที่ไม่แน่นอน อนาคตที่ไม่ชัดเจน สิ่งที่เรียนไม่สอดคล้องกับ อาชีพที่เลือกในอนาคต สับสนตนเอง
การแก้ไข กำหนดชีวิต และเป้าหมายของตนให้ชัดเจน
โดยเลือก จากสิ่งที่ชอบ เลือกและรักที่จะเรียน อย่างมีความสุข
เมื่อเป้าหมายมีแนวโน้มไปทางที่เรามุ่งหวังตั้งใจ
อะไรหลาย ๆ อย่างจะยิ่งชัดเจนและเด่นชัดขึ้น
บันทึกไว้ หลังจากได้รับการอบรมจากคุณภัทรา มาน้อย เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2559

โพสท์ใน KM:ด้านการวิจัย | ติดป้ายกำกับ , | ใส่ความเห็น

การใช้สื่อออนไลน์เพื่อการสื่อสารของผู้สูงวัยในจังหวัดลำปาง

การใช้สื่อออนไลน์เพื่อการสื่อสารของผู้สูงวัยในจังหวัดลำปาง

001

facebook

โพสท์ใน คณะนิเทศศาสตร์, แนวทางการผลิตงานวิจัยเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ | ใส่ความเห็น

ปัญหาสัญญาณไม่ออกไปทางจอคอมพิวเตอร์ตามที่คาดหวัง

เราทุกคนเชื่อว่ามนุษย์
มีความสามารถที่จะเรียนรู้ในการแก้ปัญหาได้
เพียงแต่ต้องได้เรียนรู้มาก่อน

หลายจอใช้ VGA Splitter

หลายจอใช้ VGA Splitter

สลับไปมาระหว่าง input หลายตัว

สลับไปมาระหว่าง input หลายตัว

ลองของว่า notebook ตัวอื่นมีปัญหาหรือไม่

ลองของว่า notebook ตัวอื่นมีปัญหาหรือไม่

12 เม.ย.59 มาทบทวนปัญหา หลังพบปัญหา 11 เม.ย.59
ทำงานกับอุปกรณ์ KVM ที่ติดตั้งให้ออกหลายจอ และสลับจอได้
ปัญหาที่พบคือ สัญญาณหยุดไหลมาจาก Notebook หาก Switch
ตอนแก้ปัญหาเฉพาะหน้า คุณอนุกูลใช้วิธี เลิกใช้ KVM

วันนี้นั่งไซร้ปัญหากับคุณเปรมดู
สรุปกันว่าเป็นปัญหาการทำงานของ การ์ดจอบน Notebook
ที่มีการทำงานแบบ Starter ในหลอดไฟ
การ์ดจะส่งสัญญาณ แต่หยุดส่งและเด้งกับมาสู่โหมดจอเดียว
หากสัญญาณหยุดไหลไปทาง duplicate หรือ extend
การที่หยุดไหล เพราะไปเลือกจออื่นบน KVM

ปัญหา คือ
การกดเลือกจอบน KVM เมื่อเลือก Notebook
ภาพจะออกมาเพียง 3 วินาที แล้วดับไป
* ทำให้หลงคิดว่าอยู่ใน mode duplicate แล้ว
จึงสรุปไปว่า Notebook สมัยนี้เก่ง แม้ไม่ตั้งใจส่งสัญญาณ
แต่ Notebook จะส่งสัญญาณอัตโนมัติให้ทราบว่าส่งได้แล้วนะ
แต่ไม่ส่งเฉย ๆ
ต้องไปกดปุ่ม win+P เลือก Duplicate
หากกดปุ่มที่ KVM เปลี่ยนอุปกรณ์ พอกลับมาก็จะต้องกด Win+P ใหม่

ส่วน VGA Splitter หรือการต่อพ่วง Projector
จาก Projector ที่มี vga in และ vga out
ไม่ใช่สาเหตุของปัญหาที่พบในครั้งนี้

การแก้ไข คือ
ถ้ากดปุ่ม Win+P ก็ต้องแจ้งผู้ใช้ให้กดปุ่มนี้ซ้ำ
เพราะอุปกรณ์ KVM ต้องการให้กดปุ่มส่งสัญญาณใหม่จาก Notebook
แต่กับ PC ไม่มีปัญหา เพราะ Display card 2 ชุด
และสัญญาณไหลตลอดอยู่แล้ว ไม่ต้องสั่ง Win+P ใหม่ หากติดตั้งเรียบร้อย

ปล. lock screen ที่ต้องการได้แล้ว
กด menu บน remote ขณะอยู่ในจอที่ต้องการเก็บไว้แสดงเป็นจอ default
https://www.facebook.com/ajburin/posts/10154038047453895

โพสท์ใน ทั่วไป | ติดป้ายกำกับ , , | ใส่ความเห็น

มหาวิทยาลัยเนชั่น ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นบริษัทที่ปรึกษา

มหาวิทยาลัยเนชั่น มีเลขทะเบียนที่ปรึกษา คือ 4304

มหาวิทยาลัยเนชั่น มีเลขทะเบียนที่ปรึกษา คือ 4304

อ.ดร.ทันกวินท์   รัฐวัฒก์อังกูร ได้แจ้งว่า มหาวิทยาลัยเนชั่น มีเลขทะเบียนที่ปรึกษา คือ 4304 ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นบริษัทที่ปรึกษาจากศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษาไทย กระทรวงการคลัง (Thai Consultant Database Center)
เมื่อค้นจาก
http://www.thaiconsult.pdmo.go.th/ThaiConsult/mainframe/search
คลิ๊กที่ “รายชื่อที่ปรึกษาตามลำดับการจดทะเบียน”
เลือก ประเภทการจดทะเบียน = ในประเทศ
เลือก ประเภทที่ปรึกษา = บริษัทที่ปรึกษา
เลือก ประเภท Rating = B
แล้วกดปุ่ม “แสดงผล”
เลือกไปหน้าที่ 29
จะพบ ข้อมูลข้างล่างนี้

4304 มหาวิทยาลัยเนชั่น Rating=B สถานะ=สมาชิก

ที่อยู่ 444 ถนนวชิราวุธดำเนิน ตำบลพระบาท อำเภอเมือง ต.พระบาท อ.เมือง จ.ลำปาง 52000

วันที่จดทะเบียน ครั้งแรก 25/03/2559

วันที่หมดอายุ 25/03/2561

โทรศัพท์ 02-3383861

โพสท์ใน งานประชาสัมพันธ์ รับนักศึกษา | ติดป้ายกำกับ , , | ใส่ความเห็น

ส่งอีเมลไม่ไปจะทำอย่างไร

คำถามสมัครงาน

คำถามสมัครงาน

23 มีนาคม 2559 อ.อนุชิต ชวนผมจัดการความรู้ส่วนบุคคล (PKM)
มี K มากมายที่ท่านฝากไว้ ก็จะค่อย ๆ ถอดบทเรียนมาแบ่งปันทีละเรื่อง

โดยท่าน share ให้ฟัง ที่ถือเป็นการถอดบทเรียน ที่เล่าให้นักศึกษาฟังได้
ประสบการณ์ที่ท่านไปรับการสัมภาษณ์เข้ารับราชการที่กรมฯ
เล่าว่ามีคำถามมากมายเกี่ยวกับทัศนคติของคนทำงาน
เช่น ถ้าเจ้านายให้ทำผิด เราจะทำผิดตามที่ถูกสั่งไหม
แต่มีคำถามสำคัญเกี่ยวกับไอทีเพียงคำถามเดียว
คือ “ถ้าทำเครื่องบริการอีเมล แล้วส่งอีเมลไม่ออกจะทำอย่างไร”
ผมก็คิดว่าจะทำ check list ให้นักศึกษาได้เรียนรู้
เผื่อว่านักศึกษาต้องไปเข้ารับการสัมภาษณ์ในอนาคต
1. ตรวจยืนยันว่าปัญหานั้นเกิดขึ้นจริง ให้เห็นกับตา
2. ตรวจ email client program ติดต่อกับ email server ได้ปกติ
3. ตรวจ junk mail ใน receiver ของผู้รับว่ามีหรือไม่
4. ตรวจ port หรือ service start ไว้หรือไม่
5. ตรวจ ip, dns, firewall, network, switch ว่าทำงานกันปกติ
6. ตรวจ mail log ว่ามี error ว่าอย่างไร (มีหลายแบบ)
7. ตรวจ relay sever ที่ใช้งานอยู่ ทำงานปกติ
8. ตรวจ black list ว่าติดร่างแหไปหรือไม่
9. ตรวจ script และ data เพราะ php อาจมีปัญหากับ unicode
10. ตรวจอื่น ๆ เพิ่มเติมตามองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง หากยังแก้ปัญหาไม่ได้
ตรวจพบอะไรก็แก้ไข และทดสอบใหม่จนกว่าจะส่งอีเมลได้สำเร็จ

สอดคล้องกับเพื่อนที่โรงพยาบาล สอบถามเรื่องการออกข้อสอบ
ผมก็แนะนำไปว่าไม่ต้องถามเยอะ ไม่ต้องถามลึก ๆ
หาคำถามที่ใช่สัก 2 – 3 ข้อก็รู้แล้ว
เช่น “เล่าขั้นตอนการวางเครื่องข่ายที่เคยทำมาให้ฟังหน่อย”
แต่เรื่องเครือข่ายนี่เป็นคำถามกว้างไป ตอบได้กว้าง ๆ ตามทฤษฎีได้เลย
ถ้าถามลึกเลยก็ต้องแบบที่ถาม อ.อนุชิต เรื่องส่งอีเมลไม่ออกนี่หละ

เลี้ยงส่งท่านไปรับราชการที่กรมฯ
https://www.facebook.com/ajburin/posts/10153967152523895

โพสท์ใน ทั่วไป | ติดป้ายกำกับ | ใส่ความเห็น

ตำนานเรื่องเล่าเมืองลำปาง

ตำนานเรื่องเล่าเมืองลำปาง

ตำนานเรื่องเล่าเมืองลำปาง

เคยได้ยินว่า ดร.สุจิรา หาผล
ทำโครงการวิจัยย่อยที่ 4 (RDG 5550046) เรื่อง “องค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องเล่าชุมชน
เพื่อสร้างจุดเด่นของแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดลำปาง”
ซึ่งอยู่ในแผนงานวิจัยเรื่อง “การจัดการท่องเที่ยวอย่างสร้างสรรค์
เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของอัตลักษณ์ชุมชนลำปาง”
รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2555
แล้วได้มีการรวบรวมตำนานเรื่องเล่าขานของท้องถิ่นจากทั้ง 13 อำเภอ
เป็นหนังสือ “ตำนานเรื่องเล่าเมืองลำปาง”
แล้ววันนี้ (21 มีนาคม 2559) กระผมได้รับหนังสือ
จาก ดร.สุจิรา หาผล มา 1 เล่ม อ่านแล้วสนุกมาก
นักเรียนที่บ้านบอกว่า ถ้าได้หนังสือมาก่อนหน้านี้
ทำวิจัยวิชาประวัติศาสตร์ที่คุณครูสั่งได้สบายเลย
มีครบถ้วนสมบูรณ์มาก ๆ
หนังสือเล่มนี้มี 215 หน้า
จัดทำโดย ดร.สุจิรา หาผล ดร.พรธาดา สุวัธนวนิช อ.พัชรีภรณ์ หรพร้อม
ภาพปกโดย อ.มานะ แสนหาญ
ที่ปรึกษาโครงการ ดร.วาณี อรรจน์สาธิต

โพสท์ใน ทั่วไป | ติดป้ายกำกับ | ใส่ความเห็น