การวางแผนการฝึกงาน และสหกิจศึกษาสำหรับนักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจศูนย์บางนา

การวางแผนการฝึกงาน และสหกิจศึกษาสำหรับนักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจศูนย์บางนา

อาจารย์ดรรชกร ศรีไพศาล

วัตถุประสงค์ของการฝึกงานและสหกิจศึกษา

  1. เพื่อให้นักศึกษามีโอกาสเรียนรู้และได้รับ ประสบการณ์ชีวิตการทำงานที่แท้จริง
  2. เพื่อให้นักศึกษาได้เตรียมความพร้อมก่อนที่จะจบออกไปทำงาน
  3. เพื่อให้นักศึกษาได้รู้จักการปรับตัวให้เข้ากับ สภาพแวดล้อมภายนอกมหาวิทยาลัย
  4. เพื่อให้นักศึกษานำประสบการณ์ที่ได้รับจากการฝึกงานมาประยุกต์ใช้ในการทำงานต่อไป

ปฐมนิเทศ

  1. สร้างความรู้ความเข้าใจร่วมกันในประเด็น การปฏิบัติตัวระหว่างฝึกงาน การเตรียมตัวหลังจากการฝึกงาน ข้อกำหนดในการฝึกงาน การประเมินผลหลังการฝึกงาน
  2. ชี้แจงขั้นตอนเอกสารการขอฝึกงาน จดหมายขอความอนุเคราะห์รับนักศึกษาเข้าฝึกงาน และ จดหมายขอความอนุเคราะห์ส่งตัวนักศึกษาเข้าฝึกงาน
  3. ให้รุ่นพี่ส่งต่อรุ่นน้อง ด้วยการนำเสนอแต่ละสถานที่ที่ได้เข้าฝึกงาน เพื่อให้รุ่นน้องได้รับรู้ และ ทำความเข้าใจในวัฒนธรรมการปฏิบัติงานที่หลากหลาย และ ยังมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลในการปฏิบัติงาน และ การปฏิบัติตามระเบียบองค์กร
  4. อธิบายวิธีการกรอกข้อมูลของนักศึกษา และ พี่เลี้ยง , การจัดทำรูปเล่มรายงาน รวมถึงแนวคิดการทำโครงการร่วมกับ ผู้ประกอบการ (เฉพาะสหกิจศึกษา)

การปฏิบัติตัวระหว่างการฝึกงาน

  1. ตรงต่อเวลา
  2. มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น
  3. แต่งกายชุดนักศึกษา กรณีใส่เสื้อช็อปต้องผ่านความเห็นชอบจากบริษัทก่อน
  4. การลากิจ ลาป่วย ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับของสถานที่ฝึกงาน
  5. ระมัดระวังในเรื่องการวางตัวและการใช้เครื่องมือสื่อสาร
  6. ไม่ควรต่อรองเรื่องระยะเวลาการฝึกงานหรือ เรียกร้องอภิสิทธิ์ใด ๆ จากสถานที่ฝึกงาน
  7. นักศึกษาควรมีความเชื่อมั่นในตนเอง กล้าคิด กล้าแสดงออกและกล้าตัดสินใจ
  8. ให้ถือเสมือนว่า การฝึกงานก็คือการทำงาน และทำการ ฝึกงานอย่างเต็มกำลังความสามารถ
  9. การไปฝึกงานของนักศึกษา ถือว่าไปในนามตัวแทนของมหาวิทยาลัยและในนามของคณะฯ ต้องไม่กระทำการ ใด ๆ ที่จะทำให้เสื่อมเสียต่อส่วนรวม
  10. ในระหว่างการฝึกงาน หากมีปัญหาเกี่ยวกับงานต้องการคำปรึกษาเชิงวิชาการ นักศึกษาควรติดต่อกลับมายังอาจารย์ประจำภาควิชา แต่ถ้ามีปัญหาเกี่ยวกับการฝึกงานติดต่อเจ้าหน้าที่หน่วยทะเบียนฯ โดยตรง
  11. หากมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นระหว่างการฝึกงานให้ติดต่อคณะฯ หรือมหาวิทยาลัย

การเตรียมตัวหลังจากฝึกงาน

  1. ในระหว่างฝึกงานอยู่ นักศึกษาจะต้องรวบรวมข้อมูลพร้อมทั้งจัดทำรายงานฝึกงานควบคู่ไปด้วยเพื่อทำให้รายงานมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
  2. เมื่อกลับจากการฝึกงาน นักศึกษาต้องส่งเอกสารต่าง ๆดังนี้

– สมุดบันทึกการฝึกงาน

– รายงานฉบับสมบูรณ์

  1. นักศึกษาต้องส่งเอกสารตามข้อ หลังกลับจากฝึกงาน และหลังจากการนำเสนอปากเปล่า และ การนำเสนอหน้าชั้นเรียน

ข้อกำหนดในการฝึกงาน

  1. นักศึกษาทุกภาควิชาจะต้องฝึกงานไม่น้อยกว่าที่ กำหนดในหลักสูตร
  2. ให้ผู้ควบคุมหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายดูแลระหว่างการฝึกงาน เซ็นต์ชื่อรับทราบการปฏิบัติงานทุกสัปดาห์
  3. 3. ไม่อนุญาตให้มีการลงทะเบียนรายวิชาฝึกงานย้อนหลัง

การประเมินผลการฝึกงาน

  1. 1. การประเมินผลเป็นสัญลักษณ์

S = ผ่าน
U =ไม่ผ่าน

  1. 2. การประเมินผลพิจารณาจาก

– รายงานที่นักศึกษานำเสนอ และ จัดทำ
– ใบรายงานของผู้ควบคุมการปฏิบัติงาน

– ข้อมูลจากคณาจารย์ที่ไปนิเทศนักศึกษาฝึกงาน

 

 

 

ตรวจเยี่ยม(นิเทศ)

ภายหลังจากที่นักศึกษาได้เข้าสู่สถานที่ฝึกงานและได้รับการยืนยันเรียบร้อยแล้ว คณะอาจารย์ผู้รับผิดชอบฝึกงานนักศึกษาจะทำการออกนิเทศตามสถานที่ฝึกงานของนักศึกษา โดยจะแจ้งให้ทราบล่วงหน้า เพื่อการเตรียมพร้อมของบุคลากรและผู้ดูแลการฝึกงานรวมทั้งตัวนักศึกษาเอง เพื่อประเมิน ลักษณะของสถานที่ฝึกงานและความเหมาะสมในการฝึกงานตามที่นักศึกษาได้รับมอบหมาย พร้อมรวบรวมข้อมูลการประเมินความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานของนักศึกษา/ผู้ปฏิบัติงานโดยการ

  • ให้คำปรึกษาด้านวิชาการแก่นักศึกษาฝึกงาน
  • ตรวจเยี่ยม ติดตามความก้าวหน้าและปัญหาอุปสรรคในระหว่างการฝึกงาน
  • รายงานปัญหาอุปสรรคแก่อาจารย์ผู้รับผิดชอบการฝึกงาน
  • ประเมินผลการฝึกงานของนักศึกษา และประชุมร่วมกับผู้เกี่ยวข้อง เพื่อหาข้อยุติกรณีที่จำเป็น

ตัวอย่างคำถามสำหรับการนิเทศฝึกงาน

  1. ลักษณะธุรกิจของสถานประกอบการ
  2. พี่เลี้ยงหรือผู้ประสานที่รับผิดชอบชื่ออะไร ดูแลงานไหน ลักษณะงานในแผนกเป็นเช่นไร
  3. นักศึกษาฝึกงานที่แผนกไหน ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานด้านใดบ้าง และตรงสาขาวิชาหรือไม่
  4. มีผู้แดแลนักศึกษา หรือ พี่เลี้ยงหรือไม่
  5. นักศึกษามีความสามารถในการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายอย่างไร
  6. นักศึกษาปฏิบัติตามกฎระเบียบขององค์กรหรือไม่ มีสิ่งใดที่ต้องปรับปรุง
  7. องค์กร ต้องการให้คณะฯ ปรับปรุงประเด็นใดบ้าง เพื่อการจัดส่งนักศึกษาที่มีคุณภาพตรงกับความต้องการมากที่สุด

ปัจฉิมนิเทศ

หลังจากที่นักศึกษากลับจากจากสถานประกอบการ เป็นการประชุมนักศึกษารวมทั้งมหาวิทยาลัย  เพื่อย้ำเตือนให้นักศึกษาเตรียมเอกสารประกอบการรายงานปากเปล่า และ หน้าชั้นเรียน และ ส่งรูปเล่มเรายงาน รวมถึงการส่งเอกสารการประเมินจากผู้ประกอบการ

นำเสนอ

เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์รระหว่างอาจารย์ และ นักศึกษาที่ฝีกงานด้วยกัน รวมถึงเพื่อเป็นการสรุปผลลัพธ์จากการเข้าฝึกงานของตัวนักศึกษา ทางคณะจึงจัดให้มีการนำเสนอรายงาน 3 รูปแบบคือ

  1. นำเสนอปากเปล่า ต่อหน้าอาจารย์ในคณะฯ เพื่อตรวจสอบทัศนคติในการพบปะผู้คน และ ทัศนคติในการทำงาน ของตัวนักศึกษา และ ยังเป็นการเปิดมุมมอง หรือ ทรรศนใหม่ๆ ให้กับอาจารย์ในคณะทุกท่าน เพื่อนำไปใช้ปรับปรุงในการเรียนการสอน
  2. หน้าชั้นเรียน โดยใช้ MS Powerpoint ในการนำเสนอ เพื่อให้นักศึกษาได้รู้จักการเรียบเรียงเพื่อการนำเสนอ เป็นการนำเสนอโดยย่อส่วนจากรูปเล่ม เพื่อให้นักศึกษาได้มีทักษะด้านการย่อยข้อมูล และ ทักษะการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
  3. ส่งรูปเล่ม เพื่อให้นักศึกษาได้รู้จักการเรียบเรียงเป็นภาษาทางการ










































โพสท์ใน คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์ | ติดป้ายกำกับ , , | ใส่ความเห็น

การวางแผนกิจกรรมร่วมกับการบูรณาการการเรียนการสอนในหลักสูตรบริหารธุรกิจ

การวางแผนกิจกรรมร่วมกับการบูรณาการการเรียนการสอนในหลักสูตรบริหารธุรกิจ

อาจารย์ ดรรชกร ศรีไพศาล

หลักการสำตัญในการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อให้การดำเนินภาระกิจของสถาบันบรรลุเป้าประสงค์ และ มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง และ ยังเป็นหลักประกันแก่สาธารณชนให้มั่นใจว่าสถาบันอุดมศึกษาสามารถสร้างผลผลิตทางการศึกษาที่มีคุณภาพ ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของนักศึกษาสอดคล้องกับการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษาจึงต้องมีการวางแผนกิจกรรมร่วมกับการบูรณาการการเรียนการสอนในหลักสูตรบริหารธุรกิจ ให้ใน 1 กิจกรรมมีความสอดคล้องเชื่อมโยงได้หลายข้อ คือ

  1. การส่งเสริมพันธกิจหลัก และ พันธกิจสนับสนุนของการอุดทศึกษาภายใต้ความสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง ว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2553
  2. ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร ระดับคณะ และ ระดับสถาบัน

การวางแผนกิจกรรมของคณะบริหารธุรกิจ จึงมีแนวโน้มโครงการที่ลดจำนวนโครงการลง แต่โครงการที่คงอยู่ทุกโครงการสามารถดำเนินการให้มีความต่อเนื่อง และ สอดรับกับ การส่งเสริมพันธกิจหลัก และ พันธกิจสนับสนุนของการอุดทศึกษาภายใต้ความสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง ว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2553 และ ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร ระดับคณะ และ ระดับสถาบัน

 

โพสท์ใน คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์ | ติดป้ายกำกับ , | ใส่ความเห็น

การวางแผนการประชุมคณะบริหารระหว่างในที่ตั้งและศูนย์เนชั่นบางนา

การวางแผนการประชุมคณะบริหารระหว่างในที่ตั้งและศูนย์เนชั่นบางนา

อาจารย์ดรรชกร  ศรีไพศาล

ทางคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเนชั่น มีการเปิดการเรียนการสอน 2 แห่ง คือ ศูนย์ในทื่ตั้งจังหวัดลำปาง และ ศูนย์นอกที่ตั้งศูนย์เนชั่นบางนา ซึ่งการเปิดการเรียนการสอนพร้อมกัน 2 แห่ง ตามเกณฑ์จากสำนักงานคณะกรรมการการอุดดมศึกษา (สกอ.) ต้องให้การเรียนการสอนทั้ง 2 แห่งมีความเป็นมาตรฐานเดียวกัน ดังนั้นทางคณะบริหารธุรกิจจึงจัดให้มีการประชุมทุกวันศุกร์ต้นเดือน ตั้งแต่เวลา 10.00-12.00 น. เพื่อการรวบรวมข้อมูลในการประชุม และ นำเสนอข้อมูลเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนในการบริหารจัดการหลักสูตรให้ตรงตามคุณภาพ และ มีมาตรฐานเดียวกัน

การประชุมจะมีเลขาเป็นผู้ดำเนินการนัดหมาย ส่งวาระการประชุม และ สรุปรายงานการประชุม เพื่อนำเข้าสู่การประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยให้ทราบต่อไป ซึ่งหัวข้อการประชุม ให้ปรับให้สอดคล้องกับหัวข้อการประกันคุณภาพการศึกษภายใน ระดับอุดมศึกษา ดังนี้

ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องแจ้งเพื่อทราบ

1.1  เรื่องแจ้งเพื่อทราบจากประธาน

1.2 เรื่องแจ้งเพื่อทราบจากหลักสูตร

1.2.1 หลักสูตรบริหารธุรกิจ

1.2.2  หลักสูตรการบัญชีบัณฑิต

1.2.3 หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต

1.2.4 หลักสูตรบริหารธุรกิจ (ศูนย์เนชั่นบางนา)

1.2.5  หลักสูตร MBA. (ศูนย์เนชั่นบางนา)

 

ระเบียบวาระที่ 2  รับรองรายงานการประชุม คณะบริหารธุรกิจ ครั้งที่ 4/2561

 

ระเบียบวาระที่ 3  เรื่องสืบเนื่อง

3.1 งานวิชาการคณะฯ

3.2 การบริหารความเสี่ยง

3.2.1 ความเสี่ยงด้านการรับนักศึกษา

3.2.2 ความเสี่ยงด้านการเงิน

3.2.3 ความเสี่ยงด้านการบริการวิชาการ

3.2.4 ความเสี่ยงด้านงานวิจัย

  • งานประกันคุณภาพการศึกษา ระดับหลักสูตร

3.3.1 กสูตรบริหารธุรกิจ

3.3.2   หลักสูตรการบัญชี

3.3.3   หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต

3.3.4   หลักสูตรบริหารธุรกิจ (ศูนย์เนชั่นบางนา)

 

ระเบียบวาระที่ 4  เรื่องเพื่อพิจารณา

 

ระเบียบวาระที่ 5  เรื่องอื่น

 

 

 

 

 

 

 

 

 

โพสท์ใน คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์ | ติดป้ายกำกับ , | ใส่ความเห็น

การเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาในการลงทะเบียนให้กับนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ

Knowledge Management (KM)

เรื่อง การเป็นอาจารย์ที่ปรึกหาในการลงทะเบียนให้กับนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ

 

อาจารย์ที่ปรึกษา หมายถึง อาจารย์ที่ได้รับมอบหมายจากคณะ เพื่อทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือ ให้คำแนะนำแก่นักศึกษา ทั้งทางด้านการศึกษา วิชาการ วิชาชีพ และวิชาชีวิต ให้คำแนะนำปรึกษาเกี่ยวกับการเรียนอย่างเป็นระบบ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการและเทคโนโลยี เพื่อให้นักศึกษาพัฒนาตนเอง และมีความก้าวหน้า ส่งผลต่อการประสบความสำเร็จในอนาคต อีกทั้งคอยตักเตือนและดูแลความประพฤติ ให้คำปรึกษา และให้กำลังใจเพื่อนักศึกษาพัฒนาตนเป็นคนเก่ง คนดี สามารถใช้ชีวิตอยู่ในมหาวิทยาลัยได้อย่างมีความสุข

 

ข้อปฏิบัติของอาจารย์ที่ปรึกษา ข้อ 5 นักพบ นักศึกษาในความดูแลทั้งหมดก่อนการลงทะเบียนเรียนประจำภาคเพื่อ ให้คำแนะนำชี้แจงเกี่ยวกับการลงทะเบียนเรียน และข้อ 6 ตรวจสอบจำนวนหน่วยกิตที่นักศึกษาลงทะเบียนให้ถูกต้องตามระเบียบ

ที่มา คู่มืออาจารย์ที่ปรึกษา มหาวิทยาลัยโยนก ปีการศึกษา 2533

 

จากการได้รับมอบหมายให้เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาให้กับนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ ได้พบประเด็นต่างๆ ในการลงทะเบียนเรียบของนักศึกษา ที่ขาดความระมัดระวัง ขาดความรอบคอบในการวางแผนการเรียนของตนเอง โดยเลือกลงทะเบียนตามแบที่ทางมหาวิทยาลัยจัดไว้ให้ แต่มิได้คำนึงถึงการแก้เกรดที่ไม่ผ่าน (F หรือ U หรือ W) ซึ่งอาจจะส่งผลให้นักศึกษาที่ดูแลไม่จบการศึกษาตามเกณฑ์

ดังนั้นทางอาจารย์ที่ปรึกษาทุกคนจึงได้มีการประชุมเพื่อกำหนดแนวทางในการให้คำปรึกษาสำหรับการลงทะเบียนเรียนเป็นขั้นตอน  ดังนี้

  1. เรียกประชุมนักศึกษา ก่อนการลงทะเบียนเรียน 1 สัปดาห์ เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจถึงการเรียนการสอนในเทอมต่อไป โดยชี้แจงรายวิชาและ ลักษณะของรายวิชา และ จัดให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการช่วยเหลือกันและกันระหว่างเรียนในภาคการศึกษานั้นๆ
  2. ให้นักศึกษากรอกผลการเรียนในภาคเรียนที่ผ่านมาลงในแบบฟอร์ม เพื่อตรวจสอบสถานะที่แท้จริง ของตัวนักศึกษา ว่าเรียนได้ตรงตามเกณฑ์ หรือ มีสัญลักษณ์ F หรือ U หรือ W ที่ภาคการศึกษาใด ได้ดำเนินการกแก้ไขให้เป็นที่เรียบร้อยแล้วหรือไม้ และสามารถตรวจสอบคะแนนเฉลี่ยของแต่ละภาคการศึกษา และ คะแนนเฉลี่ยรวม เพื่อวางแผนการเรียนต่อไป

  3. อาจารย์ที่ปรึกษาตรวจสอบผลการเรียนรวมของนักศึกษาเป็นรายบุคคล
    1. ถ้าได้เกรดเฉลี่ย 2.00 ขึ้นไป ให้นักศึกษาลงทะเบียนเรียนตามที่มหาวิทยาลัยกำหนดได้ และให้ตรวจสอบ ผลการเรียนที่ผ่านมาต้องไม่มีสัญลักษณ์ F หรือ U หรือ W หากมี ให้พิจารณาลงทะเบียนเพิ่มเติม โดยพิจารณาประกอบเพิ่มเติมคือ หน่วยกิตในภาคการศึกษานั้นต้องไม่เกิน 22 หน่วยกิต ตารางเรียน และตารางสอบไม่ทับซ้อนกัน
    2. ถ้าเกรดเฉลี่ยต่ำกว่า 2.00 ให้พิจารณาความสามารถในการเรียน โดยจะเลือกลงทะเบียนตามที่มหาวิทยาลัยกำหนดก็ได้ หรือ จะต้องลดรายวิชาที่ไม่เหมาะกับนักศึกษา เพื่อให้นักศึกมีเวลาทุ่มเทกับการเรียนอย่างจริงจัง ให้ได้คะแนนดีขึ้น
  4. เมื่อพิจารณาความเหมาะสมในข้อ 3 เรียบร้อยแล้ว ให้นักศึกษาลงทะเบียนเรียนในระบบตามกำหนดเวลา

    a.   เมื่อนักศึกษาดำเนินการลงทะเบียนตามกำหนดเวลา ให้อาจารย์ที่ปรึกษาพิจารณาอนุมัติเป็น
    รายบุคคล
    b.   หากต้องมีการเปลี่ยนแปลงรายวิชาที่ลงทะเบียน ให้อาจารย์ที่ปรึกษากดไม่อนุมัติ และ พิมพ์
    ข้อมูลการปรับแก้ไขเพื่อให้นักศึกษาแก้ไขอีกครั้ง
  5. เมื่ออาจารย์ที่ปรึกษาพิจารณาอนุมัติในระบบเรียบร้อยแล้ว ให้นักศึกษาพิมพ์เอกสารการลง
    ทะเบียนจากระบบ นำส่งอาจารย์ที่ปรึกษาลงนามอนุมัติซ้ำอีกครั้ง และรวบรวมให้หัวหน้าห้องบันทึกใบคุมการส่งเอกสารลงทะเบียนเรียน เพื่อนำส่งงานทะเบียน ในการกรอกใบคุมการส่งเอกสารการลงทะเบียนเรียนเพื่อป้องกันการสูญหายของเอกสาร และ เป็นการ Recheck การลงทะเบียนของนักศึกษาได้ครบทุกคน
โพสท์ใน KM:ด้านการวิจัย, คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์ | ติดป้ายกำกับ | ใส่ความเห็น

การขอใช้สถานที่และการซ่อมบำรุง

การขอใช้สถานที่และการซ่อมบำรุง

1.ทำบันทึกขอใช้สถานที่ผ่าน อ.ธวัชชัย  แสนชมภู

 

การขอใช้สถานที่และการซ่อมบำรุง

 

งานอาคารสถานที่ ตั้งอยู่ ชั้น 1 อาคารบริหารธุรกิจชุมพล  พรประภา มีหน้าที่รับผิดชอบในการดูแลรักษาซ่อมบำรุงอาคาร วัสดุอุปกรณ์ คุรุภัณฑ์ งานสาธารณูปโภค ให้เกิดประโยชน์ในการใช้งานและคุ้มค่า มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ตลอดจนการอำนวยความสะดวกและประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกในการขอใช้สถานที่ของมหาวิทยาลัย เพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การประชุม สัมนา หรือสอบแข่งขันต่าง ๆ

 

  1. ระเบียบปฏิบัติการขออนุญาตใช้อาคารสถานที่
    • การขออนุญาตใช้อาคารสถานที่ ควรแจ้งก่อนล่วงหน้าอย่างน้อย 3  วัน
    • นำบันทึกขออนุญาตใช้อาคารสถานที่ให้หัวหน้าหน่วยงานลงลายมือชื่อรับรอง
    • นำบันทึกขออนุญาตใช้อาคารสถานที่ที่ลงนามผู้ขอใช้แล้วให้ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริหารพิจารณาอนุมัติ
    • นำบันทึกขออนุญาตใช้อาคารสถานที่ส่งให้หัวหน้างานงานอาคารสถานที่
    • งานอาคารสถานที่ประสานงานกับหน่วยงานที่ขออนุญาตใช้อาคารสถานที่
    • เมื่อใช้อาคารสถานที่เรียบร้อยแล้ว งานอาคารสถานที่จะตรวจสอบความเรียบร้อยของสถานที่ทุกครั้ง
  2. ขั้นตอนการปฏิบัติงานซ่อมบำรุง
    • เมื่อได้รับแจ้งการชำรุดมอบหมายให้เจ้าหน้าที่อาคารสถานที่
    • เจ้าหน้าที่อาคารสถานที่ตรวจสอบความชำรุดเสียหายของวัสดุอุปกรณ์ที่แจ้งชำรุด หากแก้ใขได้ทันทีก็แก้ใขให้เสร็จภายใน 1 วัน
    • กรณีที่ต้องจัดซื้อวัสดุหรือซ่อมเองไม่ได้ หัวหน้างานอาคารสถานที่ทำบันทึกขอซื้อวัสดุหรือขอจ้างช่างภายนอกผ่านผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริหาร หัวหน้างานบัญชีการเงินและอธิการบดี
    • เมื่อได้รับอนุมัติแล้วนำเรื่องขออนุมัติผ่าน ntu ทางเมล์
    • หลังจากผ่านการอนุมัติทางเมล์แล้วจึงนำเรื่องขออนุมัติผ่านระบบ workflow อีกครั้งหนึ่ง
    • เมื่อได้รับการอนุมัติในระบบ workflow แล้วนำเอกสารทั้งหมดยื่นที่ฝ่ายการเงินเพื่อขอเบิกเงิน
    • เมื่อดำเนินการแก้ไขซ่อมบำรุงเสร็จแล้ว ให้เข้าระบบ workflow อีกครั้งเพื่อเคลียร์ค่าใช้จ่าย

รายละเอียดคลิกที่นี่

โพสท์ใน งานอาคารสถานที่ | ใส่ความเห็น

การจัดการเนื้อหา Blog มหาวิทยาลัยเนชั่น

คู่มือ “การจัดการเนื้อหา Blog ” มหาวิทยาลัยเนชั่น

http://blog.nation.ac.th
เวิร์ดเพรส 4.9.5 ธีม Twenty Ten
Update 4 เม.ย. 2561

1.ขั้นตอนการสมัครสมาชิก

2.ขั้นตอนการเขียนเนื้อหาใน Blog

3.ขั้นตอนการ Upload รูปภาพหรือวีดีโอ

4.ขั้นตอนการ ใส่ลิงค์วีดีโอจาก YouTube

5.ขั้นตอนการ ใส่ลิงค์ย่อย

หมายเหตุ : กรณีสมัครเสร็จเรียบแล้วระบบไม่ส่ง E-mail ยืนยันการสมัคร กรุณาแจ้งงานเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่ออนุมัติการสมัคร
โทร. 125 หรือ 147

 

โพสท์ใน งานระบบบริการสารสนเทศ | 2 ความเห็น

คู่มือสำหรับการลงทะเบียนเรียน

คู่มือสำหรับการลงทะเบียนเรียน

โพสท์ใน งานทะเบียนและประมวลผล, ทั่วไป | ใส่ความเห็น

รูปแบบการเขียนบทความวิจัย

การเขียนบทความวิจัยมีองค์ประกอบสำคัญอยู่ 3 ส่วนคือ ส่วนนำ ส่วนเนื้อหา และส่วนท้าย ในการเขียนแต่ละส่วน แต่ละประเด็น ผู้เขียนต้องพยายามสรุปเนื้อหาให้ได้เฉพาะส่วนที่สำคัญนำมาร้อยเรียงให้เกิดความเชื่อมโยงและต่อเนื่องกัน ดังนี้
1.ส่วนนำ ประกอบด้วย
1.1 ชื่อเรื่อง สำหรับบทความวิจัยจะใช้ชื่อเรื่องของผลงานวิจัยนั้นเอง
1.2 บทคัดย่อ เป็นการสรุปงานวิจัยโดยครอบคลุมประเด็นความเป็นมาของปัญหาการวิจัย วัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการวิจัย และผลการวิจัยที่ค้นพบ
2.ส่วนเนื้อหา ประกอบด้วย
2.1ความเป็นมาของปัญหาการวิจัย เป็นการนำเสนอให้ผู้อ่านทราบเหตุผลความจำเป็นในการดำเนินการวิจัยเรื่องนั้นๆ
2.2วัตถุประสงค์การวิจัย ในส่วนนี้แหล่งเผยแพร่อาจกำหนดให้เขียนคำถาม และสมมติฐานการวิจัยด้วย
2.3วิธีดำเนินการวิจัย เป็นการนำเสนอรายละเอียดประชากร กลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือในการวิจัย ขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล
2.4การเสนอผลการวิจัยและอภิปรายผล เป็นการเสนอผลการวิจัยเพื่อตอบวัตถุประสงค์การวิจัยแต่ละข้อ
2.5ข้อเสนอแนะจากการวิจัย สำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือสำหรับการวิจัยในครั้งต่อไป
3.ส่วนท้าย
ส่วนท้ายของบทความวิจัยอาจกล่าวถึงประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากงานวิจัยนี้ก็ได้ จากนั้นต่อด้วยบรรณานุกรม

ข้อมูลอ้างอิง
สุมาลี สังข์ศรี. 2560. แนวทางสร้างสรรค์งานวิชาการ. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

โพสท์ใน คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์ | ใส่ความเห็น

แนวปฏิบัติในการทวนสอบผลสัมฤทธิ์

มาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนดใน มคอ.3 และ มคอ.4 อย่างน้อย ร้อยละ 25 ของรายวิชาที่เปิดสอนในแต่ละปีการศึกษา

เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการอุดมศึกษา ประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่องแนวทางการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาตามที่กระทรวงศึกษาธิการได้ออกประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2552 (คณะกรรมการการอุดมศึกษา, 2552) ซึ่งได้กำหนดให้มีการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามแห่งชาติพ.ศ. 2552 และเพื่อเป็นการประกันคุณภาพของบัณฑิตในระดับอุดมศึกษา  คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเนชั่น จึงกำหนดแนวปฏิบัติในการทวนสอบผลสัมฤทธิ์นักศึกษา ดังนี้

  1. แต่งตั้งคณะกรรมการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ในแต่ละปีการศึกษา ประกอบไปด้วย ผู้ที่ได้รับมอบหมายจากคณบดี เป็นประธาน กรรมการหลักสูตรหรืออาจารย์ประจำหลักสูตร และอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกหลักสูตร เป็นกรรมการ
  2. จัดทำคู่มือการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา
  3. ให้หลักสูตรที่เปิดดำเนินการจัดส่งรายชื่อรายวิชาที่เปิดสอนในปีการศึกษานั้นๆโดยแบ่งเป็น ภาคเรียนที่ 1 และภาคเรียนที่ 2 ไปยังคณะกรรมการทวนสอบผลสัมฤทธิ์
  4. คณะกรรมการทวนสอบผลสัมฤทธิ์จะดำเนินการสุ่มรายวิชาอย่างน้อยร้อยละ 25 ของรายวิชา ที่เปิดสอนในแต่ละปีการศึกษาโดยแบ่งการสุ่มเป็นภาคเรียนที่ 1 และภาคเรียนที่ 2 ของแต่ละหลักสูตรเพื่อ ดำเนินการทวนสอบ โดยจะไม่ทำการทวนสอบรายวิชาเดิมที่เคยทวนสอบมาแล้วในปีการศึกษานั้น ๆ และพยายามกระจายการทวนสอบให้ครบทุกรายวิชาในหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่กำหนดของหลักสูตร เมื่อสิ้นสุดภาคการศึกษาคณะกรรมการทวนสอบผลสัมฤทธิ์จะแจ้งรายชื่อรายวิชาที่จะทวนสอบไปยังหลักสูตรเพื่อให้  หลักสูตรประสานงานกับผู้รับผิดชอบรายวิชาในการจัดเตรียมเอกสารต่างๆ

4.1 การดำเนินการทวนสอบผลสัมฤทธิ์นักศึกษา

เมื่อคณะกรรมการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ได้รายวิชาที่จะทำการทวนสอบแล้ว กรรมการจะประสานงานไปเพื่อให้หลักสูตรจัดส่งเอกสารต่าง ๆ มาเพื่อใช้ในการทวนสอบซึ่งประกอบด้วย

  1. รายละเอียดของหลักสูตร หรือ มคอ.2
  2. รายละเอียดของรายวิชาหรือ มคอ.3
  3. รายงานผลการดำเนินการของรายวิชาหรือ มคอ.5
  4. ชิ้นงานที่รายวิชาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา ได้แก่รายงาน ข้อสอบ บทความวิชาการ
  5. เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ในแต่ละด้าน

4.2 วิธีการทวนสอบ

คณะกรรมการทวนสอบผลสัมฤทธิ์อาจเลือกใช้วิธีการทวนสอบต่าง ๆ คือ การทวนสอบจากเอกสารต่าง ๆ การทวนสอบโดยการสัมภาษณ์อาจารย์ผู้สอน การทวนสอบโดยการสัมภาษณ์นักศึกษา ซึ่งโดยปกติจะทวนสอบจากเอกสารต่าง ๆ ก่อน ถ้าต้องการข้อมูลเพิ่มเติมอาจเลือกใช้การสัมภาษณ์อาจารย์ผู้สอนหรือนักศึกษา เพื่อค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสม

4.3 กระบวนการทวนสอบผลสัมฤทธิ์

ในการทวนสอบคณะกรรมการทวนสอบผลสัมฤทธิ์จะดำเนินการทวนสอบโดยใช้แนวทางดังนี้คือ

4.3.1 การวิเคราะห์ความสอดคล้องของรายวิชา (มคอ.3 หมวดที่ 2 จุดมุ่งหมายของรายวิชา หรือ หมวดที่ 4 การพัฒนาผลการเรียนรู้รายวิชา หรือ หมวดที่ 5 แผนการสอนและการประเมินผล) กับหลักสูตร (มคอ.2 หมวดที่ 4 ผลการเรียนรู้ กลยุทธ์การสอนและการประเมินผล และ curriculum mapping) เพื่อประเมินว่ารายวิชาได้ดำเนินการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนครอบคลุม ครบถ้วน และตรงตามที่หลักสูตรกำหนดหรือไม่ รวมถึงความสอดคล้องของแต่ละหมวดที่เกี่ยวข้องกับผลการเรียนรู้ กลยุทธ์การสอนและการประเมินผลในรายวิชา

4.3.2 การประเมินผลการเรียนรู้ของรายวิชาในด้านต่างๆ และผลการประเมินผลการเรียนรู้ของรายวิชาด้านต่างๆสอดคล้องกับผลการเรียนรู้หรือวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนด ความเหมาะสมของรูปแบบวิธีการสอนกับวิธีการประเมินผล และข้อคิดเห็น

4.3.3 คณะกรรมการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ทำการสรุปผลการทวนสอบในภาพรวมของรายวิชา และข้อเสนอแนะในภาพรวมที่ได้จากการทวนสอบรายวิชา

4.4.4 คณะกรรมการทวนสอบผลสัมฤทธิ์จัดทำรายงานการทวนสอบผลสัมฤทธิ์นักศึกษา เพื่อส่งให้กรรมการบริหารหลักสูตร และคณะกรรมการบริหารคณะเพื่อดำเนินการวางแผนการพัฒนา และปรับปรุงหลักสูตรต่อไป

รายงานการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้รายวิชาจะประกอบด้วยส่วนต่าง คือ

  1. บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
  2. รายวิชาในแผนการศึกษาในหลักสูตรและรายวิชาที่ทวนสอบผลสัมฤทธิ์
  3. การกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา
  4. ผลการทวนสอบแต่ละรายวิชา (ตามจำนวนรายวิชาที่ทวนสอบ)
  5. สรุปผลการทวนสอบรายวิชาของหลักสูตร
  6. ภาคผนวก : คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการทวนสอบผลสัมฤทธิ์
  7. หลังจากรับทราบผลการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้รายวิชา

5.1.1 อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชานำข้อมูล/ผลการทวนสอบผลสัมฤทธิ์มารายงานไว้ใน มคอ.5 หมวดที่ 3 สรุปผลการจัดการเรียนการสอนของรายวิชา ข้อ 7 การทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา

5.1.2 อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรหรืออาจารย์ประจำหลักสูตรนำรายงานผลการทวนสอบผลสัมฤทธิ์เป็นเอกสารหลักฐานในการประเมินคุณภาพหลักสูตรใน มคอ.7 หมวดที่ 6 สรุปการประเมินหลักสูตร ข้อ 3 การประเมินคุณภาพหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิฯ ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงานข้อที่ 6 “มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ใน มคอ.3 และ มคอ.4 (ถ้ามี) อย่างน้อยร้อยละ 25 ของรายวิชาที่เปิดสอนในแต่ละปีการศึกษา”

5.1.3 อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรหรืออาจารย์ประจำหลักสูตรนำรายงานผลการทวนสอบผลสัมฤทธิ์รายวิชาไปให้ข้อเสนอในการพัฒนาหลักสูตร ในหมวดที่ 9 แผนการดำเนินการเพื่อพัฒนาหลักสูตร ข้อ 2 ข้อเสนอในการพัฒนาหลักสูตร

5.1.4 คณะกรรมการบริหารคณะนำผลการทวนสอบไปทบทวนเพื่อนำไปสู่การกำหนดนโยบายการปรับปรุงหลักสูตรต่อไป

ตารางสรุปการดำเนินการทวนสอบผลสัมฤทธิ์

ผู้รับผิดชอบ กิจกรรม ผลที่ได้ ช่วงเวลา
คณบดี แต่งตั้งคณะกรรมการ            ทวนสอบผลสัมฤทธิ์ คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ ก่อนเปิดภาคการศึกษา
คณะกรรมการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ 1.ประชุมและจัดทำคู่มือการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ คู่มือการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ ก่อนเปิดภาคการศึกษา
2.ประชุมและเตรียมการทวนสอบผลสัมฤทธิ์

-หลักสูตรส่งรายวิชาที่เปิดสอน

-สุ่มรายวิชาร้อยละ 25

-แจ้งรายวิชาและขอเอกสาร

แผนการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ ก่อนเปิดภาคการศึกษา
3.ดำเนินการทวนสอบผลสัมฤทธิ์

-สรุปรูปแบบการทวนสอบฯ

-ปฏิบัติการทวนสอบฯ

-สรุปผลการทวนสอบฯ

-เขียนรายงานผลการทวนสอบฯ

รายงานผลการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ สิ้นสุดภาคการศึกษา
4.รายงานผลการทวนสอบ

-ต่อผู้รับผิดชอบรายวิชา

-ต่อผู้รับผิดชอบหลักสูตร

-ต่อคณะกรรมการบริหารคณะ

รายงานผลการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ สิ้นสุดภาคการศึกษา
คณะกรรมการบริหารคณะ ประชุมและสะท้อนผลเพื่อการปรับปรุง ผลการประชุมและข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง สิ้นสุดภาคการศึกษา
โพสท์ใน ทั่วไป | ใส่ความเห็น

กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

จากนิยามของการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งเป็นแนวการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนสร้างความรู้ โดยการใช้กระบวนการทางปัญญา(กระบวนการคิด) กระบวนการทางสังคม (กระบวนการกลุ่ม) และให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์และมีส่วนร่วมในการเรียนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้ โดยผู้สอนมีบทบาทเป็นผู้อำนวยความสะดวกจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้ผู้เรียน การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญต้องจัดให้สอดคล้องกับความสนใจ ความสามารถและความถนัดเน้นการบูรณาการความรู้ในศาสตร์สาขาต่างๆ ใช้หลากหลายวิธีการสอนหลากหลายแหล่งความรู้สามารถพัฒนาปัญญาอย่างหลากหลายคือ พหุปัญญา รวมทั้งเน้นการวัดผลอย่างหลากหลายวิธี (พิมพันธ์ เดชะคุปต์, 2554)

วิธีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
1.การจัดการเรียนการสอน ให้ผู้เรียนมีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้เรียนรู้ โดยพยายามจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้สร้างความรู้ ได้มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคล สื่อ และสิ่งแวดล้อมต่างๆ โดยใช้กระบวนการต่างๆ เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้และผู้เรียนมีโอกาสนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์อื่น ผู้สอนจึงต้องมีหน้าที่เตรียมจัดสถานการณ์และกิจกรรมต่างๆ นำทางไปสู่ การเรียนรู้ โดยไม่ใช้วิธีบอกความรู้โดยตรง
2.การจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนทำงานร่วมกับคนอื่น ด้วยการใช้การสอนโดยให้ผู้เรียนเรียนรู้ร่วมกัน(Cooperative Learning) เป็นการจัดการเรียนการสอนที่แบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มย่อยๆ กลุ่มละ 4-5 คน โดย สมาชิกในกลุ่มมีระดับความสามารถแตกต่างกัน สมาชิกทุกคนมีบทบาทหน้าที่ร่วมกันในการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย วิธีการแบบนี้ผู้เรียนจะมีโอกาสสร้างปฏิสัมพันธ์ร่วมกันในเชิงบวก รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายจากกลุ่ม เพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมและได้ใช้กระบวนการกลุ่มในการทำงานเพื่อสร้างความรู้ให้กับตนเอง

การติดตามผลลัพธ์การเรียนรู้ผ่านกระบวนการจัดการเรียนการสอน
ตัวบ่งชี้ผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษา
1.นักศึกษาทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกลุ่ม แสดงความคิดเห็นในการนำเสนอ อภิปรายอย่างมีเหตุผล
2.นักศึกษาได้ฝึกค้นคว้า รวบรวม วิเคราะห์ และ สังเคราะห์ ข้อมูล จากรายงานที่ได้รับมอบหมาย
3.นักศึกษาได้ฝึกตนเองให้มีวินัย และ รับผิดชอบในการทำงาน

ข้อมูลอ้างอิง
พิมพันธ์ เดชะคุปต์.2554.ทักษะ5Cเพื่อการเรียนรู้และการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ. พิมพ์ครั้งที่ 6,กรุงเทพฯ,สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โพสท์ใน การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ, คณะนิเทศศาสตร์, คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์ | ใส่ความเห็น