รายวิชาการส่งเสริมสุขภาพและการดูแลผู้สูงอายุ (PUBH 428)
โดย ดร.สุภาภรณ์ อุดมลักษณ์
ลิงค์เอกสาร
http://blog.nation.ac.th/wp-content/uploads/2024/08/การเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก-3.pptx
รายวิชาการส่งเสริมสุขภาพและการดูแลผู้สูงอายุ (PUBH 428)
โดย ดร.สุภาภรณ์ อุดมลักษณ์
ลิงค์เอกสาร
http://blog.nation.ac.th/wp-content/uploads/2024/08/การเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก-3.pptx
ประเด็นความรู้ :
การฝึกปฏิบัติสหกิจศึกษาของนิสิตหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจการบินและการขนส่งทางอากาศ
เป้าหมายเชิงปริมาณ/ตัวชี้วัด :
คู่มือการฝึกปฏิบัติสหกิจศึกษาของนิสิตหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจการบินและการขนส่งทางอากาศ
คู่มือสหกิจศึกษา http://doc.nation.ac.th/QA_BAPACS_2565/HandBook_CoOperative_ABT4220.pdf
แบบฟอร์มรายงานผลการปฏิบัติสหกิจศึกษา http://doc.nation.ac.th/QA_BAPACS_2565/Form_Report_ABT4220.pdf
แบบรายงานโครงงานสหกิจศึกษา
http://doc.nation.ac.th/QA_BAPACS_2565/Form_Report_Project_ABT4220.pdf
ประเด็นความรู้ :
แนวทางการขอทุนวิจัยจากหน่วยงานภายนอก
เป้าหมายเชิงปริมาณ/ตัวชี้วัด :
คู่มือการขอรับทุนวิจัยจากภายนอก
http://doc.nation.ac.th/QA_BAPACS_2565/Guideline_Reques_Reseach_Funding_2565.pdf
เพื่อให้การจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยเป็นแนวทางเดียวกันทั้งองค์กร และสอดคล้องกับแผนกลยุทธ์และพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิตและด้านการวิจัยของมหาวิทยาลัย และเป็นไปตามเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน มหาวิทยาลัยจึงมีระบบการจัดการความรู้ เพื่อให้รวบรวมองค์ความรู้ที่อยู่ในองค์กรซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคล หรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การจัดการความรู้เป็นการดำเนินการอย่างน้อย 6 ประการต่อความรู้
ตามแนวทางของ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช
เรียบเรียงโดย อ.อดิศักดิ์ จำปาทอง คณะนิเทศศาสตร์
หลักเกณฑ์ในการพิจารณางานลิขสิทธิ์
1. เป็นงานที่แสดงออกถึงความคิด (expression of idea)
2. เป็นงานที่ริเริ่มสร้างสรรค์ด้วยตนเอง (originality)
3. การทุ่มเทกำลัง ความรู้ ความสามารถ ความตั้งใจวิริยะอุตสาหะในการสร้างสรรค์ (sweat & Laboure and judgment)
4. มีลักษณะเข้าข่ายตามประเภทของงานที่กฎหมายลิขสิทธิ์รับรอง
5. เป็นงานที่ไม่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมอันดี
สิ่งที่ยื่นแจ้งลิขสิทธิ์ได้ ได้แก่ งานสร้างสรรค์ประเภทต่าง ๆ คือ
– วรรณกรรม (หนังสือ จุลสาร โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ฯลฯ)
– นาฏกรรม (ท่ารำ ท่านเต้น ฯลฯ)
– ศิลปกรรม (จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ สถาปัตยกรรม ภาพถ่าย ภาพประกอบ แผนที่ ศิลปประยุกต์ ฯลฯ)
– ดนตรีกรรม (คำร้องที่แต่งเพื่อประกอบทำนอง ทำนองและคำร้อง ฯลฯ)
– โสตทัศนวัสดุ (ดีวีดี)
– ภาพยนตร์ (ดีวีดี)
– สิ่งบันทึกเสียง (ซีดี)
– งานแพร่เสียงแพร่ภาพ (รายการวิทยุ รายการโทรทัศน์) (ดีวีดี)
– งานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
สิ่งที่ยื่นแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ไม่ได้
1. ความคิด ขั้นตอน กรรมวิธี ระบบ วิธีใช้หรือวิธีทำงาน แนวความคิด หลักการ การค้นพบ ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์
2. ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร
3. รัฐธรรมนูญและกฎหมาย
4. ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือท้องถิ่น
5. คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานทางราชการ
6. คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตามข้อ 2-5 ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานใดของรัฐหรือของท้องถิ่นที่จัดทำขึ้น
วิธีดำเนินการแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์
1. การกรอกข้อมูลและระบุรายละเอียดต่าง ๆ
1.1 ชื่อเจ้าของสิทธิ์ ให้ระบุ ชื่อ สัญชาติ หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน หรือนิติบุคคล (แล้วแต่กรณี) และที่อยู่ของเจ้าของลิขสิทธิ์
1.2 ชื่อตัวแทน กรณีที่เจ้าของลิขสิทธิ์ต้องการมอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจมาดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับการรับแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ ระบุถึงขอบเขตอำนาจของผู้รับมอบอำนาจ รวมทั้งให้ระบุ ชื่อ สัญชาติ หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชนหรือนิติบุคคล (แล้วแต่กรณี) และที่อยู่ของผู้รับมอบอำนาจ
1.3 สถานที่ติดต่อในประเทศไทย ให้ระบุสถานที่และเบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อเจ้าของสิทธิ์หรือตัวแทน เพื่อสะดวกในการติดตามเอกสารและผลงาน กรณีเอกสารและผลงานไม่ครบถ้วน
1.4 ชื่อผู้สร้างสรรค์หรือนามแฝง ให้ระบุชื่อ สัญชาติ หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน หรือนิติบุคคล ที่อยู่ผู้สร้างสรรค์ นามแฝง กรณีผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคลให้ระบุ วัน เดือน ปี ที่จดทะเบียนนิติบุคคล และกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เสียชีวิตแล้วให้ระบุ วัน เดือน ปี ที่ผู้สร้างสรรค์เสียชีวิต
1.5 ชื่อผู้สร้างสรรค์ร่วมหรือนามแฝง ให้ระบุชื่อ สัญชาติ หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน หรือนิติบุคคล ที่อยู่ผู้สร้างสรรค์ นามแฝง กรณีมีผู้สร้างสรรค์ร่วมมากกว่า 1คน ให้ระบุในช่องนี้ กรณีผู้สร้างสรรค์ร่วมเป็นนิติบุคคลให้ระบุ วัน เดือน ปี ที่จดทะเบียนนิติบุคคล และกรณีที่ผู้สร้างสรรค์ร่วมเสียชีวิตแล้วให้ระบุ วัน เดือน ปี ที่ผู้สร้างสรรค์เสียชีวิต
1.6 ชื่อผลงาน ให้ระบุชื่อผลงานที่สะกดถูกต้อง เพื่อประโยชน์ในการระบุในหนังสือรับรองการแจ้งข้อมูล
1.7 ประเภทผลงาน ให้ระบุประเภทของงานและลักษณะงานที่ประสงค์จะยื่นแจ้งข้อมูลพร้อมระบุผลงานที่ยื่นประกอบคำขอ เช่น หนังสือ 1 เล่ม หรือแผ่นซีดี 1 แผ่น ฯลฯ เป็นต้น
1.8 ความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ให้ระบุว่าเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์โดยวิธีใด เช่น เป็นผู้สร้างสรรค์ ผู้ว่าจ้าง ผู้รับจ้าง นายจ้าง หรือผู้รับโอนสิทธิ์ ฯลฯ เป็นต้น
1.9 ลักษณะการสร้างสรรค์ ให้ระบุว่า เป็นผู้สร้างสรรค์ขึ้นเองทั้งหมด สร้างสรรค์บางส่วน โดยระบุว่ามีส่วนใดบ้าง หรือเป็นกรณีอื่น ๆ เช่น เป็นผู้รวบรวมผลงาน หรือผู้ดัดแปลงผลงาน ฯลฯ
1.10 สถานที่สร้างสรรค์ ให้ระบุว่า การสร้างสรรค์ผลงานกระทำในประเทศใด
1.11 ปีที่สร้างสรรค์ ให้ระบุปีที่ทำการสร้างสรรค์ผลงาน
1.12 การโฆษณา ให้ระบุ วัน เดือน ปี และประเทศที่มีการโฆษณาครั้งแรก โดยการทำสำเนางานออกจำหน่ายโดยความยินยอมของผู้สร้างสรรค์และสำเนางานมีจำนวนมากพอสมควร กรณียังไม่มีการโฆษณางานให้ระบุโดยทำเครื่องหมายในช่องยังไม่ได้โฆษณา
1.13 การแจ้ง/จดทะเบียนลิขสิทธิ์ในต่างประเทศ ให้ระบุว่าเคยแจ้ง/จดทะเบียนลิขสิทธิ์ในต่างประเทศหรือไม่ โดยให้ทำเครื่องหมายลงในช่องการแจ้งหรือจดทะเบียน (แล้วแต่กรณี)
1.14 การอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์/โอนลิขสิทธิ์ ให้ระบุเครื่องหมายลงในช่องว่าเคยอนุญาต/โอนลิขสิทธิ์หรือไม่ เช่น หากไม่เคยอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์/โอนลิขสิทธิ์ ให้ทำเครื่องหมายในช่องไม่เคยอนุญาตให้ผู้อื่นใช้ลิขสิทธิ์หรือโอนลิขสิทธิ์ในงานของตน หากเคยอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์/โอนลิขสิทธิ์ ให้ระบุว่าอนุญาตให้ใช้หรือโอนลิขสิทธิ์แก่ใคร เมื่อใด เป็นการอนุญาตโอนลิขสิทธิ์โดยให้สิทธิ์ทั้งหมดหรือบางส่วน และมีระยะเวลาในการอนุญาต/โอนลิขสิทธิ์เท่าใด
1.15 การเผยแพร่ข้อมูลลิขสิทธิ์ ให้ระบุว่าอนุญาตให้คนอื่นตรวจดูเอกสารในแฟ้มคำขอแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์และผลงานหรือไม่
1.16 การลงนามในคำขอให้เจ้าของลิขสิทธิ์หรือเป็นตัวแทนผู้ลงนาม
2. ใบต่อท้ายคำขอแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ ในกรณีที่ข้อมูลที่กรอกในคำขอ (ลข.01) มีจำนวนมาก และผู้ขอไม่อาจกรอกข้อมูลได้ครบถ้วนในแต่ละข้อ เช่น ในกรณีที่มีเจ้าของลิขสิทธิ์ ตัวแทน ผู้สร้างสรรค์ร่วมมากกว่า 1คน ผู้ขอสามารถระบุข้อมูลเพิ่มเติมได้ในใบต่อท้ายฯ ผู้ลงนามในใบต่อท้าย คือ เจ้าของลิขสิทธิ์ หรือตัวแทน
3. แบบแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ผลงานโดยย่อ ให้ระบุวิธีการและขั้นตอนในสร้างสรรค์ผลงานโดยย่อหรือแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงาน ผู้ลงนามในแบบแสดงรายละเอียดการสร้างสรรค์ผลงานโดยย่อ คือ เจ้าของลิขสิทธิ์หรือตัวแทน
4. หนังสือรับรองความเป็นเจ้าของงานลิขสิทธิ์ ให้ระบุชื่อเจ้าของลิขสิทธิ์ ที่อยู่ ทะเบียนนิติบุคคล (ถ้ามี) ประเภทของงานลิขสิทธิ์ ชื่อผลงาน และระบุวันที่ยื่นคำขอแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ ผู้ลงนามในหนังสือรับรองความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ คือ เจ้าของลิขสิทธิ์ เท่านั้น
รายการเอกสาร หลักฐานประกอบ
1. สำเนาบัตรประชาชน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (กรณีเป็นบุคคลธรรมดา)
2. สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคล ที่นายทะเบียนออกให้ไม่เกิน 6 เดือน ของเจ้าของลิขสิทธิ์ (กรณีเป็นนิติบุคคล
3. ผลงานหรือภาพถ่ายงานลิขสิทธิ์ จำนวน 1 ชุด
4. หนังสือมอบอำนาจติดอากรแสตมป์ 30 บาท พร้อมสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (รับรองสำเนาถูกต้อง)
5. หน่วยงานหรือองค์กรของรัฐบาลใช้สำเนาหนังสือแต่งตั้งผู้บริหารหน่วยงานหรือองค์กรฯ รวมทั้งสำเนาบัตรประชาชนของผู้ยื่นคำขอ (รับรองสำเนาถูกต้อง)
เรียบเรียงจาก
1. การประชุมเชิงปฏิบัติการออนไลน์ เรื่อง “การขอจดลิขสิทธิ์ผลงานวิชาการ” วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 09.00-12.00 น. อบรมออนไลน์บรรยายโดย ผศ.ณัฐนันท์ ทองทรัพย์ รองผู้อำนวยการส่วนงานวิจัยและบริการ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
2. กรมทรัพย์สินทางปัญญา http://www.ipthailand.go.th/th/copyright-002-1.html
6 กิจกรรมพัฒนาสมรรถนะนักเรียนผู้สูงอายุ ปี พ.ศ. 2565 ที่ #โรงเรียนผู้สูงอายุทุ่งกว๋าว
1. การตรวจหาเชื้อไวรัสด้วยชุด ATK (เทคนิคการแพทย์)
2. การล้างมืออย่างไรให้ปลอดภัย (พยาบาลศาสตร์)
3. การเดินทางโดยเครื่องบิน (สาขาธุรกิจการบินฯ)
4. ตรวจสุขภาพฟันและแนะนำการดูแลช่องปาก (ทันตแพทยศาสตร์)
5. การยืดเหยียดสำหรับผู้สูงอายุ (สาธารณสุขศาสตร์)
6. เทคนิคการถ่ายภาพเพื่อส่งเสริมการขายสินค้า (นิเทศศาสตร์ + MBA)
เพิ่มเติม ฐานกิจกรรมวาดภาพระบายสี (ศิลปศาสตร์ฯ)
ดูแลพิธีการโดย อ.วีระพันธ์ แก้วรัตน์ (บริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์)
และเป็น โครงการ ดูแล ส่งเสริมสุขภาพ ผู้สูงอายุ โดยหมอมือใหม่ จิตอาสา มหาวิทยาลัยเนชั่นบูรณาการวิชาการเพื่อบริการแก่สังคมในสถานการณ์โควิด (Covid 19) โดย สโมสรนิสิตมหาวิทยาลัยเนชั่น ร่วมกับ คณะกรรมการนิสิต 5 คณะวิชา ซึ่งพบการเล่าเรื่องแบบ Story telling ในสื่อสังคมของมหาวิทยาลัยเนชั่น
สถาบันอุดมศึกษามีพันธกิจหลักที่สําคัญในด้านการผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการวิชาการแก่สังคม และการทํานุบํารุงศาสนาและศิลปวัฒนธรรม ภายใต้พันธกิจด้านการวิจัย สถาบันอุดมศึกษาควรสนับสนุนและส่งเสริมให้บุคลากรของสถาบันให้มีการดําเนินการวิจัย เพื่อค้นหาองค์ความรู้ใหม่และสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อพัฒนาองค์กรในด้านต่างๆ การทำวิจัยและเผยแพร่องค์ความรู้เชิงวิชาการถือเป็นพันธกิจหลักอย่างหนึ่งของอาจารย์ในมหาวิทยาลัย และเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดสำคัญด้านคุณภาพของมหาวิทยาลัย ซึ่งผลที่เกิดจากการศึกษา คิดค้น วิจัยและพัฒนา อย่างถูกต้องและเป็นระบบ จะสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และผลงานวิจัยที่แล้วเสร็จควรนำไปเผยแพร่ให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า
เพื่อให้ทราบถึงแนวทางในการพัฒนาการผลิตผลงานวิจัย/ผลงานวิชาการเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI 2 อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพของอาจารย์และส่งผลต่อคุณภาพของมหาวิทยาลัย คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเนชั่น จึงได้จัดทำแผนการจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM) ในประเด็นการพัฒนาการผลิตผลงานวิจัย/ผลงานวิชาการเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI 2 โดยได้จัดให้มีกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อเป็นเวทีในการถ่ายทอดองค์ความรู้จากอาจารย์ที่มีความรู้ ความชำนาญและมีประสบการณ์ในการผลิตผลงานวิจัย/ผลงานวิชาการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI 2 เพื่อเป็นประโยชน์ต่ออาจารย์ท่านอื่น ที่จะนำความรู้ที่ได้รับจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไปใช้เป็นแนวทางในการเตรียมความพร้อมเพื่อให้ได้รับการตอบรับเข้าร่วมการตีพิมพ์/เผยแพร่ผลงานวิจัยต่อไป ซึ่งสามารถสรุปเป็นแนวทางในการพัฒนาการผลิตผลงานวิจัย/ผลงานวิชาการเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI 2 ดังนี้
ลักษณะของบทความวิชาการ
บทความวิชาการ (Academic article) เป็นงานเขียนวิชาการซึ่งมีการวิเคราะห์ประเด็นตามหลักวิชาการ มีการสำรวจวรรณกรรมและวิเคราะห์อย่างเป็นระบบเพื่อสนับสนุนและสามารถสรุปผลการวิเคราะห์ในประเด็นนั้นได้ มีเนื้อหาเน้นหนักไปในด้านวิชาการ เสนอความคิด วิทยาการใหม่ หรือเป็นการตีความ ค้นคว้าหาข้อเท็จจริงที่แปลกใหม่มาเสนอต่อผู้อ่าน ลักษณะเฉพาะของบทความประเภทนี้ คือ ลีลาการเขียน ภาษา ศัพท์ เป็นไปตามหลักวิชาการ ซึ่งบางครั้งผู้เขียนอาจเสนอแนวคิดใหม่เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารทางวิชาการที่เชื่อถือเป็นที่ยอมรับในวงวิชาการ (ลลิตา กิตติประสาร, 2554: 469 อ้างถึงใน สัญญา เคณาภูมิ, 2560)
หรืออาจกล่าวได้ว่า บทความวิชาการ หมายถึง งานเขียนทางวิชาการซึ่งมีการกําหนดประเด็นที่ต้องการอธิบายหรือวิเคราะห์อย่างชัดเจน ทั้งนี้มีการวิเคราะห์ประเด็นดังกล่าวตามหลักวิชาการโดยมีการสำรวจวรรณกรรมเพื่อสนับสนุนจนสามารถสรุปวิเคราะห์ในประเด็นนั้นๆ ได้ อาจเป็นการนําความรู้จากแหล่งต่างๆ มาประมวลร้อยเรียงเพื่อวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ โดยที่ผู้เขียนแสดงทัศนะทางวิชาการของตนไว้อย่างชัดเจน (ก.พ.อ.2560)
บทความวิชาการที่พบมากในทางสังคมศาสตร์มักเป็นการประมวล สรุปวิเคราะห์และแสดงทัศนะทางวิชาการของนักวิชาการต่อแนวคิดหรือทฤษฎีทางสังคมศาสตร์
รูปแบบของบทความวิชาการ
ประกอบด้วย การเกริ่นนำที่แสดงเหตุผลหรือที่มาของประเด็นที่ต้องการอธิบายหรือวิเคราะห์ กระบวนการอธิบาย หรือวิเคราะห์ บทสรุป และการอ้างอิงบรรณานุกรมที่ครบถ้วนและสมบูรณ์ บทความทางวิชาการเป็นภาพสะท้อนถึงความตื่นตัวทางวิชาการในการติดตามวิทยาการใหม่ ๆ โดยการจัดระบบความคิดถ่ายทอดออกมาเป็นบทความวิชาการ ก่อให้เกิดการกระจายและพัฒนาองค์ความรู้ในวงการวิชาการและหรือวิชาชีพเป็นประโยชน์ในการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ นักวิชาการไม่ว่าจะอยู่ในวงการวิชาการหรือวิชาชีพจึงจำเป็นต้องมีความรู้และความสามารถในการเขียนบทความทางวิชาการ อย่างไรก็ตีบทความวิชาการมักจะมีลักษณะเฉพาะอยู่หลายประการ ได้แก่ (วรางคณา จันทรคง, 2557 อ้างถึงใน สัญญา เคณาภูมิ, 2560)
1. ต้องเป็นเรื่องที่ผู้อ่านส่วนมากกำลังสนใจอยู่ในขณะนั้น อาจเป็นปัญหาที่คนทั่วไปอยากทราบว่าจะดำเนินต่อไปอย่างไร หรือมีผลเช่นไร หรือเป็นเรื่องที่สอดคล้องกับเหตุการณ์ หรือสถานการณ์หรือเข้ายุคเข้าสมัย
2. ต้องมีสาระแก่นสาร อ่านแล้วได้ความรู้หรือความคิดเพิ่มเติม มิใช่เรื่องเลื่อนลอย เหลวไหลไร้สาระ
3. ต้องมีทัศนะ ข้อคิดเห็น และหรือ ข้อวินิจฉัยของผู้เขียนแทรกอยู่ด้วย
4. มีวิธีการเขียนที่ชวนให้อ่าน ทำให้เพลิดเพลินและชวนคิด
5. เนื้อหาสาระและวิธีเขียนเหมาะแก่ผู้อ่านระดับที่มีการศึกษาทั้งนี้เพราะผู้อ่านที่มีการศึกษาน้อยมักจะไม่อ่านบทความแต่จะอ่านข่าวสดมากกว่า
6. มีการนำเสนอความรู้หรือความคิดที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานทางวิชาการที่เชื่อถือได้ในเรื่องนั้น ๆ โดยมีหลักฐานทางวิชาการอ้างอิง
7. มีการวิเคราะห์ วิจารณ์ ให้ผู้อ่านเห็นประเด็นสำคัญอันเป็นสารประโยชนที่ผู้เขียนต้องการนำเสนอแก่ผู้อ่านซึ่งอาจจำเป็นต้องใช้ประสบการณ์ส่วนตัวหรือประสบการณ์และผลงานของผู้อื่นมาใช้
8. มีการเรียบเรียงเนื้อหาสาระอย่างเหมาะสมเพื่อช่วยให้ผู้อ่านเกิดความกระจ่างในความรู้ความคิดที่นำเสนอ
9. มีการอ้างอิงทางวิชาการและบอกแหล่งอ้างอิงทางวิชาการอย่างถูกต้องเหมาะสมตามหลักวิชาการและจรรยาบรรณของนักวิชาการ
10. มีการอภิปรายให้แนวคิด แนวทางในการนำความรู้ ความคิดที่นำเสนอไปใช้ให้เป็นประโยชน์หรือมีประเด็นใหม่ ๆ ที่กระตุ้นให้ผู้อ่านเกิดความต้องการสืบเสาะหาความหรือพัฒนาความคิดในประเด็นนั้น ๆ ต่อไป เป็นต้น
ลักษณะของบทความที่มีคุณภาพ (พร้อมภัค บึงบัว และคณะ, 2561)
1. ถูกต้องตามเกณฑ์มาตรฐานทางวิชาการ
2. ได้รับการยอมรับเผยแพร่ นำเสนอหรือตีพิมพ์
3. มีนักวิจัยนำไปใช้อ้างอิงและใช้ประโยชน์
ลักษณะของบทความตามหลัก 7C
1. ความถูกต้อง (Correctness)
2. ความมีเหตุผลมั่นคง (Cogency)
3. ความกระจ่างแจ้ง (Clarity)
4. ความสมบูรณ์(Completeness)
5. ความกะทัดรัด (Concise)
6. ความสม่ำเสมอ (Consistency)
7. ความเชื่อมโยง (Concatenation)
องค์ประกอบของบทความวิชาการ
1. ชื่อเรื่อง
1.1 ใช้ภาษาที่เป็นทางการ ชื่อเรื่องชัดเจนตรงไปตรงมา และครอบคลุมประเด็นของเรื่อง
1.2 ไม่จำเป็นต้องตรงกับชื่องานวิจัย (กรณีส่วนหนึ่งส่วนใดของงานวิจัย)
1.3 ควรมีลักษณะทั้งแบบ Didactic และ Lapidaric
Didactic : มองเห็นความสำคัญของแนวคิดหลักและประโยชน์ที่ได้รับ
Lapidaric : เห็นแก่นขององค์ความรู้
1.4 ประเด็นที่เป็นข้อสงสัย ขัดแย้ง ยังไม่ยุติ
1.5 ประเด็นที่เป็นเรื่องใหม่ ทันต่อยุคสมัย เป็นกระแสความสนใจ
1.6 ประเด็นนวัตกรรม
1.7 ประเด็นที่วารสารต้องการ ตรงกับ Theme
1.8 ประเด็นที่มีคุณค่าทางวิชาการ
โดยสรุป ชื่อเรื่อง ควรตั้งให้เข้ากับประเด็นของเนื้อหาที่เขียน ไม่ควรยาวเกิน 1-2 บรรทัด
2. บทคัดย่อ/Abstract
2.1 บทคัดย่อในบทความวิชาการ เป็นการสรุปประเด็นเนื้อหาที่เป็นแก่นสำคัญ เน้นประเด็นสำคัญของงานที่ต้องการนำเสนอจริง ๆ
2.2 ควรเขียนให้สั้น กระชับ มีความยาวไม่เกิน 10-15 บรรทัด (หรือตามที่แหล่งตีพิมพ์กำหนด)
2.3 บทคัดย่อมักจะประกอบด้วยเนื้อหา 3 ส่วน คือ เกริ่นนำ สิ่งที่ทำ สรุปผลสำคัญที่ได้ซึ่งอ่านแล้วต้องเห็นภาพรวมทั้งหมดของงาน
2.4 Abstract ต้องตรงตามบทคัดย่อ
บทคัดย่อเป็นส่วนที่เป็นเสมือนแผนที่ให้เห็นบทความวิชาการได้โดยองค์รวม
3. คำสำคัญ/Keyword
3.1 ควรเลือกคำสำคัญที่เกี่ยวข้องกับบทความ ประมาณ 3-5 คำ
3.2 คำสำคัญในภาษาไทยต้องตรงกับคำสำคัญในภาษาอังกฤษ
3.3 เป็นคำที่มีนัยสำคัญที่ปรากฏในชื่อเรื่อง
3.4 เป็นคำค้นจากดัชนีเอกสารในวารสารและดัชนีประเภทต่าง ๆ
4. บทนำ/ส่วนนำ
4.1 เป็นส่วนที่ผู้เขียนจูงใจให้ผู้อ่านเกิดความสนใจในเรื่องนั้น
4.2 ใช้ภาษาที่กระตุ้น จูงใจผู้อ่าน
4.3 ยกปัญหาที่กำลังเป็นที่สนใจมาอภิปราย
4.4 ตั้งประเด็นคำถามหรือปัญหาที่ท้าทายความคิดของผู้อ่าน
4.5 กล่าวถึงประโยชน์ที่ผู้อ่านจะได้รับจากการอ่าน
4.6 ผู้เขียนกล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการเขียนบทความ หรือให้คำชี้แจงที่มาของการเขียนบทความนั้น
4.7 บอกขอบเขตของบทความเพื่อช่วยให้ผู้อ่านไม่คาดหวังเกินขอบเขตที่กำหนด
4.8 ปูพื้นฐานที่จำเป็นในการอ่านเรื่องนั้นให้แก่ผู้อ่าน
4.9 หลักการและเหตุผล (rationale) หรือความเป็นมาหรือภูมิหลัง (Background) หรือความสำคัญของเรื่องที่เขียน เพื่อให้ผู้อ่านได้ทราบเป็นพื้นฐานไว้ก่อนว่าเรื่องที่เลือกมาเขียนมีความสำคัญหรือมีความเป็นมาอย่างไร เหตุผลใด ผู้เขียนจึงเลือกเรื่องดังกล่าวขึ้นมาเขียน
4.10 วัตถุประสงค์ เป็นการเขียนว่าในการเขียนบทความในครั้งนี้ต้องการให้ผู้อ่านได้ทราบเรื่องอะไรบ้าง จำนวนวัตถุประสงค์แต่ละข้อไม่ควรมีมากเกินไปและวัตถุประสงค์แต่ละหัวข้อจะต้องสอดคล้องกับเรื่องหรือเนื้อหาของบทความ
4.11 ขอบเขตของเรื่อง (ถ้ามี) ผู้เขียนต้องการจะบอกกล่าวให้ผู้อ่านทราบและเข้าใจตรงกันเพื่อเป็นกรอบในการอ่าน อาจขึ้นอยู่กับปัจจัยในการเขียน ได้แก่ ความยาวของงานที่เขียน หากมีความยาวไม่มากก็ควรกำหนดขอบเขตการเขียนให้แคบลง ไม่เช่นนั้นผู้เขียนจะไม่สามารถนำเสนอเรื่องได้ครบถ้วนสมบูรณ์ และระยะเวลาที่ต้องรวบรวมข้อมูลอาจชี้แจงการกำหนดเรื่องที่จะเขียนที่ลึกซึ้ง สลับซับช้อน หรือเป็นเรื่องเชิงเทคนิคอาจจะยกต่อการรวบรวมข้อมูลและเรียบเรียงเนื้อเรื่อง
4.12 คำจำกัดความหรือนิยามต่าง ๆ (ถ้ามี) คำจำกัดความที่ผู้เขียนเห็นว่าควรระบุไว้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านในกรณีที่คำเหล่านั้น ผู้เขียนใช้ในความหมายที่แตกต่างจากความหมายทั่วไปหรือเป็นคำที่ผู้อ่านอาจจะไม่เข้าใจความหมายถึงเป็นการทำความเข้าใจและการสื่อความหมายให้ผู้เขียนบทความและผู้อ่านบทความเข้าใจตรงกัน รวมทั้งเป็นการขยายความหมายให้สามารถตรวจสอบหรือสังเกตได้
โดยสรุป บทนำเป็นเสมือนประตูหน้าบ้านของบทความที่ทำให้ผู้อ่านรู้ข้อมูลเบื้องต้นของบทความ เป็นการปูพื้นก่อนที่จะเข้าไปสู่เนื้อหาถัดไป ควรเขียนไม่เกิน 1 -2 หน้า
5. เนื้อหาสาระ
มักจะมีประมาณ 2-3 หัวข้อย่อย ประมาณ 8-10 หน้าโดยเริ่มจากบทนำไปจนถึงบทสรุป โดยผู้เขียนจะต้องแสดงให้เห็นความเชื่อมโยงของเหตุที่นำไปสู่ผล (causal relationship) การอ้างอิงข้อมูลต่าง ๆ การลำดับความ การบรรยาย วิธีการอ้างอิง สถิติและข้อมูลต่าง ๆ ที่ใช้ในการประกอบเรื่องที่เขียน เพื่อให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจและประทับใจมากที่สุด
5.1 การจัดลำดับเนื้อหาสาระ
5.1.1 การจัดลำดับเนื้อหาสาระ
5.1.2 วางแผนจัดโครงสร้างของเนื้อหาสาระที่จะนำเสนอ
5.1.3 จัดลำดับเนื้อหาสาระให้เหมาะสม
5.1.4 การนำเสนอเนื้อหาสาระควรมีความต่อเนื่องกันเพื่อช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจสาระนั้นได้โดยง่าย
5.2 สไตล์การเขียน
ผู้เขียนแต่ละคนย่อมมีสไตล์การเขียนของตนซึ่งจะเป็นเอกลักษณ์ สิ่งที่ควรคำนึง คือ ผู้เขียนจะต้องเขียนอธิบายเรื่องนั้น ๆ ให้ผู้อ่านเกิดความกระจ่างมากที่สุด ใช้เทคนิคต่าง ๆ ที่จำเป็น เช่น การจัดลำดับหัวข้อ การยกตัวอย่างที่เหมาะสม การใช้ภาษาที่กระชับชัดเจน เหมาะสมกับผู้อ่าน เป็นต้น
5.3 การวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์
ควรนำเสนอความคิดเห็นของผู้เขียนด้วยการวิเคราะห์วิจารณ์ข้อมูล เนื้อหาสาระ เป็นการริเริ่มสร้างสรรค์ของผู้เขียน การวิเคราะห์วิจารณ์อาจนำเสนอพร้อมกับการนำเสนอเนื้อหาสาระตามความเหมาะสมกับลักษณะเนื้อหาของเรื่อง
5.4 การใช้ภาษา
ต้องใช้คำในภาษาไทย ใส่คำภาษาต่างประเทศไว้ในวงเล็บ เขียนคำให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของราชบัณฑิตสถาน สะกดคำให้ถูกต้องตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ควรตรวจทานงานไม่ให้ผิดพลาด เพราะจะเป็นแหล่งอ้างอิงทางวิชาการต่อไป
5.5 วิธีการนำเสนอ
นำเสนอเนื้อหาสาระให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่ายและรวดเร็ว ใช้เทคนิคต่าง ๆ ช่วยนำเสนอ เช่น การใช้ภาพ แผนภูมิ ตาราง แผนสถิติ เป็นต้น ควรนำเสนอสื่อต่าง ๆ อย่างเหมาะสมและถูกต้องตามหลักวิชาการ เช่น การเขียนซื่อตาราง การให้หัวข้อต่าง ๆ ในตาราง เป็นต้น
6. บทสรุป
บทความทางวิชาการที่ดีควรมีการสรุปประเด็นสำคัญ ๆ ของบทความนั้น ๆ รายละเอียด ดังนี้
6.1 การย่อ คือ การเลือกเก็บประเด็นสำคัญ ๆ ของบทความนั้น ๆ มาเขียนรวมกันไว้อย่างสั้น ๆ ท้ายบท
6.2 การบอกผลลัพธ์ว่าสิ่งที่กล่าวมามีความสำคัญอย่างไร
6.3 การบอกแนวทางการนำไปใช้ของสิ่งที่กล่าวมาว่าสามารถนำไปใช้อะไรได้บ้าง หรือจะทำให้เกิดอะไรต่อไป
6.4 การตั้งคำถามหรือให้ประเด็นทิ้งท้ายกระตุ้นให้ผู้อ่านไปสืบเสาะแสวงหาความรู้ หรือคิดค้นพัฒนาเรื่องนั้นต่อไป
7. รายการอ้างอิง
7.1 ผู้วิจัยต้องอ่านเอกสารที่ตนจะใช้เป็นเอกสารอ้างอิงก่อนเสมอ
7.2 ไม่ควรอ้างอิงแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ เช่น เว็บไซต์ หนังสือ ตำรา เป็นต้น ควรอ้างอิงจากเอกสารที่เป็นนิพนธ์ต้นฉบับ
7.3 ควรอ้างอิงเอกสารเท่าที่จำเป็นอย่างเหมาะสม ไม่ควรอ้างอิงเอกสารที่มากเกินไปจนพร่ำเพรื่อ
7.4 ไม่ควรนำบทคัดย่อมาเป็นเอกสารอ้างอิง
7.5 การอ้างอิงที่ยังไม่ได้ตีพิมพ์แต่ได้ตอบรับการตีพิมพ์ควรระบุไว้ว่าเป็น “in press” หรือ “forthcoming”
7.6 การอ้างอิงเอกสารที่ไม่ได้รับการตีพิมพ์แต่ได้ส่งเพื่อพิจารณาตีพิมพ์หรือการอ้างอิงข้อมูลที่ไม่เคยส่งตีพิมพ์ ควรระบุว่าเป็น “unpublished data” หรือ “unpublished observations”และควรได้รับคำยินยอมจากเจ้าของเป็นลายลักษณ์อักษร
7.7 เมื่อทำการทวนความ (paraphrase) หรือย่อความ (summarize) มาจากบทความอื่นไม่ว่าจะเป็นบทความของตนเองหรือบทความของผู้อื่น นักวิจัยควรที่จะอ้างอิงเอกสารต้นฉบับนั้นไว้ด้วย
7.8 ไม่ควรใช้บทความที่ถูกถอดถอนออกไปแล้วมาเป็นเอกสารอ้างอิง
7.9 ต้องตรวจสอบความถูกต้องของรายการเอกสารอ้างอิง ทั้งในแง่ของรูปแบบและเนื้อหา
การเรียบเรียงต้นฉบับบทความ
การเขียนบทความนั้นไม่ใช่การเขียนเสร็จในร่างเดียว โดยทั่วไปอาจต้องเขียนอย่างต่ำ 4 ร่างก่อนที่จะส่งไปตีพิมพ์ได้ ดังนี้ (ปรับปรุงจาก Perry et al. 2003: 662 อ้างถึงใน Kotze, 2007)
– ร่างที่ 1 – ให้วางโครงเรื่อง แล้วเขียนโดยไม่ต้องกังวลมากนักกับระบบการอ้างอิง หรือ ภาษา สิ่งสําคัญคือ เริ่มวางเค้าโครงการเขียนและลงมือเขียน
– ร่างที่ 2 – ปรับปรุงบทความที่เขียนไว้ ตรวจดูว่าการเรียงลําดับของหัวข้อต่างๆ ในการนําเสนอเหมาะสมหรือไม่ บทความมีความเชื่อมโยง มีตรรกะเหตุผลต่อกันหรือไม่ อาจต้องมีการสลับทีของหัวข้อ และเขียนเชื่อมโยงแต่ละส่วน หรืออาจต้องเพิ่มการเขียนเกริ่นนําในแต่ละส่วนเพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงกันตลอดทั้งบทความ
– ร่างที่ 3 – ปรับปรุงอีกครั้ง อาจทิ้งบทความไว ้2-3 วัน แล้วนํามาอ่านใหม่ อาจปรับบทความให้สั้นลง จนได้บทความที่พอใจ
– ร่างที่ 4 – ปรับปรุงด้านเทคนิคของบทความทั้งหมด เช่น ระบบการอ้างอิง การตั้งชื่อหัวข้อ การใส่ เลขหัวข้อ ตาราง รูปภาพ ให้ถูกต้องเป็นระบบเดียวกันทั้งหมด ตรวจสอบการอ้างอิงในเนื้อหาและรายการเอกสารอ้างอิงท้ายบทความว่าครบถ้วน ไม่ขาด ไม่เกิน และถูกต้องทั้งหมด ควรหาเพื่อนร่วมงานให้ช่วยอ่านตรวจทานให้ก่อนส่งบรรณาธิการ
การเขียนบทความวิชาการ ควรเลือกเขียนในประเด็นที่ผู้เขียนมีความรู้้และความถนัดมากที่สุด รวมทั้งมีความสนใจศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม ทั้งนี หากเคยมีประสบการณ์ในการวิจัยในประเด็นนั้นๆ มาแล้ว ก็จะทําให้สามารถเขียนบทความวิชาการได้ดีขึ้น ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจจะเขียนบทความวิชาการ ควรอ่านบทความวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่ได้รับการยอมรับทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อให้ก้าวทันความรู้ทางวิชาการ
สาเหตุที่บทความถูกปฏิเสธการตีพิมพ์ในวารสาร
– บทความไม่สอดคล้องกับนโยบายและขอบเขตของวารสาร
– รูปแบบการเขียนบทความไม่ตรงกับรูปแบบที่วารสารกําหนด
– การเขียนบกพร่อง ผิดพลาดมาก
– ขนาดความยาว สั้นหรือ ยาวเกินไป
– ขาดความทันสมัย
– ตาราง รูปภาพ ไม่สื่อความหมาย ข้อมูลในตารางและคําอธิบายไม่สอดคล้องกัน
– ไม่สามารถชี้ให้เห็นถึงความสําคัญของประเด็นปัญหาของการวิจัย
– ผู้เขียนไม่ยอมแก้บทความตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิหรือบรรณาธิการ
จะเห็นได้ว่าสาเหตุในการปฏิเสธบทความที่กล่าวมาข้างต้น มาจากการที่ผู้เขียนไม่มีข้อมูลเพียงพอเกี่ยวกับวารสารที่จะส่งบทความไปตีพิมพ์ (เช่น ไม่เข้าใจถึงนโยบายและขอบเขตของวารสาร ไม่ได้ศึกษารูปแบบของบทความ) และปัญหาในการเขียนและเรียบเรียง ซึ่งอาจมาจากความไม่ใส่ใจในรายละเอียด ซึ่งทําให้บรรณาธิการอาจตั้งคําถามต่องานวิจัย รวมทั้งอาจเกรงว่าผู้เขียนจะมีปัญหาในการการปรับปรุงบทความให้ดี ขี้น ภายหลังจากได้รับคําแนะนําจากบรรณาธิการหรือผู้ทรงคุณวุฒิ นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นที่บทความอาจถูก ปฏิเสธการตีพิมพ์ แม้ว่าจะเป็นบทความที่มีคุณภาพดีในระดับหนึ่ง เช่น วารสารมีบทความที่มีคุณภาพดีกว่า(เนื่องจากผู้เขียนเลือกวารสารที่มีคุณภาพและอันดับสูงเกินไป) หรือวารสารอาจเพิ่งตีพิมพ์บทความในประเด็นเดียวกันหรือใกล้เคียงกันไปไม่นาน จึงไม่ตีพิมพ์ซ้ำอีก
เอกสารอ้างอิง
พร้อมภัค บึงบัว และคณะ. (2561). การเขียนบทความวิชาการและการเขียนบทความการวิจัย.
เอกสารประกอบการบรรยาย. ค้นเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2562, จาก http://www.nidtep.go.th/2017/publish/doc/20180515.pdf
สัญญา เคณาภูมิ. (2560). แนวทางการเขียนบทความวิชาการ. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์, 34 (1) มกราคม – เมษายน 2560: 1-31.
สถาบันอุดมศึกษามีพันธกิจหลักที่สําคัญในด้านการผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการวิชาการแก่สังคม และการทํานุบํารุงศาสนาและศิลปวัฒนธรรม ภายใต้พันธกิจด้านการผลิตบัณฑิต คณะให้ความสำคัญต่อการสร้างแนวปฏิบัติที่ดีในการพัฒนาการทำงานปกติให้มีประสิทธิภาพด้านการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลการจัดการเรียนการสอน กระบวนการบริหารจัดการทั้งด้านวิชาการและการพัฒนานิสิตด้วยกิจกรรมต่างๆ ซึ่งกิจกรรมต่างๆ ดังกล่าวถือเป็นภารกิจสำคัญของอาจารย์ และอาจารย์ถือเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดสำคัญด้านคุณภาพของหลักสูตร คณะ และมหาวิทยาลัย การทำให้อาจารย์รวมถึงบุคลากรเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นหน่วยงานสนับสนุนมีความสุขในการปฏิบัติงาน จึงเป็นเรื่องสำคัญ อันจะส่งผลให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เพื่อให้ทราบถึงแนวทางในการสร้างขวัญกำลังใจให้แก่บุคลากรเพื่อผลสัมฤทธิ์ในการบริหารจัดการหลักสูตร คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเนชั่น จึงได้จัดทำแผนการจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM) ในประเด็นการสร้างขวัญกำลังใจให้แก่บุคลากรเพื่อผลสัมฤทธิ์ในการบริหารจัดการหลักสูตร โดยได้จัดให้มีกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อเป็นเวทีในการถ่ายทอดองค์ความรู้จากอาจารย์โดยมีการแลกเปลี่ยน วิเคราะห์กระบวนการทำงาน-ผลที่ได้ เพื่อสรุปแนวปฏิบัติที่ดีในการดำเนินงานร่วมกันให้เป็นระบบและรูปแบบเดียวกัน ซึ่งสามารถสรุปเป็นแนวทางในการจัดทำคู่มือการสร้างขวัญกำลังใจให้แก่บุคลากรเพื่อผลสัมฤทธิ์ในการบริหารจัดการหลักสูตร ดังนี้
เพื่อให้การสร้างขวัญกำลังใจให้แก่บุคลากรเป็นไปอย่างถูกต้องและสอดคล้องความต้องการอย่างแท้จริง เทคนิคหรือวิธีการหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ประกอบการดำเนินงาน ได้แก่ เทคนิคการสำรวจข้อมูลและการส่งข้อมูลย้อนกลับ (Survey Feedback) ซึ่งเป็นเทคนิคการพัฒนาองค์การประเภทหนึ่ง เทคนิคนี้เป็นวิธีการที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงด้วยการรับรู้ข้อมูลร่วมกัน โดยมีฐานความเชื่อที่ว่า การเปลี่ยนแปลงใด ๆ จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ พนักงานต้องรับรู้และเข้าใจถึงจุดแข็งและจุดอ่อนในปัจจุบันของหน่วยงานตน ซึ่งเป็นหลักการและเหตุผลสำคัญของการใช้เทคนิคการสำรวจข้อมูลและการส่งข้อมูลย้อนกลับนี้ โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้
ขั้นแรก เป็นการรวบรวมข้อมูลทั้งหลายที่เป็นข้อวิตกกังวลของพนักงาน เช่น บรรยากาศขององค์การ แบบภาวะผู้นำ และสภาพความพึงพอใจต่องาน เป็นต้น โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์หรือให้ตอบแบบสอบถามหรือทั้งสองอย่างก็ได้ ข้อมูลที่ได้ต้องพยายามหลีกเลี่ยงอคติลำเอียงและต้องเก็บเป็นความลับ
ขั้นที่สอง เป็นการเขียนรายงานข้อมูลที่ได้รับกลับมาจากพนักงาน ระหว่างการประชุมกลุ่มย่อย เช่น เค้าโครงแสดงที่มาของความรู้สึกที่พนักงานมีต่อองค์การ หรือต่อผู้นำหรือต่องานที่ทำอภิปรายเพื่อหาประเด็นหลัก และการบ่งชี้ของข้อมูล ให้ได้ว่าปัญหาคืออะไร
ขั้นที่สุดท้าย เป็นการวิเคราะห์ปัญหาในแง่ที่เกี่ยวกับการสื่อสาร การตัดสินใจและกระบวนการต่าง ๆ ขององค์การ เพื่อนำมาจัดทำแผนในแต่ละเรื่อง
เทคนิคการสำรวจข้อมูลและการส่งข้อมูลย้อนกลับ ประกอบไปด้วยองค์ประกอบสำคัญๆอยู่ 2 ส่วน คือ
1.การสำรวจข้อมูล
2.การส่งข้อมูลย้อนกลับ
การสำรวจข้อมูล ก็โดยการอาศัยแบบสอบถามเพื่อการสำรวจทัศนคติหรือความเห็นของทุกคนในองค์การ
การส่งข้อมูลย้อนกลับ ก็โดยอาศัยการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อให้สมาชิกได้ทราบถึงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นตามความเห็นหรือทัศนคติของบุคคลหลังจากที่ได้มีการรวบรวมวินิจฉัย และเสนอข้อมูลในรูปแบบต่างๆ
ในแบบสอบถามนั้นมักมีประเด็นต่างๆ ที่กระทบต่อขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานดังนี้
1. บรรยากาศในองค์การ
2. เงินเดือนและผลประโยชน์เกื้อกูล
3. ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานภายใน
4. การติดต่อสื่อสาร
5. ความสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา
6. การให้คำปรึกษาแนะนำในการทำงาน
7. งานที่ตนเองรับผิดชอบ
8. ความกดดันที่เกี่ยวกับการทำงาน
9. การบริหารงานโดยยึดวัตถุประสงค์
10. โอกาสของความเจริญเติบโตและความก้าวหน้าของแต่ละบุคคล
11. การได้รับการศึกษาอบรมของแต่ละคน
จะเห็นได้ว่าการสอบถามความคิดเห็นของคนทุกคนในองค์การ หรือในหน่วยงานที่เราต้องสำรวจในเรื่องต่างๆ ดังกล่าว จะทำให้รู้ความเป็นไปแทบจะทุกอย่างที่เกิดขึ้นในองค์การนั้นเลยทีเดียว
นอกจากนั้นยังเป็นการสอบถามถึงปัญหาของทุกคนที่เจออยู่ และรวมถึงความสัมพันธ์ของงานที่ตนต้องรับผิดชอบร่วมกับบุคคลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอีกด้วย นั่นก็คือเป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับการทำงานของทั้งระบบนั่นเอง
สำหรับการส่งข้อมูลย้อนกลับนั้น ก็มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่ากระบวนการในการสำรวจข้อมูลตั้งแต่แรก
กระบวนการในการส่งข้อมูลย้อนกลับ คือเป็นการเสนอข้อมูลหลังจากที่ได้ข้อมูลที่เชื่อถือได้แล้ว
คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์ได้นำเอาแนวคิดจากเทคนิคการสำรวจข้อมูลและการส่งข้อมูลย้อนกลับมาประยุกต์ใช้ ดังนี้
ซึ่งผลที่ประมวลได้จากแบบสอบถามและจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการประชุมเชิงปฏิบัติการ คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์ ในวันที่ 25 ธันวาคม 2564 เป็นดังนี้
1. บรรยากาศในองค์การ
ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
-คนให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน รู้สึกอบอุ่น มีความเป็นไมตรีจิตมาโดยตลอด ยังคงมีความเป็นโยนกในอดีต
-เงียบๆ ไม่ครื้นเครง ยังมีการแบ่งแยกเป็นกลุ่ม
-บรรยากาศในคณะฯ ดีมาก อยู่กันเหมือนพี่น้อง มีการพูดคุยกันได้ทุกเรื่อง ทั้งเรื่องการทำงาน เรื่องบันเทิง เรื่องเล่าต่างๆ ข่าวสารบ้านเมือง และมีบางครั้งที่ในออฟฟิศมีเสียงดังจนเกินไป
-ภายนอกคณะ บรรยากาศการทำงาน ขวัญและกำลังใจของผู้ปฏิบัติงานค่อนข้างหายไปในทุกๆ วัน และต่างคนต่างอยู่
-ในระดับคณะบริหารฯ มีบรรยากาศที่ดีส่วนระดับองค์การต่างคณะวิชา ต่างหน่วยงาน ต่างทำงานของตนโดยขาดการ Collaboration
-ดีอยู่แล้ว
ที่ควรเป็นเพื่อสร้างขวัญกำลังใจ
-บรรยากาศเป็นเหมือนเพื่อน พี่ น้อง
-สร้างบรรยากาศให้สนุกกับงานตลอดเวลา
-ที่เป็นอยู่ก็ดีอยู่แล้ว อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ พึ่งพา ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
-การทำงานจะประสบความสำเร็จได้ทุกคนที่มีหน้าที่รับผิดชอบควรช่วยเหลือกันและกัน ผู้บริหารระดับสูงควรให้ความชัดเจนในการมอบหมายงาน
-องค์การควรสร้างบรรยากาศในองค์การด้วย 3 ปัจจัยหลัก คือ พฤติกรรมของผู้นำ การจัดการภายในองค์กร และ กลยุทธ์
หมายเหตุ ผลสำรวจความคิดเห็นของบุคลากรพบว่า โดยเฉลี่ยบุคลากรมีความเห็นว่า บรรยากาศในองค์การมีผลต่อขวัญและกำลังใจในระดับปานกลาง (3.20)
2. เงินเดือนและผลประโยชน์เกื้อกูล
ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
-ไม่สมเหตุสมผล สวัสดิการ การช่วยเหลือแก่บุคลากร เช่นเดียวกับบริษัทเอกชนทั่วไป และผลประโยชน์บางอย่างควรมีแต่ก็ไม่มี หรือถูกตัดลด แยกส่วน แม้แต่การพิจารณาความดี ความชอบของพนักงานไม่เสมอภาค
-ยังน้อย สำหรับค่าครองชีพในปัจจุบัน และ น้อยมากเมื่อเทียบกับประสบการณ์ที่ทุกคนมี และปริมาณงานที่ปฏิบัติ ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ทั่วไปของคุณวุฒิการศึกษา
-พอเลี้ยงชีพได้
-ไม่ได้รับการขึ้นเงินเดือนไม่เป็นไร พอทำใจยอมรับได้ ตามสภาพเศรษฐกิจ แต่การลดทอนเงินประกันสังคมโดยไม่แจ้งให้พนักงานทราบต้องทำใจยอมรับอย่างมาก
ที่ควรเป็นเพื่อสร้างขวัญกำลังใจ
-ต้องปรับปรุงให้ดีขึ้น
-ควรให้คุณค่าบุคลากรทางการศึกษาผู้ที่มีความสำคัญต่อการปลูกปั้นนิสิต ตามความเหมาะสมเช่นกับมหาวิทยาลัยของรัฐ
-ควรมีการพิจารณาปรับขึ้นเงินเดือนประจำทุกปี และในเรื่องสวัสดิการต่าง ๆเล็ก ๆ น้อย ๆ ควรจะให้เป็นขวัญและกำลังใจบุคลากร ไม่ควรมุ่งเน้นกำไรเพราะเราเป็นสถาบันการศึกษาไม่ใช่ธุรกิจ
-ควรพิจารณาความดี ความชอบทุกปี เปิดเผย และโปร่งใส และรักษาบุคลากรให้จงรักต่อองค์กร
-ควรมีการปรับเปลี่ยน โดยกำหนดหลักเกณฑ์ที่เป็นสากลทั่วไป จากประสบการณ์การทำงาน คุณวุฒิการศึกษา กำหนดเป็นฐานในแต่ละระดับให้ชัดเจน ตามกลุ่มงาน มีการกำหนดสิ่งจูงใจที่สามารถทำได้จริงและไม่ยุ่งยากซับซ้อนจนเกินไป
-การที่องค์กรจะทำอะไรที่มีผลกระทบต่อเงินเดือนหรือผลประโยชน์ในอนาคตของพนักงาน ควรแจ้งให้พนักงานได้รับทราบกันอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม
-องค์การควรกำหนดโครงสร้างค่าตอบแทนที่จูงใจและเป็นธรรม และฐานเงินเดือนควรเท่ากับงานที่ได้รับ
หมายเหตุ ผลสำรวจความคิดเห็นของบุคลากรพบว่า โดยเฉลี่ยบุคลากรมีความเห็นว่า เงินเดือนและผลประโยชน์เกื้อกูล มีผลต่อขวัญและกำลังใจในระดับปานกลาง (2.90)
3. ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานภายใน
ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
-ไม่ค่อยเอื้อหรือส่งเสริมกันในการทำงานขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลมากกว่า หน้าที่ของหน่วยงาน
-ยังคงมีความเป็นกันเองบ้าง (บางกลุ่ม) และยังมีต่างคนต่างทำงานของตนเอง
-อยู่ในระดับปานกลาง รู้จักบุคลากรในหน่วยงานเดียวกันเป็นส่วนใหญ่ แต่มีบางกลุ่มที่ไม่รู้จักกันส่วน บุคลากรที่รู้จักกันก็ทักทาย พูดคุยทั่วไปกันได้
-ยังคงมีการทำงานร่วมกันด้วยดี เนื่องจากความคุ้นเคยกันมานาน
-ขาดการประสานงาน
-ในระดับคณะฯ มีความสัมพันธ์ค่อนข้างดี ส่วนระดับองค์การในสภาพปัจจุบันตามความเห็นบุคลากรของมหาวิทยาลัย ยังขาดพฤติกรรมการมีส่วนร่วม เช่น พฤติกรรมการให้ความช่วยเหลือ พฤติกรรมการสำนึกในหน้าที่ พฤติกรรมการอดทนอดกลั้น พฤติกรรมการคำนึงถึงผู้อื่น พฤติกรรมการให้ความร่วมมือ
ที่ควรเป็นเพื่อสร้างขวัญกำลังใจ
-ควรจะมีกิจกรรมเพื่อกระชับความสัมพันธ์ในองค์กร ซึ่งองค์กรของเราเป็นองค์กรเล็ก ๆ และทำงานร่วมกันมากขึ้น ประสานงานกันมากขึ้น
-ที่ผ่านมามีการจัดกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์กัน เช่น การแข่งขันกีฬาต้องการให้มีด้วย หรือการชวนเพื่อนๆ รับประทานอาหารกลางวันร่วมกันในมหาวิทยาลัย จัดในพื้นที่โล่งๆ ที่ทุกคนมาร่วมกันได้ ทำอาหารกันเอง ประมาณปาร์ตี้มื้อเที่ยง แต่ละหน่วยงานก็มีอาหารต่างชนิดมาแบ่งกันทาน อย่างน้อยปีละครั้ง
-สิ่งดีๆ ที่องค์กรเคยมีต้องการให้รักษาภาพบรรยากาศในการทำงานร่วมกัน
-องค์การควรสร้างความสัมพันธ์อันดีโดยการเรียนรู้ปัจจัยที่เสริมสร้างให้เกิดความผูกพันในองค์กร ประเมินค่าความผูกพันของพนักงานต่อองค์กรอย่างถูกวิธี พัฒนาแผนการเสริมสร้างความผูกพันในองค์กร กระตุ้นให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการสร้างความผูกพันในองค์กรและตอบแทนพนักงานที่ดีด้วยรางวัลที่เหมาะสม
หมายเหตุ ผลสำรวจความคิดเห็นของบุคลากรพบว่า โดยเฉลี่ยบุคลากรมีความเห็นว่า ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานภายใน มีผลต่อขวัญและกำลังใจในระดับมาก (3.60)
4. การติดต่อสื่อสาร
ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
-มีสื่อในการติดต่อหลายช่องทาง (อาจจะมากเกิน) ทำให้ประสบปัญหาในการติดตาม และบางหน่วยงานการสื่อสารยังไม่ชัดเจน อาจกระทบข้อมูล/สิ่งที่จำเป็นต้องปฏิบัติล่าช้าและเสี่ยงต่อความผิดพลาด
-การติดต่อสื่อสารภายในคณะดีมาก มักไม่พลาดข้อมูลข่าวสารที่ควรทราบในการทำงานด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง แต่หากเป็นระหว่างหน่วยงานก็มีบ้างที่อาจจะต้องมีการติดต่อหลายครั้งเนื่องจากบุคลากรที่ติดต่อด้วยให้คำตอบไม่ชัดเจน บางครั้งก็มีความซ้ำซ้อน บางเรื่องก็กะทันหัน
-ด้วยความที่เป็นคนเก่า คนแก่ขององค์กรยังคงติดต่อประสานงานกันได้ง่าย
-พูดคุยกันน้อยทำให้ไม่เข้าใจการปฏิบัติที่ชัดเจน
-ในระดับองค์การในสภาพปัจจุบันถึงแม้จะเป็นองค์การเล็ก ๆ แต่มหาวิทยาลัยก็มีปัญหาในเรื่องการสื่อสารไม่ว่าจะเป็น
1) ไม่สื่อสารปัญหาอย่างตรงไปตรงมา
2) ปัญหาการแสดงพฤติกรรมการสื่อสารที่ไม่สร้างสรรค์
3) ปัญหาการสื่อสารไม่ครบถ้วน ขาดความชัดเจน
4) ปัญหาการสื่อสารทางเดียว และขาดการมีส่วนร่วม
ที่ควรเป็นเพื่อสร้างขวัญกำลังใจ
-ควรมีสำนักสื่อสารองค์กรกลางภายในของมหาวิทยาลัยเพื่อกระจายข้อมูลให้เป็นสัดส่วน ชัดเจน แม่นยำ และเป็นแนวทางปฏิบัติได้อย่างราบรื่น
-การสื่อสารทางช่องทางสื่อออนไลน์ ต้องขยายความให้ชัดเจน ไม่ควรเขียนสั้น ๆ หากขยายความมากขึ้นจะทำให้เกิดความชัดเจนในการสื่อสารมากขึ้นและมีการติดต่อสื่อสารให้มากขึ้น
-การติดต่อสื่อสารระหว่างหน่วยงาน ควรมีการแจ้งข้อมูลล่วงหน้าเพื่อจะได้แจ้งต่อไปยังผู้เกี่ยวข้อง และระบุประเด็นให้ชัดเจน ในบางครั้งการส่งอีเมล์ถึงผู้เกี่ยวข้องไม่ระบุชื่อเรื่อง หรือประเด็นสำคัญให้ทราบ บางครั้งส่งเข้ากลุ่มรวม ก็ทำให้ข้อมูลตกหล่น หรือบางครั้งบางคราวบางเรื่องสามารถพูดคุยกันทางวาจาได้ก่อน แล้วค่อยยืนยันกันเป็นทางการก็ได้ จะได้ทราบล่วงหน้าเพื่อเตรียมตัว เตรียมข้อมูลก่อนได้
-จัดมีทติ้งบ่อยๆ สิ่งดีๆ ที่องค์กรเคยมีอยากให้รักษาภาพบรรยากาศในการทำงานร่วมกัน และมีการพูดคุยกันมากขึ้นและให้ชัดเจน
-สร้างวัฒนธรรมที่ดีภายในองค์การ วัฒนธรรมทางการสื่อสารอย่างเป็นอิสระ มีความโปร่งใส ชัดเจน ชัดเจน สามารถพูดคุยได้ทุกเรื่อง เพื่อสารสื่อสารที่ราบรื่นระหว่างพนักงานภายในองค์กรที่จะส่งผลให้องค์กรเติบโตได้ในอนาคต
หมายเหตุ ผลสำรวจความคิดเห็นของบุคลากรพบว่า โดยเฉลี่ยบุคลากรมีความเห็นว่า การติดต่อสื่อสารมีผลต่อขวัญและกำลังใจในระดับปานกลาง (3.40)
5. ความสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา
ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
-ให้ความเป็นกันเองกับผู้ใต้บังคับบัญชา สามารถเข้าถึงได้กับทุกคนในองค์กร น่ารัก เป็นมิตร ชัดเจน ช่วยกันคิดช่วยกันแก้ปัญหา หาทางออกร่วมกัน
-ดูแล เอาใจใส่ พูดคุย ชี้แจงรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับงานที่ปฏิบัติชัดเจน ให้กำลังใจบุคลากรในคณะอย่างทั่วถึง ดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นอย่างดี
-ผู้บังคับบัญชาเข้าใจเนื้องาน ทำให้การทำงานภายในคณะฯ เป็นไปด้วยดี ประทับใจ
-ในระดับองค์การ ผู้บริหารระดับสูงยังคงมีพฤติกรรมเลือกที่รัก มักที่ชัง ไม่มีความเป็นกันเองกับผู้ใต้บังคับบัญชา
-ยังไม่ค่อยเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง
ที่ควรเป็นเพื่อสร้างขวัญกำลังใจ
-ในระดับคณะ ผู้บังคับบัญชาให้ความเป็นกันเองกับผู้ใต้บังคับบัญชา ทำให้งานบางอย่างราบรื่นไปด้วยดี ในระดับสถาบันผู้บริหารควรจะมาเดินเยี่ยมเยือนบุคลากร ตามอาคารต่าง ๆ บ้าง เพื่อมาดูสภาพความเป็นจริงในแต่ละหน่วยงานเป็นครั้งคราว
-ช่วยกันแก้ปัญหา และหาทางออกร่วมกันตลอดไป
-ผู้บังคับบัญชาควรเข้าใจเนื้องานสามารถสั่งการได้ด้วยความเข้าใจเพื่อให้การทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชาสำเร็จลุล่วงได้ด้วยดีไม่ต้องมาแก้ไขงานซ้ำหลายรอบ
-ให้ปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของตนโดยไม่ก้าวล่วงบทบาทหน้าที่ของผู้อื่น
-ผู้บริหารระดับสูงควรเอาใจใส่ในทุกข์สุข มีความจริงใจ และมีความยุติธรรม ไม่ใช้อารมณ์ในการแก้ปัญหา โอบอ้อมอารี เป็นกันเอง สร้างกิจกรรมในกลุ่มสัมพันธ์ต่าง ๆ และยกย่องให้เกียรติ
หมายเหตุ ผลสำรวจความคิดเห็นของบุคลากรพบว่า โดยเฉลี่ยบุคลากรมีความเห็นว่า ความสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา มีผลต่อขวัญและกำลังใจในระดับมาก (4.00)
6. การให้คำปรึกษาแนะนำในการทำงาน
ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
-รู้สึกประทับใจมาโดยตลอดตั้งแต่เริ่มปฏิบัติงาน ให้คำปรึกษาได้ทุกเรื่อง และหารือได้กับทุกคน แต่ระหว่างหน่วยงานในบางครั้งทำได้เพียงแค่ถามไป แต่คำตอบที่ได้ยังไม่ชัดเจน
-เพียงพอตามบรรยากาศ
-ในระดับคณะฯ มีความสัมพันธ์ที่ดี ส่วนระดับองค์การผู้บริหารแทนที่จะมองเห็นความสามารถในตัวบุคคล กลับมองเห็นแต่ข้อผิดพลาดและเวลาที่คนอื่นทำพลาดเท่านั้น นอกจากนี้ยังไม่เปิดโอกาสให้ทำงานที่ท้าทายหรืองานที่เพิ่มขีดความสามารถของบุคคลคนนั้นด้วย
ที่ควรเป็นเพื่อสร้างขวัญกำลังใจ
-ในระดับคณะฯ ปัจจุบันดีอยู่แล้ว มีการให้คำปรึกษา แนะนำในการทำงานตลอดเวลา
-ในการปฏิบัติเรื่องที่สำคัญ และเป็นเรื่องเฉพาะบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านนั้นควรที่จะต้องเป็นผู้ที่ให้คำตอบหรือให้ความช่วยเหลือผู้อื่นได้จริง ๆ
-ต้องการให้พูดคุยแลกเปลี่ยนเพิ่มขึ้น
-สิ่งดี ๆ ที่องค์กรเคยมี ต้องการให้รักษาภาพบรรยากาศในการทำงานร่วมกัน
-ผู้บริหารสูงสุดควรมีวิสัยทัศน์ ให้คำปรึกษาได้ สามารถสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ใต้บังคับบัญชาได้อย่างสร้างสรรค์ รวมถึงกระตุ้นให้ทุกคนสามารถทำงานได้อย่างกระตือรือร้นตามเป้าหมายและวิสัยทัศน์ที่มองเห็นร่วมกัน รวมถึงช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้กับบุคลากรทุกคน
หมายเหตุ ผลสำรวจความคิดเห็นของบุคลากรพบว่า โดยเฉลี่ยบุคลากรมีความเห็นว่า การให้คำปรึกษาแนะนำในการทำงานมีผลต่อขวัญและกำลังใจในระดับมาก (3.80)
7. งานที่ตนเองรับผิดชอบ
ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
-เหมาะสม อยู่ในระดับที่พอใจ
-งานบางอย่างก็ได้รับมอบหมายแบบปฏิเสธไม่ได้ แต่หากเป็นงานประจำที่ทำอยู่แล้วก็สามารถปฏิบัติได้ตามปกติ มีติดขัดบ้างก็แก้ไขได้ซึ่งจะไม่ส่งผลกระทบหรือเกิดความเสียหาย
-ที่ผ่านมามีงานที่รับผิดชอบชัดเจน จนกระทั่งมีการปิดหลักสูตรก็เริ่มรู้สึกถึงความไม่ชัดเจนของงานที่ได้รับมอบหมาย งานภายในคณะ หลักสูตรดำเนินตามตารางงาน แต่บางครั้งจะมีงานด่วนเข้ามาทำให้การทำงานอื่น ๆ ที่กำลังทำอยู่สะดุด หรือต้องหยุดทำไปก่อน เกิดปัญหาทำให้การจัดลำดับความสำคัญของงาน
-เรื่องที่รับผิดชอบไม่ชัดเจน เช่น ประกาศมหาวิทยาลัย เรื่องโครงสร้างการบริหารมหาวิทยาลัย
-ทำตามหน้าที่ และมีงานมากเป็นบางครั้ง
-มีอยู่แล้ว บางงานไม่ชัดเจนจากนโยบาย
หมายเหตุ ผลสำรวจความคิดเห็นของบุคลากรพบว่า โดยเฉลี่ยบุคลากรมีความเห็นว่า งานที่ตนเองรับผิดชอบมีผลต่อขวัญและกำลังใจในระดับมาก (3.50)
8. ความกดดันที่เกี่ยวกับการทำงาน
ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
-ชินชาอยู่แล้ว ไม่รู้สึกกดดันไปเพื่ออะไรเพราะต่อให้ทำดีก็ไม่มีอะไรดีขึ้น
-กดดันจากนิสิต ในด้านของสื่อการสอนต่างๆ
-ไม่มีความกดดัน
-มีบ้างในงานที่มีความคาดหวังให้สำเร็จสูง
-งานที่ปฏิเสธไม่ได้จะมีความกดดัน รู้สึกอึดอัด หงุดหงิดใจ ความเร่งรีบด้วยเงื่อนเวลา และถ้าต้องมีการประสานงานไปยังผู้ดูแลหรือรับผิดชอบเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นก็อาจจะผิดหวังกับคำตอบที่ได้รับหรือต้องมีการติดต่อกลับไปอีกครั้ง ต้องผ่านการติดต่อหลายส่วน หลายขั้นตอน ต้องรอเวลาและต้องเพิ่มเวลาในการทำงานมากขึ้นซึ่งทำให้เวลาในการพักผ่อนลดน้อยลง
-มีความกดดันในบางครั้งที่การสั่งงานไม่มีความชัดเจน หรือเป็นงานด่วน และการที่มีหัวหน้างานมากกว่า 1 คน สั่งการทำให้การทำงานไม่เป็นไปตามแผน นอกจากนี้การทำงานเน้นสารสื่อสารผ่าน Line มากเกินไปบางครั้งเนื้อหาในการสื่อสารจะขาด ๆ หาย ๆ ทำให้การตีความผิดพลาดได้
-ขาดขวัญและกำลังใจ และงานที่ไม่เป็นไปตามเป้าประสงค์เนื่องจากเป็นงานใหม่ต่อผู้ปฏิบัติและขาดระเบียบปฏิบัติ
ที่ควรเป็นเพื่อสร้างขวัญกำลังใจ
-มหาวิทยาลัยควรมีความพร้อมตามแผนการเรียน การสอนโดยเร็ว เพื่อทดแทนภาพจำของนิสิตที่มีอยู่ปัจจุบัน อีกทั้งอาจลดแรงกดดันต่อการปฏิบัติงานในหลักสูตรฯ
-ไม่ควรสร้างความกดดันทำเท่าที่ทำได้
-ควรมีการพูดคุยเบื้องต้น แจ้งงานที่จะต้องทำให้ชัดเจนหรือสอบถามก่อนว่ามีความคิดเห็นอย่างไร ทำได้หรือไม่ ทำทันตามกำหนดเวลาหรือไม่ หรือมีสิ่งจูงใจอะไรให้บ้างอาจจะเป็นตัวเงินหรือไม่เป็นตัวเงินก็ได้ แต่เพียงพอที่จะทำให้ผู้ปฏิบัติงานรู้สึกว่ามีพลังใจในการทำงานต่อไป สำหรับทั้งงานที่อาจจะอยู่นอกเหนือจากงานประจำ หรืองานประจำที่ทำอยู่
-ผู้บริหารควรมีความเข้าใจและมีความชัดเจนก่อนการสั่งงานในแต่ละครั้ง และทำงานตามลำดับขั้นตอนที่มีความชัดเจนเหมาะสมกับลักษณะขององค์กร
-ควรมีระเบียบปฏิบัติที่ชัดเจน
-ผู้บริหารสูงสุดควรรู้จักชื่นชม ชมเชย หรือแสดงความขอบคุณเมื่อบุคลากรทำงานได้ดีมีการให้รางวัลหรือแสดงความชื่นชมให้เป็นที่รับรู้ภายในองค์กร เพื่อสร้างความมั่นใจ สร้างแรงจูงใจในการทำงาน รวมถึงทำให้บุคคลนั้นรู้สึกมีคุณค่าในตัวเอง
-ให้เวลาและมีคนช่วยทำงาน
หมายเหตุ ผลสำรวจความคิดเห็นของบุคลากรพบว่า โดยเฉลี่ยบุคลากรมีความเห็นว่า ความกดดันที่เกี่ยวกับการทำงานมีผลต่อขวัญและกำลังใจในระดับปานกลาง (3.30)
9. โอกาสของความเจริญเติบโตและความก้าวหน้าของแต่ละบุคคล
ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
-น้อยมาก มองไม่เห็น ไม่แน่ใจว่าจะมีความก้าวหน้า
-โอกาสการเติบโตจากนโยบายของผู้บริหารน้อยมาก ริบหรี่ ไม่คาดหวัง
-ปัจจุบันองค์การไมมี Career Path ที่ชัดเจน ไม่มีเส้นทางเนื้อหางานและโอกาสในอนาคต เห็นความไม่เท่าเทียมในองค์การ
ที่ควรเป็นเพื่อสร้างขวัญกำลังใจ
-ยังมองไม่เห็นว่าจะปรับเปลี่ยนได้ในระดับบริหารสูงสุด
-ควรมีการวางแผนโอกาสทางการศึกษาต่อของบุคลากรโดยปราศจากเงื่อนไขผูกมัด
-มหาวิทยาลัยควรมีแผนในการแสดงความก้าวหน้าของแต่ละบุคคล
-ผู้บริหารต้องมีความเข้าใจ เปิดโอกาสให้กับบุคลากร ไม่มุ่งเป้าไปในเชิงธุรกิจเพียงอย่างเดียว
-ไม่มี และไม่คาดหวัง
-องค์การมี Career Path ที่ชัดเจน
หมายเหตุ ผลสำรวจความคิดเห็นของบุคลากรพบว่า โดยเฉลี่ยบุคลากรมีความเห็นว่า โอกาสของความเจริญเติบโตและความก้าวหน้าของแต่ละบุคคลมีผลต่อขวัญและกำลังใจในระดับน้อย (2.60)
10. การได้รับโอกาสในการศึกษา/อบรม/พัฒนาของแต่ละคน
ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
-ทำเท่าที่ทำได้เพื่อตอบโจทย์งานประกันของสาขาเท่านั้น
-ได้รับโอกาสที่ดีจากการอบรมที่มีให้เสมอมา
-เปิดโอกาสให้ทุกคนได้เข้าร่วมอบรม/สัมมนาในการแสวงหาความรู้และประสบการณ์
-ดูเหมือนว่าบุคลากรแต่ละคนก็ต้องดูแลตนเอง แสวงหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตนเอง ไม่มีหน่วยงานกลางที่จะให้ข้อมูลเพิ่มเติม แจ้งแหล่งเรียนรู้ หลักสูตรที่น่าสนใจทั้งมีค่าใช้จ่ายและไม่มีค่าใช้จ่าย ประชาสัมพันธ์ให้กับบุคลากรได้ทราบหรืออำนวยความสะดวกให้ในส่วนที่เกี่ยวข้อง
-ได้รับการอบรม/สัมมนาตามที่คณะหรือทางมหาวิทยาลัยกำหนด แบบไม่มีค่าใช้จ่าย แต่ก็ไม่ได้คาดหวัง เพราะมีงบประมาณน้อย
-ปัจจุบันไม่มีหน่วยงานที่รับผิดชอบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มีแต่ให้บุคลากรหาเอง
ที่ควรเป็นเพื่อสร้างขวัญกำลังใจ
-ควรมีหัวข้อเกี่ยวกับสังคมศาสตร์เป็นส่วนหนึ่งของการจัดอบรมไม่มากก็น้อย
-ให้ทุกคนเข้ารับการอบรม สัมมนา โดยไม่มีขีดจำกัด และมีการไปดูงานต่างจังหวัดบ้าง พร้อมทั้งเพิ่มงบประมาณการอบรมนอกพื้นที่ให้มากขึ้น
-ให้อิสระในการเลือกและสนับสนุนงบประมาณตามความต้องการของแต่ละคน พร้อมทั้งมีหน่วยงานกลางดูแล ไม่ใช่เพียงประสานงานขอข้อมูล
-งบประมาณในการส่งเสริมมีให้ก็จริง แต่ไม่เพียงพองบประมาณที่มีควรสามารถโยกงบหรือบริหารจัดการงบการอบรมภายในหลักสูตรได้
-มีคนช่วยสอนการทำงาน
หมายเหตุ ผลสำรวจความคิดเห็นของบุคลากรพบว่า โดยเฉลี่ยบุคลากรมีความเห็นว่า การได้รับโอกาสในการศึกษา/อบรม/พัฒนาของแต่ละคนมีผลต่อขวัญและกำลังใจในระดับปานกลาง (2.90)
สรุป
ขวัญและกำลังใจในการทำงาน เป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากร และเป็นสิ่งที่ทำให้บุคลากรสามารถอยู่ในองค์การได้อย่างมีความสุข จึงเป็นเรื่องที่ผู้บริหารต้องตระหนักและตอบสนองให้แก่บุคลากร บางประเด็นอาจเป็นเรื่องที่ผู้บริหารสูงสุดระดับคณะ (คณบดี) สามารถสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นได้ บางประเด็นอาจต้องเป็นผู้บริหารระดับสูง (อธิการบดี) ซึ่งคณบดีอาจต้องหาโอกาสเสนอต่ออธิการบดีเพื่อพิจารณาต่อไป