KM การจัดการความรู้เพื่อการพัฒนาชุมชน

ดร.ธีร์ คันโททอง

สำหรับการพัฒนาชุมชนนั้นเป็นสิ่งที่สถานศึกษาในพื้นที่จะต้องให้ความสนใจและเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนและเมื่อชุมชนเข้มแข็งสถานศึกษาก็เข้มแข็งตามไปด้วย ดังนั้นแล้วเข้าจัดการความรู้ของชุมชนในส่วนของนักวิจัยเองก็จะจะต้องมีความเข้าใจในหลักการ วิธีการ กลุ่มผู้ที่ได้รับผลกระทบรวมไปถึงเครื่องมือต่าง ๆ ที่จะนำไปใช้ในการวิจัยเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลและนำไปสู่การจัดการความที่มีประสิทธิภาพ เป็นประโยชน์ต่อชุมชนต่อไป สำหรับเนื้อหาสาระสำคัญที่จะขอกล่าวในที่นี้เพื่อเป็นแนวทางให้กับนักวิจัยทุกท่านได้นำไปปรับใช้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อชุมชนต่อไปนั้นประกอบไปด้วย

  1. การจัดการความรู้เพื่อชุมชน (Knowledge Management)
  2. การสร้างความรู้การวิจัยเพื่อชุมชน
  3. กำหนดกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders)
  4. เครื่องมือของการจัดการความรู้ (Knowledge Management)

 

  1. การจัดการความรู้เพื่อชุมชน (Knowledge Management)

ในเบื้องต้นเราสามารถแบ่งความรู้ออกเป็น 2 ส่วนด้วยกัน ได้แก่

1.1 ความรู้ในตัวคน (Tacit) หมายถึง ความรู้ที่เกิดจากการสะสมความรู้ของแต่ละคนในเรื่องต่าง ๆ ซึ่งอาจเกิดจากประสบการณ์หรือการอ่าน การเรียนรู้จากสื่อต่าง ๆ ก็ได้ซึ่งจะต้องมีขั้นตอนของการไหลเวียนความรู้อยู่ตลอดเวลาจึงจะทำให้เกิดความรู้ขึ้นใหม่เรื่อย ๆ ประกอบด้วยขั้น การใช้ความรู้ การสร้างความรู้ และการแลกเปลี่ยนความรู้ โดยทั้ง 3 องค์ประกอบนี้มีความสำคัญในทุกส่วนจึงจะทำให้เกิดเป็นพลวัตที่ต่อเนื่องไปและก็จะทำให้เกิดความรู้ใหม่ขึ้นเรื่อย ๆ ต่อไป

1.2 ความรู้ในเอกสาร (Explicit) หมายถึง ความรู้ที่มีการบันทึกเป็นรายลักษณ์อักษรในเอกสารต่าง ๆ เช่น บทความ งานวิจัย หนังสือ เป็นต้น ซึ่งก็จะต้องมีขั้นตอนพลวัตของความรู้จึงจะสามารถเพิ่มพูนและจัดระบบเพื่อการใช้งานความรู้ได้อย่างสะดวกและต่อเนื่อง ประกอบด้วย การตรวจสอบยืนยันความรู้ การจัดระบบความรู้ และการเก็บสะสมความรู้ โดยใน 3 องค์ประกอบนี้จะมีความสัมพันธ์กับความรู้ในตัวคน (Tacit) ด้วย

  1. การสร้างความรู้การวิจัยเพื่อชุมชน

ในการจัดการความรู้นั้นผู้วิจัยจะต้องคำนึงถึงชุมชนเป็นสำคัญเนื่องจากความรู้นั้นจะต้องถูกย่อยให้นำไปใช้ได้จริงในภาคปฏิบัติโดยชุมชนเอง ดังนั้นการสร้างความรู้การวิจัยจึงต้องพิจารณาปัญหาของชุมชนเป็นหลัก ซึ่งมีขั้นตอนประกอบด้วย

2.1. โจทย์ต้องมาจากสถานการณ์ในชุมชนนั้น ๆ โดยที่ชุมชนนั้น ๆ จะต้องเป็น “เจ้าของปัญหา” เอง

2.2. เจ้าของปัญหานั้น (ชุมชน) ต้องเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการวิจัยตั้งแต่เริ่มต้นจาก การกำหนดโจทย์ การเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การปฏิบัติการ การสรปุผลการวิจัย และการถอดบทการเรียนรู้

2.3. ต้องมีกรอบคิดทางวิชาการในการใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญของผู้วิจัยในสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่งหรือหลายสาขา ในกระบวนการแก้ปัญหาของชุมชนนั้น ๆ

2.4. มีการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงในชุมชน โดยจะต้องเริ่มต้นตั้งแต่จุดเริ่มต้นไปจนถึงสิ้นสุดงานและหลังสิ้นสุดงานก็ยังต้องติดตามผลต่ออีกด้วย

  1. กำหนดกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders)

กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) นั้นจะหมายถึง กลุ่มผู้ที่มีความเกี่ยวข้องกับโครงการ หรือได้รับผลกระทบจากการดำเนินการของโครงการทั้งทางบวกและทางลบ โดยต้องกำหนดตามความสำคัญหรือมีอิทธิพล และมีความสนใจต่อปัญหานั้น ๆ ของชุมชน โดยการกำหนดกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) สามารถใส่ตามรายละเอียดดังต่อไปนี้

 

มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของโครงการสูง

กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ที่มีอิทธิพลมากและความสนใจน้อย กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ที่มีอิทธิพลมากและความสนใจมาก
กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ที่มีอิทธิพลน้อยและความสนใจน้อย กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ที่มีอิทธิพลน้อยและความสนใจมาก

               มีความสนใจต่อโครงการสูง

 

  1. เครื่องมือของการจัดการความรู้ (Knowledge Management)

ในการจัดการความรู้นั้นจำเป็นจะต้องมีเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากชุมชน โดยปกติแล้วการได้มาซึ่งข้อมูลจากชุมชนนั้นจะมีเครื่องมือที่หลากหลาย ซึ่งผู้วิจัยจะเลือกใช้เครื่องมือเหล่าให้เหมาะสมตามสถานการณ์และเป้าหมายของโครงการนั้นด้วย ซึ่งเครื่องมือต่าง ๆ เหล่านี้ผู้วิจัยขอรวบรวมและนำเสนอในเบื้องต้นดังตัวอย่างต่อไปนี้

4.1 การระดมสมอง (Brain Storming)

4.2 มุมมองใหม่ (Fresh Eye)

4.3 การใช้กลุ่มคำสร้างสรรค์ (Random Word)

4.4 ใบแสดงความคิด (Idea Card)

4.5 การใช้ผังมโนทัศน์ (Concept Map)

4.6 สนทนากลุ่ม (focus group)

4.7 ผังก้างปลา (Cause & Effect Diagram)

4.8 แผนที่ความรู้ (Knowledge MAP)

4.9 ข้อมูลเชิงประชากรศาสตร์ (Demographics)

4.10 เครื่องมือการตลาด 7P

4.11 การถอดบทเรียน

4.12 SWOT Analysis และ TOWS Matrix

4.13 คำถามสู่โอกาส

– เราจะทำอย่างไร (How can we ?)

– ถ้าหาก (What if ?)

จากเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลจากชุมชนเหล่านี้ จะเป็นเครื่องมือพื้นฐานที่จะช่วยให้ผู้วิจัยสามารถรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการจัดการความรู้อีกที โดยเครื่องมือเหล่านี้ยังได้ช่วยให้ชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของชุมชนตนเองอีกด้วย ดังนั้นทั้งการ การจัดการความรู้เพื่อชุมชน (Knowledge Management) การสร้างความรู้การวิจัยเพื่อชุมชน กำหนดกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) และเครื่องมือของการจัดการความรู้ (Knowledge Management) จึงมีส่วนสำคัญในการทำวิจัยชุมชนให้สามารถบรรลุเป้าหมายของงานวิจัยและสามารถจัดการความรู้ซึ่งทำให้เกิดการแก้ไขปัญหาของชุมชนได้อย่างยั่งยืนต่อไป

 

โพสท์ใน คณะนิเทศศาสตร์, แนวทางการผลิตงานวิจัยเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ | ใส่ความเห็น

การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการด้านการรับใช้สังคม

ดร.ธีร์ คันโททอง

การเข้าสู่ตําแหน่งวิชาการด้านการรับใช้สังคม

สําหรับทุกคนที่เป็นอาจารย์สอนในระดับอุดศึกษาแล้วนั้น สิ่งที่ทุกคนจะทําพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา ก็คือ การสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ โดยการทําวิจัย ซึ่งเป็นภารกิจที่จะต้องทําในทุกปีการศึกษาอยู่แล้ว และจากงานวิจัยที่อาจารย์ทุกท่านต้องทํานั้น ไม่เพียงแค่การสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ แต่ผลงานวิชาการนั้นก็ยังสามารถนํามาขอตําแหน่งทางวิชาการได้เช่นกัน ซึ่งถือว่าเป็นรางวัลสําหรับอาจารย์ที่ได้ลงทุนลงแรงในการทําวิจัยนั่นเอง

เส้นทางการเข้าสู่ตําแหน่งวิชาการ

การเข้าสู่ตําแหน่งวิชาการของอาจารย์ของพนักงานมหาวิทยาลัยนั้นก็จะมีเส้นทางให้เลือกด้วยกันอยู่ 4 เส้นทาง ได้แก่

  1. ผลงานวิจัย หรือ ผลงานทางวิชาการรับใช้สังคม รวมกัน 2 เรื่อง (คุณภาพดี)
  2. ผลงานตามข้อ 1 จํานวน 1 เรื่อง และ ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น จํานวน 1 รายการ (คุณภาพดี)
  3. ผลงานตามข้อ 1 จํานวน 1 เรื่อง และ ตําราหรือหนังสือ (คุณภาพดี)
  4. สําหรับกลุ่มสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ผู้ขอตําแหน่งวิชาการอาจจะใช้เส้นทาง ดังนี้

– ผลงานวิจัย จํานวน 1 เรื่อง (คุณภาพดี) หรือ

– ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น จํานวน 1 เรื่อง (คุณภาพดี) หรือ

– ผลงานทางวิชาการรับใช้สังคม จํานวน 1 เรื่อง (คุณภาพดี) หรือ

– ตําราหรือหนังสือ (คุณภาพดี)

และ

– บทความทางวิชาการ 1 เรื่อง (คุณภาพดีมาก)

ทั้งนี้ในการตัดสินนั้นจะตัดสินจากผู้ทรงคุณวุฒิจํานวน 3 – 5 คน โดยใช้เสียงข้างมาก

ประเภทของผลงานวิชาการ

สําหรับผลงานวิชาการ สามารถแบ่งได้ 4 กลุ่ม ดังนี้

  1. งานวิจัย
  2. ผลงานวิชาการในลักษณะอื่น แบ่งเป็น

– ผลงานวิชาการเพื่ออุตสาหกรรม

– ผลงานวิชาการเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนและการเรียนรู้

– ผลงานวิชาการเพื่อการพัฒนานโยบายสาธารณะ

– กรณีศึกษา (Case Study)

– งานแปล

– พจนานุกรม สารานุกรม นามานุกรม และงานวิชาการในลักษณะเดียวกัน

– ผลงานวิชาการสร้างสรรค์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

– ผลงานสร้างสรรค์ด้านสุนทรียะ ศิลปะ – สิทธิบัตร และ

– ซอฟต์แวร์

  1. ผลงานวิชาการรับใช้สังคม
  2. อื่น ๆ แบ่งเป็น

– ตํารา

– หนังสือ และ

– บทความวิชาการ

ผลงานวิชาการรับใช้สังคม

ความหมายของผลงานวิชาการรับใช้สังคม

หมายถึง ผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ส่งผลให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมอย่างเป็นรูปธรรม โดย ประจักษ์ต่อสาธารณะ โดยผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมนั้น ต้องเป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นทางด้านใด ด้านหนึ่งหรือหลายด้านเกี่ยวกับ ชุมชน วิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม อาชีพ เศรษฐกิจ การเมืองการ ปกครอง คุณภาพชีวิต หรือสุขภาพ หรือเป็นผลงานที่นําไปสู่การจดทะเบียนสิทธิบัตรหรือทรัพย์สินทางปัญญา ในรูปแบบอื่นที่สามารถแสดงได้เป็นที่ประจักษ์ว่าสามารถใช้แก้ปัญหาหรือพัฒนาสังคม และก่อให้เกิด ประโยชน์อย่างชัดเจน หรือเป็นการเปลี่ยนแปลงในความตระหนักและการรับรู้ในปัญหาและแนวทางแก้ไขของ ชุมชนนั้นได้

ลักษณะคุณภาพของผลงานวิชาการรับใช้สังคม

ระดับดี

มีการรวบรวมข้อมูลและสารสนเทศที่ชัดเจน มีการระบุปัญหาหรือความต้องการคุณภาพโดย การมีส่วนร่วมของสังคมกลุ่มเป้าหมาย บุคลากรภาครัฐ หรือบุคลากรภาคเอกชน มีการวิเคราะห์หรือ สังเคราะห์ความรู้ที่สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นหรือทําความเข้าใจสถานการณ์ มีการถ่ายทอดผลงานทาง วิชาการ จนเกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นอย่างเป็นประจักษ์ หรือก่อให้เกิดพัฒนาชุมชน สังคม องค์กร ภาครัฐ หรือองค์กรภาคเอกชนนั้น

ระดับดีมาก

ใช้เกณฑ์เดียวกับระดับดี และเพิ่มเติม คือ ต้องสามารถนํามาใช้เป็นตัวอย่างในการแก้ไข ปัญหาหรือทําความเข้าใจสถานการณ์จนเกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นอย่างเป็นประจักษ์หรือก่อให้เกิด การพัฒนาสังคม องค์กรภาครัฐ หรือองค์กรภาคเอกชนอื่นได้ หรือก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย ระดับจังหวัดหรือประเทศอย่างเป็นรูปธรรมได้

ระดับดีเด่น

ใช้เกณฑ์เดียวกับระดับดีมาก และเพิ่มเติม คือ ต้องส่งผลกระทบต่อสังคมอย่างกว้างขวาง เป็นที่ยอมรับในระดับชาติ หรือระดับนานาชาติ หรือได้รับรางวัลองค์กรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ เช่น UNESCO WHO UNICEF เป็นต้น

สําหรับการที่จะเข้าสู่ตําแหน่งวิชาการในด้านผลงานวิชาการรับใช้สังคมนั้นซึ่งเป็นหัวข้อในลําดับที่ 3 ที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ในปัจจุบันก็ได้มีการกําลังถูกผลักดันเพื่อให้อาจารย์ทุกท่านได้หันมามองและทํางานวิจัยที่ เป็นประโยชน์และส่งผลกระทบจนเกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นอย่างเป็นประจักษ์ หรือก่อให้เกิดพัฒนา ชุมชน สังคมนั้นได้อย่างแท้จริง

กลุ่มสาขาวิชา (Discipline)

สําหรับการเลือกความเชี่ยวชาญเฉพาะทางของอาจารย์แต่ละท่านเพื่อขอตําแหน่งวิชาการนั้น จากประกาศ ก.พ.อ. (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๖ ด้วยเรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดํารง ตําแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ และจากประกาศ ก.พ.อ. ที่ ศธ 0๕0๙(๒)/ ว 90๗๖ ด้วยเรื่อง การกําหนดชื่อสาขาวิชาสําหรับการเสนอขอกําหนดตําแหน่งทางวิชาการและการ เทียบเคียงสาขาวิชาที่เคยกําหนดไปแล้ว พ.ศ. ๒๕๖๑ ในส่วนของการขอตําแหน่ง “ผู้ช่วยศาสตราจารย์” นั้น ได้มีการกําหนดให้อาจารย์ทุกท่านต้องเลือกสาขาวิชา จากบัญชีรายชื่อกลุ่มสาขาวิชา (Discipline) และอนุสาขาวิชา (Sup-Discipline) ซึ่งมีรายชื่อกลุ่มสาขาวิชา ดังนี้

รหัส / กลุ่มสาขาวิชา

01 กลุ่มวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (Natural Sciences)

11 กลุ่มวิศวกรรมศาสตร์ (Engineering)

15 กลุ่มสถาปัตยกรรมศาสตร์ (Architecture)

18 กลุ่มเทคโนโลยี (Technology)

21 กลุ่มแพทยศาสตร์และวิทยาศาสตร์การแพทย์ (Medicine and Medical and Medical Sciences)

25 กลุ่มการแพทย์อื่น (Other Medical Sciences)

31 กลุ่มทันตแพทย์ศาสตร์ (Dentistry)

33 กลุ่มเภสัชศาสตร์ (Pharmacy)

35 กลุ่มสาธารณสุขศาสตร์ (Public Health)

37 กลุ่มพยาบาลศาสตร์ (Nursing Science)

39 กลุ่มสหเวชศาสตร์ (Alied Health) และเทคนิคการแพทย์ (Medical Technology)

41 กลุ่มสัตวแพทย์ศาสตร์ (Veterinary Medicine)

51 กลุ่มเกษตรศาสตร์ (Agriculture)

53 กลุ่มวนศาสตร์ (Forestry)

55 กลุ่มประมง (Fishery)

61 กลุ่มสังคมศาสตร์ (Social Sciences)

63 กลุ่มบรรณารักษศาสตร์ (Library Sciences)

65 กลุ่มศึกษาศาสตร์ (Education)

67 กลุ่มนิติศาสตร์ (Law)

68 กลุ่มบัญชีและบริหารธุรกิจ (Accounting and Business Administration)

71-80 กลุ่มมนุษยศาสตร์ (Humanities)

81 กลุ่มวิจิตรศิลป์ (Fine Arts)

85 กลุ่มประยุกต์ศิลป์ (Applied Arts)

91 กลุ่มอื่น ๆ (Other Disciplines)

ทั้งนี้สามารถดูรายละเอียด สาขาวิชา และอนุสาขาวิชา เพิ่มเติมได้จากเอกสารแนบในตอนท้าย และขอตัวอย่างอาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ในการที่จะขอตําแหน่งวิชาการนั้นก็จะต้องเลือกความเชี่ยวชาญใน สาขาวิชาของตนเอง โดยจะต้องระบุสาขาวิชาและอนุสาขาวิชา เช่น

610502 อธิบายได้ว่า กลุ่มสังคมศาสตร์ สายนิเทศศาสตร์ และเอกด้านการสื่อสาร ดังนี้

61 กลุ่มสังคมศาสตร์ (Social Sciences)

05 นิเทศศาสตร์ (Communication Arts)

01 การสื่อสารมวลชน (Mass Communication)

02 การสื่อสาร (Communication)

03 วารสารศาสตร์ (Journalism)

04 การประชาสัมพันธ์ (Public Relations)

05 ภาพยนตร์และภาพถ่าย (Motion Picture and Photograph)

06 วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ (Radio and Television)

07 วาทวิทยา (Speech Communication)

08 วิธีวิทยาการวิจัยการสื่อสาร (Research Methodology in Communication)

09 สื่อสารการแสดง (Acting Communication)

10 การโฆษณา (Advertising)

11 นิเทศศาสตร์พัฒนาการ (Communication Development)

ทั้งนี้หวังเป็นอย่างยิ่งว่า KM นี้จะเป็นประโยชน์ต่ออาจารย์ทุกท่านที่สนใจที่อยากจะพัฒนาตนเอง และพัฒนาต่อยอดความรู้จากการทําวิจัยต่าง ๆ และนําผลงานวิจัยนั้นไปขอตําแหน่งวิชาการต่อไป

เอกสารอ้างอิง

  1. การกําหนดชื่อสาขาวิชาสําหรับการเสนอขอกําหนดตําแหน่งทางวิชาการและการเทียบเคียงสาขาวิชาที่เคยกําหนดไปแล้ว พ.ศ. ๒๕๖๑ จาก: https://www.tsu.ac.th/UserFiles/180720186 general personnel.pdf
โพสท์ใน คณะนิเทศศาสตร์, แนวทางการผลิตงานวิจัยเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ | ใส่ความเห็น

การพัฒนาการเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่

ผศ.บุรินทร์ รุจจนพันธ์ุ ได้แชร์ขั้นตอนในการทำวิจัย เพื่อให้ได้ข้อมูลมมาใช้ในการเขียนบทความวิจัย โดยอ้างอิงจากผศ.ดร.ฉัตรศิริ ปิยะพิมลสิทธิ์ ดังนี้

  1. เลือกหัวข้อปัญหาที่จะทำการวิจัย
  2. ศึกษาค้นคว้ารวบรวมความรู้พื้นฐาน และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย
  3. ให้คำจำกัดความหัวข้อปัญหาที่จะทำการวิจัย
  4. สร้างสมมติฐาน
  5. พิจารณาแหล่งที่มาของข้อมูล
  6. สร้างเครื่องมือที่จะใช้ในการวิจัย
  7. การเก็บรวบรวมข้อมูล
  8. การจัดกระทำข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล
  9. ตีความผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาข้อสรุป
  10. การเขียนรายงานการวิจัยและการจัดพิมพ์

ทั้งนี้ จะต้องให้ความสำคัญต่อหลักเกณฑ์ในเรื่องจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ด้วย

สำหรับการเขียนรายงานการวิจัย ผศ.บุรินทร์ได้ให้ความสำคัญในเรื่องการอ้างอิงงานของผู้้อื่นโดยเสนอให้ใช้โปรแกรมอักขราวิสุทธิ์เพื่อช่วยในการตรวจสอบ โดยได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับวารสาร/แหล่งซึ่งสามารถตีพิมพ์เผยแพร่ได้ ดังนี้

  1. Website ThaiLTS
  2. รายชื่อวารสารใน TCI
  3. Website Thaijo
  4. WTU Journal [0.6]
  5. Journal เครือข่ายภาคเหนือ [0.8]
  6. NCCIT [0.2]
  7. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่
  8. RESGAT [0.8]

และให้ระมัดระวัง Beall’s list หรือรายชื่อสำนักพิมพ์(publishers) และรายชื่อวารสารที่คาดว่าจะไม่มีอยู่จริง(Standalone Journal) และกระบวนการตรวจสอบคุณภาพของบทความไม่ได้มาตรฐาน

และหากบทความนั้นจะใช้เป็นส่วนหนึ่งของการขอตำแหน่งทางวิชาการยิ่งต้องให้ความสำคัญทั้งคุณภาพของบทความและวารสารที่จะตีพิมพ์เผยแพร่

โพสท์ใน คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์, ทั่วไป | ใส่ความเห็น

การพัฒนาเทคนิคการสอน: ClassStart

คลังรูปนี้ประกอบด้วย รูป 1

อาจารย์วีระพันธ์  แก้วรัตน์ วิทยากรได้แช … อ่านเพิ่มเติม

คลังรูปเพิ่มเติม | ใส่ความเห็น

Open House Nation University

ห้ามพลาด!!! ในวันที่ 9 ธันวาคม 2562 นี้
ขอเชิญครูแนะแนว บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน
รวมทั้งผู้ที่สนใจ ฟังบรรยายพิเศษโดย ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง
ในงาน Open House Nation University แล้วพบกันที่มหาวิทยาลัยเนชั่นนะคะ
สอบถามรายละเอียดได้ที่ งานประชาสัมพันธ์ รับสมัคร ฯ
โทร. 063-0921247 และ 063-0921256
หรือ Line ID : nation_pr

โพสท์ใน งานประชาสัมพันธ์ รับนักศึกษา | ใส่ความเห็น

เห็นชอบ หลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต

คณะกรรมการทันตแพทยสภาให้ความเห็นชอบ และรับรองสถาบันคณะทันตแพทย์
หลักสูตรทันตแพทยศาสตร์บัณฑิต (หลักสูตรใหม่ ๒๕๖๒)
มหาวิทยาลัยเนชั่น
ครั้งที่ ๗/๒๕๖๒
เมื่อวันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๖๒
อ้างอิงจาก หน้าข่าสาร คณะทันตแพทย์
http://nation.ac.th/index.php/th/news-of-information-tech

หลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต

โพสท์ใน คณะทันตแพทยศาสตร์ | ใส่ความเห็น

เห็นชอบ หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต

สภาการพยาบาลให้ความเห็นชอบ
หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต
มหาวิทยาลัยเนชั่น
ในการประชุมของสภาการพยาบาล
ครั้งที่ 4/2562
เมื่อ 11 เมษายน 2562
อ้างอิงจาก หน้าข่าวสาร คณะพยาบาลศาสตร์
http://www.nation.ac.th/index.php/th/acts-nursing-science-3

หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต

หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต

โพสท์ใน คณะพยาบาลศาสตร์ | ติดป้ายกำกับ | ใส่ความเห็น

รับรอง หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคนิคการแพทย์)

สภาเทคนิคการแพทย์ให้การรับรอง
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคนิคการแพทย์)
มหาวิทยาลัยเนชั่น
และเห็นชอบความเหมาะสมในการเปิดสอนหลักสูตรนี้
ในการประชุมของสภาเทคนิคการแพทย์
ครั้งที่ 5/2562
เมื่อ 19 มิถุนายน 2562

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคนิคการแพทย์)

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคนิคการแพทย์)

โพสท์ใน คณะเทคนิคการแพทย์ | ติดป้ายกำกับ | ใส่ความเห็น

หลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต เปิดปี 2562

จากเฟสบุ๊คของ ผศ.ดร.กฤษฎา  ตันเปาว์

วันนี้ กับข่าวดีที่รอคอย กับการแจ้งผลการประชุมทันตแพทยสภา 12 ก.ย.62

หลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิตของมหาวิทยาลัยเนชั่น ได้รับการอนุมัติให้เปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ปี 2562 จากทันตแพทยสภาในการประชุม ที่ประชุมนั้นชื่นชม คณะทันตแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเนชั่นว่าใช้เวลาไม่ถึงหนึ่งปีสามารถจัดตั้งคณะทันตแพทยศาสตร์ และแพทย์สภาให้การรับรองนี้ได้สำเร็จซึ่งถือว่าเป็นครั้งแรกของประวัติศาสตร์ไทยเลยเพราะว่าแต่ละคณะทันตแพทยศาสตร์ของมหาวิทยาลัยต่างๆจะใช้เวลาในการจัดเตรียมอย่างน้อยสามปี

ในรอบ 1 ปี กับ 1 เดือนนี้ คือการพัฒนามหาวิทยาลัยให้ตอบโจทย์ความต้องการของสังคม และประเทศชาติในการเตรียมพร้อมเข้าสู่สังคมสูงวัย (Aging Society) ภายใน 3 ปีข้างหน้า และโดยเฉพาะอัตราสังคมสูงวัยของภาคเหนือที่ดูจะเร็วกว่าภาคอื่นๆ NTU เราผลักดันให้เปิด 3 คณะใหม่ในรอบปีทันที ได้แก่ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะเทคนิคการแพทย์ และ คณะทันตแพทยศาสตร์ ซึ่งผ่านสภามหาวิทยลัย สภาวิชาชีพ และแจ้งกระทรวง อว. (สกอ.) ตามลำดับ

ปัจจุบันจัดการศึกษา

• ปริญญาตรี •
คณะสาธารณสุขศาสตร์
คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์
คณะนิเทศศาสตร์
คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์
คณะพยาบาลศาสตร์
คณะเทคนิคการแพทย์
คณะทันตแพทยศาสตร์

• ปริญญาโท •
บริหารธุรกิจ MBA
บริหารการศึกษา MEd.

ต้องขอบคุณ รศ. ดร.จิรศักดิ์ จิยะจันทน์ เจ้าของผู้ถือหุ้น ที่มีวิสัยทัศน์ วางแผน ให้ทั้งแรงกายใจทุน และให้แนวทางในการดำเนินการตลอด 1 ปี 1 เดือนนี้

ต่อไปนี้คือการพัฒนา ให้เติบโตและยังยืน ทั้งยอดรับนิสิต คุณภาพวิชาการ และ การสื่อสารกับสังคมและประเทศชาติเพื่อความยั่งยืนต่อไป

ผศ. ดร.กฤษฎา ตันเปาว์

โพสท์ใน คณะทันตแพทยศาสตร์, งานประชาสัมพันธ์ รับนักศึกษา, ทั่วไป | ใส่ความเห็น

การพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาแบบต่อเนื่องในคณะสาธารณสุขศาสตร์

แนวคิดการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาแบบต่อเนื่อง

                                                 ผู้เขียน อาจารย์ธณกฤษ หมื่นก้อนแก้ว                                                                     พฤษภาคม 2562

การพัฒนาองค์กรโดยการนำการประกันคุณภาพการศึกษามาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยให้องค์กรมีผลการดำเนินงานที่เป็นไปตามเป้าหมายและมีประสิทธิภาพสูง ซึ่งวิธีการหนึ่งที่ช่วยให้การบริหารงานสำเร็จตามเป้าหมาย คือ การนำกระบวนการจัดการความรู้เข้ามาเป็นเครื่องมือในการดำเนินงานร่วมกับการบริหารงาน โดยนำการประกันคุณภาพการศึกษา มาปรับใช้ในการกำกับการทำงานในทุกด้านของการทำงานภายในองค์กร ซึ่งจะมีการกำกับ ติดตามงานเป็นรายไตรมาส เพื่อใช้ประเมินความก้าวหน้าของงานในองค์กรและงานระดับบุคคล ซึ่งจะมีการรายงานผลงานเข้าในข้อมูล HRD เป็นข้อมูลผลงานประจำปี การดำเนินงานในลักษณะนี้จะช่วยให้สามารถปรับปรุงและพัฒนาผลงานได้อย่างรวดเร็วและตรงตามเป้าหมายขององค์กร

สำหรับการนำระบบการประกันคุณภาพมาใช้ในการกำกับ ติดตาม การดำเนินงานขององค์กรนั้น    สิ่งสำคัญที่ได้จากการประยุกต์ใช้ คือ สามารถอ้างอิงผลงานที่เกิดขึ้นทุกด้านขององค์กรไว้ในรายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานเพียงฉบับเดียว โดยใช้การจัดทำระบบการ Audit ขึ้นภายในองค์กรในทุกระดับตั้งแต่ระดับหลักสูตร ระดับหน่วยงาน ระดับคณะวิชา จนกระทั่งถึงระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จากการบริหารงานทำให้เกิดความสอดคล้องของการทำงานในทุกระดับภายในองค์กรและช่วยให้ง่ายต่อการประเมินความสำเร็จของผลงานด้านคุณภาพการศึกษาขององค์กร อีกทั้งสามารถปรับปรุงการบริหารงานให้มีคุณภาพได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นวิธีการบริหารงานรูปแบบหนึ่งที่เหมาะสมกับการสร้างองค์กรคุณภาพทางการศึกษา

 

โพสท์ใน คณะสาธารณสุขศาสตร์, ทั่วไป | ใส่ความเห็น