มาตรฐานการเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานวิชาการ

นโยบายวช. ด้านมาตรฐานการวิจัย และรูปแบบและวิธีการเผยแพร่ผลงานวิจัย

          ดร.จินตนาภา โสภณ ที่ปรึกษาด้านการวิจัย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้บรรยายสรุปในประเด็นดังต่อไปนี้

-วิสัยทัศน์ วช.

-พันธกิจ วช. (จัดทำนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัย จัดทำมาตรฐานและแนวทางในการวิจัยของประเทศ)

-โครงสร้าง วช.

หน่วยงานที่สำคัญหน่วยงานหนึ่ง คือ กองมาตรฐานการวิจัย หน้าที่ของกองมาตรฐานการวิจัย ที่สำคัญคือ การกำหนดมาตรฐานการวิจัยของประเทศ และส่งเสริม สนับสนุนการวิจัย

-ปัญหา อุปสรรคของงานวิจัย

  1. นโยบาย
  2. งบประมาณ
  3. หน่วยงาน
  4. จำนวนและคุณภาพนักวิจัย
  5. มาตรฐานการวิจัย
  6. การบูรณาการงานวิจัย
  7. การบริหารจัดการและการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์

 

-ก่อนการปฏิรูประบบมาตรฐานการวิจัย

จะให้ความสำคัญเฉพาะจรรยาบรรณในการทำวิจัย ขาดการกำหนดมาตรฐานการวิจัย ขาดระบบและกลไก ตลอดจนไม่มีความเป็นสากล

-หลังการปฏิรูประบบมาตรฐานการวิจัย : มีการกำหนด

  1. มาตรฐานที่เกี่ยวกับการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ในงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์
  2. มาตรฐานการวิจัยในมนุษย์
  3. มาตรฐานเรื่องความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ
  4. มาตรฐานการเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ
  5. มาตรฐานการวิจัยด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ
  6. ระบบมาตรฐานการนำส่งข้อมูลของโครงการวิจัยที่เสนอขอรับงบประมาณ (NRPM > NRMS)

 

-นโยบายด้านมาตรฐานการวิจัย

  1. พัฒนากระบวนการการจัดทำมาตรฐาน
  2. พัฒนากระบวนการขับเคลื่อน
  3. พัฒนากลไกในการบริหารจัดการที่เข้มแข็ง
  4. พัฒนามาตรฐานการวิจัยเพิ่มขึ้น

 

-รูปแบบและวิธีการเผยแพร่ผลงานวิจัย

  1. ประชุมวิชาการ
  2. เผยแพร่ในรูปแบบโปสเตอร์
  3. นำเสนอในวารสารวิชาการ

จะนำเสนอในรูปแบบใดก็แล้วแต่ สิ่งสำคัญคือ จะต้องมีการนำไปใช้ประโยชน์ในชุมชน ซึ่งกรณีนำเสนอผลงานฯ อาจแบ่งออกได้ ดังนี้

  1. สิ่งตีพิมพ์ปฐมภูมิ
  2. สิ่งตีพิมพ์ทุติยภูมิ
  3. สิ่งตีพิมพ์ตติยภูมิ
  4. คู่มือ พจนานุกรม
  5. ตำรา

ในการพิจารณาว่าสิ่งพิมพ์/วารสารเป็นวารสารวิชาการหรือไม่ ดูจาก

  1. มีบทความวิชาการประกอบอย่างน้อยครึ่งหน้า
  2. กรณีเป็นข่าวหรือเป็นการวิจารณ์หนังสือ ต้องมีสาระในเชิงวิชาการ
  3. มีศัพท์ทางเทคนิค
  4. มีการเผยแพร่อย่างต่อเนื่อง
  5. มีหมายเลข
  6. มีการตรวจแก้ไขโดยผู้ทรงคุณวุฒิในศาสตร์สาขานั้นๆ
  7. มีบทคัดย่อ/บทนำ/บทวิจารณ์/บทสรุป
  8. มีรายการเอกสารอ้างอิง
  9. อยู่ใน TCI List

การเขียนบทความวิชาการมักพบความบกพร่อง ดังนี้

  1. ยาวเกินไป
  2. ไม่แม่นข้อมูล
  3. บรรยายไม่กระจ่าง
  4. บกพร่องด้านภาษา
  5. ใช้ภาพประกอบอย่างฟุมเฟือย

– โครงสร้างบทความวิชาการ

– การเตรียมความพร้องก่อนเขียนและส่งบทความวิชาการ

– การเลือกวารสารเพื่อการตีพิมพ์

การนำข้อมูลเผยแพร่ในระบบ TNRR

          นายชัยยุทธ ชัยสิทธิ์ หัวหน้าฝ่ายพัฒนามาตรฐานการวิจัย กองมาตรฐานการวิจัย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) บรรยายในประเด็น ดังนี้

– บทบาทของ วช. เกี่ยวกับการให้ทุน

  1. เป็นผู้ประเมิน
  2. เป็นแหล่งทุน

2.1 งบวิจัยมุ่งเป้า

2.2 งบการจัดการความรู้และการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากงานวิจัยและนวัตกรรม

2.3 ทุนบัณฑิตศึกษา

2.4 ทุนพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัย (แม่ไก่-ลูกไก่)

– ระบบบริหารงานวิจัยแห่งชาติ (NRMS) ขยายขอบเขตมาจาก NRPM และ TNRR

  1. Proposal Assessment

ประกาศทุน > ยื่นข้อเสนอ > ตรวจสอบ > ประเมิน > แจ้งผล

  1. Ongoing and Monitoring

นำเข้าจัดสรรงบประมาณ > เบิกจ่าย > รายงานความก้าวหน้า > ส่งรายงาน

  1. Research Evaluation

รายงาน/ผลิตภัณฑ์

– การจัดการโครงการที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ

– คลังข้อมูลงานวิจัยไทย (TNRR : www.TNRR.in.th)

– ประโยชน์ของ TNRR

  1. มีระบบฐานข้อมูลแบบบูรณาการ
  2. ลดความซ้ำซ้อนของโครงการวิจัย
  3. มีข้อมูลสำหรับฝ่ายที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปใช้ได้
  4. ฝ่ายบริหารสามารถมองภาพรวมงานวิจัยของทั้งประเทศได้
  5. นักวิเคราะห์สามารถมองเห็นรายได้ที่จะเกิดขึ้นได้

-เครือข่ายองค์การบริหารงานวิจัยแห่งชาติ

  1. วช.
  2. สกว.
  3. สวทช.
  4. สวก.
  5. สวรส.
  6. สวทน.
  7. สกอ.

การเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานวิชาการ

          ศาสตราจารย์ นายแพทย์ยง ภู่วรวรรณ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บรรยายสรุปประเด็นได้ดังนี้

-สังคมไทยต้องเปลี่ยนผู้เรียนจากการเป็น “ผู้บริโภค”(ความรู้) ไปเป็น “ผู้ผลิต”(ความรู้)

ที่ผ่านมา ประเทศไทยลงทุนทางการศึกษาสูงที่สุดในอาเซียน แต่ไม่ประสบความสำเร็จในการสร้างผู้เรียนให้มีความสามารถในการผลิตความรู้

-จริยธรรมสูงกว่ากฎหมาย

นักวิจัยทุกคนต้องตระหนักในเรื่องจริยธรรมในการทำวิจัย การทำวิจัยนั้นไม่จำเป็นต้องมีเครื่องมือมากหรือพิเศษ แต่สิ่งที่สำคัญคือ ต้องบันทึกให้ถูกต้อง และอาจารย์ทุกคนต้องทำงานวิจัย เพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการ งานวิจัยเพื่อสังคมนั้นสามารถนำมาขอตำแหน่งทางวิชาการได้ แต่งานวิจัยเพื่อสังคมหรืองานวิจัยใดๆก็ตามที่เป็นงานบริการวิชาการจะนำงานนั้นๆมาขอตำแหน่งทางวิชาการไม่ได้ หากต้องการนำงานนั้นๆมาขอตำแหน่งทางวิชาการต้องนำงานบริการวิชาการนั้นมาเขียนเป็นบทความวิชาการ เผยแพร่ และมีการนำไปใช้ประโยชน์ จึงจะสามารถนำมาขอตำแหน่งทางวิชาการได้ ดังนั้น จึงต้องแยกระหว่าง “วิชาการ” กับ “วิชาชีพ” “วิชาการ”นำมาขอตำแหน่งทางวิชาการได้ “วิชาชีพ”นำมาขอตำแหน่งทางวิชาการไม่ได้

-การทำงานวิจัยให้มีคุณภาพ

 ต้องมีความอดทน ซื่อสัตย์ กตัญญู

อดทน : งานวิจัยเป็นเรื่องใช้เวลา

ซื่อสัตย์ : ผลได้อย่างไร ต้องเป็นอย่างนั้น

กตัญญู : ต้อง acknowledge ผู้ที่เกี่ยวข้อง

-จริยธรรมในยุคดิจิตอล

 ปัจจุบันงานวิจัยเผยแพร่ทางสื่อดิจิตอล ทำให้การเผยแพร่มีความรวดเร็วมาก การนำเสนอความรู้จึงต้องมีหลักฐานและต้องไม่ละเมิดผู้อื่น สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการทำวิจัยในยุคดิจิตอลก็คือ

  1. แพร่กระจายได้รวดเร็ว
  2. Conflict of interest
  3. ต้องแยกระหว่าง belief กับ knowledge

-ความซื่อสัตย์ จริยธรรมและงานวิจัย

  1. Fabrication

ในงานวิจัยถือเป็นเรื่องร้ายแรงมาก เพราะเป็นการ make up ข้อมูลงานวิจัย เพื่อเป็นการป้องกันตัวเองและประโยชน์ในการตรวจสอบ นักวิจัยจึงจำเป็นต้องมี Log book หรือสมุดบันทึก เพื่อใช้เป็นหลักฐานว่ามีการทำวิจัยจริง โดยการแก้ไขใดๆในสมุดบันทึกจะต้องไม่ใช้น้ำยาลบคำผิดแต่ให้ขีดฆ่าและเซ็นต์กำกับเพื่อให้เห็นร่องรอยการแก้ไข และเห็นข้อมูลก่อนการแก้ไข

  1. Falsification

หมายถึง การดัดแปลงข้อมูลหรือการแก้ไขข้อมูล ตัวเลข ทำไม่ได้ การนำรูปของผู้อื่นมาใช้ จะนำมาตกแต่ง ดัดแปลงไม่ได้ เว้นแต่เป็นการใส่ลูกศร หรือสิ่งจำเป็นอื่นๆ หรือเพิ่มเติมตัวหนังสือ การใช้ภาพของผู้อื่ต้องขออนุญาตและได้รับอนุญาตแล้วจึงจะสามารถนำมาใช้ได้ เว้นแต่กรณีที่เป็นภาพที่เจ้าของให้สิทธิในการนำไปทำซ้ำได้ก็จะสามารถนำไปใช้ได้โดยไม่ต้องขออนุญาต (ตรวจสอบได้โดยการ search ไปที่คำว่า “สิทธิในการใช้งาน”)

  1. Plagiarism

หมายถึง Stealing another’s work หรือการขโมยงานของผู้อื่น เน้นการลอกงานของผู้อื่น วิทยากรมองว่าประเด็นที่ 3 นี้ร้ายแรงน้อยกว่า 1และ 2

– ปัจจุบันมีวารสารที่ออกมาหลอกลวงจำนวนมาก ผู้ที่ประสงค์จะเผยแพร่ผลงานวิจัยและงานวิชาการควรพิจารณาให้ดี ไม่ว่าจะเป็น Phantom of conference หรือ วารสารที่อยู่ใน Beall’s list

 

โพสท์ใน ทั่วไป | 1 ความเห็น

การจัดการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติของคณะนิเทศศาสตร์

ความสำคัญและแนวคิดสำคัญในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติของคณะนิเทศศาสตร์

จากพระราชบัญญัติการศึกษา พุทธศักราช 2544 ได้กล่าวในหมวดที่ 4 แนวการจัดการศึกษา

มาตรา ๒๒การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่า  ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่า  ผู้เรียนมีความสำคัญ ที่สุดกระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติ และเต็มตามศักยภาพ

มาตรา ๒๓ การจัดการศึกษาทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม อัธยาศัย ต้องเน้น ความสำคัญ ทั้งความรู้คุณธรรมกระบวนการเรียนรู้และบูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษาในเรื่องต่อไปนี้

(๑) ความรู้เรื่องเกี่ยวกับตนเองและความสัมพันธ์ของตนเองกับ
กระแสสังคม ได้แก่ ครอบครัว ชุมชน ชาติ และสังคมโลก เพราะงานของวิชาชีพสายนิเทศศาสตร์เป็นงานที่เกี่ยวกับความเป็นไปกระแสหลักที่ต้องยึดเอาไว บนพื้นฐานของจรรยาบรรณและศีลธรรมอันดีงาม รวมทั้งรักษาความเป็นชาติ ความจงรักภักดีต่อสถาบันทั้ง 3 อย่างเหนียวแน่น

(๒) ความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งความรู้ความเข้าใจแลประสบการณ์   เรื่องการ จัดการการบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน

(๓) ความรู้เกี่ยวกับศาสนาศิลปวัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทยและการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา

(๔) ความรู้และทักษะด้านคณิตศาสตร์และด้านภาษาเน้นการใช้ภาษาไทยอย่างงถูกต้อง

(๕) ความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข

คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเนชั่น ได้มีกระบวนวิชาในหลักสูตรที่สนับสนุนและตอบสนองต่อกฎหมายการศึกษามาตรา ๒๒ และ มาตรา ๒๓ ได้แก่

หมวดวิชาศึกษาทั่วไป จำนวน 34 หน่วยกิต แบ่งออกเป็น

ก. กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์                          14 หน่วยกิต

ข. กลุ่มวิชาภาษา                                                                  11 หน่วยกิต

ค. กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์                              6 หน่วยกิต

ง. กลุ่มวิชาการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม                                          3 หน่วยกิต

มาตรา ๒๔ การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คณะนิเทศศาสตร์ดำเนินการจัดการทั้งวิชาที่เน้นการปฏิบัติทั้งกลุ่มวิชาแกน อันได้แก่วิชา COMM 104การออกแบบนิเทศศิลป์เบื้องต้น  COMM201 การถ่ายภาพสำหรับนิเทศศาสตร์ COMM203 จิตวิทยาและทักษะการสื่อสาร รวมไปถึงกลุ่มวิชาชีพทางนิเทศศาสตร์ ดังต่อไปนี้ คือ

(๑). จัดเนื้อหาหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียนโดย คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล เช่น กรณีของการเรียนร่วมกันระหว่างชั้นปี  ทางคณะนิเทศศาสตร์มีการแก้ปัญหาโดยการทำงานกลุ่มสำหรับช่วงแรก และทำงานเดี่ยวเพื่อฝึกฝนทักษะต่อไป

(๒). ฝึกทักษะ กระบวนการคิดการจัดการ การเผชิญสถานการณ์และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา โดยอาจารย์ผู้สอนจะคิดโจทย์ในการปฏิบัติการเพื่อให้นักศึกษาได้แก้ปัญหา­­­ตลอดเวลาของการฝึกฝนทักษะวิชาชีพผ่านโครงการนักข่าวอาสา โครงการฝึกบิน (ฝึกวิชาชีพเสริมทักษะเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนออกไปทำ สหกิจศึกษาหรือการฝึกงาน)

(๓). จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริงฝึกการปฏิบัติให้ทำได้คิดเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง­­ จากกิจกรรมรายวิชา เช่น วิชา COMM104 การออกแบบนิเทศศิลป์เบื้องต้น วิชา COMM201 การถ่ายภาพสำหรับงานนิเทศศาสตร์ DITR301 การผลิตรายการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และสื่อดิจิตัล DITR302 การเขียนเพื่องานวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และสื่อดิจิตัล DITR303 การสื่อข่าวและการเป็นผู้ประกาศ DITR304 ความคิดสร้างสรรค์และการนำเสนอ DITR305 สุนทรียของการใช้ภาพและเสียงประกอบ ADPR302 การผลิตและการเขียนเพื่องานโฆษณาและประชาสัมพันธ์ ADPR306 การสร้างสรรค์งานโฆษณาและประชาสัมพันธ์  โดยนักศึกษาจะต้องค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อเตรียมการทำงานเนื่องจากก่อนจะลงมือทำชิ้นงานแต่ละชิ้น นักศึกษาต้องมีการนำเสนอข้อมูลและขั้นตอนของการปฏิบัติงานต่ออาจารย์ผู้สอนก่อน และเมื่อผ่านกระบวนการนี้ไปได้ จึงจะสามารถผลิตชิ้นงานได้ และเข้าสู่กระบวนการของ คิดได้ ทำเป็น

(๔). จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกันรวมทั้งปลูกฝังคุณธรรมค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา ซึ่งแต่ละส่วนของโครงสร้างหลักสูตร
นั้นถูกออกแบบมาให้วิชาต่างๆสัมพันธ์กัน จึงทำให้นักศึกษาสามารถที่จะประกอบแต่ละวิชาไว้ด้วยกันและสามารถสร้างองค์ความรู้เพื่อไปตอบโจทย์ของวิชาอื่นๆได้ เช่น วิชา DITR301 การผลิตรายการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และสื่อดิจิตัล นักเรียนสามารถนำองค์ความรู้จากวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ DITR305 สุนทรียของการใช้ภาพและเสียง ADPR302 การผลิตและการเขียนเพื่องานโฆษณาและประชาสัมพันธ์ ADPR306 การสร้างสรรค์งานโฆษณาและประชาสัมพันธ์  มาประกอบกันได้ โดยมีวิชา DITR 304 ความคิดสร้างสรรค์และการนำเสนอ มาเสริมเป็นเทคนิกในการนำเสนอเพื่อให้อาจารย์ผู้สอนผ่านงานเพื่อไปผลิตรายการวิทยุ วิทยุโทรทัศน์ หรือ สื่อดิจิตัล ขั้นสูงต่อไปได้

(๕). ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียนและอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้รวมทั้งสามารถใช้การวิจัย เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ทั้งผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการประเภทต่างๆ

(๖). จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่มีการประสานความร่วมมือมืออาชีพในสาขาต่างๆทุกฝ่ายในเครือเนชั่นและพันธมิตร เพื่อร่วมกันพัฒนานักศึกษาของคณะนิเทศศาสตร์ให้มีศักยภาพดังนั้น การจัดการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติสามารถตอบสนองพระราชบัญญัติการศึกษาพุทธศักราช 2544 ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด

 

แนวคิดสำคัญของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติ

(๑) เป็นผสมผสานระหว่างวิชาการและวิชาชีพ โดยการจัดกิจกรรมในลักษณะกลุ่มปฏิบัติการที่เรียนรู้ด้วยประสบการณ์ตรงจากการเผชิญสถานการณ์จริงและการแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้จากการกระทำ ( Learning by doing )

(๒) ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติจริงฝึกค้นคว้า ฝึกลงมือทำ ฝึกทักษะกระบวนการต่างๆ ฝึกการแก้ปัญหาด้วยตนเองและฝึกทักษะการเสาะแสวงหาความรู้ร่วมกันเป็นกลุ่มและเดี่ยว

(๓) ผู้เรียนได้เรียนรู้ทั้งทางทฤษฎีและการปฏิบัติตามแนวทางสายอาชีพเฉพาะทาง และเรียนรู้ความเป็นประชาธิปไตย โดยการแบ่งกลุ่มทำงานผู้สอนจะดำเนินการร่วมกับผู้เรียนแบ่งกลุ่มย่อย มอบให้ปฏิบัติกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเช่น ศึกษาค้นคว้า แก้ไขปัญหาหรือปฏิบัติกิจกรรม ฯลฯ
(๔) เน้นการฝึกให้ผู้เรียนรู้จักวิธีการทำงานร่วมกัน เพื่อทดสอบการทำงานร่วมกันแบบทีม การสอนแบบนี้ต้องดำเนินการอย่างมีหลักเกณฑ์คือ มีจุดประสงค์ของการทำงาน นักศึกษาจะต้องมีการกำหนดหน้าที่แต่ละคนให้แน่นอนและอาจารย์จะเป็นที่ปรึกษา เสนอแนะให้รู้ว่าจะหาความรู้ได้อย่างไร เมื่อไร ที่ใด

 

การจัดการเรียนรู้ ที่เน้นการปฏิบัตินี้จะมีความเข้มข้นของสัดส่วนในการผสมผสานระหว่างวิชาการหรือทฤษฎีและวิชาชีพหรือปฏิบัติอยู่ที่ตัวเลข 50-50 จึงจะเป็นตัวเลขของความเข้มข้นทีลงตัวที่สุดและมีขั้นตอนดังนี้ คือ      

  1. ให้นักศึกษาเรียนรู้ในส่วนของวิชาการก่อนแล้วจึงลงมือปฏิบัติ
  2. เมื่อลงมือปฏิบัติก็จะมองเห็นปัญหา
  3. และเมื่อมองเห็นปัญหานักศึกษาก็จะหาหนทาในการแก้ไขด้วยตนเอง
  4. เมื่อตนเองแก้ไขไม่ได้ก็จะปรึกษากับผู้รู้ หรือ อาจารย์ผู้สอน
  5. นำคำสอนหรือคำแนะนำมาแก้ปัญหาโดยผ่านการวิเคราะห์ร่วมกัน
  6. เมื่อวิเคราะห์ปัญหาได้ นักศึกษาก็จะสามารถสังเคราะห์ได้
  7. เมื่อสังเคราะห์ได้ก็จะสามารถจำวิธีการแก้ปัญหาได้และเกิดความทรงจำ
  8. เมื่อกระบวนการทั้งหมดถูกนำมาผ่านการฝึกฝนอีกซ้ำๆก็จะเกิดความทรงจำที่ยั่งยืน

ในรายวิชาของการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติของคณะนิเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยเนชั่น สามารถที่จะจำแนกส่วนต่างๆนั้น คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเนชั่นได้จัดอาจารย์เพื่อสอนในรายวิชาดังกล่าวแยกออกเป็นสองวิทยาเขต เอาไว้ดังนี้ คือ

คณะนิเทศศาสตร์ บางนา ได้แก่

  1. อาจารย์สิทธิโชค โควาบุญพิทักษ์ ( นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต (การสื่อสารเพื่อการพัฒนา) มหาวิทยาลัยรามคำแหง / นิเทศศาสตร์บัณฑิต (วิทยุโทรทัศน์) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  2. อาจารย์ชินกฤต อุดมลาภไพศาล (นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต (การสื่อสารมวลชน) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศึกษาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีการศึกษา) เกียรตินิยมอับดับ1 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  3. อาจารย์รัตนาวดี ลำพาย ( พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต สาขา การจัดการพัฒนาสังคม คณะพัฒนาสังคม นิด้า , ศิลปะศาสตร์บัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คณะนิเทศศาสตร์ ลำปาง ได้แก่

  1. อาจารย์พิมพ์พธู พินทุเสนีย์ ( ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การสื่อสารพัฒนาการ) มหาวิทยาลัยรามคำแหง ศิลปศาสตรบัณฑิต (รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  2. อาจารย์ปวิณรัตน์ แซ่ตั้ง (ครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต และ มหาบัณฑิต สาขา เทคโนโลยีผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม) Master of Science in Industrial Education (Industrial Design Technology) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  3. คุณสราวุธ เบี้ยจรัส เจ้าหน้าที่โสตทัศนศึกษาชำนาญการ สอนเกี่ยวกับ การใช้อุปกรณ์สายวิชาชีพ ( นศบ.นิเทศศาสตร์บัณฑิต การโฆษณาประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

 

เอกสารอ้างอิง

http://www.moe.go.th/main2/plan/p-r-b42-01.htm

สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

การจัดการเรียนรู้แบบประสบการณ์และเน้นการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ:ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

รายงานการวิจัยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

โพสท์ใน การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ | ติดป้ายกำกับ | ใส่ความเห็น

ทดสอบ

ทดสอบ

ทดสอบ

โพสท์ใน งานทรัพยากรมนุษย์ | ติดป้ายกำกับ , | ใส่ความเห็น

การจัดการความรู้เรื่องการผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ

เรียบเรียงจากการชุมคณะกรรมการวิชาการคณะบริหารธุรกิจ
เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2558 ณ ห้องคณบดี คณะบริหารธุรกิจ
เพื่อสนับสนุนการจัดการความรู้ในประเด็น “การผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ ”
หลักในการผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ
3.1. การใช้ประโยชน์จากเอกสารงานวิจัย
การค้นคว้าเอกสาร Concept Paper หรือ Concept Framework เป็นการค้นคว้าในขอบเขตที่สนใจโดยการรวบรวมข้อมูล สร้างกรอบแนวคิด จากองค์ความรู้ที่มี ในการนำไปสู่ประเด็นและ คำถามในการวิจัย ซึ่งจะนำไปสู่การสร้าง Proposal ในการทำวิจัยขั้นต่อไป

3.2.การเผยแพร่บทความวิจัย
ในการเขียนบทความเพื่อเผยแพร่งานวิจัย จำเป็นต้องถ่ายทอดค้นข้อพบจากกระบวนการวิจัยที่ได้ดำเนินการ ทั้ง Output Outcome Impact ตลอดจน Product ของการวิจัยได้อะไร ใครใช้ประโยชน์อะไรและอย่างไร
ทั้งนี้การนำเสนอบทความวิจัย ซึ่งเป็นสาระสำคัญของเนื้อหาวิจัยแยกได้เป็น
3.2.1 บทความที่แสดง Concept Paper
3.2.2 บทความที่แสดงการพัฒนา เครื่องมือ ประเภทวิธีวัด ตัวแปรในการวิจัย
3.2.3 บทความที่แสดงผลการวิจัยในเบื้องต้น (การวิจัยยังไม่เสร็จสมบูรณ์)
3.2..4บทความที่แสดงผลการวิจัยฉบับสมบูรณ์

โพสท์ใน การตลาด, การบัญชี, คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์, บริหารธุรกิจ | ใส่ความเห็น

การจัดการความรู้เรื่องการจัดการเรียนการสอนตามกรอบ TQF

เรียบเรียงจากการชุมคณะกรรมการวิชาการคณะบริหารธุรกิจ
เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2558 ณ ห้องคณบดี คณะบริหารธุรกิจ
เพื่อสนับสนุนการจัดการความรู้ในประเด็น “การจัดการเรียนการสอนให้เป็นไปตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา แห่งชาติ ”

การเรียนรู้และมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา
1.การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม การพัฒนาด้านนี้เกี่ยวข้องกับการผสมผสานความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมที่เหมาะสมและปฏิบัติตนอย่างถูกต้องตามกาลเทศะ ทัศนคติ และวุฒิภาวะในการตัดสินใจ ผลการเรียนรู้ด้านนี้ควรใช้ทุกโอกาสในการเสริมการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมในทุกรายวิชาที่สอนรวมทั้งการจัดกิจกรรมเพื่อการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม
2. การแสวงหาความรู้ ปัจจัยสำคัญ คือ การจัดภาพรวมอย่างกว้างๆ เกี่ยวกับการจัดโครงสร้างและเนื้อหาสาระในการเรียนการสอนไว้ล่วงหน้า และเมื่อมีข้อมูลใหม่เพิ่มขึ้นควรจะเชื่อมโยงกับเนื้อหาที่จัดไว้นั้น และเชื่อมโยงกับความรู้เดิมของนักศึกษา
3. การพัฒนาทักษะทางปัญญา ปัจจัยสู่ความสำเร็จ คือ การพัฒนาความคิดรวบยอด รวมทั้งหลักการทางทฤษฏีและการฝึกปฏิบัติ การวิเคราะห์สถานการณ์และแก้ไขปัญหาต่างๆเป็นลำดับขั้นตอน และการประยุกต์ใช้ความรู้ความเข้าใจ เพื่อเป็นการพัฒนาความสามารถในการคิดและแก้ไขปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์
4. การพัฒนาทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ปัจจัยสู่ความสำเร็จ คือ การมีโอกาสในการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มและได้รับข้อมูลป้อนกลับต่อผลการทำงานที่สร้างสรรค์ ข้อมูลป้อนกลับดังกล่าวจะมีประสิทธิภาพสูงสุดถ้านักศึกษาได้วิเคราะห์พฤติกรรมของตนเอง
5. การพัฒนาทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ปัจจัยสู่ความสำเร็จ คือ การจัดการสอนที่มีการฝึกปฏิบัติเป็นลำดับขั้นตอนตามที่วางแผนไว้พร้อมทั้งให้ข้อมูลย้อนกลับและคำแนะนำในการปรับปรุงทักษะที่จำเป็น

โพสท์ใน การตลาด, การบัญชี, คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์, บริหารธุรกิจ | ใส่ความเห็น

การอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อการบริหารจัดการความรู้
เรื่อง การพัฒนางานวิจัยเพื่อนำไปใช้ประโยชน์
สถาบันพัฒนาและบ่มเพาะธุรกิจ
เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2559 ณ สถาบันพัฒนาและบ่มเพาะธุรกิจ

อาจารย์เมธัส ชูเวช เข้าอบรมหลักสูตร “สร้างต้นกล้าวิจัยรับใช้ชุมชน” ภายใต้ โครงการสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ (ลูกไก่) ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสำนักงานคระกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ระหว่างวันที่ 26 กุมภาพันธ์ – 1 มีนาคม 2559 ภายหลังเสร็จสิ้นการอบรมได้นำความรู้ที่ได้มาเผยแพร่ให้ทางอาจารย์และเจ้าหน้าที่ คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ/สถาบันพัฒนาและบ่มเพาะธุรกิจต่อไป

10363518_1128034480542845_1021814503784590785_n 12718126_1128361833843443_6320035182161175133_n

บรรยากาศการอบรมสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ หลังจากนี้จะนำความรู้ที่ได้มาจัดการบริหารจัดการความรู้ (Knowledge Management)

จุดมุ่งหมาย
มีงานวิจัยสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมและงานสร้างสรรค์ สามารถเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยส่งแหล่งทุนต่างๆได้ รวมทั้งถ่ายทอดองค์ความรู้ที่นำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศและภูมิภาค

เทคนิคในการค้นหาหัวข้องานวิจัย มีเทคนิคดังนี้
1. ค้นหาหัวข้อจากการปฏิบัติสหกิจศึกษาของนักศึกษา
2. ค้นหาหัวข้อจากฐานข้อมูลวิจัยตีพิมพ์: จากแหล่งข้อมูล www.sciencedirect.com หรือwww.sciencefinder.com
ในการค้นหางานวิจัย
3. ค้นหาหัวข้อจาก สิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตร เช่น http://www.freepatentsonline.com/
4. หัวข้องานวิจัยจากการบริการวิชาการให้กับชุมชน
5. หัวข้องานวิจัยจากสถานการณ์ปัจจุบัน เช่น ปัญหาที่ได้จากสื่อต่างๆ ได้แก่ หนังสือพิมพ์ เวปไซต์ เป็นต้น
6. หัวข้องานวิจัยที่ได้จากการฝึกอบรม/ศึกษาดูงาน ประชุมวิชาการ งานจัดแสดงสินค้าและ สิ่งประดิษฐ์
7. หัวข้อวิจัยที่เกิดจากประเด็นยุทธศาสตร์จากแหล่งทุนที่ให้การสนับสนุน ตัวอย่างแหล่งข้อมูลที่ใช้หาข่าวสาร ทุน แหล่งสนับสนุนงานวิจัย

7.1 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.http://www.trf.or.th Email : trfbasic@trf.or.th)
7.2 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) www.mua.go.th
7.3 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) www.thaihealth.or.th
7.4 สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) http:/ www.nrct.go.th
7.5 สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม http://www.nepo.go.th
7.6 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) http://www.nstda.or.th
7.7 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) http://www.ipst.ac.th
7.8 มูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ประเทศไทย http://www.ttsf.or.th
7.9 สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สพน.) http://www.eppo.go.th
7.10 กรมควบคุมมลพิษ http://www.pcd.go.th
7.11 สถาบันการแพทย์ด้านอุบัติเหตุและสาธารณภัย กรมการแพทย์ http://www.dms.moph.go.th
7.12 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา http://www.fda.moph.go.th
7.13 ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีแห่งชาติ (BIOTEC) http://www.biotec.or.th
7.14 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) http://www.nectec.or.th
7.15 สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) http://www.hsri.or.th
7.16 สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ http://www.culture.go.th

ช่องทางที่ได้มาของโจทย์วิจัย
ในการได้มาซึ่งโจทย์วิจัยเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์นั้น นักวิจัยสามารถหาโจทย์วิจัยจากช่องทางต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. การเลือกจากโจทย์งานวิจัยเดิม โดยประสานกับหน่วยงานเดิม/ใหม่ งานวิจัยมีแนวโน้มที่จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อยอด,     และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ในระดับของมหาวิทยาลัย หรือ ประเทศ รวมถึงการสำรวจปัญหาความต้องการจากชุมชน
2. การหาโจทย์งานวิจัยผ่านทางผู้ทรงคุณวุฒิประจำคณะ

13493023_1203980562948236_778882681_n13480495_1203980559614903_959465611_n

บรรยากาศผู้เข้าร่วมการจัดการความรู้ บรรยายโดย อาจารย์เมธัส ชูเวช 

เทคนิคในการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
      เมื่อนักวิจัยได้ดำเนินงานวิจัยเสร็จสมบูรณ์แล้ว เพื่อให้งานวิจัยนั้นเกิดประโยชน์แก่ชุมชนและหน่วยงานต่างๆ จากการระดมความคิดของคณะทำงานสามารถสรุปเทคนิคเพื่อที่จะสามารถทำให้งานวิจัยถูกนำไปใช้ประโยชน์ได้ดังนี้
1. มีการกำหนดนโยบายของคณะในการส่งเสริมและสนับสนุนให้นักวิจัยหาหน่วยงานที่จะนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ โดยอาจกำหนดเป็นคะแนนในการประเมินงานวิจัยเพื่อขอรับทุนสนับสนุน
2. กำหนดกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง หรือดึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมาเป็นผู้ร่วมวิจัย
3. เข้าร่วมงานหรือส่งชิ้นงานเข้าประกวด ในงานเผยแพร่งานวิจัยต่างๆ เช่น งาน Thailand Research symposium
4. จัดงานเผยแพร่งานวิจัย โดยมีการกำหนดช่วงเวลาที่แน่นอนและดำเนินการทุกปี
5. นำผลิตภัณฑ์ตัวอย่างไปให้ผู้บริโภคทดลองใช้งาน พร้อมแบบสอบถามความพึงพอใจ
6. จัดทำจุลสารงานวิจัยของคณะ และส่งไปยังหน่วยงานต่างๆ เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์
7. ในการหาโจทย์และทุนวิจัย นักวิจัยอาจเน้นไปยังหน่วยงานที่ให้ความร่วมมือและให้การ สนับสนุนในการทำงานงานวิจัย

 

โพสท์ใน ทั่วไป | ติดป้ายกำกับ , | ใส่ความเห็น

แชร์ประสบการณ์การกำจัดเจ้าไวรัสremovable disk(GB) Shortcut

“ไวรัส removable drive(shortcut) หรือไวรัสซ่อนไฟล์”

removable drive(shortcut)

removable drive(shortcut)

จากที่ได้ลองแก้ไขปัญหาเบื้องต้น

– ใช้โปรแกรม unhidden v3
– ใช้โปรแกรม Fix UnHidden File 2011

พบว่าไฟล์ที่อยู่ใน drive แสดงออกมาจริง อ่านเพิ่มเติม

โพสท์ใน งานระบบบริการสารสนเทศ | ติดป้ายกำกับ , , , , , , | ใส่ความเห็น

สรุปความรู้ของงานไอทีด้านบริการงานระบบสารสนเทศ ในปีการศึกษา 2558

สรุปความรู้ของงานเทคโนโลยีสารสนเทศด้านบริการงานระบบสารสนเทศ ระบบงานที่เป็นความรู้ใหม่ หรือน่าสนใจของงานเทคโนโลยีสารสนเทศ  ที่เกิดจากการจัดการความรู้ภายในหน่วยงาน ซึ่งปีการศึกษา 2558  มีระบบที่นำมาทบทวน ปรับปรุง และพัฒนาขึ้นใหม่ พร้อมกับนำเสนอให้เพื่อร่วมงานได้แลกเปลี่ยนในงานประชุม KM ประจำปีของมหาวิทยาลัย  เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2559
มีทั้งสิ้น 14 ระบบ

1. ระบบคลังข้อมูลงานวิจัยไทย (TNRR) เป็นการเชื่อมโยงข้อมูลการวิจัย โครงการวิจัย นักวิจัย และผลงานจากโครงการวิจัย ของหน่วยงานวิจัยในประเทศไทย ในลักษณะเครือข่ายความร่วมมือ
http://www.tnrr.in.th
2. ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิจัย (RMIS) สนับสนุนการบริหารจัดการภายในคณะวิชา และมหาวิทยาลัย
http://it.nation.ac.th/rmis
3. ระบบฐานข้อมูลวิจัย (Research Database System)  รวบผลงานวิจัย บทความทั้งของนักศึกและอาจารย์
http://it.nation.ac.th/studentresearch
4. ระบบเกรดสำหรับอาจารย์ (Grade Report System For Teacher ) สำหรับอาจารย์ตรวจสอบภาระงานสอน เกรดของนักศึกษา และผลการประเมินการเรียนสอน ตามภาระงานสอน
http://it.nation.ac.th/Gradeaj
5. ระบบบล็อก (Blog) เป็นเครื่องมือในการจัดการความรู้ (KM : Knowledge management) เป็นเวทีสำหรับนักศึกษา และบุคลากร
http://blog.nation.ac.th
6. ระบบอีเลินนิ่ง (E-Learning System) สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ มีเว็บบอร์ด ข้อสอบออนไลน์ และระบบงานมอบหมาย
http://class.nation.ac.th
7. Handbook รวบรวมคู่มือต่างๆเช่น คู่มือสำหรับนักศึกษา คู่มือสำหรับบุคลากร   คู่มือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
http://www.nation.ac.th/handbooks
8. เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเนชั่น เผยแพร่ ข่าวสารข้อมูลของ มหาวิทยาลัย คณะวิชา หลักสูตร สมัครเรียนออนไลน์ ข่าว และภาพกิจกรรม
http://www.nation.ac.th
9. ระบบการจัดการ งานรับ-ส่งเอกสาร (Receive Document System) จัดเก็บข้อมูลการรับส่งเอกสาร จากภายใน และภายนอก
http://it.nation.ac.th/docntu
10. ระบบจัดการ ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง (Announcement Database) ให้บุคลากรเข้าถึง และสืบค้นได้โดยง่าย
http://it.nation.ac.th/rule_post
11. Person Email รวบรวมข้อมูล Email, Mail Groups ของบุคลากร
http://it.nation.ac.th/contactps
12. Social Media รวบรวมข้อมูล Email, Line, Facebook เบอร์โทรศัพท์ภายในของบุคลากร
http://it.nation.ac.th/socialmedia
13. โฮมเพจบุคลากร รวมโฮมเพจบุคลากรด้านการเผยแพร่บทความวิชาการ
http://it.nation.ac.th/faculty
14. ระบบรายงานภาระงาน สำหรับอาจารย์ เจ้าหน้าที่ รายงานภาระประจำปี เช่น 1) ภาระการสอน (ตามเกณฑ์ภาระงาน) 2. ภาระงานด้านการวิจัย/ผลงานทางวิชาการ 3) ภาระงานด้านการบริการวิชาการ 4) ภาระงานด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 5) ภาระงานด้านการบริหารการเรียนการสอน
http://it.nation.ac.th/intranet

 

 

ระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัย

ระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัย

ได้นำไปแบ่งปันในกลุ่มของมหาวิทยาลัยที่ใช้สื่อสารกันเฉพาะบุคลากร
ที่ https://www.facebook.com/groups/nationustaff/1184855011554179/

โพสท์ใน ทั่วไป | ติดป้ายกำกับ , , , , | ใส่ความเห็น

การปรับตัวเข้ากับระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิจัย

 

rmis

rmis

ความรู้เรื่องการผลิตผลงานวิจัย งานวิชาการ หรืองานสร้างสรรค์ เพื่อการเผยแพร่นั้นมีหลายประเด็นที่น่าสนใจ แหล่งทุนก็เป็นประเด็นพูดคุยในคณะวิชาว่าแหล่งทุนจากส่วนกลาง มีหลายแหล่ง อาทิ
สกว. หรือสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
http://www.trf.or.th/
สสส. หรือสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
http://www.thaihealth.or.th/
วช หรือ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
http://www.nrct.go.th/
ซึ่งมีฐานข้อมูลให้สืบค้นมากมาย

แล้วเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้ด้านการวิจัยมีดังนี้

  1. แผนการจัดการความรู้ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ 2558

http://doc.nation.ac.th/sarit58/KM_Plan_IT_58.doc

  1. เอกสารอบรมระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิจัย 2558

http://doc.nation.ac.th/sarit58/RMIS_System_V41.pptx

  1. คู่มือนักวิจัย 2556

http://doc.nation.ac.th/sarit56/ResearchHandbook_Nation_2556.pdf

อ.จีรศักดิ์ ประทุมรัตน์ ได้แบ่งปันข้อมูลระบบบริหารจัดการงานวิจัยแห่งชาติ
ให้กับเพื่อน ๆ ในมหาวิทยาลัยได้ทราบว่า ทุนที่เปิดรับข้อเสนองานวิจัย ยังเปิดรับอยู่
ศึกษาข้อมูลได้ที่ http://www.nrms.go.th/

– เปิดรับข้อเสนอการวิจัย : โครงการความร่วมมือไทย-จีน (NRCT-NSFC) แผนงาน Future Earth ระหว่างวันที่ 15 มิถุนายน 2559 – 31 กรกฎาคม 2559 แหล่งทุน : ทุน วช. (กองบริหารแผนและงบประมาณการวิจัย (กบง.))
– เปิดรับข้อเสนอการวิจัย : ทุนอุดหนุนการวิจัย ประเภทบัณฑิตศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2560 ระดับปริญญาโท ระหว่างวันที่ 6 มิถุนายน 2559 – 20 กรกฎาคม 2559 แหล่งทุน : ทุน วช. (กองบริหารแผนและงบประมาณการวิจัย – ทุนบัณฑิต (กบง.))
– เปิดรับข้อเสนอการวิจัย : ทุนอุดหนุนการวิจัย ประเภทบัณฑิตศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2560 ระดับปริญญาเอก ระหว่างวันที่ 6 มิถุนายน 2559 – 20 กรกฎาคม 2559 แหล่งทุน : ทุน วช. (กองบริหารแผนและงบประมาณการวิจัย – ทุนบัณฑิต (กบง.))
– เปิดรับข้อเสนอการวิจัย : ทุนอุดหนุนการวิจัยร่วม Joint Research Program (NRCT-JSPS) ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2559 – 8 กันยายน 2559 แหล่งทุน : ทุน วช. (กองการต่างประเทศ (กกต.))
– เปิดรับข้อเสนอการวิจัย : T2560001 ทุนวิจัยมุ่งเป้า ปีงบประมาณ 2560 ข้าว ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2559 – 15 กรกฎาคม 2559 แหล่งทุน : ทุนวิจัยมุ่งเป้า (กองบริหารแผนและงบประมาณการวิจัย (กบง.))
– เปิดรับข้อเสนอการวิจัย : T2560002 ทุนวิจัยมุ่งเป้า ปีงบประมาณ 2560 มันสำปะหลัง ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2559 – 15 กรกฎาคม 2559 แหล่งทุน : ทุนวิจัยมุ่งเป้า (กองบริหารแผนและงบประมาณการวิจัย (กบง.))
– เปิดรับข้อเสนอการวิจัย : T2560003 ทุนวิจัยมุ่งเป้า ปีงบประมาณ 2560 ยางพารา ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2559 – 15 กรกฎาคม 2559 แหล่งทุน : ทุนวิจัยมุ่งเป้า (กองบริหารแผนและงบประมาณการวิจัย (กบง.))
– เปิดรับข้อเสนอการวิจัย : T2560004 ทุนวิจัยมุ่งเป้า ปีงบประมาณ 2560 อ้อยและน้ำตาล ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2559 – 15 กรกฎาคม 2559 แหล่งทุน : ทุนวิจัยมุ่งเป้า (กองบริหารแผนและงบประมาณการวิจัย (กบง.))
– เปิดรับข้อเสนอการวิจัย : T2560005 ทุนวิจัยมุ่งเป้า ปีงบประมาณ 2560 ปาล์มน้ำมัน ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2559 – 15 กรกฎาคม 2559 แหล่งทุน : ทุนวิจัยมุ่งเป้า (กองบริหารแผนและงบประมาณการวิจัย (กบง.))
– เปิดรับข้อเสนอการวิจัย : T2560006 ทุนวิจัยมุ่งเป้า ปีงบประมาณ 2560 พืชสวน/พืชไร่ (เช่น ข้าวโพด ไม้ผล พืชผัก ไม้ดอกไม้ประดับ) ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2559 – 15 กรกฎาคม 2559 แหล่งทุน : ทุนวิจัยมุ่งเป้า (กองบริหารแผนและงบประมาณการวิจัย (กบง.))
– เปิดรับข้อเสนอการวิจัย : T2560007 ทุนวิจัยมุ่งเป้า ปีงบประมาณ 2560 สัตว์เศรษฐกิจ ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2559 – 15 กรกฎาคม 2559 แหล่งทุน : ทุนวิจัยมุ่งเป้า (กองบริหารแผนและงบประมาณการวิจัย (กบง.))
– เปิดรับข้อเสนอการวิจัย : T2560008 ทุนวิจัยมุ่งเป้า ปีงบประมาณ 2560 พลาสติกชีวภาพ ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2559 – 15 กรกฎาคม 2559 แหล่งทุน : ทุนวิจัยมุ่งเป้า (กองบริหารแผนและงบประมาณการวิจัย (กบง.))
– เปิดรับข้อเสนอการวิจัย : T2560009 ทุนวิจัยมุ่งเป้า ปีงบประมาณ 2560 สมุนไพรไทย อาหารเสริมและสปา ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2559 – 15 กรกฎาคม 2559 แหล่งทุน : ทุนวิจัยมุ่งเป้า (กองบริหารแผนและงบประมาณการวิจัย (กบง.))
– เปิดรับข้อเสนอการวิจัย : T2560010 ทุนวิจัยมุ่งเป้า ปีงบประมาณ 2560 อาหารเพื่อเพิ่มคุณค่าและความปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค และการค้า ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2559 – 15 กรกฎาคม 2559 แหล่งทุน : ทุนวิจัยมุ่งเป้า (กองบริหารแผนและงบประมาณการวิจัย (กบง.))
– เปิดรับข้อเสนอการวิจัย : T2560011 ทุนวิจัยมุ่งเป้า ปีงบประมาณ 2560 วัสดุอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์และเวชภัณฑ์ ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2559 – 15 กรกฎาคม 2559 แหล่งทุน : ทุนวิจัยมุ่งเป้า (กองบริหารแผนและงบประมาณการวิจัย (กบง.))
– เปิดรับข้อเสนอการวิจัย : T2560012 ทุนวิจัยมุ่งเป้า ปีงบประมาณ 2560 วิสาหกิจชุมชน และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2559 – 15 กรกฎาคม 2559 แหล่งทุน : ทุนวิจัยมุ่งเป้า (กองบริหารแผนและงบประมาณการวิจัย (กบง.))
– เปิดรับข้อเสนอการวิจัย : T2560013 ทุนวิจัยมุ่งเป้า ปีงบประมาณ 2560 การคมนาคมขนส่งระบบราง ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2559 – 15 กรกฎาคม 2559 แหล่งทุน : ทุนวิจัยมุ่งเป้า (กองบริหารแผนและงบประมาณการวิจัย (กบง.))
– เปิดรับข้อเสนอการวิจัย : T2560014 ทุนวิจัยมุ่งเป้า ปีงบประมาณ 2560 โลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2559 – 15 กรกฎาคม 2559 แหล่งทุน : ทุนวิจัยมุ่งเป้า (กองบริหารแผนและงบประมาณการวิจัย (กบง.))
– เปิดรับข้อเสนอการวิจัย : T2560015 ทุนวิจัยมุ่งเป้า ปีงบประมาณ 2560 การศึกษาและสร้างสรรค์การเรียนรู้ ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2559 – 15 กรกฎาคม 2559 แหล่งทุน : ทุนวิจัยมุ่งเป้า (กองบริหารแผนและงบประมาณการวิจัย (กบง.))
– เปิดรับข้อเสนอการวิจัย : T2560016 ทุนวิจัยมุ่งเป้า ปีงบประมาณ 2560 การแพทย์และสาธารณสุข ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2559 – 15 กรกฎาคม 2559 แหล่งทุน : ทุนวิจัยมุ่งเป้า (กองบริหารแผนและงบประมาณการวิจัย (กบง.))
– เปิดรับข้อเสนอการวิจัย : T2560017 ทุนวิจัยมุ่งเป้า ปีงบประมาณ 2560 ประชาคมอาเซียน ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2559 – 15 กรกฎาคม 2559 แหล่งทุน : ทุนวิจัยมุ่งเป้า (กองบริหารแผนและงบประมาณการวิจัย (กบง.))
– เปิดรับข้อเสนอการวิจัย : T2560018 ทุนวิจัยมุ่งเป้า ปีงบประมาณ 2560 การบริหารจัดการการท่องเที่ยว ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2559 – 15 กรกฎาคม 2559 แหล่งทุน : ทุนวิจัยมุ่งเป้า (กองบริหารแผนและงบประมาณการวิจัย (กบง.))
– เปิดรับข้อเสนอการวิจัย : T2560019 ทุนวิจัยมุ่งเป้า ปีงบประมาณ 2560 มนุษยศาสตร์ ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2559 – 15 กรกฎาคม 2559 แหล่งทุน : ทุนวิจัยมุ่งเป้า (กองบริหารแผนและงบประมาณการวิจัย (กบง.))
– เปิดรับข้อเสนอการวิจัย : T2560020 ทุนวิจัยมุ่งเป้า ปีงบประมาณ 2560 การวิจัยพัฒนาพฤติกรรมเยาวชนและสังคมไทย ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2559 – 15 กรกฎาคม 2559 แหล่งทุน : ทุนวิจัยมุ่งเป้า (กองบริหารแผนและงบประมาณการวิจัย (กบง.))
– เปิดรับข้อเสนอการวิจัย : T2560021 ทุนวิจัยมุ่งเป้า ปีงบประมาณ 2560 การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2559 – 15 กรกฎาคม 2559 แหล่งทุน : ทุนวิจัยมุ่งเป้า (กองบริหารแผนและงบประมาณการวิจัย (กบง.))
– เปิดรับข้อเสนอการวิจัย : T2560022 ทุนวิจัยมุ่งเป้า ปีงบประมาณ 2560 สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศความหลากหลายทางชีวภาพ ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2559 – 15 กรกฎาคม 2559 แหล่งทุน : ทุนวิจัยมุ่งเป้า (กองบริหารแผนและงบประมาณการวิจัย (กบง.))
– เปิดรับข้อเสนอการวิจัย : T2560023 ทุนวิจัยมุ่งเป้า ปีงบประมาณ 2560 การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2559 – 15 กรกฎาคม 2559 แหล่งทุน : ทุนวิจัยมุ่งเป้า (กองบริหารแผนและงบประมาณการวิจัย (กบง.))
– เปิดรับข้อเสนอการวิจัย : T2560024 ทุนวิจัยมุ่งเป้า ปีงบประมาณ 2560 การพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานความหลากหลายทางชีวภาพ ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2559 – 15 กรกฎาคม 2559 แหล่งทุน : ทุนวิจัยมุ่งเป้า (กองบริหารแผนและงบประมาณการวิจัย (กบง.))
– เปิดรับข้อเสนอการวิจัย : T2560025 ทุนวิจัยมุ่งเป้า ปีงบประมาณ 2560 การสร้างสรรค์วิชาการงานศิลป์ ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2559 – 15 กรกฎาคม 2559 แหล่งทุน : ทุนวิจัยมุ่งเป้า (กองบริหารแผนและงบประมาณการวิจัย (กบง.))
– เปิดรับข้อเสนอการวิจัย : T2560026 ทุนวิจัยพื้นฐาน ปีงบประมาณ 2560 เทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรมด้านวัสดุนาโนและนาโนเทคโนโลยี ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2559 – 15 กรกฎาคม 2559 แหล่งทุน : ทุน วช. (กองบริหารแผนและงบประมาณการวิจัย (กบง.))
– เปิดรับข้อเสนอการวิจัย : T2560027 ทุนวิจัยพื้นฐาน ปีงบประมาณ 2560 ผลกระทบการใช้แร่ใยหินและศึกษาวัสดุทดแทน ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2559 – 15 กรกฎาคม 2559 แหล่งทุน : ทุน วช. (กองบริหารแผนและงบประมาณการวิจัย (กบง.))
– เปิดรับข้อเสนอการวิจัย : T2560028 ทุนวิจัยพื้นฐาน ปีงบประมาณ 2560 ผู้สูงอายุ และคนพิการ ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2559 – 15 กรกฎาคม 2559 แหล่งทุน : ทุน วช. (กองบริหารแผนและงบประมาณการวิจัย (กบง.))
– เปิดรับข้อเสนอการวิจัย : T2560029 ทุนวิจัยพื้นฐาน ปีงบประมาณ 2560 การอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2559 – 15 กรกฎาคม 2559 แหล่งทุน : ทุน วช. (กองบริหารแผนและงบประมาณการวิจัย (กบง.))
– เปิดรับข้อเสนอการวิจัย : T2560030 ทุนวิจัยพื้นฐาน ปีงบประมาณ 2560 ศูนย์กลางทางการแพทย์ (Medical Hub) ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2559 – 15 กรกฎาคม 2559 แหล่งทุน : ทุน วช. (กองบริหารแผนและงบประมาณการวิจัย (กบง.))
– เปิดรับข้อเสนอการวิจัย : T2560031 ทุนวิจัยพื้นฐาน ปีงบประมาณ 2560 เศรษฐกิจพอพียง ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2559 – 15 กรกฎาคม 2559 แหล่งทุน : ทุน วช. (กองบริหารแผนและงบประมาณการวิจัย (กบง.))
– เปิดรับข้อเสนอการวิจัย : T2560032 ทุนวิจัยพื้นฐาน ปีงบประมาณ 2560 ความมั่นคงของรัฐและการเสริมสร้างธรรมาภิบาล ด้านการต่อต้านการทุจริต ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2559 – 15 กรกฎาคม 2559 แหล่งทุน : ทุน วช. (กองบริหารแผนและงบประมาณการวิจัย (กบง.))
– เปิดรับข้อเสนอการวิจัย : (ทดสอบ)ทุนงบประมาณแผ่นดินประจำปี 2561 ระหว่างวันที่ 19 เมษายน 2559 – 30 สิงหาคม 2559 แหล่งทุน : เงินงบประมาณแผ่นดิน (สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (กมว.))
– เปิดรับข้อเสนอการวิจัย : ทุนงบประมาณแผ่นดินประจำปี 2559 (สำหรับโครงการที่เข้าใหม่) ระหว่างวันที่ 18 สิงหาคม 2558 – 31 กรกฎาคม 2559 แหล่งทุน : เงินงบประมาณแผ่นดิน (สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (กมว.))


ในปีการศึกษา 2558 คณะวิชาให้ความสำคัญกับระบบการบริหารจัดการงานวิจัย
ซึ่งครอบคลุมประเด็นการผลิตผลงานวิจัย งานวิชาการ หรืองานสร้างสรรค์
โดยอาจารย์สามารถส่งผลงานวิชาการเข้าสู่ระบบ และผ่านการพิจารณาอย่างเป็นระบบ
เป็นการกระตุ้นให้อาจารย์มีความสนใจในการทำวิจัย
ลักษณะผลงานที่นำเข้าระบบได้มีให้เลือกหลายรูปแบบ
ซึ่งทำให้เข้าใจว่าบทบาทของอาจารย์จะต้องทำผลงานวิชาการแบบใด

ประกอบด้วย
1. เอกสารเชิงหลักการ (Concept paper)
2. ข้อเสนอโครงการ (Proposal)
3. สัญญา/บันทึกอนุมัติ (Promise)
4. รายงานความก้าวหน้า (Progress)
5. รายงานฉบับสมบูรณ์ (Fullpaper)
6. บทความนำเสนอ (Proceeding)
7. บทความตีพิมพ์ (Journal)
8. เอกสารรับรองการใช้ประโยชน์ (Advantage Certification)
9. การนำเสนอผลงานในลักษณะอื่นๆ (Others)

เพื่อให้ระบบบริหารจัดการงานวิจัยมีผลสัมฤทธิ์ จึงมีการพัฒนา
ระบบ RMIS โดยอ้างอิงตามนโยบายของ ดร.ทันกวินท์ รัฐวัฒก์อังกูร
และเปิดใช้งานระบบที่โดยเชื่อมโยงกับระบบรายงานการปฏิบัติงาน
และมีการอบรมให้ความรู้ทั้งความสัมพันธ์ของงานวิจัยกับการประกันคุณภาพ
และการเชื่อมโยงงานวิจัยเข้ากับการประเมินผลการปฏิบัติงาน
ซึ่งบุคลากรเข้าใช้งานระบบได้ที่ http://it.nation.ac.th/rmis

โพสท์ใน คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ | ติดป้ายกำกับ , , , , | ใส่ความเห็น

การสร้างและการตรวจสอบคุณภาพข้อสอบแบบอัตนัย และปรนัย

โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศิริพร เสริตานนท์ เป็นวิทยากร

เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2559 ณ ห้องประชุม คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

จุดมุ่งหมายของการวัดผล คือ เพื่อปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพของนักเรียนว่านักเรียนมีความบกพร่องหรือไม่เข้าใจเรื่องใด อย่างไร แล้วครูก็ต้องพยายามพัฒนาให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และให้มีความเจริญงอกงามตามศักยภาพของนักเรียน ให้เป็นตามจุดมุ่งหมายที่ต้องการ

1937296_970496249698490_1102094653564916616_n

ข้อสอบแบบอัตนัย

แบบทดสอบแบบอัตนัยหรือเขียนตอบที่ดีสามารถวัดพฤติกรรมระดับ ความรู้ ความจำ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ และการสังเคราะห์

หลักการสร้างข้อสอบแบบอัตนัย
1) กำหนดให้ชัดเจนว่าจะวัดพฤติกรรมด้านใด
2) เขียนคำถามให้ชัดเจน คำถามในสถานการณ์ใหม่ๆ คำถามเฉพาะจุดที่สำคัญ
3) กำหนดความยากง่ายให้เหมาะสมกับวัยของผู้ตอบ
4) ควรเฉลยคำตอบไปพร้อมๆ กับการเขียนคำตอบ
5) กำหนดเวลาการตอบนานพอสมควร

12509216_970496533031795_1816087811335109886_n   12790992_970450533036395_7697437467766134147_n

ข้อสอบปรนัย

ข้อสอบปรนัยสามารถแบ่งแยกย่อยได้ 5 ประเภท คือ
1) แบบตอบสั้นๆ
2) แบบเติมคำ
3) แบบจับคู่
4) แบบถูกผิด
5) แบบเลือกตอบ
หลักการสร้างข้อสอบแบบปรนัย
1) ตั้งปัญหาเป็นรูปคำถาม และต้องการคำตอบเพียงสั้นๆ
2) ต้องเป็นคำถามที่มีคำตอบตายตัวแน่นอน

ข้อดีของข้อสอบแบบตอบสั้นๆ คือ สร้างง่าย สะดวกรวดเร็ว  เขียนคำตอบได้ง่ายกว่าข้อสอบอัตนัย  สามารถเขียนคำถามได้มากข้อ และเหมาะสำหรับวัดพฤติกรรมการความรู้-ความเข้าใจ

12800145_970618376352944_5864717281896159318_n

 

โพสท์ใน ทั่วไป | ใส่ความเห็น