การพัฒนาแนวทางการนิเทศงานวิชาฝึกประสบการณ์สร้างเสริมวิชาชีพสาธารณสุข สำหรับอาจารย์ใหม่

ผลการดำเนินงานการจัดการความรู้ (KM) : ประเด็นการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน

เรื่อง การพัฒนาแนวทางการนิเทศงานวิชาฝึกประสบการณ์สร้างเสริมวิชาชีพสาธารณสุข

สำหรับอาจารย์ใหม่

 

โดย  อาจารย์ ดิลกา ไตรไพบูลย์**

Tacit Knowledge**อาจารย์ผู้สอนหลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์บัณทิต (สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์) คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเนชั่น และเป็นวิทยากร ในการทำ KM และการเขียนบทความทางวิชาการ

 

เรียบเรียงโดย: คณาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเนชั่น

 

เป้าหมาย/ผู้ร่วมกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Desired State): อาจารย์นิเทศงานใหม่ประจำสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ

 

เนื้อหา (Content) : กระบวนการนิเทศงานนักศึกษาเป็นกระบวนการหนึ่งที่มีลักษณะการดำเนินงาน ที่ใช้ในการกำกับ ติดตาม ให้คำแนะนำ การวัดผล และประเมินผลผู้ฝึกปฏิบัติ หรือนักศึกษา โดยให้ผู้มีความรู้และประสบการณ์ อันประกอบด้วย อาจารย์ ครูพี่เลี้ยง รวมถึงผู้เชี่ยวชาญในสถานที่ฝึกปฏิบัติงาน เป็นผู้ใช้กระบวนการดังกล่าว สำหรับการประเมินองค์ความรู้ ทักษะ รวมไปถึงการประยุกต์ใช้ความรู้จากศาสตร์และศิลป์ที่ได้เรียนรู้มาของนักศึกษา เพื่อให้ได้มาซึ่งบัณฑิตที่มีคุณภาพ และสามารถนำองค์ความรู้ หรือทักษะที่ได้จากการเรียนและการฝึกปฏิบัติงาน มาใช้ในการทำงานในสาขาวิชาชีพนั้นได้อย่างเต็มความสามารถ การนำกระบวนการนิเทศงานมาใช้งาน ผู้นิเทศจึงต้องมีความเข้าใจในวิธีการดำเนินการเป็นอย่างมาก เนื่องจากหากดำเนินงานตามกระบวนการไม่ถูกต้อง หรือเหมาะสมแล้ว อาจทำให้นักศึกษา หรือผู้ฝึกปฏิบัติ มีคุณภาพ และความสามารถในการทำงานในสาขาวิชาชีพนั้นได้อย่างไม่เต็มความสามารถเท่าที่ควร ซึ่งรูปแบบของการนิเทศงานในสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์จะจำแนกออกเป็น ระดับต่างๆ อันประกอบด้วย

– ระดับที่ 1 การนิเทศงานที่เน้นการนำองค์ความรู้ และทักษะในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ และการสุขาภิบาลมาใช้ในการส่งเสริมสุขภาพของกลุ่มคนไม่มีความเจ็บป่วย ให้มีสุขภาพดียิ่งขึ้น ตั้งแต่ระดับบุคคล ระดับครอบครัว และระดับชุมชน

– ระดับที่ 2 การนิเทศงานที่เน้นการนำองค์ความรู้ และทักษะการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการป้องกันควบคุมโรค อันได้แก่ การป้องกันควบคุมโรคติดต่อ และโรคไม่ติดต่อ การป้องกันควบคุมงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม และการป้องกันควบคุมงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ในกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย ให้มีสุขภาพที่ดี ตั้งแต่ระดับบุคคล ระดับครอบครัว และระดับชุมชน

– ระดับที่ 3 การนิเทศงานที่เน้นการนำองค์ความรู้ และทักษะการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการรักษา และการฟื้นฟูอาการเจ็บป่วยจากโรค ในกลุ่มคนที่มีความเจ็บป่วย ให้มีสุขภาพดีขึ้น ตั้งแต่ระดับบุคคล ระดับครอบครัว และระดับชุมชน

ทั้งนี้ ข้อควรระวังในการนำรูปแบบการนิเทศงานทั้ง 3 ระดับมาใช้ในการดำเนินงานนั้น ผู้นิเทศงานต้องสามารถจำแนกระดับของบุคคล ครอบครัว และชุมชน ได้อย่างชัดเจนว่าอยู่ในการนิเทศระดับใด เพื่อเป็นการป้องกันการผิดพลาดในการใช้กระบวนการนิเทศงาน ที่ไม่ถูกต้องกับระดับการฝึกปฏิบัติ

ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จากการจัดการความรู้ถูกนำไปใช้ประโยชน์ในการจัดทำเป็นคู่มือสำหรับการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพสาธารณสุขศาสตร์สำหรับนักศึกษาเป็นระดับต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้อาจารย์ที่นิเทศงานสามารถดำเนินการนิเทศได้อย่างถูกต้อง และมีคุณภาพต่อการจัดการเรียนการสอน 

manual-wil-1_58

โพสท์ใน KM:ด้านการวิจัย, คณะสาธารณสุขศาสตร์ | ใส่ความเห็น

เอกสารที่มีผลสอบวัดระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษ

ต่อไปผู้ประกอบการก็จะทราบว่านักศึกษาที่มาสมัครงาน
มักจะต้องมีเอกสารที่มีผลสอบวัดระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษ
ระดับ B1 ก็จะถือว่าใช้ได้สำหรับ ป.ตรี

เทียบระดับ

เทียบระดับ

ประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา
เรื่อง นโยบายยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษในสถาบันอุดมศึกษา

นโยบายยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษในสถาบันอุดมศึกษา

นโยบายยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษในสถาบันอุดมศึกษา

เอกสาร PDF แชร์ไว้ที่
https://www.facebook.com/groups/thaiebook/689529871197834/

นโยบายยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษในสถาบันอุดมศึกษา

นโยบายยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษในสถาบันอุดมศึกษา

ข้อที่ 5 “ให้สถาบันอุดมศึกษาพิจารณาจัดให้นิสิตนักศึกษาทุกคน ทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษตามแบบทดสอบมาตรฐานระดับอุดมศึกษา ที่สถาบันสร้างขึ้น หรือที่เห็นสมควรจะนำมาใช้วัดสมิทธิภาพทางภาษาอังกฤษ (English Proficiency) โดยสามารถเทียบเคียงผลกับ Common European Framework of Reference for Languages (CEFR) หรือมาตรฐานอื่น เพื่อให้ทราบระดับความสามารถของนิสิตนักศึกษาแต่ละคน และสถาบันอุดมศึกษาอาจพิจารณานำผลการทดสอบความรู้ทางภาษาอังกฤษบันทึกในใบรับรองผลการศึกษา หรือจัดทำเป็นประกาศนียบัตร โดยเริมตั้งแต่ปีการศึกษา 2559

เทียบ placement test กับ CEFR ใน speexx

เทียบ placement test กับ CEFR ใน speexx

certificate equivalency

certificate equivalency

เทียบระดับ SPEEXX กับ CEFR
https://www.speexx.com/portals/speexx-campus/en/cefr.htm

cefr level

cefr level

โพสท์ใน งานประชาสัมพันธ์ รับนักศึกษา | ติดป้ายกำกับ , , | ใส่ความเห็น

ภาษาอังกฤษเพื่อศึกษาและฝึกฝน

แนะนำเว็บไซต์สอนภาษาอังกฤษ
ได้ข้อมูลจาก http://www.nation.ac.th
เมื่อ 1 กันยายน 2559

แนะนำภาษาอังกฤษผ่านเว็บไซต์

แนะนำภาษาอังกฤษผ่านเว็บไซต์

website ที่ 2
http://www.e4thai.com/e4e/index.php?view=article&catid=18%3Astudents&id=185%3Aenglish-for-you-mp3

website ที่ 3
http://thai.langhub.com/th-en/travel-english/161-First-Conversation

website ที่ 4
http://www.englishspeak.com/th/english-lesson.cfm?lessonID=1

speexx ของมหาวิทยาลัยเนชั่น
http://it.nation.ac.th/speexx

โพสท์ใน ทั่วไป | ติดป้ายกำกับ , , | ใส่ความเห็น

เรียนออนไลน์กับ speexx.com ที่มหาวิทยาลัยเนชั่น

นโยบายการยกระดับมาตรฐานภาษาอังกษในสถาบันอุดมศึกษา

นโยบายการยกระดับมาตรฐานภาษาอังกษในสถาบันอุดมศึกษา

มหาวิทยาลัยเนชั่น ได้จัดบริการ
สนับสนุนการพัฒนาภาษาอังกฤษของนักศึกษา และบุคลากรแบบออนไลน์
ผ่านบริการ Speexx ที่ http://www.speexx.co.th/nation/
และมีกลุ่มที่เข้าไปพูดคุยสอบถามได้ที่
https://www.facebook.com/groups/684482298366452/

คู่มือการเข้าใช้งาน
1. คู่มือการ Login เข้าสู่ระบบ
2. คู่มือการใช้งานฉบับย่อ
3. คู่มือการใช้งานฉบับเต็ม
4. กิจกรรมเสริมทักษะ
5. ลืมรหัสผ่าน

ความเป็นมา
หลายสถาบันต่างใช้บริการระบบการเรียนออนไลน์ที่ได้มาตรฐาน
เป็นเครื่องมือสนับสนุนการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
สอดรับกับที่ สกอ. มีประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา
เรื่อง นโยบายการยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษในสถาบันอุดมศึกษา
เมื่อ 12 เมษายน 2559 โดย รศ.คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ
ประธานกรรมการคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ที่กำหนดมาเป็นข้อ ๆ อย่างเป็นระบบ พอสรุปได้ดังนี้
1. กำหนดนโยบาย และเป้าหมายการยกระดับภาษาอังกฤษในระดับที่ใช้งานได้
2. ให้จัดทำแผนเพื่อดำเนินการตามนโยบาย และเป้าหมาย
3. ให้พิจารณาปรับปรุงการสอนวิชาภาษาอังกฤษที่เป็นอยู่
4. ให้จัดกิจกรรมนอกหลักสูตร
5. ให้ทดสอบ แล้วนำผลทดสอบออกเป็นใบรับรองว่าอยู่ระดับใด
ให้เริ่มกันตั้งแต่ปีการศึกษา 2559
https://www.facebook.com/groups/thaiebook/672016736282481/

SPEEXX คือ โปรแกรมเรียนภาษาด้วยตัวเอง
สำหรับนักศึกษา คนทำงาน และผู้ที่ต้องการพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษ
ที่ประกอบด้วยเนื้อหาที่ตอบสองความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างลงตัว
โดยผู้เรียนมีการเรียนรู้ด้วยตนเองและง่ายต่อการใช้งาน
มีบทเรียนในส่วนของไวยากรณ์ คำศัพท์ การออกเสียงและสำเนียงที่ถูกต้อง
รวมไปถึงทักษะความเข้าใจในการอ่านบทความ
http://www.speexx.com
https://www.facebook.com/speexx.thailand/

บริการเรียนออนไลน์ของ SPEEX
นอกจาก Vocabruary และ Grammar และ Reading
ก็ยังมี ฟัง (Listening)
 และมีบางบทเรียนที่เทียบเสียงพูด
ควรมีอุปกรณ์ที่จำเป็นคือ หูฟัง โดยเฉพาะการสอบ Placement Test

earphone สำหรับ listening

earphone สำหรับ listening

การแบ่งเนื้อหาของ Speexx แบ่งตามระดับ
ใน CEF (Common European Framework)

CEF : Common European Framework

CEF : Common European Framework

http://inglesenow.blogspot.com/p/common-european-framework.html
https://en.wikipedia.org/wiki/Common_European_Framework_of_Reference_for_Languages

เกณฑ์มาตรฐานความสามารถภาษาอังกฤษ

เกณฑ์มาตรฐานความสามารถภาษาอังกฤษ

 

ข้อมูลเพิ่มเติม
http://onlineenglish.cmu.ac.th
เคล็ดลับการเรียนด้วยตัวเอง กับ speexx
http://www.thaiall.com/blog/burin/7754/
นโยบายยกระดับภาษาอังกฤษ
http://www.thaiall.com/blog/burin/7856/

โพสท์ใน งานประชาสัมพันธ์ รับนักศึกษา | ติดป้ายกำกับ , , , | ใส่ความเห็น

พี่ไอทีสอนน้องปีหนึ่งตัดคลิ๊ปให้เหลือแต่ตัว

freshman training

freshman training

25 ส.ค.59 เห็นคุณเอกพันธ์ วุฒิชัย กับคุณเปรม อุ่นเรือน
กำลังสอนนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ตัดต่อคลิ๊ป
เน้นการตัดพื้นหลังออก แล้วซ้อนหลาย layer
ผมก็เข้าไปแจมด้วย
ลอง import ภาพ .gif เป็น layer ใหม่
เข้าไปเป็นตัวเดินเรื่อง มีหน้าที่เดินอย่างเดียวเลย
แต่ใช้เสียง background จาก youtube.com
แล้วยก tense มาเป็นเนื้อหา ก็ลงตัวนะกับ 50 วินาที
ที่ https://www.youtube.com/watch?v=84-ffOEC90o
ส่วนคลิ๊ปแนะนำตัวของนักศึกษาที่หยิบมาเป็นตัวอย่าง 3 คน
1. น้องฝ้าย สาขาออกแบบ (571) ที่ตัดพื้นได้ดี

2. น้องกาญจนา สาขาบัญชี (581) ที่แสดงออกได้ดี

3. น้องบุญบง สาขาบริหาร (542) ตัดพื้นออกได้สะอาดดี

โพสท์ใน งานประชาสัมพันธ์ รับนักศึกษา | ติดป้ายกำกับ , , , | ใส่ความเห็น

กิจกรรมพี่น้องพากันเตียวขึ้นดอย 2559 (ปลูกฝ้ายถักทอ สืบสานตำนานจุลกฐิน)

20 ส.ค.59 กิจกรรมพี่น้องพากันเตียวขึ้นดอย 2559 (ปลูกฝ้ายถักทอ สืบสานตำนานจุลกฐิน)
ณ วัดสามัคคีบุญญาราม อ.เมือง จ.ลำปาง
มีอัลบั้มภาพ และคลิ๊ปโดยมืออาชีพขั้นเทพให้ชมหลายจากหลายท่าน

กิจกรรมพี่น้องพากันเตียวขึ้นดอย

กิจกรรมพี่น้องพากันเตียวขึ้นดอย

ม.เนชั่นจัดปลูกฝ้ายจุลกฐินรับน้องใหม่ 2559
โพสต์ข่าวในช่องเนชั่น
http://www.nationtv.tv/main/content/social/378513709/

คลิ๊ปวิ่งขึ้นเนิน Spirit มนัสการพระพุทธรูปปรางค์นาคปรก วัดสามัคคีบุญญาราม ตำบลพระบาท อำเภอเมืองลำปาง
โดยพี่นิเวศน์
https://www.facebook.com/nivate2012/videos/952848771528562/

พี่น้องร่วมใจวิ่งขึ้นเนิน Spirit มนัสการพระพุทธรูปปางนาคปรก 33 ภาพ
โดยพี่นิเวศน์
https://www.facebook.com/groups/nationu/permalink/1213787828687085/
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=952836978196408&set=oa.1213787825353752
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=952838838196222&set=oa.1213787825353752

ข้าวแลงขันโตกต้อนรับนักศึกษาใหม่ 52 ภาพ
โดยพี่นิเวศน์
https://www.facebook.com/groups/nationu/permalink/1213021208763747/
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=952169204929852&set=oa.1213021205430414

พิธีบายศรีสู่ขวัญ 36 ภาพ
โดยพี่นิเวศน์
https://www.facebook.com/groups/nationu/permalink/1213015602097641/

พิธีมอบทุนในห้องประชุม 25 ภาพ
โดยพี่นิเวศน์
https://www.facebook.com/groups/nationu/permalink/1212858398780028/
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=951977961615643&set=oa.1212858388780029
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=951978071615632&set=oa.1212858388780029

พิธีมอบทุนบนเวที 20 ภาพ
โดยพี่นิเวศน์
https://www.facebook.com/groups/nationu/permalink/1212854172113784/

กิจกรรมรับน้อง 29 ภาพ
โดยคุณสราวุธ เบี้ยจรัส
https://www.facebook.com/groups/nationu/permalink/1211399812259220/
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1415011541859612&set=oa.1211399795592555

กิจกรรมรับน้องนิเทศ 59 ภาพ
โดยคุณสราวุธ เบี้ยจรัส
https://www.facebook.com/groups/nationu/permalink/1207481469317721/
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1408506225843477&set=oa.1207481475984387

กิจกรรมรับน้องวิทยาศาสตร์สุขภาพ 13 ภาพ
โดยคุณสราวุธ เบี้ยจรัส
https://www.facebook.com/groups/nationu/permalink/1207486192650582/

ที่สถานีรถไฟหัวลำโพง 38 ภาพ
โดย อ.ดรรชกร
https://www.facebook.com/groups/nationu/permalink/1211300478935820/
https://www.facebook.com/616217491803441/photos/a.1116173375141181.1073741857.616217491803441/1116174011807784/

ภาพจาก drone ของ อ.สิทธิโชค โควาบุญพิทักษ์ 6 ภาพ
โดย Palist Lunruangrit
https://www.facebook.com/groups/nationu/permalink/1212667928799075/
https://www.facebook.com/NationUNews/photos/pcb.1061568717253546/1061565310587220/

คลิ๊ปกิจกรรมกลางคืน และมีอีกหลายคลิ๊ป
โดย Palist Lunruangrit
https://www.facebook.com/NTUsmo/videos/935045266638930/

คลิ๊ปกิจกรรมบนรถไฟ
โดย Palist Lunruangrit
https://www.facebook.com/NTUsmo/videos/934103713399752/

คลิ๊ปนำเสนอวิธีเดินทางไปหัวลำโพง ขึ้นรถไฟฟ้าด้วย
โดย Palist Lunruangrit
https://www.facebook.com/groups/nationu/permalink/1209791559086712/

รูปกิจกรรมของฐานที่ 8 ฐานลำเลียงน้ำ 88 ภาพ
โดย Roong S’Ky
https://www.facebook.com/groups/nationu/permalink/1212838885448646/
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1257393037627867&set=oa.1212838878781980

อัลบั้ม 232 ภาพ
โดย peerapat.rungroj
https://www.facebook.com/peerapat.rungroj/media_set?set=a.1168043556551616.1073741833.100000379477171
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1168057833216855&set=a.1168043556551616.1073741833.100000379477171

พิธีเปิดและเดินขึ้นดอย 101 ภาพ
โดยพี่นิเวศน์
https://www.facebook.com/groups/nationu/permalink/1213772352021966/

ม.เนชั่น รับน้องสร้างสรรค์ใส่ใจประเพณีพี่พาน้องเตียวขึ้นดอย 126 ภาพ
โดยพี่นิเวศน์
https://www.facebook.com/media/set/?set=oa.1213779088687959

อัลบั้ม โดย Thisisa Book
วิ่งขึ้นดอย 45 ภาพ (ชุดที่ 9)
https://www.facebook.com/groups/nationu/permalink/1214070745325460/
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10207770341638964&set=pcb.1214070745325460
ก่อนวิ่ง 42 ภาพ (ชุดที่ 8)
https://www.facebook.com/groups/nationu/permalink/1214054605327074/
นั่งรอวิ่ง 42 ภาพ (ชุดที่ 7)
https://www.facebook.com/groups/nationu/permalink/1214043231994878/
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10207770169394658&set=pcb.1214043231994878
ตั้งขบวน 36 ภาพ (ชุดที่ 6 มีภาพผมกับอ.ชินพันธ์ในอัลบั้มนี้)
https://www.facebook.com/groups/nationu/permalink/1214018175330717/
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10207769962949497&set=pcb.1214018175330717
รอตั้งขบวน 40 ภาพ (ชุดที่ 5)
https://www.facebook.com/groups/nationu/permalink/1214005375331997/
เดินถึงลาน 40 ภาพ (ชุดที่ 4 มีภาพผมกับวรรณ)
https://www.facebook.com/groups/nationu/permalink/1213976765334858/
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10207769646981598&set=pcb.1213976765334858
ระหว่างเดินขึ้นดอย 40 ภาพ (ชุดที่ 3)
https://www.facebook.com/groups/nationu/permalink/1213976765334858/
เริ่มเดินขึ้นดอย 40 ภาพ (ชุดที่ 2)
https://www.facebook.com/groups/nationu/permalink/1213959675336567/
พิธีเปิดงาน 33 ภาพ (ชุดที่ 1)
https://www.facebook.com/groups/nationu/permalink/1213937958672072/
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10207769122328482&set=pcb.1213937958672072

โพสท์ใน งานประชาสัมพันธ์ รับนักศึกษา | ติดป้ายกำกับ , , , | ใส่ความเห็น

การเขียนบทความวิจัยอย่างไร จึงจะโดนใจบรรณาธิการ โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนัส สุวรรณ

ภาพโดย อ.อดิศักดิ์ จำปาทอง

ภาพโดย อ.อดิศักดิ์ จำปาทอง

ตามที่ได้ไปประชุมร่วมกับ อ.อดิศักดิ์ จำปาทอง และ อ.ดร.ตะวันฉาย มิตรประชา
เรื่อง เขียนบทความวิจัยอย่างไร จึงจะโดนใจบรรณาธิการ
โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนัส สุวรรณ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
มีเรื่องราวจากเอกสารของท่านวิทยากร มาแบ่งปันดังนี้

นิยามศัพท์

บทความ หมายถึง งานเขียนประเภทร้อยแก้ว ซึ่งผู้เขียนต้องการถ่ายทอดความคิด
และ/หรือ ข้อมูลข่าวสารไปยังผู้อ่านโดยใช้ตัวอักษรเป็นสื่อกลาง
ประเภทของบทความ
– บทความทั่วไป
– บทความกึ่งวิชาการ
– บทความทางวิชาการ
บทความทั่วไป หมายถึง งานเขียนที่มิได้มุ่งเน้นการให้ความรู้
หรือข้อเท็จจริงเชิงวิชาการ แต่มุ่งเน้นที่จะให้ความรู้ทั่วไป ให้ความสนุกสนานเพลิดเพลิน
หรือให้ข้อคิดแก่ผู้อ่าน เช่น บทความแสดงความคิดเห็น บทความเล่าอัตชีวประวัติ
บทความเล่าประสบการณ์การเดินทาง และบทความที่ให้ข้อคิดหรือปรัชญาชีวิต เป็นต้น
บทความกึ่งวิชาการ หมายถึง งานเขียนที่ผู้เขียนประสงค์จะให้ความรู้เชิงวิชาการ
แต่ไม่ลึกซึ้งถึงระดับองค์ความรู้หรือทฤษฎี เช่น บทความที่เป็นบทวิเคราะห์/วิพากษ์
และบทความสนับสนุนหลักการหรือแนวคิด เป็นต้น
บทความทางวิชาการ หมายถึง งานเขียนหรือความเรียงที่ผู้เขียนประสงค์จะสื่อองค์ความรู้
หรือข้อค้นพบใหม่ ๆ ทางวิชาการในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งเป็นการเฉพาะ เช่น บทความวิจัย
บทความเสนอแนวคิด หลักการ และ/หรือแบบจำลอง เป็นต้น

ธรรมชาติของบทความทางวิชาการร
1. นำเสนอความรู้ที่ตั้งอยู่บนฐานวิชาการของสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง
2. ความรู้ที่นำเสนอต้องมีความถูกต้องและเชื่อถือได้ หรืออย่างน้อยที่สุดต้องมีแนวคิดหรือทฤษฎีสนับสนุน
3. เนื้อหาสาระที่นำเสนอต้องผ่านการประมวล หรือการสังเคราะห์ก่อนเรียบเรียงเชิงพรรณนาตามลำดับอย่างเหมาะสม
4. มีการวิเคราะห์ วิจารณ์ (ทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ) บนพื้นฐานทักษะความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ของผู้เขียน
5. มีการสรุปและอภิปรายผล รวมตลอดจนให้ข้อเสนอแนะที่จะนำไปสู่การแสวงหาความรู้เพิ่มเติม

การเลือกประเด็นเพื่อเขียนบทความทางวิชาการ
1. เป็นประเด็นที่อยู่ในกรอบความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ของผู้เขียน
2. เป็นประเด็นที่มีความแปลกใหม่ ทันสมัย และอยู่ในความสนใจของคนทั่วไป หรือเป็นประเด็นเก่าที่ควรรู้แต่ถูกทิ้งลืม
3. เป็นประเด็นที่สามารถยืนยันความน่าเชื่อถือได้ด้วยข้อมูลเชิงประจักษ์ (Empirical data) หรือมีแนวคิด ทฤษฎีสนับสนุน
4. เป็นประเด็นที่สามารถสร้างเสริมความรู้ และความแตกฉานทางวิชาการให้กับทั้งผู้เขียน และผู้อ่าน
5. เป็นประเด็นที่สามารถก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม/ประเทศชาติ

องค์ประกอบของบทความทางวิชาการ
1. ชื่อบทความ
2. ชื่อผู้เขียน
3. บทคัดย่อ และคำสำคัญ (Abstract และ Keywords)
4. บทนำ/ความนำ
5. เนื้อเรื่อง (สาระสำคัญ/ความรู้ที่ต้องการนำเสนอ)
6. บทสรุปและอภิปรายผล
7. เอกสารอ้างอิง หรือบรรณานุกรม

บทความวิจัย หมายถึง เอกสารความเรียงที่ได้มาจากการประมวลสรุป (Condensation & Digestion)
รายงานการวิจัย หรือวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา ระดับบัณฑิตศึกษา
ทั้งนี้บทความวิจัยมีลักษณะเฉพาะที่สำคัญ ดังนี้
– มีความยาวจำกัด จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการหรือลงพิมพ์ในวารสารวิชาการ
– เป็นเอกสารที่มีความทันสมัย และทันต่อเหตุการณ์มากกว่ารายงานการวิจัย
ทั้งนี้เพราะผู้วิจัยสามารถเพิ่มเติมหรือตัดทอนบางส่วนของรายงานการวิจัยเพื่อการเผยแพร่ได้
– มีคุณภาพที่เป็นมาตรฐานมากกว่ารายงานการวิจัยเพราะต้องทำให้อยู่ใน format ที่เป็นที่ยอมรับตามหลักสากล

องค์ประกอบของบทความวิจัย
1. ชื่อเรื่อง
2. ชื่อผู้วิจัย
3. บทคัดย่อ/คำสำคัญ (Abstract/keywords)
4. บทนำ/ความนำ
5. วิธีดำเนินการวิจัย
6. ผลการวิจัย
7. อภิปรายผล
8. เอกสารอ้างอิง หรือบรรณานุกรม

ข้อแนะนำในการเขียนบทความวิจัย
1. ชื่อเรื่องสั้น กระทัดรัดได้ความหมาย (อาจระบุมิติและ/หรือลักษณะการวิจัยด้วยก็ได้)
2. บทคัดย่อเขียนให้กระชับแต่ครอบคลุมกระบวนการวิจัย
โดยปกติมีความยาวไม่เกิน 300 คำ(15 บรรทัด) มีการแบ่งย่อหน้าตามความเหมาะสม
3. บทนำ/ความนำ บ่งบอกถึงที่มาและความสำคัญของการวิจัย
(ทำไมจึงเลือกทำวิจัยเรื่องนี้ / ทำแล้วได้ประโยชน์อะไร)
4. วิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วย
– ขอบเขตของการวิจัย (พื้นที่/ประชากร/เนื้อหา/เวลา)
– ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
– ข้อมูล และแหล่งของข้อมูล
– เครื่องมือ และวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
– วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล
5. ผลการวิจัย เขียนสรุปเรียงตามวัตถุประสงค์
6. อภิปรายผล
– อภิปรายเปรียบเทียบกับวรรณกรรมที่ทบทวน
– อภิปรายข้อค้นพบที่มีความพิเศษเฉพาะ
7. เอกสารอ้างอิง หรือบรรณานุกรม
แจงให้ครบตามที่อ้างอิง และเขียนให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ

ข้อสังเกตสำหรับการเขียนบทความวิชาการ/บทความวิจัยที่ไม่ผ่านการคัดกรองเพื่อการเผยแพร่
1. ไม่ดำเนินการตามระเบียบหรือข้อกำหนดของวารสาร หรือที่ประชุม/สัมมนาวิชาการ
2. เนื้อหาสาระของบทความไม่สอดคล้องกับสาขาวิชาเฉพาะของวารสารหรือไม่ตรงกับ Theme
ของการประชุม/สัมมนาวิชาการ
3. บทความขาดความเป็นเอกภาพ (แต่ละองค์ประกอบไม่สัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกัน)
4. ขาดความชัดเจนในการนำเสนอ/ไม่ครบกระบวนการของการทำวิจัย
5. ไม่ได้ทำการประมวลสรุปเพื่อเขียนเป็นบทความ แต่นำเอาบทสุดท้ายมาปรับเขียน
6. โครงสร้างการเขียนไม่ดี ไม่เป็นไปตามลำดับ ขาดความเป็นเหตุเป็นผล
7. ขาดลีลาการเขียน (Writing style) ที่เป็นวิชาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำนวนภาษา
การแบ่งประโยค และการแบ่งวรรคตอน
8. สาระที่นำเสนอไม่ลึกซึ้ง และไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ
9. ไม่ประณีต พิถีพิถันในการใช้ภาษา (ไม่คำนึงถึงหลักไวยากรณ์ พิมพ์ผิด สะกดผิด)
10. เป็นเพียงรายงานการศึกษา ขาดการวิเคราะห์ วิจารณ์ และ/หรือการแสดงความคิดเห็นเชิงวิชาการ

ข้อเสนอแนะเพื่อการเผยแพร่บทความ
1. สำรวจวารสารวิชาการ การประชุมสัมมนาวิชาการ ที่บทความที่เขียนสามารถนำไปเผยแพร่ได้
2. ศึกษาและทบทวนระเบียบและข้อกำหนดของวารสาร
ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาสาระ และรูปแบบของบทความ
3. วางแผนการเขียนบทความอย่างเป็นระบบ กำหนดโครงร่างและองค์ประกอบของบทความ
กรอบเวลาที่จะเขียน และเวลาที่จะเผยแพร่
4. การเขียนเป็นเรื่องของทักษะ ควรศึกษาหาความรู้ และเพิ่มพูนทักษะด้วยการฝึกเขียนบ่อย ๆ
และด้วยการอ่านบทความดี ๆ จากวารสารดี ๆ
5. ใช้ภาษาเขียนที่เป็นมาตรฐานทางวิชาการ ถูกต้องตามหลักภาษาศาสตร์
6. ตรวจสอบและตรวจทานสิ่งที่ได้เขียนแล้วในบทความหลาย ๆ ครั้ง
เพื่อตัดทอน และ/หรือเพิ่มเติมสาระให้มีความถูกต้องและเหมาะสม
7. กรณีของบทความวิชาการ ต้องไม่ลืมส่วนที่เป็นบทวิเคราะห์ วิจารณ์ และการแสดงความคิดเห็น
บนพื้นฐานของหลักวิชาการ
8. กรณีของบทความวิจัย ต้อเป็นการเรียบเรียงในลักษณะของการประมวลสรุปจากรายงานการวิจัย
มิใช่การนำเอาบทสุดท้ายมานำเสนอ
9. หลักการเขียนบทความวิจัย ต้องพยายามยึดวัตถุประสงค์เป็นตัวตั้งเสมอ
10. นำเสนอเนื้อหาสาระโดยปราศจากอคติ ตรงไปตรงมา

เอกสารประกอบการค้นคว้า
– นงลักษณ์ วิรัชชัย และสุวิมล ว่องวานิช, “การจัดทำรายงานวิชาการ บทความวิจัย และการอ้างอิง”, [ออนไลน์]
– รสริน พิมลบรรยวก์, “การเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ”, [ออนไลน์]
– รัตนะ บัวสนธ์, “การเขียนบทความวิชาการและบทความวิจัย”, [ออนไลน์]

29 ก.ค.59 มีการอบรมโครงการ “อบรมและพัฒนานักวิจัย” ประจำปี 2559
หลักสูตร “การเขียนบทความวิจัยทางวิชาการ”
จัดโดย เครือข่ายบริหารการวิจัยภาคเหนือตอนบน
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
ร่วมกับ งานบริหารงานวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ณ โรงแรมอิมพีเรียล แม่ปิง เชียงใหม่
https://www.facebook.com/groups/thaiebook/658232967660858/
http://unrn.rac.oop.cmu.ac.th

โพสท์ใน คณะนิเทศศาสตร์, คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์, คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ, แนวทางการผลิตงานวิจัยเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ | ติดป้ายกำกับ , , | ใส่ความเห็น

อบรมการเขียนบทความวิจัยทางวิชาการ

การเขียนบทความวิจัยทางวิชาการ

การเขียนบทความวิจัยทางวิชาการ

29 ก.ค.59 มีการอบรมโครงการ “อบรมและพัฒนานักวิจัย” ประจำปี 2559
หลักสูตร “การเขียนบทความวิจัยทางวิชาการ
จัดโดย เครือข่ายบริหารการวิจัยภาคเหนือตอนบน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
ร่วมกับ งานบริหารงานวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ณ โรงแรมอิมพีเรียล แม่ปิง เชียงใหม่

โครงการ "อบรมและพัฒนานักวิจัย" ประจำปี 2559

โครงการ “อบรมและพัฒนานักวิจัย” ประจำปี 2559

– เปิดงานโดย ศาสตราจารย์ ดร.สัญชัย จตุรสิทธา
ประธานเครือข่ายบริหารการวิจัยภาคเหนือตอนบน

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนัส สุวรรณ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนัส สุวรรณ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่

– หัวข้อเรื่อง เขียนบทความวิจัยอย่างไร จึงจะโดนใจบรรณาธิการ
โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนัส สุวรรณ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรอร ภู่เจริญ คณบดีคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรอร ภู่เจริญ
คณบดีคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

– หัวข้อเรื่อง เทคนิคการเขียนบทความวิจัย เพื่อตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ
โดน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรอร ภู่เจริญ
คณบดีคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อดีตอาจารย์ National University of Singapore
https://www.facebook.com/groups/thaiebook/658232967660858/
http://unrn.rac.oop.cmu.ac.th

อ.ศิริอมร กาวีระ คณบดีคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น ศิษย์โยนก รุ่น 4

อ.ศิริอมร กาวีระ คณบดีคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น
ศิษย์โยนก รุ่น 4

พบ อ.ศิริอมร กาวีระ คณบดีคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น
ศิษย์โยนก รุ่น 4 ถ่ายภาพร่วมกับ อ.อดิศักดิ์ จำปาทอง และผม

โพสท์ใน คณะนิเทศศาสตร์, คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ, งานประชาสัมพันธ์ รับนักศึกษา, แนวทางการผลิตงานวิจัยเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ | ติดป้ายกำกับ , , , , , | ใส่ความเห็น

ระเบียบการใช้ห้องสมุด

Library_ Nation

โพสท์ใน งานหอสมุด | ใส่ความเห็น

การดูแลรักษาบริเวณภูมิทัศน์ให้มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้

เอกสาร KM_งานภูมิทัศน์

โพสท์ใน ทั่วไป | ใส่ความเห็น