เทคนิคการสอน

อาจารย์วีระพันธ์  แก้วรัตน์ วิทยากรได้แชร์ความรู้จากการเข้าอบรมเชิงปฏิบัติการ “นวัตกรรมเพิ่มพลังอาจารย์ สร้างสรรค์ผลงานอุดมศึกษา” ดังนี้

  • การเรียนรู้ตามทฤษฎีของบลูม Bloom’s Taxonomy

แบ่งออกเป็น 3 ด้าน คือ  • ด้านพุทธิพิสัย  • ด้านจิตพิสัย  • ด้านทักษะพิสัย

  • เทคนิคการสอน

ณ ปัจจุบันเทคนิคการสอนที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นเทคนิคที่ดี มี 13 เทคนิค ดังนี้

เทคนิคที่ 1 การพัฒนาทักษะผ่านรายวิชา

การพัฒนาทักษะผ่านรายวิชาทำได้โดยใช้การเรียนรู้ผ่านกิจกรรมภายในและภายนอกห้องเรียน (Activity Base Learning) เช่น วิชาที่มีการปฏิบัติ ผู้สอนอาจจะสอนภายใต้กรอบดังนี้

1.1 การสอนที่เน้นการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างการเรียนรู้ให้เกิดแก่ผู้เรียนจากประสบการณ์จริง

1.2 การเรียนรู้เกิดจากการร่วมกันออกแบบการจัดกิจกรรมระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน

1.3 พัฒนานักศึกษาให้บรรลุปณิธานของแต่ละสถาบัน และ

1.4 คุณค่าของความเป็นมนุษย์ต้องถูกเติมเต็มโดยสมบูรณ์

เทคนิคที่ 2 กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ : กรณีการใช้ Activity Base Learning 

ทำได้โดยการใช้ Activity Base Learning ในรายวิชาของนักศึกษาทั่วไป เสมือนการเรียนรู้ที่ใช้วิธีสร้างผลงานจากการตกผลึกทางปัญญา (Crystal-Based Approach) ซึ่งการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบนี้ เป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้สร้างสรรค์ความรู้ความคิดด้วยตนเองด้วยการรวบรวม ทำความเข้าใจ สรุป วิเคราะห์ และ สังเคราะห์จากการศึกษาด้วยตนเอง ถือเป็นเทคนิคที่สำคัญในการจูงใจและสร้างการเรียนรู้ให้นักศึกษา ทำให้พวกเขาเหล่านั้นเกิดความกระตือรือร้นในการเรียนมากขึ้น เช่น การจัดกิจกรรมระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน การเรียนรู้จากประสบการณ์จริง เป็นต้น

เทคนิคที่ 3 ออกแบบการสอน 360 องศา 

การออกแบบการสอน 360 องศา ผู้สอนสามารถทำได้โดย

  1. การวางแผนการสอน

1.1 ดำเนินการจัดการเรียนการสอนโดยการจัดทำแผนการสอนอย่างถูกต้อง

1.2 ระบุวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ไว้อย่างชัดเจนในทุกหัวข้อหลัก

1.3 ในแต่ละหัวข้อหลักระบุวิธีการสอน เวลาที่ใช้ และวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ไว้อย่างชัดเจน

1.4  มีกิจกรรมเสริมสร้างการเรียนรู้ ตามวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ในการเรียนแต่ละครั้งอย่างชัดเจน

1.5 มีแบบทดสอบในรูปแบบของ Quiz บรรจุอยู่ในระบบ e-learning ของมหาวิทยาลัย เพื่อประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาหลังเสร็จสิ้นการเรียนการสอน และใช้กลยุทธ์การกระตุ้นให้ทำซ้ำโดยใช้คะแนนครั้งที่ดีที่สุด

  1. การสอนให้ผู้เรียนรู้จักคิด วิเคราะห์ และวิจารณ์

2.1 ผู้สอนจัดเตรียมกรณีศึกษา (Case Study) ใหม่ ๆ ทุกภาคการศึกษา เพื่อนำมาใช้ในการสอนให้ผู้เรียนรู้จักคิด วิเคราะห์ และวิจารณ์

2.2 ผู้สอนกำหนดวัตถุประสงค์ไว้อย่างชัดเจนว่า นักศึกษาต้องสามารถคิด วิเคราะห์ และ วิจารณ์ได้

2.3 มีคลังคำถาม และ กิจกรรมการเรียนรู้ ที่จะใช้สอนในขณะที่สอนในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับกรณีศึกษา (Case Study) เพื่อให้นักศึกษา คิด วิเคราะห์ และวิจารณ์เมื่อเรียนรู้หัวข้อนั้น ๆ

2.4 ใช้คำถามหรือกิจกรรมการเรียนการสอน ที่กระตุ้นให้นักศึกษาคิด วิเคราะห์ และ วิจารณ์อย่างทั่วถึง

2.5 เปิดกว้างต่อการแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระของนักศึกษา ไม่ครอบงำความคิดของ นักศึกษา

2.6 มอบหมายงานที่ไม่มีคำตอบในเอกสารประกอบการสอน โดยมอบหมายให้นักศึกษา ไป ช่วยกันคิด วิเคราะห์ เพื่อให้ได้ ข้อสรุป

  1. เทคนิคและวิธีการสอน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความสนใจการเรียนการสอนตลอดเวลา

3.1 เตรียมตัวในเรื่องที่สอนมาอย่างดี มีการชี้แจงวัตถุประสงค์ และแจ้งภาพรวมของหัวข้อก่อนที่จะเข้าสู่เนื้อหา

3.2 ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย เปิดโอกาสให้ซักถาม และ ตอบข้อซักถามนักศึกษาอย่างชัดเจน และ ตรงประเด็น

3.3 เตรียมกรณีศึกษา (Case Study) ใหม่ และอธิบายประเด็นที่ควรศึกษาจากกรณีศึกษานั้น ๆ อย่างชัดเจน และเปิดโอกาส ให้นักศึกษาร่วมแสดงความเห็น

3.4 อธิบายความเกี่ยวข้องและเชื่อมโยง กับรายวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น รายวิชาการ จัดการ รายวิชาการวางแผนการตลาด รายวิชาการจัดการการผลิต รายวิชาการจัดการเชิงกลยุทธ์

3.5 ออกแบบวิธีการสอนให้เหมาะสมกับเนื้อหา คำนวณเวลาที่ใช้ล่วงหน้าในการสอน และ พิจารณาเงื่อนไขของการจัดการเรียนการสอนในสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบันตลอดระยะสอน

3.6 สรุปประเด็นสำคัญเป็นระยะ และ สรุปภาพรวมให้นักศึกษาทราบอีกครั้งหนึ่งก่อนเสร็จสิ้นการสอน

  1. สื่อการสอนและการผลิตสื่อการสอน

4.1 สื่อการสอนที่ใช้จัดทำขึ้นด้วย Keynote Presentation ที่เน้น Animation และความ สวยงามที่เรียบง่าย เพื่อสื่อความหมาย ให้นักศึกษาเข้าใจบทเรียนได้ดียิ่งขึ้น

4.2 กระตุ้นความสนใจในการเรียนด้วย Clip Video ที่มีภาพและเสียงที่ดึงดูดความสนใจ โดย Clip Video ดังกล่าว ต้องอยู่ในแผนที่จะฝึกให้นักศึกษาฝึกฝนการคิด วิเคราะห์ และวิจารณ์เรื่อง ใดเรื่องหนึ่งที่กำหนดไว้ล่วงหน้า

4.3 ฝึกฝนการบรรยายพร้อมกับสื่อที่นำมาใช้ ซักซ้อมล่วงหน้าก่อนทำการสอน เพื่อให้สามารถใช้สื่อในการสอนอย่างมี ประสิทธิภาพ

4.4 ผลิตสื่อการสอนที่มีภาพและข้อความขนาดใหญ่ และมีความชัดเจนเพียงพอที่นักศึกษาจากทุกส่วนของห้องเรียน สามารถเห็นสื่อที่ใช้ในการสอนแต่ละครั้งได้ชัดเจน

4.5 ในกรณีที่จัดการสอนภาคปฏิบัติ จะมีการออกแบบการสอนปฏิบัติ เพื่อให้นักศึกษาทุกคนมีโอกาสในการใช้เครื่องมือที่เป็นสื่อการสอนได้เท่าเทียมกัน

4.6 เอกสารประกอบการสอน จัดทำขึ้นอย่างเหมาะสม ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย มี ภาพประกอบ ที่เหมาะสมกับการเรียนในแต่ละหัวข้อ

4.7 Presentation ประกอบการบรรยาย บรรจุให้นักศึกษา Download ในระบบ eLearning ของมหาวิทยาลัย และ Facebook Group ของรายวิชา

4.8 มีกระบวนการ ติดตามและประเมินผลการเรียนการสอน และให้คำปรึกษาผ่าน Social

เทคนิคที่ 4 ค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมจากวิชาการดอทคอม http://www.vcharkarn.com 

เป็นเว็บไซต์ที่มีจุดมุ่งหมายส่งเสริมความรู้ และกระตุ้นความสนใจ โดยเป็นสื่อกลางความรู้ที่ น่าสนใจ และเป็นสื่อกลางในการกระจายความรู้ ผ่านไปยังภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศอย่างทั่วถึง หวังกระตุ้นให้นักศึกษา อาจารย์และผู้ที่สนใจ เกิดการเรียนรู้ ด้วยตนเอง ประกอบด้วย บทความ, ข่าว, ทุนการศึกษา, โครงงาน, มุมครู, ข้อสอบ, บทเรียนออนไลน์, นวนิยาย, BLOG สมาชิก, Webboard, ค่าย, ประชาสัมพันธ์

เทคนิคที่ 5 การสอนแบบ CIPPAการจัดการเรียนการ สอนด้วยนวัตกรรม

การจัดการเรียนการสอนแบบ CIPPA ถือเป็นการ สอนแบบโครงงาน

  1. วิธีสอนโดยใช้การบรรยาย (Lecture)
  2. วิธีสอนโดยใช้การสาธิต (Demonstration)

เทคนิคที่ 6 การเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง: โมเดลซิปปา

โมเดลซิปปา (CIPPA Model) เป็นการเรียนการสอนที่เป็น แนวคิดหลักที่เป็นพื้นฐานในการจัดการเรียนการสอนโดยยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง กล่าวคือ ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัด กิจกรรมการเรียนรู้ หากผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่จัดขึ้นมาก ผู้เรียนก็จะเป็นผู้มีบทบาทในการเรียนรู้มาก และควรจะเกิดการเรียนรู้ที่ดีขึ้นตามมา แนวคิดการจัดการเรียนรู้ที่ มีคุณภาพให้ผู้เรียนมีส่วนเรียนร่วมอย่างผูกพัน

เทคนิคที่ 7 วิธีการเสนอแนะในการสอนแบบนักศึกษาเป็นศูนย์กลาง 

  1. อาจารย์แจกเค้าโครงรายวิชาให้นักศึกษา โดยอาจารย์ไม่สอน แต่ แนะแนวทางให้นักศึกษาคิดและแก้ปัญหา นักศึกษา จะต้องอ่านหนังสือมาก่อน นักศึกษาเป็นผู้ออกแบบเนื้อหา กำหนดเนื้อหาเอง ซึ่งการวัดผลจะต้องใช้ข้อสอบที่มีมาตรฐานเดียวกันซึ่งเป็นเรื่องยากพอสมควร
  2. การเรียนแบบโครงงาน โดยในวิชานั้นนักศึกษาจะต้องทำโครงงาน ย่อย 4 โครงการ ใช้เวลาโครงการละ 2 สัปดาห์นักศึกษาจะต้องปัญหาในแต่ละโครงการแล้วเชื่อมต่อโครงการกับทฤษฎีที่อาจารย์เสนอแนะไว้ แต่ก่อนปิดรายวิชาอาจารย์ต้องสรุปและเสริม เพิ่มเติมเพื่อให้ครอบคลุมเนื้อหาและ วัตถุประสงค์ของรายวิชา

เทคนิคที่ 8 การจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน Project-based Learning 

การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นรูปแบบหนึ่งที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทำงาน ตามระดับทักษะ ที่ตนเองมีอยู่ เป็นเรื่องที่สนใจและรู้สึกสบายใจที่จะทำ ผู้เรียนได้รับสิทธิในการเลือกว่าจะตั้งคำถามอะไร และต้องการผลผลิตอะไรจากการทำงานชิ้นนี้ โดยอาจารย์ทำหน้าที่เป็นผู้สนับสนุนอุปกรณ์และจัดประสบการณ์ ให้แก่ผู้เรียน สนับสนุนการแก้ไขปัญหา และสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้เรียน โดยลักษณะของการเรียนรู้แบบโครงงาน มีดังนี้

  1. ผู้เรียนสามารถกำหนดการเรียนรู้ของตนเอง
  2. เชื่อมโยงกับชีวิตจริง สิ่งแวดล้อมจริง
  3. มีฐานจากการวิจัย หรือ องค์ความรู้ที่เคยมี
  4. ใช้แหล่งข้อมูล หลายแหล่ง
  5. ฝังตรึงด้วยความรู้และทักษะบางอย่าง (embedded with knowledge and skills)

เทคนิคที่ 9 การจัดการ เรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

เทคนิคที่ 10 ห้องเรียนออนไลน์ 

เป็นการจัดห้องเรียนออนไลน์และยังสามารถติดตาม ตรวจสอบผลการเรียนของนักเรียนได้ สามารถเลือกจากบทเรียนและแบบฝึกหัดหลา พันหัวข้อครอบคลุมหลักสูตรหลัก เพื่อส่งเป็นการบ้านให้นักเรียนทั้งชั้นหรือกลุ่มย่อยในชั้นเรียนได้ โดยอาจารย์ สามารถแก้ไขจากบทเรียนที่มีอยู่หรือสร้างเนื้อหาและแบบทดสอบขึ้นมาใหม่ทั้งหมดด้วยตัวเองได้สามารถดูและ ดาวน์โหลดผล วิเคราะห์คะแนนของนักเรียน อัตราการส่งการบ้าน การบ้านที่ทำเสร็จไปแล้ว

เทคนิคที่ 11 การเรียนรู้แบบร่วมมือ

การเรียนรู้แบบร่วมมือเป็นการจัดการเรียนการสอนที่แบ่งผู้เรียนออกเป็น กลุ่มเล็กๆ สมาชิกในกลุ่มมีความสามารถแตกต่าง กันมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มีการช่วยเหลือสนับสนุนซึ่งกันและกัน มีความรับผิดชอบร่วมกันทั้งในส่วนตนและส่วนรวม มีเป้าหมายร่วมกัน การติดต่อสัมพันธ์กันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ ที่ใช้กันในปัจจุบันมีหลาย รูปแบบ

เทคนิคที่ 12 การเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน 

ตัวอย่างเช่น รูปแบบ Jigsaw เป็นการสอนที่อาศัยแนวคิดการต่อภาพ  แนวการจัดการ เรียนรู้มีดังนี้   ขั้นที่ 1 อาจารย์แบ่งหัวข้อที่จะเรียนเป็นหัวข้อย่อยเท่าจำนวนสมาชิกของแต่ละกลุ่ม ถ้ากลุ่มขนาด 3 คน ให้แบ่งเนื้อหาออกเป็น 3 ส่วน

ขั้นที่ 2 จัดกลุ่มนักศึกษาให้มีสมาชิกที่มีความสามารถคละกัน เป็นกลุ่มพื้นฐานหรือ Home Groups   ขั้นที่ 3 เป็นการศึกษาในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ (Expert Groups)

ขั้นที่ 4 นักศึกษาแต่ละคนในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญกลับกลุ่มเดิมของตน แล้วผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกัน   ขั้นที่ 5 นักศึกษาแต่ละคนทำแบบทดสอบเกี่ยวกับเนื้อหาทั้งหมดทุกหัวข้อ แล้วนำคะแนนของ สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มมารวมกันเป็นคะแนนกลุ่ม

ขั้นที่ 6 กลุ่มที่ได้คะแนนสูงสุด จะได้รับรางวัล หรือการชมเชย

เทคนิคที่ 13 รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี

(อ้างอิง สุตาภัทร จันทร์ประเสริฐ และคณะ การประชุมวิชาการระดับชาติ “วลัยลักษณ์วิจัย” ครั้งที่ 10 วันที่ 27-28 มีนาคม 2561)

โพสท์ใน คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์ | ใส่ความเห็น

แผนการประชาสัมพันธ์หลักสูตร

แผนการประชาสัมพันธ์หลักสูตร ปีการศึกษา 2561

แผนการประชาสัมพันธ์หลักสูตร ปีกศ.61 รับรหัส62

โพสท์ใน ทั่วไป | ใส่ความเห็น

การประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (KM)

คลังรูปนี้ประกอบด้วย รูป 2

ระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบัน … อ่านเพิ่มเติม

คลังรูปเพิ่มเติม | ใส่ความเห็น

ประกาศทุนการศึกษา ปีการศึกษา2560

ประกาศการให้ทุนการศึกษา ปีการศึกษา2560

โพสท์ใน ทั่วไป | ใส่ความเห็น

ระบบการลงทะเบียนออนไลน์-ศูนย์เนชั่นบางนา

ระบบการลงทะเบียนออนไลน์
อาจารย์รัตนาวดี ลำพาย
ผู้อำนวยการศูนย์เนชั่นบางนา

ด้วยมหาวิทยาลัยเนชั่น ศูนย์เนชั่นบางนา มีเจ้าหน้าที่ซึ่งรับผิดชอบงานทะเบียนโดยตรงเพียงคนเดียว แต่จำนวนนักศึกษาของทั้งศูนย์ฯ มีจำนวนหลายร้อยคน ดังนั้นเพื่อช่วยให้งานทะเบียนสามารถทำงานได้ทันตามกำหนดเวลา ทางศูนย์เนชั่นบางนาจึงกำหนดให้นักศึกษาลงทะเบียนการเรียนด้วยตัวเอง เป็นการลงทะเบียนออนไลน์ เพื่อลดขั้นตอนต่างๆ ของการทำงาน และงานดำเนินไปได้ด้วยการใช้บุคลากรน้อยที่สุด

สำหรับการดำเนินงานลงทะเบียนออนไลน์ มีขั้นตอนต่อไปนี้
– ขั้นตอนที่ 1 เริ่มจากการออกประกาศกำหนดวันลงทะเบียน สำหรับนักศึกษาของแต่ละชั้นปี โดยอิงจากปฏิทินการศึกษาของทางมหาวิทยาลัย แต่มีการยืดหยุ่นบ้างเพื่อให้เหมาะสมกับบริบทเวลาของศูนย์เนชั่นบางนา

– ขั้นตอนที่ 2 คณะนิเทศศาสตร์และคณะบริหารธุรกิจของศูนย์ฯ จะส่งรายชื่อวิชาและจำนวน section ที่ต้องการเปิดสอน ทั้งหมดที่เปิดสอนของแต่ละเทอม รวมทั้งจัดเป็นตารางการเรียนการสอน พร้อมชื่ออาจารย์เจ้าของวิชาให้กับฝ่ายทะเบียน ที่จะนำข้อมูลทั้งหมดมาจัดใส่ลงใน Google Sheet เพื่อให้เป็นข้อมูลพื้นฐานที่ทุกคนที่เกี่ยวข้องรับทราบร่วมกัน

– ขั้นตอนที่ 3 ฝ่ายทะเบียนจะนำข้อมูลที่ได้มาจัด section จัดห้องเรียนสำหรับทั้งเทอม และแยกเป็นตารางของอาจารย์แต่ละท่าน

– ขั้นตอนที่ 4 กำหนดวันสอบทั้งกลางภาคและปลายภาค ตามข้อมูลที่ได้คณะวิชาสำรวจจากอาจารย์เจ้าของวิชาแต่ละท่าน ต้องตรงกับ มคอ. 3 ซึ่งจะมีรายชื่อวิชา วันเวลาที่สอบ เพื่อให้เป็นข้อมูลสำหรับนักศึกษาที่ไม่ได้ลงทะเบียนเรียนตามระบบปกติที่กำหนดไว้ ได้ตัดสินใจเลือกวิชาเรียนได้อย่างเหมาะสม ซึ่งในขั้นตอนนี้มีการทำงานแยกย่อยอีก แบ่งเป็น

– จัดตารางสอบของทั้งเทอม
– นำตารางที่จัดเข้าที่ประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์ (กบศ.) เพื่ออนุมัติ
– เมื่อผ่านความเห็นชอบแล้ว จะนำมา key ใส่ในระบบทีละ section
– สร้าง Template ใส่ข้อมูลค่าใช้จ่ายของแต่ละส่วน

**** กรณีลงทะเบียนตาม Template ข้างต้นนี้ จัดให้สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1-4 ที่เรียนตามปกติ เป็นการจ่ายเหมารวม แต่นักศึกษาที่ไม่ได้เรียนจบตามตารางเรียนที่กำหนด จะไม่สามารถลงทะเบียนตาม Template ที่สร้างขึ้นได้ ซึ่งเด็กจะต้องเขียนเป็นใบคำร้องส่งให้ฝ่ายทะเบียน เพื่อนำมาคำนวณค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกัน โดยคำนวณตามหน่วยกิตที่ยึดอัตราค่าธรรมเนียมของมหาวิทยาลัย โดยคิดหน่วยกิตละ 900 บาท ****

– ข้อมูลข้างต้นนี้ นักศึกษาจะต้องทราบก่อนที่จะถึงขั้นตอนที่ 5 ซึ่งเป็นขั้นตอนการลงทะเบียนออนไลน์ด้วยตัวเอง

– ขั้นตอนที่ 6 หลังจากลงทะเบียนเรียบร้อยในระบบ นักศึกษาจะพิมพ์ใบลงทะเบียนนั้นออกมา เพื่อให้อาจารย์ที่ปรึกษาและคณบดี พิจารณาความเหมาะสมก่อนลงนาม แล้วนำไปยื่นให้งานทะเบียนตามกำหนดเวลา

**** กรณีที่นักศึกษาต้องการเพิ่ม ลด หรือถอนรายวิชาใด จะมีการกำหนดวันให้มายื่นเอกสาร เพื่อขอ เพิ่ม ลด หรือ ถอน ตามวันเวลาที่กำหนด และก่อนที่จะส่งให้ฝ่ายทะเบียน อาจารย์ที่ปรึกษาจะต้องตรวจสอบรายวิชาที่นักศึกษาลงทะเบียนทั้งปกติ และเพิ่มถอน ให้ถูกต้อง
ถ้านักศึกษาลงทะเบียนล่าช้าเกินกำหนดจะต้องมีการเสียค่าปรับการลงทะเบียนล่าช้า วันละ 200 บาท รวมทั้งการจ่ายค่าเทอมล่าช้าก็จะถูกปรับวันละ 200 บาทเช่นกัน

– ขั้นตอนที่ 7 งานทะเบียนจะตรวจข้อมูลเรื่องทุนการศึกษา เพื่อความถูกต้องของการชำระค่าเทอม

– ขั้นตอนที่ 8 งานทะเบียนตรวจสอบการสอบภาษาอังกฤษ ว่าผ่านตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนดหรือไม่ ถ้ายังไม่ผ่านต้องมีการเพิ่มค่าใช้จ่ายสำหรับการสอบภาษาอังกฤษเข้าไปด้วย

**** กรณีนักศึกษารหัส 60 ขึ้นไป ใบแจ้งหนี้จะเพิ่มการบทเรียนภาษาอังกฤษออนไลน์ SPEEX อีก 350 บาท เช่น หากนักศึกษาจ่ายเต็มจำนวน 30,000 บาทต่อเทอม ไม่ได้มีส่วนลดหย่อนใดๆ จะต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายอีก 350 บาท เป็นจำนวนทั้งสิ้น 30,350 บาท

– ขั้นตอนที่ 9 ฝ่ายทะเบียนจะนำใบลงทะเบียนที่นักศึกษานำมายื่น หลังจากมีการลงนามโดยอาจารย์ที่ปรึกษาและคณบดีแล้ว มากรอกข้อมูลเข้าระบบทีละคน

ทั้งหมดนี้คือ ขั้นตอนสำหรับการลงทะเบียนออนไลน์ของศูนย์เนชั่นบางนา

 

อัตราค่าธรรมเนียมต่าง ๆ เป็นไปตาม ระเบียบค่าธรรมเนียมของมหาวิทยาลัยเนชั่น พ.ศ. 2558

โพสท์ใน งานทะเบียนและประมวลผล, ทั่วไป | ติดป้ายกำกับ | ใส่ความเห็น

คู่มือการปฏิบัติงานส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม

คู่มือการปฏิบัติงานส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม

โพสท์ใน ทั่วไป | ใส่ความเห็น

การบริหาร-พัฒนางานวิจัยและการประกันคุณภาพการศึกษา

วันนี้ มีเรื่องราวมาแบ่งปันสู่กันฟัง เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

จากผลการประเมินคุณภาพการศึกษาปีการศึกษา 2559 ในภาพรวมอยู่ในระดับดี แต่มีองค์ประกอบที่อยู่ในระดับพอใช้คือ ผลงานด้านวิจัย และจากแผนการดำเนินงานในปีการศึกษา 2560 มีแนวโน้มว่าการสร้างผลงานด้านวิจัยจะลดลงจากปีการศึกษาที่ผ่านมา จึงได้ทำการวิเคราะห์และหาแนวทางการแก้ไขร่วมกัน

 

ด้านงานวิจัย

ปัญหาที่พบ
1. อาจารย์ที่ได้รับโครงงานวิจัยในปีการศึกษาที่ผ่านมาต้องดำเนินงานโครงการให้เรียบร้อยในปีการศึกษานี้ทำให้เพิ่มผลงานไม่ได้
2. จำนวนบุคลากรอาจารย์ลดน้อยลงทำให้มีภาระงานสอนมากขึ้นเนื่องด้วยมีนักศึกษา 3 ระดับชั้น เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษาที่ผ่านมา
3. อาจารย์มีภาระงานด้านอื่นๆ เช่นงานประกันคุณภาพ งานแผนงานระดับสถาบันเพิ่มมากขึ้น
4. อาจารย์ศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก ทำให้ไม่สามารถสร้างผลงานได้

แนวทางการแก้ไขปัญหาที่พบ
1. เสาะหาแหล่งทุนการวิจัย และนำมาพูดคุยแลกเปลี่ยนในหลักสูตร
2. เข้าร่วมประชุมสัมมนาในองค์ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสมัยใหม่
3. นำความรู้มาประชุมแลกเปลี่ยนระหว่างอาจารย์ในหลักสูตร
4. กระตุ้นและสนับสนุนให้อาจารย์ที่ศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกเร่งสร้างผลงานด้านวิชาการ
ผลการดำเนินงาน
1. ศึกษาเกณฑ์การให้ทุนวิจัยจากแหล่งทุน
2. จัดทำแผนงาน

 

ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา

ปัญหาที่พบ
1. มีเกณฑ์การประเมินคุณภาพการศึกษาของสมศ. 4 ออกมาใหม่
2. ต้องจัดทำแผนการดำเนินงานที่ตอบสนองเกณฑ์การประเมินคุณภาพฯ ที่เพิ่มขึ้น

แนวทางการแก้ไขปัญหาที่พบ
1. เข้าร่วมการอบรมด้านการประกันคุณภาพการศึกษาที่ปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลาอย่างทันต่อสถานการณ์
2. ศึกษาเกณฑ์การประเมินคุณภาพการศึกษาของสมศ. 4 ที่ออกมาใหม่ จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างอาจารย์
3. ประชุมจัดทำแผนงานที่ตอบสนองเกณฑ์ประเมินคุณภาพการศึกษา

ผลการดำเนินงาน
1. ศึกษาเกณฑ์การประเมินคุณภาพการศึกษาของสมศ. 4 ร่วมกันในระดับสถาบันโดยรักษาการคณบดี
2. การทำความเข้าใจเกณฑ์การประเมินคุณภาพการศึกษาของสมศ. 4 ร่วมกันและหาแนวทางการดำเนินงานเพื่อจัดทำแผนงานที่ตอบสนอง
3. จัดทำแผนงาน

โพสท์ใน คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ, คอมพิวเตอร์ธุรกิจ, วิทยาการคอมพิวเตอร์ | ติดป้ายกำกับ , , , | ใส่ความเห็น

การจัดการแผนการศึกษา WIL ตามศักยภาพของผู้เรียน

ในปีการศึกษา 2560 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
มีประเด็นความรู้ ที่เข้าสู่กระบกวนการจัดการความรู้
เรื่อง การจัดการแผนการศึกษา WIL ตามศักยภาพของผู้เรียน
ขั้นตอนมีดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การวางแผนงาน
คณะได้ประชุมอาจารย์ร่วมกันทั้ง 2 หลักสูตร เพื่อกำหนดกิจกรรมการพัฒนานักศึกษานอกเหนือจากแผนการเรียนในรายวิชาปกติตามนโยบาย WIL ของมหาวิทยาลัยทั้ง 3 ชั้นปีที่ชัดเจนก่อนเปิดภาคเรียน มีการกำหนดกิจกรรมดังนี้
ชั้นปีที่ 1 กิจกรรมเสริมประกอบด้วย การอบรม “เทคนิคการนำเสนอและการวิเคราะห์ประเด็น” การอบรม “การวิเคราะห์ปัญหาและซ่อมเครื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้น” และการทำกิจกรรม “จิตอาสา” กับหน่วยงานตามความสมัครใจ
ชั้นปีที่ 2 กิจกรรมเสริมประกอบด้วย การอบรม“เทคนิคการนำเสนอและการวิเคราะห์ประเด็น” การอบรม “การวิเคราะห์ปัญหาและซ่อมเครื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้น” การศึกษาดูงาน ในสถานประกอบการ/หน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง การให้บริการซ่อมคอมพิวเตอร์ให้กับหน่วยงานที่ร้องขอ(ร่วมกับกิจกรรม IT-SHOP) และการฝึกปฏิบัติงานช่วงปิดภาคเรียนที่ 2 ในมหาวิทยาลัย (ร่วมกับงานเทคโนโลยีสารสนเทศ) ในประเด็นหลักที่กำหนดไว้ เพื่อวิเคราะห์ความสามารถและเตรียมความพร้อมของนักศึกษาสู่การฝึกงานในชั้นปีที่ 3
ชั้นปีที่ 3 กิจกรรมเสริมประกอบด้วย การมอบหมายงานเพื่อฝึกทักษะการพัฒนาโปรแกรมรายบุคคล และกำหนดติดตามความก้าวหน้าเป็นระยะ เพื่อวิเคราะห์-ประเมินความสามารถและเตรียมความพร้อมสู่การฝึกงานในช่วงภาคเรียนที่ 2

ขั้นตอนที่ 2 การติดตามผลการดำเนินงาน
คณะได้ประชุมติดตามผลการดำเนินงานร่วมกันเพื่อสรุปผลการปฏิบัติของนักศึกษารายบุคคล เป็นระยะๆ ผ่านอาจารย์ที่ปรึกษา และอาจารย์ผู้สอนประจำรายวิชา เพื่อสรุปผลการวิเคราะห์ศักยภาพของนักศึกษารายบุคคล ดังนี้
2.1 นักศึกษาชั้นปีที่ 1
นักศึกษาทุกคนสามารถเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาศักยภาพได้ตามกิจกรรมที่กำหนด และวิเคราะห์ความชอบในสายงานอาชีพนักคอมพิวเตอร์ พบว่ามีนักศึกษา 1 คนขอถอนตัวออกจากสาขาวิชา เนื่องด้วยผลการเรียนและความสามารถ+ความใส่ใจต่อสาขาวิชา ไม่สามารถศึกษาต่อได้ จึงได้ทำการย้ายสาขาวิชาในภาคเรียนที่ 2
และ ช่วงปิดภาคเรียนที่ 2 ให้นักศึกษาทำกิจกรรม “จิตอาสา” ในการทำงานกับหน่วยงานที่สนใจทั้งในและนอกมหาวิทยาลัย

2.2 นักศึกษาชั้นปีที่ 2
นักศึกษาทุกคนสามารถเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาศักยภาพได้ตามกิจกรรมที่กำหนด และมีผลการวิเคราะห์ศักยภาพการเรียนและการพัฒนาของนักศึกษา

2.2 นักศึกษาชั้นปีที่ 3
นักศึกษาทุกคนสามารถเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาศักยภาพได้ตามกิจกรรมที่กำหนด และมีผลการวิเคราะห์ศักยภาพการเรียนและการพัฒนาของนักศึกษา

ขั้นตอนที่ 3 การวิเคราะห์-สรุปแนวการดำเนินงาน
อาจารย์ได้ประชุมวิเคราะห์ผลการดำเนินงานร่วมกันเพื่อสรุปหาแนวทางการปฏิบัติในการวัดศักยภาพของนักศึกษา

ปัญหาที่พบ
1. ความตั้งใจเรียนความเอาใจใส่ของนักศึกษาบางคนลดน้อยลง ทำให้การเรียนถดถอย ถึงแม้มอบหมายงานเพื่อพัฒนาศักยภาพแต่ไม่สนใจศึกษาหาความรู้นอกห้องเรียน ทำงานไม่สำเร็จตามที่ได้รับมอบหมาย
2. การมีเหตุจำเป็นหรือเหตุผลใดๆ ของนักศึกษาในการอ้าง เพื่อให้อาจารย์สงสารหรือยืดเวลาการส่งงานของนักศึกษาทำให้มีผลกระทบต่อนักศึกษาที่มีความรับผิดชอบและความตรงต่อเวลา
3. การติดตามการเข้าชั้นเรียน การส่งงานที่ได้รับมอบหมายในรายวิชา อย่างใกล้ชิด เหมาะสมสำหรับการให้กำลังใจในการเรียน จะได้ผลดีในชั้นปีที่ 1 และจะลดลงเมื่อชั้นปีมากขึ้น
4. การสอนที่ควบคู่กับการทดลองปฏิบัติงานจะเป็นปัญหากับนักศึกษาที่ใส่ใจน้อย และไม่กล้าคิด ไม่กล้าทำ ไม่กล้าถามเมื่อพบปัญหา

แนวทางการแก้ไขปัญหาที่พบ
1. ให้มีการติดตามการเข้าชั้นเรียนและการส่งงานอย่างใกล้ชิดทุกชั้นปีเช่นเดิม เพื่อกระตุ้นการทำงาน-การเรียนของนักศึกษา
2. การประเมินผลการส่งงานที่ได้รับมอบหมายในรายวิชา ให้ประเมินผลที่ Outcome ของงานโดยให้มีการมอบหมายงานและกำหนดวันเวลาส่งผลงานที่ชัดเจน ทั้งนี้เพื่อป้องกันการหาเหตุผลในการอ้างส่งผลงานล่าช้า และให้ผลการประเมินตามที่ได้แจ้งให้นักศึกษาทราบ ทั้งนี้เพื่อการฝึกหัดการแบ่งเวลาและความรับผิดชอบของนักศึกษา
3. ให้อาจารย์การเปิดโอกาสให้นักศึกษาปรึกษาผ่านทางออนไลน์ได้ตลอดเวลา
4. สำหรับนักศึกษาคนที่ผ่านการวิเคราะห์อย่างหนักถึงสาเหตุที่ไม่สามารถพัฒนาหรือให้คำชี้แนะใดๆ ได้ ให้มอบหมายงานหรือการนำเสนอที่เป็นไปตามที่นักศึกษาต้องการ แต่จะแจ้งเกณฑ์การประเมินผลงานในแบบเดียวกันให้ทราบและวัดผลงานตามวันเวลาและเกณฑ์ที่กำหนด
5. การฝึกงานในรายวิชา ได้กำหนดรูปแบบคู่มือและรูปแบบบันทึกการเข้าฝึกงาน ให้นักศึกษาใช้บันทึกและรายงาน โดยได้ประกาศแจ้งทางออนไลน์ในกลุ่มของนักศึกษาฝึกงาน

โพสท์ใน KM:ด้านการผลิตบัณฑิต, คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ, คอมพิวเตอร์ธุรกิจ, วิทยาการคอมพิวเตอร์ | ติดป้ายกำกับ , , , | ใส่ความเห็น

คู่มืออาจารย์ที่ปรึกษา

คู่มืออาจารย์ที่ปรึกษา – สำนักพัฒนานักศึกษา

โพสท์ใน ทั่วไป | ใส่ความเห็น

เส้นทางเด็กลำปาง เรียนการตลาดที่เนชั่น สอบติดทหารอากาศ

นายฐิตินันท์ ดำรงสิทธิ์ หรือพี่ฟลุค ของน้องนักศึกษาเนชั่น
บอกเล่าเรื่องราว กว่าจะสอบติดทหารอากาศ ไว้ในเฟสบุ๊ค
เค้าเล่าเฉพาะเส้นทางการสอบจนถึงที่หมาย ไม่ได้พูดถึงการเป็นนายกฯ
งานพิธีกรที่มูลนิธิโยนกและมหาวิทยาลัย หรือเป็นนักศึกษาแลกเปลี่ยนที่ญี่ปุ่น
เรามาติดตามเส้นทางการสอบเป็นทหารอากาศดีกว่า
ว่า ถึงไหม ท้อไหม ถึงปลายทางฝันตรงไหน มาติดตามกันครับ
พบว่า บรรทัดสุดท้ายของบทความที่ฟลุคเขียนฝากไว้
คือ “อนาคตที่ดี มาจากการกระทำในปัจจุบันที่ดี

เรื่อง “ลิขิตฟ้าหรือจะสู้มานะตน
1 .เริ่มต้น
จากการตัดสินใจสมัครสอบแข่งขัน เพื่อเป็นทหารอากาศผ่านทางอินเทอร์เน็ต
ช่วงนั้นมีเวลาเตรียมตัวก่อนสอบ 1 เดือน
ผมซื้อหนังสือเตรียมสอบมาอ่าน และฝึกทำแบบฝึกหัดเป็นประจำทุกวัน
จนผมอ่าน และทำจนครบทุกหน้าภายในเวลา 1 สัปดาห์
หลังจากนั้นผมก็คิดว่าหนังสือที่อ่านเล่มเดียวนั้นคงยังไม่เพียงพอ
ผมจึงสั่งหนังสือแบบไฟล์ PDF มาอ่านผ่านมือถือ
ใช้เวลาประมาณ 2 อาทิตย์
ผมก็อ่านจบ และทำความเข้าใจเนื้อหาทั้งหมด
ตลอดระยะเวลาที่อ่านหนังสือ
ผมก็รู้สึกท้อและขี้เกียจมาก
แต่ก็คิดว่า ถ้าเราไม่อ่านแล้วจะสมัครสอบเพื่ออะไร
อย่าเสียเวลาไปสอบเลย แล้วบอกกับตัวเองว่า “อย่ายอมแพ้”

2. ถึงวันสอบ
ผมเดินทางไปสอบที่ธรรมศาสตร์ รังสิตด้วยตัวเอง
ผมเดินทางจากลำปางถึงกรุงเทพ เวลา 6.30น.
ผมไปนั่งรอที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 5 ชั่วโมง
เพราะผมสอบตอนเที่ยง
ระหว่างรอทุกคนที่มาสอบล้วนมีความหวัง และมีความมุ่งมั่น
ว่าตัวเองจะสอบผ่าน ผมเองก็เป็นหนึ่งในนั้น
แต่ระหว่างรอผมก็เอาไฟล์หนังสือมาอ่าน
เพื่อไม่ให้เสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์
วันนั้นคนสอบเยอะมาก เยอะมากจนเราคิดว่าเราจะสอบผ่านรอบแรกมั้ย
ซึ่งเวลานั้น ผมก็ตั้งใจทำให้ดีที่สุด โดยจะไม่เสียใจ
เพราะผมตั้งใจทำมันดีที่สุดแล้ว

3. วันประกาศผลสอบรอบแรก
ผมสอบติด 1 ใน 18 คน จากตำแหน่งที่ผมสมัครสอบ
มีผู้เข้าสอบประมาณ 40,000 กว่าคน ผ่านรอบแรก3,000 กว่าคน
ซึ่งผมผ่านรอบแรกมาได้ก็รู้สึกภูมิใจ และตั้งเป้าหมายครั้งต่อไป
ว่าเราจะต้องสอบผ่านการทดสอบร่างกาย และการสัมภาษณ์

4. ก่อนการทดสอบสมรรถภาพร่างกาย
ผมมีเวลาเตรียมตัว 2 – 3 อาทิตย์ ผมซ้อมวิ่งระยะทาง 2.5 กม.
ดันพื้น ซิทอัพ เป็นประจำจนถึงทุกวันนี้
พอถึงวันสอบผมเดินทางไปสอบที่ สนามกีฬาจันทรุเบกษา กองทัพอากาศ
ผมไปรอตั้งแต่ตี 4 ได้คิวสอบที่ 43 ตอน 7 โมงเช้า
วันนั้นรู้สึกกลัวว่าตัวเองจะทำไม่ได้
แต่สิ่งที่ทำให้ผมมีกำลังใจสู้ในตอนนั้นก็คือ พ่อแม่
และได้กำลังใจที่ดีจากคนที่ผมรักนั่นก็คือ “ออม”
สุดท้ายผลการทดสอบก็น่าพึงพอใจในระดับหนึ่ง
ผมจะต้องสามารถผ่านการทดสอบสมรรถภาพร่างกายได้
ผมเชื่อมั่นแบบนั้น
ผลการทดสอบ การวิ่ง 2.5 กม. เวลา 10.35 นาที
ดันพื้น 49 ครั้งต่อนาที ซิทอัพ 39 ครั้งต่อนาที
ผมทำดีที่สุดแล้ว ณ เวลานั้น

5. วันสัมภาษณ์
ผมเดินทางไปที่โรงเรียนนายทหารชั้นประทวน กองทัพอากาศ
เวลา 8.00 น. ผมเป็นคนสุดท้ายที่ได้สัมภาษณ์เวลา 16.00 น.
ในวันนั้นผมได้มีโอกาสพบปะพูดคุยกับนายทหารที่เคยสอบผ่านเมื่อปีที่แล้ว
นายทหารคนนั้นแนะนำ และชี้แนวทางการตอบคำถามสำหรับผม
ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมาก และทำให้ผมอาจจะได้เปรียบกว่าคนอื่น
แต่สุดท้ายแล้ว คำแนะนำก็เป็นเพียงแค่คำแนะนำ
ไม่ได้ใช้ในห้องสัมภาษณ์เลย ผมต้องมีสติแล้วตอบคำถามอย่างชัดเจน
ตอบได้ คือ ได้ ตอบไม่ได้ คือ ไม่ได้
ในห้องมีกรรมการทั้งหมด 3 ท่าน คำถามมีดังนี้
5.1 แนะนำตัวเอง
5.2 แนะนำเป็นภาษาอังกฤษ
5.3 คุณมีความสามารถพิเศษอะไร
5.4 โปรไฟล์ดีมาก เรายอมรับว่าคุณเก่งเกินไปสำหรับตำแหน่งที่คุณสมัคร
5.5 คุณจะอยู่อย่างไรคนเดียวในช่วงแรกที่ประจำการ
5.6 ทำไมคุณไม่สมัครตำแหน่งอื่น
5.7 ทำไมคุณถึงเลือกจังหวัดบรรจุ
ถ้าไปสามจังหวัดชายแดนใต้คุณจะทำอย่างไร
5.8 เงินเดือนน้อยทำอย่างไร
5.9 คุณจะใช้ความรู้ของคุณกับตำแหน่งอย่างไร
5.10 ข้อมูลของกองทัพอากาศ
5.11 คุณมีอะไรจะพูดใน 30 วินาทีสุดท้ายไหม
5.12 ครอบครัวของคุณทำงานอะไร
5.13 ทำไมคุณไม่ช่วยครอบครัวสานต่อธุรกิจ
5.14 ถ้าคุณสอบไม่ติดปีนี้คุณจะผิดหวังหรือไม่ แล้วจะทำอย่างไร
5.15 ถ้าคุณมีโอกาสสอบอีก คุณยังจะเลือกสอบตำแหน่งเดิมหรือไม่
5.16 ถ้าผู้บังคับบัญชา การศึกษาน้อยกว่าคุณ คุณจะยอมรับหรือไม่
5.17 ถ้าเพื่อนร่วมงานชวนคุณดื่ม จะทำอย่างไร
5.18 คุณเรียน รด มาไหม เป็นอย่างไรบ้าง มีผลงานมั้ย
5.18 คุณมีเชื้อสายจีนใช่มั้ย
คุณเดินทางมายังไง
5.19 ทำตามคำสั่ง ดันพื้น ยกเก้าอี้ลุกนั่ง ระเบียบแถว
เสียงดังฟังชัด การทวนคำสั่ง ถอดเสื้อ หันหน้า หันหลัง
*คนเก่งแบบคุณ เข้ามาทำงานตำแหน่งนี้แค่แปปเดียว
ก็ย้ายไปทำงานตำแหน่งที่อื่นที่ดีกว่า
นั่นก็หมายความว่ากองทัพจะต้องเปิดรับสมัครตำแหน่งนี้ เพื่อมาแทนที่คุณ
ซึ่งมันเสียงบประมาณ คุณจะทำให้เรามั่นใจได้อย่างไร
ว่าคุณจะไม่เป็นเช่นนั้น
พวกเรายอมรับความเก่งของคุณนะ แต่ทุกอย่างก็ต้องรวบรวมจากผลคะแนนทั้งหมด

6. การประกาศผลสอบรอบสอง
ประกาศผมการสอบสมรรถภาพร่างกายและการสัมภาษณ์
ปรากฎว่าผมสอบผ่าน ติด 1 ใน 4 คนสุดท้าย
และเป็น 1 ใน 665 คน ที่ทางกองทัพอากาศเปิดรับ ผมดีใจมาก
แต่ก็ยังไม่ดีใจถึงที่สุด เพราะเรายังต้องไปทดสอบความถนัดบุคคล และตรวจร่างกาย

7. วันทดสอบความถนัดบุคคลและวิภาววิสัย
ผมเดินทางจากลำปางไปกรุงเทพ สอบที่ มธ. รังสิต สอบ 7.30 น.
การสอบประเภทนี้ไม่ต้องอ่านหนังสือ
เพราะเป็นการสอบประเภทความจำ การรับรู้ เชิงเหตุผล การใช้ภาษา
และพฤติกรรม วันนั้นการสอบก็ผ่านไปด้วยดี

8. การตรวจร่างกาย
ผมได้ตรวจร่างกายที่กองเวชศาสตร์ป้องกัน
กรมแพทย์ทหารอากาศ ผมเดินทางถึงกรุงเทพตี 4
วันนั้นเกิดเหตุสุดวิสัยผมเกือบไปตรวจร่างกายไม่ทันเวลา
ผมนั่งแท็กซี่จากดอนเมืองไปกรมแพทย์ทหารอากาศ 7.00 น.
แต่เกิดอุบัติเหตุรถชนกัน
ทำให้ผมต้องลงจากรถแท็กซี่
แล้ววิ่งจากบริเวณหอประชุมกานตรัตน์ไปยังกรมแพทย์ทหารอากาศ
สุดท้ายผมก็วิ่งไปทันการตรวจร่างกายในวันนั้น
ผมได้คิวตรวจที่ 119 จากการตรวจทั้งหมด 123
ระยะทางที่วิ่งก็ประมาณเกือบ 1 กม.

9. วันประกาศผมสอบรอบสุดท้าย
ผมสอบติดเป็นทหารอากาศอย่างเป็นทางการ

ตลอดระยะเวลาที่ผมสอบนั้น
ผ่านเรื่องราวหลายอย่าง ทั้งเจออุปสรรคมากมาย ต้องมีความตรงต่อเวลา
ต้องมีความอดทน ต้องมีความพยายาม
แต่อย่างไรแล้วเราก็ต้องสู้จนถึงที่สุด “อย่ายอมแพ้”
และที่สำคัญมากไปกว่านั้นก็คือ พ่อแม่ ที่คอยสนับสนุนผม
และคือคนที่ผมกลัวทำให้ผิดหวังที่สุด
คนที่คอยเคียงข้างและให้กำลังใจผมตลอดในเวลาที่ผมท้อนั่นก็คือ ออม
ครูบาอาจารย์มหาวิทยาลัยเนชั่นทุกท่านที่ให้วิชาความรู้
ประสบการณ์หลาย ๆ อย่าง
ซึ่งสิ่งเหล่านี้ผมได้เอาไปใช้ได้จริง และทำให้ผมประสบความสำเร็จ
เพื่อน ๆ ที่คอยช่วยเหลืออย่างที่พักอาศัย
ช่วยในการเดินทางและให้กำลังใจผม

สุดท้ายนี้
ไม่มีอะไรได้มาอย่างงายดาย ทุกอย่างต้องแลกมาด้วยแรงกายแรงใจ
นี่เป็นเพียงการเริ่มต้นการเข้ารับราชการทหารอากาศ
ผมจะไม่มีวันยอมแพ้อีกต่อไป
อนาคตที่ดี มาจากการกระทำในปัจจุบันที่ดี

โพสท์ใน การตลาด | ติดป้ายกำกับ | ใส่ความเห็น