การพัฒนาแนวทางการผลิตผลงานทางวิชาการและงานวิจัยเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ

     

แนวคิดการพัฒนาแนวทางการผลิตผลงานทางวิชาการและงานวิจัยเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ                             

                                              ผู้เขียน อาจารย์ธณกฤษ หมื่นก้อนแก้ว

                                                                    พฤษภาคม 2562

การพัฒนาแนวทางการผลิตผลงานทางวิชาการและงานวิจัยเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ    เป็นแนวคิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ในการผลิตผลงานทางวิชาการและงานวิจัยโดยบูรณาการร่วมกับการฝึกปฏิบัติงานบูรณาการการเรียนการสอนกับการทำงานวิชาชีพของนักศึกษาร่วมกับหน่วยงานภายนอก ซึ่งแนวทางการพัฒนาผลงานวิชาการและงานวิจัยที่เกิดขึ้นนี้อาจารย์ภายในคณะมีส่วนร่วมในการทำงานตามกระบวนการพัฒนานักศึกษา โดยใช้กระบวนการวิจัยมาพัฒนาร่วมกับการจัดการความรู้ สร้างเป็นแนวทางสำหรับการผลิตผลงานทางวิชาการที่ได้มาจากงานวิจัยร่วมกับชุมชนและหน่วยงานภายนอก โดยใช้การฝึกปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษาเป็นฐานในการพัฒนาผลงานวิชาการและงานวิจัย ซึ่งได้ผลลัพธ์ออกมา 3 แบบ ได้แก่ 1) นักศึกษามีผลงานวิจัยที่ได้ดำเนินงานจริงร่วมกับชุมชน 2) อาจารย์มีผลงานที่ดำเนินงานร่วมกับชุมชน 3) ชุมชนและหน่วยงานภายนอกได้พัฒนางานวิจัยที่ตอบสนองความต้องการของตนเอง ทำให้การพัฒนาผลงานดำเนินการได้อย่างรวดเร็วและตรงตามเป้าหมาย

สำหรับแนวทางการผลิตผลงานทางวิชาการและงานวิจัย ถูกนำมาใช้กับการฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ในขั้นแรก เพื่อศึกษาผลลัพธ์และวิธีการดำเนินงาน เนื่องจากสามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งสิ่งสำคัญที่ได้จากการประยุกต์ใช้ คือ สามารถบูรณาการองค์ความรู้แบบต่อเนื่องและเกิดผลงานวิจัยที่หลากหลายภายใต้การทำงานร่วมกับชุมชนและหน่วยงานภายนอก สามารถสร้างเป็นแผนงานการดำเนินงานวิจัยและงานวิชาการในระยะยาวได้อย่างต่อเนื่อง

 

ขั้นตอนและแนวปฏิบัติการพัฒนางานทางวิชาการและงานวิจัยชุมชน

โพสท์ใน KM:ด้านการวิจัย, คณะสาธารณสุขศาสตร์ | ใส่ความเห็น

การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนแบบบูรณาการร่วมหลายรายวิชาในการฝึกปฏิบัติงาน

 

แนวคิดการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนแบบบูรณาการร่วมหลายรายวิชา

                                         ผู้เขียน อาจารย์ธณกฤษ หมื่นก้อนแก้ว

                                                             พฤษภาคม 2562

การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนแบบบูรณาการร่วมหลายรายวิชา เป็นแนวคิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในการพัฒนาทักษะของนักศึกษาให้ตรงตามเป้าหมายของการจัดการเรียนการสอน อย่างมีคุณภาพ และมีผลลัพธ์ด้านการเรียนรู้ที่เหมาะสม โดยมีการนำกระบวนการจัดการความรู้เข้ามาเป็นเครื่องมือในการดำเนินงานร่วมกับการพัฒนา และนำองค์ความรู้ที่ได้มาปรับใช้ในการปฏิบัติ โดยการกำกับการฝึกปฏิบัติ ซึ่งอาจารย์ภายในคณะมีส่วนร่วมในการทำงาน ตามกระบวนการในแต่ละด้านตามบทบาทของรายวิชา ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้นักศึกษาจะมีผลงานออกมาอย่างต่อเนื่องตามรูปแบบของกระบวนการ ตั้งแต่ชุดวิชาการศึกษาชุมชน การประเมินชุมชน การวินิจฉัยชุมชน การวิเคราะห์ปัญหาชุมชน การบริหารโครงการ และการพัฒนาโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาชุมชน การดำเนินงานในลักษณะนี้จะช่วยให้นักศึกษา ได้เรียนรู้งานอย่างเป็นระบบและสามารถปรับปรุงและพัฒนาผลงานได้อย่างรวดเร็วและตรงตามเป้าหมายของการเรียนรู้

สำหรับการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนแบบบูรณาการร่วมหลายรายวิชา ถูกนำมาใช้กับการฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ในขั้นแรก เพื่อศึกษาผลลัพธ์และวิธีการดำเนินงาน เนื่องจากสามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่องในระยะเวลาสั้น ซึ่งสิ่งสำคัญที่ได้จากการประยุกต์ใช้ คือ สามารถบูรณาการองค์ความรู้แบบต่อเนื่องและเกิดผลงานที่เป็นระบบตามแผนบูรณาการที่จัดทำขึ้น โดยสามารถจัดทำเป็นชุดรายงานผลการฝึกปฏิบัติการระดับชุมชนเพียงฉบับเดียว ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จากการดำเนินงานทำให้ง่ายต่อการประเมินผลความสำเร็จของการบูรณาการจัดการเรียนการสอน อีกทั้งสามารถปรับปรุงกระบวนการจัดการเรียนการสอนให้มีคุณภาพได้อย่างต่อเนื่อง

 

       ขั้นตอนการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนแบบบูรณาการร่วมหลายรายวิชาในการฝึกปฏิบัติงาน

ส่วนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐานบริบทชุมชน

1.1 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

1.2 ข้อมูลระดับตำบล

1.3 ข้อมูลระดับหมู่บ้าน

ส่วนที่ 2 กระบวนการศึกษาชุมชนด้วยเครื่องมือ 7 ชิ้น

(กลุ่มวิชาส่งเสริมสุขภาพ และอนามัยชุมชน)

2.1 แผนที่เดินดิน

2.2 ผังเครือญาติ

2.3 โครงสร้างองค์กรชุมชน

2.4 ระบบสุขภาพ

2.5 ปฏิทินชุมชน

2.6 ประวัติศาสตร์ชุมชน

2.7 ประวัติชีวิตบุคคลที่น่าสนใจในชุมชน

ส่วนที่ 3 กระบวนการการวินิจฉัยชุมชน

(กลุ่มวิชาบริหารสาธารณสุข)

3.1 การวิเคราะห์ปัญหาด้วย SWOT Analysis & TOWS Matrix

3.2 การจัดลำดับความสำคัญของปัญหา

3.3 การวางแผนกลยุทธ์และแผนงาน

ส่วนที่ 4 การดำเนินงานโครงการในชุมชน

(กลุ่มวิชาป้องกันควบคุมโรค ระบาดวิทยา สถิติและการวิจัย)

4.1 ชื่อโครงการ

4.2 หลักการและเหตุผล

4.3 วัตถุประสงค์

4.4 กลุ่มเป้าหมาย

– เชิงปริมาณ

– เชิงคุณภาพ

4.5 วิธีการดำเนินงาน

4.6 ผู้รับผิดชอบโครงการ

4.7 งบประมาณ

4.8 สถานที่ดำเนินการ

4.9 ระยะเวลาดำเนินการ

4.10 ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

4.11 ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ

ส่วนที่ 5 การประเมินผลสำเร็จของโครงการ

5.1 ชื่อโครงการ

5.2 ผู้เข้าร่วมโครงการ

5.3 ผู้รับผิดชอบโครงการ

5.4 งบประมาณ

5.5 สถานที่ดำเนินการ

5.6 ระยะเวลาดำเนินการ

5.7 ผลการดำเนินโครงการ

5.8 ประโยชน์ที่ได้รับ

5.9 ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ

– เป้าหมายเชิงปริมาณ

– เป้าหมายเชิงคุณภาพ

5.10 ภาคผนวก

 

       แนวทางการฝึกปฏิบัติการศึกษา การวินิจฉัย และการแก้ไขปัญหาชุมชนจากการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนแบบบูรณาการร่วมหลายรายวิชา

ลำดับ กิจกรรมการฝึกปฏิบัติ ชุดรายวิชาที่บูรณาการ
1 นักศึกษาศึกษา ศึกษาข้อมูลบริบทของชุมชนในพื้นที่รับผิดชอบของหน่วยงานฝึกปฏิบัติ โดยขอรับคำแนะนำจากอาจารย์พี่เลี้ยง กลุ่มวิชาส่งเสริมสุขภาพ และอนามัยชุมชน
2 ศึกษาชุมชนเป้าหมายโดยใช้เครื่องมือ 7 ชิ้น พร้อมทั้งจัดทำสื่อนำเสนอชุมชนที่ได้ทำการศึกษา ทั้งนี้ให้ขอรับคำแนะนำจากอาจารย์พี่เลี้ยง กลุ่มวิชาส่งเสริมสุขภาพ และอนามัยชุมชน
3 การวินิจฉัยชุมชน โดยใช้กระบวนการ SWOT Analysis & TOWS Matrix พร้อมทั้งวางแผนกลยุทธ และแผนงานสำหรับการแก้ไขปัญหาในชุมชน กลุ่มวิชาบริหารสาธารณสุข
4 จัดทำโครงการในการแก้ไขปัญหาในชุมชน 1 โครงการ กลุ่มวิชาป้องกันควบคุมโรค ระบาดวิทยา สถิติและการวิจัย
5 ประเมินผลความสำเร็จของโครงการ พร้อมทั้งถ่ายทอดแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ได้จากการดำเนินโครงการให้แก่ชุมชน กลุ่มวิชาป้องกันควบคุมโรค ระบาดวิทยา สถิติและการวิจัย

 

 

โพสท์ใน KM:ด้านการผลิตบัณฑิต, คณะสาธารณสุขศาสตร์ | ใส่ความเห็น

คณะพยาบาลศาสตร์ ยินดีต้อนรับ

คณะพยาบาลศาสตร์ ยินดีต้อนรับ

โพสท์ใน คณะพยาบาลศาสตร์ | ใส่ความเห็น

คณะเทคนิคการแพทย์ ยินดีต้อนรับ

คณะเทคนิคการแพทย์ ยินดีต้อนรับ

โพสท์ใน คณะเทคนิคการแพทย์ | ใส่ความเห็น

คณะทันตแพทยศาสตร์ ยินดีต้อนรับ

คณะทันตแพทยศาสตร์ ยินดีต้อนรับ

โพสท์ใน คณะทันตแพทยศาสตร์ | ใส่ความเห็น

สิ่งที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน CoP วิจัย เมื่อวันที่ 7 มิ.ย.2562

รายงานสรุปผลการดำเนินงานกิจกรรมการจัดการความรู้ ด้านการวิจัย

จากการประชุมคณะทำงานส่งเสริมการพัฒนางานวิจัย และคณะทำงานส่งเสริมการพัฒนางานบริการวิชาการ ประจำปีการศึกษา 2561

เมื่อวันศุกร์ที่ 7 มิถุนายน 2562 เวลา 10.00-11.00 น.

ณ ห้องประชุม อาคารดร.เทียม โชควัฒนา

………………………………………………………………………………………………………….

ผศ.บุรินทร์ รุจจนพันธุ์ รายงานการดำเนินงานกิจกรรมการจัดการความรู้ว่า มหาวิทยาลัยได้จัดกิจกรรมกำกับติดตามการจัดการความรู้ครบทุกหน่วยงาน ตามวงจร P-D-C-A โดยบ่งชี้เป้าหมายการจัดการความรู้ในที่ประชุม กบม. เมื่อต้นปีการศึกษา 2561 แล้วทุกหน่วยงานการดำเนินงาน มีการกำกับติดตาม พัฒนาความรู้ ใช้ความรู้ และเผยแพร่ความรู้ ซึ่งกิจกรรมที่สำคัญในปีการศึกษา 2561 นี้

ดร.สุภาภรณ์ อุดมลักษณ์ คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ เป็นผู้นำจัดกิจกรรมและให้ความรู้ในบทบาทของผู้มีทักษะแก่บุคลากรหลายโครงการ เริ่มจากโครงการการวิจัยเชิงคุณภาพ จัดระหว่างวันที่ 14-15 มีนาคม 2562 มีวิทยากรคือ ดร.ถาวร ล่อกา อีกกิจกรรมหนึ่ง เป็นวิทยากรได้ใช้ทูน่าโมเดลกำกับติดตามการจัดการความรู้ ประกอบด้วย KV, KS, KA เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562 เป็นการเปิดเวทีให้ทุกหน่วยงานนำเสนอกระบวนการจัดการความรู้ การแลกเปลี่ยนแบ่งปัน ผลลัพธ์การดำเนินงาน และการเผยแพร่ความรู้

นอกจากนี้ เมื่อ ดร.สุภาภรณ์ อุดมลักษณ์  ได้วิเคราะห์ผลการกำกับติดตามแล้ว ได้เห็นความสอดคล้องของประเด็นด้านการวิจัย จึงจัดกิจกรรม CoP วิจัย และการเขียนข้อเสนอโครงการ เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2562 เปรียบเทียบกับแนวทางทั้ง 7 ของการจัดการความรู้ ได้แก่ 1) การบ่งชี้ความรู้ 2) การสร้างและแสวงหาความรู้ 3) การจัดความรู้ให้เป็นระบบ 4) การประมวลและกลั่นกรองความรู้ 5) การเข้าถึงความรู้ 6) การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ 7) การเรียนรู้

สิ่งที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน CoP วิจัย มีประเด็นน่าสนใจสรุปดังนี้

  1. การจัดการความรู้ที่ช่วยลดความเสี่ยงที่วิเคราะห์ร่วมกัน จะมีประโยชน์อย่างมาก
  2. อ.อดิศักดิ์ จำปาทอง เสนอกรอบการเขียนบทความฯ ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1) คิด 70% 2) โครง 20% 3) เขียน 10%
  3. ดร.พัฒนา นาคทอง เสนอว่า ควรมีพื้นที่ทำงาน ลงไปศึกษา ได้ความต้องการ และนำมาเขียนข้อเสนอ
  4. ดร.สุภาภรณ์ อุดมลักษณ์ สรุปประเด็นสำคัญเบื้องต้น ไว้ดังนี้

1) ได้ติดตามทุกคณะ พบว่ามีการดำเนินงานการจัดการความรู้ได้เกือบครบทุกข้อ

2) การทำ Knowledge Asset ให้แต่ละคณะดำเนินการให้ชัดเจน อาจนำไปเผยแพร่ในระบบ Blog อีกทางหนึ่ง ซึ่งฝ่ายไอทีได้รับปรับชื่อคณะวิชาใน Blog ให้สอดรับกับโครงสร้างใหม่

3) ปัจจัยความสำเร็จของการวิจัยและตีพิมพ์ ประกอบด้วย 1) ตัวบุคคล 2) แรงจูงใจ และ 3) ผู้อ่านบทความ

โพสท์ใน คณะนิเทศศาสตร์, ทั่วไป, แนวทางการผลิตงานวิจัยเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ | 1 ความเห็น

ชวนเรียน สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์

ชวนไปเรียน
สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์
ม.เนชั่น ลำปาง ลด 50%
ชมคลิ๊ป #พี่ภสุ ศิษย์เก่าสายเดฟ
ก่อนตัดสินใจ
https://youtu.be/sKozGn-IqUE
สมัครออนไลน์ http://www.nation.ac.th/index.php/th/apply/applyonline
หรือโทร 054-820-099
#tcasรอบ4 #ntu #tcas62 #ทปอ #tcas

โพสท์ใน งานประชาสัมพันธ์ รับนักศึกษา | ติดป้ายกำกับ , | ใส่ความเห็น

รับสมัคร หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต

 

หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเนชั่น มุ่งพัฒนานักศึกษาให้เป็นนักบริหารมืออาชีพ มีความรู้ ทักษะ ความสามารถ และความชำนาญด้านการบริหารจัดการในวิชาชีพของผู้เรียน มีวิสัยทัศน์ในการเป็นผู้นำ ผู้บริหาร และผู้ประกอบการที่มีประสิทธิภาพ ปรับตัวทันสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง และตามทันสังคมยุคดิจิตอล
ชื่อปริญญา : บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ( บธ.ม.)
Master of Business Administration (M.B.A.)
** หลักสูตรได้รับการรับทราบจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาเรียบร้อยแล้ว **
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร :
มหาวิทยาลัยมอบทุนการศึกษา สำหรับศิษย์เก่า บุคลากรหน่วยงานภาครํฐและภาคเอกชน 20 % ด้วยค่าเล่าเรียน 127,000 บาท จากค่าเล่าเรียนปกติ 159,000 บาท
ระยะเวลาการศึกษา : 1 ปี 6 เดือน
วัน-เวลาเรียน : เรียนวันเสาร์วันเดียว (ปรับเปลี่ยนเวลาตามความสะดวกของผู้เรียน)
กำหนดการรับสมัคร
รับสมัคร : ตั้งแต่วันนี้ – 10 สิงหาคม 2562
วันเปิดภาคเรียน : 18 สิงหาคม 2562
สนใจสมัครเรียนได้ที่ :
โทร. 054-265-170-5 ต่อ 124 หรือ www.nation.ac.th
หรือสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหลักสูตรเพิ่มเติมได้ที่ :
อ.ดร.ฑัตษภร ศรีสุข 081-401-5268 E-mail: thatsaporn_sri@nation.ac.th
อ.ดร.อัศนีย์ ณ น่าน 080-128-9552 E-mail: aussanee_na@nation.ac.th

โพสท์ใน งานประชาสัมพันธ์ รับนักศึกษา | ติดป้ายกำกับ , | ใส่ความเห็น

Workshop : Promoting the ceramic industry in Lampang

การประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เรื่อง Promoting the ceramic industry in Lampang ระหว่างนักศึกษามหาวิทยาลัยเนชั่น ร่วมกับนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีฟุคุอิ ประเทศญี่ปุ่น จัดขึ้นระหว่างวันที่ 18-22 กุมภาพันธ์ 2562 ณ มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง เพื่อเป็นเวทีส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาการ การแสดงออก การเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ นักศึกษา และผู้สนใจเกี่ยวกับประเด็นปัญหา/ผลกระทบและแนวทางการพัฒนาประเทศทั้ง 2 ประเทศ มีการดำเนินการตามกระบวนการ ดังนี้

 

  1. นักศึกษามหาวิทยาลัยเนชั่นที่เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) ได้แก่

1.1 น.ส.จิราพัชร์ ทิวทัศน์วิไล ชั้นปีที่ 4 คณะนิเทศศาสตร์

1.2 นายธนภพ พิทักษ์สินเธาว์ ชั้นปีที่ 4 คณะนิเทศศาสตร์

1.3 นายอนพันธ์ หน้านวล ชั้นปีที่ 2 คณะนิเทศศาสตร์

1.4 นายไตรวิชร์ ตั้งมณีกาญจน์ ชั้นปีที่ 2 คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์

1.5 นายกฤษกร อินต๊ะนาม ชั้นปีที่ 2 คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์

 

  1. จัดให้มีการบรรยายพิเศษ เรื่อง ลำปางนครหัตถศิลป์ถิ่นอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ โดย คุณชัยณรงค์ จุมภู นายกเพิ่งพ้นวาระสมาคมเครื่องปั้นดินเผา จังหวัดลำปาง โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับสถานการณ์ทั่วไป สภาพปัญหา ยุทธศาสตร์ และยุทธวิธีของการประกอบการอุตสาหกรรมเซรามิคที่มีผลต่อการพัฒนาจังหวัดลำปาง

 

  1. จัดให้มีการศึกษาดูงาน เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมของอุตสาหกรรมและเก็บข้อมูล จำนวน 7 แห่ง ดังนี้

3.1 Museum Lampang อ.เมือง

3.2 อินทราเซรามิคเอาท์เลท อ.เมือง

3.3 บริษัท ภัทรารัตน์ เคลย์ แอนด์ มิเนอรัล (1992) จำกัด อ.เมือง

3.4 บริษัท กิ่วลม จำกัด ผู้ประกอบการเหมืองดินขาว อ.เมือง

3.5 บ้านหลุก หมู่บ้านไม้แกะสลัก อ.แม่ทะ

3.6 กลุ่มทอผ้าไทลื้อ บ้านกล้วยหลวง อ.เมือง

3.7 โรงงานเซรามิค นาปางคูณ อ.เมือง

 

  1. จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) ภายใต้หัวข้อ “แนวทางการส่งเสริมอุตสาหกรรมเซรามิคของจังหวัดลำปาง Promoting the ceramic industry in Lampang” ดำเนินการดังนี้

4.1 นักศึกษาจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ทีมๆละ 5 คน คละสถาบัน ได้แก่ ทีม A และทีม B

4.2 นักศึกษาทั้ง 2 ทีม ได้ทำการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของ Lampang city and Fukui city ข้อมูลจากการบรรยายพิเศษ และข้อมูลจากการศึกษาดูงาน แล้วพัฒนาและสร้างสรรค์ผลงาน “แนวทางการส่งเสริมอุตสาหกรรมเซรามิคของจังหวัดลำปาง”

4.3 ผลงานของนักศึกษา ได้แก่

4.3.1 ทีม A ชื่อผลงาน Online Application “Charming”

4.3.2 ทีม B ชื่อผลงาน Re Ceramic Cafe

4.4 นักศึกษาทั้งสองสถาบันร่วมกันนำเสนอผลงานสร้างสรรค์ จำนวน 2 ผลงาน ในการประชุมเชิงปฏิบัติการร่วม ครั้งที่ 5 มหาวิทยาลัยเนชั่นและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ฟุคุอิ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2562 ณ ห้อง 4109 อาคารคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง

 

ประโยชน์ที่ได้รับจากการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) ครั้งนี้

  1. 1. นักศึกษาได้เรียนรู้และเพิ่มพูนประสบการณ์ในการใช้ชีวิตกับเพื่อนที่มาจากต่างดินแดน ต่างภาษา ต่างวัฒนธรรม เพื่อปรับทัศนคติและแนวคิดในการทำงานของตนในอนาคต เช่น กล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงความคิดเห็น การมีวินัยและความรับผิดชอบในการทำงาน การมีความสุภาพและมารยาทในการอยู่ร่วมกันในสังคม การให้เกียรติซึ่งกันและกัน ฯลฯ
  2. 2. อาจารย์ได้เรียนรู้และเพิ่มพูนประสบการณ์ในการทำงานร่วมกันระหว่างคณะวิชาและหน่วยงาน
  3. 3. การทำงานร่วมกันของนักศึกษาและอาจารย์ ได้ส่งเสริมให้ความสัมพันธ์ของทั้งสองสถาบันมีความสนิทสนมและแน่นแฟ้นกันมากยิ่งขึ้น ทำให้การดำเนินงานกิจกรรมทางวิชาการมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง
โพสท์ใน การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ, คณะนิเทศศาสตร์ | ใส่ความเห็น

การเขียนบทความวิชาการจากงานวิจัย

อาจารย์ชินพันธ์  โรจนไพบูลย์ วิทยากร ได้แชร์ประสบการณ์จากการเขียนบทความวิชาการจากงานวิจัย ดังนี้

รูปแบบการเขียนบทความวิจัย โดยทั่วไป จะประกอบด้วย 3 ส่วนหลักๆ คือ

  • ส่วนนำ ซึ่งจะประกอบด้วย
    • ชื่อเรื่อง
    • บทคัดย่อ โดยในบทคัดย่อจะต้องแสดงวัตถุประสงค์ (เพื่ออะไร) วิธีดำเนินการวิจัย (ใช้อะไร) และ ผลการวิจัย (พบอะไร) ในการเขียนบทนำนี้ จะเขียนแบบปิระมิดกลับหัวคือเริ่มจากภาพกว้างลงมาสู่สิ่งที่ค้นพบ การอ้างอิงข้อมูลในส่วนนี้ควรเป็นข้อมูลจากหน่วยงานของรัฐหรือแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้
  • ส่วนเนื้อหา ประกอบด้วย
    • ความเป็นมาของปัญหาการวิจัยซึ่งเป็นการนำเสนอให้ทราบเหตุผลความจำเป็นในการดำเนินการวิจัยเรื่องนั้นๆ
    • วัตถุประสงค์การวิจัย ในส่วนนี้แหล่งเผยแพร่อาจกำหนดให้เขียนคำถามและสมมติฐานการวิจัยด้วย
    • วิธีดำเนินการวิจัย เป็นการนำเสนอรายละเอียดประชากร กลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือในการวิจัย ขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล
    • ผลการวิจัย สรุปอภิปรายผล เป็นการเสนอผลการวิจัยเพื่อตอบวัตถุประสงค์การวิจัยแต่ละข้อ
    • ข้อเสนอแนะจากการวิจัย สำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือสำหรับการวิจัยในครั้งต่อไป
  • ส่วนท้าย อาจกล่าวถึงประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากงานวิจัยและต่อด้วยบรรณานุกรม
โพสท์ใน คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์ | ใส่ความเห็น