อบรมการทำ blog.nation.ac.th

อบรมการทำ blog.nation.ac.th 

10 มิ.ย 59

13438882_1039568759457905_8060246719931741405_n

13319773_1039568786124569_4821894144856073719_n

โพสท์ใน ทั่วไป | ติดป้ายกำกับ | 1 ความเห็น

แนะนำ – พิมพ์พธู

พิมพ์พธู พินทุเสนีย์ Chrysanthemum

ปัจจุบัน เป็นอาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์

เริ่มการสอนอย่างจริงจังหลังจากเป็นอาจารย์พิเศษและอาจารย์ที่ปรึกษาอยู่หลายที่

บรรยากาศในการเรียนการสอนของที่นี่เป็นไปอย่างขลุกขลักบ้างในช่วงต้น

อาจจะเป็นเพราะกำลังผสมผสานระหว่างวิชาชีพกับวิชาการ ทั้งเรื่องภาษา และ ความคาดหวัง

แต่ในที่สุดก็เริ่มจะผ่านไปด้วยดีหลังจากการสอบกลางภาคผ่านไป เริ่มเข้าใจเด็กๆมากขึ้น

ให้อภัยเด็กมากขึ้น จนกระทั่งผ่านฤดูการสอบปลายภาคของเทอม 1 ผ่านไปได้ด้วยดี

ทั่งเด็กและอาจารย์

โพสท์ใน ทั่วไป | ติดป้ายกำกับ | ใส่ความเห็น

การประชุมถอดบทเรียนจากการจัดการความรู้

ในวันศุกร์ ที่ 27 พฤษภาคม 2559 ที่ผ่านมา ทางมหาวิทยาลัยเนชั่นได้จัดการประชุมทางไกลผ่าน VDO Conference ระหว่างศูนย์ลำปางและบางนาขึ้น ในหัวข้อเรื่อง “การประชุมถอดบทเรียนจากการจัดการความรู้” 

เป็นการสรุปผลการจัดการความรู้ตลอดทั้งปีของแต่ละคณะและสำนัก ว่าเป้าหมายที่เกิดขึ้นในปีนี้สำเร็จมากน้อยเพียงใด หรือเกิดปัญหาอะไร และมีดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างไร

บรรยากาศการประชุมถอดบทเรียนจากการจัดการความรู้ L ศูนย์ บางนา

บรรยากาศการประชุมถอดบทเรียนจากการจัดการความรู้ ศูนย์ บางนา

 

บรรยากาศการประชุมถอดบทเรียนจากการจัดการความรู้

บรรยากาศการประชุมถอดบทเรียนจากการจัดการความรู้ศูนย์ ลำปาง

https://www.facebook.com/media/set/?set=oa.1171768656196148&type=1

 

 

โพสท์ใน คณะนิเทศศาสตร์, คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์, คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ, งานระบบบริการสารสนเทศ | ติดป้ายกำกับ , , | ใส่ความเห็น

บทความ การจัดการตนเอง สู่สังคมสุขภาวะของชุมชนบ้านไร่ศิลาทอง กรณีศึกษา ห้วยผาดั้น ต.พิชัย อ.เมือง จ.ลำปาง

การจัดการตนเอง สู่สังคมสุขภาวะของชุมชนบ้านไร่ศิลาทอง

การจัดการตนเอง สู่สังคมสุขภาวะของชุมชนบ้านไร่ศิลาทอง

มีโอกาสได้อ่านบทความวิชาการเรื่อง “การจัดการตนเอง สู่สังคมสุขภาวะของชุมชนบ้านไร่ศิลาทอง
กรณีศึกษา ห้วยผาดั้น ต.พิชัย อ.เมือง จ.ลำปาง” เขียนโดย
ดวงใจ พุทธวงศ์ กาญจนา ภาสุรพันธ์ นงนุช สุวิทย์วงศ์  ศิริพร ปัญญาเสน
ลงใน proceeding
การประชุมวิชาการ “ยกระดับความรู้สู่การพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ
เพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม” ภาคเหนือ ปี 2559
(Knowledge Enhancing Towards better PHPP)
[วัตถุประสงค์]
เพื่อศึกษากระบวนการจัดการ ผลผลิต ผลลัพธ์ ผลกระทบ
และเงื่อนไขของความสำเร็จ ของการจัดการตนเองสู่สังคมสุขภาวะของชุมชนบ้านไร่ศิลาทอง
[ผลการศึกษา]
ชุมชนบ้านไร่ศิลาทองได้ใช้กระบวนการสมัชชาเพื่อสุขภาพเป็นเครื่องมือในการดำเนินงาน
โดยยึดหลัก “สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา” ทำให้เกิดกลไกและกระบวนการทำงานที่เสริมพลัง (Synergy)
ซึ่งกันและกัน และใช้เวทีประชาคมหมู่บ้านเป็นพื้นที่สาธารณะ สำหรับให้คนในชุมชน และหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้องได้ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยน เรียนรู้ ค้นหาปัญหา และหาทางออกร่วมกันอย่างสมานฉันท์
อันนำไปสู่ข้อตกลงร่วมกัน ที่เรียกว่า “กติกาห้วยผาดั้นบ้านไร่ศิลาทอง”
และประกาศเป็นนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพของชุมชน
[ผลผลิตของการจัดการตนเองสู่สังคมสุขภาวะ]
– เกิดการนำกระบวนการสมัชชาสุขภาพใช้เป็นเครื่องมือ อันนำไปสู่กติกาห้วยผาดั้น
– เกิด แผนที่ทำมือป่าห้วยผาดั้น
– เกิด กติกาห้วยผาดั้นบ้านไร่ศิลาทอง
– เกิดนโยบายสาธารณะประเด็นการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม
– เกิดกองทุนภัยพิบัติบ้านไร่ศิลาทอง
– เกิดศูนย์เรียนรู้สิ่งแวดล้อมในป่าห้วยผาดั้น และหอเฝ้าระวังป่า
รายละเอียดอ่านเพิ่มเติมในบทความที่
https://www.facebook.com/groups/thaiebook/634910379993117/

 

พักทานข้าวเที่ยงป่าเปียงในห้วยผาดั้น

พักทานข้าวเที่ยงป่าเปียงในห้วยผาดั้น

พักทานข้าวเที่ยงป่าเปียงในห้วยผาดั้น บ้านไร่ศิลาทอง ต.พิชัย อ.เมือง จ.ลำปาง
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1479825548924076&id=100006899357396

โพสท์ใน ทั่วไป | ติดป้ายกำกับ , | ใส่ความเห็น

นักศึกษานิเทศศาสตร์ เข้ารอบ 34 คนสุดท้าย นางสาวไทย

ณธิดา ขลุ่ยภิรมย์รัตน์ เข้ารอบนางสาวไทย 2559

ณธิดา ขลุ่ยภิรมย์รัตน์ เข้ารอบนางสาวไทย 2559

https://www.facebook.com/nathida.kluiphiromrat
ทุก ๆ  ปีจะมีการประกวดนางสาวไทย ในประเทศไทย
http://www.missthailandofficial.com/
แล้วปีนี้นักศึกษาที่มหาวิทยาลัยเนชั่น
ที่ได้เข้ารอบ 34 คนสุดท้าย คือ
น้องแตงกวา นางสาวณธิดา ขลุ่ยภิรมย์รัตน์ (Nathida Kluiphiromrat)
นักศึกษานิเทศศาสตร์ ชั้นปีที่ 2
มหาวิทยาลัยเนชั่น ศูนย์เนชั่นบางนา

เชิญชวนชาวเนชั่น ให้กำลังใจในการประกวดนางสาวไทยปีนี้


เมื่อมีนาคม 2015 น้องแตงกว่าเข้ารอบ 25 คนสุดท้าย
ของการประกวด Miss Motor Show Thailand
https://www.facebook.com/MissMotorshowThailand/photos/t.100000432666727/789338437782795/

ณธิดา ขลุ่ยภิรมย์รัตน์

ณธิดา ขลุ่ยภิรมย์รัตน์

เข้ารอบนางสาวไทย 34 คนสุดท้าย
การประกวด นางสาวไทย 2559
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1195076070516804&set=a.385463871478032.97213.100000432666727

Nathida Kluiphiromrat ใน Missthailand2016

Nathida Kluiphiromrat ใน Missthailand2016

Nathida Kluiphiromrat ใน Missthailand2016

https://www.facebook.com/missthailandofficial/photos/a.275202056163519.1073741846.255567001460358/275202216163503/

โพสท์ใน คณะนิเทศศาสตร์ | ติดป้ายกำกับ | ใส่ความเห็น

อ.ภาคภูมิ เรืองสิร์กุล อาจารย์พิเศษคณะนิเทศศาสตร์ เปิดแกลอรี่ภาพถ่าย

อดิศักดิ์ จำปางทอง ในลำปางฉายแวว

อดิศักดิ์ จำปางทอง ในลำปางฉายแวว

มองเห็นเป็นโอกาสของนักศึกษานิเทศศาสตร์ เพราะ อ.อดิศักดิ์ จำปาทอง แชร์ข่าวเปิดแกลอรี่ในกลุ่มเฟสเมื่อ 24 พ.ค.59 ว่า เชิญชวนชาวลำปางชื่นชมผลงาน ด้านความคิดสร้างสรรค์และงานศิลป์ ได้ไปชมงาน “ลำปางฉายแวว Art & Creative Zone” ซึ่งประกอบด้วยงาน Photo & Arts Gallery งาน Exhibition + กิจกรรม + Work shop และผลงานสาระนิพนธ์ของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 สลับหมุนเวียนทุกสถาบัน ตลอดระยะเวลา 6 เดือน ณ ห้อง 318 ชั้น 3 เซ็นทรัลพลาซ่า ลำปาง .. เริ่มแล้ววันนี้!
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1141134959241263&set=gm.1153967784669090

ข้อความข้างต้น
ทำให้ผมพบว่า อ.อดิศักดิ์ จำปาทอง ท่านไปเยี่ยมชมแกลอรี่ภาพถ่าย “ลำปางฉายแวว” มาแล้ว ที่เปิดโดย อ.ภาคภูมิ เรืองสิร์กุล (เต๋) อาจารย์และวิทยากรพิเศษที่มหาวิทยาลัยเนชั่น มีผลงานหลากหลายของศิลปินมากมาย ที่ยินดีรับผลงานของทุกสถาบัน ทั้งภาพถ่าย ภาพวาดสีน้ำมัน ภาพวาดสีอะคริลิค
แล้วผมก็ชอบชมอะไรสวย ๆ งาม ๆ ที่เป็นงานสร้างสรรค์ (Art & Creative)
แล้ว 29 พ.ค.59 ช่วงบ่ายแก่มากแล้ว ผมก็มีโอกาส เข้าไปชมแกลอรี่ที่สามารถรับชมได้ฟรี (Free Gallery) ตั้งอยู่บริเวณชั้น 3 ของเซ็นทรัลพลาซ่าลำปาง ชื่อห้อง “ลำปางฉายแวว”

อ.ภาคภูมิ เรืองสิร์กุล (เต๋)

อ.ภาคภูมิ เรืองสิร์กุล (เต๋)

รอบนี้ไปถ่ายภาพสวย ๆ ได้ถ่ายภาพมา 9 ใบ

อ.ภาคภูมิ เรืองสิร์กุล
http://thaiabc.com/lampangnet/admin/1981/

ผลงานกลุ่มซบแมวเซา
http://thaiabc.com/lampangnet/admin/1969/

@ลำปางฉายแวว
https://www.facebook.com/ลำปางฉายแวว-236748973363605/

@LmapangShineVAW
https://www.facebook.com/LampangShineVAW/

โพสท์ใน คณะนิเทศศาสตร์, ทั่วไป | ติดป้ายกำกับ | ใส่ความเห็น

การขอตำแหน่งทางวิชาการด้วยงานสร้างสรรค์(ภาพถ่าย)

การขอตำแหน่งทางวิชาการด้วยงานสร้างสรรค์(ภาพถ่าย)

ภาพถ่ายในฐานะผลงานทางวิชาการในที่นี้จะเป็นลักษณะภาพถ่ายที่เป็น ๑.ภาพเคลื่อนไหว ๒.ภาพนิ่ง

ในที่นี้เราจะขอเน้นการขอผลงานทางวิชาการภาพถ่ายที่เป็นภาพนิ่ง ซึ่งภาพถ่ายนั้นๆ จะต้องประกอบไปด้วยองค์ประกอบหลักๆดังนี้คือ

๑.ภาพถ่ายจะต้องครอบคลุมผลงานด้านศิลปะทางการถ่ายภาพ มีการจัดองค์ประกอบภาพที่ดี

๒.ต้องประกอบด้วยกระบวนการทางวิชาการ มีบทวิเคราะห์ที่อธิบายหรือเสริมสร้างองค์ความรู้ หรือวิธีการที่จะเป็นประโยชน์ในสาขาวิชา มีความก้าวหน้าทางวิชาการความรู้ใหม่ในสาขาวิชานั้นๆ

๓.มีการเผยแพร่นิทรรศการที่มีการกลั่นกรองจากผู้ทรงคุณวุฒิ (ภาพถ่ายที่ได้รับการคัดเลือกให้จัดแสดง)

จากข้อที่ ๓. ภาพที่ผ่านการจัดนิทรรศการ ย่อมมีผู้ทรงคุณวุฒิในด้านนั้นๆได้รับความเห็นชอบและผ่านสายตา ภาพนั้นๆจึงเป็นภาพที่เหมาะแก่การนำมาขอตำแหน่งทางวิชาการ เพราะว่า เป็นภาพที่เกิดจากกระบวนการสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบ  มีศักยภาพในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ ซึ่งอาจจะเป็นด้านเทคนิค แนวคิด หรือการประกอบสร้างความหมาย และสิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของภาพถ่ายที่เหมาะแก่การนำมาขอตำแหน่งทางวิชาการ คือ ภาพถ่ายที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตน(Style)

ในด้านส่วนประกอบงานเขียนสำหรับภาพถ่ายนั้นๆ เพื่อการนำมาขอตำแหน่งทางวิชาการ ควรจะมี

๑.ที่มาของแนวคิด หรือแรงบันดาลใจ

๒.แนวคิดที่เกี่ยวข้อง

๓.กระบวนการสร้างสรรค์

๔.องค์ความรู้ที่ได้รับ

สำหรับจุดเริ่มต้นแห่งแรงบันดาลใจอาจจะเกิดได้จากปัจจัยดังต่อไปนี้ เช่น

พฤติกรรมของผู้คน (เช่น พฤติกรรมของคนที่ชอบถ่ายเซลฟี่ตัวเอง)

สิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการสร้างสรรค์(ฉากหลังต่างๆ ที่เราถ่ายภาพ)

สังคม การเมือง วัฒนธรรม

สุนทรียภาพ

อุดมการณ์ ความเชื่อ

สรุปโดยย่อในการขอตำแหน่งทางวิชาการด้วยงานสร้างสรรค์ (ภาพถ่าย) ให้เราเตรียมพร้อมในสิ่งต่อไปนี้

๑.ที่มาของแรงบันดาลใจ (กระบวนการสื่อสารของภาพถ่าย)

๒.การทบทวนวรรณกรรม (การจัดองค์ประกอบภาพ, ทฤษฎีสี, แนวคิดการสื่อความหมายด้วยภาพ, การศึกษาเชิงสัญวิทยา)

๓.กระบวนการสร้างสรรค์ (เช่น การสำรวจสถานที่, การวางแผนการถ่าย, กระบวนการถ่ายภาพ)

๔.มีผลงานสร้างสรรค์ (ภาพที่จะใช้จัดแสดง)

๕.สรุปผลงาน (สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ องค์ความรู้ใหม่ที่ได้รับ, เทคนิคหรือเนื้อหาใหม่ๆในการสร้างสรรค์ผลงาน)

๖.มีการเผยแพร่ผลงาน (มีภาพที่จัดแสดงในนิทรรศการต่างๆทั้งระดับประเทศ หรือ นานาชาติ ก็ได้)

๗.ผู้คัดเลือกผลงาน (ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขานั้นๆ)

 

อ.สิทธิโชค  โควาบุญพิทักษ์

โพสท์ใน คณะนิเทศศาสตร์, แนวทางการผลิตงานวิจัยเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ | ติดป้ายกำกับ | ใส่ความเห็น

ขั้นตอนการขอหนังสือรับรองการศึกษาและใบรายงานผลการศึกษา

transcript & certification

transcript & certification

ถึง ศิษย์เก่าโยนก ศิษย์เก่าเนชั่น และบัณฑิตใหม่เนชั่นที่กำลังจะสำเร็จการศึกษา
ว่าท่านใดต้องการ หนังสือรับรองการศึกษา (Certification)
หรือ ใบรายงานผลการศึกษา (Transcript)
สามารถติดต่อขอเอกสารได้ที่งานทะเบียนและประมวลผล มหาวิทยาลัยเนชั่น

ขั้นตอนการขอหนังสือรับรองการศึกษา หรือ ใบรายงานผลการศึกษา
1. โทรสอบถามรายละเอียด
ลำปาง โทร. 054265170 ต่อ 130 หรือ 131
ศูนย์บางนา โทร.02-3383757
2. ไปถ่ายภาพที่ร้านยิ้มหวาน หรือร้านเลเซอร์ติดโรงเรียนอรุโณทัย
มีชุดครุยของมหาวิทยาลัยเนชั่น ให้ยืม เพื่อนำรูปมาติดเอกสาร
– หนังสือรับรองการศึกษา ใช้รูปถ่ายขนาด 2 นิ้ว ต่อเอกสาร 1 ฉบับ
– ใบรายงานผลการศึกษา ใช้รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว ต่อเอกสาร 1 ฉบับ
3. มาทำยื่นคำร้องของเอกสารที่มหาวิทยาลัย หรือส่งเอกสารทางไปรษณีย์
ค่าธรรมเนียบฉบับละ 100 บาท
เท่ากันทั้งหนังสือรับรองการศึกษา และ ใบรายงานผลการศึกษา
4. รอเจ้าหน้าที่ดำเนินการ 3 วัน
5. ติดต่อรับเอกสารด้วยตนเอง หรือประสานส่งทางไปรษณีย์

 

ศูนย์บางนา

ศูนย์บางนา

โพสท์ใน งานประชาสัมพันธ์ รับนักศึกษา | ติดป้ายกำกับ , | ใส่ความเห็น

การเปลี่ยนระบบในการตรวจกระดาษคำตอบ NTU English Progress Test

KM ศูนย์เนชั่นบางนา

เรื่อง การเปลี่ยนระบบในการตรวจกระดาษคำตอบ NTU English Progress Test

จากการที่ศูนย์เนชั่นบางนามีนโยบายให้มีการปรับระบบในการตรวจข้อสอบ  NTU English Progress Test ใหม่ เพื่อให้มีความสะดวก รวดเร็ว แม่นยำ ลดภาระงานและค่าใช้จ่าย และเพื่อให้สอดคล้องกับจำนวนนักศึกษาที่เพิ่มมากขึ้น ดังนั้น ดิฉัน จึงได้เปลี่ยนวิธีการจากการตรวจด้วยมือ เป็นการตรวจด้วยเครื่องสแกนแทน และทำการออกแบบกระดาษข้อสอบขึ้นมาใหม่

โดยดิฉันขอสรุปขั้นตอนสั้นๆและข้อแนะนำดังนี้

  1. โปรแกรมที่ใช้มีดังนี้ Form Scanner, XnConvert, GhostScript, Excel
  2. นำกระดาษคำตอบที่ได้เข้าเครื่องแสกน ให้บันทึกไฟลล์ในรูปแบบตระกูล .JPEG หากบันทึกเป็น .PDF ไฟลล์ให้นำมา convert กับโปรแกรม XnConvert ก่อน
  3. นำไฟลล์ภาพมา convert กับโปรแกรม Form Scanner และ export ออกมาเป็น Excel ไฟลล์
  4. สร้างสูตรและเฉลยใน Excel อีกไฟลล์ และนำคำตอบที่ export มาจากโปรแกรม Form Scanner มาวางลงในไฟลล์เฉลย จากนั้นทำการค้นหาคำตอบที่ถูกต้อง และบันทึกผล

ข้อแนะนำในการใช้กระดาษคำตอบเพื่อตรวจด้วยเครื่องสแกน

  1. ผู้เข้าสอบเขียนรายละเอียดทุกส่วนในกระดาษคำตอบ
  2. ผู้เข้าสอบและกรรมการคุมสอบไม่ขีดเขียนสิ่งอื่นใดนอกจากที่ระบุ ลงในกระดาษคำตอบ,ให้ปั๊มเลขที่นั่งสอบภายในกรอกที่กำหนดให้
  3. หากจำเป็นต้องมีการเซ็นต์กำกับการขาดสอบของนักศึกษาในกระดาษคำตอบ ห้ามไม่ให้ลายเซ็นต์เลยออกนอกกรอบของกระดาษคำตอบที่กำหนด
  4. แนะนำให้ใช้ปากกาลูกลื่นสีดำ เท่านั้นในการทำข้อสอบ
  5. ระบายวงกลมทุกวงที่ต้องการ (รหัสนักศึกษา, คำตอบทุกข้อ) ให้ดำเต็มวง
  6. ถ้าต้องการแก้ไข ให้ใช้หมึกลบคำผิดลบให้สะอาดก่อน จึงระบายวงใหม่ (ในหนึ่งข้อ ระบายได้เพียง 1 วงกลมเท่านั้น)

 

อ.ฑิเตชา พรมสุ (อ.กี้)

โพสท์ใน KM:ด้านการผลิตบัณฑิต | ติดป้ายกำกับ | ใส่ความเห็น

การกรอกเกรดลงระบบฐานข้อมูลงานทะเบียน

KM 

เรื่อง การกรอกเกรดลงระบบฐานข้อมูลงานทะเบียน http://register.nation.ac.th/nationu/login.php

27 พฤษภาคม 59

จากการที่ศูนย์เนชั่นบางนามีนโยบายให้อาจารย์แต่ละท่านเป็นผู้กรอกเกรดลงระบบฐานข้อมูลงานทะเบียน แทนการส่งเกรดในระบบเดิม จนถึงปัจจุบันศูนย์เนชั่นบางนาได้ใช้ระบบการกรอกเกรดเป็นเวลากว่า 2 ปี เราพบปัญหาว่าทุกครั้งที่มีการกรอกเกรดลงระบบอาจารย์ที่เพิ่งเข้ามาใหม่จะไม่ทราบว่าจะต้องทำอย่างไร จึงสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ในการกรอกเกรดได้

โดยดิฉันขอสรุปขั้นตอนดังนี้

  1. อาจารย์ประจำวิชาจัดทำเกรดของนักศึกษาให้เป็นไปตาม มคอ. ว่าในรายวิชานี้มีการตัดเกรดแบบใด อิงเกณฑ์ อิงกลุ่ม โดยเป็นไปตาม เกณฑ์การวัดประเมินผลการเรียน (การตัดเกรด) มหาวิทยาลัยเนชั่น เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2555
  2. อาจารย์ประจำวิชาเข้าร่วมการประชุมพิจารณาเกรด โดยที่ศูนย์เนชั่นบางนาแยกออกเป็น การตัดเกรด กลุ่ม GE คณะนิเทศศาสตร์ และคณะบริหารธุรกิจ โดยวิธีการประชุมพิจารณาเกรดจะไม่กล่าวถึงในที่นี้
  3. อาจารย์ประจำวิชานำเสนอว่า ตนเองตัดเกรดนักศึกษาแบบใด เป็นไปตาม มคอ.อย่างไร เมื่อที่ประชุมมีมติอย่างไร ก็จะเริ่มกระบวนการกรอกเกรดลงระบบฐานข้อมูลงานทะเบียน
  4. เมื่ออาจารย์กรอกเกรดเรียบร้อย พริ้นรายงานเกรดส่งคณะวิชา เพื่อส่งต่อให้งานทะเบียนส่งเกรดให้กับทางลำปางต่อไป

วิธีการกรอกเกรดลงระบบฐานข้อมูลงานทะเบียน

  1. เข้าไปในระบบ เลือกบันทึกผลการเรียนรายวิชา เลือกวิชาที่จะกรอก คลิ๊ก กรอกเกรด ไอคอน ดินสอ เพื่อกรอกเกรดนักศึกษารายบุคคล ใส่คะแนน และเลือกเกรดของนักศึกษา ระบบจะบันทึกอัตโนมัติ
  2. ออกจากหน้ากรอกเกรด Download file Excel 1 รายชื่อนักศึกษาเป็นภาษาไทย 2 รายชื่อนักศึกษาเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งเมื่ออาจารย์กรอกเกรดนักศึกษาแล้ว ไฟล์นี้จะมีเกรดนักศึกษาแล้ว
  3. อาจารย์กรอกคะแนนดิบลงในไฟล์ Excel โดยอาจจะ copy & paste มาจากไฟล์คะแนนของอาจารย์ได้ ซึ่งจะต้อง save ไฟล์ในรูปแบบ Excel workbook ระบบจะ Save file ในรูปแบบ Webpage
  4. แก้ไข font ทั้งหมด ในรูปแบบ Th Saraban PSK 16 ปรับรูปแบบหน้าให้สวยงาม
  5. พริ้นใบปะหน้าเกรด โดยคลิ๊ก ไอคอน พริ้นเตอร์ ใส่ช่วงคะแนนแต่ละเกรด
  6. พริ้น ใบปะหน้า และใบรายงานเกรดนักศึกษาให้ คณบดี กรรมการสอบไล่ ลงนาม ก่อนส่งเกรดทั้งหมดให้งานทะเบียนลำปาง

คู่มือการใช้ระบบทะเบียนออนไลน์สำหรับอาจารย์

การกรอกเกรด ตั้งแต่หน้า 24 เป็นต้นไป

http://doc.nation.ac.th/roongrut/%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B9%8C.pdf

โพสท์ใน KM:ด้านการวิจัย | ติดป้ายกำกับ | ใส่ความเห็น