คู่มือการพัฒนาการผลิตผลงานวิจัย-ผลงานวิชาการ ปีการศึกษา 2563

สถาบันอุดมศึกษามีพันธกิจหลักที่สําคัญในด้านการผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการวิชาการแก่สังคม และการทํานุบํารุงศาสนาและศิลปวัฒนธรรม ภายใต้พันธกิจด้านการวิจัย สถาบันอุดมศึกษาควรสนับสนุนและส่งเสริมให้บุคลากรของสถาบันให้มีการดําเนินการวิจัย เพื่อค้นหาองค์ความรู้ใหม่และสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อพัฒนาองค์กรในด้านต่างๆ การทำวิจัยและเผยแพร่องค์ความรู้เชิงวิชาการถือเป็นพันธกิจหลักอย่างหนึ่งของอาจารย์ในมหาวิทยาลัย และเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดสำคัญด้านคุณภาพของมหาวิทยาลัย ซึ่งผลที่เกิดจากการศึกษา คิดค้น วิจัยและพัฒนา อย่างถูกต้องและเป็นระบบ จะสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และผลงานวิจัยที่แล้วเสร็จควรนำไปเผยแพร่ให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า

เพื่อให้ทราบถึงแนวทางในการพัฒนาการผลิตผลงานวิจัย/ผลงานวิชาการเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI 2 อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพของอาจารย์และส่งผลต่อคุณภาพของมหาวิทยาลัย คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเนชั่น จึงได้จัดทำแผนการจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM) ในประเด็นการพัฒนาการผลิตผลงานวิจัย/ผลงานวิชาการเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI 2 โดยได้จัดให้มีกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อเป็นเวทีในการถ่ายทอดองค์ความรู้จากอาจารย์ที่มีความรู้ ความชำนาญและมีประสบการณ์ในการผลิตผลงานวิจัย/ผลงานวิชาการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI 2 เพื่อเป็นประโยชน์ต่ออาจารย์ท่านอื่น ที่จะนำความรู้ที่ได้รับจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไปใช้เป็นแนวทางในการเตรียมความพร้อมเพื่อให้ได้รับการตอบรับเข้าร่วมการตีพิมพ์/เผยแพร่ผลงานวิจัยต่อไป ซึ่งสามารถสรุปเป็นแนวทางในการพัฒนาการผลิตผลงานวิจัย/ผลงานวิชาการเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI 2 ดังนี้

หลักการเขียนบทความวิจัย

การเขียนบทความวิจัยในเชิงวิชาการที่ถูกต้อง จะต้องครอบคลุมสาระตามกระบวนการวิจัย  โดยเขียนให้กระชับ  ครบถ้วน ชัดเจน  และศึกษารูปแบบการเขียนตามที่แหล่งเผยแพร่กำหนด เช่น ใช้ตัวอักษร (Fonts) อะไร ขนาดเท่าใด (Point) ตั้งค่าขอบกระดาษอย่างไร ซึ่งต้นฉบับมักใช้เป็น Word (*.doc) รวมทั้งสิ้นไม่ควรเกิน  8  หน้ากระดาษ  A4  ภาษาไทยใช้ตัวอักษร Angsana  New  ขนาด  16  Point ซึ่งการปฏิบัติตามข้อกำหนดเป็นสิ่งสำคัญและส่งผลต่อการรับพิจารณาบทความ จึงควรตรวจสอบรูปแบบรายละเอียดการเขียนของแต่ละวารสารจากหัวข้อ “Guide for authors” ซึ่งส่วนประกอบของบทความวิจัยทั่วไป มีดังนี้

1.ชื่อเรื่อง ให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยการกำหนดชื่อเรื่องต้องน่าสนใจ เป็นเรื่องที่กำลังอยูในความสนใจ สมบูรณ์แต่กระชับ ประกอบด้วยคำสำคัญ ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม

2.ชื่อผู้วิจัย ให้ระบุชื่อเต็ม – นามสกุลเต็ม  ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ  รวมทั้งระบุหลักสูตร สาขาวิชา  หน่วยงานหรือสถาบันที่สังกัด  หมายเลขโทรศัพท์/โทรสาร  และ E-mail  address  ที่สามารถติดต่อได้ (ตามรูปแบบที่สารสารกำหนด) ในกรณีที่เป็นนักวิจัยหน้าใหม่ ควรมีชื่อนักวิจัยร่วมที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ

3.บทคัดย่อ ให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ควรศึกษาว่าบทคัดย่อให้เขียนได้ทั้งหมดกี่คำ โดยทั่วไปความยาวไม่เกินอย่างละ 250 คำ หรือ 10 บรรทัด โดยมีเฉพาะสาระสำคัญ ครบถ้วน ตรงประเด็น สั้นแต่กระชับ บทคัดย่อควรประกอบด้วย

3.1 วัตถุประสงค์การวิจัย

3.2 ตัวแปร/ประชากร และกลุ่มตัวอย่าง

3.3 เครื่องมือการวิจัย

3.4 วิธีดำเนินการรวบรวมข้อมูล

3.5 วิธีการ/สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

3.6 ผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ (ผลต้องตอบวัตถุประสงค์อย่างชัดเจน)

4.คำสำคัญ ให้ระบุคำสำคัญที่เหมาะสมสำหรับการนำไปใช้เป็นคำค้นในระบบฐานข้อมูลให้ระบุทั้งคำในภาษาไทยและภาษาอังกฤษใส่ไว้ท้ายบทคัดย่อของแต่ละภาษาอย่างละไม่เกิน 5 คำ

5.บทนำ (Introduction) อธิบายภูมิหลังที่มา ความสำคัญของปัญหาและเหตุผล (Background/ Significance and Rationale) ที่นำไปสู่การศึกษาวิจัย หรือการปรับปรุง พัฒนา ให้ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่จะก่อให้เกิดประโยชน์อะไรบ้าง และผู้ได้รับประโยชน์คือใคร มีแนวคิดอย่างไร ในการแก้ปัญหา หรือพัฒนาปรับปรุงแก้ไข และแนวคิดดังกล่าวได้มาอย่างไร (อาจได้มาจากการศึกษาเอกสาร หรือจาก ประสบการณ์ตรงที่ได้จากการสังเกต การสัมภาษณ์ เป็นต้น) พร้อมระบุแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือและตรวจสอบได้

6.วัตถุประสงค์ของการวิจัย ระบุว่าต้องการทำอะไร กับใคร และจุดหมายปลายทางหรือผลลัพธ์สุดท้ายที่ผู้วิจัยต้องการคืออะไร

7.ขอบเขตของการวิจัย ให้ระบุทั้งขอบเขตด้านเนื้อหา และด้านประชากร/กลุ่มเป้าหมาย/ผู้ให้ข้อมูลหลัก/        ตัวแปรที่ศึกษา (อย่างใดอย่างหนึ่ง)

8.กรอบแนวคิดในการวิจัย/สมมติฐานการวิจัย ให้เสนอกรอบแนวคิดการวิจัย หรือสมมติฐานการวิจัย

9.วิธีดำเนินการวิจัยและระเบียบวิธีวิจัย

9.1  ชนิดหรือประเภทการวิจัย

9.2  ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง  (รวมทั้งการได้มาของกลุ่มตัวอย่าง)

9.3  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  พร้อมวิธีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ

9.4  วิธีดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล

9.5  การวิเคราะห์ข้อมูล  และสถิติที่ใช้ (สำหรับข้อมูลเชิงปริมาณ)

10.ผลการวิจัย (Results) เสนอผลการวิจัยอย่างชัดเจน สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ถ้าเป็นข้อมูลเชิงปริมาณที่มีตัวเลขหรือตัวแปรจำนวนมาก ควรนำเสนอด้วยตารางหรือแผนภูมิ ทั้งนี้ไม่ควรเกิน 3 ตาราง โดยมีการแปลความหมายและวิเคราะห์ผลที่ค้นพบร่วมด้วย

11.การอภิปรายผล หรือการวิจารณ์และสรุป (Discussions) เป็นการชี้แจงผลการวิจัยว่าตรงกับวัตถุประสงค์ / สมมติฐานการวิจัย สอดคล้อง หรือขัดแย้งกับหลักทฤษฎี  หรือผลการวิจัยของผู้อื่นที่มีอยู่ก่อนหรือไม่ การที่ผลการวิจัยออกมาเป็นเช่นนั้นเพราะเหตุใด

12.ข้อเสนอแนะ ให้ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์และให้แนวทางสำหรับการวิจัยต่อไป

13.บรรณานุกรม (References) ควรระบุรายการแหล่งข้อมูลในการอ้างอิงเนื้อหา (cite index) และการอ้างอิงท้ายเล่ม (reference) โดยเลือกแหล่งข้อมูลที่สำคัญซึ่งใช้อ้างอิงบ่อยจำนวน 5-10 รายการ ตามรูปแบบของแหล่งเผยแพร่นั้นๆ กำหนด

รูปแบบการเผยแพร่บทความวิจัย :

โดยทั่วไปแล้วการเผยแพร่ผลงานวิจัยนั้นสามารถแบ่งเป็น 2 ลักษณะคือ

  1. การเผยแพร่ในที่ประชุมวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติ (Conference) เป็นการส่งบทความวิจัยเข้าร่วมการนำเสนอในการประชุมวิชาการ ในรูปแบบโปสเตอร์ (poster) หรือแบบปากเปล่า (oral) โดยบทความวิจัยจะต้องผ่านการพิจารณาประเมินคุณค่าและความถูกต้องจากบรรณาธิการ และบทความที่ได้รับอนุมัติให้เข้าร่วมการนำเสนอจะได้รับการตีพิมพ์รวมเล่มในเอกสารประกอบการประชุมวิชาการ (Proceedings) ซึ่งผู้วิจัยจะต้องพิจารณาหน่วยงานที่จัดประชุม คณะกรรมการ บรรณาธิการ ตลอดจนพิจารณาความเกี่ยวข้องของสาขาที่ประชุมวิชาการให้ตรงกับความเชี่ยวชาญของนักวิจัย ข้อดีของการเผยแพร่รูปแบบนี้คือ ผลงานวิจัยได้รับการเผยแพร่สู่ผู้สนใจได้อย่างรวดเร็ว สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนักวิจัยท่านอื่นได้ และเป็นการสร้างเครือข่ายกับนักวิจัยในสาขาเดียวกันเพิ่มขึ้น แต่มีข้อจำกัดในกรณีผู้เข้าร่วมการประชุมจำนวนมากทำให้การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเป็นไปได้ยาก โดยสรุปการเผยแพร่ในงานประชุมวิชาการ เป็นรูปแบบการเผยแพร่ผลงานไปยังผู้ที่สนใจซึ่งเป็นรูปแบบที่ง่ายและรวดเร็ว โดยจะมีการกำหนดช่วงระยะเวลาที่ชัดเจนแน่นอน แต่ผลงานที่เผยแพร่อาจยังไม่เป็นที่ยอมรับในวงกว้างเท่าที่ควร
  2. การเผยแพร่ในวารสารวิชาการ เป็นรูปแบบการเผยแพร่งานวิจัยที่ได้รับการยอมรับและมีความน่าเชื่อถือมากที่สุด ซึ่งวารสารวิชาการนั้นจะต้องมีระยะการตีพิมพ์อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอซึ่งอาจพิจารณาได้จากค่า impact factor ของวารสารนั้น ๆ โดยจะต้องมีกระบวนการตรวจพิจารณาผลงานจากคณะผู้เชี่ยวชาญ สำหรับแต่ละสาขานั้น ๆ โดยเฉพาะ (Peer review) ซึ่งผู้วิจัยสามารถที่จะลงทะเบียนและส่งต้นฉบับผลงานเข้าสู่กระบวนการพิจารณาเพื่อประเมินคุณภาพของผลงาน โดยบรรณาธิการจะเป็นผู้แจ้งผลการพิจารณามาให้ผู้วิจัยทราบ ผลของการพิจารณาจากบรรณาธิการเป็นไปได้ทั้งการตอบรับให้ตีพิมพ์ (Accept) หรือส่งกลับมาแก้ไข (Revise) หรืออาจถูกปฏิเสธ (Reject)

กรณีได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ นักวิจัยจะได้รับบทความเสมือนจริงส่งกลับมาให้ตรวจทานอีกครั้ง นักวิจัยควรรีบดำเนินการตรวจแก้ไขและส่งกลับคืนอย่างรวดเร็ว กรณีส่งกลับมาให้แก้ไข นักวิจัยควรรีบดำเนินการตรวจแก้ไขและส่งกลับตามระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งอาจต้องแก้ไขหลายรอบแต่จะมีโอกาสได้รับการตีพิมพ์มากกว่า 50% กรณีที่บทความถูกปฏิเสธ นักวิจัยควรแก้ไขตามที่ผู้พิจารณาผลงาน (Reviewer) แนะนำและสามารถส่งไปวารสารอื่นได้

การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารระดับชาติและนานาชาติ

ขั้นตอนการเตรียมบทความวิจัย (manuscript) เพื่อตีพิมพ์ในวารสาร

1.วางแผนเตรียมการเรื่องตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารไว้ล่วงหน้าตั้งแต่วางแผนทำวิจัย และศึกษาข้อมูลวารสารที่สนใจ เป็นวารสารที่ได้รับการรับรองในระดับใด ตรงตามเกณฑ์ที่ต้องการหรือไม่  หัวข้อเรื่องที่ทำวิจัยและระเบียบวิธีวิจัยสอดคล้องกับแนวทางของวารสารที่ต้องการหรือไม่ การสมัครตีพิมพ์ในวารสารจะต้องใช้งบประมาณเท่าไร ค่าสมัครเป็นสมาชิกของวารสารเท่าไร เพื่อวางแผนของบประมาณไว้ล่วงหน้า

2.เมื่อดำเนินการวิจัยแล้วเสร็จควรเตรียมบทความเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ตามแนวทางที่วารสารที่ต้องการตีพิมพ์กำหนด  ซึ่งควรปฏิบัติตามข้อกำหนดอย่างเคร่งครัดเพราะมีผลต่อการพิจารณาตอบรับการตีพิมพ์

3.เขียนบทความวิจัยให้มีความต่อเนื่องเชื่อมโยงกันทั้งเรื่อง และเน้นสาระสำคัญที่โดดเด่นที่ต้องการเสนอให้ผู้อ่านทราบ

4.อ่านทบทวนตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา ระเบียบวิธีวิจัย การเขียนอ้างอิง และบรรณานุกรมตามระบบที่วารสารกำหนด หรือให้ผู้อื่นทั้งในและนอกสาขาอ่านเพื่อตรวจสอบเนื้อหาและภาษาที่ใช้ในงานวิจัยก่อนส่งรายงานการวิจัย

5.ส่งบทความไปตีพิมพ์เผยแพร่ และมีการติดตามผลจากบรรณาธิการของวารสารเป็นระยะๆ ถ้ามีการแก้ไข บรรณาธิการของวารสารจะส่งต้นฉบับกลับมา ผู้เขียนควรรีบดำเนินการแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ (reviewer) ของวารสาร และส่งตามเวลาที่วารสารกำหนด และติดตามผลการตอบกลับ ซึ่งอาจจะมีการส่งกลับมาให้แก้ไขอีกครั้ง ทั้งนี้ผู้เขียนจะต้องให้กำลังใจตนเองในการแก้ไขเพื่อให้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่ได้รับการรับรอง แม้ว่าบทความจะถูกปฏิเสธ แต่มีความเป็นไปได้ที่จะได้รับการตอบรับจากวารสารอื่นๆ เมื่อบทความได้รับการแก้ไขปรับปรุงแล้ว

6.วิธีการส่งบทความ  ควรศึกษาวิธีการส่งบทความ เช่น ส่งข้อมูลเป็นไฟล์ทั้งหมดผ่านอีเมล์ หรือส่งในระบบออนไลน์ (Submit Online) และส่งไฟล์รูปผู้ทำวิจัย และภาพกิจกรรมจากการวิจัยพร้อมคำบรรยายใต้ภาพเป็นภาคผนวกเพิ่ม (ถ้ามี)

การเลือกแหล่งตีพิมพ์เผยแพร่

ควรเลือกวารสารในสาขาที่ตรงกับสาขาที่ดำเนินงานวิจัย และลองค้นหาบทความที่มีลักษณะใกล้เคียงกับบทความของนักวิจัยที่จะขอตีพิมพ์ เพื่อนำมาพิจารณาแนวทางเกี่ยวกับวิธีการเขียน รูปแบบการนำเสนอเนื้อหา รูป กราฟ ตาราง เพื่อสร้างความมั่นใจในการส่งผลงานตีพิมพ์และพิจารณาโอกาสการตอบรับของวารสาร

ควรเลือกวารสารที่ได้รับการยอมรับในระดับชาติหรือนานาชาติ ซึ่งสามารถพิจารณาจากองค์กรหรือสถาบันที่เป็นผู้จัดทำวารสาร กรณีที่ต้องการนำบทความตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติและนานาชาติ สามารถศึกษารายชื่อวารสารวิชาการที่ได้รับการยอมรับจากฐานข้อมูล  ICT ของ สกอ. ดังนี้

2.1 วารสารวิชาการระดับชาติ

1) การตรวจสอบรายชื่อวารสารวิชาการระดับชาติ ในฐานข้อมูล TCI สามารถค้นหาได้จาก http://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/search.html

2) การตรวจสอบค่า Impact Factor สามารถตรวจสอบได้ตามที่อยู่เว็บไซต์    http://www.kmutt.ac.th/jif/Impact/impact_h.php การตรวจสอบ Ranking วารสารตามสาขาที่หน้าแรกของ TCI คลิก ที่ Thai-Journal Impact Factors

2.2 วารสารวิชาการระดับนานาชาติ

1) การตรวจสอบรายชื่อวารสารวิชาการระดับนานาชาติ

ก. การตรวจสอบชื่อวารสารวิชาการ (Journal) สายสังคมศาสตร์ (Social Science) จากฐานข้อมูล SJR SCImago Journal & Country Rank เมื่อต้องการสืบค้นจากฐานข้อมูล SJR www.scimagojr.com ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากฐานข้อมูล Scopus  สามารถค้นหาได้จากเว็บไซต์https://www.scimagojr.com/journalrank.php?area=3300&category=3301&country=all&year=2012&order=sjr&min=0&min_type=cd

ข. การตรวจสอบวารสารวิชาการสายวิทยาศาสตร์ ในฐานข้อมูล SCOPUS ฐานข้อมูล SCOPUS ส่วนใหญ่จะเป็นวารสารสายวิทยาศาสตร์ มีการจัดแบ่งหมวดวิชาออกเป็น 4 หมวด คือ Life Sciences, Physical Sciences, Health Sciences, and Social Sciences & Humanities ซึ่งแบ่งเป็นหมวดย่อยๆอีก 27 วิชาหลัก และมากกว่า 300 วิชารอง สำหรับสังคมศาสตร์  ตรวจสอบได้จากเว็บไซต์ http://www.elsevier.com/subjects/social-sciences หน้าเว็บไซต์จะระบุหัวข้อ subject  ที่มีหลายหมวดวิชา สามารถเลือกคลิกดูตามหมวดวิชาที่ต้องการได้ เช่น Arts and Humanities  และ Social Science เข้าไปที่เว็บไซต์ http://www.elsevier.com/journals/subjects/social-sciences/%20title/s  เมื่อเข้าไปในหมวดวิชาแล้วจะพบรายชื่อหนังสือและวารสารวิชาการด้านสังคมศาสตร์ เรียงตามลำดับตัวอักษร A –Z

ค. การตรวจสอบวารสารวิชาการในฐานข้อมูลของ Thompson Reuters การตรวจสอบวารสารวิชาการจากฐานข้อมูล Web of Science ของ Thompson Reuters สามารถเข้าไปที่เว็บไซต์ http://ip-science.thomsonreuters.com/mjl/  จะพบข้อความ Master Journal List บนหน้าเว็บด้านล่างจะพบข้อความ Journal Lists for Researchable Databases ระบุฐานข้อมูลต่างๆที่เข้าไปสืบค้นรายชื่อวารสารวิชาการ เช่น Arts & Humanities Citation Index, Social Sciences Citation Index, Current Contents / Social & Behavior Science ฯลฯ

ควรเลือกวารสารที่มีค่า Impact Factor สูง

การพิจารณาคุณภาพของวารสาร สามารถพิจารณาได้จากดัชนีอ้างอิงของวารสารว่าอยู่ในฐานข้อมูลใด  ซึ่งฐานข้อมูลซึ่งเป็นที่นิยมในปัจจุบันคือ ฐานข้อมูลที่มีการคิดค่าดัชนีอ้างอิง (Impact Factor) หรือ Journal Impact Factor (JIF) ค่า Impact Factor คือ ดัชนีผลกระทบการอ้างอิงวารสาร วัดจากจำนวนครั้งโดยเฉลี่ยที่บทความของวารสารวิชาการนั้นได้รับการอ้างอิงในแต่ละปี ข้อมูลที่เป็นของคนไทยคือ ดัชนีอ้างอิง Thailand Citation Index (TCI) ซึ่งดูแลโดยศูนย์อ้างอิงดัชนีวารสารไทย  สำหรับฐานข้อมูลของต่างประเทศ ได้แก่ ดัชนีอ้างอิง SCImago ซึ่งอยู่ในฐานข้อมูล Scopus ของบริษัท Elsevier และต้นตำหรับคือดัชนีอ้างอิง ISI ซึ่งเป็นของบริษัทใหญ่ผู้ให้บริการด้านข้อมูล คือ Thomson Reuters การตรวจสอบค่า Impact Factor ของวารสารวิชาการระดับนานาชาติ สามารถตรวจสอบได้จากเว็บไซต์  http://www.uk.sagepub.com/isiranking/default.sp

เทคนิคการเลือกแหล่งตีพิมพ์เผยแพร่ :

  1. การเลือกแหล่งตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยต้องสอดคล้องกับหัวข้อและนโยบายของวารสารหรืองานประชุมวิชาการนั้น ๆ
  2. พิจารณาถึง บรรณาธิการ คณะกรรมการ ความเกี่ยวข้องของสาขา ควรให้ตรงกับผลงานและนักวิจัย
  3. การเลือกวารสารหรืองานประชุมวิชาการเพื่อเผยแพร่งานวิจัย ควรพิจารณาถึงเกณฑ์ระดับคุณภาพผลงานทางด้านวิชาการ รายละเอียดแสดงดังตารางที่ 1 เพื่อประกอบการพิจารณาด้วย
  4. การเลือกวารสารต่างประเทศเพื่อตีพิมพ์ควรเลือกวารสารที่มีค่า impact factor น้อย ๆก่อนเพราะโดยปกติแล้วจะรู้ผลการพิจารณาได้เร็วกว่าวารสารที่มีค่า impact factor สูง ๆ ซึ่งหลังจากที่ได้รับคำแนะนำจากคณะกรรมการผู้พิจารณาผลงาน (reviewers) แล้ว ผู้วิจัยจะต้องนำคำแนะนำหรือข้อเสนอแนะมาพิจารณาปรับปรุงแก้ไขผลงานให้มีคุณภาพมากขึ้น และยังสามารถนำไปพัฒนางานวิจัยในอนาคตสำหรับส่งไปเผยแพร่ในวารสารที่มีระดับคุณภาพที่สูงขึ้นต่อไป
  5. เมื่อผลงานได้รับการตอบปฏิเสธ ผู้วิจัยอาจพิจารณาปรับแก้ผลงานตามข้อเสนอแนะเพื่อส่งไปให้กรรมการผู้พิจารณาผลงานพิจารณาใหม่หรือสามารถที่จะส่งไปยังวารสารอื่น

เกณฑ์การสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัย

จากคู่มือการขอรับทุนอุดหนุนการวิจัยสำหรับบุคลากรของมหาวิทยาลัยเนชั่น ซึ่งออกโดยส่วนงานวิจัยและบริการวิชาการ สำนักวิชาการ มหาวิทยาลัยเนชั่น พ.ศ.2563 ได้กำหนดเกณฑ์การสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัยไว้ ดังนี้

โครงการวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนการดำเนินการวิจัยจากมหาวิทยาลัย และผลงานวิจัยได้รับการเผยแพร่ในฐานข้อมูล SCOPUS, TCI1, TCI2 หรือประชุมวิชาการระดับนานาชาติ นักวิจัยสามารถขอรับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายเพื่อการเผยแพร่ผลงานวิจัยได้ไม่เกิน 1 ครั้งต่อโครงการ ดังนี้

การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ  ระดับคะแนน 0.4 จำนวน 2,500 บาท(สองพันห้าร้อยบาทถ้วน)

ฐานข้อมูล TCI 2                 ระดับคะแนน 0.6 จำนวน 5,000 บาท(ห้าพันบาทถ้วน)

ฐานข้อมูล TCI 1                 ระดับคะแนน 0.8 จำนวน 7,000 บาท(เจ็ดพันบาทถ้วน)

ฐานข้อมูล SCOPUS             ระดับคะแนน 1.0 จำนวน 15,000 บาท(หนึ่งหมื่นห้าพันบาทถ้วน)

(1) การเผยแพร่ผลงานวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนการดำเนินการวิจัยจากมหาวิทยาลัยเนชั่น จะต้องได้รับการอนุมัติจากอธิการบดีก่อนดำเนินการ

(2) เมื่อนักวิจัยได้รับการพิจารณาอนุมัติจากอธิการบดีให้เผยแพร่ผลงานวิจัย และได้รับการตอบรับการเผยแพร่ผลงานวิจัยแล้ว ให้นักวิจัยนำหลักฐานใบตอบรับการเผยแพร่ผลงานวิจัยขออนุมัติเบิกงบประมาณสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัยตามข้อ 5 โดยใช้งบประมาณด้านพัฒนาบุคลากรของหน่วยงาน ตามประกาศมหาวิทยาลัย เนชั่น เรื่อง ประมาณการรายละเอียดเงินสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรประจำมหาวิทยาลัยเนชั่น

ทั้งนี้โครงการวิจัยที่ไม่ได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัย และได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานที่เป็นประโยชน์ต่องานประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัย นักวิจัยสามารถเสนอขออนุมัติทุนสนับสนุนเผยแพร่ผลงานวิจัย และต้องได้รับการพิจารณาการอนุมัติจากท่านอธิการบดีเป็นรายกรณี

บทสรุป :

การทำงานวิจัยเป็นการสร้างความก้าวหน้าทางวิชาการอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ ทำให้ทราบถึง กระบวนการ ผลกระทบ เหตุปัจจัยต่าง ๆ เทคนิค วิธีการ จนสามารถนำไปสู่การประยุกต์ใช้งานหรือสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อให้เกิดการพัฒนาและสร้างคุณค่าให้กับสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างสูงสุด ซึ่งการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยอย่างเหมาะสม จะทำให้ผลงานวิจัยที่ได้นั้นเกิดคุณค่าและสร้างคุณประโยชน์สูงสุดทั้งแก่นักวิจัยและผู้ที่มีความสนใจหรือเกี่ยวข้องในด้านนั้นๆ ในทุก ๆ ครั้งที่ส่งผลงานวิจัย นักวิจัยจะต้องนำข้อเสนอแนะที่ได้จากผู้พิจารณาผลงานมาปรับปรุงผลงานเพื่อให้ผลงานมีความสมบูรณ์ยิ่ง ๆ ขึ้นไป

ขั้นตอนการส่งบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการ

http://doc.nation.ac.th/QA_BAPACS_2563/Research_Publication_Handbook_KM_63.pdf

โพสท์ใน KM:ด้านการวิจัย, คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์ | ใส่ความเห็น

คู่มือการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ ปีการศึกษา 2563

สถาบันอุดมศึกษามีพันธกิจหลักที่สําคัญในด้านการผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการวิชาการแก่สังคม และการทํานุบํารุงศาสนาและศิลปวัฒนธรรม ภายใต้พันธกิจด้านการผลิตบัณฑิต คณะให้ความสำคัญกับการสร้างแนวปฏิบัติที่ดีในการพัฒนาการทำงานปกติให้มีประสิทธิภาพด้านการเรียนการสอน รวมถึงการวัดและประเมินผลการจัดการเรียนการสอน กระบวนการบริหารจัดการทั้งด้านวิชาการและการพัฒนานิสิตด้วยกิจกรรมต่างๆ เพื่อค้นหาองค์ความรู้ใหม่ สามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงาน เป็นแบบอย่างที่ดี และเพื่อพัฒนาองค์กรในระดับที่เกี่ยวข้อง การพัฒนากระบวนการในด้านต่างๆ ของการบริหารจัดการศึกษา ถือเป็นพันธกิจหลักอย่างหนึ่งของอาจารย์ และเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดสำคัญด้านคุณภาพของหลักสูตร คณะ และมหาวิทยาลัย ซึ่งผลที่เกิดจากการศึกษา คิดค้น และพัฒนา อย่างถูกต้องและเป็นระบบ จะสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เพื่อให้ทราบถึงแนวทางในการพัฒนาการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนิสต อันเกิดจากกระบวนการจัดการเรียนการสอน และกรอบการดำเนินงานของหลักสูตร ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพของนิสิตให้เป็นไปตามหลักสูตร(มคอ.2) ที่ส่งผลต่อคุณภาพของมหาวิทยาลัย คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเนชั่น จึงได้จัดทำแผนการจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM) ในประเด็นการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ โดยได้จัดให้มีกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อเป็นเวทีในการถ่ายทอดองค์ความรู้จากอาจารย์โดยมีการแลกเปลี่ยน วิเคราะห์กระบวนการทำงาน-ผลที่ได้ เพื่อสรุปแนวปฏิบัติที่ดีในการดำเนินงานร่วมกันให้เป็นระบบและรูปแบบเดียวกัน ซึ่งสามารถสรุปเป็นแนวทางในการจัดทำคู่มือการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ ดังนี้

ขั้นตอนการดำเนินงานกระบวนการการทวนสอบ

เพื่อให้การดำเนินงานของทุกสาขาวิชาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน จึงได้กำหนดกรอบระยะเวลาการดำเนินงาน ดังนี้

  • แต่งตั้งคณะกรรมการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ ประจำสาขาวิชา และระดับคณะ
  • กำหนดกรอบปฏิทินการดำเนินการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์
  • ช่วงเวลา กิจกรรม ผู้รับผิดชอบ
    หลังประกาศผลการเรียน

    3 สัปดาห์

    มท.บธ.01 แบบรายงานการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ระดับกระบวนวิชา อาจารย์ผู้สอน / ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

    กรรมการบริหารหลักสูตร

    หลังประกาศผลการเรียน

    4-5 สัปดาห์

    มท.บธ.02 กรรมการบริหารหลักสูตร
    หลังประกาศผลการเรียน

    6-7 สัปดาห์

    มท.บธ.03 กก. ตามคำสั่งแต่งตั้ง หลักสูตรละ 3 คน คณะกรรมการทวนสอบ

    ประจำสาขาวิชา

    หลังประกาศผลการเรียน

    8-9 สัปดาห์

    มท.บธ.04 กรรมการบริหารและวิชาการคณะ

     แบบฟอร์มสำหรับการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ระดับรายวิชา กระบวนรายวิชาและระดับหลักสูตร

    ชื่อ รายการ ผู้เกี่ยวข้อง/ดำเนินการ
    มท.บธ.01 แบบรายงานการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ระดับกระบวนวิชา

    ข้อ 1  2 และ 3 ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนดใน มคอ.3 และ มคอ.4 (มีบันทึกรายงานการประชุม Defend ทุกประเภทของหลักสูตรประกอบการรายงาน)

    อาจารย์ผู้สอนประจำรายวิชาที่ทวนสอบ/

    ผู้รับผิดชอบหลักสูตร/

    กรรมการบริหารหลักสูตร

    มท.บธ.02 แบบรายงานสรุปผลการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ (ของทุกรายวิชาที่เปิดสอนในสาขาวิชาประจำภาคเรียน) กรรมการบริหารหลักสูตร
    มท.บธ.03 แบบรายงานผลการทวนสอบมาตรฐานการเรียนรู้ของรายวิชาที่เปิดสอน (รายวิชาที่เข้าสู่กระบวนการทวนสอบ) โดยคณะกรรมการทวนสอบผลการเรียนรู้ (ที่แต่งตั้ง)

    (สำหรับผู้ประเมินรายบุคคล จำนวน 3 คน)

    คณะกรรมการทวนสอบ

    ประจำสาขาวิชา

    มท.บธ.04 แบบรายงานสรุปผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของหลักสูตร กรรมการบริหารและวิชาการคณะ
  • ขั้นตอนการทวนสอบผลสัมฤทธิ์

  • http://doc.nation.ac.th/QA_BAPACS_2563/Achievement_Verification_Handbook_KM_63.pdf

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

  •  
โพสท์ใน KM:ด้านการผลิตบัณฑิต, คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์ | ใส่ความเห็น

KM เครื่องมือช่วยพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อชุมชน (CBR) Logical Framework, Outcome Mapping และ Outcome Chain

ดร.ธีร์ คันโททอง

ก่อนที่นักวิจัยชุมชนจะจัดทำโครงการวิจัยเพื่อชุมชนนั้น สิ่งแรกที่มีความสำคัญที่สุดคือ การลงพื้นที่เพื่อศึกษาปัญหาของชุมชนโดยต้องให้ชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน ซึ่งทั้งหมดนี้ชาวชุมชนควรได้เข้ามามีส่วนร่วมเพราะว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) โดยตรง การใช้เครื่องมือเพื่อช่วยในการรวบรวมข้อมูลเพื่อพัฒนาหัวข้อวิจัยชุมชนนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการเตรียมเสนอโครงการวิจัยในรูปแบบการวิจัยเพื่อท้องถิ่น หรือ CBR ซึ่งเป็นรูปแบบโครงการวิจัยที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มพลังทางปัญญาให้กับชาวบ้าน โดยการมีปฏิบัติการให้ชาวบ้านได้เข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่คิดถึงปัญหาของการวิจัย วิธีการวิจัย และสรุปผลการวิจัย ซึ่งชาวบ้านจะต้องเข้ามีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของการวิจัยเพราะเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรง หรือเรียกว่าเป็นงานวิจัยปฏิบัติการเพื่อการพัฒนาชุมชนหรือ วิจัยไทบ้านก็ได้ และในการเก็บรวบรวมข้อมูลในเบื้องต้นก่อนจัดทำโครงร่างโครงการวิจัยผู้เขียนขอแนะนำเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลนี้ 3 เครื่องมือด้วยกัน ได้แก่ Logical Framework (ตารางเหตุผลสัมพันธ์), Outcome Mapping (แผนที่ผลลัพธ์) และ Outcome Chain (ห่วงโซ่ผลลัพธ์)

เครื่องมือที่ช่วยในการรวบรวมข้อมูลเพื่อพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อชุมชน หรือ CBR 

  1. Logical Framework (ตารางเหตุผลสัมพันธ์)

ในการเก็บรวบรวมข้อมูลต้องเริ่มต้นจาก ต้นไม้แห่งปัญหาและสาเหตุ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่สร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนที่แสดงให้เห็นถึงความชัดเจน ของปัญหาและสาเหตุ จัดลำดับความสำคัญของปัญหา การเชื่อมโยงของปัญหาและสาเหตุ ชุมชนเห็นแนวทางในการดำเนินการแก้ไขปัญหา รวมถึงสร้างความเข้าใจระหว่างผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม และยังสร้างการมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ปัญหาร่วมกันของทุกกลุ่มอีกด้วย

จากภาพ ขั้นต้นที่ 1 คือ การกำหนดปัญหาใหญ่และสำคัญของชุมชน เช่น ขยะ, มลภาวะ, การเผาป่า เป็นต้น ซึ่งก็เปรียบได้กับลำต้นของต้นไม้ปัญหานั่นเอง

ขั้นตอนที่ 2 คือ เมื่อกำหนดปัญหาใหญ่และสำคัญที่ชุมชนต้องการแก้ปัญหาได้แล้ว ก็เริ่มจากการหาสาเหตุหลักของปัญหาขึ้นมามาก่อน ซึ่งจะต้องเป็นสาเหตุที่สำคัญๆ ที่ทำให้เกิดปัญหาของชุมชน และสำคัญที่ส่งผลกระทบทำให้เกิดปัญหาใหญ่ที่ชุมชนต้องการแก้ไข โดยจะอาจจะมี 2-3 สาเหตุหลักๆ ที่สำคัญๆ เท่านั้น

ขั้นตอนที่ 3 เมื่อได้สาเหตุหลักๆ ของปัญหาใหญ่แล้วก็ให้เจาะลึกลงไปของแต่ละสาเหตุหลักว่า มีสาเหตุย่อยๆ อะไรอีกบ้าง ซึ่งแต่ละสาเหตุหลัก อาจจะมีสาเหตุย่อยอีก 2-3 ข้อ

ทั้งนี้ สาเหตุหลักและสาเหตุย่อย ก็เปรียบได้กับรากของต้นไม้ปัญหานั่นเอง

ขั้นตอนที่ 4 การ Log Frame คือ การเชื่อมโยงระหว่าง สาเหตุหลัก ที่ส่งผลกระทบและการกำหนดวิธีการแก้ปัญหาเป็นแผนกิจกรรมออกมา ดังตัวอย่างจากรูป

หมายเหตุ: แผนกิจกรรม 1 จะจัดทำขึ้นเพื่อแก้สาเหตุของปัญหา 1 แต่แผนกิจกรรมหนึ่งแผน อาจจะแก้ปัญหาสาเหตุย่อยของปัญหาได้มากกว่า 1 สาเหตุก็ได้

ทั้งนี้สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการทำ  Log Frame ก็คือ

  • Player หรือ ผู้พยายามแก้ไขปัญหา จำนวน 3 กลุ่ม
  • Partner หรือ ภาคีที่ทำงานร่วมกัน จำนวน 2 กลุ่ม
  • Output / Outcome และ Impact

1.1 Player หรือ ผู้พยายามแก้ไขปัญหา จำนวน 3 กลุ่ม

1.2 Partner หรือ ภาคีที่ทำงานร่วมกัน จำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่

1.3 Output / Outcome และ Impact

หมายเหตุ : ตัวชี้วัดต้องวัดผลได้จริง

: กิจกรรมเพื่อแก้ปัญหา 1 จะสัมพันธ์กับผลลัพธ์ที่ได้ Outcomes 1 เป็นต้น

  1. Outcome Mapping (แผนที่ผลลัพธ์)

  1. Outcome Chain (ห่วงโซ่ผลลัพธ์)

ทั้งนี้เครื่องมือทั้ง 3 เครื่องมือนี้จะช่วยให้ผู้วิจัยได้ข้อมูลถึงปัญหาของชุมชนที่แท้จริงซึ่งเกิดจากการมีส่วนร่วมของชาวชุมชนเอง และจะเป็นประโยชน์ต่อการจัดทำโครงการวิจัยเพื่อชุมชน (CBR) เพื่อเสนอของบประมาณจากภายนอกต่อไป

เอกสารอ้างอิง

  1. โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์

  1. รับฟังการอบรมเพิ่มเติมได้ที่

https://www.facebook.com/cmusecenter/videos/231538668190881

 

โพสท์ใน คณะนิเทศศาสตร์, แนวทางการผลิตงานวิจัยเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ | ใส่ความเห็น

การเตรียมบทความเพื่อเสนอการตีพิมพ์ในระดับชาติและนานาชาติ

โดย ดร.ธีร์ คันโททอง

ความสำคัญการตีพิมพ์บทความสำหรับอาจารย์

การตีพิมพ์บทความสำหรับผู้ที่เป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรนั้นมีความสำคัญมาก ซึ่งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือกระทรวงศึกษาธิการในอดีตจึงได้ประกาศเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. ๒๕๕๘ และประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่งประกาศทั้งสองฉบับนี้ได้ชี้ให้เห็นว่า อาจารย์ทุกท่านควรจะต้องมีการตีพิมพ์บทความเพื่อใช้ประกอบการดูแลหลักสูตรและพัฒนาตนเองในการขอตำแหน่งทางวิชาการต่อไป ซึ่งมีรายละเอียดบางส่วนดังนี้

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. ๒๕๕๘

๑๐. จำนวน คุณวุฒิ และคุณสมบัติของอาจารย์

๑๐.๑ หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการประกอบด้วย

๑๐.๑.๑ อาจารย์ประจำหลักสูตร มีคุณวุฒิขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่าหรือมีตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ และต้องมีผลงานทางวิชาการที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา และเป็นผลงานทางวิชาการที่ได้รับการเผยแพร่ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในการพิจารณาแต่งตั้งให้บุคคลดำรงตำแหน่งทางวิชาการอย่างน้อย ๑ รายการ ในรอบ ๕ ปีย้อนหลัง

ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. ๒๕๖๐

๕ การแต่งตั้งอาจารย์ประจำผู้ใดให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการโดยวิธีปกติให้ดำเนินการ ดังนี้

๕.๑ การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์

๕.๑.๑ คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง

ในกรณีที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ผู้นั้นต้องดำรงตำแหน่งอาจารย์ และทำการสอนมาแล้วไม่น้อยกว่าหกปี หรือ

ในกรณีที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า ผู้นั้นต้องดำรงตำแหน่งอาจารย์ และทำการสอนมาแล้วไม่น้อยกว่าสี่ปี หรือ

ในกรณีที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า ผู้นั้นต้องดำรงตำแหน่งอาจารย์ และทำการสอนมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี และพ้นระยะทดลองการปฏิบัติงานที่กำหนดโดยสถาบันนั้น ๆ

๕.๑.๓ ผลงานทางวิชาการต้องประกอบด้วยผลงานซึ่งมีคุณภาพดี และมีปริมาณอย่างน้อย ดังต่อไปนี้

(๑) ผลงานวิจัย ๒ เรื่อง หรือ

(๒) ผลงานวิจัย ๑ เรื่อง และผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ๑ รายการ หรือ

(๓) ผลงานวิจัย ๑ เรื่อง และผลงานวิชาการรับใช้สังคม ๑ เรื่อง หรือ

(๔) ผลงานวิจัย ๑ เรื่อง และตําราหรือหนังสือ ๑ เล่ม

สำหรับการเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์นั้น ผู้ขออาจใช้ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น หรือผลงานวิชาการรับใช้สังคมหรือบทความทางวิชาการซึ่งมีคุณภาพดีมาก แทนงานวิจัย ตาม (๒) – (๔) ได้

๕.๒ การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์

๕.๒.๑ คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง ผู้ขอต้องดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์และปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปี

๕.๒.๒ ผลการสอน ให้นําความในข้อ ๕.๑.๒ มาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่ต้องมีความชํานาญพิเศษในการสอน

๕.๒.๓ ผลงานทางวิชาการ ผู้ขออาจเสนอผลงานทางวิชาการ ได้ ๒ วิธี ดังนี้

วิธีที่ ๑ ผลงานทางวิชาการต้องประกอบด้วยผลงานซึ่งมีคุณภาพดี และมีปริมาณอย่างน้อย ดังต่อไปนี้

(๑) ผลงานวิจัย ๒ เรื่อง หรือ

(๒) ผลงานวิจัย ๑ เรื่อง และผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ๑ รายการ หรือ

(๓) ผลงานวิจัย ๑ เรื่อง และผลงานวิชาการรับใช้สังคม ๑ เรื่อง และ

(๔) ตํารา หรือ หนังสือ ๑ เล่ม

วิธีที่ ๒ ผลงานทางวิชาการต้องประกอบด้วยผลงานซึ่งมีคุณภาพ และมีปริมาณอย่างน้อย ดังต่อไปนี้

(๑) ผลงานวิจัยอย่างน้อย ๓ เรื่อง ซึ่งมีคุณภาพดีมาก อย่างน้อย ๒ เรื่อง และมีคุณภาพดี ๑ เรื่อง หรือ

(๒) ผลงานวิจัยซึ่งมีคุณภาพดีมาก อย่างน้อย ๒ เรื่อง และผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่นซึ่งมีคุณภาพดี หรือ

(๓) ผลงานวิจัยซึ่งมีคุณภาพดีมาก อย่างน้อย ๒ เรื่อง และผลงานวิชาการรับใช้สังคมซึ่งมีคุณภาพดี

สำหรับการเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์

และมนุษยศาสตร์ โดยวิธีที่ ๒ นั้น ผู้ขออาจใช้ตําราหรือหนังสือซึ่งมีคุณภาพดีมาก อย่างน้อย ๒ เล่ม และมีคุณภาพดี ๑ เล่ม แทนผลงานตาม (๑) – (๓) ได้

การนำงานวิจัยหรืองานใด ๆ ที่ทำเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญาประกาศนียบัตร หรือเพื่อสำเร็จการศึกษา มาเสนอเป็นผลงานทางวิชาการ ตามข้อนี้จะกระทำมิได้ เว้นแต่ผู้ขอได้แสดงหลักฐานว่าได้ทำการศึกษาหรือวิจัยเพิ่มเติมขยายผลต่อจากเรื่องเดิม จนปรากฏความก้าวหน้าทางวิชาการอย่างเห็นได้ชัด ในกรณีเช่นนี้ให้พิจารณาเฉพาะผลการศึกษาหรือวิจัยที่เพิ่มขึ้นจากเดิมเท่านั้น

ดังนั้นแล้วการตีพิมพ์บทความจึงเป็นส่วนหนึ่งและเป็นส่วนสำคัญที่อาจารย์ทุกท่านจะต้องพัฒนาตนเองซึ่งก็จะเป็นประโยชน์ต่อหลักสูตรและตนเองต่อไป

จากการอบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ การผลิตและพัฒนาผลงานวิจัยให้ได้รับการตีพิมพ์ วันที่ 14 กันยายน 2563 จัดโดยมหาวิทยาลัยเนชั่น โดยมีรศ. ดร.ประทุม สร้อยวงค์ Ph.D., Dip. APMSN คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มาเป็นวิทยากร ซึ่งก็ได้ช่วยให้ผู้เข้าร่วมอบรมเกิดความรู้และความเข้าใจในการเตรียมบทความเพื่อการตีพิมพ์เป็นอย่างยิ่งซึ่งมีสาระสำคัญที่พอจะสรุปได้ดังนี้

การเตรียมบทความเพื่อตีพิมพ์

ประการแรก ต้องตอบคำถามก่อนว่า ทำไมต้องเผยแพร่บทความด้วย?

  1. แบ่งปันความคิดและความเชี่ยวชาญ โดยปกติแล้วมีวัตถุประสงค์เพื่อการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงบางสิ่งบางอย่างเพื่อประโยชน์สาธารณะ
  2. ก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์หรือทฤษฎี
  3. ผลการวิจัยจะเป็นการแจ้งหรือมีผลต่อนโยบายสาธารณะของรัฐได้
  4. การนำไปใช้เพื่อการดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
  5. ก้าวหน้าในอาชีพการงาน
  6. พัฒนาของตัวเองด้านความรู้และทักษะ

ประการที่สอง เราควรมีวิธีการเขียนบทความอย่างไร?

  1. การจัดสรรเวลาในการเขียน เราต้องปกป้องเวลาเขียนของคุณอย่างไร้ความปรานี
  2. ความลับของความสำเร็จในการเขียนบทความ คือ ความสม่ำเสมอไม่ใช่จำนวนวันหรือจำนวนชั่วโมง
  3. มีความต่อเนื่องและตั้งเป้าหมายที่เป็นรูปธรรมสำหรับการเขียนในแต่ละวัน

ประการที่สาม การเลือกวารสารอย่างไรให้เหมาะสมกับบทความ ซึ่งต้องพิจารณาอะไรบ้าง?

  1. ใครเป็นผู้อ่าน หมายถึง เราเขียนบทความที่ต้องการให้ใครได้อ่าน วารสารแต่ละวารสารก็จะผู้ที่สนใจอ่านแตกต่างกันไป
  2. บทความที่เราเขียนตรงกับ Aim & scope ของวารสารที่จะตีพิมพ์หรือไม่
  3. วารสารนั้นตีพิมพ์ตรงกับประเภทของบทความที่เราเขียนหรือไม่
  4. ดูคำแนะนำหรือเกี่ยวกับการตีพิมพ์ของวารสารที่เลือก หรือ author guideline
  5. พิจารณาค่า Impact factor (IF) ด้วยว่ามีค่าเท่าไหร่
  6. วารสารมี peer-reviewed ด้วยหรือไม่และพิจารณาลักษณะของ reviewer ด้วย
  7. ใครหรือหน่วยงานใดเป็น editorial board
  8. วารสารนั้นอยู่ในฐานข้อมูลอะไร

การพิจารณาค่า Impact factor และฐานข้อมูลของวารสารเพื่อตีพิมพ์

  1. ดัชนีชี้วัดชนิดต่าง ๆ ของวารสาร (Journal Metrics)
  • ค่า Impact factor หมายถึง จำนวนครั้งโดยเฉลี่ยที่บทความของวารสารนั้นได้รับการอ้างอิงในปีปัจจุบัน หลังจากที่ตีพิมพ์ไปแล้ว 2 ปี
  • ค่า 5-year Impact factor หมายถึง จำนวนครั้งโดยเฉลี่ยที่บทความของวารสารนั้นได้รับการอ้างอิงในปีปัจจุบัน หลังจากที่ตีพิมพ์ไปแล้ว 5 ปี
  • ค่า Immediacy Index หมายถึง จำนวนครั้งโดยเฉลี่ยที่บทความของวารสารนั้นได้รับการอ้างอิงภายในปีเดียวกัน กับปีพิมพ์ (วัดความเร็วของการถูกอ้างอิง)
  1. ค่า Impact factor คือ

เป็นค่าที่ใช้วัดและจัดอันดับวารสารทั้งหมดที่อยู่ในฐานข้อมูลสากล Web of Science (WOS) ซึ่งประกอบด้วยฐานข้อมูลย่อย 3 ฐานข้อมูล ได้แก่

– ฐานข้อมูล Science Citation Index (SCI) Expanded

– ฐานข้อมูล Social Science Citation Index (SSCI) และ

– ฐานข้อมูล Arts & Humanities Citation Index (A&HCI)

  1. ค่าควอไทล์ (Q) คือ

เป็นดัชนีอีกชนิดหนึ่งซึ่งกำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน เป็นการนำวารสารที่อยู่ในกลุ่มสาขาวิชานี้มาเรียงลำดับตามค่า Impact factor จากน้อยไปหามาก และสามารถแบ่งวารสารออกเป็น 4 กลุ่มเท่า ๆ กัน คือ กลุ่ม Q1, Q2, Q3, และ Q4

Q4 = เป็นกลุ่มของวารสารที่อยู่ต่ำกว่าเปอร์เซ็นไทล์  ที่ 25

Q3 = เป็นกลุ่มของวารสารที่อยู่ระหว่างเปอร์เซ็นไทล์ที่ 25 และค่ามัธยฐาน (median)

Q2 = เป็นกลุ่มของวารสารที่อยู่ระหว่างค่ามัธยฐาน (median) และเปอร์เซ็นไทล์ที่ 75

Q1 = เป็นควอไทล์สูงสุด เป็นกลุ่มของวารสารที่อยู่เหนือเปอร์เซ็นไทล์ที่ 75

  1. ค่า SJR และค่าควอไทล์ (Q) คือ

SJR ย่อมาจาก SCImago journal rank ให้บริการฟรีบนเว็บไซต์ SCImago Journal & Country Rank (http://www.scimagojr.com) เป็นดัชนีที่ครอบคลุมบทความวารสารสาขาวิชา ต่าง ๆ จำนวนกว่า 18,000 ชื่อจากฐานข้อมูล Scopus ของบริษัท Elsevier ซึ่งจะมีการใช้วิธีในการคำนวณหาค่า SJR ที่แตกต่างจากการคำนวณหาค่า Impact factor กล่าวคือ การคำนวนณจะอาศัยหลักการอัลกอริทึมของ Google PageRank โดยมีลักษณะสำคัญดังนี้

1) สาขาวิชาและชื่อเสียงของวารสารมีผลโดยตรงต่อจำนวนการอ้างอิง

2) มีการ Normalize หรือปรับค่าการอ้างอิงวารสารตามสาขา

3) วารสารที่ได้รับการอ้างอิงจากวารสารที่มีค่า SJR สูงอยู่แล้วจะมีผลทำให้วารสารนั้นมีค่า SJR สูงตามไปด้วย

ปัจจุบัน SJR ได้เริ่มมีความสำคัญในประเทศไทย เมื่อ สมศ. หรือสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) กำหนดเกณฑ์การประเมินคุณภาพงานวิจัยที่ตีพิมพ          ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ โดย

ให้น้ำหนักคุณภาพของวารสารตามค่าควอไทล์ Q1, Q2, Q3, Q4 จากฐานข้อมูลการจัดอันดับวารสารของ SJR

การเลือกวารสารสำหรับตีพิมพ์

ควรพิจารณาวารสารที่เหมาะสมกับบทความของเรานั้น ควรพิจารณาค่า Impact factor เป็นส่วนประกอบสำคัญเพราะจะเป็นดัชนีชี้วัดคุณภาพของวารสาร ซึ่งวัดจำนวนครั้งโดยเฉลี่ยที่บทความในวารสารนั้นจะได้รับการอ้างอิงในแต่ละปีและยังมีผลต่อคะแนนในการใช้ประกอบการประกันคุณภาพ (QA) ของหลักสูตรอีกด้วย

เคล็ดลับ 5 อย่างของการเขียนเพื่อเผยแพร่ในเชิงปฏิบัติ

  1. การเลือกชื่อเรื่องที่ดี

– ดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน ?

– ทำให้ชัดเจนว่าบทความนี้เกี่ยวกับอะไร ?

– สั้นที่สุดโดยไม่สูญเสียข้อความ ?

– แนวคิดหลักการวางไว้ที่จุดเริ่มต้น

2. คำสำคัญ ส่วนสำคัญของการค้นหาบทความ

– คำหลักติดแท็กบทความของคุณในวรรณกรรมค้นหาผ่านเครื่องมือค้นหาและดัชนี

– ผู้เขียนเลือกคำสำคัญที่ส่ง (ปกติ 5-8 คำ / วลี)

– ตรวจสอบ National Library of Medicine -Medical หัวเรื่อง (MeSHterms) สำหรับมาตรฐานตัวอธิบาย (https://meshb.nlm.nih.gov)

– เลือกคำหลักที่เหมาะสม แต่ไม่ซ้ำซ้อนกับชื่อเรื่อง

3. บทคัดย่อ (ส่วนที่สำคัญมาก)

– เป็นการให้ข้อมูลที่เพียงพอสำหรับการทำความเข้าใจในสิ่งที่ทำและวิธีการดำเนินงานของบทความ

– ต้องมีข้อมูลสำคัญครบทุกประเด็น (เช่น ตัวอย่าง วัตถุประสงค์ ขนาดหรือตัวแปร ระเบียบวิธีวิจัย ผลการวิจัย)

– บทคัดย่อโดยทั่วไปควรใช้คำประมาณ 250-350 คำ

– ต้องมีเนื้อหาครบเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารที่ต้องการตีพิมพ์

– ควรระวังข้อมูลที่เกินความจำเป็น

– ควรมีข้อสรุปที่ได้จากการวิจัย

– ควรระวังข้อผิดพลาดด้านไวยากรณ์ การสะกดคำ หรือเครื่องหมายวรรคตอน

4. เขียนซับซ้อนข้อมูลในเงื่อนไขที่ต้องเข้าใจง่าย ๆ

– บทความที่ดีที่สุด คือ บทความที่มีความซับซ้อนข้อมูลในรูปแบบที่เรียบง่ายและเข้าใจได้ง่าย ๆ

– ผู้อ่านกับประเภทของข้อมูลในบทความนั้น ควรที่จะคล้ายคลึงกันและตรงตามความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย

– การเขียนบทความนั้นเป็นทักษะที่สามารถพัฒนาได้และต้องใช้การปฏิบัติ

5. ตั้งเป้าให้สูงคาดว่าจะมีการแก้ไข

– การแก้ไขตามเพื่อนที่มีคุณภาพสูงตรวจสอบผลผลิตผลิตภัณฑ์ที่แข็งแกร่งที่สุด

– วารสารที่มีคุณภาพสูงสุดมักจะให้การทบทวนโดยเพื่อนที่มีประโยชน์ที่สุดโดยไม่คำนึงถึงของการตัดสินใจของกองบรรณาธิการ

เอกสารอ้างอิง

รศ. ดร.ประทุม สร้อยวงค์ Ph.D., Dip. APMSN คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ การอบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ การผลิตและพัฒนาผลงานวิจัยให้ได้รับการตีพิมพ์ วันที่ 14 กันยายน 2563 จัดโดยมหาวิทยาลัยเนชั่น

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. ๒๕๕๘ ค้นหาเมื่อ 21 มิถุนายน 2564 จาก http://www.mua.go.th/users/bhes/front_home/criterion58/criterion%20_m58.PDF

ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. ๒๕๖๐ ค้นหาเมื่อ 21 มิถุนายน 2564 จาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/265/43.PDF

อ่านเอกสารเพิ่มเติม:

BasicStatistics_1 BasicStatistics_2 ExperimentalResearch HowToWriteAnArticle NonExperimentalResearch

โพสท์ใน คณะนิเทศศาสตร์, แนวทางการผลิตงานวิจัยเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ | ใส่ความเห็น

เทคนิคการใช้โปรแกรม Adobe PremierPro และ Davinci Resolve เพื่อพัฒนาการเรียนรู้

สิทธิโชค โควาบุญพิทักษ์

เปรียบเทียบการใช้งานโปรแกรมตัดต่อแบบมืออาชีพ ปี 2021 ระหว่าง

DaVinci Resolve VS Adobe Premiere Pro

โปรแกรมตัดต่อวีดีโอที่ใช้ในบ้านเรา ที่เป็นที่นิยมอย่างสูงในระดับมืออาชีพ มีอยู่ 3-4โปรแกรม ที่เราจะคุ้นหูคุ้นตา เช่น Final Cut Pro X จากการสร้างสรรค์เวิร์คโฟลว์  สำหรับวีดีโอดิจิตอล จากทางฝั่ง Apple และอีกสองค่ายดังที่เราจะมาพูดถึงในวันนี้คือ DaVinci Resolve จากทางฝั่งของ Blackmagic Design  (บริษัทผู้ผลิต ภาพยนตร์ดิจิทัลของออสเตรเลีย ตั้งอยู่ในพอร์ตเมลเบิร์น รัฐวิกตอเรีย ประเทศออสเตรเลีย ออกแบบและผลิตฮาร์ดแวร์สำหรับการออกอากาศ และภาพยนตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกล้องถ่ายภาพยนตร์ดิจิทัลระดับไฮเอนด์ ยี่ห้อ Blackmagic ) และ Premiere Pro (Adobe Systems บริษัทซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองแซนโฮเซในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา )

Davinci Resolve มีชื่อเสียงในฐานะเครื่องมือตัดต่อวิดีโอที่ซับซ้อนในระดับมืออาชีพ  Davinci Resolve 16 ที่อัพเดทล่าสุดมีคุณสมบัติอยู่ในขั้นสูง  มีแพลตฟอร์มการเกรดสี เป็นที่ได้รับการยอมรับ  ซึ่งตอนนี้สามารถทำให้เปรียบเทียบกับ Premiere Pro ซึ่งเป็นบรรทัดฐานในงานตัดต่อวีดีโอได้

Adobe Premiere Pro เราจะจดจำได้จากการเป็นซอฟต์แวร์ที่เป็นเครื่องมือแก้ไข ตัดต่อวีดีโอบนไทม์ไลน์ และยังมีคุณสมบัติที่ยอดเยี่ยมอีกมากมาย ทีนี้เราจะมาลองเปรียบเทียบทั้งสองโปรแกรมนี้กัน

การเปรียบเทียบพื้นฐานในส่วนที่ 1: Davinci Resolve VS Premiere Pro –

การเปรียบเทียบคุณสมบัติหลักที่เกี่ยวข้องกับ Davinci Resolve และ Premiere Pro

  • ทั้ง Davinci Resolve และ Premiere Pro ออกแบบมาเพื่อนักตัดต่อในระดับมืออาชีพ
  • Davinci Resolve มีรุ่นฟรีให้ทดลองใช้ (จะตัดคุณสมบัติบางตัวออกไป แต่โดยส่วนตัวคิดว่าไม่มีปัญหามากมาย) และ Premiere Pro ไม่มีฟรี ต้องจ่ายเงินอย่างเดียว แต่…
  • Premiere Pro สามารถสมัครเป็นรายเดือน (จาก $ 20 – $ 50 ต่อเดือน) หากเป็นนักเรียน นิสิต นักศึกษา ก็จะมีราคาพิเศษให้ต่างหาก
  • Davinci Resolve มาพร้อมกับการชำระเงินล่วงหน้าครั้งเดียว (จาก $ 299) หรือได้ซอฟต์แวร์จากการซื้ออุปกรณ์กล้อง เช่นซื้อกล้องBlackmagic ก็จะแถมโปรแกรมในฉบับเต็มมาให้
  • การ Render งาน Davinci Resolve จะมีความเร็วการ Render งานที่ดีกว่า Premiere Pro
  • Davinci Resolve เข้ากันได้กับ Windows, Mac และ Linux
  • Premiere Pro สามารถใช้งานได้กับ Windows และ Mac

ข้อดีของ Davinci

  • ข้อแรกเลยคือ Davinci Resolve มาพร้อมกับรุ่นฟรี สามารถหาโหลดได้เลย โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
  • สามารถMix เสียงและวิดีโอรวมกันได้อย่างสมบูรณ์แบบ
  • หน้าตาของโปรแกรมดูค่อนข้างง่าย เมื่อเทียบกับโปรแกรมตัดต่อมืออาชีพอื่น ๆ(แต่ลงมือทำจะรู้ถึงความซับซ้อนของโปรแกรมได้อย่างดี)
  • มีคุณสมบัติการเกรดสีที่ยอดเยี่ยม ควบคู่ไปกับแพลตฟอร์มการแก้ไข ที่ดีมาก
  • สามารถทำงานร่วมกับโปรแกรมตัดต่อวิดีโอมืออาชีพอย่างโปรแกรม Final Cut Pro และ Avid Media Composer ได้อย่างลงตัว ทั้งยังข้ามค่ายส่งงานไปใช้ในPremier Pro ได้ด้วย
  • ในโปรแกรมเดียวสามารถทำทุกอย่างได้ครบหมด ทั้งภาพ เสียง ตัวหนังสือและ Effect ต่างๆ(ขณะที่ Premiere Proต้องอาศัยจากโปรแกรมอื่นเช่น After Effects)
  • สามารถตัดต่อ ทำสี ทำเพลง ทำCG. ได้พร้อมๆกันจากหลายๆเครื่อง(โปรแกรมเต็ทเท่านั้น)

ข้อเสียของ Davinci

  • Davinci Resolves ต้องการใช้คอมพิวเตอร์ที่มีความแรงและประสิทธิภาพระดับสูงในการทำงาน
  • เครื่องมือนี้ไม่ได้มาพร้อมกับลิงก์ไปยังแพลตฟอร์ม After Effects (ซึ่งDavinci เองก็มีหน้าต่างการทำ Effect รองรับอยู่แล้ว)

ข้อดีของ Premiere Pro

  • สามารถทำงานร่วมกับแอพพลิเคชั่นอื่นๆที่หลากหลายเช่น Adobe Photoshop, Soundbooth เป็นต้น
  • สามารถทำงานร่วมกับ Adobe CC (Creative Cloud)
  • เช่นเดียวกันกับ Davinci Resolve เครื่องมือนี้สามารถเข้ากันได้กับ Avid Media Composer และ Final Cut Pro
  • มีการรวมเข้ากับเครื่องมือเสียงและวิดีโอของ Adobe อย่างสะดวก

จุดด้อย

  • Adobe Premiere Pro มาพร้อมกับราคาค่าตัวค่อนข้างสูง
  • การปรับแต่ง หรือเกรดสี ยังไม่มีความละเอียดในเครื่องมือการเกรดสีเท่า Davinci Resolve

ส่วนที่ 2 การเปรียบเทียบความสมบูรณ์ของโปรแกรม Davinci Resolve VS Premiere Pro 

การเปรียบเทียบคุณสมบัติหลักในที่นี้เราจะเปรียบเทียบคุณสมบัติหลักที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือแก้ไขวิดีโอทั้งสองนี้

multicamera

ทั้งสองโปรแกรมนี้เข้ากันได้กับโหมดมัลติโหมด   Premier Pro คลิปจะถูกนำไปที่ไทม์ไลน์และไปยังโหมดมัลติโหมด, Davinci Resolve กระบวนการค่อนข้างยาว โดยเราต้องเลือกคลิปวิดีโอจากหน้าMediaก่อน จากนั้นย้ายไปยังกระบวนการสร้างคลิปมัลติคาเมร่า  สิ่งที่โดดเด่นที่สุดคือ Premiere Pro สามารถใช้กับกล้องได้ไม่จำกัดจำนวน Davinci Resolve จำนวนจะถูกจำกัด ไว้ที่ 16 กล้องเท่านั้น

การร่วมกันกับโปรแกรมอื่นๆ

Premiere Pro มีเครื่องมือที่สามารถใช้ด้วยกันได้กับโปรแกรมอื่นๆในค่ายของ Adobe ได้เป็นอย่างดี  ในส่วนของDavinci Resolve นั้นมีความสามารถในการจัดการกับเครื่องมือตัดต่อ แก้ไขต่างๆ ที่รวดเร็ว(สามารถจบได้ในโปรแกรมเดียว)   ขณะที่ Premiere Pro สามารถเชื่อมต่อกับเครื่องมืออย่าง Audition และ Photoshop, After Effects, SpeedGrade ได้

Text

Adobe Premiere สามารถเข้าถึงตัวหนังสืออันหลากหลาย สามารถเคลื่อนไหวได้ นอกจากนั้นยังมีเทมเพลตที่ให้เราสร้างสรรค์งานได้หลากหลาย  การผสานรวมกับ Adobe After Effects ทำให้สามารถสร้างวีดีโอที่เยี่ยม  ตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนสีของตัวหนังสือ โดยใช้ Adobe Premiere นั้นทำได้ง่ายมาก ขณะที่ Davinci Resolve ทำตัวหนังสือได้ในระดับพื้นฐานเท่านั้น  แต่หากเราต้องการสร้างตัวหนังสือที่สร้างสรรค์ยิ่งขึ้น ต้องทำการแก้ไขโดยใช้หน้าต่าง Fusion

Out put

สำหรับ Adobe Premiere Pro มีความสามารถในการประมวลผลโปรแกรม Media Encoder ของ Adobe Adobe ผสานรวมกับรูปแบบไฟล์ยอดนิยมทั้งหมดได้อย่างลงตัว สามาถส่งออกไฟล์งานได้หลากหลาย Format

สำหรับ Davinci Resolve มีข้อดีตรงที่สามารถส่งไฟล์งานไปทำยังโปรแกรม

อื่นๆได้อย่างง่ายดาย และสามารถส่งออกไฟล์งานได้หลากหลาย Format เช่นกัน

คุณสมบัติหลักของ Adobe Premiere Pro

  • มาพร้อมกับการรวมเข้ากับเครื่องมือซอฟต์แวร์อื่น ๆ ของ Adobe อย่างสมบูรณ์แบบ
  • Adobe Premiere Pro สามารถจัดการรูปแบบไฟล์ RAW ได้เช่นกัน
  • อินเทอร์เฟซที่สะดวกสบาย ช่วยให้เราสามารถเรียกดูไฟล์ต่าง ๆ (โครงการปัจจุบันที่คุณทำ)
  • เข้าถึงเอฟเฟกต์จำนวนมากตามที่ต้องการ

คุณสมบัติหลักของ Davinci Resolve

  • มีฟีเจอร์การเกรดสีที่ยอดเยี่ยม
  • Tracking สามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงของฉากภายในได้อย่างสะดวก
  • Davinci Resolve studio ช่วยให้การทำงานง่ายขึ้นพร้อมกับการ์ดกราฟิกคู่ในเวลาเดียวกัน
  • มีเวอร์ชั่นฟรีให้ทดลอง

ความจริงก็คือไม่มีซอฟต์แวร์ตัดต่อวิดีโอที่สมบูรณ์แบบที่สุด ซอฟต์แวร์ทุกตัวที่เรามี มีข้อเสียอย่างแน่นอน ดังนั้นสิ่งที่เป็นประโยชน์มากที่สุดคือการซื้อหาเครื่องมือที่มีข้อเสียน้อยที่สุด ทั้ง Adobe Premiere Pro และ Davinci Resolve เป็นเครื่องมือตัดต่อวิดีโอที่ยอดเยี่ยมซึ่งมีคุณสมบัติที่ยอดเยี่ยม อย่างไรก็ตามสุดท้ายงานตัดต่อจะออกมาดีไม่ดี ไม่ได้อยู่ที่ตัวโปรแกรมเพียงอย่างเดียว อยู่ที่คนตัดต่อ คนใช้เครื่องมือด้วย การเลือกใช้โปรแกรมใดๆ อาจย่อมขึ้นอยู่กับความชอบความถนัดในแต่ละคนด้วยเช่นกัน

โพสท์ใน การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ, คณะนิเทศศาสตร์ | ใส่ความเห็น

Active Learning การเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ

อดิศักดิ์ จำปาทอง เรียบเรียง

Active Learning หรือการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ นับวันจะทวีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากมีผลกระทบต่อการพัฒนาของสังคมโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจและเรียนรู้อย่างมีความหมาย โดยผ่านการกระทำและร่วมมือกันระหว่างผู้เรียนด้วยกัน ซึ่งเกิดขึ้นจากสมมติฐานว่า การเรียนรู้เป็นความพยายามโดยธรรมชาติของมนุษย์ และมนุษย์แต่ละคนมีแนวทางในการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน

ก่อนที่จะทำความเข้าใจกับ Active Learning เราควรศึกษาในเรื่องของปิรามิดแห่งการเรียนรู้กันก่อน ซึ่งปิรามิดแห่งการเรียนรู้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ระดับ คือ

ระดับที่ 1 กระบวนการเรียนรู้แบบ Passive Learning ได้แก่ การเรียนรู้ที่เกิดจากการฟัง การท่องจำ การเห็น การรับชม เป็นการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ผ่านทางการถ่ายทอดของผู้สอนเป็นหลัก ซึ่งวิธีการเหล่านี้สามารถส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ไม่เกิน 50%

ระดับที่ 2 กระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning ได้แก่ การพูดคุยแสดงความคิดเห็น และการลงมือปฏิบัติ และการประยุกต์ใช้ ซึ่งจะเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตัวเอง จากการประสานงานร่วมกันระหว่างผู้เรียน โดยมีผู้สอนคอยชี้แนะและให้คำแนะนำ ซึ่งวิธีการเหล่านี้ นับเป็นขั้นที่สูงกว่า Passive Learning ทำให้สามารถส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนได้ถึง 90%

การเรียนรู้แบบ Active Learning  สามารถสร้างให้เกิดขึ้นได้ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน รวมทั้งสามารถใช้ได้กับผู้เรียนทุกระดับ ทั้งการเรียนรู้เป็นรายบุคคล การเรียนรู้แบบกลุ่มเล็ก และการเรียนรู้แบบกลุ่มใหญ่  McKinney (2008) ได้เสนอตัวอย่างรูปแบบหรือเทคนิค การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แบบ Active Learning ได้ดี ได้แก่

1. การเรียนรู้แบบแลกเปลี่ยนความคิด (Think-Pair-Share) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนคิดเกี่ยวกับประเด็นที่กำหนดแต่ละคน ประมาณ2-3 นาที (Think) จากนั้นให้แลกเปลี่ยนความคิดกับเพื่อนอีกคน3-5 นาที (Pair) และนำเสนอความคิดเห็นต่อผู้เรียนทั้งหมด (Share)

2. การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Collaborative learning group) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยจัดเป็นกลุ่มๆ ละ3-6 คน

3. การเรียนรู้แบบทบทวนโดยผู้เรียน (Student-led review sessions) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทบทวนความรู้และพิจารณาข้อสงสัยต่าง ๆ ในการปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ โดยครูจะคอยช่วยเหลือกรณีที่มีปัญหา

4. การเรียนรู้แบบใช้เกม (Games) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้สอนนำเกมเข้าบูรณาการในการเรียนการสอน ซึ่งใช้ได้ทั้งในขั้นการนำเข้าสู่บทเรียน การสอน การมอบหมายงาน และหรือขั้นการประเมินผล

5. การเรียนรู้แบบวิเคราะห์วีดีโอ (Analysis or reactions to videos) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ดูวีดีโอ5-20 นาที แล้วให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็น หรือสะท้อนความคิดเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดู อาจโดยวิธีการพูดโต้ตอบกัน การเขียน หรือ การร่วมกันสรุปเป็นรายกลุ่ม

6. การเรียนรู้แบบโต้วาที (Student debates) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่จัดให้ผู้เรียนได้นำเสนอข้อมูลที่ได้จากประสบการณ์และการเรียนรู้ เพื่อยืนยันแนวคิดของตนเองหรือกลุ่ม

7. การเรียนรู้แบบผู้เรียนสร้างแบบทดสอบ (Student generated exam questions) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนสร้างแบบทดสอบจากสิ่งที่ได้เรียนรู้มาแล้ว

8. การเรียนรู้แบบกระบวนการวิจัย (Mini-research proposals or project) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่อิงกระบวนการวิจัย โดยให้ผู้เรียนกำหนดหัวข้อที่ต้องการเรียนรู้ วางแผนการเรียน เรียนรู้ตามแผน สรุปความรู้หรือสร้างผลงาน และสะท้อนความคิดในสิ่งที่ได้เรียนรู้ หรืออาจเรียกว่าการสอนแบบโครงงาน (project-based learning) หรือ การสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (problem-based learning)

9. การเรียนรู้แบบกรณีศึกษา (Analyze case studies) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้อ่านกรณีตัวอย่างที่ต้องการศึกษา จากนั้นให้ผู้เรียนวิเคราะห์และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือแนวทางแก้ปัญหาภายในกลุ่ม แล้วนำเสนอความคิดเห็นต่อผู้เรียนทั้งหมด

10. การเรียนรู้แบบการเขียนบันทึก (Keeping journals or logs) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนจดบันทึกเรื่องราวต่างๆ ที่ได้พบเห็น หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน รวมทั้งเสนอความคิดเพิ่มเติมเกี่ยวกับบันทึกที่เขียน

11. การเรียนรู้แบบการเขียนจดหมายข่าว (Write and produce a newsletter) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนร่วมกันผลิตจดหมายข่าว อันประกอบด้วย บทความ ข้อมูลสารสนเทศ ข่าวสาร และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แล้วแจกจ่ายไปยังบุคคลอื่น ๆ

12. การเรียนรู้แบบแผนผังความคิด (Concept mapping) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนออกแบบแผนผังความคิด เพื่อนำเสนอความคิดรวบยอด และความเชื่อมโยงกันของกรอบความคิด โดยการใช้เส้นเป็นตัวเชื่อมโยง อาจจัดทำเป็นรายบุคคลหรืองานกลุ่ม แล้วนำเสนอผลงานต่อผู้เรียนอื่นๆ จากนั้นเปิดโอกาสให้ผู้เรียนคนอื่นได้ซักถามและแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม

13. การเรียนรู้ผ่านการทำงาน (Work-based Learning) เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมผู้เรียนให้เกิดพัฒนาการทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้เนื้อหาสาระ การฝึกปฏิบัติจริง ฝึกฝนทักษะทางสังคม ทักษะชีวิต ทักษะวิชาชีพการพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง โดยสถาบันการศึกษามักร่วมมือกับแหล่งงานในชุมชน รับผิดชอบการจัดการเรียนการสอนร่วมกัน ตั้งแต่การกำหนดวัตถุประสงค์ การกำหนดเนื้อหากิจกรรม และวิธีการประเมิน

14. การเรียนรู้ผ่านโครงงาน (Project-based Learning) การเรียนรู้ด้วยโครงงานเป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญรูปแบบหนึ่ง ที่เป็นการให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงในลักษณะของการศึกษา สำรวจ ค้นคว้า ทดลอง ประดิษฐ์คิดค้น โดยครูเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้ให้ความรู้ (teacher) เป็นผู้อำนวยความสะดวก (facilitator) หรือผู้ให้คำแนะนำ (guide) ทำหน้าที่ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนทำงานเป็นทีม กระตุ้น แนะนำ และให้คำปรึกษา เพื่อให้โครงการสำเร็จลุล่วง ประโยชน์ของการเรียนรู้ด้วยโครงงาน สิ่งที่ผู้เรียนได้รับจากการเรียนรู้ด้วย PBL จึงมิใช่ตัวความรู้ (knowledge) หรือวิธีการหาความรู้ (searching) แต่เป็นทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม (learning and innovation skills) ทักษะชีวิตและประกอบอาชีพ (Life and Career skills) ทักษะด้านข้อมูลข่าวสาร การสื่อสารและเทคโนโลยี (Information Media and Technology Skills) การออกแบบโครงงานที่ดีจะกระตุ้นให้เกิดการค้นคว้าอย่างกระตือรือร้นและผู้เรียนจะได้ฝึกการใช้ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์และแก้ปัญหา (critical thinking & problem solving) ทักษะการสื่อสาร (communicating) และทักษะการสร้างความร่วมมือ(collaboration)ประโยชน์ที่ได้สำหรับครูที่นอกจากจะเป็นการพัฒนาคุณภาพด้านวิชาชีพแล้ว ยังช่วยให้เกิดการทำงานแบบร่วมมือกับเพื่อนครูด้วยกัน รวมทั้งโอกาสที่จะได้สร้างสัมพันธ์ที่ดีกับนักเรียนด้วย

15. การเรียนรู้ผ่านกิจกรรม (Activity-based Learning) ในการยึดหลักการให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง “Child Centered” การเรียนโดยการปฏิบัติจริง Learning by Doing และปฏิบัติเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และแก้ปัญหาได้ Doing by Learning จึงถูกนำมาใช้อย่างจริงจังในการปฏิรูปการศึกษาของไทย การเรียนรู้ชนิดนี้เอง ที่มีผู้ตั้งฉายาว่า “สอนแต่น้อย ให้เรียนมากๆ Teach less..Learn More”  การเรียนแบบ Learning by Doing นั้นใช้ “กิจกรรม Activity” เป็นหลักในการเรียนการสอน โดยการ “ปฏิบัติจริง Doing” ในเนื้อหาทุกขั้นตอนของการเรียนรู้ เป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง ทุกคนในกลุ่มเป็นผู้ปฏิบัติ คุณครูเป็นพี่เลี้ยงและเทรนเนอร์ แต่กิจกรรมที่นำมาใช้นี้ต้องมีประสิทธิภาพในการเรียนรู้เนื้อหานั้นๆ มีจุดมุ่งหมาย สนุก และน่าสนใจ ไม่ซ้ำซากจนก่อให้เกิดความเบื่อหน่าย ดังนั้น คุณครูจึงเป็น “นักออกแบบกิจกรรม Activity Designer” มืออาชีพ ที่สามารถ “มองเห็นภาพกิจกรรม” ได้ทันที

16. การเรียนรู้ผ่านการแก้ปัญหา (Problem-based Learning) เป็นรูปแบบการเรียนอีกรูปแบบหนึ่งที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และรู้จักการทำงานร่วมกันเป็นทีมของผู้เรียน โดยผู้สอนมีส่วนร่วมน้อยแต่ก็ท้าทายผู้สอนมากที่สุด กระบวนการการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน จะจัดผู้เรียนเป็นกลุ่มย่อย ขนาดประมาณ 8 -10 คน โดยมีครูหรือผู้สอนประจำกลุ่ม 1 คน ทำหน้าที่เป็นผู้สนับสนุนการการเรียนรู้ (facilitator)

17. การเรียนรู้ผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หรือวิธีวิจัย (Research-based Learning) การเรียนรู้ที่เน้นการวิจัยถือได้ว่าเป็นหัวใจของบัณฑิตศึกษา เพราะเป็นการเรียนที่เน้นการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองของผู้เรียนโดยตรง เป็นการพัฒนากระบวนการแสวงหาความรู้ และการทดสอบความสามารถทางการเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน

จากวิธีการเรียนรู้ทั้งหมดนี้ จะสังเกตได้ว่า เป็นการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนลงมือทำ คิดวิเคราะห์และร่วมมือกันแก้ไขปัญหา ซึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning ซึ่งกระบวนการเรียนรู้ในลักษณะของ Active Learning นี้ ถ้าประสบความสำเร็จจะทำให้ผู้เรียนสามารถรักษาผลการเรียนรู้ให้อยู่คงทนได้มากและนานกว่ากระบวนการเรียนรู้ Passive Learning ซึ่งถ้าเราสามารถพาผู้เรียนไปถึงขั้นนั้นได้ จะเป็นการปฏิวัติวงการการศึกษาของไทยเลยทีเดียว เพราะกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning นั้น ตัวแปรสำคัญในการเรียนรู้จะไปอยู่ที่ตัวผู้เรียนเป็นหลัก ซึ่งแตกต่างจากการเรียนรู้ที่เคยเป็นมาในอดีตที่ครูผู้สอนเป็นผู้ถ่ายทอดให้ แต่อย่างไรก็ตาม การจะพัฒนาไปถึงขั้นนั้นได้ ผู้เรียนจะต้องมีทักษะและความพร้อมในการเรียนรู้อย่างเหมาะสมในระดับหนึ่ง ซึ่งทักษะพื้นฐานเช่น การอ่าน การเขียน การคิดคำนวณ และทักษะการใช้ภาษาต่างประเทศ นับเป็นเรื่องที่สำคัญที่ผู้เรียนจะต้องมีความพร้อม เพื่อที่จะก้าวสู่การเรียนรู้แบบ Active learning ได้โดยสมบูรณ์

ที่มา:

1. บทความ เรื่อง การประยุกต์ใช้ Active Learning ในการเรียนการสอน โดยนายนรรัชต์ ฝันเชียร https://www.trueplookpanya.com/education/content/70793/-teaartedu-teaart-

2. เอกสารประกอบการฝึกอบรม “คุณภาพผู้เรียน..เกิดจากกระบวนการเรียนรู้”  โดย ดร.สถาพร พฤฑฒิกุล (3 ธันวาคม 2558) คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว https://km.buu.ac.th/article/frontend/article_detail/141

อ่านเอกสารเพิ่มเติม:

ActiveLearning_Supath2021

โพสท์ใน การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ, คณะนิเทศศาสตร์ | ใส่ความเห็น

การถอดบทเรียนความสำเร็จในการพัฒนางานวิจัยให้ได้รับการตีพิมพ์ของรองศาสตาจารย์มาลี เอื้ออำนวย

http://it.nation.ac.th/download/KM%20Academic%20performance%202562.pdf

โพสท์ใน KM:ด้านการวิจัย, คณะพยาบาลศาสตร์ | ติดป้ายกำกับ | ใส่ความเห็น

การจัดการความรู้ (KM) คณะพยาบาลศาสตร์

การจัดการความรู้ (KM) คณะพยาบาลศาสตร์

โพสท์ใน KM:ด้านการวิจัย, คณะพยาบาลศาสตร์ | ติดป้ายกำกับ | ใส่ความเห็น

การนำฐานข้อมูล NorthWind มาประยุกต์ใช้สำหรับการเรียนการสอน

อ.เกศริน อินเพลา เล่าให้ฟังว่าได้จัดการเรียนการสอน โดยใช้กรณีศึกษาด้วยการนำฐานข้อมูล NorthWind มาประยุกต์ใช้สำหรับการเรียนการสอน รายวิชา CPSC 322 ระบบฐานข้อมูล (Database System) มีวัตถุประสงค์ (Objectives) 3 ข้อ คือ 1) เพื่อให้นิสิตมีความเข้าใจในการออกแบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ 2) เพื่อให้นิสิตสามารถเลือกโปรแกรมบริหารจัดการฐานข้อมูล (Database Management) ได้อย่างเหมาะสมตามสภาพแวดล้อม 3) เพื่อให้นิสิตสามารถติดตั้งระบบบริหารจัดการฐานข้อมูล และสร้างฐานข้อมูล NorthWind บนระบบบริหารจัดการฐานข้อมูล

          โดยมีกระบวนการ (Process) ดังนี้ 1) บรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับระบบฐานข้อมูล  แนวทางการพัฒนาระบบฐานข้อมูล ความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้ (Entity Relationship Diagram) การออกแบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์  (Relational  Database) และการนอร์มัลไลเซซัน (Normalization) 2) บรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับระบบจัดการฐานข้อมูล (Databse Management System: DBMS) ที่มีอยู่ในปัจจุบันทั้งที่มีลิขสิทธิ์ และโอเพนซอร์ท และให้นิสิตทำรายงานเกี่ยวโปรแกรมบริการจัดการฐานข้อมูล ตามที่นิสิตสนใจโดยให้ลงลึกในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดตั้ง การสร้างฐานข้อมูล การกำหนดสิทธ์ในการเข้าถึงฐานข้อมูล และการเรียกใช้งานฐานข้อมูลผ่านคำสั่ง SQL พร้อมทั้งข้อเด่นและข้อด้อยของโปรแกรมบริการจัดการฐานข้อมูลที่นิสิตสนใจ.. โปรแกรมบริการจัดการฐานข้อมูล MySQL ที่ทำงานบนระบบปฏิบัติการ 3) ให้นิสิตประยุกต์ใช้ฐานข้อมูล NorthWind ซึ่งเป็นฐานข้อมูลบนโปรแกรม Microsoft Access โดยนำโครงสร้างฐานข้อมูลดังกล่าวไปสร้างบนโปรแกรมบริการจัดการฐานข้อมูล MySQL

สรุปผลการจัดการเรียนการสอน พบว่า 1) นิสิตมีความเข้าใจขั้นตอนการพัฒนาระบบงานฐานข้อมูล2) นิสิตสามารถออกแบบฐานข้อมูลตามที่นิสิตสนใจ และประยุกต์ใช้โปรแกรมบริการจัดการฐานข้อมูล MySQL ได้ 3) นิสิตสามารถสร้างฐานข้อมูล NorthWind บนโปรแกรมบริการจัดการฐานข้อมูล MySQL ได้

database

database

โพสท์ใน KM:ด้านการวิจัย, คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์, คอมพิวเตอร์ธุรกิจ, วิทยาการคอมพิวเตอร์ | ติดป้ายกำกับ , | ใส่ความเห็น

การจัดการเรียนการสอนโดยใช้กรณีศึกษา Northwind

การจัดการเรียนการสอนโดยใช้กรณีศึกษา Northwind ของ อ.วิเชพ ใจบุญ พบว่า ในรายวิชาคอมพิวเตอร์เครือข่าย (Computer Netwok) สำหรับนิสิตกลุ่มวิทยาการคอมพิวเตอร์ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อให้นิสิตเข้าใจหลักการทำงานของการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์บนเครือข่าย และสามารถเลือกใช้โพรโทคอลที่เหมาะสมสำหรับการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์บนเครือข่าย 2) เพื่อให้นิสิตเข้าใจสภาพแวดล้อมในการทำงานจริงในปัจจุบัน ด้านการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายและการเลือกโปรแกรมบริหารจัดการฐานข้อมูล (Database Management) ได้อย่างเหมาะสมตามสภาพแวดล้อม 3) เพื่อให้นิสิตสามารถประยุกต์ใช้ฐานข้อมูลจากสภาพแวดล้อมหนึ่งไปยังอีกสภาพแวดล้อมหนึ่งได้ 4) เพื่อให้นิสิตสามารถติดตั้งระบบบริหารจัดการฐานข้อมูล และสร้างฐานข้อมูล NorthWind บนระบบบริหารจัดการฐานข้อมูล รวมทั้งสามารถปรับแต่งค่าการทำงาน (Configuration) ให้กับระบบบริหารจัดการฐานข้อมูล

โดยมีกระบวนการจัดการเรียนการสอน ดังนี้ 1) บรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับหลักการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์บนระบบเครือข่าย และมีการทดลองสร้างระบบเครือข่ายผ่านโปรแกรมจำลองการทำงานของอุปกรณ์จริงในระบบเครือข่าย คือ Cisco Packet Tracer 2) บรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับโพรโทคอลที่ใช้กันบนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และเลือกกรณีศึกษา TCP/IP และมีการทดลองสร้างระบบเครือข่ายสำหรับการสื่อสารข้อมูลโดยใช้โพรโทคอล TCP/IP ผ่านโปรแกรมจำลองการทำงานของอุปกรณ์จริงในระบบเครือข่าย คือ Cisco Packet Tracer 3) บรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับโปรแกรมบริการจัดการฐานข้อมูล ที่มีอยู่ในปัจจุบันทั้งที่มีลิขสิทธิ์ และโอเพนซอร์ท และให้นิสิตทำรายงานเกี่ยวโปรแกรมบริการจัดการฐานข้อมูล ตามที่นิสิตสนใจโดยให้ลงลึกในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดตั้ง การสร้างฐานข้อมูล การกำหนดสิทธ์ในการเข้าถึงฐานข้อมูล และการเรียกใช้งานฐานข้อมูลผ่านคำสั่ง SQL พร้อมทั้งข้อเด่นและข้อด้อยของโปรแกรมบริการจัดการฐานข้อมูลที่นิสิตสนใจ 4) จากข้อที่ 3 ผู้สอนได้เลือกใช้โปรแกรมบริการจัดการฐานข้อมูล  MySQL ซึ่งเป็นโปรแกรมบริหารจัดการฐานข้อมูลที่สามารถทำงานได้บนระบบปฏิบัติการได้หลากหลาย และในกรณีศึกษานี้จะใช้โปรแกรมบริการจัดการฐานข้อมูล MySQL ที่ทำงานบนระบบปฏิบัติการ Linux โดยใช้ Ubuntu 16.04 lts (ก) ให้นิสิตสร้างระบบปฏิบัติการ Ubuntu 16.04 lts ผ่านระบบการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ สำหรับการให้บริการโครงสร้างพื้นฐานทางคอมพิวเตอร์ หรือ (Infrastructure as a Service or IaaS) ที่สร้างจาก OpenStack (ข) ให้นิสิตติดตั้งโปรแกรมเพื่อใช้สำหรับการบริการจัดการที่เกี่ยวข้องผ่าน Remote Command line Terminal เพื่อเชื่อมต่อไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์เสหมือนบน Cloud Computing ที่สร้างจาก OpenStack ผ่านโพโทคอล ssh (ค) ให้นิสิตประยุกต์ใช้ฐานข้อมูล NorthWind ซึ่งเป็นฐานข้อมูลบนโปรแกรม Microsoft Access โดยนำโครงสร้างฐานข้อมูลดังกล่าวไปสร้างบนโปรแกรมบริการจัดการฐานข้อมูล MySQL บนคอมพิวเตอร์เสหมือนที่อยู่บน Cloud Computing ที่สร้างจาก OpenStack 5) จากข้อ 4 ให้นิสิตปรับแต่โปรแกรมบริการจัดการฐานข้อมูล MySQL เพื่อสามารถเรียกใช้งานผ่านระบบอินเทอร์เน็ต และอินทราเน็ตได้ผ่านโพรโทคอล TCP/IP, HTTP, HTTPS

ผลสรุป มีดังนี้ 1) นิสิตมีความรู้ความเข้าใจหลักการทำงานองการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์บนเครือข่าย และเห็นภาพการทำงานจริงผ่าน กรณีศึกษาที่กำหนด ทำให้ Class GPA 3.5 และคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 79.83 ในรายวิชา CPSC 342 เครือข่ายคอมพิวเตอร์ 2) นิสิตสามารถสร้างฐานข้อมูล NorthWind บนโปรแกรมบริการจัดการฐานข้อมูล MySQL ได้ 3) นิสิตสามารถปรับแต่งค่าการทำงานต่างๆ ให้กับโปรแกรมบริการจัดการฐานข้อมูล MySQL เพื่อให้สามารถสื่อสารผ่านเครือข่ายโดยใช้โพรโตคอล TCP/IP, HTTP, HTTPS

โพสท์ใน KM:ด้านการวิจัย, คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์, คอมพิวเตอร์ธุรกิจ, วิทยาการคอมพิวเตอร์ | ติดป้ายกำกับ , | ใส่ความเห็น